แสดงกระทู้ - สมบัติ สูตรไชย
กระดานสนทนาธรรม

ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก บ้านห้วยยางทอง ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ 67260


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - สมบัติ สูตรไชย

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
16


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 439
๙. วงศ์พระนารทพุทธเจ้าที่ ๙
ว่าด้วยพระประวัติของพระนารทพุทธเจ้า


[๑๐] ต่อจากสมัยของพระปทุมพุทธเจ้า
พระสมัยพุทธเจ้าพระนามว่า นารทะ ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้า ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระเชษฐโอรสที่น่าเอ็นดูของพระเจ้าจักรพรรดิ
ทรงสวมอาภรณ์มณีเสด็จเข้าไปยังพระราชอุทยาน.
ในพระราชอุทยานนั้น มีต้นไม้ใหญ่ไพศาลงามสะอาดสะอ้าน
ถึงต้นไม้นั้นแล้ว ประทับนั่งภายใต้ต้นมหาโสณะ [ต้นอ้อยช่างใหญ่].
ณ ที่นั้น ญาณอันประเสริฐ ไม่มีที่สุด คมดุจวชิระ ก็เกิด
ทรงพิจารณา ความเกิด ความดับแห่งสังขารทั้งหลาย ด้วยพระญาณนั้น.
ณ ที่นั้น ทรงกำจัดกิเลสทั้งหลายไม่เหลือเลย
ทรงบรรลุพระโพธิญาณ และพระพุทธญาณ ๑๔ สิ้นเชิง.
ครั้น ทรงบรรลุพระโพธิญาณแล้ว ก็ทรงประกาศพระธรรมจักร
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 440
พระมหามุนีทรงฝึกทรมาน พญานาค ชื่อ มหาโทณะ
เมื่อทรงแสดงแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก ก็ได้ทรงทำปาฏิหาริย์ในครั้งนั้น.
ครั้งนั้น เทวดาและมนุษย์เก้าหมื่นโกฏิ ข้ามพ้นความสงสัยทั้งปวง ในการประกาศธรรมนั้น.

สมัยพระมหาวีระ ทรงโอวาทพระโอรสของพระองค์
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.

พระนารทพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตประชุมสาวก ๓ ครั้ง
ครั้งที่ เป็นการประชุมสาวกแสนโกฏิ.

ครั้งพระพุทธเจ้า ทรงประกาศพระพุทธคุณพร้อมทั้งเหตุ
สาวกเก้าหมื่นโกฏิ ผู้ไร้มลทินก็ประชุมกัน.

ครั้งพญานาคชื่อว่า เวโรจนะ
ถวายทานแด่พระศาสดา พระชินบุตรแปดล้านก็ประชุมกัน.

สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีตบะสูง
ถึงฝั่งอภิญญา ๕ ท่องเที่ยวไปในอากาศ.

แม้ครั้งนั้น เราก็เลี้ยงดูพระนารทพุทธเจ้า
ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ที่ไม่มีผู้เสมอ
พร้อมทั้งพระสงฆ์ ทั้งบริวารชนให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าว น้ำ บูชาด้วยจันทน์แดง.
ครั้งนั้น พระนารทพุทธเจ้า
ผู้นำโลกแม้พระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 441
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์
ที่น่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินตามทางอัน ที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และ พระอุบลวรรณนา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น.
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่าต้นอัสสัตถะ
จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อจิตตะ และหัตถะอาฬวกะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 442
จักมีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และอุตตรา
พระโคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้น จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์แลเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของพระนารทพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาด คำสั่งสอนของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระพุทธชินเจ้าพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งร่าเริงใจ
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

พระนารทพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่มีพระนคร
ชื่อว่าธัญญวดี พระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุเทวะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางอโนมา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 443
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยเก้าพันปี
มีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลังชื่อว่า ชิตะ วิชิตะ และอภิรามะ.
มีพระสนมนารี ที่ประดับกายงามสี่หมื่นสามพันนาง
พระอัครมเหสีพระนามว่า วิชิตเสนา
พระโอรสพระนามว่า นันทุตตระ.
พระยอดบุรุษทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ โดยดำเนินด้วยพระบาท
ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน.

พระมหาวีระนารทะ ผู้นำโลก ผู้สงบ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ธนัญชัยราชอุทยาน อันสูงสุด.
พระอัครสาวก ชื่อ พระภัททสาละ และ พระชิตมิตตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า วาเสฏฐะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อ พระอุตตรา และพระผัคคุนี
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นมหาโสณะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุคครินทะ และ วสภะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ อินทวรี และ คัณฑี.
พระมหามุนี ทรงสูง ๘๘ ศอก เช่นเดียวกับรูปปฏิมาทอง หมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้า.
พระรัศมีวาหนึ่ง แล่นออกจากพระวรกายของพระองค์ไปทั้งทิศน้อยทิศใหญ่
แผ่ไปโยชน์หนึ่ง ทั้งกลางวันกลางคืน ไม่มีระหว่างทุกเมื่อ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 444
สมัยนั้น ชนบางพวกไม่ยังคบเพลิง และดวงประทีปให้ลุกโพลงไปรอบๆ โยชน์หนึ่ง
เพราะพระพุทธรัศมีทั้งหลายครอบไว้.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี
พระนารทพุทธเจ้า พระองค์นั้น
เมื่อทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้นก็ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
ท้องฟ้างามวิจิตร ด้วยดวงดาวทั้งหลาย ฉันใด
พระศาสนาของพระองค์ก็งดงาม ด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระนราสภพระองค์นั้น ทรงสร้างสะพานธรรมไว้มั่นคง
เพื่อยังผู้ปฏิบัติที่เหลือให้ข้ามกระแสสังสารวัฏ แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ที่ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้นก็ดี
ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระนารทพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระชินะ ผู้ประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ กรุงสุทัสสนะ
พระสถูปอันประเสริฐ สูง ๔ โยชน์ ก็อยู่ ณ ที่นั้นแล.
จบวงศ์นารทพุทธเจ้าที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 445
พรรณนาวงศ์พระนารทพุทธเจ้าที่ ๙
เมื่อพระปทุมพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้ว ศาสนาของพระองค์ก็อันตรธานไปแล้ว
มนุษย์ทั้งหลายมีอายุแสนปี ลดลงโดยลำดับ จนมีอายุสิบปีแล้วก็เพิ่มขึ้นอีก
เป็นอายุอสงไขยหนึ่ง แล้วก็ลดลงเหลือเก้าหมื่นปี.

ครั้งนั้น พระศาสดายอดนรสัตว์พระนามว่า นารทะ
ผู้ทรงกำลัง ๑๐ มีวิชชา ๓ ผู้แกล้วกล้าด้วยเวสารัชชญาณ ๔
ผู้ประทานวิมุตติสาร อุบัติขึ้นในโลก.

พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมา สี่อสงไขยแสนกัป
ทรงบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้นแล้ว ก็ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอโนมาเทวี
ผู้มีพระโฉมไม่มีที่เปรียบพระอัครมเหสีในราชสกุล พระเจ้าสุเทวะ
วาสุเทพแห่งวีริยรัฐของพระองค์ กรุงธัญญวดี
ครบทศมาส พระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ ธนัญชัยราชอุทยาน.
ในวันเฉลิมพระนาม เมื่อกำลังเฉลิมพระนาม
เครื่องอาภรณ์ทั้งหลายที่สมควรเหมาะแก่การใช้สำหรับมนุษย์ทั้งหลายทั่วชมพูทวีป
ก็หล่นจากต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้นทางอากาศ ด้วยเหตุนั้น เขาจึงถวายเครื่อง
อาภรณ์ทั้งหลายที่สมควรสำหรับนรชนทั้งหลายแต่พระองค์ เพราะฉะนั้นพวก
โหรและพระประยูรญาติทั้งหลายจึงเฉลิมพระนามว่า นารทะ.

พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี.
มีปราสาท ๓ หลังเหมาะฤดูทั้ง ๓ ชื่อว่า วิชิตาวี วิชิตาวี และวิชิตาภิรามะ
พระชนกชนนีได้ทรงทำขัตติยกัญญาผู้มีบุญอย่างยิ่งพระนามว่า วิชิตเสนา
ผู้ถึงพร้อมด้วยสกุลศีลาจารวัตรและรูปสมบัติให้เป็นอัครมเหสีแก่นารทกุมารนั้น.
พระสนมนารี จำนวนแสนสองหมื่นนาง มีพระนางวิชิตเสนานั้นเป็นประธาน
เมื่อพระนันทุตตรกุมาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 446
ผู้นำความบันเทิงใจแก่โลกทั้งปวง ของพระนางวิชิตเสนาเทวีนั้น ประสูติแล้ว
พระนารทะกุมารนั้น ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ อันจตุรงคเสนาทัพใหญ่
แวดล้อมแล้วทรงเครื่องนุ่งห่มอันเบาดี สีต่างๆ สวมกุณฑลมณีมุกดาหาร
ทรงพาหุรัดพระมงกุฎและทองพระกรอย่างดี
ทรงประดับด้วยดอกไม้กลิ่นหอมอย่างยิ่ง ดำเนินด้วยพระบาทสู่พระราชอุทยาน
ทรงเปลื้องเครื่องประดับทั้งหมดมอบไว้ในมือพนักงานรักษาคลังหลวง
ทรงตัดพระเกศาและมงกุฎของพระองค์ที่ประดับด้วยรัตนะอันงามอย่างยิ่ง
ด้วยพระขรรค์อันคมกริบ เฉกเช่นกลีบบัวขาบอันไม่มีมลทินด้วยพระองค์เอง
แล้วทรงเหวี่ยงไปที่ท้องนภากาศ.

ท้าวสักกเทวราช ทรงรับด้วยผอบทอง นำไปภพดาวดึงส์
ทรงสร้างพระเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ เหนือยอดขุนเขาสิเนรุ สูง ๓ โยชน์.
ฝ่ายพระมหาบุรุษ ทรงครองผ้ากาสายะที่เทวดาถวาย
ทรงผนวช ณ อุทยานนั้นนั่นเอง บุรุษแสนคนก็บวชตามเสด็จ
พระมหาบุรุษทรงทำความเพียรอยู่ในที่นั้น ๗ วัน
วันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาสที่พระนางวิชิตเสนาอัครมเหสีถวาย
ทรงพักกลางวัน ณ พระราชอุทยานทรงรับหญ้า ๘ กำที่พนักงานเฝ้าพระสุทัสสนราชอุทยาน ถวาย
ทรงทำประทักษิณ ต้นมหาโสณะโพธิพฤกษ์
ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๕๘ ศอก ประทับนั่ง
ทรงกำจัดกองกำลังมาร
ทรงยังวิชชา ๓ ให้เกิดในยามทั้ง ๓ แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ
ทรงเปล่งพระอุทานว่า
อเนกชาติสํสารํ ฯเปฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา แล้ว
ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ประทานคำรับรองแล้วอันภิกษุแสนรูปที่บวชกับพระองค์ ณ ธนัญชัยราชอุทยานแวดล้อมแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ที่นั้น
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 447
ต่อจากสมัยของพระปทุมพุทธเจ้า
พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า นารทะ
ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้าไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเป็นเชษฐโอรสน่าเอ็นดูของพระเจ้าจักรพรรดิ
ทรงสวมอาภรณ์แก้วมณีเสด็จเข้าพระราชอุทยาน.
ณ พระราชอุทยานนั้น มีต้นไม้งามกว้างใหญ่สะอาดสะอ้าน
เสด็จถึงต้นไม้นั้นแล้วประทับนั่งภายใต้ต้นมหาโสณะ.
ณ ต้นไม้นั้น ก็เกิดญาณอันประเสริฐไม่มีที่สุด
คมเปรียบด้วยวชิระ ก็ทรงพิจารณาความเกิดความดับของสังขารทั้งหลาย.
ทรงขจัดกิเลสทุกอย่างไม่เหลือเลย ณ ต้นไม้นั้น
ทรงบรรลุพระโพธิญาณ และพระพุทธญาณ ๑๔ สิ้นเชิง.
ครั้นทรงบรรลุพระโพธิญาณแล้ว
ก็ทรงประกาศพระธรรมจักร
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฎิ.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า จกฺกวตฺติสฺส ได้แก่ พระเจ้าจักรพรรดิ
บทว่า เชฏฺโฐ ได้แก่ เกิดก่อน.
บทว่า ทยิตโอรโส ได้แก่ พระโอรส พระราชบุตร ที่น่าเอ็นดูน่ารัก.
บุตรที่เขาเอ็นดูแล้ว อันเขากอดประทับไว้ที่อก ชื่อว่า ทยิตโอรส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 448
บทว่า อามุกฺกมาลาภรโณ๑ ได้แก่ สวมพาหุรัดทองกรมงกุฏ
และกุณฑลมุกดาหารเป็นมาลัย.
บทว่า อุยฺยานํ ความว่า ได้ไปยังอารามชื่อ ธนัญชัยราชอุทยาน นอกพระนคร.
บทว่า ตตฺถาสิ รุกฺโข ความว่า เขาว่าในราชอุทยานนั้น มีต้นไม้ ต้นหนึ่ง ชื่อว่า รัตตโสณะ.
เขาว่าต้นรัตตโสณะนั้น สูง ๙๐ ศอก ลำต้นเกลากลม มีค่าคบและกิ่งก้านสะพรั่ง
มีใบเขียวหนาและกว้าง มีเงาทึบเพราะมีเทวดาสิงสถิต
จึงปราศจากหมู่นกนานาชนิดสัญจร เป็นดิลกจุดเด่นของพื้นธรณี
กระทำประหนึ่งราชาแห่งต้นไม้ ดูน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ทุกกิ่งประดับด้วย
ดอกสีแดง เป็นจุดรวมแห่งดวงตาของเทวดาและมนุษย์.
บทว่า ยสวิปุโล ได้แก่ มียศไพบูลย์ อธิบายว่า อันโลกทั้งปวงกล่าวถึง ปรากฏเลื่องลือไปในที่
ทั้งปวงเพราะสมบัติของต้นไม้เอง.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ตตฺถาสิ รุกฺโขวิปุโล ดังนี้ก็มี.
บทว่า พฺรหา แปลว่า ใหญ่ อธิบายว่า เช่นเดียวกับต้นปาริฉัตตกะของทวยเทพ.
บทว่า ตมชฺฌปฺปตฺวา ความว่า ถึง ถึงทับ คือเข้าไปยังต้นโสณะนั้น.
บทว่า เหฏฺฐโต ได้แก่ ภายใต้ต้นไม้นั้น.
บทว่า ญาณวรุปฺปชฺชิ ได้แก่ ญาณอันประเสริฐเกิดขึ้น.
บทว่า อนนฺตํ ได้แก่ นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้.
บทว่า วชิรูปมํ ได้แก่ คมเช่นวชิระ
คำนี้เป็นชื่อของวิปัสสนาญาณ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น.
บทว่า เตน วิจินิ สงฺขาเร ได้แก่ พิจารณาสังขารทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ด้วยวิปัสสนาญาณนั้น.
บทว่า อุกฺกุชฺชมวกุชฺชกํ ความว่า พิจารณาความเกิดและความเสื่อมของสังขารทั้งหลาย.
อธิบายว่า เพราะฉะนั้น พระองค์พิจารณาปัจจยาการออกจากจตุตถฌาน
มีอานาปานสติเป็นอารมณ์ หยั่งลงในขันธ์ ๕ ก็เห็นลักษณะ ๕๐ถ้วน
ด้วยอุทยัพพยญาณ เจริญวิปัสสนาจนถึงโคตรภูญาณ
ก็ได้พระพุทธคุณทั้งสิ้นโดยลำดับแห่งพระอริยมรรค
๑. บาลีเป็น อามุตฺตมณฺยาภรโณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 449
บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ณ ต้นโสณะ.
บทว่า สพฺพกิเลสานิ ได้แก่ สพฺเพปิ กิเลเส กิเลสแม้ทั้งหมด ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ตตฺถ สพฺพกิเลเสหิ.
บทว่า อเสสํ แปลว่า ไม่เหลือเลย
บทว่า อภิวาหยิ ได้แก่ ขจัดกิเลสทั้งหมด โดยเขตมรรคและเขตกิเลส
อธิบายว่านำเข้าไปสู่ความสูญหาย.
บทว่า โพธิ ได้แก่ อรหัตมรรคญาณ.
บทว่า พุทฺธญาเณ จ จุทฺทส ได้แก่ พุทฺธญาณานิ จุทฺทส พุทธญาณ ๑๔ อย่าง.
๑๔ อย่าง คืออะไร. คือญาณเหล่านี้อย่างนี้คือ มรรคญาณผลญาณ ๘ อสาธารณ-
ญาณ ๖ ชื่อว่าพุทธญาณของพระพุทธเจ้า. จ ศัพท์เป็นสัมปิณฑนัตถะ ด้วย จ
ศัพท์นั้นความว่า แม้ประการอื่นทรงบรรลุปฏิสัมภิทาญาณ ๔ เวสารัชชญาณ
๔ ญาณกำหนดกำเนิด ๔ ญาณกำหนดคติ ๕ ทศพลญาณ ย่อมรวมลงในพระพุทธคุณทั้งสิ้น.

พระมหาบุรุษนารทะ
ทรงบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าอย่างนี้
ทรงรับอาราธนาของท้าวมหาพรหม
ทรงทำภิกษุแสนโกฏิ ซึ่งบวชกับพระองค์ ณ ธนัญชัยราชอุทยาน
ไว้เฉพาะพระพักตร์แล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร.
ครั้งนั้นอภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ภิกษุแสนโกฏิ.

ได้ยินว่า ครั้งนั้นพระยานาค ชื่อ โทณะ
มีฤทธานุภาพมาก มหาชนสักการะเคารพนับถือบูชา อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา
ใกล้ มหาโทณนคร พวกมนุษย์ชาวชนบทในถิ่นใดไม่ทำการบวงสรวงพระยานาคนั้น
พระยานาคนั้นก็จะทำถิ่นนั้นของมนุษย์พวกนั้นให้พินาศโดยทำไม่ให้ฝนตกบ้าง
ให้ฝนตกมากเกินไปบ้าง ทำฝนก้อนกรวดให้ตกลงบ้าง.

ลำดับนั้น
พระนารทศาสดา ผู้ทรงเห็นฝั่ง
ทรงเห็นอุปนิสัยของสัตว์เป็นอันมาก
ในการแนะนำพระยานาคโทณะอันภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว
จึงเสด็จไปยังสถานที่อยู่ของพระยานาคนั้น.
แต่นั้นมนุษย์ทั้งหลายเห็นพระศาสดาแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระยานาคมีพิษร้าย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 450
มีเดชสูง มีฤทธานุภาพมาก อาศัยอยู่ในที่นั้น มันจักเบียดเบียนพระองค์
ไม่ควรเสด็จไปพระเจ้าข้า.
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประหนึ่งไม่ฟังคำของมนุษย์เหล่านั้นเสด็จไป.
ครั้นเสด็จไปแล้ว ก็ประทับนั่งบนเครื่องลาดดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมอย่างยิ่ง
ซึ่งพวกมนุษย์เซ่นสรวงพระยานาคนั้นในที่นั้น.
เขาว่า มหาชนประชุมกัน
ด้วยหมายว่าจะเห็นการยุทธของสองฝ่าย คือพระนารทจอมมุนีและพระยานาคโทณะ.

ครั้งนั้น
พระยานาคเห็นพระนาคมุนีนั่งอย่างนั้น
ทนการลบหลู่ไม่ได้ก็ปรากฏตัวบังหวนควัน. แม้พระทศพลก็ทรงบังหวนควัน
พระยานาคบันดาลไฟอีก. แม้พระมุนีเจ้าก็ทรงบันดาลไฟบ้าง.
พระยานาคนั้นมีเนื้อตัวลำบากอย่างเหลือเกิน
เพราะเปลวควันที่พลุ่งออกจากพระสรีระของพระทศพล ทนทุกข์ไม่ได้
ก็ปล่อยพิษออกไป หมายจะฆ่าพระองค์ด้วยความเร็วแห่งพิษ
ทั่วทั้งชมพูทวีปพึงพินาศด้วยความเร็วแห่งพิษ.
แต่พิษนั้น ไม่สามารถจะทำพระโลมาแม้เส้นเดียว
ในพระสรีระของพระทศพลให้สั่นสะเทือนได้.


ทีนั้น พระยานาคนั้นก็ตรวจดูว่า
พระสมณะมีความเป็นไปอย่างไรหนอ
ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระพักตร์งามผ่องใส
รุ่งเรืองด้วยพระพุทธรัศมี ๖ พรรณะ เต็มที่ดุจพระอาทิตย์และพระจันทร์ ในฤดูสารท
ก็คิดว่า โอ ! พระสมณะนี้มีฤทธิ์มาก เราไม่รู้กำลังของตัวเอง ผิดพลาดไปเสียแล้ว
แสวงหาที่ช่วยตัวเอง ก็ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแหละเป็นสรณะ.

ลำดับนั้น
พระนารทมุนีเจ้า ฝึกพระยานาคนั้นแล้ว
ก็ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ เพื่อยังจิตของมหาชนที่ประชุมกันในที่นั้นให้เลื่อมใส.
ครั้งนั้น สัตว์เก้าหมื่นโกฏิก็ตั้งอยู่ในพระอรหัต.
นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 451
พระมหามุนีทรงฝึกพระยานาคมหาโทณะ
เมื่อจะทรงแสดงแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก ก็ได้ทรงทำปาฏิหารย์ในครั้งนั้น.
ครั้งนั้น เทวดาและมนุษย์เก้าหมื่นโกฏิก็ข้ามพ้นความสงสัยทั้งปวง ในการประกาศธรรม.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ปาฏิเหรํ ตทากาสิ ความว่า ได้ทรงทำยมกปาฏิหาริย์.
หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.
ปาฐะว่า ตทา เทวมนุสฺสาวา ดังนี้ก็มี.
ในปาฐะนั้น ปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติว่า เทวมนุสฺสานํ
เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า เทวดาและมนุษย์เก้าหมื่นโกฏิ.
บทว่า ตรึสุ ได้แก่ ก้าวล่วงพ้น.
ครั้งเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโอวาทพระนันทุตตรกุมารพระโอรส
ของพระองค์ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งที่พระมหาวีระ ทรงโอวาทพระโอรสของพระองค์
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
ก็ครั้งที่พราหมณ์สหาย ๒ คน ชื่อ ภัททสาละและวิชิตมิตตะ
กำลังแสวงหาห้วงน้ำคือ อมฤตธรรม ก็ได้เห็นพระนารทสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้ายิ่ง
ประทับนั่งในบริษัท. เขาเห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการในพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ตกลงใจว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีกิเลสดุจหลังคาอันเปิดแล้วในโลก
เกิดศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยบริวารก็บวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
เมื่อสองสหายนั้นบวชแล้วบรรลุพระอรหัต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 452
แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ท่ามกลางภิกษุแสนโกฏิ.
นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระนารทพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตประชุมสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เป็นการประชุมสาวกแสนโกฎิ.

สมัยที่พระนารทสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสพุทธวงศ์ จำเดิมแต่ทรงตั้งปณิธานของพระองค์
ในสมาคมพระญาติ ภิกษุเก้าหมื่นโกฏิประชุมกัน

เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธคุณพร้อมทั้งเหตุ
ภิกษุเก้าหมื่นโกฏิผู้ไร้มลทินประชุมกัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า วิมลา ได้แก่ ปราศจากมลทิน อธิบายว่า พระขีณาสพ.
ครั้งที่พระยานาค ชื่อเวโรจนะ
ผู้เลื่อมใสในการฝึกพระยานาค ชื่อ มหาโทณะ
เนรมิตมณฑปที่สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ ขนาด ๓ คาวุต
ในแม่น้ำคงคา อาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งบริวาร
ให้ประทับนั่ง ณ มณฑปนั้น พร้อมทั้งบริวารก็นิมนต์เพื่อทรงชมโรงทานของตน
ณ ชนบทของตน ให้เหล่านาฏกะนักฟ้อนรำนาค และนักดนตรีผู้บรรเลงดนตรีชื่อตาละ
ซึ่งทรงเครื่องประดับแต่งตัวนานาชนิด ได้ถวายมหาทาน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมทั้งบริวารด้วยสักการะใหญ่ เสวยเสร็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำ
อนุโมทนาเสมือนเสด็จลงสู่มหาคงคา. ในกาลนั้นทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่าม
กลางภิกษุแปดล้าน ผู้ฟังธรรม เวลาจบอนุโมทนาภัตทาน เลื่อมใสแล้วบวช
ด้วยเอหิภิกขุบรรพชา นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 453
ครั้งเวโรจนนาค ถวายทานแด่พระศาสดา ภิกษุ
ชินบุตร แปดล้านก็ประชุมกัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อสีติสตสหสฺสิโย แปลว่า แปดล้าน.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราบวชเป็นฤาษี
เป็นผู้ชำนาญในอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘
สร้างอาศรมอาศัยอยู่ข้างภูเขาหิมพานต์
ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้านารทะ อันพระอรหันต์แปดสิบโกฏิ
และอุบาสกผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล หนึ่งหมื่นแวดล้อม
เสด็จไปยังอาศรมนั้น เพื่ออนุเคราะห์ฤาษีนั้น.

ดาบสเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น ก็ปลื้มใจ
สร้างอาศรมเพื่อเป็นที่ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้งบริวาร
ประกาศพระคุณของพระศาสดาสิ้นทั้งคืน
ฟังธรรมกถาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

วันรุ่งขึ้น ก็ไปอุตตรกุรุทวีป
นำอาหารมาจากที่นั้น ได้ถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งบริวาร
ถวายมหาทานอย่างนี้ ๗ วัน นำจันทน์แดงที่หาค่ามิได้มาจากป่าหิมพานต์
บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยจันทน์แดงนั้น.

ครั้งนั้น พระทศพลอันเทวดาและมนุษย์แวดล้อมแล้ว
ตรัสธรรมกถาแล้วทรงพยากรณ์ว่า
ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ ในอนาคตกาล.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีตบะสูง ถึงฝั่งอภิญญา ๕ ท่องเที่ยวไปในอากาศได้.
แม้ครั้งนั้น เราเลี้ยงดูพระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอ
พร้อมทั้งพระสงฆ์ ทั้งบริวารชน ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำแล้วบูชาด้วยจันทน์แดง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 454
แม้ครั้งนั้น พระนารทพุทธเจ้าผู้นำโลกพระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์เราว่าจักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต ทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งร่าเริงใจ
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้น เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตทาปาหํ ตัดบทว่า ตทาปิ อหํ.
บทว่า อสมสมํ ความว่า อดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลายชื่อว่า ไม่มีผู้เสมอ,
ผู้เสมอ คือวัดได้ด้วยอดีตพระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอเหล่านั้น ชื่อว่าผู้เสมอด้วย
พระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอ. อีกนัยหนึ่ง ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้ปราศจากผู้เสมอ.
สาธุชนผู้เสมอ ผู้ปราศจากผู้เสมอหามิได้.
บรรดาผู้เสมอด้วยท่านผู้ไม่มีผู้เสมอเหล่านั้น ผู้เสมอ
เมื่อควรจะกล่าวว่า อสมสมสโม ผู้เสมอเสมอกับท่านผู้ไม่มีผู้เสมอ
พึงทราบว่า ท่านกล่าวลบ สมศัพท์เสียศัพท์หนึ่ง.
ความว่า ผู้เสมอด้วยผู้ไม่มีผู้เสมอ คือผู้ปราศจากผู้เสมอ.
บทว่า สปริชฺชนํ ได้แก่ ทั้งชนผู้เป็นอุบาสก.
ปาฐะว่า โสปิ มํ ตทา นรมรูนํ มชฺเฌ มชฺเฌ พฺยากาสิ จกฺขุมา ดังนี้ก็มี.
ปาฐะนั้น มีความง่ายเหมือนกัน.
บทว่า ภุยโย หาเสตฺว มานสํ ได้แก่ ยังหัวใจให้ร่าเริง ให้ยินดียิ่งขึ้นไป.
บทว่า อธิฏฺฐหํ วตํ อุคฺคํ ได้แก่ อธิษฐานข้อวัตรสูงขึ้น.
ปาฐะว่า อุตฺตรึ วตมธิฏฐาสึ ทสปารมิปูริยา ดังนี้ก็มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 455
พระผู้มีพระภาคเจ้านารทะพระองค์นั้น
มีพระนครชื่อว่า ธัญญวดี
พระชนกเป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าสุเทวะ
พระชนนีพระนามว่า อโนมา
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระภัททสาละ และพระชิตมิตตะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระวาเสฏฐะ
คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระอุตตรา และพระผัคคุนี
โพธิพฤกษ์ชื่อว่าต้นมหาโสณะ
พระสรีระสูง ๘๘ ศอก
พระรัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์แผ่ไปโยชน์หนึ่งเป็นนิตย์
พระชนมายุเก้าหมื่นปี

พระอัครมเหสีของพระองค์พระนามว่า วิชิตเสนา
พระโอรสพระนามว่า นันทุตตระกุมาร
ปราสาท ๓ หลังชื่อ วิชิตะ วิชิตาวี และวิชิตาราม.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี.
พระองค์เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยพระบาท
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระนารทพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่อว่าธัญญวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุเทวะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางอโนมา.

พระนารทพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระอัครสาวกชื่อว่า พระภัททสาละและพระชินมิตตะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระวาเสฏฐะ.
พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระอุตตราเเละพระผัคคุนี
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นมหาโสณะ.
พระมหามุนีทรงสูง ๘๘ ศอก เช่นเดียวกับรูปปฏิมาทอง หมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 456
พระรัศมีวาหนึ่ง แล่นออกจากพระวรกายของพระองค์แผ่ไปทั้งทิศน้อยทิศใหญ่
แผ่ไปโยชน์หนึ่งทั้งกลางวันกลางคืน ไม่มีระหว่างทุกเมื่อ.

สมัยนั้น
ชนบางพวกจุดคบเพลิง และตามประทีปให้ติดสว่าง ในที่รอบ ๆ โยชน์หนึ่งไม่ได้
เพราะพระพุทธรัศมีครอบงำไว้เสีย.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี
พระนารทพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้นก็ยังหมู่ชนเป็นอันมาก ให้ข้ามโอฆสงสาร.
ท้องฟ้างามไพจิตร ด้วยดวงดาวทั้งหลายฉันใดศาสนาของพระองค์ก็งาม
ด้วยพระอรหันต์ทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน.

พระนราสภพระองค์นั้น
ทรงทำสะพานคือธรรม
เพื่อยังผู้ปฏิบัติที่เหลือให้ข้ามกระแสสังสารวัฎ แล้วเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน.
พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ที่ไม่มีผู้เสมอ พระองค์นั้นก็ดี
พระขีณาสพทั้งหลาย ผู้มีเดชที่ชั่งไม่ได้เหล่านั้นก็ดี
ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่าแน่แท้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า กญฺจนคฺฆิยสงฺกาโส ได้แก่
ผู้มีรูปงามเหมือนรูปปฏิมาที่สำเร็จด้วยทองที่วิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 457
บทว่า ทสสหสฺสี วิโรจติ ความว่า ทั้งหมื่นโลกธาตุเจิดจ้ารุ่งเรือง ด้วยพระรัศมีของพระองค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศความข้อนั้นนั่นแล
จึงตรัสว่า พระรัศมีวาหนึ่ง แล่นออกจากพระวรกายของพระองค์ไปทั้งทิศน้อยทิศใหญ่.
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า พฺยามปฺปกา กายา ได้แก่ เหมือนพระรัศมีวาหนึ่ง
เหตุนั้นจึงชื่อว่า พฺยามปฺปภา อธิบายว่า เหมือนพระรัศมีวาหนึ่งของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา.
น อักษรในคำว่า น เกจิ นี้ เป็นปฏิเสธัตถะ [ความปฏิเสธ] พึง
เห็นการเชื่อมความของ น อักษรนั้น กับศัพท์ว่า อุชฺชาเลนฺติ.
บทว่า อุกฺกา ได้แก่ ประทีปมีด้าม.
ชนบางพวกไม่ยังคบเพลิงหรือดวงประทีปให้ติดโพลงไม่ให้ลุกโพลงได้.
ถ้าจะถามว่า เพราะเหตุไร.
ก็ตอบได้ว่า เพราะแสงสว่างของพระรัศมีแห่งพระพุทธสรีระ.
บทว่า พุทฺธรํสีหิ แปลว่า พระพุทธรัศมีทั้งหลาย.
บทว่า โอตฺถฏา ได้แก่ ทับไว้.
บทว่า อุฬูหิ แปลว่า ดวงดาวทั้งหลาย ความว่า ท้องฟ้างามวิจิตร
ด้วยดวงดาวทั้งหลาย ฉันใด พระศาสนาของพระนารทพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก็งดงามวิจิตรด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
บทว่า สํสารโสตํ ตรณาย ได้แก่ เพื่อข้ามสาครคือสังสารวัฏ.
บทว่า เสสเก ปฏิปนฺนเก ความว่า ยังเสกขบุคคลที่เหลือกับกัลยาณปุถุชน
เว้นพระอรหันต์ทั้งหลาย.
บทว่า ธมฺมเสตุํ ได้แก่ สะพานคือมรรค.
ความว่า ทรงตั้งสะพานธรรมเพื่อยังบุคคลที่เหลือให้ข้ามจากสังสารวัฎ
ทรงทำกิจทุกอย่างเสร็จแล้ว ก็ปรินิพพาน.
คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น เพราะกล่าวไว้แล้วแต่หนหลัง แล.
จบพรรณนาวงศ์พระนารทพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 458


17

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 424
๘. วงศ์พระปทุมพุทธเจ้าที่ ๘
ว่าด้วยพระประวัติของพระปทุมพุทธเจ้า

[๙] ต่อจากสมัยของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
พระปทุมสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นยอดของสัตว์สองเท้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบ.
ทั้งศีลของพระองค์ไม่มีอะไรเสมอ ทั้งสมาธิ ก็ไม่มีที่สุด
ทั้งพระญาณอันประเสริฐก็นับไม่ได้
ทั้งวิมุตติก็ไม่มีอะไรเปรียบ.
อภิสมัย อันลอยเสียซึ่งความมืดใหญ่ของพระองค์ผู้มีพระเดชอันชั่งไม่ได้
ในการประกาศพระธรรมจักรมี ๓ ครั้ง.
อภิสมัยครั้งที่ ๑ พระพุทธเจ้าทรงยังสัตว์ร้อยโกฏิให้ตรัสรู้
อภิสมัยครั้งที่ ๒ พระจอมปราชญ์ทรงยังสัตว์เก้าสิบโกฏิให้ตรัสรู้.
ครั้งพระปทุมพุทธเจ้า ทรงโอวาทพระโอรสของพระองค์เอง
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดสิบโกฏิ.

พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ เป็นการประชุมสาวกแสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 425
เมื่อกฐินจีวรเกิดขึ้น ในสมัยกรานกฐิน
ภิกษุทั้งหลายช่วยกันเย็บจีวร
เพื่อ พระสาลเถระ พระธรรมเสนาบดี.
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น
ผู้ไร้มลทิน มีอภิญญา ๖มีฤทธิ์มาก
ไม่แพ้ใคร จำนวนสามแสนโกฏิ ก็ประชุมกัน.
ต่อมาอีก
พระนราสภพระองค์นั้น เสด็จเข้าจำพรรษา ณ ป่าใหญ่
ครั้งนั้น เป็นการประชุมพระสาวกสองแสนโกฏิ.

สมัยนั้น เราเป็นราชสีห์เจ้าแห่งมฤค
ได้เห็นพระชินพุทธเจ้า ซึ่งกำลังเพิ่มพูนความสงัด ในป่าใหญ่.
เราใช่เศียรเกล้าถวายบังคมพระบาท ทำประทักษิณพระองค์
บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง บำรุงพระชินพุทธเจ้า ๗ วัน.
๗ วัน พระตถาคตทรงออกจากนิโรธสมาบัติ
ทรงพระดำริด้วยพระหฤทัย ก็ทรงนำภิกษุมานับโกฏิ.

แม้ครั้งนั้น พระมหาวีระก็ทรงพยากรณ์เราท่ามกลางภิกษุเหล่านั้นว่า
ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์ที่น่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 426
ตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จไปตามทางอันดีที่จัดแต่งแล้ว เข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ก็ทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ.

ผู้นี้จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวกชื่อว่า พระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น.
โพธิพฤกษ์ของ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่าต้นอัสสัตถะ
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถะอาฬวกะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 427
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตาและอุตตรา.
พระโคดม ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ
พระปทุมพุทธเจ้า ที่ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ก็พากันปลาบปลื้มใจว่า ผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้องปรบมือ
หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสอน ของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง
หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า จะผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล
พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีใหญ่บริบูรณ์.

พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่อว่า จัมปกะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอสมะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางอสมา.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัย หมื่นปี
มีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อ นันทะ วสุ และ ยสัตตระ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 428
มีพระสนมนารี ที่แต่งกายงาม สามหมื่นสามพันนาง
มีพระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางอุตตรา
พระโอรสพระนามว่า รัมมะ.
พระชินพุทธเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยยานคือ รถ
ทรงตั้งความเพียร ๘ เดือนเต็ม.

พระมหาวีระ ปทุมพุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้สงบ
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ธนัญชัยราชอุทยาน อันสูงสุด.

พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระอัครสาวชื่อว่า พระสาละ และ พระอุปสาละ
พระพุทธอุปัฏฐา ชื่อว่า พระวรุณะ.
มีพระอัครสาวิกาชื่อว่าพระราชา และพระสุราธา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า
ต้นมหาโสณะ (ไม้อ้อยช้างใหญ่).
มีอัครอุปัฏฐากชื่อว่า สภิยะ และ อสมะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า รุจิ และ นันทิมารา.
พระมหามุนีสูง ๕๘ ศอก
พระรัศมีของพระองค์ไม่มีอะไรเสมอ แล่นออกไปทุกทิศ.
แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงรัตนะ แสงไฟและแสงมณี เหล่านั้น
พอถึงรัศมีพระชินเจ้าอันสูงสุดก็ถูกกำจัดไปสิ้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 429
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี พระองค์ทรงมี
พระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระปทุมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทั้งพระสาวก ยัง
เวไนยสัตว์ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าแล้วให้ตรัสรู้ไม่เหลือ
เลย ส่วนที่เหลือ ก็ทรงพร่ำสอน แล้วก็ดับขันธปรินิพพาน.
พระองค์ทรงละสังขารทุกอย่าง เหมือนงูลอก
คราบ เหมือนต้นไม้สลัดใบเก่า แล้วก็ดับขันธปรินิพพาน เหมือนดวงไฟ ฉะนั้น.

พระปทุมศาสดา พระชินะผู้ประเสริฐ
ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหาร ธัมมาราม
พระบรมสารีริกธาตุ ก็แผ่กระจายไปเป็นส่วนๆ ณ ประเทศนั้น ๆ.
จบวงศ์พระปทุมพุทธเจ้าที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 430

พรรณนาวงศ์พระปทุมพุทธเจ้าที่ ๘
ต่อจากสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี
มนุษย์ทั้งหลายมีอายุแสนปีแล้วลดลงโดยลำดับจนมีอายุ ๑๐ ปี
แล้วเพิ่มขึ้นโดยลำดับอีก จนมีอายุแสนปี.
ครั้งนั้น พระศาสดาพระนามว่า ปทุม ทรงอุบัติขึ้นในโลก.
แม้พระศาสดาพระองค์นั้น ก็ทรงบำเพ็ญบารมี บังเกิดขึ้นสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอสมา ผู้ที่ไม่มีผู้เสมอด้วย
พระรูปเป็นต้น อัครมเหสีในราชสกุลของ พระเจ้าอสมราช กรุงจัมปกะ.
ครบกำหนดทศมาแล้ว พระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระชนนี ณ จัมปกะราชอุทยาน.
เมื่อพระกุมารสมภพ ฝนปทุมหล่นจากอากาศตกลงที่ท้าย มหาสมุทรทั่วชมพูทวีป.
ด้วยเหตุนั้น ในวันขนานพระนามพระกุมารนั้น
พวกโหรและเหล่าพระประยูรญาติ จึงขนานพระนามว่า มหาปทุมกุมาร

พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี
ทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่านันทุตตระ วสุตตระ และยสุตตระ.
ปรากฏ พระสนมนารีสามหมื่นสามพันนาง
มีพระนางอุตตราเทวีเป็นประมุข.

ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อ รัมมราชกุมาร ของพระนางอุตตรามหาเทวีสมภพ
ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วย รถเทียมม้า
บุรุษโกฏิหนึ่งบวชตามเสด็จพระมหาสัตว์ซึ่งทรงผนวชอยู่นั้น
พระมหาสัตว์อันบุรุษเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือน
ในวันวิสาขบูรณมีเสวยข้าวมธุปายาส
ซึ่ง นางธัญญวดี ธิดาของ สุธัญญเศรษฐี กรุงธัญญวดีถวายแล้ว

ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ มหาสาลวัน
เวลาเย็นทรงรับหญ้า ๘ กำซึ่ง ติตถกะอาชีวก ถวาย
แล้วเสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อต้นมหาโสณะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 431
ไม้อ้อยช้างใหญ่ ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๓๘ ศอก
ประทับนั่งขัดสมาธิอธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔
ทรงกำจัดกองกำลังมาร
ทรงทำให้แจ้งวิชชา ๓ ในยามทั้ง ๓
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯลฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา
ทรงยับยั้งอยู่ใกล้โพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์ ทรงรับอาราธนาท้าวมหาพรหม
ทรงตรวจดูบุคคลซึ่งเป็นภาชนะรองรับพระธรรมเทศนา
ทรงเห็นภิกษุจำนวนโกฏิซึ่งบวชกับพระองค์
ในทันใด ก็เสด็จไปทางอากาศลง ณ ธนัญชัยราชอุทยาน
ใกล้กรุงธัญญวดี อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น.
ครั้งนั้น อภิสมัยได้มีแก่สัตว์ร้อยโกฏิ

ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า

พระสมัยพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุม
เป็นยอดของสัตว์สองเท้า ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบ.
ทั้งศีลของพระองค์ก็ไม่มีอะไรเสมอ ทั้งสมาธิก็ไม่มีที่สุด
ทั้งพระญาณอันประเสริฐ ก็นับไม่ได้ทั้งวิมุตติ ก็ไม่มีอะไรเปรียบ.
ในการประกาศพระธรรมจักรของพระองค์ ผู้มีพระเดชที่ชั่งไม่ได้
อภิสมัยการตรัสรู้ ที่เป็นเครื่องลอยความมืดอย่างใหญ่ มี ๓ ครั้ง.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อสมํ สีลํ ได้แก่ ไม่เสมือนด้วยศีลของผู้อื่น อธิบายว่า สูงสุด ประเสริฐสุด.
บทว่า สมาธิปิ อนนฺตโก ได้แก่ ทั้งสมาธิ ก็หาประมาณมิได้.
ความที่สมาธินั้น ไม่มีที่สุด พึงเห็นในยมกปาฏิหาริย์เปิดโลกเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 432
บทว่า ญาณวรํ ได้แก่ พระสัพพัญญุตญาณ หรือพระอสาธารณญาณทั้งหลาย.
บทว่า วิมุตฺติปิ ได้แก่ แม้พระอรหัตผลวิมุตติของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า อนูปมา ได้แก่ เว้นที่จะเปรียบได้.
บทว่า อตุลเตชสฺส ได้แก่ ผู้มีพระเดชคือญาณอันชั่งมิได้.
ปาฐะว่าอตุลญาณเตชา ดังนี้ก็มี.
ปาฐะนั้น พึงเห็นว่าเชื่อมความกับบทหลังนี้ว่า ตโย อภิสมยา.
บทว่า มหาตมปวาหนา ได้แก่ ยังโมหะใหญ่ให้พินาศ อธิบายว่า กำจัดความมืดคือโมหะ.

สมัยต่อมา
พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมทรงให้สาลกุมารและอุปสาลกุมาร
พระกนิษฐภาดาของพระองค์บรรพชาในสมาคมพระประยูรญาติ
พร้อมทั้งบริวาร เมื่อทรงแสดงธรรมโปรดชนเหล่านั้น
ทรงยังสัตว์เก้าสิบโกฏิให้ดื่มอมตธรรม
ก็ครั้งที่ทรงแสดงธรรมโปรดพระธัมมเถระ อภิสมัยก็ได้มีแก่สัตว์แปดสิบโกฏิ.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
อภิสมัยครั้งที่ ๑ พระพุทธเจ้าทรงยังสัตว์ร้อยโกฏิให้ตรัสรู้
อภิสมัยครั้งที่ ๒ พระจอมปราชญ์ทรงยังสัตว์ให้ตรัสรู้เก้าสิบโกฏิ.

ครั้งที่พระปทุมพุทธเจ้า
ทรงโอวาทพระโอรสของพระองค์
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดสิบโกฏิ.

ครั้งนั้น พระเจ้าสุภาวิตัตตะ มีราชบริพารแสนโกฏิ
ทรงผนวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ในสำนักของพระปทุมพุทธเจ้า
ผู้มีพระพักตร์ดังดอกปทุมบาน.
ในสันนิบาตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงนั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 433

สมัยต่อมา พระมหาปทุมพุทธเจ้า
มุนีผู้เลิศผู้มีคติเสมอด้วยโคอุสภะ
ทรงอาศัยกรุงอสุภวดีเข้าจำพรรษา พวกมนุษย์ชาวนครประสงค์จะเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงพากันเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดชนเหล่านั้น.
มนุษย์เป็นอันมากในที่นั้น มีจิตเลื่อมใส ก็พากันบวช
แต่นั้นพระทศพลทรงปวารณาเป็นวิสุทธิปวารณากันภิกษุเหล่านั้น
และภิกษุสามแสนอื่น ๆ นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ส่วนชนเหล่าใดยังไม่บวชในครั้งนั้น
ชนเหล่านั้น ฟังอานิสงส์กฐินแล้ว ก็พากันถวายกฐินจีวรที่ให้อานิสงส์ ๕
ในวันปาฏิบท ๕ เดือน.
แต่นั้น ภิกษุทั้งหลายอ้อนวอนพระสาลเถระ
พระธรรมเสนาบดีอัครสาวก ผู้มีปัญญาไพศาลนั้น เพื่อกรานกฐิน
ได้ถวายกฐินจีวรแก่พระสาลเถระนั้น.
เมื่อกฐินจีวรของพระเถระอันภิกษุทั้งหลายทำกันอยู่ ภิกษุทั้งหลายก็เป็นสหายช่วยกันเย็บ.

ฝ่ายพระปทุมสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงร้อยด้ายเข้ารูเข็มประทาน เมื่อจีวรสำเร็จแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จจาริกหลีกไปพร้อมด้วยภิกษุสามแสน.

สมัยต่อมา
พระพุทธสีหะ ประดุจบุรุษสีหะผู้ดำเนินไปด้วยความองอาจดังราชสีห์
เสด็จเข้าจำพรรษา ณ ป่าใหญ่ ที่มีดอกไม้หอมอย่างยิ่งมีผลไม้เป็นพวงมีกิ่งก้านอันอ่อนโน้ม
มีค่าคบไม้ เสมือนป่าโคสิงคสาลวัน บริบูรณ์ด้วยห้วงน้ำที่เย็นอร่อย
ประดับด้วยบัวก้านบัวสายไร้มลทิน
เป็นที่สัญจรของหมู่เนื้อเช่นกวาง จามรี ราชสีห์ เสือ ช้าง ม้า โค กระบือเป็นต้น
อันฝูงแมลงภู่และผึ้งสาว ที่มีใจติดกลิ่นดอกไม้อันหอมกรุ่น บินตอมว่อนเป็นฝูง ๆ
โดยรอบ อันเหล่านางนกดุเหว่า มีใจเบิกบานด้วยรสผลไม้ ส่งเสียงร้องไพเราะ
แผ่วเบาคล้ายขับกล่อมอยู่ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง
สงัดปราศจากผู้คน เหมาะแก่การประกอบความเพียร.
พระตถาคตทศพล พระธรรมราชาพร้อมทั้งบริวารประทับอยู่ ณ ป่าใหญ่นั้น
รุ่งโรจน์ด้วยพระพุทธสิริ มนุษย์ทั้งหลายเห็นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 434
ฟังธรรมของพระองค์ก็เลื่อมใส พากันบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา.
ครั้งนั้น พระองค์อันภิกษุสองแสนแวดล้อมแล้ว
ก็ทรงปวารณาพรรษา นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมีสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ เป็นการประชุมภิกษุแสนโกฏิ.
ในสมัยกรานกฐิน เมื่อกฐินจีวรเกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวร เพื่อพระธรรมเสนาบดี.
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ไร้มลทิน มีอภิญญา ๖มีฤทธิ์มาก ไม่แพ้ใคร
จำนวนสามแสนโกฏิประชุมกัน.

ต่อมาอีก
พระนราสภพระองค์นั้น เสด็จเข้าจำพรรษา ณ ป่าใหญ่
ครั้งนั้นเป็นการประชุมภิกษุสองแสนโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า กฐินตฺถารสมเย ได้แก่ ในสมัยกรานกฐินจีวร.
บทว่า ธมฺมเสนาปติตฺถาย ได้แก่ เพื่อพระสาลเถระพระธรรมเสนาบดี.
บทว่า อปราชิตา ได้แก่ น ปราชิตา อันใคร ๆ ให้แพ้ไม่ได้.พึงเห็นว่า ลบวิภัตติ.
บทว่า โส ได้แก่ พระปทุมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
บทว่า ปวเน แปลว่า ป่าใหญ่.
บทว่า วาสํ ได้แก่ อยู่จำพรรษา.
บทว่า อุปาคมิ แปลว่า เข้า.
บทว่า ทฺวินฺนํ สตสหสฺสินํ แปลว่า สองแสน.
ปาฐะว่า ตทา อาสิ สมาคโม ดังนี้ก็มี. ผิว่า มีได้ก็ดี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 435
ครั้งนั้น เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ ไพรสณฑ์นั้น
พระโพธิสัตว์ของเราเป็นราชสีห์
เห็นพระองค์ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ ๗ วัน ก็มีจิตเลื่อมใส
ทำประทักษิณ เกิดปีติโสมนัส บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง ไม่ละปีติ
ที่มีพุทธคุณเป็นอารมณ์ ๗ วัน ด้วยปีติสุขนั่นแล ก็ไม่ออกหาเหยื่อ
ยอมสละชีวิต ยืนอยู่ใกล้ ๆ.
ครั้งนั้น ล่วงไป ๗ วัน
พระศาสดาก็ออกจากนิโรธสมาบัติ ผู้เป็นสีหะในนรชน
ทรงตรวจดูราชสีห์ ทรงพระดำริว่า ขอราชสีห์นั้น จงมีจิตเลื่อมใสแม้ในภิกษุสงฆ์
ขอสงฆ์จงมา ภิกษุหลายโกฏิก็พากันมาทันทีทันใด
ราชสีห์ก็ยังจิตให้เลื่อมใสในพระสงฆ์.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูจิตของราชสีห์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์ว่า
ในอนาคตกาล ราชสีห์ตัวนี้ จักเป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นราชสีห์เจ้ามฤค
ได้เห็นพระชินพุทธเจ้า ผู้เพิ่มพูนความสงัดอยู่ในป่าใหญ่.
เราใช้เศียรเกล้าบังคมพระบาท ทำประทักษิณ
พระองค์ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง เฝ้าพระชินพุทธเจ้า ๗ วัน.
๗ วัน พระตถาคตก็ทรงออกจากนิโรธ
ทรงดำริด้วยพระหฤทัย นำภิกษุมานับโกฏิ.

แม้ครั้งนั้น พระมหาวีระพระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์เราท่ามกลางภิกษุเหล่านั้นว่า
ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 436
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว
ก็ยิ่งเลื่อมใสอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป
เพื่อบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ปวิเวกมนุพฺรูหนฺตํ ได้แก่ ทรงเข้านิโรธสมาบัติ.
บทว่า ปทกฺขิณํ ได้แก่ ทำประทักษิณ ๓ ครั้ง.
บทว่า อภินาทิตฺวา ได้แก่ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง.
บทว่า อุปฏฺฐหํ แปลว่า บำรุง.
อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า วรสมาปตฺติยา ได้แก่ ออกจากนิโรธสมาบัติ.
บทว่า มนสา จินฺตยิตฺวาน ความว่า ทรงพระดำริทางพระหฤทัยว่า ภิกษุทั้งหมดจงมาที่นี้.
บทว่า สมานยิ แปลว่า นำมาแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ปทุมะ พระองค์นั้น
ทรงมีพระนคร ชื่อว่า จัมปกะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอสมะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางอสมา
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระสาละ และ พระอุปสาละ.
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระวรุณะ
คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระราธา และพระสุราธา.
โพธิพฤกษ์ ชื่อว่า ต้นมหาโสณะ อ้อยช้างใหญ่.
พระสรีระสูง ๕๘ ศอก
พระชนมายุแสนปี.
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางอุตตรา
ผู้ยอดเยี่ยมด้วยคุณมีพระรูปเป็นต้น
พระโอรสของพระองค์น่ารื่นรมย์ยิ่ง พระนามว่า พระรัมมกุมาร.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระนครชื่อว่า จัมปกะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอสมะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางอสมา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 437
พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระสาละ และ พระอุปสาละ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระราชา และพระสุราธา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่าต้นมหาโสณะ.
พระมหามุนี ทรงสูง ๕๘ ศอก
พระรัศมีของพระองค์ไม่มีอะไรเสมอ แล่นออกไปทุกทิศ.
แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงรัตนะ แสงไฟแสงมณี แสงเหล่านั้น
พอถึงพระรัศมีของพระชินพุทธเจ้าอันสูงสุด ก็ถูกกำจัดไปสิ้น.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี
พระปทุมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทรงพระสาวก ยังสัตว์ทั้งหลายที่ใจอัน
กุศลอบรมให้แก่กล้าแล้วให้ตรัสรู้ ไม่เหลือเลย
ส่วนที่เหลือ ก็ทรงพร่ำสอนแล้วเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน.
พระองค์ทรงละสังขารทั้งปวง เหมือนงูละคราบเก่า
เหมือนต้นไม้สลัดใบเก่า แล้วดับขันธปรินิพพานเหมือนดวงไฟ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า รตนคฺคิมณิปฺปภา ได้แก่ แสงรัตนะแสงไฟ และ แสงแก้วมณี.
บทว่า หตา ได้แก่ ถูกครองงำ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 438
บทว่า ชินปภุตฺตมํ ความว่า ถึงพระรัศมีแห่งพระสรีระของพระชินพุทธเจ้าที่รุ่งเรืองยิ่งก็ถูกกำจัด.
บทว่า ปริปกฺกมานเส ได้แก่ เวไนยสัตว์ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า.
บทว่า วฑฺฒปตฺตํ แปลว่า ใบเก่า.
บทว่า ปาทโปว ก็คือ ปาทโป วิยเหมือนต้นไม้.
บทว่า สพฺพสงฺขาเร ได้แก่ สังขารภายในภายนอกทุกอย่าง.
ปาฐะว่า หิตฺวา สพฺพสงฺขารํ ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
บทว่า ยถา สิขี ความว่า เสด็จถึงอย่างดีซึ่งความดับเหมือนไฟไม่มีเชื้อ.
คำที่เหลือในที่นี้ ก็ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง ในคาถาทั้งหลายแล.
จบพรรณนาวงศ์พระปทุมพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 439



18

๗. วงศ์พระอโนมทัสสีพุทธเจ้าที่ ๗

ว่าด้วยพระประวัติของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
[๘] ต่อจากสมัยของพระโสภิตพุทธเจ้า
พระอโนมทัสสีสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้า
มีพระยศหาประมาณมิได้ มีพระเดชอันใครล่วงละเมิดได้ยาก.
พระองค์ทรงตัดเครื่องผูกทั้งปวง ทรงรื้อภพทั้งสาม
ทรงแสดงบรรดาเครื่องไปไม่กลับ สำหรับเทวดาและมนุษย์.
พระองค์ไม่กระเพื่อมดุจสาคร อันใคร ๆ เฝ้าได้
ยากดุจบรรพต มีพระคุณไม่มีที่สุดดุจอากาศ
ทรงบานเต็มที่ดุจพระยาสาลพฤกษ์.
แม้ด้วยเพียงเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สัตว์ทั้งหลายก็ยินดี สัตว์เหล่านั้น ได้ฟังพระดำรัสของ
พระองค์ซึ่งกำลังตรัสอยู่ ก็บรรลุอมตธรรม.

พระองค์มีธรรมาภิสมัย สำเร็จเจริญไปในครั้งนั้น
ทรงแสดงธรรมครั้งที่ ๑ สัตว์ร้อยโกฏิก็ได้ตรัสรู้.
เมื่อพระองค์ทรงหลั่งฝนคือธรรม ตกลงในอภิสมัย ต่อจากครั้งที่ ๑ นั้น
ทรงแสดงธรรมครั้งที่ ๒ สัตว์แปดสิบโกฏิ ก็ตรัสรู้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 409
เมื่อพระองค์หลั่งฝนธรรม ต่อจากอภิสมัยครั้งที่ ๒ นั้น ยังสัตว์ทั้งหลายให้อิ่ม
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแต่สัตว์เจ็ดสิบแปดโกฏิ.

พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น มีสันนิบาต
ประชุมพระอรหันต์ผู้ถึงกำลังแห่งอภิญญา ผู้บานเต็มที่แล้วด้วยวิมุตติ ๓ ครั้ง.
[ครั้งที่ ๑] เป็นการประชุมพระอรหันต์แปดแสน
ผู้ละความเมาและโมหะ มีจิตสงบ ผู้คงที่.
ครั้งที่ ๒ เป็นการประชุมพระอรหันต์เจ็ดแสน
ผู้ไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลสธุลี ผู้สงบคงที่.
ครั้งที่ ๓ เป็นการประชุม พระอรหันต์หกแสน
ผู้ถึงกำลังแห่งอภิญญา ผู้เย็นสนิทมีตบะ.

สมัยนั้น เราเป็นยักษ์มีฤทธิ์ เป็นใหญ่ มีอำนาจเหนือยักษ์หลายโกฏิ.
แม้ครั้งนั้น เราเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น
เลี้ยงดูพระผู้นำโลกพร้อมทั้งพระสงฆ์ให้อิ่มหนำสำราญ.
พระมุนี ผู้มีพระจักษุบริสุทธิ์แม้พระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้ จักเป็นพระพุทธเจ้า ในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 410
พระตถาคตเสด็จออกอภิเนษกรณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์ ที่น่ารื่นรมย์
ทรงตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาสในที่นั้นแล้ว เสด็จเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งแล้ว เข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัสสัตถะ.

ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนี พระนามว่าพระนางมายา
พระชนกพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้พระนามว่าโคตมะ.
พระอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะและพระสารีบุตร
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า อานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าพระองค์ นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมาและพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเข้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 411
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และ หัตถะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และ อุตตรา
พระโคตมพุทธเจ้าผู้มีพระยศพระองค์นั้น มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้ว
ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้องปรบมือหัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราพลาดคำสั่งสอนของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
เราทั้งหมด ผิว่าผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้าพระองค์
นี้ ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราสดับพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยินดีสลดใจ
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์.

พระอโนมทัสสีศาสดา
ทรงมีพระนคร ชื่อว่า จันทวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้ายสวา
พระชนนีพระนามว่า พระนางยโสธรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 412
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี
ทรงมีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อ สิริ อุปสิริ วัฑฒะ
ทรงมีพระสนมนารีสองหมื่นสามพันนาง
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสิริมา
มีพระโอรสพระนามว่า อุปสาละ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือวอ
ทรงตั้งความเพียร ๑๐ เดือนเต็ม.

พระมหาวีระ อโนมทัสสี มหามุนีผู้สงบ
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ สุธัมมราชอุทยานอันยอดเยี่ยม.
พระอโนมทัสสีศาสดา
ทรงมีอัครสาวก ชื่อว่า พระนิสกะและพระอโนมะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะ.
มีอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสุนทรี๑ และพระสุมนา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นอัชชุนะ (ต้นกุ่ม).
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นันทิวัฑฒะ และสิริวัฑฒะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า อุปลา และปทุมา.
พระมุนีสูง ๕๘ ศอก
พระรัศมีของพระองค์แล่นออกไป ดุจดวงอาทิตย์.
๑. บาลีว่า สุนทรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 413
สมัยนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี
พระองค์ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
ปาพจน์คือธรรมวินัย อันพระอรหันต์ทั้งหลายผู้คงที่ ปราศจากราคะไร้มลทินให้แผ่ไปดีแล้ว
คำสั่งสอนพระชินพุทธเจ้า จึงงาม.
พระศาสดา ผู้มีพระยศหาประมาณมิได้ พระองค์นั้นด้วย
คู่พระสาวกอันใครๆ วัดมิได้ เหล่านั้นด้วย
ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวง ก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ผู้ชนะศาสดา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารธัมมาราม
พระสถูปของพระองค์ ณ อารามนั้น สูง ๒๐ โยชน์.
จบวงศ์พระอโนมทัสสีพุทธเจ้าที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 414
พรรณนาวงศ์พระอโนมทัสสีพุทธเจ้าที่ ๗
เมื่อพระโสภิตพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้ว
ภายหลังสมัยของพระองค์อสงไขยหนึ่ง ก็ว่างเว้นพระพุทธเจ้าทรงอุบัติ.

เมื่ออสงไขยนั้นล่วงไปแล้ว ในกัปหนึ่ง
พระพุทธเจ้าก็บังเกิด ๓ พระองค์ คือ
พระอโนมทัสสี
พระปทุมะ
พระนารทะ.

บรรดาพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี
ทรงบำเพ็ญบารมี สิบหกอสงไขย แสนกัป บังเกิด ณ สวรรค์ชั้นดุสิต
อันทวยเทพอ้อนวอนแล้ว ก็จุติจากดุสิตสวรรค์นั้น
ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางยโสธรา ผู้มีพระเต้าถันงามช้อน
อัครมเหสีในราชสกุลของ พระเจ้ายสวา กรุง จันทวดีราชธานี.

เล่ากันว่า
เมื่อพระอโนมทัสสีกุมาร อยู่ในครรภ์ของพระนางยโสธราเทวี
ด้วยอานุภาพบุญบารมี พระรัศมีแผ่ไปตลอดเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ศอก
รัศมีดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ข่มไม่ได้.
ถ้วนกำหนดทศมาส พระนางก็ประสูติพระโพธิสัตว์
ปาฏิหารย์ทั้งหลายมีนัยที่กล่าวไว้แต่หนหลัง.

ในวันรับพระนาม พระประยูรญาติ
เมื่อขนานพระนามของพระองค์เพราะเหตุที่รัตนะ ๗ ประการ
หล่นจากอากาศในขณะประสูติ
ฉะนั้นจึงขนานพระนามว่า อโนมทัสสี
เพราะเป็นเหตุเกิดรัตนะอันไม่ทราม.

พระองค์ทรงเจริญวัยโดยลำดับ
ถูกบำเรอด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์
ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี.

เขาว่า ทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อ สิริ อุปสิริ สิริวัฑฒะ
ทรงมีพระสนมนารีสองหมื่นสามพันนาง มีพระนางสิริมาเทวีเป็นประมุข
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 415
เมื่อพระอุปวาณะ โอรสของพระนางสิริมาเทวีประสูติ
พระโพธิสัตว์นั้นก็ทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือวอ
ทรงผนวชแล้ว ชนสามโกฏิ ก็บวชตามเสด็จพระองค์.
พระมหาบุรุษอันชนสามโกฏินั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียร ๑๐ เดือน.
แต่นั้น ในวันวิสาขบูรณมี เสด็จบิณฑบาตในหมู่บ้าน อนูปมพราหมณ์
เสวยข้าวมธุปายาส ที่ธิดาอนูปมเศรษฐีถวายแล้วทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาละวัน
ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่อาชีวกชื่ออนูปมะถวายแล้ว
ทรงทำประทักษิณโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัชชุนะ ไม้กุ่ม
ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๓๘ ศอก
ประทับนั่งขัดสมาธิอธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔
ทรงกำจัดกองกำลังมารพร้อมทั้งตัวมาร
ทรงยังวิชชา ๓ ให้เกิดในยามทั้ง ๓
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯ ล ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจาก สมัยของพระโสภิตพุทธเจ้า
พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี ผู้เป็นยอดของสัตว์
สองเท้า มีพระยศประมาณมิได้ มีพระเดชอันใคร ๆ ละเมิดได้ยาก.
พระองค์ทรงตัดเครื่องผูกพันทั้งปวง รื้อภพทั้ง ๓ เสียแล้ว
ทรงแสดงบรรดาที่สัตว์ไปไม่กลับแก่เทวดาและมนุษย์.
พระองค์ไม่ทรงกระเพื่อมเหมือนสาคร อันใคร ๆ
เข้าเฝ้าได้ยากเหมือนบรรพต มีพระคุณไม่มีที่สุด
เหมือนอากาศ ทรงบานเต็มที่แล้วเหมือนพญาสาลพฤกษ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 416
แม้ด้วยการเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สัตว์ทั้งหลายก็ยินดี
สัตว์เหล่านั้นฟังพระดำรัสของพระองค์ซึ่งกำลังตรัสอยู่ ก็บรรลุอมตธรรม.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อโนมทสฺสี ได้แก่ น่าดูไม่มีที่เทียบหรือน่าดูหาประมาณมิได้.
บทว่า อมิตยโส ได้แก่ มีบริวารหาประมาณมิได้ หรือมีพระเกียรติหาประมาณมิได้.
บทว่า เตชสฺสี ได้แก่ ทรงประกอบด้วยเดชคือศีลสมาธิปัญญา.
บทว่า ทุรติกฺกโม ได้แก่ อันใครกำจัดได้ยาก
อธิบายว่า ทรงเป็นผู้อันไม่ว่าเทวดา หรือมาร หรือใคร ๆ ไม่อาจละเมิดได้.
บทว่า โส เฉตฺวา พนฺธนํ สพฺพํ ได้แก่ ทรงตัดสัญโยชน์ ๑๐ อย่างได้หมด.
บทว่า วิทฺธํเสตฺวา ตโย ภวา ได้แก่ กำจัดกรรมที่ไปสู่ภพทั้ง ๓ ด้วยญาณเครื่องทำให้สิ้นกรรม.
อธิบายว่า ทำไม่ให้มี.
บทว่า อนิวตฺติคมนํมคฺคํ ความว่า พระนิพพานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการกลับ
การเป็นไป ท่านเรียกว่า อนิวตฺติ บุคคลย่อมถึงพระนิพพาน อันไม่กลับนั้น ด้วยมรรคานั้น
เหตุนั้นบรรดานั้น ชื่อว่าอนิวัตติคมนะ เครื่องไปไม่กลับ.
อธิบายว่า ทรงแสดงมรรคมีองค์ ๘ อัน เป็นเครื่องไปไม่กลับนั้น.
ปาฐะว่า ทสฺเสติ ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
บทว่า เทวมานุเส ได้แก่ สำหรับเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พึงเห็นว่าทุติยาวิภัตติลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ.
บทว่า อสงฺโขโภ ความว่า ทรงเป็นผู้อันใครๆ ไม่อาจให้กระเพื่อให้ไหวได้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อ อักโขภิยะ ผู้อันใครให้กระเพื่อมมิได้.
อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า สมุทรลึกแปดหมื่นสี่พันโยชน์
เป็นที่อยู่แห่งภูต หลายพันโยชน์ อันอะไรๆ ให้กระเพื่อมมิได้ ฉันใด
พระองค์ก็ทรงเป็นผู้อันใครๆ ให้กระเพื่อมมิได้ ฉันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 417
บทว่า อากาโสว อนนฺโต ความว่า เหมือนอย่างว่า ที่สุดแห่งอากาศไม่มี
ที่แท้ อากาศมีที่สุดประมาณมิได้ ไม่มีฝั่ง ฉันใด
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ไม่มีที่สุด ประมาณมิได้ ไม่มีฝั่ง ด้วยพระพุทธคุณทั้งหลายก็ฉันนั้น.
บทว่า โส ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
บทว่า สาลราชาว ผุลฺลิโต ความว่า ย่อมงามเหมือนพระยาสาลพฤกษ์ที่ดอกบานเต็มที่
เพราะทรงมีพระสรีระประดับด้วยพระลักษณะและอนุพยัญชนะทุกอย่าง.
บทว่า ทสฺสเนนปิ ตํ พุทฺธํ ความว่า
 แม้ด้วยการเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
แม้ในฐานะเช่นนี้ ปราชญ์ทางศัพทศาสตร์ย่อมประกอบฉัฏฐีวิภัตติ.
บทว่า โตสิตา ได้แก่ ยินดี อิ่มใจ.
บทว่า พฺยาหรนฺตํ ได้แก่ พฺยาหรนฺตสฺส ของพระองค์ผู้กำลังตรัสอยู่ ทุติยา.
วิภัตติ ลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ.
บทว่า อมตํ ได้แก่ พระนิพพาน.
บทว่า ปาปุณนฺติ แปลว่า บรรลุ.
บทว่า เต ความว่า สัตว์เหล่าใด ฟังพระดำรัส คือ พระธรรมเทศนาของพระองค์
สัตว์เหล่านั้น ย่อมบรรลุอมตธรรม.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยับยั้ง ณ โคนโพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์
อันท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ
เพื่อทรงแสดงธรรม ทรงเห็นชนสามโกฏิ ซึ่งบวชกับพระองค์ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย

ทรงใคร่ครวญว่า เดี๋ยวนี้ชนเหล่านั้นอยู่กันที่ไหน
ก็ทรงเห็นชนเหล่านั้นอยู่ ณ สุธัมมราชอุทยาน กรุงสุภวดี
เสด็จไปทางอากาศ ลงที่สุธัมมราชอุทยาน.
พระองค์อันชนเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ท่ามกลางบริษัทพร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ณ ที่นั้น
อภิสมัยที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์ร้อยโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 418
พระอโนมทัสสีพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงมีธรรมาภิสมัยสำเร็จเจริญไป
ครั้งนั้น ในการทรงแสดงธรรมครั้งที่ ๑ สัตว์ร้อยโกฏิตรัสรู้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ผีโต ได้แก่ถึงความเจริญโดยชนเป็นอันมากรู้ธรรม.
บทว่า โกฏิสตานิ ได้แก่ร้อยโกฏิ ชื่อว่าโกฏิสตะ
ปาฐะว่า โกฏิสตโย ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้นความว่า ร้อยโกฏิ.

ภายหลังสมัยต่อมา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคนต้นประดู่ ใกล้ประตู โอสธีนคร
ประทับนั่งเหนือแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์
ภพดาวดึงส์ ซึ่งพวกอสูรครอบงำได้ยาก
ทรงยังฝนคือพระอภิธรรมให้ตกลงตลอดไตรมาส.
ครั้งนั้น เทวดาแปดสิบโกฏิตรัสรู้.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ทรงหลั่งฝนคือธรรม
ตกลงในอภิสมัยต่อจากนั้น
ในการที่ทรงแสดงธรรมครั้งที่ ๒ เทวดาแปดสิบโกฏิตรัสรู้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า วสฺสนฺเต ได้แก่ เมื่อมหาเมฆคือพระพุทธเจ้า หลั่งฝนตกลง.
บทว่า ธมฺมวุฏฺฐิโย ได้แก่ เมล็ดฝน คือ ธรรมกถา.

สมัยต่อจากนั้น
สัตว์เจ็ดสิบแปดโกฏิตรัสรู้ ในการที่ทรงแสดงมงคลปัญหา.
นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
ทรงหลั่งฝนคือธรรม ต่อจากนั้น ยังสัตว์ทั้งหลายให้อิ่ม
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์เจ็ดสิบแปดโกฎิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 419
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า วสฺสนฺเต ได้แก่ ทรงหลั่งธารน้ำ คือธรรมกถา.
บทว่า ตปฺปยนฺเต ได้แก่ ให้เขาอิ่มด้วยน้ำฝน คืออมตธรรม.
อธิบายว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเขาให้อิ่ม.
พระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี
ทรงมีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง. ใน ๓
ครั้งนั้น ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางพระอรหันต์แปดแสน
ซึ่งเลื่อมใสในธรรมที่ทรงแสดงโปรด พระเจ้าอิสิทัตตะ ณ กรุงโสเรยยะ
แล้วบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ในเมื่อทรงแสดงธรรมโปรด
พระสุนทรินธระ กรุงราธวดี นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางพระอรหันต์หกแสน
ผู้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา พร้อมกับ พระเจ้าโสเรยยะ กรุงโสเรยยะ อีก นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น
ทรงมีสันนิบาต ประชุมพระอรหันต์ผู้ ถึงกำลังแห่งอภิญญาผู้บานแล้วด้วยวิมุตติ.
ครั้งนั้น ประชุมพระอรหันต์แปดแสน ผู้ละความเมาและโมหะ มีจิตสงบ คงที่.
ครั้งที่ ๒ ประชุมพระอรหันต์เจ็ดแสน ผู้ไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลสดังธุลี ผู้สงบคงที่.
ครั้งที่ ๓ ประชุมพระอรหันต์หกแสน ผู้ถึงกำลังแห่งอภิญญา ผู้เย็น ผู้มีตบะ.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตสฺสาปิ จ มเหสิโน ได้แก่ แม้พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น.
ปาฐะว่า ตสฺสาปิทฺวิปทุตฺตโม ดังนี้ก็มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 420
ความว่าพระผู้เป็นเลิศกว่าสัตว์สองเท่า พระองค์นั้น.
พึงถือเอาลักษณะโดยอรรถแห่งศัพท์.
บทว่า อภิญฺญาพลปฺปตฺตานํ ได้แก่ ผู้ถึงกำลังแห่งอภิญญาทั้งหลาย
อธิบายว่า ถึงความมั่นคงในอภิญญาทั้งหลาย โดยความพินิจอย่างฉับพลัน เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญ.
บทว่า ปุปฺผิตานํ ได้แก่ ถึงความงามอย่างเหลือเกิน เพราะบานสะพรั่งเต็มหมด.
บทว่า วิมุตฺติยา ได้แก่ ด้วยอรหัตผลวิมุตติ.
ในบทว่า อนงฺคณานํ นี้ อังคณศัพท์นี้
บางแห่งใช้ในกิเลสทั้งหลาย เช่น ตตฺถ กตมานิ ตีณิ องฺคณานิ.
ราโค องฺคณํ โทโสองฺคณํ โมโห องฺคณํ ในข้อนั้น อังคณะมี ๓ คือ อังคณะคือราคะ
อังคณะคือโทสะ อังคณะคือโมหะ และเช่น ปาปกานํ โข เอตํ อาวุโส
อกุสลานํ อิจฺฉาวจรานํ อธิวจนํ ยทิทํ องฺคณํ ผู้มีอายุ คำคือ อังคณะ
เป็นชื่อของอกุศลบาปธรรม ส่วนที่มีความอยากเป็นที่หน่วงเหนี่ยว
บางแห่งใช้ในมลทินบางอย่าง เช่น ตสฺเสว รชสฺส วา องฺคณสฺส วา
ปหานาย วายมติ พยายามเพื่อละกิเลสธุลี หรือมลทินนั้นนั่นแล.
บางแห่งใช้ในภูมิภาคเห็นปานนั้น เช่น เจติยงฺคณํ ลานพระเจดีย์, โพธิยงฺคณํลานโพธิ,
ราชงฺคเณ พระลานหลวง ส่วนในที่นี้ พึงเห็นว่าใช้ในกิเลสทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า ผู้ไม่มีกิเลส.
คำว่า วิรชานํ เป็นไวพจน์ของคำว่า อนงฺคณานํ นั้นนั่นแหละ.
บทว่า ตปสฺสินํ ความว่า ตบะกล่าวคืออริยมรรค
อันทำความสิ้นกิเลสของภิกษุเหล่าใดมีอยู่ ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่า ตปัสสี ผู้มีตบะ.
ภิกษุผู้มีตบะเหล่านั้นคือพระขีณาสพ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเป็น เสนาบดียักษ์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่ง
มีฤทธานุภาพมาก เป็นอธิบดีของยักษ์หลายแสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 421
พระโพธิสัตว์นั้น สดับว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก
ก็มาเนรมิตมณฑป สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ งามน่าดูอย่างยิ่ง
เสมือนวงดวงจันทร์งามนักหนา.
ถวายมหาทาน แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ณ มณฑปนั้น ๗ วัน.
เวลาอนุโมทนาภัตทานพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
ในอนาคตกาล เมื่อล่วงไปหนึ่งอสงไขยกำไรแสนกัป
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นยักษ์มีฤทธิ์มาก เป็นใหญ่ มีอำนาจเหนือยักษ์หลายโกฏิ.
แม้ครั้งนั้น เราก็เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น เลี้ยงดูพระผู้นำโลก
พร้อมทั้งพระสาวกให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ.
ครั้งนั้นพระมุนีผู้มีพระจักษุบริสุทธิ์
แม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้วก็ร่าเริง สลดใจ
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อุตฺตรึ วตมธิฏฺฐสึ ความว่า เราได้ทำความยากนั่นมั่นคงยิ่งขึ้นไป เพื่อให้บารมีบริบูรณ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสีพระองค์นั้น
ทรงมีพระนคร ชื่อว่า จันทวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้ายสวา
พระชนนีพระนามว่า ยโสธรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 422
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระนิสภะ และ พระอโนมะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระวรุณะ
คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสุนทรีและ พระสุมนา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่า ต้นอัชชุนะ
พระสรีระสูง ๕๘ ศอก
พระชนมายุแสนปี

พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสิริมา
พระโอรสพระนามว่า อุปวาณะ
ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี พระองค์เสด็จอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ วอ.
ส่วนการเสด็จไป พึงทราบความตามนัยที่กล่าวมาแล้ว
 ในการเสด็จโดยปราสาท
ในการพรรณนาวงศ์ของพระโสภิตพุทธเจ้า.
พระเจ้าธัมมกะ เป็นอุปัฏฐาก

เล่ากันว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารธัมมาราม.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระศาสดาอโนมทัสสี
มีพระนครชื่อว่า จันทวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้ายสวา
พระชนนีพระนามว่า พระนางยโสธรา.

พระศาสดาอโนมทัสสี
มีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระนิสภะ และ พระอโนมะ
พระอุปัฏฐากชื่อว่า วรุณะ
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสุนทรี และพระสุมนา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่าต้นอัชชุนะ ไม้กุ่ม.
พระมหามุนีสูง ๕๘ ศอก พระรัศมีของพระองค์แล่นออกเหมือนดวงอาทิตย์.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี
พระองค์เมื่อทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 423
ปาพจน์ คือ ธรรมวินัย อันพระอรหันต์ ทั้งหลายผู้คงที่ ปราศจากราคะ ไร้มลทิน ทำให้บานดีแล้ว
ศาสนาของพระชินพุทธเจ้า จึงงาม.
พระศาสดา ผู้มีพระยศประมาณมิได้นั้นด้วย
คู่พระอัครสาวก ผู้มีคุณที่วัดไม่ได้เหล่านั้นด้วย
ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ปภา นิทฺธาวตี ความว่าพระรัศมีแล่นออกจากพระสรีระของพระองค์.
พระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไปตลอดเนื้อที่ประมาณสิบสองโยชน์อยู่เป็นนิตย์.
บทว่า ยุคานิ ตานิ ได้แก่ คู่มีคู่พระอัครสาวกเป็นต้น.
บทว่า สพฺพํ ตมนฺตรหิตํ ความว่า ประการดังกล่าวแล้วเข้าสู่ปากอนิจจลักษณะแล้วก็หายไปสิ้น.
ปาฐะว่า นนุ ริตฺตกเมว สงฺขาราดังนี้ก็มี.
ปาฐะนั้น ความว่า สังขารทั้งปวง ก็ว่างเปล่าทั้งนั้นแน่แท้.
ม อักษร ทำบทสนธิต่อบท.
ในคาถาที่เหลือทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.

คู่พระอัครสาวกคู่นี้ คือพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
ก็ได้ทำปณิธานเพื่อเป็นพระอัครสาวก ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า อโนมทัสสี พระองค์นี้.
ก็เรื่องพระเถระเหล่านี้ ควรกล่าวในเรื่องนี้ แต่ข้าพเจ้าไม่ได้ยกขึ้นโดยนัยที่พิศดารในคัมภีร์.
จบพรรณนาวงศ์พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 424


[/size]

19
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 393
๖. วงศ์พระโสภิตพุทธเจ้าที่ ๖
ว่าด้วยพระประวัติของพระโสภิตพุทธเจ้า
[๗] ต่อจากสมัยของพระเรวตพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าพระนามว่า โสภิตะ ผู้นำโลก
ผู้ตั้งมั่น มีจิตสงบ ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ.

พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงกลับพระหฤทัย
ในพระนิเวศน์ของพระองค์
ทรงบรรลุพระโพธิญาณสิ้นเชิง ทรงประกาศพระธรรมจักร.
ตั้งแต่อเวจีนรกขึ้นไป ตั้งแต่ภวัคคพรหมลงมา
ในระหว่างมิได้เป็นบริษัทหมู่เดียวกัน ในเพราะการแสดงธรรม.

พระสัมพุทธเจ้า ทรงประกาศพระธรรมจักรท่ามกลางบริษัทหมู่นั้น.
อภิสมัยครั้งที่ ๑ นับไม่ได้ด้วยจำนวนผู้ตรัสรู้.
เมื่อพระโสภิตพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมต่อจากอภิสมัยครั้งที่ ๑ นั้น
ในการประชุมของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย.
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่มนุษย์ และ เทวดาเก้าหมื่นโกฏิ.
ต่อมาอีก เจ้าราชบุตรพระนามว่า ชัยเสนะ
ทรงให้สร้างพระอาราม มอบถวายพระพุทธเจ้า
ในครั้งนั้น พระผู้มีพระจักษุ เมื่อทรงสรรเสริญการบริจาคทาน
ก็ทรงแสดงธรรมโปรดเจ้าราชบุตรพระองค์นั้น
ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์พันโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 394

พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาต การประชุมพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ไร้มลทินผู้มีจิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง.
พระราชาพระนามว่า อุคคตะ พระองค์นั้น
ถวายทานแด่พระผู้เป็นยอดแห่งนรชน
ในทานนั้น พระอรหันต์ร้อยโกฏิก็มาประชุมกัน.

ต่อมาอีก
หมู่คณะ [ธรรมคณะ] ถวายทานแด่พระผู้เป็นยอดแห่งนรชน
การประชุมครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ พระอรหันต์เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งพระชินพุทธเจ้า ทรงจำพรรษา ณ เทวโลกแล้วเสด็จลงมา
การประชุมครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่ พระอรหันต์แปดสิบโกฏิ.
สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ชื่อ สุชาตะ
ครั้งนั้น ได้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้าทั้งพระสาวก ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ.

พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้นำโลก พระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาสในที่นั้นแล้วเสด็จเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 395
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้แล้วเข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
ต่อนั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่ออัสสัตถะ.

ท่านจักมีพระชนนี พระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุโธทนะ

ท่านผู้นี้ จักมีพระนามว่า โคตมะ.
พระอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะและพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมาและพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า อัสสัตถะ.

อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตาและอุตตรา
พระโคตมะผู้มีพระยศพระองค์นั้น มีชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
ฟังพระดำรัสของพระโสภิตพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 396
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก พากันส่งเสียงโห่ร้องปรบมือ หัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่าผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสอน ของพระโลกนาถพระองค์นี้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า
ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า พระองค์นี้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ร่าเริง สลดใจ
ได้ทำความเพียรอย่างแรงกล้า เพื่อบรรลุประโยชน์นั้นนั่นแหละ.

พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนคร ชื่อว่า สุธัมมะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุธัมมะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุธัมมา.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี
ทรงมีปราสาทยอดเยี่ยม ๓ หลงชื่อ กุมุทะ นฬินี ปทุมะ

พระสนมนาฏนารี แต่งกายงาม สี่หมื่นสามพันนาง
พระมเหสีพระนามว่า มกิลา
พระโอรสพระนามว่าสีหะ.
พระผู้เป็นยอดบุรุษทรงเห็นนิมิต ๔ อภิเนษกรมณ์โดยปราสาท
ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 397
พระโสภิตมหาวีระ ผู้นำโลก ผู้สงบ
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ประกาศพระธรรมจักร ณ สุธัมมราชอุทยานอันยอดเยี่ยม.

พระอัครสาวกชื่อว่า พระอสมะและพระสุเนตตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระนกุลา และพระสุชาดา
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อว่าต้นนาคะ.
อัครอุปฐาก ชื่อว่า รัมมะและสุเนตตะ อัครอุปฐายิกา ชื่อว่า นกุลา และจิตตา.

พระมหามุนี ทรงสูง ๕๘ ศอก
ทรงส่งรัศมีสว่างไปทุกทิศ ดังดวงอาทิตย์อุทัย.
ป่าใหญ่ มีดอกไม้บาน อบอวลด้วยกลิ่นหอมนานา ฉันใด
ปาพจน์ของพระโสภิตพุทธเจ้า ก็อบอวลด้วยกลิ่นคือศีล ฉันนั้น.
ขึ้นชื่อว่า มหาสมุทร ใครๆ ก็ไม่อิ่มด้วยการเห็นฉันใด
ปาพจน์ของพระโสภิตพุทธเจ้า พระองค์นั้นใครๆ ก็ไม่อิ่มด้วยการฟัง ฉันนั้น.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี
พระโสภิตพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้นจึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 398
พระองค์ทั้งพระสาวก ประทานโอวาทานุศาสน์แก่ชนที่เหลือแล้ว
เสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนไฟไหม้แล้วก็ดับไป ฉะนั้น.

พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้นด้วย
เหล่าพระสาวก ผู้ถึงกำลังเหล่านั้นด้วย ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า โดยแน่แท้.
พระโสภิตสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารสีหาราม
พระบรมธาตุแผ่กระจายไปเป็นส่วนๆ ในที่นั้นๆ.
จบวงศ์พระโสภิตพุทธเจ้าที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 399

พรรณนาวงศ์พระโสภิตพุทธเจ้าที่ ๖
ภายหลังสมัยของ พระเรวตพุทธเจ้า พระองค์นั้น
เมื่อพระศาสนาของพระองค์ อันตรธานแล้ว

พระโพธิสัตว์พระนามว่า โสภิตะ
ทรงบำเพ็ญบารมีมาสี่อสงไขยกำไรแสนกัป
ก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
ทรงดำรงอยู่ตลอดอายุในที่นั้นแล้ว อันทวยเทพอ้อนวอนแล้ว
ก็จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางสุธัมมาเทวี
ในราชสกุลของ พระเจ้าสุธัมมราช ใน สุธัมมนคร.
พระโพธิสัตว์นั้น ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติ
จากพระครรภ์ของพระชนนี ณ สุธัมมราชอุทยาน
เหมือนดวงจันทร์ลอดออกจากหลืบเมฆ
ปาฏิหาริย์ในการปฏิสนธิและประสูติของพระองค์มีประการดังกล่าวมาก่อนแล้ว.
พระโพธิสัตว์นั้น ครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี

เมื่อพระโอรสพระนามว่า สีหกุมาร
ทรงถือกำเนิดในพระครรภ์ของพระนางมขิลาทวี๑
พระอัครมเหสียอดสนมนาฏเจ็ดหมื่นนางแล้ว
ทรงเห็นนิมิต ๔ เกิดสลดพระหฤทัย
ทรงผนวชในปราสาทนั่นเอง
ทรงเจริญอานาปานัสสติสมาธิในปราสาทนั้นนั่นแหละ
ทรงได้ฌาน ๔ ทรงบำเพ็ญเพียรในปราสาทนั้น ๗ วัน
ต่อนั้น เสวยข้าวมธุปายาส รสอร่อยอย่างยิ่ง พระนางมขิลามหาเทวี ถวายแล้ว

ทรงเกิดจิตคิดจะออกอภิเนษกรมณ์ว่า
ขอปราสาทที่ประดับตกแต่งแล้วนี้ จงไปทางอากาศต่อหน้ามหาชน ที่กำลังดูอยู่
แล้ว ทำโพธิพฤกษ์ไว้ตรงกลาง แล้วลงเหนือแผ่นดินและสตรีเหล่านั้น
เมื่อเรานั่ง ณ โคนโพธิพฤกษ์ ไม่ต้องมีคนบอก จงลงจากปราสาทกันเองเถิด
พร้อมกับเกิดจิตดังนั้น ปราสาทก็เหาะจากพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสุธัมมราช
ขึ้นสู่อากาศเฉกเช่นอัญชันบรรพตสีเขียวความ
ปราสาทนั้น มีพื้นปราสาทประดับด้วยพวงดอกไม้ส่งกลิ่นหอมอบอวล เหมือนประดับ
๑. บาลีเป็นมกิลา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 400
ประดาทั่วพื้นอัมพรรุ่งโรจน์ดั่งดวงทินกร
กลุ่มที่กระทำความงามเสมือนธารน้ำทอง และดั่งดวงรัชนีกรในฤดูสารท
มีข่ายขึงกระดิ่งงามวิจิตรนานาชนิดห้อยย้อย
เมื่อต้องลมก็ส่งเสียงไพเราะน่ารักน่าใคร่ ดั่งดนตรีเครื่อง ๕ ที่ผู้ชำนาญบรรเลง.
ด้วยเสียงไพเราะได้ยินมาแต่ไกล เสียงไพเราะนั้น ก็หยังลงสู่โสตของสัตว์ทั้งหลาย
ประหนึ่งถูกประเล้าประโลมทางอากาศ
อันไม่ไกลชายวนะอันงามของต้นไม้ ไม่ต่ำนักไม่สูงนัก
ในหมู่มนุษย์ที่ยืนเจรจาปราศรัยกันอยู่ในบ้านเรือน
ทาง ๓ แพร่ง ๔ แพร่ง และในถนนเป็นต้น
ประหนึ่งดึงดูดสายตาชนด้วยสีที่แล่นเรืองรองรุ่งโรจน์
ด้วยรัตนะต่างๆ คือกิ่งอันงามของต้นไม้ และ
ประหนึ่งโฆษณาปุญญานุภาพก็ดำเนินไปตลอดพื้นคัคนานต์.
แม้เหล่าสนมนาฎนารี ณ ที่นั้น
ก็ขับกล่อมประสานเสียงด้วยเสียงอันไพเราะแห่งดนตรีอย่างดีมีองค์ ๕.
เขาว่าแม้กองทัพ ๔ เหล่าของพระองค์
ก็งดงามด้วยอาภรณ์ คือ ดอกไม้หอมและผ้ามีสีสรรต่าง ๆ
ร่วงรุ้งรุ่งโรจน์เกิดจากประกายเครื่องอลังการและอาภรณ์ประดับกาย
ไปแวดล้อมปราสาททางภาคพื้นนภากาศ
ดุจกองทัพทวยเทพ ดุจแผ่นธรณีที่งามน่าดูอย่างยิ่ง.

แต่นั้น ปราสาทก็ไปทำต้นโพธิ์พฤกษ์ชื่อต้นนาคะ ซึ่งสูง ๘๘ ศอก
ลำต้นตรงอวบกลม ประดับด้วยดอกใบอ่อนตูมไว้ตรงกลาง แล้วลงตั้งที่พื้นดิน.
สวนเหล่าสนมนาฏนารี ใครๆ มิได้บอก ก็ลงจากปราสาทนั้นหลีกไป.

เขาว่า แม้พระโสภิตมหาบุรุษ
ผู้งามด้วยคุณสมบัติเป็นอันมากทำมหาชนเป็นบริวารอย่างเดียว
ทรงยังวิชชา ๓ ให้เกิดในยามทั้ง ๓ แห่งราตรี.
ส่วนกองกำลังแห่งมาร ก็ไปตามทางที่ไป
โดยกำลังธรรมดาของพระมหาบุรุษนั้นนั่นเอง

พระผู้มีพระภาคเจ้าโสภิตะ
ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว
ก็ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯ เป ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 401
ทรงยับยั้ง ณ ที่ใกล้โพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์
ทรงรับการอาราธนาธรรมของท้าวมหาพรหม

ทรงตรวจดูด้วยพุทธจักษุว่า จะทรงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ.
ก็ทรงเห็นอสมกุมาร และ สุเนตตกุมาร
พระกนิษฐภาดา ต่างพระมารดาของพระองค์ว่า
กุมารทั้งสองพระองค์นี้ ถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัย
สามารถแทงตลอด ธรรมอันละเอียดลุ่มลึกได้
เอาเถิด เราจะแสดงธรรมแก่กุมารทั้งสองนี้แล้ว
เสด็จมาทางอากาศ ลง ณ สุธัมมราชอุทยาน
โปรดให้พนักงานเฝ้าพระราชอุทยาน เรียกพระกุมารทั้งสองพระองค์มาแล้ว
อันพระกุมารพร้อมทั้งบริวารแวดล้อมแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรท่ามกลางมหาชน.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระเรวตพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า

พระนามว่า โสภิตะ ผู้นำโลก
ผู้ตั้งมั่น จิตสงบ ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงกลับพระทัยในพระนิเวศน์ของพระองค์แล้ว
ทรงบรรลุพระโพธิญาณสิ้นเชิง ประกาศพระธรรมจักรแล้ว.
บริษัทหมู่หนึ่ง ในระหว่างนี้ คือเบื้องล่างตั้งแต่อเวจีนรก เบื้องบนตั้งแต่ภวัคคพรหม
ก็ได้มีในการแสดงธรรม.

พระสัมพุทธเจ้า ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ท่ามกลางบริษัทนั้น
อภิสมัยครั้งที่ ๑ กล่าวไม่ได้ด้วยจำนวนผู้ตรัสรู้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สกเคหมฺหิ ได้แก่ ในนิเวศน์ของตนนั่นเอง.
อธิบายว่า ณ พื้นภายในปราสาทนั่นแล.
บทว่า มานสํ วินิวตฺตยิ ได้แก่ กลับใจ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 402
อธิบายว่า อยู่ในนิเวศน์ของพระองค์
เปลี่ยนจิตจากความเป็นปุถุชนภายใน ๗ วันเท่านั้น
แล้วทรงบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า.
บทว่า เหฏฺฐา แปลว่า เบื้องต่ำ.
บทว่า ภวคฺคา ได้แก่ แต่อกนิษฐภพ.
บทว่า ตาย ปริสาย ได้แก่ ท่ามกลางบริษัทนั้น.
บทว่า คณนาย น วตฺตพฺโพ ความว่า เกินที่จะนับจำนวนได้.
บทว่า ปฐมาภิสมโย ได้แก่ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑.
บทว่า อหุ ความว่า บริษัทนับจำนวนไม่ได้.
ปาฐะว่า ปฐเมอภิสฺมึสุเยว ดังนี้ก็มี.
ความว่า ชนเหล่าใด ตรัสรู้ ในการแสดงธรรมของพระโสภิตพุทธเจ้านั้น
ชนเหล่านั้น อันใครๆ กล่าวไม่ได้ด้วยการนับจำนวน.

สมัยต่อมา
พระโสภิตพุทธเจ้า
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคนต้น จิตตปาฏลี ใกล้ประตูกรุงสุทัสสนะ
ประทับนั่งทรงแสดงอภิธรรม เหนือพื้นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ โคนต้น ปาริฉัตร
ในภพดาวดึงส์ อันเป็นภพที่สำเร็จด้วยนพรัตน์และทอง.
จบเทศนา เทวดาเก้าหมื่นโกฏิตรัสรู้ธรรม นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.

ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
เมื่อพระโสภิตพุทธเจ้า
ทรงแสดงธรรม ต่อจากอภิสมัยครั้งที่ ๑ นั้น ณ ที่ประชุมเทวดาทั้งหลาย
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่เทวดาเก้าหมื่นโกฏิ.
สมัยต่อมา
พระราชกุมารพระนามว่า ชัยเสนะ ในกรุงสุทัสสนะ
ทรงสร้างวิหารประมาณโยชน์หนึ่ง
ทรงสร้างพระอาราม ทรงเว้นไว้ระยะต้นไม้ดีเช่น
ต้นอโศก ต้นสน จำปา กะถินพิมาน บุนนาค พิกุลหอม มะม่วง ขนุน
อาสนศาลา มะลิวัน มะม่วงหอม พุดเป็นต้น
ทรงมอบถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำอนุโมทนาทาน
ทรงสรรเสริญการบริจาคทานแล้วทรงแสดงธรรม.
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่หมู่สัตว์แสนโกฏิ
นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓

ด้วยเหตุนี้ จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 403

ต่อมาอีก
เจ้าราชบุตรพระนามว่า ชัยเสนะ
ทรงสร้างพระอาราม มอบถวายพระพุทธเจ้าครั้งนั้น.
พระผู้มีพระจักษุ เมื่อทรงสรรเสริญการบริจาคทาน
ก็ทรงแสดงธรรมโปรดเจ้าราชบุตรนั้น
ครั้งนั้นอภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์พันโกฏิ.
พระราชาพระนามว่า อุคคตะ
ก็สร้างพระวิหารชื่อว่า สุนันทะ
ในกรุงสุนันทะ ถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.
ในทานนั้นพระอรหันต์ร้อยโกฏิซึ่งบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาประชุมกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าโสภิตะ
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางพระอรหันต์เหล่านั้น.
นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
คณะธรรมในเมขลนคร สร้างมหาวิหารที่น่ารื่นรมย์อย่างดีชื่อว่า ธัมมคณาราม
ถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานอีก
แล้วได้ถวายทานพร้อมด้วยบริขารทุกอย่าง.

ในสมาคมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ในสันนิบาตการประชุมพระอรหันต์เก้าหมื่นโกฏิ
ซึ่งบวชโดยเอหิภิกขุภาวะ นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ส่วนสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำพรรษาในภพของท้าวสหัสนัยน์
อันหมู่เทพแวดล้อมแล้ว เสด็จลงจากเทวโลก ในดิถีปวารณาพรรษา
ทรงปวารณาพร้อมด้วยพระอรหันต์แปดสิบโกฏิ
ในสันนิบาตที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาต ๓ ครั้ง ประชุมพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ไร้มลทินมีจิตสงบ คงที่.
พระราชาพระองค์นั้น พระนามว่า อุคคตะ
ถวายทานแด่พระผู้เป็นยอดแห่งนรชน
ในกาลนั้น พระอรหันต์ร้อยโกฏิ มาประชุมกัน (ครั้งที่ ๑).
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 404
ต่อมาอีก หมู่ชนชาวเมือง ถวายทานแด่พระผู้เป็นยอดแห่งนรชน
ครั้งนั้น พระอรหันต์เก้าสิบโกฏิประชุมกันเป็นครั้งที่ ๒.
ครั้งพระชินพุทธเจ้า จำพรรษา ณ เทวโลก เสด็จ
ลง พระอรหันต์แปดสิบโกฏิประชุมกันเป็นครั้งที่ ๓.

เล่ากันว่า
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเป็นพราหมณ์ ชื่อว่า สุชาตะ
เกิดดีทั้งสองฝ่ายใน กรุงรัมมวดี
ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า โสภิตะแล้ว 
ตั้งอยู่ในสรณะ ถวายมหาทานตลอดไตรมาสแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.

แม้พระโสภิตพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์สุชาตพราหมณ์นั้นว่า
ในอนาคตกาล จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ.

ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ชื่อว่า สุชาตะ
ในครั้งนั้น ได้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสาวก
ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวและน้ำ.

พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้นำโลกพระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้ จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ร่าเริง สลดใจ
ได้ทำความเพียรอย่างแรงกล้า เพื่อให้ประโยชน์นั้นเกิดขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 405
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตเมวตฺถมนุปตฺติยา ได้แก่ เพื่อให้เกิดความเป็นพระพุทธเจ้านั้น.
อธิบายว่า ก็ครั้นฟังพระดำรัสของพระโสภิตพุทธเจ้าพระองค์นั้นว่า
ในอนาคตกาล ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ
ดังนี้แล้ว จึงปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้า
เพราะว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่ผิด.
บทว่า อุคฺคํ ได้แก่ แรงกล้า.
บทว่า ธิตึ ได้แก่ ความเพียร.
บทว่า อกาสหึ ตัดบทว่า อกาสึ อหํ แปลว่า ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าโสภิตะ พระองค์นั้น
มีพระนครชื่อว่า สุธัมมะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุธัมมะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุธัมมา
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระสุเนตตะ และ พระอสมะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า อโนมะ
คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนกุลา และ พระสุชาดา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่า ต้นนาคะ.
พระสรีระสูง ๕๘ ศอก
พระชนมายุเก้าหมื่นปี
พระอัครมเหสีพระนามว่า มกิลา
พระโอรสพระนามว่า สีหกุมาร.
พระสนมนาฏนารีสามหมื่นเจ็ดพันนาง
ทรงครองฆราวาสวิสัยเก้าพันปี
ทรงออกอภิเนษกรมณ์โดยเสด็จไปพร้อมกับปราสาท.
อุปัฏฐากพระนามว่า พระเจ้าชัยเสนะ.

ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่อว่า สุธัมมะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุธัมมะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุธัมมา.

พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระอสมะ และ พระสุเนตตะ
มีพระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอโนมะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 406
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนกุลา และพระสุชาดา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อตรัสรู้ ก็ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อว่า ต้นนาคะ.

พระมหามุนี สูง ๕๘ ศอก
ส่งรัศมีสว่างไปทุกทิศ ดังดวงอาทิตย์อุทัย.
ป่าใหญ่ มีดอกไม้บานสะพรั่ง อบอวลด้วยกลิ่นหอมนานา ฉันใด.
ปาพจน์ของพระโสภิตพุทธเจ้า ก็อบอวลด้วยกลิ่น คือศีลฉันนั้นเหมือนกัน.

ขึ้นชื่อว่า มหาสมุทร อันใครๆ ไม่อิ่มได้ด้วยการเห็น ฉันใด
ปาพจน์ของพระโสภิตพุทธเจ้า อันใครๆ ก็ไม่อิ่มด้วยการฟัง ฉันนั้นเหมือนกัน.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี
พระโสภิตะพุทธเจ้า พระองค์นั้น
เมื่อทรงมีพระชนม์ยืนอย่างนั้นจึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทั้งพระสาวก ประทานโอวาทานุศาสน์แก่ชนที่เหลือแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน
เหมือนดวงไฟไหม้แล้วก็ดับ ฉะนั้น.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ที่ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้นด้วย
เหล่าพระสาวก ผู้ถึงกำลังเหล่านั้นด้วย
ทั้งนั้นอันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 407
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สตรํสีว แปลว่า เหมือนดวงอาทิตย์ ความว่า ส่องแสงสว่างไปทุกทิศ.
บทว่า ปวนํ แปลว่า ป่าใหญ่.
บทว่า ธูปิตํ ได้แก่ อบ ทำให้มีกลิ่น.
บทว่า อตปฺปิโย ได้แก่ ไม่ทำความอิ่มหรือไม่เกิดความอิ่ม.
บทว่า ตาวเท แปลว่า ในกาลนั้น . ความว่า ในกาลเพียงนั้น.
บทว่า ตาเรสิ แปลว่า ให้ข้าม.
บทว่า โอวาทํ ความว่า การสอนครั้งเดียว ชื่อว่า โอวาท.
บทว่า อนุสิฏฺฐึ ความว่า การกล่าวบ่อย ๆ ชื่อว่า อนุสิฏฐิ [อนุศาสน์].
บทว่า เสสเก ชเน ได้แก่ แก่ชนที่เหลือ ซึ่งยังไม่บรรลุการแทงตลอดสัจจะ.
บทว่า หุตาสโนว ตาเปตฺวา แปลว่าเหมือนไฟไหม้แล้ว

อีกอย่างหนึ่ง
ปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ปรินิพพาน เพราะสิ้นอุปาทาน.
ในคาถาที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระโสภิตพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 408




20

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 376


๕. วงศ์พระเรวตพุทธเจ้าที่ ๕

ว่าด้วยพระประวัติของพระเรวตพุทธเจ้า
[๖] ต่อจากสมัยของพระสุมนพุทธเจ้า

พระเรวตชินพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ผู้ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้เสมือน ไม่มีผู้วัด สูงสุด.
แม้พระองค์ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศธรรม เป็นเครื่องกำหนดขันธ์และธาตุ
อันเป็นเหตุไม่เป็นไปในภพน้อยภพใหญ่.

ในการทรงแสดงธรรม พระองค์มีอภิสมัย ๓ ครั้ง
อภิสมัยครั้งที่ ๑ กล่าวไม่ได้ด้วยจำนวนผู้ตรัสรู้.
ครั้งพระเรวตมุนี ทรงแนะนำพระเจ้าอรินทมะ
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแต่สัตว์แสนโกฏิ.
พระนราสภเสด็จออกจากที่เร้นในวันที่ ๗ 
ทรงแนะนำมนุษย์และเทวดาร้อยโกฏิให้บรรลุผลสูงสุด.

พระเรวตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระขีณาสพ
ผู้ไร้มลทิน หลุดพ้นดีแล้วผู้คงที่ ๓ ครั้ง.
ผู้ที่ประชุมกันครั้งที่ ๑ เกินที่จะนับจำนวนได้
การประชุมครั้งที่ ๒ นับจำนวนผู้ประชุมได้แสนโกฏิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

ครั้งที่ พระวรุณะอัครสาวก ผู้ไม่มีผู้เสมอด้วยปัญญา
ผู้อนุวัตรพระธรรมจักรตามพระเรวตพุทธเจ้า พระองค์นั้น เกิดอาพาธหนัก.

ครั้งนั้น เหล่าภิกษุเข้าไปหาพระมุนี [วรุณะ]
เพื่อถามถึงอาพาธของท่าน จำนวนแสนโกฏิ เป็นการประชุมครั้งที่ ๓.

สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ชื่อว่า อติเทวะ
เข้าเฝ้าพระเรวตพุทธเจ้า ถึงพระองค์เป็นสรณะ
เราสรรเสริญศีล สมาธิ และพระปัญญาคุณอันยอดเยี่ยมของพระองค์ ตามกำลัง
ได้ถวายผ้าอุตตราสงค์.

พระเรวตพุทธเจ้า ผู้นำโลก พระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
ในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียรทำทุกกริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ นั้นแล้วเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 378

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จตามมรรคอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม

ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ ต้นโพธิ์ใบ.

ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้ จักมีพระนามว่าโคตมะ.
จักมีอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะและพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะมีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีอัครสาวก ชื่อว่า พระเขมา และพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น

โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตาและอุตตรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 379
พระโคดมพุทธเจ้า ผู้มีพระยศพระองค์นั้นมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ

พระเรวตพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็ปลาบปลื้มใจว่าท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก ก็ส่งเสียงโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง

ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่าผิว่า
พวกเราพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า
ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้น พระชินเจ้าพระองค์นี้
ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

เราฟังพระดำรัส แม้ของพระองค์แล้วก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์.
แม้ครั้งนั้น เราระลึกถึงพุทธธรรมนั้นแล้วก็เพิ่มพูนมากขึ้น
จักนำพุทธธรรมที่เราปรารถนานักหนามาให้ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 380

พระเรวตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่

ทรงมีพระนครชื่อว่า สุธัญญวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าวิปุลราช
พระชนนีพระนามว่า พระนางวิปุลา.

พระองค์ครองฆราวาสวิสัย อยู่หกพันปี
มีปราสาทอย่างเยี่ยม ๓ หลัง
ซึ่งเกิดเพราะบุญกรรม ชื่อ สุทัสสนะ รตนัคฆิ และ อาเวฬะ อันตกแต่งแล้ว.
มีพระสนมนารี ที่แต่งกายงาม สามล้านสามแสนนาง
พระอัครมเหสีพระนามว่า สุทัสสนา
พระโอรสพระนามว่า วรุณะ.

พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยยานคือ รถทรง
ตั้งความเพียร ๗ เดือนเต็ม.

พระมหาวีระชินเรวตพุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้สงบ
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ประทับอยู่ ณ พระวิหารวรุณาราม.
มีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระวรุณะและพระพรหมเทวะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัมภวะ.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททาและพระสุภัททา

พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้น นาคะ ( กากะทิง.)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 381
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อวรุณะ และ สรภะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ ปาลา และอุปปาลา.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยส่วนสูง ทรงสูง ๘๐ ศอก
ส่งรัศมีสว่างไปทุกทิศเหมือนดวงอาทิตย์,
เปลวรัศมี ที่เกิดในสรีระของพระองค์ก็ยอดเยี่ยม
แผ่ไปโดยรอบโยชน์หนึ่ง ทั้งกลางวันกลางคืน.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุหกหมื่นปี

พระเรวตพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ทรงมีพระชนม์ยืนเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทรงแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า
ทรงประกาศอมตธรรมในโลก หมดเชื้อก็ดับขันธปรินิพพาน
เหมือนไฟหมดเชื้อก็ดับไปฉะนั้น.

พระวรกายดังรัตนะนั้นด้วย
พระธรรมที่ไม่มีอะไรเสมือนนั้นด้วย ทั้งนั้น
ก็อันตรธานไปสิ้นสังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

พระเรวตพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ทรงมีพระยศทรงมีบุญมาก ก็ดับขันธปรินิพพานไปแล้ว
พระบรมธาตุก็แผ่กระจายไปเป็นส่วนๆ ในประเทศนั้น ๆ.
จบวงศ์พระเรวตพุทธเจ้าที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 382




21

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 357
๔. วงศ์พระสุมนพุทธเจ้าที่ ๔
ว่าด้วยพระประวัติของพระสุมนพุทธเจ้า

[๕] ต่อจากสมัยของพระมงคลพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าพระนามว่า สุมนะ
ผู้นำโลก ผู้ไม่มีผู้เสมอด้วยธรรมทั้งปวง ผู้สูงสุดแห่งสรรพสัตว์.
ครั้งนั้น ทรงลั่นอมตเภรี คือ คำสั่งสอนของพระชินพุทธเจ้ามีองค์ ๙
ซึ่งประกอบพร้อมด้วยสังข์ คือ ธรรม ณ กรุงเมขละราชธานี.
พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงกำจัดกิเลสทั้งหลายแล้วทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด
ทรงสร้างนคร คือ พระสัทธรรมปุระ อันประเสริฐสูงสุด.

พระองค์ทรงสร้างถนนใหญ่ ที่ไม่ขาดไม่คด แต่ตรง
ใหญ่กว้าง คือ สติปัฏฐานอันประเสริฐสูงสุด.
ทรงคลี่วางสามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา อภิญญา ๖ และสมาบัติ ๘ ไว้ ณ ถนนนั้น.
ชนเหล่าใด ไม่ประมาท ไม่มีตะปูตรึงใจประกอบด้วยหิริและวีริยะ
ชนเหล่านั้น ๆ ย่อมยึดไว้ได้ ซึ่งคุณประเสริฐเหล่านี้ ตามสบาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 358
พระศาสดา เมื่อทรงยกชนเป็นอันมากขึ้นด้วยการประกอบนั้น อย่างนี้นี่แล
ก็ทรงสัตว์แสนโกฏิให้ตรัสรู้ เป็นครั้งที่ ๑.

สมัยใด
พระมหาวีระ ทรงสั่งสอนหมู่เดียรถีย์
สมัยนั้น สัตว์พันโกฏิ ก็ตรัสรู้ ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๒.

สมัยใด
เทวดาและมนุษย์ พร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ทูลถามนิโรธปัญหาและข้อสงสัยทางใจ.
แม้สมัยนั้น สัตว์เก่าหมื่นโกฏิ ก็ได้ตรัสรู้ครั้งที่ ๓
ในการแสดงธรรมในการตอบนิโรธปัญหา.

พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตการประชุมพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอยู่จำพรรษาแล้ว
เมื่อท่านประกาศปวารณา พระตถาคตก็ทรงปวารณาพรรษา พร้อมด้วยภิกษุแสนโกฏิ.
ต่อจากสันนิบาต การประชุมครั้งที่ ๑ นั้น
ในการประชุมภิกษุเก้าหมื่นโกฎิ ณ ภูเขาทองไร้มลทินเป็นการประชุม ครั้งที่ ๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 359
สมัยที่ท้าวสักกะเทวราช เสด็จเข้าไปเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า
เทวดาและมนุษย์แปดหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓.
สมัยนั้น เราเป็นพญานาคชื่ออตุละ มีฤทธิ์มากสั่งสมกุศลไว้มาก.

ครั้งนั้น เราออกจากพิภพนาค
พร้อมด้วยเหล่าญาตินาคทั้งหลาย บำรุงบำเรอพระชินพุทธเจ้าด้วยดนตรีทิพย์.
เราเลี้ยงดูภิกษุแสนโกฏิ ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ
ถวายคู่ผ้ารูปละคู่ แล้วถึงพระองค์เป็นสรณะ.

พระสุมนพุทธเจ้า ผู้นำโลก
พระองค์นั้น ทรงพยากรณ์เราว่า
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์
อันน่ารื่นรมย์แล้ว ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้านั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำ
เนรัญชรา เสด็จเข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์โดยทางอันดีที่เขาจัดไว้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 360
ต่อนั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม จักตรัสรู้ ณ โพธิพฤกษ์ ชื่ออัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.
ท่านผู้นี้จักมีพระชนนี พระนามว่า มายา
พระชนก พระนามว่า สุทโธทนะ
ท่านผู้นี้ชื่อ โคตมะ.
จักมีอัครสาวก ชื่อพระโกลิตะ พระอุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.

จักมีอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และพระอุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น.
โพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า อัสสัตถะ ต้นโพธิใบ
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะและหัตถะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตาและอุตตรา.
พระโคดมผู้พระยศ พระองค์นั้น มีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดา ฟังพระดำรัสนี้ของพระสุมนพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้ว
ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุพร้อมทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง
ปรบมือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 361
ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสิ้น ของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราจักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง
หน้า ก็ยังถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ได้ฉันใด
พวกเราทุกคน ผิว่า จะละพ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้ไปเสีย
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว
ก็ยิ่งเลื่อมใสอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์.

พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่อว่า เมขละ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสิริมา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยเก้าหมื่นปี
มีปราสาทยอดเยี่ยม ๓ ปราสาท ชื่อ จันทะ สุจันทะและวฏังสะ.
ทรงมีพระสนมนารี แต่งกายงาม หกหมื่นสามพันนาง
มีพระมเหสีพระนามว่า วฏังสกี มีพระโอรสพระนามว่า อนูปมะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 362
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ช้าง ทรงตั้งความเพียร ๑๐ เดือนเต็ม.

พระมหาวีระ สุมนะ
ผู้นำโลก ผู้สงบ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุงเมขละ ราชธานี.

พระสุมนพุทธเจ้า
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีอัครสาวก ชื่อว่า พระสรณะ และพระภาวิตัตตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทน.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณา และพระอุปโสณา
พระพุทธเจ้าผู้เสมอกับ
พระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อว่า ต้นนาคะ (ต้นกากะทิง).
ทรงมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะและสรณะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า จาลา และ อุปจาลา.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
โดยส่วนสูง ทรงสูงเก้าสิบศอก
พระรูปพระโฉมงดงามเสมือนรูปบูชาทองหมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้า.
ในยุคนั้น อายุมนุษย์เก้าหมื่นปี
พระองค์เมื่อทรงพระชนม์ยืนเพียงนั้น ก็ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 363

พระสัมพุทธเจ้า ทรงยังคนที่ควรข้ามให้ข้ามโอฆสงสาร
ทรงยังชนที่ควรตรัสรู้ให้ตรัสรู้ แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนเดือนดับ.
ภิกษุขีณาสพเหล่านั้น พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมือนพระองค์นั้น มียศยิ่งใหญ่
แสดงรัศมีที่ไม่มีอะไรเปรียบได้ ยังพากันนิพพานทั้งนั้น.พระญาณ ที่ไม่มีอะไรวัดได้นั้น
รัตนะ ที่ไม่มีอะไรชั่งได้เหล่านั้น ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปหมดสิ้นสังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

พระสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงยศ เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารอังคาราม
พระชินสถูปของพระองค์ ณ พระวิหารนั้นนั่นแล สูง ๔ โยชน์.
จบวงศ์พระสุมนพุทธเจ้า ที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 364

พรรณนา วงศ์พระสุมนพุทธเจ้าที่ ๔
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ทำหมื่นโลกธาตุให้มืดลงพร้อมกัน ด้วยเหตุอย่างเดียวอย่างนี้แล้ว

ต่อมาจากสมัยของพระองค์
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายซึ่งมีอายุเก้าหมื่นปี
แล้วก็ลดลงโดยลำดับจนเกิดมามีอายุเพียงสิบปี แล้วเพิ่มขึ้นอีก
จนมีอายุถึงอสงไขยปี แล้วลดลงอีกจนมีอายุเก้าหมื่นปี

พระโพธิสัตว์พระนามว่า สุมนะ
ทรงบำเพ็ญบารมี บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้น ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสิริมาเทวี
ในราชสกุลของพระเจ้าสุทัตตะ ณ เมขลนคร
เรื่องปาฏิหาริย์มีนัยที่เคยกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

พระโพธิสัตว์นั้น เจริญวัยมาโดยลำดับ
อันเหล่าสตรีฝ่ายนาฏกะ [ฟ้อน, ขับ, บรรเลง] จำนวนหกหมื่นสามแสนนาง
บำเรออยู่ ณ ปราสาท ๓ หลัง ชื่อ๑ สิริวัฒนะ โลมวัฒนะและอิทธิวัฒนะ
อันเหล่ายุวนารีผู้กล้าหาญปรนนิบัติอยู่ เสวยสุขตามวิสัย เสมือนสุขทิพย์ ประหนึ่งเทพกุมารี
ทรงให้กำเนิดพระโอรสที่ไม่มีผู้เปรียบ พระนามว่า อนูปมะ แก่พระนางวฏังสิกาเทวี
ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยยานคือช้าง
ทรงผนวชแล้วส่วนชนสามสิบโกฏิ ก็บวชตามเสด็จพระโพธิสัตว์ ซึ่งทรงผนวชอยู่.
พระองค์ อันชนสามสิบโกฏินั้นแวดล้อมแล้ว

ทรงบำเพ็ญเพียร ๑๐ เดือน ณ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ
เสวยข้าวมธุปายาส อันมีโอชะทิพย์ที่เทวดาใส่
ที่ นางอนุปมา ธิดาของ อโนมเศรษฐี ใน อโนมนิคม ถวายแล้ว
ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาละวัน
ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่ อนุปมาชีวก ถวาย
๑. ตามบาลีว่า ชื่อ จันทะ สุจันทะ และวฏังสะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 365
เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ นาคะ ต้นกากะทิง
ทรงทำประทักษิณต้นนาคะโพธิ์นั้น
ทรงเอาหญ้า ๘ กำปูเป็นสันถัดหญ้ากว้าง ๓๐ ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิเหนือสันถัตหญ้านั้น.
ต่อนั้น ก็ทรงกำจัดกองกำลังมาร แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ

ทรงเปล่งอุทานว่า
อเนกชาติสํสารํ ฯ เป ฯ ตณฺหานํขยมชฺฌคา ดังนี้
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ถัดสมัยของพระมงคลพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าพระนามว่า สุมนะ
ทรงเป็นผู้นำโลก ไม่มีผู้เสมอด้วยธรรมทั้งปวง สูงสุดแห่งสัตว์ทั้งปวง.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า มงฺคลสฺส อปเรน ความว่า ต่อมาภายหลังสมัยของพระผู้มีพระภาคมงคลพุทธเจ้า.
บทว่า สพฺพธมฺเมหิ อสโม ได้แก่ ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เสมือน
ด้วยธรรมคือศีล สมาธิ ปัญญา แม้ทุกอย่าง.

ได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาค สุมนพุทธเจ้า
ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ ณ ที่ใกล้โพธิพฤกษ์
ทรงรับคำทูลอาราธนาของพรหมเพื่อแสดงธรรม
ทรงใคร่ครวญว่า จะแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ
ทรงเห็นว่า ชนที่บวชกับพระองค์สามสิบโกฏิ
พระกนิษฐภาดาต่างพระมารดาของพระองค์ พระนามว่า สรณกุมาร
และบุตรปุโรหิต ชื่อว่า ภาวิตัตตมาณพ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
ทรงพระดำริว่า จะทรงแสดงธรรมแก่ชนเหล่านั้นก่อน
จึงเสด็จโดยทางนภากาศ ลงที่พระราชอุทยาน เมขละ
ทรงส่งพนักงานเฝ้าพระราชอุทยานไปเรียก สรณกุมาร  พระกนิษฐภาดาของพระองค์และภาวิตัตตมาณพ บุตรปุโรหิต
แล้วทรงยังสัตว์แสนโกฏิอย่างนี้ คือ บริวารของคนเหล่านั้นสาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 366
สิบเจ็ดโกฏิ ชนที่บวชกับพระองค์สามสิบโกฏิ และเทวดาและมนุษย์อื่น ๆ มากโกฏิ
ให้ดื่มอมฤตธรรมด้วยทรงประกาศพระธรรมจักร

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งนั้น พระองค์ทรงลั่นอมตเภรี คือ
คำสั่งสอนของพระชินเจ้ามีองค์ ๙ อันประกอบด้วยสังข์ คือ ธรรม ณ นครเมขละ.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อมตเภรึ ได้แก่ เภรีเพื่อบรรลุอมตะเพื่อบรรลุพระนิพพาน.
บทว่า อาหนิ ได้แก่ ประโคม อธิบายว่า แสดงธรรม ชื่อว่า อมตเภรีนี้นั้น
ก็คือพุทธวจนะมีองค์ ๙ มีอมตะเป็นที่สุด
ด้วยเหตุนั้นนั่นแล จึงตรัสว่า
คือ คำสั่งสอนของพระชินเจ้า อันประกอบด้วยสังข์คือธรรมในคำนั้น.
บทว่า ธมฺมสงฺขสมายุตฺตํ ได้แก่ อันประกอบพร้อมด้วยสังข์อันประเสริฐ คือ กถาว่าด้วยสัจธรรม ๔.

พระสุมนพุทธเจ้า
ผู้นำโลก ทรงบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณแล้ว
เมื่อทรงปฏิบัติปฏิปทาอันสมควรแก่ปฏิญญา ก็ได้ทรงสร้างอมตนครอันประเสริฐ
มีศีลเป็นปราการอันไพบูลย์ มีสมาธิเป็นดูล้อม
มีวิปัสสนาญาณเป็นทวาร มีสติสัมปชัญญะเป็นบานประตู
ประดับด้วยมณฑปคือสมาบัติเป็นต้น เกลื่อนกล่นด้วยชน
เป็นฝักฝ่ายแห่งโพธิญาณ เพื่อป้องกันรัตนะคือ กุศล อันเหล่าโจรคือ
กิเลสทั้งหลาย คอยปล้นสดมภ์ เพื่อประโยชน์แก่การเปลื้องมหาชนให้พ้น
เครื่องพันธนาการ คือภพ

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงชนะกิเลสทั้งหลายแล้ว
ทรงบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด ทรงสร้างนคร ชื่อสัทธัมมปุระ อันประเสริฐสูงสุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 367
แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า นิชฺชินิตฺวา ได้แก่ ชนะได้เด็ดขาด.อธิบายว่า ทรงกำจัดกิเลสมาร และเทวบุตรมาร.
บทว่า โส ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ พระองค์นั้น .
ปาฐะว่า วิชินิตฺวา กิเลเสหิ ดังนี้ก็มี. หิ อักษรเป็นนิบาต ใช้ในอรรถเพียงบทบูรณ์.
บทว่า ปตฺวา แปลว่า บรรลุแล้ว.
ปาฐะว่า ปตฺโต ดังนี้ก็มี.
บทว่า นครํ ได้แก่ นครคือพระนิพพาน.
บทว่า สทฺธมฺมปุรวรุตฺตมํ ได้แก่ สูงสุด ประเสริฐสุด เป็นประธาน
บรรดานครอันประเสริฐทั้งหลาย กล่าวคือสัทธรรมนคร.

อีกนัยหนึ่ง
บรรดานครอันประเสริฐที่สำเร็จด้วยสัทธรรม
นิพพานนครสูงสุด จึงชื่อว่า สัทธัมมปุรวรุตตมะนคร
สูงสุดในบรรดาสัทธรรมนครอันประเสริฐ
ในอรรถวิกัปต้น พึงเห็นคำว่า นคร ว่าเป็นไวพจน์ของพระนิพพานนั้นเท่านั้น.
พระนิพพานเป็นที่ตั้งแห่งพระอริยบุคคลทั้งหลายที่เป็นพระเสกขะและอเสกขะ
ผู้แทงตลอดสภาวธรรมแล้ว
ท่านเรียกว่า นคร เพราะอรรถว่าเป็นโคจรและเป็นที่อยู่
ก็ในสัทธรรมนครอันประเสริฐนั้น

พระศาสดาพระองค์นั้น
ทรงสร้างถนนใหญ่ที่สำเร็จด้วยสติปัฏฐาน อันไม่ขาด ไม่คด แต่ตรง ทั้งหนาทั้งกว้างไว้
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระองค์ ทรงสร้างถนนใหญ่ อันไม่ขาดไม่คดแต่ตรง
 ที่หนาและกว้าง คือสติปัฏฐานอันประเสริฐสูงสุด.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า นิรนฺตรํ ได้แก่ ชื่อว่า ไม่ขาดเพราะกุศลชวนจิตสัญจรไปไม่ว่างเว้น.
บทว่า อกุฏิลํ ได้แก่ ชื่อว่าไม่คด เพราะเว้นจากโทษที่ทำให้คด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 368
บทว่า อุชุํ ได้แก่ ชื่อว่าตรง เพราะไม่คด คำนี้เป็นคำแสดงความของบทต้น .
บทว่า วิปุลวิตฺถตํ ได้แก่ ชื่อว่าหนาและกว้าง เพราะยาวและกว้าง
ความที่สติปัฏฐานหนาและกว้าง พึงเห็นได้โดยสติปัฏฐานที่เป็นโลกิยและโลกุตระ.
บทว่า มหาวีถึ ได้แก่ หนทางใหญ่.
บทว่า สติปฏฺฐานวรุตฺตมํ ความว่า สติปัฏฐานนั้นด้วย สูงสุดในธรรมอันประเสริฐด้วย
เหตุนั้น จึงชื่อว่า สติปัฏฐานสูงสุดในธรรมอันประเสริฐ.
อีกนัยหนึ่ง ถนนสูงสุด ที่สำเร็จด้วยสติปัฏฐานอันประเสริฐ.
บัดนี้ ทรงปูแผ่รัตนะมีค่ามากเหล่านั้น คือ สามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ สมาบัติ ๘
ลงบนตลาดธรรมทั้งสองข้าง ณ ถนนสติปัฏฐานนั้นแห่งนิพพานมหานครนั้น

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระองค์ทรงปูแผ่สามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ สมาบัติ ๘ ณ ถนนนั้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงอุบายเครื่องยึดถือเอาซึ่งรัตนะเหล่านั้นว่า
ก็กุลบุตรเหล่าใด ไม่ประมาท มีสติ เป็นบัณฑิต ประกอบพร้อมด้วยหิริโอตตัปปะและวิริยะเป็นต้น
กุลบุตรเหล่านั้น ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งสินค้า คือ รัตนะเหล่านี้ ดังนี้
จึงตรัสว่า
กุลบุตรเหล่าใดไม่ประมาท ไม่มีตะปูเครื่องตรึงใจไว้ ประกอบด้วยหิริและวิริยะ
กุลบุตรเหล่านั้น ๆ ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งคุณธรรมอันประเสริฐเหล่านี้ตามสบาย.

แก้อรรถ
ในคาถานั้น ศัพท์ว่า เย เป็นอุเทศที่แสดงความไม่แน่นอน.
บทว่า อปฺปมตฺตา ได้แก่ ประกอบพร้อมแล้วด้วยความไม่ประมาท ซึ่งเป็นปฏิปักษ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 369
ต่อความประมาท อันมีลักษณะคือความไม่ปราศจากสติ.
บทว่า อขิลา ได้แก่ ปราศจากตะปูตรึงใจ ๕ ประการ.
บทว่า หิริวีริเยหุปาคตา ความว่า ชื่อว่า หิริ เพราะละอายแต่ทุจริตมีกายทุจริตเป็นต้น
คำนี้เป็นชื่อของความละอาย. ความเป็นแห่งผู้กล้าหาญ ชื่อว่า วีริยะ.
วีริยะนั้น มีลักษณะเป็นความขมักเขม้น ภัพพบุคคลทั้งหลายเข้าถึงแล้ว
ประกอบพร้อมแล้วด้วยหิริและวีริยะเหล่านั้น.
บทว่า เต นี้ เป็นอุเทศที่แสดงความแน่นอน
แห่งอุเทศที่แสดงความไม่แน่นอน ในบทก่อน.

อีกอย่างหนึ่ง.
บทว่า เต ความว่า กุลบุตรเหล่านั้นย่อมยึดไว้ได้
ย่อมได้ ย่อมประสบรัตนะวิเศษคือคุณดังกล่าวแล้ว

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ
ทรงทำความรู้แจ้งทางใจแล้ว ทรงลั่นธรรมเภรีทรงสร้างธรรมนครไว้หมด
จึงทรงยังสัตว์แสนโกฏิให้ตรัสรู้ก่อน
โดยนัยว่า ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระศาสดาทรงยกมหาชนขึ้น
ด้วยการประกอบนั้นอย่างนี้ จึงทรงยังสัตว์แสนโกฏิ ให้ตรัสรู้ก่อน.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อุทฺธรนฺโต ได้แก่ ทรงยกขึ้นจากสาคร คือ สังสารวัฏ ด้วยนาวาคืออริยมรรค.
บทว่า โกฏิสตสหสฺสิโย แปลว่า แสนโกฏิ.
ทรงแสดงถ้อยคำ โดยปริยายที่แปลกออกไป.

ก็สมัยใด พระสุมนพุทธเจ้าผู้นำโลก
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ข่มความมัวเมาและมานะของเดียรถีย์
ณ โคนต้นมะม่วง กรุง สุนันทวดี ทรงยังสัตว์พันโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม.
สมัยนี้ เป็นธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 370
สมัยใด พระมหาวีระ ทรงโอวาทหมู่เดียรถีย์
สมัยนั้น การตรัสรู้ธรรม ได้แก่ สัตว์พันโกฏิ ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๒.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ติตฺถิเย คเณ ได้แก่ คณะที่เป็นเดียรถีย์ หรือคณะของเดียรถีย์ทั้งหลาย.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ติตฺถิเยอภิมทฺทนฺโต พุทฺโธ ธมฺมมเทสยิ
พระพุทธเจ้าเมื่อทรงข่มพวกเดียรถีย์ก็ได้ทรงแสดงธรรม.

ก็สมัยใด เทวดาและมนุษย์ในหมื่นจักรวาลประชุมกันในจักรวาลนี้
ตั้งเรื่องนิโรธขึ้นว่า
ท่านเข้านิโรธกันอย่างไร
ถึงพร้อมด้วยนิโรธอย่างไร
ออกจากนิโรธอย่างไร

เทวดาในเทวโลกฝ่ายกามาวจร ๖ ชั้น
พรหมในพรหมโลก พร้อมด้วยมนุษย์ทั้งหลาย ไม่อาจวินิจฉัย
ในการเข้า การอยู่และการออกจากสมาบัติ เป็นต้นอย่างนี้ได้
จึงได้แบ่งกันเป็นสองพวกสองฝ่าย.

ต่อนั้น จึงพร้อมด้วยพระเจ้าอรินทมะ ผู้เป็นนรบดี
พากันเข้าไปเฝ้าพระสุมนทศพล
ผู้เป็นนาถะของโลกทั้งปวง ในเวลาเย็น.
พระเจ้าอรินทมะ
ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว จึงทูลถามนิโรธปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้า
แต่นั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบนิโรธปัญหาแล้ว
ธรรมาภิสมัยก็ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.
สมัยนี้เป็นธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พร้อมเพรียงกันมีใจอันเดียวกัน
ก็ทูลถามนิโรธปัญหา และข้อสงสัยทางใจ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 371
แม้สมัยนั้น ในการแสดงธรรม
ในการแสดงนิโรธปัญหา ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ ทรงมีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ใน ๓ ครั้งนั้น สาวกสันนิบาตครั้งที่ ๑
พระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระอรหันต์พันโกฏิ ผู้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ทรงอาศัยนครเมขละ
จำพรรษาแล้วก็ทรงปวารณาด้วยปวารณาครั้งแรก นี้เป็นสาวกสันนิบาตครั้งที่ ๑.

สมัยต่อมา พระมุนีผู้ประเสริฐดังดวงอาทิตย์
ประทับนั่งเหนือภูเขาทอง ประมาณโยชน์หนึ่ง
ซึ่งบังเกิดด้วยกำลังกุศลของ พระเจ้าอรินทมะ ไม่ไกล สังกัสสนคร
เหมือน ดวงทินกรส่องรัศมีอันงามในยามฤดูสารทเหนือขุนเขายุคนธร
ทรงฝึกบุรุษเก้าหมื่นโกฏิ ซึ่งห้อมล้อมพระเจ้าอรินทมะ ตามเสด็จมา
ทรงให้เขาบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาหมดทุกคน เหล่าภิกษุผู้บรรลุพระอรหัตในวันนั้นนั่นแลแวดล้อมแล้ว
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ในสันนิบาตอันประกอบด้วยองค์ ๔ นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
สมัยใด ท้าวสักกเทวราช เสด็จเข้าไปเพื่อเฝ้าพระสุคต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ อันพระอรหันต์แปดหมื่นโกฏิแวดล้อมแล้ว
ก็ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทินมีจิตสงบตั้งมั่น ๓ ครั้ง.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเข้าจำพรรษาแล้ว
เมื่อท่านประกาศวันปวารณาแล้ว พระตถาคต ก็ทรงปวารณาพรรษาพร้อมกับภิกษุแสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 372
ในสันนิบาตต่อจาก สันนิบาตครั้งที่ ๑ นั้น
ณ ภูเขาทองไร้มลทิน ภิกษุเก้าหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ครั้งท้าวสักกเทวราช เข้าเฝ้าเยี่ยมพระพุทธเจ้า
เทวดาและมนุษย์แปดหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
แก้อรรถ
พึงเห็นลิงควิปลาสในคำว่า อภิฆุฏฺเฐ ปวารเณ
ในคาถานั้น ความว่า อภิฆุฏฺฐาย ปวารณาย เมื่อท่านประกาศปวารณาแล้ว.
บทว่า ตโตปรํ ได้แก่ ในสมัยต่อจากสันนิบาตครั้งที่ ๑ นั้น.
บทว่า กญฺจนปพฺพเต ได้แก่ ณ ภูเขาที่สำเร็จด้วยทอง.
บทว่า พุทฺธทสฺสนุปาคมิ ได้แก่ เข้าไปเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า.

เล่ากันว่า
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพญานาค ชื่อว่า อตุละ มีฤทธานุภาพมาก.
ท่านได้ยินว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก อันหมู่ญาติห้อมล้อมแล้วออกจากภพของตน
บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ ซึ่งมีภิกษุแสนโกฏิเป็นบริวาร ด้วยดนตรีทิพย์
ถวายมหาทาน ถวายคู่ผ้ารูปละคู่ แล้วตั้งอยู่ในสรณะ

พระศาสดาพระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์พญานาคนั้นว่าจักเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพระยานาค ชื่อว่า อตุละ มีฤทธิ์มาก สั่งสมกุศลไว้มาก.
ครั้งนั้น เราพร้อมด้วยเหล่าญาตินาค ก็ออกจากพิภพนาค
บำเรอพระชินพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์ด้วยดนตรีทิพย์.
เลี้ยงดูภิกษุแสนโกฏิ ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำถวายคู่ผ้ารูปละคู่ แล้วถึงพระองค์เป็นสรณะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 373
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้นำโลกพระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่ประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต จักเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์จักตั้งความเพียร ฯ ล ฯ
พวกเราจักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

พึงกล่าว ๑๘ คาถา ให้พิศดารเหมือนในวงศ์ของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า.

เราฟังพระดำรัสของพระสุมนพุทธเจ้า
พระองค์นั้นแล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไปเพื่อบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะพระองค์นั้น
ทรงมีพระนคร ชื่อว่า เมขละ
มีพระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ
มีพระชนนี พระนามว่า พระนางสิริมาเทวี
มีคู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสรณะ พระภาวิตัตตะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนะ
มีคู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณา พระอุปโสณา
มีโพธิพฤกษ์ชื่อว่าต้นนาคะ (กากะทิง)
มีพระสรีระสูงเก้าสิบศอก
มีพระชนมายุเก้าหมื่นปี

มีพระมเหสี พระนามว่า พระนาง วฏังสิกาเทวี
มีพระโอรสพระนามว่า อนูปมะ
ทรงออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยยานคือ พระยาช้าง.
มีอุปัฏฐาก ชื่อ อังคราชา ประทับ ณ พระวิหารชื่อ อังคาราม
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่
มีพระนครชื่อว่า เมขละ
มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ
มีพระชนนีพระนามว่า พระนางสิริมา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี
ทรงมีปราสาทงามสุด ๓ หลัง ชื่อ จันทะ สุจันทะ และวฏังสะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 374
ทรงมีพระสนมนารีแต่งกายงาม สามล้านหกแสนนาง
มีพระมเหสีพระนามว่า พระนางวฏังสิกา
มีพระโอรส พระนามว่า อนูปมะ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ พระยาช้าง
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือน.

พระมหาวีระสุมนะ
ผู้นำโลก ผู้สงบ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุงเมขละราชธานี.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีอัครสาวก ชื่อพระสรณะและพระภาวิตัตตะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนะ.
ทรงมีอัครสาวิกา ชื่อว่าพระโสณา พระอุปโสณา
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระยศหาประมาณมิได้ พระองค์นั้น
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นนาคะ (กากะทิง).
ทรงมีอัครอุปฐาก ชื่อว่า วรุณะ และสรณะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ จาลา และ อุปจาลา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยส่วนสูง ทรงสูงเก้าสิบศอ
งามเหมือนรูปบูชาที่ทำด้วยทอง หมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้า.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี
พระองค์ทรงมีพระชนม์ยืนอย่างนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 375
พระสัมพุทธเจ้า ทรงยังหมู่ชนที่ควรข้ามให้ข้ามโอฆสงสาร
ยังหมู่ชนที่ควรตรัสรู้ให้ตรัสรู้ เสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนเดือนดับ.

พระภิกษุขีณาสพเหล่านั้น และพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอเหมือนพระองค์นั้น
ท่านเหล่านั้นมียศยิ่งใหญ่ สำแดงรัศมีที่ไม่มีอะไรเปรียบแล้วก็ปรินิพพาน.
พระญาณที่ไม่มีอะไรวัดได้นั้น และรัตนะที่ไม่มีอะไรชั่งได้นั้น ทั้งนั้นก็อันตรธานไปหมดสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้ทรงพระยศ ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารอังคาราม
พระชินสถูปของพระองค์ ณ อังคารามนั้น สูงถึงสี่โยชน์.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า กญฺจนคฺฆยสงฺกาโส ได้แก่
มีพระรูปพระโฉมงามเหมือนรูปบูชาทำด้วยทองอันวิจิตรด้วยรัตนะหลากชนิด.
บทว่า ทสสหสฺสี วิโรจติ ความว่า ทั้งหมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้าด้วยรัศมีของพระองค์.
บทว่า ตารณีเย แปลว่า ยังหมู่ชนผู้ที่ควรให้ข้ามคือผู้ควรข้าม อธิบายว่า พุทธเวไนยทั้งปวง.
บทว่า อุฬุราชาว แปลว่า เหมือนดวงจันทร์.
บทว่า อตฺถมิ แปลว่า ดับ.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อตฺถํ คโต ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.
บทว่า อสาทิโส ก็คือ อสทิโส ผู้ไม่มีผู้เสมือน.
บทว่า มหายสา ได้แก่ ผู้มีเกียรติมาก และมีบริวารมาก.
บทว่า ตญฺจ ญาณํ ได้แก่ พระสัพพัญญุตญาณนั้น.
บทว่า อตุลิยํ ได้แก่ วัดไม่ได้ ไม่มีอะไรเสมือน.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระสุมนพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 376



22

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 329

๓. วงศ์ พระมงคลพุทธเจ้าที่ ๓
ว่าด้วยพระประวัติของพระมงคลพุทธเจ้า

[๔] ต่อมาจากสมัย ของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าพระนามว่า มงคล ผู้นำโลก
ทรงกำจัดความมืดในโลก ทรงชูประทีปธรรม.
รัศมีของพระองค์ไม่มีใครเทียบ ยิ่งกว่าพระชินพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ
ข่มรัศมีของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ทำหมื่นโลกธาตุให้สว่างจ้า.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศสัจจะ ๔ อันประเสริฐสูงสุด.
สัตว์นั้น ๆ ก็ดื่มรสสัจจะบรรเทาความมืดใหญ่ลงได้,
ในการที่ทรงบรรลุพระโพธิญาณ อันหาที่เทียบมิได้
แล้วทรงแสดงธรรมครั้งแรก
ธรรมาภิสมัย ครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมโปรด ในภพของท้าวสักกะเทวราชจอมเทพ
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ เทวดาแสนโกฏิ.
ครั้ง พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิราช เข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า
พระสัมพุทธเจ้า ก็ทรงลั่นธรรมเถรีอันประเสริฐสูงสุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 330
ครั้งนั้น ข้าราชบริพารตามเสด็จพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิราช มีจำนวนเก้าสิบโกฏิ
ชนเหล่านั้น ก็ได้เป็นผู้บวชด้วยเอหิภิกษุอุปสัมปทาทั้งหมด ไม่เหลือเลย.

สมัยพระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีสันนิบาตการประชุม ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ เป็นการประชุมสาวกแสนโกฏิ
ครั้งที่ ๒ ก็เป็นการประชุมสาวกแสนโกฏิ
ครั้งที่ ๓ เป็นการประชุมสาวกเก้าสิบโกฏิ
ครั้งนั้น เป็นการประชุมสาวกผู้เป็นพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน.

สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ชื่อสุรุจิ
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท
เราเข้าเฝ้า ถึงพระศาสดาเป็นสรณะ
บูชาพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยของหอมและดอกไม้
ครั้นบูชาด้วยของหอมและดอกไม้แล้ว
ก็เลี้ยงให้อิ่มหนำสำราญด้วยควปานะ ขนมแป้งผสมน้ำนมโค.

พระมงคลพุทธเจ้า
ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้าพระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่นับไม่ได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตเสด็จออกอภิเนษกรมณ์
จากกรุงกบิลพัศดุ์ที่น่ารื่นรมย์
ทรงตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 331
พระตถาคต ประทับ ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส เสด็จเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.

พระชินเจ้าพระองค์นั้น
เสวยข้าวมธุปายาส ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดตกแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มียศใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ ณ โคนต้นโพธิพฤกษ์ ชื่อว่าอัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า มายา
พระชนกพระนามว่า สุทโธทนะ ท่านผู้นี้จักมีนามว่าพระโคตมะ.
จักมีคู่อัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะและพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีคู่อัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
ต้นโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า อัสสัตถพฤกษ์.
จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถะอาฬวกะ
จักมีอัครอุปัฎฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตาและอุตตรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 332
พระโคตมพุทธเจ้าผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุ ประมาณ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
สดับพระดำรัสของพระมงคลพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่นี้แล้ว
ก็พากันปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ พร้อมทั้งเทวโลก ก็ส่งเสียงโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสอนของพระโลกนาถพระองค์นี้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำเฉพาะหน้า
ก็ถือเอาท่าน้ำทางหลัง ข้ามมหานทีฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่าจะละพ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

เราฟังพระดำรัสของพระมงคลพุทธเจ้า พระองค์นั้นแล้ว
ก็ยังจิตให้เลื่อมใสมากขึ้น อธิษฐานวัตรยิ่งยวดขึ้น เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้เต็มบริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 333
ครั้งนั้น เราเพิ่มพูนปีติ เพื่อบรรลุพระสัมโพธิญาณอันประเสริฐ
จึงถวายเคหสมบัติของเรา แด่พระมงคลพุทธเจ้า แล้วก็บวชในสำนักของพระองค์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัยและนวังคสัตถุสาสน์ได้หมด ยังศาสนาของพระชินเจ้าให้งดงาม.

เราเมื่ออยู่ในพระศาสนานั้น ไม่ประมาท
เจริญพรหมวิหารภาวนา ถึงฝั่งในอภิญญา ๕ ก็ไปพรหมโลก.

พระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนคร ชื่อว่า อุตตระ
มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้าอุตตระ
พระชนนีพระนามว่า พระนางอุตตรา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี
ทรงมีปราสาทเยี่ยมยอด ๓ หลัง ชื่อ ยสวา สุจิมา สิริมา
ทรงมีพระสนมนารีสามหมื่นถ้วน
มีพระอัครมเหสีพระนามว่า ยสวดี
พระโอรสพระนามว่า สีวละ.
พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือม้า
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม.

พระมหาวีระมงคลพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้า ผู้สงบ อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรเสด็จจาริกไป.

พระมงคลพุทธเจ้า

ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมีอัครสาวกชื่อว่า พระสุเทวะ พระธรรมเสนะ
มีพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 334
ทรงมีอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวลาและพระอโสกา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่าต้นนาคะ คือต้นกากะทิง.
ทรงมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นันทะ และวิสาขะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า อนุฬา และ สุมนา.
พระมหามุนี สูง ๘๘ ศอก
พระรัศมีหลายแสนแล่นออกจากพระสรีระนั้น.
สมัยนั้น ทรงมีพระชนมายุเก้าหมื่นปี
พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ถึงเพียงนั้น ก็ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
คลื่นทั้งหลายในมหาสมุทร ใครๆ ก็ไม่อาจนับคลื่นเหล่านั้นได้ ฉันใด
สาวกทั้งหลายของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น ใครๆ ก็ไม่อาจนับสาวกเหล่านั้นได้ ฉันนั้น.

พระมงคลสัมพุทธเจ้า
ผู้นำโลก ยังดำรงอยู่ตราบใด
ในศาสนาของพระองค์ ก็ไม่มีการตายของสาวกผู้ยังมีกิเลส ตราบนั้น.
พระผู้มียศใหญ่พระองค์นั้น ทรงชูประทีปธรรม
ยังมหาชนให้ข้ามโอฆสงสาร ทรงรุ่งเรืองแล้ว ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนดวงไฟ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 335
ทรงแสดงความที่สังขารทั้งหลายเป็นสภาวธรรมแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก
รุ่งเรืองแล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนกองไฟดับ ประดุจดวงอาทิตย์อัสดงคต ฉะนั้น.
พระมงคลพุทธเจ้า ปรินิพพาน ณ อุทยาน ชื่อ เวสสระ
ชินสถูปของพระองค์ ณ อุทยานนั้น สูงสามสิบโยชน์.
จบวงศ์พระมงคลพุทธเจ้าที่ ๓

พรรณาวงศ์พระมงคลพุทธเจ้าที่ ๓

ดังได้สดับมา
เมื่อพระโกณฑัญญศาสดา เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ศาสนาของพระองค์ดำรงอยู่แสนปี
เพราะพระสาวกของพระพุทธะและอนุพุทธะอันตรธาน
ศาสนาของพระองค์ก็อันตรธาน.
ต่อจากสมัยของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า ล่วงไปอสงไขยหนึ่ง
ในกัปเดียวกันนี่แล ก็บังเกิดพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือ
พระมังคละ
พระสุมนะ
พระเรวตะ
พระโสภิตะ

ใน ๔ พระองค์นั้น พระมงคลพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ทรงบำเพ็ญบารมี สิบหกอสงไขย กำไรแสนกัป
ก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
ทรงดำรงตลอดอายุในสวรรค์ชั้นนั้น
เมื่อบุพนิมิต ๕ ประการ เกิดขึ้นแล้ว ก็เกิดพุทธโกลาหลขึ้น
ครั้งนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลก็ประชุมกันในจักรวาลนั้น
จึงพากันอ้อนวอนว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 336
กาโลยํ เต มหาวีร อุปฺปชฺช มาตุ กุจฺฉิยํ
สเทวกํ ตารยนฺโต พุชฺฌสฺสุ อมตํ ปทํ.
ข้าแต่ท่านมหาวีระ นี้เป็นกาลอันสมควรสำหรับพระองค์
โปรดเสด็จอุบัติในพระครรภ์ของพระมารดาเถิด
พระองค์เมื่อทรงยังโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามโอฆสงสาร โปรดตรัสรู้อมตบทเถิด เจ้าข้า.

ทรงถูกเทวดาทั้งหลายอ้อนวอนอย่างนี้แล้ว
ทรงพิจารณาวิโลกนะ ๕ ประการ ก็จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต
ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางอุตตราเทวี
ราชสกุลของ พระเจ้าอุตตระ ผู้ยอดเยี่ยม
ใน อุตตระนคร ซึ่งเป็นนครสูงสุดเหมือนครทุกนคร

ครั้งนั้นได้ปรากฏปาฏิหาริย์เป็นอันมากปาฏิหาริย์เหล่านั้น
พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว ในวงศ์ของพระทีปังกรพุทธเจ้านั่นแล.

นับตั้งแต่พระมงคลมหาสัตว์ ผู้เป็นมงคลของโลกทั้งปวง
ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอุตตระมหาเทวีพระองค์นั้น
พระรัศมีแห่งพระสรีระก็แผ่ไปตลอดเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ศอก ทั้งกลางคืนกลางวัน
แสงจันทร์และแสงอาทิตย์สู้ไม่ได้
พระรัศมีนั้น กำจัดความมืดได้โดยที่พระรัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์เกิดขึ้น
ไม่ต้องใช้แสงสว่างอย่างอื่น พระพี่เลี้ยงพระนม ๖๘ นางคอยปรนนิบัติอยู่.

เล่ากันว่า
พระนางอุตตราเทวีนั้น มีเทวดาถวายอารักขา ครบทศมาส
ก็ประสูติพระมังคลมหาบุรุษ ณ มงคลราชอุทยาน ชื่อว่า อุตตรมธุรอุทยาน
อันมีไม้ดอกหอมอบอวล ไม้ต้นติดผลมีกิ่งและค่าคบ ประดับด้วยดอกบัวต้นและ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 337
บัวสาย มีเนื้อกวาง ราชสีห์ เสือ ช้าง โคลาน ควาย เนื้อฟาน และฝูงเนื้อ
นานาชนิดเที่ยวกันไป น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง
พระมหาสัตว์พระองค์นั้นพอประสูติเท่านั้น
ก็ทรงแลดูทุกทิศ หันพระพักตร์สู่ทิศอุดร
ทรงย่างพระบาท ๗ ก้าว
ทรงเปล่งอาสภิวาจา
ขณะนั้น เทวดาสิ้นทั้งหมื่นโลกธาตุ ก็ปรากฏกาย
ประดับองค์ด้วย ทิพยมาลัยเป็นต้น
ยืนอยู่ในที่นั้น ๆ แซ่ซ้องถวายสดุดีชัยมงคล
ปาฏิหาริย์ทั้งหลายมีนัยที่กล่าวแล้วทั้งนั้น ในวันขนานพระนามพระมหาบุรุษนั้น
โหรทำนายลักษณะขนานพระนามว่า มงคลกุมาร
เพราะประสูติด้วยมงคลสมบัติทุกอย่าง.

ได้ยินว่า
พระมหาบุรุษนั้นมีปราสาท ๓ หลัง คือ ยสวา รุจิมา สิริมา
สตรีเหล่านาฏกะ [ฟ้อน, ขับ, บรรเลง] จำนวนสามหมื่น
มีพระนางยสวดีเป็นประธาน
ณ ปราสาทนั้นพระมหาสัตว์เสวยสุขเสมือนทิพยสุข เก้าพันปี
ทรงได้พระโอรสพระนามว่า สีลวา
ในพระครรภ์ของพระนาง ยสวดี พระอัครมเหสี
ทรงม้าตัวงามนามว่า ปัณฑระ ที่ตกแต่งตัวแล้ว
เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ทรงผนวช
มนุษย์สามโกฏิ ก็พากันบวชตามเสด็จพระมหาสัตว์ที่ทรงผนวชพระองค์นั้น
พระมหาบุรุษ อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้วทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ ๘ เดือน.

แต่นั้น ก็เสวยข้าวมธุปายาส มีโอชะทิพย์ที่เทวดาใส่ไว้
อันนางอุตตรา ธิดาของ อุตตรเศรษฐี ในหมู่บ้านอุตตรคามถวายแล้ว
ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาละวัน ซึ่งประดับด้วยไม้ดอกหอมกรุ่น มีแสงสีเขียว น่ารื่นรมย์

ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่อุตตระอาชีวกถวาย
เสด็จเข้าไปยังต้นไม้ที่ตรัสรู้ชื่อนาคะ [กากะทิง]
มีร่มเงาเย็นคล้ายอัญชันคิรี สีครามแก่ ประหนึ่งมียอด มีตาข่ายทองคลุม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 338
เว้นจากการชุมนุมของฝูงมฤคนานาพันธุ์ ประดับด้วยกิ่งหนาทึบ
ที่ต้องลมอ่อน ๆ แกว่งไกวคล้ายฟ้อนรำ ถึงต้นนาคะโพธิที่น่าชื่นชม
ก็ทรงทำประทักษิณต้นนาคะโพธิ
ประทับยืนข้างทิศอีสาน [ตะวันออกเฉียงเหนือ
ทรงลาดสันถัตหญ้า ๕๘ ศอก
ประทับนั่งขัดสมาธิเหนือสันถัตหญ้านั้น
ทรงอธิษฐานความเพียรอันประกอบด้วยองค์ ๔
ทรงทำการพิจารณาปัจจยาการหยั่งลงโดยอำนาจอนิจจลักษณะเป็นต้นในขันธ์ทั้งหลาย
ก็ทรงบรรลุพระอนุตตรสมมาสัมโพธิญาณโดยลำดับ
ทรงเปล่งอุทานว่า
อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพสํ
คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
คหการก ทิฏฺโฐสิ ปุน เคหํ น กาหสิ
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ
วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา.
เราแสวงหาตัณหานายช่างผู้สร้างเรือน
เมื่อไม่พบก็ท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก
การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์
ดูก่อนตัณหา นายช่างผู้สร้างเรือน
ตัวท่านเราพบแล้ว ท่านจักสร้างเรือนไม่ได้อีกแล้ว
โครงสร้างเรือนของท่านเราหักเสียหมดแล้ว
ยอดเรือนท่านเราก็รื้อเสียแล้ว
จิตเราถึงธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้
เพราะเราบรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว.

ส่วนรัศมีแห่งพระสรีระ พระมงคลพุทธเจ้า
มีเกินยิ่งกว่าพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ
รัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์ ไม่เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 339
ซึ่งมีรัศมีพระสรีระ ประมาณ ๘๐ ศอกบ้าง วาหนึ่งบ้างโดยรอบ
ส่วนรัศมีแห่งพระสรีระของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ เป็นนิจนิรันดร์
ต้นไม้ ภูเขา เรือน กำแพง หม้อน้ำ บานประตูเป็นต้น
ได้เป็นเหมือนหุ้มไว้ด้วยแผ่นทอง พระองค์มีพระชนมายุถึงเก้าหมื่นปี.

รัศมีของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดวงดาวเป็นต้น
ไม่มีตลอดเวลาถึงเท่านั้น การกำหนดเวลากลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ
สัตว์ทั้งหลายทำการงานกันทุกอย่างด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
เหมือนทำงานด้วยแสงสว่างของดวงอาทิตย์เวลากลางวัน
โลกกำหนดเวลาตอนกลางคืนกลางวัน โดยดอกไม้บานยามเย็นและนกร้องยามเช้า.
ถามว่า อานุภาพนี้ของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ไม่มีหรือ.
ตอบว่า ไม่มี หามิได้
ความจริง พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อทรงประสงค์
ก็ทรงแผ่พระรัศมีไปได้ตลอดหมื่นโลกธาตุ หรือยิ่งกว่านั้น
แต่รัศมีแห่งพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้ามงคล
แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุเป็นนิจนิรันดร์
เหมือนรัศมีวาหนึ่งของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ
ก็ด้วยอำนาจความปรารถนาแต่เบื้องต้น.

เขาว่า
ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์
พระมงคลพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ทรงมีพระโอรสและพระชายา
ในอัตภาพ เช่นเดียว
กับอัตภาพ เป็นพระเวสสันดร
ประทับอยู่ ณ ภูเขาเช่นเดียวกับเขาวงกต.

ครั้งนั้น
ยักษ์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่ง
กินมนุษย์เป็นอาหาร
ชอบเบียดเบียนคนทุกคน
ชื่อ ขรทาฐิกะ

ได้ข่าวว่า
พระมหาบุรุษ
ชอบให้ทาน

จึงแปลงกาย เป็นพราหมณ์
เข้าไปหา ทูลขอทารก
สองพระองค์ กะพระมหาสัตว์

พระมหาสัตว์
ทรงดีพระทัยว่า

เราจะให้ลูกน้อย สองคน
แก่ พราหมณ์ดังนี้

ได้ทรงประทาน
พระราชบุตรทั้งสอง พระองค์แล้ว
ทำให้แผ่นดิน หวั่นไหว จนถึงน้ำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 340
ขณะนั้น
ทั้งที่พระมหาสัตว์ ทรงเห็นอยู่

ยักษ์ละเพศ
เป็นพราหมณ์นั้นเสีย

มีดวงตากลม
เหลือกเหลือง ดังเปลวไฟ
มีเขี้ยวโง้ง ไม่เสมอกัน
น่าเกลียดน่ากลัว
มีจมูกบี้แบน
มีผมแดงหยาบยาว
มีเรือนร่าง เสมือนต้นตาล ไหม้ไฟ ใหม่ ๆ

จับทารก สองพระองค์
เหมือน กำเหง้าบัว
เคี้ยวกิน

พระมหาบุรุษ
มองดูยักษ์

พอยักษ์อ้าปาก
ก็เห็นปากยักษ์นั้น
มีสายเลือดไหลออก เหมือนเปลวไฟ
ก็ไม่เกิดโทมนัส แม้เท่าปลายผม

เมื่อคิดว่า
เราให้ทานดีแล้ว
ก็เกิดปีติโสมนัส มากในสรีระ.

พระมหาสัตว์นั้น
ทรงทำความปรารถนาว่า
ด้วยผลแห่งทาน ของเรานี้

ในอนาคตกาล
ขอรัศมีทั้งหลาย
จงแล่นออกโดยทำนองนี้

เมื่อพระองค์อาศัยความปรารถนา
เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
รัศมีทั้งหลายจึงเปล่ง ออกจากสรีระ
แผ่ไปตลอดสถานที่ มีประมาณเท่านั้น.

บุพจริยาอย่างอื่นของพระองค์ยังมีอีก.
เล่ากันว่า
ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์
พระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นี้
เห็นเจดีย์ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง
คิดว่า ควรที่จะสละชีวิตของเรา
เพื่อพระพุทธเจ้าพระองค์นี้
ให้เขาพันทั่วทั้งสรีระโดยทำนอง
พันประทีปด้าม ให้บรรจุถาดทองมีค่านับแสน
ซึ่งมีช่อดอกไม้ตูมขนาดศอกหนึ่ง
เต็มด้วยของหอมและเนยใส
จุดไส้เทียนพันไส้ไว้ในถาดทองนั้น
ใช้ศีรษะเทินถาดทองนั้นแล้วให้จุดไฟทั่วทั้งตัว
ทำประทักษิณพระเจดีย์ของพระชินเจ้า
ให้เวลาล่วงไปตลอดทั้งคืน
เมื่อพระโพธิสัตว์พยายามอยู่จนอรุณขึ้นอย่างนี้
ไออุ่นก็ไม่จับแม้เพียงขุมขน ได้เป็นเหมือนเวลาเข้าไปสู่ห้องดอกปทุม
จริงทีเดียว ชื่อว่า ธรรมนี้ย่อมรักษาบุคคลผู้รักษาตน
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ
ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ
น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 341
ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปทุคติ ดังนี้.

ด้วยผลแห่งกรรมแม้นี้
แสงสว่างแห่งพระสรีระของพระองค์จึงแผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า ผู้นำโลก พระนามว่ามงคล
ก็ทรงกำจัดความมืดในโลก ทรงชูประทีปธรรม.
รัศมีของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น ไม่มีผู้เทียบ
ยิ่งกว่าพระชินเจ้าพระองค์อื่น ๆ
ครอบงำแสงสว่างของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
หมื่นโลกธาตุก็สว่างจ้า.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตมํ ได้แก่ ความมืดในโลกและความมืดในดวงใจ.
บทว่า นิหนฺตฺวาน ได้แก่ ครอบงำ.
ในคำว่า ธมฺโมกฺกํ นี้อุกฺกา ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถเป็นอันมาก มีเบ้าของช่างทองเป็นต้น.
จริงอย่างนั้น
เบ้าของช่างทองทั้งหลาย พึงทราบว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า
สณฺฑาเสน ชาตรูปํ คเหตฺวา อุกฺกามุเข ปกฺขิเปยฺย ใช้คีมคีบทองใส่ลงในปากเบ้า.
ภาชนะถ่านไฟของช่างทองทั้งหลาย
ก็พึงทราบว่า อุกฺกา
ในอาคตสถานว่า อุกฺกํ พนฺเธยฺย อุกฺกํ พนฺธิตฺวา อุกฺกามุขํ อาลิมฺเปยฺย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 342
พึงผูกภาชนะถ่านไฟ
ครั้นผูกภาชนะถ่านไฟแล้ว พึงฉาบปากภาชนะถ่านไฟ. เตาไฟของช่างทอง
ก็พึงทราบว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า กมฺมารานํ ยถา อุกฺกาอนฺโต ฌายติ โน พหิ
เปรียบเหมือนเตาของช่างทองทั้งหลาย ย่อมไหม้แต่ภายใน ไม่ไหม้ภายนอก.
ความเร็วของพายุ พึงทราบว่า
อุกฺกา ในอาคตสถานว่า เอวํวิปาโก อุกฺกาปาโต ภวิสฺสติ มีอุกกาบาต จักมีผลเป็นอย่างนี้.
คบเพลิง ท่านเรียกว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า อุกฺกาสุธาริยนานาสุ
เมื่อคบเพลิงทั้งหลายอันเขาชูอยู่.
แม้ในที่นี้คบเพลิงท่านประสงค์ว่า อุกฺกา.
เพราะฉะนั้นในที่นี้จึงมีความว่า ทรงชูคบเพลิงที่สำเร็จด้วยธรรม
พระองค์ทรงชูคบเพลิงอันสำเร็จด้วยธรรมแก่โลก
ซึ่งถูกความมืด คือ อวิชชาปกปิดไว้ อันความมืดคืออวิชชาครอบงำไว้.
บทว่า อตุลาสิ ได้แก่ ไม่มีรัศมีอื่นเทียบได้ หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.
ความว่า มีพระรัศมีอันพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ เทียบไม่ได้.
บทว่า ชิเนหญฺเญหิ ตัดบทเป็น ชิเนหิ อญฺเญหิ แปลว่า กว่าพระชินเจ้าพระองค์อื่นๆ.
บทว่า จนฺทสุริยปฺปภํ หนฺตฺวา ได้แก่ กำจัดรัศมีของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
บทว่า ทสสหสฺสี วิโรจติ ความว่า เว้นแสงสว่างของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
หมื่นโลกธาตุย่อมสว่างจ้าด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้าเท่านั้น.

ก็พระมงคลสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงบรรลุพระโพธิญาณแล้ว
ทรงยับยั้ง ณ โคนต้นไม้ที่ตรัสรู้ ๗ สัปดาห์
ทรงรับคำวอนขอให้ทรงแสดงธรรมของพรหม
ทรงใคร่ครวญว่าเราจะแสดงธรรมนี้แก่ใครหนอ
ก็ทรงเห็นว่า ภิกษุสามโกฏิที่บวชกับพระองค์ ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 343
ครั้งนั้น ทรงดำริว่า
กุลบุตรเหล่านี้บวชตามเราซึ่งกำลังบวชอยู่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
พวกเขาถูกเราซึ่งต้องการวิเวก สละไว้

เมื่อวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เข้าไปอาศัย สิริวัฒนนครอยู่ ยังชัฏสิริวัน
เอาเถิด เราจักไปแสดงธรรมแก่พวกเขาในที่นั้น
แล้วทรงถือบาตรจีวรของพระองค์ เหาะสู่อากาศ
เหมือนพระยาหงส์ ปรากฏพระองค์ ณ ชัฏสิริวัน

ภิกษุเหล่านั้นถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แสดงอันเตวาสิกวัตรแล้ว นั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมาแล้ว แก่ภิกษุเหล่านั้น.

ต่อจากนั้น ภิกษุสามโกฏิก็บรรลุพระอรหัต
ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรม ได้มีแก่เทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศสัจจะ ๔
อันประเสริฐสุด เทวดาและมนุษย์นั้น ๆ ดื่มรสสัจจะบรรเทาความมืดใหญ่ได้.
ธรรมาภิสมัย การตรัสรู้ธรรม ได้มีแก่ เทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ
ในปฐมธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่ชั่งไม่ได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า จตุโร แปลว่า ๔.
บทว่า สจฺจวรุตฺตเม ความว่า จริงด้วย ประเสริฐด้วย
ชื่อว่า สัจจะอันประเสริฐ อธิบายว่า สัจจะสูงสุด.
ปาฐะว่า จตฺตาโร สจฺจวรุตฺตเม ดังนี้ก็มี ความว่า สัจจะอันประเสริฐ สูงสุดทั้ง ๔.
บทว่า เต เต ได้แก่ เทวดาและมนุษย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 344
นั้นนั่น อันพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแนะนำแล้ว.
บทว่า สจฺจรสํ ได้แก่ ดื่มรสอมตะคือการแทงตลอดสัจจะ ๔.
บทว่า วิโนเทนฺติ มหาตมํ ความว่า บรรเทา คือกำจัด ความมืด คือโมหะ ที่พึงละด้วยมรรคนั้น ๆ.
บทว่า ปตฺวาน ได้แก่ แทงตลอด.
ในบทว่า โพธึ นี้ โพธิ ศัพท์นี้มคฺเค ผเล จ นิพฺพาเน รุกฺเข ปญฺญตฺติยํ ตถา
สพฺพญฺญุเต จ ญาณสฺมึ โพธิสทฺโท ปนาคโต.
ก็โพธิศัพท์มาในอรรถ คือ มรรค ผล นิพพาน ต้นไม้ บัญญัติ พระสัพพัญญุตญาณ.
จริงอย่างนั้น
โพธิ ศัพท์ มาในอรรถว่า มรรค
ได้ในประโยคเป็นต้นว่า โพธิ วุจฺจติ จตูสุ มคฺเคสุ ญาณํ
ญาณในมรรค ๔ เรียกว่า โพธิ.
มาในอรรถว่า ผล ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อุปสมาย อภิญฺญายสมฺโพธาย สํวตฺตติ
ย่อมเป็นไป เพื่อความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้พร้อม.
มาในอรรถว่า นิพพาน ได้ในประโยคนี้ว่า ปตฺวาน โพธึ อมตํอสงฺขตํ
บรรลุพระนิพพาน อันไม่ตาย ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้.
มาในอรรถว่า ต้นอัสสัตถะ ต้นโพธิใบ
ได้ในประโยคนี้ว่า อนฺตรา จ คยํ อนฺตรา จ โพธึ ระหว่างแม่น้ำคยาและต้นโพธิ์.
มาในอรรถว่า บัญญัติ ได้ในประโยคนี้ว่า โพธิ โข ราชกุมาโร โภโต โคตมสฺส
ปาเท สิรสา วนฺทติ พระราชกุมารพระนามว่า โพธิ
ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระโคดม ด้วยเศียรเกล้า.

มาในอรรถว่า
พระสัพพัญญุตญาณ ได้ในประโยคนี้ว่า ปปฺโปติโพธึ วรภูริเมธโส
พระผู้มีพระปัญญาดีอันประเสริฐดังแผ่นดิน ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ.
แม้ในที่นี้ ก็พึงเห็นว่าลงในอรรถว่า
พระสัพพัญญุตญาณลงในอรรถแม้ พระอรหัตมรรคญาณก็ควร. .
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 345
บทว่า อตุลํ ได้แก่ เว้นที่จะชั่งได้ คือเกินประมาณ อธิบายว่า ไม่มีประมาณ
พึงถือความว่า ในปฐมธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ซึ่งทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้วทรงแสดงธรรม.

สมัยใด พระมงคลพุทธเจ้า
ทรงอาศัยนคร ชื่อ จิตตะ ประทับอยู่
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ข่มมานะ ของพวกเดียรถีย์ ณ โคนต้นจำปา
เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ที่โคนต้นคัณฑัมพพฤกษ์แล้ว
ประทับนั่งเหนือพื้นพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ใต้โคนต้นปาริฉัตตกะ ณ ภพดาวดึงส์
ซึ่งเป็นภพประเสริฐ สำเร็จด้วยทองและเงินใหม่ งดงาม
เป็นแดนสำเริงสำราญของเหล่าเทวดาและอสูรหนุ่มสาว ตรัสพระอภิธรรม.

สมัยนั้น
ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรมได้มีแก่เทวดาแสนโกฏิ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.
สมัยใด
พระเจ้าจักรพรรดิ พระนาม สุนันทะ
ทรงบำเพ็ญจักรวรรดิวัตร ณ สุรภีนคร ทรงได้จักรรัตนะ.
เล่ากันว่า
เมื่อ พระมงคลทศพลเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
จักรรัตนะนั้นก็เขยื้อนจากฐาน

พระเจ้าสุนันทะ
ทรงเห็นแล้ว ก็หมดความบันเทิงพระหฤทัย
จึงทรงสอบถามพวกพราหมณ์ว่า
จักรรัตนะนี้ บังเกิดเพราะกุศลของเรา เหตุไฉน จึงเขยื้อนจากฐาน
สมัยนั้น
พราหมณ์เหล่านั้นจึงพยากรณ์ ถึงเหตุที่จักรรัตนะนั้นเขยื้อน แด่พระราชาว่า
จักรรัตนะจะเขยื้อนจากฐาน
เพราะพระเจ้าจักรพรรดิหมดพระชนมายุ
เพราะพระเจ้าจักรพรรดิทรงผนวช หรือเพราะ พระพุทธเจ้าปรากฏ
แล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระชนมายุของพระองค์ยังไม่สิ้นดอก พระพุทธเจ้าข้า
พระองค์ทรงมีพระชนมายุยืนยาว.
แต่พระมงคลสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติแล้วในโลก
ด้วยเหตุนั้น จักรรัตนะของพระองค์จึงเขยื้อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 346
พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิราช พร้อมทั้งบริษัท จึ
งทรงไหว้จักรรัตนะนั้นด้วยเศียรเกล้า
ทรงวอนขอว่า
ตราบใดเราจักสักการะพระมงคลทศพล
ด้วยอานุภาพของท่าน ขอท่านอย่าเพิ่งอันตรธานไป ตราบนั้นด้วยเถิด.
ลำดับนั้น
จักรรัตนะนั้นก็ได้ตั้งอยู่ที่ฐานตามเดิม.
แต่นั้น พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิ ผู้มีความบันเทิงพระหฤทัย
พรั่งพร้อม อันบริษัทมีปริมณฑล ๓๖ โยชน์แวดล้อมแล้ว
ก็เสด็จเข้าเฝ้าพระมงคลทศพล ผู้เป็นมงคลของโลกทั้งปวง
ทรงอังคาสพระศาสดาพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวกให้อิ่มหนำสำราญด้วยมหาทาน
ถวายผ้าแคว้นกาสีแด่พระอรหันต์แสนโกฏิรูป
ถวายบริขารทุกอย่างแด่พระตถาคต
ทรงทำการบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ซึ่งทำความประหลาดใจสิ้นทั้งโลก แล้วเข้าเฝ้าพระมงคลพุทธเจ้า ผู้เป็นนาถะของโลกทั้งปวง
ทรงทำอัญชลีดั่งช่อดอกบัวอันไร้มลทิน อันรุ่งเรืองด้วยทศนขสโมธานไว้เหนือเศียรเกล้า
ทรงถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง
แม้พระราชโอรสของพระองค์ พระนามว่า อนุราชกุมาร ก็ประทับนั่งอย่างนั้นเหมือนกัน.

ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุบุพพิกถาโปรดชนเหล่านั้น
ซึ่งมีพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิเป็นประธาน
พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิพร้อมทั้งบริษัท บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔.

ลำดับนั้น
พระศาสดาทรงสำรวจบุพจริยาของชนเหล่านั้น
ทรงเห็นอุปนิสสัยแห่งบาตรจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์
ก็ทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา ซึ่งประดับด้วยข่ายจักร
ตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด.
ในทันทีภิกษุทุกรูป ก็มีผมขนาดสองนิ้ว
ทรงบาตรจีวรสำเร็จด้วยฤทธิ์ ถึงพร้อมด้วยอาการอันสมควรแก่สมณะ
ประหนึ่งพระเถระ ๖๐ พรรษา แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 347
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ภพของท้าวสักกะจอมทวยเทพ
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่เทวดาแสนโกฏิ.
สมัยใด พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า
สมัยนั้น พระสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ได้ทรงลั่นธรรมเภรีอันสูงสุด.
สมัยนั้น หมู่ชนที่ตามเสด็จพระเจ้าสุนันทะมีจำนวนเก้าสิบโกฏิ
ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ไม่มีเหลือ เป็นเอหิภิกขุ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สุรินฺทเทวภวเน ความว่า ในภพของท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพอีก.
บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ พระอภิธรรม.
บทว่า อาหนิ ได้แก่ ตี.
บทว่า วรุตฺตมํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐได้ทรงลั่นธรรมเภรีอันสูงสุด.
บทว่า อนุจรา ได้แก่ เสวกผู้ตามเสด็จประจำ.
บทว่า อาสุํ ได้แก่ ได้มีแล้ว.
ปาฐะว่า ตทาสิ นวุติโกฏิโย ดังนี้ก็มี.
ความว่า หมู่ชนของพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิพระองค์นั้นได้มีแล้ว
ถ้าจะถามว่า หมู่ชนนั้น มีจำนวนเท่าไร ก็จะตอบได้ว่า มีจำนวนเก้าสิบโกฏิ.

เล่ากันว่า
ครั้งนั้น เมื่อพระมงคลโลกนาถประทับอยู่ ณ เมขลบุรี
ในนครนั้นนั่นแล สุเทวมาณพ และ ธัมมเสนมาณพ มีมาณพพันหนึ่งเป็นบริวาร
พากันบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
เมื่อคู่พระอัครสาวกพร้อมบริวารบรรลุพระอรหัต ในวันเพ็ญเดือนมาฆะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 348
พระศาสดาทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในท่ามกลางภิกษุแสนโกฏิ นี้เป็นการประชุมครั้งแรก.
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในการประชุมของบรรพชิต
ในสมาคมญาติอันยอดเยี่ยม ณ อุตตราราม อีก นี้เป็นการประชุมครั้งที่ ๒.
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในท่ามกลางภิกษุเก้าหมื่นโกฏิ
ในสมาคมคณะภิกษุพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิ นี้เป็นการประชุมครั้งที่ ๓.
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีการประชุม ๓ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑ ประชุมภิกษุแสนโกฏิ.
ครั้งที่ ๒ ประชุมภิกษุแสนโกฏิ
ครั้งที่ ๓ ประชุมภิกษุเก้าสิบโกฏิ
ครั้งนั้น เป็นการประชุมภิกษุขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพราหมณ์ ชื่อว่า สุรุจิ
ในหมู่บ้าน สุรุจิพราหมณ์ เป็นผู้จบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์
ทั้งประเภทอักขรศาสตร์ ชำนาญร้อยกรอง ชำนาญร้อยแก้ว
ทั้งเชี่ยวชาญในโลกายตศาสตร์และมหาปุริสลักษณศาสตร์

ท่านสุรุจิพราหมณ์นั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดา
ฟังธรรมกถาอันไพเราะของพระทศพลแล้วเลื่อมใสถึงสรณะ
นิมนต์พระผู้พระภาคเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก ว่า
พรุ่งนี้ ขอพระองค์โปรดทรงรับอาหารของข้าพระองค์ด้วยเถิด
ท่านพราหมณ์นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า
ท่านพราหมณ์ ท่านต้องการภิกษุจำนวนเท่าไร
จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุบริวารของพระองค์มีเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า.
ครั้งนั้น เป็นการประชุมครั้งที่ ๑
เพราะฉะนั้น เมื่อตรัสว่าแสนโกฏิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 349
สุรุจิพราหมณ์ จึงนิมนต์ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเป็นเช่นนั้น ขอพระองค์โปรดทรงรับอาหารของข้าพระองค์
พร้อมกับภิกษุทุกรูปพระเจ้าข้า.
พระศาสดาจึงทรงรับนิมนต์.

พราหมณ์ ครั้นนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้นแล้ว
ก็กลับไปบ้านตน คิดว่า ภิกษุจำนวนถึงเท่านี้ เราก็สามารถถวายข้าวต้มข้าวสวยและผ้าได้
แต่สถานที่ท่านจะนั่งกันจักทำอย่างไร
ความคิดของท่านพราหมณ์นั้น
ก็ร้อนไปถึงพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ของท้าวสหัสนัยน์ สักกเทวราช
ซึ่งสถิตอยู่เหนือยอดขุนเขาพระเมรุ
ระยะทางแปดหมื่นสี่พันโยชน์
ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงเห็นอาสน์ร้อนขึ้นมา
ก็เกิดปริวิตกว่า ใครหนอประสงค์จะให้เราเคลื่อนย้ายจากที่นี้
ทรงเล็งทิพยเนตรตรวจดูมนุษยโลก
ก็เห็นพระมหาบุรุษ คิดว่า
พระมหาสัตว์ผู้นี้ นิมนต์พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
คิดถึงเรื่องสถานที่ ภิกษุสงฆ์นั้นจะนั่ง แม้เราก็ควรจะไปที่นั้น แล้วรับส่วนบุญ
จึงปลอมตัวเป็นนายช่างไม้ ถือมีดและขวานแล้ว
ปรากฏตัวต่อหน้าพระมหาบุรุษ กล่าวว่า ใครหนอมีกิจที่จะจ้างเราทำงานบ้าง.
พระมหาสัตว์เห็นแล้วก็ถามว่า
ท่านสามารถทำงานของเราได้หรือ เขาบอกกล่าวว่า
ขึ้นชื่อว่าศิลปะที่เราไม่รู้ ไม่มี ผู้ใด ประสงค์จะให้ทำสิ่งไร ๆ ไม่ว่าจะเป็นมณฑป ปราสาท หรือ
นิเวศน์เป็นต้นไร ๆ อื่น เราก็สามารถทำได้ทั้งนั้น.
พระมหาสัตว์บอกว่า ถ้าอย่างนั้นเรามีงาน.
เขาถามว่า งานอะไรเล่า นายท่าน.
พระมหาสัตว์บอกว่า เรานิมนต์ภิกษุจำนวนแสนโกฏิ เพื่อฉันอาหารวันพรุ่งนี้
ท่านจักต้องสร้างมณฑป สำหรับภิกษุเหล่านั้นนั่ง นะ
เขากล่าวว่า ได้สิ พ่อคุณ.
เขากล่าวว่า ดีละ
ถ้าอย่างนั้นเราจักทำ
แล้วก็ตรวจดูภูมิประเทศแห่งหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 350
ภูมิประเทศเหล่านั้นประมาณสิบสองโยชน์ 
พื้นเรียบเหมือนวงกสิณ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง.

เขาคิดอีกว่า
มณฑปที่เห็นเป็นแก่นไม้สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ
จงผุดขึ้น ณ ที่ประมาณเท่านี้ แล้วตรวจดู
ในทันใด มณฑปที่ชำแรกพื้นดินผุดโผล่ขึ้น
ก็เสมือนมณฑปจริง มณฑปนั้น
มีหม้อเงินอยู่ที่เสาทอง
มีหม้อทองอยู่ที่เสาเงิน
มีหม้อแก้วประพาฬอยู่ที่เสาแก้วมณี
มีหม้อแก้วมณีอยู่ที่เสาแก้วประพาฬ
มีหม้อรัตนะ ๗ อยู่ที่เสารัตนะ ๗.

ต่อนั้น เขาตรวจดูว่า ข่ายกระดิ่ง จงห้อยระหว่างระยะของมณฑป
พร้อมกับการตรวจดู ข่ายกระดิ่งก็ห้อย ซึ่งเมื่อต้องลมพานอ่อนๆ
ก็เปล่งเสียงไพเราะ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง
เหมือนอย่างดนตรีเครื่อง ๕ ได้เป็นเหมือนเวลาบรรเลงทิพยสังคีต.

เขาคิดว่า
พวงของหอม พวงดอกไม้ พวงใบไม้และพวงรัตนะ ๗ ของทิพย์
จงห้อยลงเป็นระยะๆ. พร้อมกับคิด พวงทั้งหลายก็ห้อย.

อาสนะ เครื่องลาดมีค่าเป็นของกับปิยะ และเครื่องรองทั้งหลาย
สำหรับภิกษุจำนวนแสนโกฏิ
จงชำแรกแผ่นดินผุดโผล่ขึ้น ในทันใด ของดังกล่าวก็ผุดขึ้น

เขาคิดว่า
หม้อน้ำ จงตั้งอยู่ทุก ๆ มุม ๆ ละหม้อ
ทันใดนั่นเองหม้อน้ำทั้งหลายเต็มด้วยน้ำสะอาดหอม
และเป็นกัปปิยะมีรสอร่อย เย็นอย่างยิ่ง มีปากปิดด้วยใบทอง
ก็ตั้งขึ้น ท้าวสหัสสนัยน์นั้น ทรงเนรมิตสิ่งของมีประมาณเท่านี้แล้ว
เข้าไปหาพราหมณ์กล่าวว่า
นายท่าน มานี่แน่ะ ท่านเห็นมณฑปของท่านแล้วโปรดให้ด่าจ้างแก่เราสิ
พระมหาสัตว์ไปตรวจดูมณฑปนั้น
เมื่อเห็น มณฑปนั่นแลสรีระก็ถูกปีติ ๕ อย่างถูกต้อง แผ่ซ่านมิได้ว่างเว้นเลย.
ครั้งนั้น
พระมหาสัตว์เมื่อแลเห็น ก็คิดอย่างนี้ว่า
มณฑปนี้มิใช่ฝีมือมนุษย์สร้าง
อาศัยอัธยาศัยของเรา คุณของเรา
จึงร้อนถึงภพของท้าวสักกเทวราช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 351
ต่อนั้น ท้าวสักกจอมทวยเทพจึงทรงเนรมิตมณฑปนี้แน่แล้ว.
พระมหาสัตว์คิดว่า
การจะถวายทานวันเดียวในมณฑปเห็นปานนี้ไม่สมควรแก่เรา
จำเราจะถวายตลอด ๗ วัน ธรรมดาทานภายนอก แม้มีประมาณเท่านั้น
ก็ยังไม่อาจทำหัวใจของพระโพธิสัตว์ให้พอใจได้
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายอาศัยจาคะย่อมจะชื่อว่าพอใจ
ก็แต่ในเวลาที่ตัดศีรษะที่ประดับแล้วหรือควักลูกตาที่หยอดแล้ว
หรือถอดเนื้อหัวใจให้เป็นทาน.

จริงอยู่ ในสิวิชาดก
เมื่อพระโพธิสัตว์ของเรา สละทรัพย์ห้าแสนกหาปณะทุกๆ วัน
ให้ทาน ๕ แห่ง คือท่ามกลางนคร และที่ประตูทั้ง ๕.
ทานนั้นไม่อาจให้เกิดความพอใจในจาคะได้เลย.
แต่สมัยใด
ท้าวสักกเทวราชปลอมตัวเป็นพราหมณ์ มาขอจักษุทั้งสองข้าง
สมัยนั้น
พระโพธิสัตว์นั้น ก็ควักจักษุเหล่านั้นให้ กำลังทานนั่นแหละ จึงเกิดความร่าเริง
จิตมิได้เปลี่ยนแปลงแม้แต่เท่าปลายเส้นผม.
ด้วยประการดังกล่าวมานี้
พระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทั้งหลาย
อาศัยแต่ทานภายนอกจึงมิได้อิ่มเลย
เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษแม้พระองค์นั้น คิดว่า
เราควรถวายทานแก่ภิกษุจำนวนแสนโกฏิ
จึงให้ภิกษุเหล่านั้นนั่ง ณ มณฑปนั้นแล้วถวายทาน ชื่อว่า ควปานะ [ขนมแป้งผสมนมโค] ๗ วัน.
โภชนะที่เขาบรรจุหม้อขนาดใหญ่ๆ ให้เต็มด้วยน้ำนมโคแล้วยกตั้งบนเตา
ใส่ข้าวสารทีละน้อยๆ ลงที่น้ำนมซึ่งสุกโดยเคี่ยวจนข้นแล้วปรุงด้วยน้ำผึ้ง
คลุกน้ำตาลกรวดละเอียดและเนยใสเข้าด้วยกัน เรียกกันว่า ควปานะ ในบาลีนั้น
ควปานะนี้นี่แหละ เขาเรียกว่าโภชนะอร่อยมีรส ๔ ดังนี้ก็มี. แต่มนุษย์ทั้งหลาย
ไม่อาจอังคาสได้ แม้แต่เทวดาทั้งหลาย ที่อยู่ช่องว่างช่องหนึ่งจึงอังคาสได้
สถานที่นั้นแม้มีขนาดสิบสองโยชน์ ก็ยังไม่พอรับภิกษุเหล่านั้นได้เลย
 แต่ภิกษุเหล่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 352
นั้นนั่งโดยอานุภาพของตนๆ.
วันสุดท้าย พระมหาบุรุษให้เขาล้างบาตรภิกษุทุกรูป
บรรจุด้วยเนยใส เนยขึ้น น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้น
ได้ถวายพร้อมด้วยไตรจีวร ผ้าจีวรที่ภิกษุสังฆนวกะ ในที่นั้นได้แล้ว ก็เป็นของมีค่านับแสน.
ครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อทรงทำอนุโมทนา
ทรงใคร่ครวญดูว่า มหาบุรุษผู้นี้ได้ถวายมหาทานเห็นปานนี้ จักเป็นใครกันหนอ
ก็ทรงเห็นว่า ในอนาคตกาล
เขาจักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ
ในที่สุดสองอสงไขย กำไรแสนกัป

แต่นั้น จึงทรงเรียกพระมหาสัตว์มา
แล้วทรงพยากรณ์ว่า ล่วงกาลประมาณเท่านี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ.
ลำดับนั้น
พระมหาบุรุษสดับคำพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
ก็มีหัวใจปลาบปลื้ม คิดว่า พระองค์ตรัสว่าเราจักเป็นพระพุทธเจ้า
เราก็ไม่ต้องการอยู่ครองเรือนจึงละสมบัติเห็นปานนั้นเสียเหมือนก้อนเขฬะ
บวชในสำนักของพระศาสดา เรียนพระพุทธวจนะ ยังอภิญญาและสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด
มีฌานไม่เสื่อม ดำรงอยู่จนตลอดอายุ
ที่สุดอายุ บังเกิดแล้วในพรหมโลก.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ ชื่อว่าสุรุจิ เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท.
เราเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถึงพระองค์เป็นสรณะ
แล้วบูชาพระสงฆ์มีพระสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน
ด้วยของหอมและดอกไม้
ครั้นบูชาด้วยของหอมและดอกไม้แล้ว ก็เลี้ยงให้อิ่มหนำสำราญด้วย ขนมควปานะ.

พระมงคลพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นยอดของสัตว์สองเท้า
แม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ในกัปที่ประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 353
ตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัศดุ์แล้ว
ตั้งความเพียรกระทำทุกกรกิริยาแล้ว ฯลฯ
พวกเราจักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

เราฟังพระดำรัสของ พระมงคลพุทธเจ้านั้นแล้ว
ก็ยังจิตให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นไป
แล้วอธิษฐาน ข้อวัตรยิ่งขึ้น เพื่อบำเพ็ญบารมีให้สมบูรณ์.
ครั้งนั้น เราเพิ่มพูนปีติ เพื่อบรรลุพระสัมโพธิญาณอันประเสริฐ
ก็ถวายเคหะของเราแด่พระพุทธเจ้า แล้วบวชในสำนักของพระองค์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุศาสน์ทั้งหมด
ยังศาสนาพระชินเจ้าให้งดงาม
เราอยู่ในพระศาสนานั้น อย่างไม่ประมาท
เจริญพรหมวิหารภาวนา ก็ถึงฝั่งอภิญญา เข้าถึงพรหมโลก
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า คนฺธมาเลน ได้แก่ ด้วยของหอมและ ดอกไม้.
คำว่า ควปานะ นี้ได้กล่าวมาแล้ว.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ฆตปาเนน ดังนี้ก็มี.
บทว่า ตปฺปยึ แปลว่า ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว.
บทว่า อุตฺตรึปิ วตมธิฏฺฐสึ ได้แก่ อธิษฐานข้อวัตร ยวดยิ่งขึ้น.
บทว่า ทสปารมิปูริยา ได้แก่ เพื่อทำบารมี ๑๐ ให้เต็ม.
บทว่า ปีตึ ได้แก่ ความยินดีแห่งใจ.
บทว่า อนุพฺรูหนฺโต ได้แก่ ให้เจริญ.
บทว่า สมฺโพธิวรปตฺติยา ได้แก่ เพื่อบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า.
บทว่า พุทฺเธ ทตฺวาน ได้แก่ บริจาคแด่พระพุทธเจ้า.
บทว่า มํ เคหํ ความว่า บริจาคเคหะคือสมบัติ
๑. ดูความพิศดารในวงศ์พระสุมนพุทธเจ้าที่ ๔ หน้า ๓๕๘.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 354
ทุกอย่างของเรา แด่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เพื่อเป็นปัจจัย ๔.
บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในพระพุทธศาสนานั้น.
บทว่า พฺรหฺมํ ได้แก่ เจริญพรหมวิหารภาวนา.

ก็พระผู้มีพระภาค มงคลพุทธเจ้า
มีพระนคร ชื่อว่า อุตตรนคร
แม้พระชนกของพระองค์เป็นกษัตริย์ พระนามว่า พระเจ้าอุตตระ
แม้พระชนนีพระนามว่า พระนางอุตตระ
คู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสุเทวะและ พระธรรมเสนะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตะ
มีคู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวลา และ พระอโสกา
ต้นไม้ที่ตรัสรู้ ชื่อต้นนาคะ[กากะทิง]
พระสรีระสูง ๘๘ ศอก
พระชนมายุประมาณเก้าหมื่นปี

ส่วนพระชายาพระนามว่า ยสวดี
พระโอรสพระนามว่า สีวละ
เสด็จอภิเนษกรมณ์โดยยานคือ ม้า
ประทับ ณ พระวิหาร อุตตราราม
อุปัฏฐากชื่อ อุตตระ

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ดำรงพระชนม์อยู่เก้าหมื่นปี
ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน.

หมื่นจักรวาลก็มืดลงพร้อมกัน
โดยเหตุอย่างเดียวเท่านั้น
มนุษย์ทุกจักรวาล ก็พากันร่ำไห้คร่ำครวญเป็นการใหญ่
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีนคร ชื่ออุตตรนคร
มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้าอุตตระ
พระชนนีพระนามว่า พระนางอุตตรา.
มีคู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสุเทวะ พระธรรมเสนะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตะ.
มีคู่พระอัครสาวิกา ชื่อพระสีวลา และพระอโสกา
ต้นไม้ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เรียกว่า ต้นนาคะ.
พระมหามุนี สูง ๘๘ ศอก
พระรัศมีแล่นออกจากพระสรีระนั้นหลายแสน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 355
ในยุคนั้น
ทรงมีพระชนมายุเก้าหมื่นปี
พระองค์ดำรงพระชนม์อยู่เท่านั้น ก็ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
คลื่นในมหาสมุทร ใครๆ ไม่อาจนับคลื่นเหล่านั้นได้ฉันใด
สาวกของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้นใครๆ ก็ไม่อาจนับสาวกเหล่านั้นได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระมงคลสัมพุทธเจ้า

ผู้นำโลก ยังดำรงอยู่เพียงใด ความตายของผู้ยังมีกิเลสในศาสนาของพระองค์ ก็ไม่มีเพียงนั้น.
พระผู้มีพระยศใหญ่พระองค์นั้น ทรงชูประทีปธรรม
ยังมหาชนให้ข้ามโอฆสงสาร แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
เหมือนดวงไฟลุกโพลงแล้วก็ดับไปฉะนั้น.
พระองค์ ครั้นทรงแสดงความที่สังขารทั้งหลายเป็นสภาวธรรมแล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้วก็ดับ เหมือนดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่างแล้ว ก็อัสดงคตฉะนั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตโต ได้แก่ จากพระสรีระของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
บทว่า นิทฺธาวตี ก็คือ นิทฺธาวนฺติ พึงเห็นว่าเป็นวจนะวิปลาส. .
บทว่า รํสี ก็คือ รัศมีทั้งหลาย.
บทว่า อเนกสตสหสฺสีก็คือ หลายแสน.
บทว่า อูมี ได้แก่ ระลอกคลื่น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 356
บทว่า คเณตุเยแปลว่า เพื่อคำณวน คือนับ.
อธิบายว่า คลื่นในมหาสมุทร ใคร ๆ ไม่อาจนับว่าคลื่นในมหาสมุทรมีเท่านี้ ฉันใด
แม้สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ใครๆ ก็ไม่อาจนับได้ ที่แท้เกินที่จะนับได้ ก็ฉันนั้น.
บทว่า ยาว ได้แก่ ตลอดกาลเพียงใด.
บทว่า สกิเลสมรณํ ตทา ความว่า บุคคลเป็นไปกับด้วยกิเลสทั้งหลาย
ชื่อว่าผู้เป็นไปกับด้วยกิเลส.
ความตายของผู้เป็นไปกับด้วยกิเลส ชื่อว่า สกิเลสมรณะ ความตายของผู้มีกิเลส.
ความตายของผู้มีกิเลสนั้นไม่มี.

เขาว่า สมัยนั้น
สาวกทั้งหลายในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
บรรลุพระอรหัตแล้ว ก็พากันปรินิพพานหมด
ผู้เป็นปุถุชนหรือเป็นพระโสดาบันเป็นต้นก็ยังไม่ทำกาลกิริยา [ตาย]
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สมฺโมหมารณํ ตทา ดังนี้ก็มี.
บทว่า ธมฺโมกฺกํ แปลว่า ประทีปธรรม.
ไฟท่านเรียกว่า ธูมเกตุ
แต่ในที่นี้พึงเห็นว่าประทีป
เพราะฉะนั้น จึงมีความว่า เหมือนประทีปส่องแสงแล้วก็ดับไป.
บทว่า มหายโส ได้แก่ พระผู้มีบริวารมาก
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า นิพฺพุโต โส สสาวโก.
บทว่า สงฺขารานํ ได้แก่ สังขตธรรมธรรมที่มีปัจจัย.
บทว่า สภาวตฺตํ ได้แก่ สามัญลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น.
บทว่า สุริโย อตฺถงฺคโต ยถา ความว่า ดวงอาทิตย์ซึ่งมีรัศมีนับพัน
กำจัดกลุ่มความมืดทั้งหมด และส่องสว่างหมดทั้งโลก ยังถึงอัสดงคต ฉันใด
แม้พระมงคลพุทธเจ้าผู้เป็นดั่งดวงอาทิตย์ ผู้ทำความแย้มบานแก่เวไนยสัตว์ผู้เป็นดั่งดงบัว
ทรงกำจัดความมืดในโลกทั้งภายในทั้งภายนอกทุกอย่าง
ทรงรุ่งเรืองด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์ ก็ถึงความดำรงอยู่ไม่ได้
ก็ฉันนั้น คาถาที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระมงคลพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 357





23

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 306
๒. วงศ์ พระโกณฑัญญพุทธเจ้าที่ ๒
ว่าด้วยพระประวัติของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า
[๓] ต่อจากสมัยพระทีปังกรพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าพระนามว่า โกณฑัญญะ ผู้นำโลก
ผู้มีพระเดชไม่มีที่สุด มีพระยศนับไม่ได้ ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ยากที่จะเข้าเฝ้า.
พระองค์ทรงมีพระขันติเปรียบด้วยแผ่นธรณี
ทรงมีศีล เปรียบด้วยสาคร
ทรงมีสมาธิเปรียบด้วยขุนเขาพระเมรุ
ทรงมีพระญาณเปรียบด้วยท้องนภากาศ.

ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าทรงประกาศ
อินทรีย์ พละ โพชฌงค์และมรรคสัจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง.

เมื่อพระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ทรงประกาศพระธรรมจักร ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรม
ครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
เมื่อทรงแสดงธรรมต่อ ๆ จากนั้น ในสมาคมของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.
สมัยเมื่อทรงข่มพวกเดียรถีย์แสดงธรรม
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 307
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาต ประชุมพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน ผู้คงที่ ๓ ครั้ง. คือ
ครั้งที่ ๑ เป็นการประชุมพระขีณาสพจำนวนแสนโกฏิ
ครั้งที่ ๒ จำนวนเก้าหมื่นโกฏิ
ครั้งที่ ๓ จำนวนแปดหมื่นโกฏิ.

สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า วิชิตาวี
ครอบครองอิสราธิปัตย์เหนือปฐพี มีมหาสมุทรเป็นขอบเขต.
เราเลี้ยงพระขีณาสพจำนวนแสนโกฏิ ผู้ไร้มลทิน
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ พร้อมด้วยพระโกณฑัญญพุทธเจ้า
ผู้เป็นนาถะเลิศแห่งโลก ให้อิ่มหนำสำราญด้วยอาหารอันประณีต.

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้นำโลกพระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์เราว่า
จักเป็นพระพุทธเจ้า ในกัปที่หาประมาณมิได้นับแต่กัปนี้.
ตถาคตจักออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์ที่น่ารื่นรมย์
ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา นั่ง ณ โคนอัชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว จักเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้า เสวยข้าวมธุปายาส ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
จักเดินตามทางที่เขาตกแต่งดีแล้วเข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 308
ต่อแต่นั้น
พระผู้มีพระยศใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม

จักตรัสรู้ที่โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อ อัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.

พระชนนีของท่านผู้นี้
จักมีพระนามว่าพระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคดม.

คู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะและพระอุปติสสะ
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น

พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า อานันทะ จักบำรุงพระชินะเจ้าพระองค์นี้.
มีคู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมาและพระอุบลวรรณา
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น.

ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกกันว่า อัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.

มีอัครอุปัฎฐากชื่อ จิตตะ และหัตถอาฬวกะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ นันทมาตา และอุตตรา.
พระชนมายุของพระโคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้นประมาณ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสของพระผู้ไม่มีผู้เสมอผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่นี้แล้ว
ก็ปราโมชปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 309
หมื่นโลกธาตุพร้อมทั้งเทวดา ก็พากันโห่ร้องปรบมือ หัวร่อร่า
ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ฝ่ายพวกเราจักพลาดคำสั่งสอนของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
เฉพาะหน้า ก็ไปถือเอาท่าน้ำท่าหลัง ข้ามแม่น้ำฉันใด
พวกเราทุกคน ผิว่า จะผ่านพ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้ไป
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราสดับพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น เมื่อจะยังประโยชน์นั้นนั่นแลให้สำเร็จ
จึงได้ถวายราชสมบัติอันยิ่งใหญ่ แด่พระชินเจ้า
ครั้นถวายราชสมบัติอันยิ่งใหญ่แล้ว ก็บวชในสำนักของพระองค์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุศาสน์ทั้งหมด
ทำพระศาสนาของพระชินเจ้าให้งดงาม.
เราอยู่ในพระศาสนานั้น ไม่ประมาทในอิริยาบถนั่ง ยืน และ เดิน
ถึงฝั่งแห่งอภิญญาแล้ว ก็ไปสู่พรหมโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 310

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ มีพระนคร ชื่อว่า รัมมวดี
พระชนกพระนามว่าพระเจ้า สุนันทะ
พระชนนีพระนามว่า พระนาง สุชาดา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่ หมื่นปี

ทรงมีปราสาทอย่างยอดเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า รุจิปราสาท สุรุจิปราสาท สุภปราสาท
มีพระสนมนารี สามแสนนาง
มีพระอัครมเหสี พระนามว่า รุจิเทวี
มีพระโอรสพระนามว่า วิชิตเสนะ.

ทรงเห็นนิมิตทั้ง ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ รถทรง
พระชินเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม.

พระมหาวีระโกณฑัญญะ
ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้าผู้สงบ อันพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรแก่เทพดาทั้งหลาย ณ มหาวัน.
ทรงมีคู่อัครสาวก ชื่อ พระภัททะและพระสุภัททะ

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า อนุรุทธะ.

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีคู่อัครสาวิกา ชื่อพระติสสาและพระอุปติสสา.

พระโกณฑัญญูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ ชื่อ สาลกัลยาณี [ต้นขานาง]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 311
ทรงมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อโสณะ และอุปโสณะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ นันทา และสิริมา.
พระมหามุนีพระองค์นั้น ส่ง ๘๘ ศอก
ทรงสง่างามเหมือนดวงจันทร์ ประหนึ่งดวงอาทิตย์เที่ยงวัน.

ในยุคนั้น
ทรงมีพระชนมายุ แสนปี
พระองค์เมื่อทรงพระชนม์อยู่เพียงนั้น
ก็ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
แผ่นดินก็งดงามด้วยพระขีณาสพ
ผู้ไร้มลทินเหมือนท้องนภากาศงามด้วยหมู่ดาว พระองค์ก็งดงามเหมือนอย่างนั้น.

พระอรหันต์เหล่านั้น หาประมาณมิได้ ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม
ยากที่จะมีผู้เข้าไปหา พระผู้มียศใหญ่เหล่านั้น
แสดงอิทธิปาฏิหาริย์แล้วก็นิพพานเหมือนสายฟ้าแลบ.
พระวรฤทธิ์ของพระชินเจ้าไม่มีอะไรเทียบได้
พระสมาธิอันญาณอบรมแล้ว ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่าโดยแน่แท้.

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้ทรงพระสิริ
เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ พระวิหารนันทาราม
พระเจดีย์ของพระองค์ในพระวิหารนั้น สูง ๗ โยชน์.
จบวงศ์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 312
พรรณนาวงศ์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าที่ ๒
ดังได้สดับมา
เมื่อพระผู้มีพระเจ้าทีปังกรเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว
ศาสนาของพระองค์ดำรงอยู่ แสนปี.
เพราะอันตรธานแห่งพระสาวกทั้งหลายของพระพุทธะและอนุพุทธะ
แม้ศาสนาของพระองค์ก็อันตรธาน.

ต่อมาภายหลังศาสนาของพระองค์
ล่วงไปอสงไขยหนึ่ง
พระศาสดาพระนามว่า โกณฑัญญะ ก็อุบัติในกัปหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงบำเพ็ญบารมีมา สิบหกอสงไขย แสนกัป
อบรมบ่มพระญาณแก่กล้าแล้ว
ทรงดำรงอยู่ในอัตภาพเช่นเดียวกับอัตภาพเป็นพระเวสสันดร

จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
ดำรงอยู่ในดุสิตนั้น จนตลอดพระชนมายุ
ประทานปฏิญาณแก่เทวดาทั้งหลาย
จุติจากดุสิต ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสุชาดาเทวี
ในราชสกุลของพระเจ้าสุนันทะ กรุงรัมมวดี.

ในขณะที่พระองค์ทรงถือปฏิสนธิ
ก็บังเกิดพระปาฏิหาริย์ ๓๒ ประการดังกล่าวไว้ ในวงศ์ของ พระทีปังกรพุทธเจ้า.

พระองค์มีเหล่าเทวดาถวายอารักขา
ถ้วนทศมาสก็ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา
ทรงเป็นยอดของสรรพสัตว์
บ่ายพระพักตร์ทางทิศอุดร เสด็จย่างพระบาทได้ ๗ ก้าว

ทรงแลดูทุกทิศ ทรงเปล่งอาสภิวาจาว่า
เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก
เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก
ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย
ตั้งแต่บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก.

ต่อนั้น ในวันขนานพระนามของพระโพธิสัตว์นั้น
พระประยูรญาติทั้งหลาย ก็ขนานพระนามว่า โกณฑัญญะ
ความจริงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระโคตร เป็นโกณฑัญญโคตร.
เขาว่า พระองค์มีปราสาท ๓ หลังน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง
ชื่อว่า รามะปราสาท สุรามะปราสาท๑ สุภะปราสาท.
ทั้ง๓ หลังนั้น
๑. บาลีเป็น รุจิ สุรุจิ และสุภะปราสาท.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 313
มีสตรีฝ่ายนาฏกะ ผู้ชำนาญการฟ้อนรำ การขับร้องและการบรรเลงประจำอยู่ถึงสามแสนนาง.

พระองค์มีพระมเหสีพระนามว่า รุจิเทวี
มีพระโอรสพระนามว่า วิชิตเสนะ
ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่ หมื่นปี.
พระโพธิสัตว์นั้น ทรงเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตายและนักบวช
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วย รถทรงเทียมม้า
ทรงผนวชแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือน

โกณฑัญญกุมาร กำลังผนวชอยู่ คนสิบโกฏิก็บวชตามเสด็จ
โกณฑัญญกุมารนั้น อันคนเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ก็ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือน ณ ดิถีเพ็ญเดือน วิสาขะ
เสวยข้าวมธุปายาสรสอร่อยอย่างยิ่ง ซึ่งธิดาเศรษฐีชื่อว่า ยโสธรา
ผู้มีเต้าถันอวบอิ่มเท่ากัน ณ บ้าน สุนันทคาม ถวายแล้ว
ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ ป่าต้นสาละ ที่ประดับด้วยผลใบอ่อนและหน่อ
เวลาเย็นทรงละหมู่แล้วทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่ สุนันทะอาชีวก ถวาย มาแล้ว
ทรงทำประทักษิณ ต้นสาลกัลยาณี [ต้นขานาง] ๓ ครั้ง
ทรงสำรวจดูทิศบูรพา
ทรงทำต้นไม้ที่ตรัสรู้ไว้เบื้องพระปฤษฎางค์
ทรงปูลาดหญ้ากว้าง ๕๘ ศอก
ทรงนั่งขัดสมาธิ อธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔
ทรงกำจัดกองกำลังของมาร ในราตรีปฐมยาม
ทรงชำระปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในมัชฌิมยาม
ทรงชำระทิพยจักษุในปัจฉิมยาม
ทรงพิจารณาปัจจยาการ
ทรงออกจากจตุตถฌานที่มีอานาปานสติเป็นอารมณ์

ทรงหยั่งสำรวจในปัญจขันธ์
ก็ทรงเห็นลักษณะทั้งหลายด้วยปัญญาอันสม่ำเสมอ โดยอุทยัพพยญาณ
ทรงเจริญวิปัสสนาจนถึงโคตรภูญาณ

ทรงแทงตลอดมรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณกำหนดกำเนิด ๔ ญาณ
กำหนดคติ ๕ อสาธารณญาณ ๖ และพระพุทธคุณทั้งสิ้น

ทรงมีความดำริบริบูรณ์แล้ว ประทับนั่ง ณ โคนไม้ที่ตรัสรู้
ทรงเปล่งอุทานอย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 314
เราแสวงหาตัณหานายช่างผู้สร้างเรือน
เมื่อไม่พบ จึงต้องท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมากชาติ
ความเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์
ดูก่อนตัณหา นายช่างผู้สร้างเรือน
เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือนอีกไม่ได้
โครงสร้างเรือนของท่านเราหักหมดแล้ว
ยอดเรือนเราก็รื้อออกแล้ว
 จิตของเราถึงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว.

คติแห่งไฟที่ลุกโพลง ที่ภาชนะสัมฤทธิ์ ที่นายช่างตี ด้วยพะเนินเหล็ก
กำจัดแล้วก็สงบเย็นลงโดยลำดับ ไม่มีใครรู้คติความไปของมันได้ ฉันใด.

คติของพระขีณาสพผู้หลุดพ้นโดยชอบ
ข้ามเครื่องผูกคือกามโอฆะ บรรลุสุขอันไม่หวั่นไหว
ก็ไม่มีใครจะรู้คติของท่านได้ ฉันนั้น. ๑

ทรงยับยั้งอยู่ด้วยสุขในผลสมาบัติ
ณ โคนโพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์

ในสัปดาห์ที่ ๘ ทรงอาศัยการอาราธนาของพรหม
ทรงใคร่ครวญว่า เราจะแสดงธรรมครั้งแรกแก่ใครเล่าหนอ
ก็ได้ทรงเห็นภิกษุ ๑๐ โกฏิ ซึ่งบวชกับพระองค์ ว่า
กุลบุตรพวกนี้สะสมกุศลมูลไว้ จึงบวชตามเรา ซึ่งกำลังบวช บำเพ็ญเพียรกับเรา บำรุงเรา
เอาเถิด เราจะพึงแสดงธรรมแก่กุลบุตรพวกนี้ก่อนใครหมด

ครั้นทรงใคร่ครวญอย่างนี้แล้ว ก็ทรงตรวจดูว่า
ภิกษุเหล่านั้น บัดนี้อยู่ที่ไหน
ก็ทรงเห็นว่าอยู่กันที่เทวะวัน กรุงอรุนธวดีระยะทาง ๑๘ โยชน์แต่ที่นี้
จึงทรงอันตรธานจากโคนโพธิพฤกษ์
ไปปรากฏที่เทวะวันเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น.
๑. ขุ. อุ ๒๕/ข้อ ๑๗๘.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 315
สมัยนั้น ภิกษุสิบโกฏิ เหล่านั้น อาศัยกรุงอรุนธวดี อยู่ที่เทวะวัน.
ก็แลเห็นพระทศพลทรงพุทธดำเนินมาแต่ไกล
พากันมีใจผ่องใสรับเสด็จ
รับบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ปูลาดพุทธอาสน์ ทำความเคารพ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งแวดล้อม ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.

ณ ที่นั้นพระโกณฑัญญทศพล
อันหมู่มุนีแวดล้อมแล้ว ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันรุ่งโรจน์
ประดุจท้าวสหัสนัยน์อันหมู่เทพชั้นไตรทศแวดล้อม
ประดุจดวงรัชนีกรในฤดูสารทที่โคจร ณ พื้นนภากาศอันไร้มลทิน
ประดุจดวงจันทร์เพ็ญ อันหมู่ดาวแวดล้อม.

ครั้งนั้น
พระศาสดาตรัส พระธัมมจักกัปวัตตนสูตร
มีปริวัฏ ๓ อาการ ๑๒ อันยอดเยี่ยม
ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงซ่องเสพแล้ว แก่ภิกษุเหล่านั้น
ทรงยังเทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ
มีภิกษุสิบโกฏิ เป็นประธาน ให้ดื่มอมฤตธรรม.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ภายหลัง สมัยพระทีปังกรพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ ผู้นำโลก
ผู้มีพระเดชไม่มีที่สุดผู้มีบริวารยศกำหนดไม่ได้ มีพระคุณประมาณมิได้ยากที่ผู้ใดจะเข้าเฝ้า
มีพระขันติอุปมาดังแผ่นธรณี
มีพระศีลคุณอุปมาดังสาคร มีพระสมาธิอุปมาดังเขาเมรุมีพระญาณอุปมาดังท้องนภากาศ.
พระพุทธเจ้า ทรงประกาศอินทรีย์ พละ โพชฌงค์และมรรคสัจ
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ทุกเมื่อ.

เมื่อพระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้นำโลกทรงประกาศ
พระธรรมจักร อภิสมัยการตรัสรู้ธรรมครั้งแรกก็ได้มีแก่ เทวดาและมนุษย์ แสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 316
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ทีปงฺกรสฺส อปเรน ความว่า ในสมัยต่อจากสมัยของพระทีปังกรศาสดา.
บทว่า โลณฺฑญฺโญ นาม ได้แก่ เป็นพระนามาภิไธยที่ทรงได้รับ โดยพระโคตรของพระองค์.
บทว่า นายโก ได้แก่ เป็นผู้นำวิเศษ.

บทว่า อนนฺตเตโช ได้แก่ มีพระเดชไม่มีที่สุด
ด้วยเดชแห่งพระศีลคุณพระญาณและบุญ.
เบื้องต่ำแต่อเวจี
เบื้องบนถึงภวัคคพรหม
เบื้องขวาง โลกธาตุอันไม่มีที่สุด
ในระหว่างนี้ แม้บุคคลผู้หนึ่ง
ชื่อว่า เป็นผู้สามารถที่จะยืนมองพระพักตร์ของพระองค์ไม่มีเลย

ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า อนนฺตเตโช.
บทว่า อมิตยโส ได้แก่ มีบริวารยศไม่มีที่สุด.
จริงอยู่ แสนปีของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตลอดจนถึงสมัยเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ในระหว่างนี้ จำนวนภิกษุบริษัทกำหนดไม่ได้เลย.
เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า
อมิตยโส แม้ผู้มีเกียรติคุณที่กำหนดมิได้ ก็ตรัสว่า อมิตยโส.
บทว่า อปฺปเมยฺโย ได้แก่ ผู้ประมาณมิได้ โดยปริมาณหมู่แห่งคุณ
เหตุนั้นจึงชื่อว่า อปฺปเมยฺโย มีพระคุณหาประมาณมิได้

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
พุทฺโธปิ พุทฺธสฺส ภเณยฺย วณฺณํ
กปฺปมฺปิ เจ อญฺญมภาสมาโน
ขีเยถ กปฺโป จิรทีฆมนฺตเร
วณฺโณ น ขีเยถ ตถาคตสฺส.
ถ้าแม้ว่าพระพุทธเจ้า พึงตรัสสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า
โดยไม่ตรัสเรื่องอื่นเลย แม้ตลอดทั้งกัป.
กัปที่มีในระหว่างกาลอันยาวนาน ก็จะพึงสิ้นไป
แต่การสรรเสริญพระคุณของพระตถาคต ยังหาสิ้นไปไม่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 317
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงเรียกว่าอัปปเมยยะ
เพราะทรงมีหมู่พระคุณประมาณมิได้.
บทว่า ทูราสโท ได้แก่ เป็นผู้อันใครๆ เข้าเฝ้าได้ยาก
อธิบายว่า ความเป็นผู้อันใครๆ ไม่อาจเบียดเสียดกันเข้าไปเฝ้า
ชื่อว่า ทุราสทะ คือ เป็นผู้อันใครๆ ไม่มีอำนาจเทียบเคียงได้.
บทว่า ธรณูปโม ได้แก่ ผู้เสมอด้วยแผ่นธรณี.
บทว่า ขมเนน ได้แก่ เพราะพระขันติ
พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้อุปมาด้วยแผ่นธรณ
เพราะไม่ทรงหวั่นไหวด้วยอิฐารมณ์และอนิฐารมณ์ มีลาภและไม่มีลาภเป็นต้น
เหมือนมหาปฐพีอันหนาถึงสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ไม่ไหวด้วยลมปกติฉะนั้น.
บทว่า สีเลน สาครูปโม ได้แก่ ทรงเสมอด้วยสาคร
เพราะไม่ทรงละเมิดขอบเขตด้วยศีลสังวร
จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มหาสมุทร ตั้งอยู่เป็นปกติ ไม่ล่วงขอบเขต ดังนี้.
บทว่า สมาธินา เมรูปโม ได้แก่ ทรงเป็นผู้เสมอคือเสมือนด้วยขุนเขาเมรุ
เพราะไม่มีความหวั่นไหวอันจะเกิดแต่ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อสมาธิ
หรือว่ามีพระสรีระมั่นคง เหมือนขุนเขาเมรุ.
ในบทว่า ญาเณน คคนูปโม นี้ ท่านทำอุปมาด้วยอากาศที่ไม่มีที่สุด
เพราะพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีที่สุด

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส อนันตะ ไม่มีที่สุดไว้ ๔ อย่าง
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
สตฺตกาโย จ อากาโส จกฺกวาฬา จนนฺตกา
พุทฺธญาณํ อปฺปเมยฺยํ น สกฺกา เอเต วิชานิตุํ.
หมู่สัตว์ ๑
อากาศ ๑
จักรวาล ไม่มีที่สุด ๑
พระพุทธญาณ หาประมาณมิได้ ๑
ทั้ง ๔ นี้อันใคร ๆไม่อาจรู้ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 318
เพราะฉะนั้น จึงทรงทำอุปมาญาณอันไม่มีที่สุด ด้วยอากาศที่ไม่มีที่สุดแล.
บทว่า อินฺทฺริยพลโพชฺฌงฺคมคฺคสจฺจปฺปกาสนํ ความว่า
แม้สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน แสะอิทธิบาท ก็เป็นอันทรงถือเอาด้วย
ด้วยการถือเอา อินทรีย์ พละ โพชฌงค์และมรรคสัจเหล่านี้
เพราะฉะนั้น จึงทรงประกาศแสดงธรรมเป็นเครื่องประกาศ
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ โดยสังเขป ๔ มีอินทรีย์เป็นต้น.
บทว่า หิตาย แปลว่า เพื่อประโยชน์เกื้อกูล.
บทว่า ธมฺมจกฺกํ ปวตฺเตนฺเต ได้แก่ เมื่อทรงให้เทศนาญาณเป็นไปอยู่.

ต่อจากนั้น ในมหามงคลสมาคม
เทวดาในหมื่นจักรวาล เนรมิตอัตภาพอันละเอียด
ประชุมกันในจักรวาลนี้นี่แล.

เล่ากันว่า ในมหามงคลสมาคมนั้น
เทพบุตรองค์หนึ่ง ทูลถามมงคลปัญหา กะพระโกณฑัญญทศพล
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสมงคลทั้งหลายโปรดเทพบุตรองค์นั้น.

ในมหามงคลสมาคมนั้น
เทวดาเก้าหมื่นโกฏิบรรลุพระอรหัต.
จำนวนพระอริยบุคคลมีพระโสดาบัน เป็นต้นกำหนดไม่ได้เลย
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมนอกไปจากนั้น
โปรดมนุษย์และเทวดาทั้งหลายในสมาคม
อภิสมัยการตรัสรู้ธรรมครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่ เทวดาเก้าหมื่นโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตโต ปรมฺปิ ได้แก่ แม้ในส่วนอื่นอีก จากนั้น.
บทว่า เทเสนฺเต ได้แก่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม.
บทว่า นรมรูนํ ได้แก่ แก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย. ครั้งใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 319
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ย่ำยีมานะของเดียรถีย์
ทรงแสดงธรรม ณ ภาคพื้นนภากาศ
ครั้งนั้น มนุษย์และเทวดาแปดหมื่นโกฏิ บรรลุพระอรหัต
ผู้ที่ตั้งอยู่ในผล ๓ เกินที่จะนับได้
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งใด พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงย่ำยีพวก
เดียรถีย์ จึงทรงแสดงธรรมโปรด ครั้งนั้น อภิสมัย
การตรัสรู้ธรรมครั้งที่ ๓ จึงได้มีแก่ สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
แก้อรรถ
พึงนำ ตทา ศัพท์ มาจึงจะเห็นความในคาถานั้นว่า
ครั้งใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยจึงได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
ได้ยินว่า
พระโกณฑัญญศาสดา
ตรัสรู้พระอภิสัมโพธิญาณแล้ว พรรษาแรก
ทรงอาศัย กรุงจันทวดี ประทับอยู่ ณ พระวิหาร จันทาราม

ในที่นั้น ภัททมาณพ บุตรของพราหมณ์มหาศาล ชื่อ สุจินธระ และ
สุภัททมาณพ บุตรของ ยโสธรพราหมณ์
 
ฟังพระธรรมเทศนาเฉพาะพระพักตร์ของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า
มีใจเลื่อมใส ก็บวชในสำนักของพระองค์ พร้อมกับมาณพหมื่นหนึ่งแล้วบรรลุพระอรหัต.

ครั้งนั้น พระโกณฑัญญศาสดา
อันภิกษุแสนโกฏิมีพระสุภัททเถระ
เป็นประธานแวดล้อมแล้ว
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ เพ็ญเดือนเชษฐะ(เดือน ๗) นั้นเป็นการประชุมครั้งที่ ๑.
ต่อจากนั้น เมื่อพระโอรสของพระโกณฑัญญศาสดา พระนามว่า วิชิตเสนะ
ทรงบรรลุพระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ ท่ามกลางภิกษุพันโกฏิ
มีพระวิชิตเสนะนั้นเป็นประธาน นั้นเป็นการประชุมครั้งที่ ๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 320
สมัยต่อมา พระทศพลเสด็จจาริก ณ ชนบท
ทรงยัง พระเจ้าอุเทน ซึ่งมีชนเก้าสิบโกฏิเป็นบริวารให้ทรงผนวชพร้อมด้วยบริษัท
เมื่อพระเจ้าอุเทนนั้น ทรงบรรลุพระอรหัตแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระอรหันต์เก้าสิบโกฏิ
มีพระเจ้าอุเทนนั้นเป็นประธานแวดล้อมแล้ว
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็นการประชุมครั้งที่ ๓
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีการประชุมภิกษุ ผู้เป็นพระขีณาสพ ไร้มลทินผู้มีจิตสงบผู้คงที่ ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ประชุมภิกษุแสนโกฏิ
ครั้งที่ ๒ ประชุมภิกษุพันโกฏิ
ครั้งที่ ๓ ประชุมภิกษุเก้าสิบโกฏิ.

ได้ยินว่า
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า วิชิตาวี
ประทับอยู่ ณ กรุงจันทวดี
เล่ากันว่า พระองค์อันคนชั้นดี เป็นอันมากแวดล้อมแล้ว
ทรงปกครองแผ่นดิน อันเป็นที่อยู่แห่งน้ำและขุมทรัพย์
พร้อมทั้งขุนเขาสุเมรุและยุคันธร
ทรงไว้ซึ่งรัตนะหาประมาณมิได้โดยธรรม ไม่ใช้อาชญา ไม่ใช้ศัสตรา

ครั้งนั้น พระโกณฑัญญพุทธเจ้า
อันพระขีณาสพแสนโกฏิแวดล้อมแล้ว เสด็จจาริก ณ ชนบท เสด็จถึงกรุงจันทวดีโดยลำดับ.

เล่ากันว่า
พระเจ้าวิชิตาวี ทรงสดับข่าวว่า
เขาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จถึงนครของเราแล้ว จึงออกไปรับเสด็จ
จัดแจงสถานที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า
นิมนต์เพื่อเสวยภัตตาหาร ณ วันรุ่งขึ้นพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์.

วันรุ่งขึ้น ก็ทรงให้เขาจัดภัตตาหารเป็นอย่างดีแล้ว
ได้ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์นับได้แสนโกฏิ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 321
พระโพธิสัตว์ ทรงให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว
จบอนุโมทนา ทรงทูลขอว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์เมื่อจะทรงทำการสงเคราะห์มหาชน
ขอโปรดประทับอยู่ในนครนี้นี่แหละตลอดไตรมาส
ได้ทรงถวายอสทิสทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เป็นนิตย์ ตลอดไตรมาส.

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ ว่า
จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ ในอนาคตกาล
แล้วทรงแสดงธรรมแก่พระองค์ท้าวเธอทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว
ทรงมอบราชสมบัติ ออกทรงผนวช ทรงเล่าเรียนพระไตรปิฎก
ทำสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดแล้ว มีฌานไม่เสื่อม
ก็บังเกิดในพรหมโลก
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่าวิชิตาวี เป็นใหญ่เหนือปฐพี มีสมุทรสาครเป็นที่สุด.
เรายังพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่แสนโกฏิ
พร้อมด้วยพระผู้ทรงเป็นนาถะเลิศแห่งโลก ให้อิ่มหนำด้วยข้าวนำอันประณีต.

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้นำโลก
แม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
จักเป็นพระพุทธเจ้าผู้มีคุณที่ประมาณมิได้ในโลก ในกัปต่อจากกัปนี้.

พระตถาคต จักออกทรงผนวช จากกรุงกบิลพัสดุ์อันรื่นรมย์
ทรงกระทำความเพียร คือ กระทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ รับมธุปายาส ณ ที่นั้น
แล้วเสด็จไปสู่ฝั่งแห่งแม่น้ำเนรัญชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 322
พระชินเจ้า พระองค์นั้น ครั้นเสวยมธุปายาสที่ฝั่งเนรัญชรานั้นแล้ว
ก็เสด็จไปที่ควงโพธิพฤกษ์ตามเส้นทางที่มีผู้จัดแจงไว้.

ลำดับนั้น
พระองค์ผู้ทรงพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณโพธิมณฑ์อันประเสริฐสุด
จักตรัสรู้ (พระสัมมาสัมโพธิญาณ) ณ ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์.

ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพุทธมารดา พระนามว่า มายา
มีพระชนกพุทธบิดา พระนามว่า สุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ
จักมีอัครสาวก ชื่อว่า โกลิตะและอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ผู้ปราศจากราคะ ผู้มีจิตสงบและมั่นคง
จักมีพุทธอุปัฏฐากชื่อ อานันทะ บำรุงพระชินะนั้น.
จักมีอัครสาวิกา ชื่อว่าเขมา และอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ผู้ปราศจากราคะ ผู้มีจิตสงบและมั่นคง.
ต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า อัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.
จักมีอัครอุปัฏจาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถะและอาฬวกะ
จักมีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และอุตตรา
พระชนมายุของพระโคตมะผู้มียศพระองค์นั้น ประมาณ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลายฟังพระดำรัสของพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ไม่มีผู้เสมอนี้แล้ว ก็พากันปลื้มใจว่า ผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.

เทวดาในหมื่นโลกธาตุ พากันโห่ร้องปรบมือ
หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 323
ผิว่า พวกเราพลาดคำสอน ของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าท่านผู้นี้.

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ตรงหน้า ก็ถือท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทุกคน ผิว่า พ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้ไป
ในอนาคตกาล ก็จักอยู่ต่อหน้าท่านผู้นี้ ฉันนั้น.

เราได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไป
เมื่อจะให้สำเร็จประโยชน์นั้น นั่นแล จึงถวายมหาราชสมบัติแด่พระชินเจ้า
ครั้นถวายมหาราชสมบัติแล้ว ก็บวชในสำนักของพระองค์.

เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย นวังคสัตถุศาสน์ทุกอย่าง
ยังศาสนาของพระชินเจ้าให้งดงาม.
เราอยู่อย่างไม่ประมาท ในพระศาสนานั้น
ในอิริยาบถนั่งนอนและเดิน ก็ถึงฝั่งแห่งอภิญญาเข้าถึงพรหมโลก.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อหํ เตน สมเยน ได้แก่ เราในสมัยนั้น.
บทว่า วิชิตาวี นาม ได้แก่ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีพระนามอย่างนี้.
ในบทว่า สมุทฺทํ อนฺตมนฺเตน นี้ ความว่า เราเป็นใหญ่ ตลอด
ปฐพีที่ตั้งจักรวาลบรรพต ทำจักรวาลบรรพตเป็นเขตแดน ทำสมุทรสาครเป็นที่สุด
ความเป็นใหญ่มิใช่ปรากฏด้วยเหตุมีประมาณเพียงเท่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 324
เล่ากันว่า
ด้วยอานุภาพแห่งจักรรัตนะ พระเจ้าจักรพรรดิ เสด็จไปยังบุพวิเทหทวีป
ซึ่งมีขนาดแปดพันโยชน์ ทางส่วนบนสมุทร มีเขาสิเนรุอยู่เบื้องซ้าย

ในที่นั้น พระเจ้าจักรพรรดิ จะประทานโอวาทว่า
ไม่ควรฆ่าสัตว์มีชีวิต
ไม่ควรถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้.
ไม่ควรประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
ไม่ควรพูดเท็จ
ไม่ควรดื่มน้ำเมา
จงบริโภคของตามบริโภคได้.

เมื่อประทานโอวาทอย่างนี้แล้ว
จักรรัตนะนั้นก็เหาะสู่อากาศหยั่งลงสมุทรด้านทิศบูรพา
หยั่งโดยประการใดๆ คลื่นที่หดตัว ก็แตกกระจาย
เมื่อเดินลงก็เดินลงสู่น้ำในมหาสมุทร ชั่วโยชน์เดียว
ตั้งอยู่น่าดูอย่างยิ่ง เหมือนฝาแก้วไพฑูรย์แก้วมณี
ทั้งสองข้างภายในสมุทร โดยประการนั้น ๆ
จักรรัตนะนั้นไปตลอดที่มีสาครด้านทิศบูรพาเป็นที่สุดอย่างนั้น ก็หมุนกลับ
เมื่อจักรรัตนะนั้นหมุนกลับ บริษัทนั้นก็อยู่ทางปลาย พระเจ้าจักรพรรดิอยู่ตรงกลาง
ตัวจักรรัตนะอยู่ท้าย จักรรัตนะแม้นั้น กระทบน้ำ มีมณฑลดื่มเป็นที่สุดเท่านั้น
เหมือนไม่ยอมพรากชายน้ำ จึงเข้าสู่ริมฝั่ง.

พระเจ้าจักรพรรดิ
ทรงชนะบุพวิเทหทวีป ซึ่งมีสมุทรด้านทิศบูรพา เป็นที่สุดอย่างนี้แล้ว
มีพระราชประสงค์จะทรงชนะชมพูทวีป ซึ่งมีสมุทรด้านทิศทักษิณเป็นที่สุด
จึงมุ่งพระพักตร์ไปทางทิศทักษิณ เสด็จไปตามทางที่จักรรัตนะแสดง จักรรัตนะนั้น

ครั้นชนะชมพูทวีป ซึ่งมีขนาดหมื่นโยชน์แล้ว ก็ขึ้นจากสมุทรด้านทิศทักษิณ
ก็ไปโดยนัยที่กล่าวแล้วแต่หนหลัง เพื่อชนะอปรโคยานทวีป ซึ่งมีขนาดเจ็ดพันโยชน์

ครั้นชนะอปรโคยานทวีปนั้น
ซึ่งมีสาครเป็นที่สุดแล้ว ก็ขึ้นจากสมุทรด้านทิศปัจฉิมไปอย่างนั้นเหมือนกัน
เพื่อชนะอุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีขนาดแปดพันโยชน์ ก็ชนะอย่างนั้นเหมือนกัน

ทำอุตตรกุรุทวีปนั้น มีสมุทรเป็นที่สุด ก็ขึ้นแม้จากสมุทรด้านทิศอุดร.
ความเป็นใหญ่ เป็นอันพระเจ้าจักรพรรดิทรงประสบแล้วเหนือปฐพี
ที่มีสาครเป็นที่สุด ด้วยเหตุมีประมาณเพียงเท่านี้
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เราเป็นใหญ่เหนือปฐพีมีสมุทรเป็นที่สุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 325
บทว่า โกฏิสตสหสฺสานํ ได้แก่ แสนโกฏิ. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า วิมลานํ ได้แก่ พระขีณาสพทั้งหลาย.
บทว่า สหโลกคฺคนาเถน ความว่า แสนโกฏิกับด้วยพระทศพล.
บทว่า ปรมนฺเนน แปลว่า ด้วยข้าวอันประณีต.
บทว่า ตปฺปหึ แปลว่า ให้อิ่มแล้ว.
บทว่า อปริเมยฺยิโต กปฺเป ความว่า
ล่วงไปสามอสงไขยกำไรแสนกัปนับตั้งแต่กัปนี้ คือ ในภัทรกัปนี้.
บทว่า ปธานํ แปลว่า ความเพียร.
บทว่า ตเมว อตฺถํ สาเธนฺโต ความว่า
บำเพ็ญประโยชน์คือทานบารมีอันทำความเป็นพระพุทธเจ้านั้นนั่นแล ให้สำเร็จ ให้เป็นผล.
บทว่า มหารชฺชํ ได้แก่ ความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ.
บทว่า ชิเน ได้แก่ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือพึงเห็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถจตุตถีวิภัตติ.
บทว่า อทํ แปลว่า ได้ให้แล้ว.
พึงเห็นการเชื่อมความด้วยบทนี้ว่า เอวมตฺถํ สาเธนฺโต
อาจารย์บางพวกสวดว่า
มหารชฺชํ ชิเน ททึ ดังนี้ก็มี.
บทว่า ททิตฺวาน ได้แก่ สละ.
บทว่า สุตฺตนฺตํ ได้แก่ สุตันตปิฎก.
บทว่า วินยํ ได้แก่ วินัยปิฎก.
บทว่า นวฺงคํ ได้แก่ นวังสัตถุศาสน์มีสุตตะ เคยยะเป็นต้น.
 บทว่า โสภยึ ชินสาสนํ ได้แก่ ประดับพร้อมด้วยอาคมและอธิคมอันเป็นโลกิยะ.
บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น .
บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยสติ.
บทว่า พฺรหฺมโลกมคญฺฉหํ ตัดบทเป็น พฺรหฺมโลกํอคญฺฉึ อหํ.

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า พระองค์นี้
มีพระนครชื่อว่า รัมมวดี
พระชนกทรงพระนามว่า พระเจ้าสุนันทะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุชาดาเทวี.
คู่พระอัครสาวกคือ พระภัททะ และ พระสุภัททะ
พระอุปัฏฐากชื่อว่า อนุรุทธะ
คู่พระอัครสาวิกา คือ พระติสสา และ พระสุอุปติสสา
ต้นไม้ที่ตรัสรู้ คือต้น สาลกัลยาณี [ขานาง]
พระสรีระสูง ๘๘ ศอก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 326
พระชนมายุประมาณแสนปี
พระองค์มีพระมเหสีพระนามว่า รุจิเทวี
มีพระโอรสพระนามว่า วิชิตเสนะ
มีอุปัฏฐาก พระนามว่า เจ้าจันทะ
ประทับอยู่ ณ พระวิหารจันทารามแล

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระนครชื่อว่า รัมมวดี
มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุนันทะ
มีพระชนนีพระนามว่า พระนางสุชาดา.

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีคู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระภัททะ และ พระสุภัททะ
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอนุรุทธะ.

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีคู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระติสสา และ พระอุปติสสา
มีตัดต้นไม้ที่ตรัสรู้ ชื่อว่าต้นสาลกัลยาณี.

พระมหามุนีพระองค์นั้น สูง ๘๘ ศอก สง่างาม
เหมือนดวงจันทร์ เหมือนดวงอาทิตย์เที่ยงวัน ฉะนั้น.
ในยุคนั้น ทรงมีพระชนมายุแสนปี

พระองค์มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น ก็ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
แผ่นเมทนี งดงาม ด้วยพระขีณาสพทั้งหลายผู้ไร้มลทิน
ก็เหมือนท้องนภากาศ งดงามด้วยเหล่าดวงดาวทั้งหลาย
พระโกณฑัญญพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงงดงามอย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 327
พระขีณาสพแม้เหล่านั้น หาประมาณมิได้ อันโลกธรรมให้ไหวมิได้
ยากที่สัตว์จะเข้าไปหา พระผู้มียศใหญ่เหล่านั้น
แสดงตัวเหมือนสายฟ้าแลบแล้ว ต่างก็ดับขันธ์ปรินิพพาน.
พระวรฤทธิ์ของพระชินเจ้า ที่ไม่มีผู้เทียบได้นั้น
และพระสมาธิที่พระญาณอบรมแล้ว ทั้งนั้นก็อันตรธานไปหมดสั้น
สังขารทุกอย่างก็ว่างเปล่าโดยแน่แท้.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สาลกลฺยาณิโก ได้แก่ ต้นสาลกัลยาณี ต้นสาลกัลยาณีนั้น เกิดในสมัยมีพระพุทธเจ้า
และสมัยมีพระเจ้าจักรพรรดิเท่านั้น ไม่เกิดในสมัยอื่น.

เล่ากันว่า
ต้นสาลกัลยาณีนั้น ผุดขึ้นวันเดียวเท่านั้น.
บทว่า ขีณาสเวหิ วิมเลหิ วิจิตฺตา อาสิ เมทนี ความว่า
แผ่นเมทนีนี้รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวะ งดงามด้วยพระขีณาสพทั้งหลาย น่าดูอย่างยิ่ง
ศัพท์ว่า ยถา หิ เป็นนิบาตลงในอรรถอุปมา.
บทว่า อุฬูภิ แปลว่า ด้วยดวงดาวทั้งหลาย อธิบายว่า แผ่นเมทนีนี้ งดงามด้วยพระขีณาสพทั้งหลาย
ชื่อว่า สง่างามเหมือนท้องนภากาศงดงามด้วยหมู่ดาวทั้งหลาย.
บทว่า อสุงฺโขพฺภา ได้แก่ ไม่กำเริบ ไม่วิกาด้วยโลกธรรม ๘ ประการ.
บทว่า วิชฺชุปาตํว ทสฺเสตฺวา แปลว่า แสดงตัวเหมือนสายฟ้าแลบ.
ปาฐะว่า วิชฺชุปฺปาตํ ว ดังนี้ก็มี.
ความจริง ครั้งพระโกณฑัญญพุทธเจ้า
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อปรินิพพานก็โลดขึ้นสู่อากาศชั่ว ๗ ต้นตาล รุ่งโรจน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 328
ไปรอบๆ เหมือนสายฟ้าแลบลอดหลืบเมฆ สีน้ำเงินแก่
เข้าเตโชธาตุแล้วก็ปรินิพพาน เหมือนไฟหมดเธอ
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
แสดงตัวเหมือนสายฟ้าแลบ.
บทว่า อตุลิยา แปลว่า ชั่งไม่ได้ ไม่มีผู้เสมือน.
บทว่า ญาณปริภาวิโต แปลว่า อันญาณให้เจริญแล้ว
คาถาที่เหลือ ง่ายทั้งนั้นเพราะมีนัยที่กล่าวมาแต่หนหลังแล.

พระโกณฑัญญสัมพุทธเจ้า
เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารจันทาราม ที่น่ารื่นรมย์
เขาสร้างพระเจดีย์สำหรับพระองค์ เจ็ดโยชน์.
พระธาตุทั้งหลาย ของพระศาสดาพระองค์นั้นไม่กระจัดกระจาย
คงดำรงอยู่เป็นแท่งเดียว เหมือนรูปปฏิมาทอง.

มนุษย์ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น ช่วยกันเอาหินอ่อนสีเหลือง ก่อแทนดิน
ใช้น้ำมันและเนยแทนน้ำสร้างจนแล้วเสร็จแล.
จบ พรรณนาวงศ์พระโกณฑัญญพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 329



24
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 255
๑. วงศ์พระทีปังกรพุทธเจ้าที่ ๑

ว่าด้วยพระประวัติของพระทีปังกรพุทธเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเล่าเรื่องอดีตแก่พระสารีบุตรว่า

[๒] เมื่อ สี่ อสงไขย แสนกัป
มีนครชื่อ อมรนครน่าชมชื่นรื่นรมย์.
ไม่ว่างเว้นจากเสียง ๑๐ เสียง พรั่งพร้อมด้วยข้าวน้ำ
มีเสียงข้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์เสียงรถ.

เสียงอึกทึกด้วยเสียงร้องเชิญบริโภคอาหาร ว่า
เชิญกินข้าว เชิญดื่มน้ำ เป็นนครเพียบพร้อมด้วยองค์
ประกอบทุกอย่าง ประกอบด้วยการงานทุกอย่าง.

สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ คลาคล่ำ ด้วยชนต่างๆ
มั่งคั่ง เป็นที่อยู่ของคนมีบุญ เหมือนเทพนคร.

ในนครอมรวดี
มีพราหมณ์ชื่อสุเมธมีกองทรัพย์หลายโกฏิ
มีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นอันมาก.
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพทถึงฝั่ง[สำเร็จ]
ในลักขณศาสตร์ อิติหาสศาสตร์ ในศาสนาของตน.

ครั้งนั้น เรานั่งอยู่ในที่ลับ จึงคิดอย่างนี้ว่า
ขึ้นชื่อว่า การเกิดอีก ความแตกสลายแห่งสรีระ เป็นทุกข์ ถูกชราย่ำยีหลงตายก็เป็นทุกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 256
ครั้งนั้น เรามีชาติ ชรา พยาธิ เป็นสภาพ
จำเราจักแสวงหาพระนิพพานที่ไม่แก่ ไม่ตาย แต่เกษม.

ถ้ากระไร เราเมื่อไม่ไยดี ไม่ต้องการ
ก็ควรละทิ้งกายอันเน่านี้ ที่เต็มด้วยซากศพต่างๆ ไปเสีย.
ทางนั้น คงมีแน่ ทางนั้น จักไม่มีไม่ได้
จำเราจักแสวงหาทางนั้น เพื่อหลุดพ้นจากภพ.

เมื่อทุกข์มี แม้ชื่อว่าสุข ก็ย่อมมีฉันใด
เมื่อภพมี สภาวะที่ไม่ใช่ภพ ก็พึงปรารถนาฉันนั้น.
เมื่อความร้อนมี ความเย็นก็ย่อมมีฉันใด
เมื่อไฟ ๓ กองมี ความดับไฟ ก็พึงปรารถนาฉันนั้นเหมือนกัน.
เมื่อความชั่วมี แม้ความดี ก็ย่อมมีฉันใด
เมื่อความเกิดมี ความไม่เกิด ก็พึงปรารถนาฉันนั้นเหมือนกัน.

บุรุษตกบ่ออุจจาระ เห็นหนองน้ำ มีน้ำเต็ม ไม่แสวงหาหนองน้ำ ฉันใด.
เมื่อหนองน้ำ คือ อมตะ สำหรับชำระล้างมลทิน คือ กิเลส มีอยู่
แต่คนไม่แสวงหนองน้ำ
ก็ไม่ใช่ความผิดของหนองน้ำคือ อมตะ ก็ฉันนั้น.

บุรุษถูกศัตรูทั้งหลายล้อมรอบ
เมื่อทางไปมีอยู่ บุรุษนั้นไม่หนีไป
นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของทาง ฉันใด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 257

บุรุษถูกกิเลสรุมล้อม
เมื่อทางอันรุ่งเรืองมีอยู่
เขาไม่แสวงหาทางนั้น
ก็ไม่ใช่ความผิดของทางอันรุ่งเรื่อง ก็ฉันนั้น.

บุรุษเจ็บป่วย เมื่อหมอมีอยู่ ไม่ยอมให้หมอ
เยียวยาความเจ็บป่วย
นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของหมอฉันใด.

บุรุษถูกความเจ็บป่วยคือกิเลสบีบคั้นประสบทุกข์
ยังไม่แสวงหาอาจารย์
นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของอาจารย์ฉันนั้น.

[ถ้ากระไร เราพึงละทิ้งกายอันเน่านี้ ที่เต็มด้วยซากศพไปเสีย ไม่ไยดี ไม่ต้องการ]
บุรุษ ปลดซากศพอันน่าเกลียดที่ผูกคอไปเสีย
มีความสบาย มีเสรี มีอำนาจในตัวเอง แม้ฉันใด.
เราก็พึงละทิ้งกายอันเน่านี้ เป็นที่สะสมซากศพต่างๆ ไปเสีย ไม่ไยดี ไม่ต้องการฉันนั้น.

บุรุษสตรี ละทิ้งอุจจาระไว้ในส้วมไป ไม่ไยดีไม่ต้องการ ฉันใด.
เราละทิ้งกายอันเน่านี้ ที่เต็มด้วยซากศพไปเสียเหมือนทิ้งส้วม ฉันนั้นเหมือนกัน.

เจ้าของเรือ ละทิ้งเรือรั่วน้ำลำเก่าที่ชำรุดไปไม่ไยดี ไม่ต้องการ ฉันใด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 258
เราละทิ้งกายอันเน่านี้ ที่มี ๙ ช่อง มีของไม่สะอาดไหลออกอยู่เป็นนิตย์ไปเสีย
เหมือนเจ้าของเรือทิ้งเรือลำเก่าฉันนั้น.

บุรุษเดินทางไปกับพวกโจร นำสินค้าไปด้วย
เห็นภัยคือความเสียหายแห่งสินค้า จึงละทิ้งพวกโจรไปเสีย ฉันใด.
กายอันนี้ ก็เปรียบเสมอด้วยมหาโจร จำเราจักละกายนี้ไป
เพราะกลัวเสียหายแห่งกุศล ฉันนั้นเหมือนกัน.

เราครั้นคิดอย่างนี้แล้ว ก็ให้ทรัพย์หลาย ร้อยโกฏิ
แก่คนมีที่พึ่งและคนไม่มีที่พึ่ง เข้าไปหิมวันตประเทศ.

ในที่ไม่ไกลหิมวันตประเทศ มีภูเขา ชื่อ ธัมมิกะ
เราก็ทำอาศรม สร้างบรรณศาลา.

ในอาศรมนั้น
เราสร้างที่จงกรมอันเว้นจากโทษ ๕ ประการ
ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ นำมาซึ่งกำลังแห่งอภิญญา.
ในอาศรมนั้น เราทิ้งผ้าอันประกอบด้วยโทษ ๙
ประการ นุ่งผ้าเปลือกไม้ ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ.
เราละบรรณศาลา อันเกลื่อนด้วยโทษ ๘ ประการ
เข้าไปอาศัยโคนไม้ อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ.
เราละธัญชาติ ที่หว่าน ที่ปลูกไว้ ไม่เหลือเลย
บริโภคแต่ผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมดา อันประกอบด้วยคุณเป็นอันมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 259
เราตั้งความเพียร ณ โคนไม้นั้น ได้แก่ นั่ง ยืนและเดิน
ภายใน ๗ วัน ก็บรรลุกำลังแห่งอภิญญา.

เมื่อเราประสบความสำเร็จ ชำนาญในพระศาสนาอย่างนี้
พระชินเจ้าผู้นำโลก พระนามว่า ทีปังกร ก็เสด็จอุบัติ.
เรามัวเปี่ยมด้วยความยินดีในฌาน จึงไม่เห็นนิมิต ๔ คือ
ในการเสด็จอุบัติ ในการประสูติ ในการตรัสรู้และในการแสดงธรรม.
ในถิ่นแถบปัจจันตประเทศ ชาวรัมมนคร มีใจยินดีแล้ว นิมนต์พระตถาคต
ช่วยกันแผ้วถางหนทางเสด็จมาของพระองค์.

สมัยนั้น
เราออกจาก อาศรมของตน สะบัดผ้าเปลือกไม้ เหาะไปในอัมพร

ขณะนั้น.
เราเห็นชนที่เกิดโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิงใจแล้ว ก็ลงจากท้องฟ้า
ถามคนทั้งหลายในทันที.

มหาชนเกิดโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิงใจกัน
พวกท่านแผ้วถางหนทาง เพื่อใครกัน.

คนเหล่านั้นถูกเราถามแล้ว จึงตอบว่า
พระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมพระนามว่า ทีปังกร ผู้ชนะผู้นำโลก เกิดขึ้นแล้วในโลก
เราแผ้วถางหนทางเพื่อพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

เพราะได้ยินว่า พุทโธ ปีติก็เกิดแก่เราในทันที
เราเมื่อกล่าวว่า พุทโธ พุทโธ ก็ซาบซึ้งโสมนัส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 260
เรายินดีประหลาดใจแล้ว ก็ยืนคิด ณ ที่ตรงนั้นว่า
จำเราจักปลูกพืชในพระพุทธเจ้าพระองค์นี้
ขณะอย่าได้ล่วงไปเปล่าเลย.

จึงกล่าวว่า ผิว่า พวกท่านแผ้วถางเพื่อพระพุทธเจ้า
ก็ขอพวกท่าน จงให้โอกาสแห่งหนึ่งแก่เรา ถึงเราก็จักแผ้วถางหนทาง.

คนเหล่านั้น
ได้ให้โอกาสทั้งหลายแก่เรา เพื่อแผ้วถางทางในขณะนั้น.

เมื่อโอกาสของเรายังไม่เสร็จ พระชินเจ้าทีปังกร มหามุนี
ก็เสด็จพุทธดำเนินทาง พร้อมด้วยภิกษุสี่แสนรูป
ผู้มีอภิญญา ผู้คงที่ เป็นขีณาสพ ไร้มลทิน.

การรับเสด็จก็ดำเนินไป กลองเป็นอันมากก็ประโคมขึ้นเอง
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ก็ปลื้มปราโมช แซ่ซ้องสาธุการ.

พวกเทวดาก็เห็นพวกมนุษย์
พวกมนุษย์ก็เห็นพวกเทวดา
แม้ทั้งสองพวกก็ประคองอัญชลี ตามเสด็จพระตถาคต.

พวกเทวดาก็บรรเลงด้วยดนตรีของทิพย์
พวกมนุษย์ก็บรรเลงด้วยดนตรีของมนุษย์
แม้ทั้งสองพวก ก็บรรเลงตามเสด็จพระตถาคต.

ในอากาศ พวกเทวดาเหล่าเดินหน
ก็โปรยดอกมณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะของทิพย์ ตลอดทิศานุทิศ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 261
ในอากาศ พวกเทวดาเหล่าเดินหน
ก็โปรยจุรณจันทน์ ของหอมอย่างดี ของทิพย์ สิ้นทั้งทิศานุทิศ.

พวกมนุษย์ที่ไปตามพื้นดิน
ก็ชูดอกจำปา ดอกช้างน้าว 
ดอกกระทุ่ม ดอกกะถินพิมาน ดอกบุนนาคและดอกเกด ทั้วทิศานุทิศ.

ในที่นั้น เราเปลื้องผม ผ้าเปลือกไม้และแผ่นหนัง
ปูลาดลงที่ตม แล้วก็นอนคว่ำ ด้วยความปรารถนาว่า
ขอพระพุทธเจ้ากับศิษย์สาวกทั้งหลาย
จงเหยียบเรา เสด็จไป อย่าทรงเหยียบตมเลย
การอันนี้จักเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา.

เรานอน เหนือแผ่นดิน
ก็คิดอย่างนี้ว่า

เราปรารถนา
ก็จะพึงเผากิเลสทั้งหลาย
ของเราได้ ในวันนี้.

ประโยชน์อะไรของเรา
ด้วยเพศ ที่ไม่มีใครรู้จัก
ด้วยการกระทำให้แจ้งธรรม
ในพระพุทธเจ้า พระองค์นี้

เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว
ก็จะเป็นผู้พ้นเอง
จะยังโลก พร้อมทั้งเทวโลก
ให้พ้นด้วย.

ประโยชน์อะไรของเรา
ด้วยบุรุษผู้แสดงกำลัง จะข้ามไปแต่ผู้เดียว
เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว
ก็จักยังโลก พร้อมทั้งเทวโลก
ให้ข้ามด้วย.

ด้วยอธิการบารมีนี้
ที่เราทำในพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบุรุษสูงสุด
เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
ก็จะยังหมู่ชนเป็นอันมาก
ให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 262
เราจักตัดกระแส สังสารวัฏ
กำจัดภพ ๓ แล้วขึ้นสู่ธรรมนาวา
ยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ให้ข้ามโอฆสงสาร

พระทีปังกรพุทธเจ้า ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
ผู้รับของบูชา ประทับยืนใกล้ศีรษะเรา

ได้ตรัสดังนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย จงดูชฏิลดาบส ผู้มีตบะสูงผู้นี้
ในกัปที่นับไม่ได้แต่กัปนี้ไป
เขาจักเป็นพระพุทธเจ้าในโลก.

ตถาคตออกอภิเนษกรมณ์จากนครอันน่ารื่นรมย์
ชื่อว่า กบิลพัศดุ์ ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
ตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้น อชปาลนิโครธ
ประคองรับมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว จักเข้าไปยังแม่น้ำ เนรัญชรา.

พระชินเจ้านั้น เสวยมธุปายาส ที่ริมฝั่งแม่น้ำ เนรัญชราแล้ว
จักเข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์ ตามทางอันดีที่เขาจัดตบแต่งไว้แล้ว.

แต่นั้น พระผู้มียศใหญ่
ก็กระทำประทักษิณโพธิมัณฑสถาน
จักแทงตลอดพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ที่โคนอัสสัตถพฤกษ์ต้นโพธิใบ.

พระชนนีของท่านดาบสผู้นี้ จักมีพระนามว่า มายา
พระชนกพระนามว่า สุทโธทนะ
ดาบสผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 263
พระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
จักเป็นอัครสาวก ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น

อุปัฏฐาก ชื่ออานนทะ จักบำรุงท่านชินะผู้นี้.

พระเขมาและพระอุบลวรรณา
จักเป็นอัครสาวิกาผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น.

โพธิต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้
ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เรียกกันว่า อัสสัตถพฤกษ์ โพธิใบ

ท่านจิตตะและท่านหัตถอาฬวกะ
จักเป็นอัครอุบาสก.

นันทมาตา และ อุตตรา
จักเป็นอัครอุบาสิกา

พระชนมายุของพระโคดมนั้นประมาณ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดา ฟังพระดำรัสนี้
ของพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ผู้ไม่มีผู้เสมอแล้ว
ก็ดีใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพืช พระพุทธเจ้า.

หมื่นโลกธาตุพร้อมทั้งเทวดา พากันส่งเสียงโห่ร้อง
ปรบมือ หัวเราะ ประคองอัญชลี
นมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเรา
จักพลาดคำสอนของพระโลกนาถพระองค์นี้
ในอนาคตกาล
พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

เปรียบเหมือนมนุษย์ทั้งหลาย
เมื่อข้ามแม่น้ำพลาดท่าน้ำ ท่าตรงหน้า
ก็ยังยึดท่าน้ำ ท่าหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ได้ ฉันใด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 264
พวกเราทั้งหมด
ผิว่า พ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้ไป ในอนาคตกาล
ก็จักอยู่ต่อหน้าท่านผู้นี้ ฉันนั้น.

พระทีปังกร ผู้รู้โลก ผู้ทรงรับของบูชา
ทรงประกาศกรรมของเราแล้ว
ก็ทรงยกพระบาทเบื้องขวา.
พระพุทธชิโนรสทุกองค์ซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น ก็ได้ทำประทักษิณเรา
พวกเทวดา มนุษย์ อสูร ยักษ์ก็ไหว้แล้ว ต่างหลีกไป.

เมื่อพระผู้นำโลก
พร้อมทั้งพระสงฆ์ ลับสายตาเราไปแล้ว
เราก็ลุกจากที่นอน นั่งขัดสมาธิในทันที.

เราประสบสุขโดยสุข
บันเทิงใจโดยความปราโมช
ผ่องใสยิ่งโดยปีติ
นั่งขัดสมาธิในขณะนั้น.

เรานั่งขัดสมาธิแล้ว
ก็คิดอย่างนี้ในขณะนั้นว่า
เราชำนาญในฌาน ถึงฝั่งอภิญญา
ฤาษีทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุ
ที่เสมอเราไม่มี ไม่มีผู้เสมอในอิทธิธรรมทั้งหลาย
เราก็ได้ความสุขเช่นนี้.

ในการนั่งขัดสมาธิของเรา
เทวดาที่สถิตอยู่ในหมื่นโลกธาตุ
ก็ส่งเสียงเอิกเกริกอึงมี่ว่า
เราเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

นิมิตเหล่าใดปรากฏแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
แต่ก่อนในการนั่งขัดสมาธิ
นิมิตเหล่านั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 265
ความเย็นก็ปราศไป
ความร้อนก็ระงับไป
นิมิตเหล่านั้น ปรากฏแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

หมื่นโลกธาตุ
ก็ปราศจากเสียง ปราศจากความวุ่นวาย
บุพนิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

มหาวาตะก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล
นิมิตเหล่านั้นปรากฏแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

ดอกไม้บนบก ดอกไม้ในน้ำทั้งหมดก็บานในขณะนั้น
ดอกไม้เหล่านั้นก็บานหมดในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

ไม้เถาหรือต้นไม้ ก็ติดผลในขณะนั้น
ต้นไม้เหล่านั้น ก็ออกผลหมดในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

รัตนะทั้งหลายที่อยู่ในอากาศและอยู่ในพื้นดิน
ก็เรืองแสงในขณะนั้น
รัตนะเหล่านั้นก็เรืองแสงแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

ดนตรีมนุษย์และดนตรีทิพย์
บรรเลงขึ้นในขณะนั้น
ดนตรีแม้ทั้งสองนั้นก็ส่งเสียงแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

มหาสมุทร ก็คะนอง หมื่นโลกธาตุก็ไหว
แม้ทั้งสองนั้น ก็ส่งเสียงร้องแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 266
ไฟหลายหมื่นในนรกทั้งหลาย ก็ดับในขณะนั้น
ไฟนรกแม้เหล่านั้นก็ดับแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

ดวงอาทิตย์จ้าไร้มลทิน ดาวทุกดวงก็เห็นได้ชัด
ดาวแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

เมื่อฝนไม่ตก น้ำก็พุขึ้นจากแผ่นดิน ในขณะนั้น
น้ำแม้นั้น ก็พุจากแผ่นดินแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

หมู่ดาวและดาวนักษัตรทั้งหลาย
ก็แจ่มกระจ่าง ตลอดมณฑลท้องฟ้า
ดวงจันทร์ก็ประกอบด้วยดาวฤกษ์วิสาขะ
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

สัตว์ทั้งหลาย ที่อยู่ในโพรง ที่อยู่ในร่องน้ำ ก็ออกจากที่อยู่ของตน
สัตว์แม้เหล่านั้น ก็ออกจากที่อยู่แล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

ความไม่ยินดี ไม่มีแก่สัตว์ทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นผู้สันโดษในขณะนั้น
สัตว์แม้เหล่านั้น ก็เป็นผู้สันโดษแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่

ในขณะนั้น โรคทั้งหลายก็สงบไป ความหิวก็หายไป
บุพนิมิตแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 267
ในขณะนั้น ภัยก็ไม่มี
ความไม่มีภัยนั้น ก็เห็นกันแล้วในวันนี้
พวกเรารู้กันด้วยเหตุนั้น
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

กิเลสดุจธุลีไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบน
ความไม่ฟุ้งแห่งกิเลสดุจธุลีนั้น ก็เห็นกันแล้วในวันนี้
พวกเรารู้กันด้วยเหตุนั้น
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

กลิ่นที่ไม่น่าปรารถนาก็จางหายไป กลิ่นทิพย์ก็โชยมา
กลิ่นหอมแม้นั้น ก็โชยมาแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

เทวดาทั้งหมด เว้นอรูปภพก็ปรากฏ
เทวดาแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันหมดในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

ขึ้นชื่อว่า นรกมีประมาณเท่าใด ก็เห็นกันได้
หมดในขณะนั้น นรกแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

กำแพง บานประตู และภูเขาหิน ไม่เป็นที่กีดขวางในขณะนั้น
กำแพงบานประตูและภูเขาหิน แม้เหล่านั้น ก็กลายเป็นอากาศไปในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

การจุติและปฏิสนธิ ย่อมไม่มีในขณะนั้น
บุพนิมิตแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันได้ในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 268
[นิมิตเหล่านี้ ย่อมปรากฏเพื่อความตรัสรู้ของสัตว์ทั้งหลาย]
ขอท่านโปรดประคับประคองความเพียรไว้ให้มั่น
อย่าถอยกลับ โปรดก้าวไปข้างหน้าต่อไปเถิด
แม้พวกเราก็รู้เหตุข้อนั้น
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

เราสดับพระดำรัสของพระพุทธเจ้า
และ คำของเทวดาในหมื่นโลกธาตุ ทั้งสองแล้ว
ก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ

ในขณะนั้น จึงคิดอย่างนี้ว่า
พระชินพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระดำรัสไม่เป็นสอง
มีพระดำรัสไม่เป็นโมฆะ คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี
เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่.

ก่อนดินถูกเหวี่ยงไปในอากาศ ย่อมตกลงที่พื้นดินแน่นอน
ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดทั้งหลาย
ก็เที่ยงแท้แน่นอนฉันนั้น.

[คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่]
ความตายของสรรพสัตว์ เที่ยงแท้แน่นอน
แม้ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดทั้งหลาย
ก็เที่ยงแท้แน่นอนฉันนั้น.

เมื่อถึงเวลาสิ้นราตรี ดวงอาทิตย์ก็ขึ้นแน่นอน
ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดทั้งหลาย
ก็เที่ยงแท้แน่นอน ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 269
ราชสีห์ออกจากที่นอน ก็บันลือสีหนาท แน่นอน
ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดทั้งหลาย
ก็เที่ยงแท้แน่นอนฉันนั้นเหมือนกัน.

สัตว์มีครรภ์หนัก ก็ปลงภาระ [คลอดลูก] แน่นอน
ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดทั้งหลาย
ก็เที่ยงแท้แน่นอนฉันนั้น เหมือนกัน.

เอาเถิด เราเลือกเฟ้นพุทธการกธรรม
ทางโน้น ทางนี้
ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
ทั้งสิบทิศ ตราบเท่าที่ธรรมธาตุเป็นไป.

ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น
ก็เห็นทานบารมี เป็นอันดับแรก เป็นทางใหญ่
ที่พระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ ประพฤติตามกันมาแล้ว.
ท่านจงสมาทาน ทานบารมี นี้ไว้นั่นเป็นอันดับแรกก่อน
จงบำเพ็ญทานบารมี ผิว่าท่านต้องการบรรลุโพธิญาณ.
หม้อที่เต็มด้วยน้ำ อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่วางคว่ำปากลง
ก็สำรอกน้ำออกไม่เหลือเลย
ไม่รักษาน้ำไว้ในหม้อนั้น แม้ฉันใด.

ท่านเห็นยาจกทั้งหลาย ทั้งชั้นต่ำ ชั้นกลาง และชั้นสูงแล้ว
จงให้ทานไม่เหลือเลย เหมือนหม้อที่คว่ำปาก ฉันนั้นเหมือนกัน.

พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้น
เราจึงเลือกเฟ้นพุทธธรรมแม้อื่นๆ ที่ช่วยอบรมบ่มโพธิญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 270
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นศีลบารมี อันดับสอง
ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ พากันซ่องเสพอยู่เป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานศีลบารมีอันดับสองนี้ไว้มั่นก่อน
จงบำเพ็ญศีลบารมี ผิว่า ท่านต้องการบรรลุพระโพธิญาณ.
เนื้อจามรี รักษาขนทางที่ติดอยู่ ในที่บางแห่ง
ยอมตายอยู่ในที่นั้น ไม่ยอมให้ขนหางกระจุย
ฉันใด ท่านจงทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ในภพ ๔
จง บริรักษ์ศีลทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาขนหาง ฉันนั้นเหมือนกัน.

พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้น
เราจึงเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เมื่อเราเลือกเฟ้น ก็เห็นเนกขัมมบารมี อันดับสาม
ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ ซ่องเสพอยู่เป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานเนกขัมมบารมีอันดับสามนี้ไว้ให้มั่นก่อน
จงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ผิว่า ท่านต้องการบรรลุพระโพธิญาณ.
บุรุษอยู่ในเรือนจำมานาน ระทมทุกข์ย่อมไม่เกิดความรักในเรือนจำนั้น
แสวงทาทางหลุดพ้นอย่างเดียวฉันใด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 271
ท่านจง เห็นภพ ทั้งปวง เหมือนเรือนจำ
มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะ เพื่อหลุดพ้นจากภพฉันนั้นเหมือนกัน.

พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้น
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นปัญญาบารมี อันดับสี่
ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลาย พระองค์ก่อน ๆ ซ่องเสพอยู่เป็นประจำ.
ท่านจงสมาทาน บูชาบารมีอันดับสี่นี่ไว้ให้มั่นก่อน
จงบำเพ็ญปัญญาบารมี ผิว่า ท่านต้องการบรรลุพระโพธิญาณ.
เหมือนอย่างว่า ภิกษุเมื่อขอ ก็ขอทั้งตระกูลชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นสูง
ไม่เว้นตระกูลทั้งหลายเลยดังนั้น จึงได้อาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้
ฉันใดท่านสอบถามท่านผู้รู้ทุกเวลา ถึงฝั่งแห่งปัญญาบารมีแล้ว
ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้น
 จำเราจักเลือกพุทธธรรมอื่นๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นวิริยบารมี อันดับห้า
ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ ซ่องเสพกันเป็นประจำ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 272
ท่านจงสมาทานวิริยบารมี อันดับห้า นี้ไว้ให้มั่นก่อน
จงบำเพ็ญวิริยบารมี ผิว่า ท่านต้องการบรรลุพระโพธิญาณ.
ราชสีห์พระยามฤค มีความเพียรไม่ท้อถอยในอิริยาบถนอน ยืน เดิน ประคองใจอยู่ทุกเมื่อ ฉันใด.
ท่านจงประคองความเพียรไว้ให้มั่นในภพทั้งปวง
ถึงฝั่งแห่งวิริยบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณฉันนั้นเหมือนกัน.
พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่มีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้น
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นขันติบารมี อันดับหก
ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานขันติบารมีอันดับหกนี้ ไว้ให้มั่นก่อน
จงมีใจไม่เป็นสองในขันติบารมีนั้น ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ.
ขึ้นชื่อว่าแผ่นดิน ย่อมทนสิ่งของที่เขาทิ้งลงมา
สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ทุกอย่าง ไม่ทำความยินดียินร้ายฉันใด.
แม้ตัวท่าน ก็ต้องเป็นผู้อดทนต่อการยกย่องและ
การดูหมิ่น ของชนทั้งปวง ฉันนั้นเหมือนกัน
ถึงฝั่งแห่งขันติบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 273
พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้น
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นสัจบารมีอันดับเจ็ด
ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลาย ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานสัจบารมี อันดับเจ็ดนี้ไว้ให้มั่นก่อน
มีวาจาไม่เป็นสองในสัจบารมีนั้น ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
ธรรมดาดาวประกายพรึก เป็นดังตาชั่งของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ไม่ว่าฤดูฝน ฤดูหนาว ดูร้อนไม่โคจรออกนอกวิถีโคจรเลย ฉันใด.
ถึงตัวท่าน ก็อย่าเดินออกนอกวิถีทางในสัจจะทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน
ถึงฝั่งแห่งสัจบารมีแล้วก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้น
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นอธิษฐานบารมีอันดับแปด
ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลาย พระองค์ก่อน ๆ ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 274
ท่านจงสมาทานอธิษฐานบารมีอันดับแปดนี้ไว้ให้มั่นก่อน
เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้นแล้วจักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

ภูเขาหิน ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมไม่ไหวด้วยล้มแรงกล้า
ย่อมตั้งอยู่ในฐานของตนนั่นเองฉันใด
ถึงตัวท่าน ก็จงไม่หวั่นไหว ในอธิษฐานบารมีทุกเมื่อ ฉันนั้นเหมือนกัน
ถึงฝั่งแห่งอธิษฐานบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้น
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมก่อน ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นเมตตาบารมีอันดับเก้า
ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลาย พระองค์ก่อน ๆ ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานเมตตาบารมีอันดับเก้านี้ไว้ให้มั่นก่อน
จงเป็นผู้ไม่มีผู้เสมอด้วยเมตตา ผิว่า ท่านต้องการบรรลุพระโพธิญาณ.
ธรรมดาน้ำ ย่อมแผ่ความเย็นไปเสมอกัน ทั้งในคนดีคนชั่ว
ย่อมชำระล้างมลทินคือธุลีไป ฉันใด.
ท่านจงแผ่เมตตาไปสม่ำเสมอ
ในคนที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและคนที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ฉันนั้นเหมือนกัน
ถึงฝั่งแห่งเมตตาบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 275
พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้น
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นอุเบกขาบารมีอันดับสิบ
ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานอุเบกขาบารมี อันดับสิบนี้ไว้ให้มั่นก่อน
ท่านจงเป็นผู้มั่นคงดั่งตาชั่ง ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
ธรรมดาแผ่นดิน ย่อมวางเฉยต่อสิ่งที่เขาทิ้งลง
ไม่ว่าสะอาด ไม่สะอาด แม้ทั้งสองอย่าง เว้นความยินดียินร้าย แม้ฉันใด.
ถึงตัวท่านก็จงเป็นดั่งตาชั่งในสุขและทุกข์ทุกเมื่อ ฉันนั้นเหมือนกัน
ถึงฝั่งแห่งอุเบกขาบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
ธรรมซึ่งช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณในโลก
มีเพียงเท่านี้ เท่านั้น ที่สูงนอกไปจากนั้น ไม่มี
ท่านจงตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้นอย่างมั่นคง.

เมื่อเรากำลังพิจารณาธรรมเหล่านั้น โดยลักษณะแห่งกิจคือ สภาวะ
แผ่นพสุธาในหมื่นโลกธาตุก็หวาดไหว เพราะเดชแห่งธรรม.

แผ่นดินไหว ส่งเสียงร้อง เหมือนยนตร์หีบอ้อย บีบอ้อย
แผ่นดินไหวเหมือนลูกล้อในยนตร์ คั้นน้ำมันงาฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 276
บริษัทที่อยู่ในที่เฝ้าพระพุทธเจ้า ก็สั่นงกอยู่ในที่นั้น
พากันนอนสลบไสลอยู่เหนือพื้นดิน.

หม้อเป็นอันมากหลายร้อยหลายพัน ก็กระทบกันและกัน
แหลกเป็นจุรณอยู่ในที่นั้น.

มหาชนทั้งหลาย หวาด สะดุ้งกลัว กลัวลาน กลัวยิ่ง
ก็พากันมาประชุมเข้าเฝ้าพระทีปังกรพุทธเจ้า
ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
เหตุดี เหตุร้ายจักมีแก่โลกหรือ โลกถูกเหตุนั้นรบกวนทั้งโลก
ขอพระองค์ทรงบรรเทาความกลัวนั้นด้วยเถิด.

ครั้งนั้น พระมหามุนีทีปังกร
ทรงยังมหาชนเหล่านั้นให้เข้าใจแล้วตรัสว่า
พวกท่านจงวางใจ อย่ากลัวในการที่แผ่นดินไหวทั้งนี้เลย.

วันนี้ เราพยากรณ์ท่านผู้ใดว่าจักเป็นพระพุทธเจ้า
ท่านผู้นั้นกำลังพิจารณาธรรมก่อน ๆ ที่พระชินเจ้าทรงเสพแล้ว.
เมื่อท่านผู้นั้น กำลังพิจารณาธรรมคือ พุทธภูมิ โดยไม่เหลือเลย
ด้วยเหตุนั้น แผ่นปฐพีนี้ ในหมื่นโลกธาตุพร้อมทั้งเทวโลกจึงไหว.

เพราะฟังพระพุทธดำรัส ใจของมหาชนก็ดับร้อนเย็นใจทันที
ทุกคนจึงเข้ามาหาเรา พากันกราบไหว้เราอีก.

ครั้งนั้น เรายึดถือพระพุทธคุณทำใจไว้มั่น
น้อมนมัสการพระทีปังกรพุทธเจ้าแล้ว จึงลุกขึ้นจากอาสนะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 277
พวกเทวดาถือดอกไม้ทิพย์ พวกมนุษย์ ก็ถือดอกไม้
มนุษย์ทั้งสองพวกก็เอาดอกไม้ทั้งหลายโปรยปรายเรา ผู้กำลังลุกขึ้นจากอาสนะ.

เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวกนั้นก็พากันแซ่ซ้อง สวัสดีว่า
ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่
ขอท่านจงได้ความปรารถนานั้นสมปรารถนาเถิด.

ขอเสนียดจัญไรจงปราศไป ความโศก โรคจงพินาศไป
อันตรายทั้งหลายจงอย่ามีแก่ท่าน
ขอท่านจงสัมผัสพระโพธิญาณโดยเร็วเถิด.

ต้นไม้ดอก ย่อมออกดอกบาน เมื่อถึงฤดูกาล
ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ
ขอท่านจงบานด้วยพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกันเถิด.

พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ฉันใด
ข้าแต่ท่านมหาวีระ
ขอท่านจงบำเพ็ญบารมี๑๐ ฉันนั้นเถิด.

พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์
ตรัสรู้ที่โพธิมัณฑสถาน ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ
ขอท่านจงตรัสรู้ที่โพธิมัณฑสถานของพระชินเจ้า ฉันนั้นเถิด.

พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์
ทรงประกาศพระธรรมจักรฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ
ขอท่านจงประกาศพระธรรมจักร ฉันนั้นเถิด.

ดวงจันทร์ในราตรีเพ็ญ เต็มดวงรุ่งโรจน์ ฉันใด
ท่านมีมโนรถเต็มแล้ว จงรุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุฉันนั้นเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 278
ดวงอาทิตย์พ้นจากราหูแล้ว ย่อมรุ่งโรจน์ด้วยแสง ฉันใด
ท่านพ้นจากโลกแล้ว ก็จงรุ่งโรจน์ด้วยสิริ ฉันนั้นเหมือนกันเถิด.

แม่น้ำทุกสาย ย่อมชุมนุมไหลสู่มหาสมุทร ฉันใด
โลกพร้อมทั้งเทวโลก
ขอจงชุมนุมกัน ยังสำนักของท่าน ฉันนั้นเถิด.

ครั้งนั้น อุบาสก ชาวรัมมนคร เหล่านั้น
ให้พระโลกนาถพร้อมทั้งพระสงฆ์เสวยแล้ว
ก็ถึงพระทีปังกรศาสดาพระองค์นั้นเป็นสรณะ.

พระตถาคตทรงยังบางคนให้ตั้งอยู่ ในสรณคมน์
บางคนตั้งอยู่ในศีล ๕
บางคนตั้งอยู่ในศีล ๑๐.
พระองค์ประทานสามัญผลอันสูงสุด แก่บางคน
ประทานปฏิสัมภิทา ในธรรมที่ไม่มีธรรมอื่นเสมอแก่บางคน.
พระนราสภ ประทานสมาบัติ ๘ อันประเสริฐแก่บางคน
ทรงประทานวิชชา ๓ อภิญญา ๖ แก่บางคน.

พระมหามุนี ทรงสั่งสอนหมู่ชน โดยนัยนั้น เพราะพระโอวาทนั้น
ศาสนาของพระโลกนาถจึงได้แผ่ไปอย่างกว้างขวาง.

พระพุทธเจ้ามีพระนามว่าทีปังกร
ผู้มีพระหนุใหญ่ มีพระวรกายงาม ทรงยังชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร
ทรงเปลื้องมหาชนเสียจากทุคติ.
พระมหามุนี ทรงเห็นชน ผู้ควรจะตรัสรู้ได้ไกลถึงแสนโยชน์
ในทันใด ก็เสด็จเข้าไปหา ทรงยังเขาให้ตรัสรู้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

ในอภิสมัยครั้งแรก
พระพุทธเจ้าทรงยังเทวดาและมนุษย์ให้ตรัสรู้ร้อยโกฏิ

ในอภิสมัยครั้งที่สอง
พระโลกนาถ ทรงยังเทวดาและมนุษย์ให้ตรัสรู้เก้าสิบโกฏิ.

ในสมัยใด
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในภพเทวดา โปรดเทวดาเก้าหมื่นโกฏิ
สมัยนั้น เป็นอภิสมัยครั้งที่สาม.

สาวกสันนิบาตของพระทีปังกรศาสดา มี ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ประชุมสาวก แสนโกฏิ.
เมื่อพระชินเจ้า ประทับสงัด ณ ภูเขานารทกูฏ อีก ภิกษุร้อยโกฏิ
เป็นพระขีณาสพปราศจากมลทิน ก็ประชุมกัน

สมัยใด
พระมหาวีระมหามุนีทรงปวารณาพรรษาพร้อมด้วยภิกษุเก้าหมื่นโกฏิ ณ ภูเขาสุทัสสนะ.

สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีตบะสูง จงฝั่งอภิญญา ๕ จาริกไปในอากาศ.
ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรม ได้มี แก่เทวดาและมนุษย์หนึ่งหมื่น สองหมื่น
ไม่นับการตรัสรู้โดยจำนวนหนึ่งคน สองคน.

ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร
อันบริสุทธิ์ดีแล้ว แผ่ไปกว้างขวาง
คนเป็นอันมากรูสำเร็จแล้ว เจริญแล้วในครั้งนั้น.
ภิกษุสี่แสนรูป มีอภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก
แวดล้อม พระทศพลทีปังกร ผู้รู้แจ้งโลก ทุกเมื่อ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 280
สมัยนั้น ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นเสขะยังไม่
บรรลุพระอรหัต ละภพมนุษย์ไป ภิกษุเหล่านั้น ย่อมถูกครหา.
ปาพจน์คือพระศาสนา อันพระอรหันต์ผู้คงที่ ผู้เป็นขีณาสพ
ไร้มลทิน ทำให้บานเต็มที่แล้ว ย่อมงดงามทุกเมื่อ.

พระทีปังกรศาสดา
ทรงมีพระนครชื่อว่า รัมมวดี
พระชนกเป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าสุเทวะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุเมธา.

พระชินเจ้า
ทรงครอบครองอคารสถานอยู่ หมื่นปี
ทรงมีปราสาท ๓ หลัง คือ หังสา โกญจา และมยุรา
ทรงมีพระสนมนารี สามแสน ล้วนประดับกายสวยงาม
พระมเหสีนั้นพระนามว่า ปทุมา
พระราชโอรสพระนามว่า อุสภขันธกุมาร.

พระองค์ทอดพระเนตรเห็นนิมิต ๔ ประการแล้ว
เสด็จออกทรงผนวชด้วยพระยานคือ พระยาช้างต้น

ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม จึงทรงเป็นพระชินเจ้า.

ครั้นทรงประพฤติปธานจริยา ได้ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ
เป็นพระมหามุนีทีปังกรพุทธเจ้า สมพระทัยแล้ว ผู้อันพระพรหมทรงอาราธนาแล้ว.

พระมหาวีระ ชินพุทธเจ้า
ทรงประกาศพระธรรมจักรแล้ว ประทับอยู่ ณ นันทาราม
ประทับนั่งที่ควงไม้ซึก ทรงการทำการทรมานเดียรถีย์แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 281
พระทีปังกรศาสดา
ทรงมีพระอัครสาวชื่อว่า สุมังคละ และติสสะ
มีพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า สาคตะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า นันทาและสุนันทา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกกันว่า ต้นเลียบ.

พระทีปังกรศาสดา
มีอัครอุปัฏฐากชื่อว่า ตปุสสะ และภัลลิกะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า สิริมาและโสณา.
พระทีปังกรมหามุนี สูง ๘๐ ศอก สง่างามเหมือนต้นไม้ประจำทวีป
เหมือนต้นพระยาสาละ ดอกบานเต็มต้นฉะนั้น.

พระองค์มีพระรัศมี แผ่ไป ๘๐ โยชน์ โดยรอบ
พระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น
ทรงมีพระชนมายุแสนปี.

พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ถึงเพียงนั้น
ทรงยังสัทธรรมให้รุ่งโรจน์ ยังมหาชนให้ข้ามโอฆสงสาร
ชื่อว่า ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทั้งพระสาวก รุ่งโรจน์แล้ว ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
เหมือนกองไฟโพลงแล้วก็ดับไป.

พระวรฤทธิ์ด้วย พระยศด้วย จักรรัตนะที่พระยุคลบาทด้วย
ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทุกอย่างก็ว่างเปล่า แน่แท้.

พระชินศาสดาทีปังกร
ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารนันทาราม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 282
พระชินสถูปของพระองค์ ณ นันทารามนั้นนั่นแล สูง ๓๖ โยชน์.
พระสถูปบรรจุ บาตร จีวร บริขาร และเครื่องบริโภคของพระศาสดา
ตั้งอยู่ ณ โคนโพธิพฤกษ์ในครั้งนั้น สูง ๓ โยชน์.

จบวงศ์พระทีปังกรพุทธเจ้าที่ ๑



[/size][/size]

25


ในกัปที่ พระทศพลพระนามว่า ทีปังกร ทรงอุบัติ
ได้มีพระพุทธเจ้าอื่นอีก ๓ พระองค์.
ในสำนักของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น มิได้มีการพยากรณ์พระโพธิสัตว์.
เพราะฉะนั้น
พระพุทธเจ้าเหล่านั้นจึงไม่ถือเอาในที่นี้.

แต่ในอรรถกถาเก่า
เพื่อแสดงถึงพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ตั้งแต่กัป

ท่านจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
1.   พระตัณหังกร
2.   พระเมธังกร
3.   พระสรณังกร

4.   พระทีปังกร
5.   พระโกณฑัญญะ
6.   พระมังคละ
7.   พระสุมนะ
8.   พระเรวตะ
9.   พระโสภิตะ
10.   พระอโนมทัสสี
11.   พระปทุม
12.   พระนารทะ
13.   พระปทุมุตตระ
14.   พระสุเมธะ 
15.   พระปิยทัสสี
16.   พระอัตถทัสสี
17.   พระธรรมทัสสี
18.   พระสิทธัตถะ
19.   พระติสสะ
20.   พระผุสสะ
21.   พระวิปัสสี
22.   พระสิขี
23.   พระเวสสภู
24.   พระกกุสันธะ
25.   พระโกนาคมนะ
26.   พระกัสสปะ


ท่านเหล่านี้ได้เป็นพระสัมพุทธเจ้า ปราศจากราคะ
ตั้งมั่นแล้ว มีรัศมี ๑๐๐  บรรเทาความมืดใหญ่ รุ่งเรืองดุจกองไฟ
พระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น พร้อมด้วยสาวกทั้งหลาย ได้นิพพานแล้ว.

26
วงศ์พระโคดมพุทธเจ้าที่ ๒๕

[๒๖] บัดนี้ เราเป็นพระสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า โคตมะ
เจริญวัยในศากยสกุล ตั้งความเพียรแล้วบรรลุพระโพธิญาณอันอุดม.

อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ประกาศพระธรรมจักร
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์ ๑๘ โกฏิ.

เมื่อทรงแสดงธรรมต่อจากนั้น
ในสมาคมแห่งมนุษย์และเทวดา
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็กล่าวไม่ได้ถึงจำนวนผู้บรรลุ.

บัดนี้ ในที่นี้นี่แล
เราสั่งสอนราหุลโอรสของเรา
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็กล่าวไม่ได้ถึงจำนวนผู้บรรลุ.

สันนิบาตการประชุมสาวก ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ของเรา
เป็นการประชุมภิกษุ ๑,๒๕๐ มีครั้งเดียว.

เราไร้มลทินรุ่งเรืองอยู่ ท่ามกลางสงฆ์
ก็ให้ทุกอย่างที่สาวกปรารถนา
เหมือนแก้วจินดามณีให้ทุกอย่างที่ต้องการ
อันความกรุณาสัตว์ทั้งหลาย
เราประกาศสัจจะ ๔ แก่ผู้จำนงหวังมรรคผล
ผู้ประสงค์ละความพอใจในภพ.

ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่สัตว์
หนึ่งหมื่น สองหมื่น
อภิสมัยของสัตว์ ไม่นับจำนวน ด้วยหนึ่งคน หรือ สองคน

ศาสนาของเรา ผู้ศากยมุนีในโลกนี้
บริสุทธิ์ดีแล้ว แผ่ไปกว้างขวาง
คนเป็นอันมากรู้กัน มั่นคงเจริญออกดอกบานแล้ว.

ภิกษุทั้งหมดหลายร้อย
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
ย่อมแวดล้อมเราทุกเมื่อ.

บัดนี้ เดี๋ยวนี้ ภิกษุเหล่าใด
ละภพมนุษย์ ภิกษุเหล่านั้น
เป็นเสกขะ ยังไม่บรรลุพระอรหัต วิญญูชน ก็ติเตียน.
นรชนผู้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ ผู้ยินดีในธรรมทุกเมื่อ
เมื่อชมเชยอริยมรรค รุ่งเรืองอยู่ ก็จักตรัสรู้.

เรามีนครชื่อ กบิลพัสดุ์
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
พระชนนีเรียกว่า พระนางมายาเทวี.

เราครองฆราวาสวิสัยอยู่ ๒๙ ปี

มีปราสาทเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า สุจันทะ โกกนุทะ และโกญจะ
มีสนมกำนัลที่แต่งกายงาม สี่หมื่นนาง
อัครมเหสีพระนามว่า พระยโสธรา

โอรสพระนามว่า พระราหุล.

เราเห็นนิมิต ๔ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือ ม้า

ทำความเพียร ประพฤติทุกกรกิริยา ๖ ปี.
เรา ชินโคตมะสัมพุทธเจ้า
ประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน ณ กรุงพาราณสี
เป็นสรณะของสัตว์ทั้งปวง.

เรามีภิกษุคู่พระอัครสาวก ชื่อว่า โกลิตะ และอุปติสสะ
มีพุทธอุปัฏฐากประจำสำนักชื่อว่า อานันทะ.

เรามีภิกษุณีอัครสาวิกา ชื่อ เขมาและอุบลวรรณา
มีอัครอุปัฏฐากชื่อว่า จิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
มีอัครอุปัฏฐายิกาชื่อว่า นันทมาตา และอุตตรา

เราบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อ ต้นอัสสัตถะ.
เรามีรัศมีวาหนึ่ง สูง ๑๖ ศอก

อายุเรา ณ บัดนี้น้อย ร้อยปี
เราดำรงชนม์อยู่เพียงนั้น ก็ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ
เราตั้งคบเพลิงคือธรรม ปลุกชนที่เกิดมาภายหลังให้ตื่น.
ไม่นานนัก แม้เราพร้อมด้วยสงฆ์สาวกก็จักปรินิพพานในที่นี้นี่แล
เพราะสิ้นอาหาร เหมือนดวงไฟดับ เพราะสิ้นเชื้อฉะนั้น.

เดชที่ไม่มีใครเทียบได้เหล่านั้น ทั้งยศพละและฤทธิ์เหล่านี้
เราผู้มีเรือนกายทรงคุณ วิจิตรด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
มีฉัพพรรณรังสีส่องสว่างทั้งสิบทิศ ดั้งดวงอาทิตย์.
ทั้งนั้นก็จักอันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
จบวงศ์พระโคดมพุทธเจ้าที่ ๒๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 690
[/color]

27

เล่ม 11 หน้า 4
จุลศีล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต
พึงกล่าวด้วยประการนั่น
มีประมาณน้อยนัก
ยังต่ำนัก
เป็นเพียงศีล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ข้อที่ปุถุชนกล่าวชมตถาคต. . .
เพียงศีลนั้นเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต
พึงกล่าวชมอย่างนี้ว่า
๑. พระสมณโคดม
ละการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางสาตรา
มีความละอาย มีความเอ็นดู
มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.

๒. พระสมณโคดม
ละการลักทรัพย์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้
ต้องการแต่ของที่เขาให้
ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย
เป็นคนสะอาดอยู่.

๓. พระสมณโคดม
ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
ประพฤติพรหมจรรย์
ประพฤติห่างไกลเว้นจากเมถุน
ซึ่งเป็นเรื่องของชาวบ้าน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต
พึงกล่าวชมอย่างนี้ว่า
๔. พระสมณโคดม
ละการพูดเท็จ
เว้นขาดจากการพูดเท็จ
พูดคำจริง ดำรงคำสัตย์
มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อ
ไม่พูดลวงโลก.

๕. พระสมณโคดม
ละคำส่อเสียด
เว้นขาดจากคำส่อเสียด
ฟังจากข้างนี้แล้วไม่บอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกกัน หรือ
ฟังจากข้างโน้นแล้วไม่บอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกกัน
สมานคนที่แตกกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง
ชอบคนที่พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนที่พร้อมเพรียงกัน
เพลิดเพลินในคนที่พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน.

๖. พระสมณโคดม
ละคำหยาบ
เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ ไม่มีโทษ
เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ
เป็นคำของชาวเมือง คนโดยมากรักใคร่ ชอบใจ.

๗. พระสมณโคดม
ละคำเพ้อเจ้อ
เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ
พูดถูกกาล พูดคำจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย
พูดคำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด
ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร.

๘. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม.

๙. พระสมณโคดม
ฉันอาหารหนเดียว
เว้นการฉันในราตรี งดการฉันในเวลาวิกาล.

๑๐. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก.

๑๑. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกาย
ด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิว ซึ่งเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.

๑๒. พระสมณโคดม เว้นขาดจากที่นอนที่นั่งสูง และที่นอนที่นั่งใหญ่.
๑๓. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
๑๔. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับธัญญชาติดิบ.
๑๕. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
๑๖. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับสตรีและเด็กหญิง.
๑๗. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
๑๘. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
๑๙. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
๒๐. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
๒๑. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับนาและไร่.
๒๒. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเป็นทูตและการรับใช้.
๒๓. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการซื้อและการขาย.

๒๔. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง 
การโกงด้วยโลหะ และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด.

๒๕. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการรับสินบน
การล่อลวงและการตลบตะแลง.

๒๖ พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการฟัน การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น การจี้.
จบจุลศีล


มัชฌิมศีล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวชมอย่างนี้ว่า
๑.พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคามเห็นปานนี้อยู่เนือง ๆ คือ
พืชเกิดแต่เง่า
พืชเกิดแต่ลำต้น
พืชเกิดแต่ผล
พืชเกิดแต่ยอด
พืชเกิดแต่เมล็ด เป็นที่ห้า.

๒. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการบริโภคของที่สะสมไว้
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังประกอบการบริโภคของที่สะสมไว้เห็นปานนี้อยู่เนือง ๆ คือ
สะสมข้าว
สะสมน้ำ
สะสมผ้า
สะสมยาน
สะสมที่นอน
สะสมเครื่องประเทืองผิว
สะสมของหอม
สะสมอามิส.

๓. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังขวนขวายดูการเล่น  ที่เป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้อยู่เนือง ๆ คือ
การฟ้อน การขับร้อง
การประโคม มหรสพ มีการรำ เป็นต้น
การเล่านิยาย
การเล่นปรบมือ
การเล่นปลุกผี
การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้านเมืองที่สวยงาม
การเล่นของคนจัณฑาล
การเล่นไม้สูง
การเล่นหน้าศพ
ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ
ชนไก่ ชนนกกระทา รำกระบี่กระบอง
 มวยชก มวยปล้ำ
สนามรบ
การตรวจพล
การจัดกระบวนทัพ
การดูกองทัพ.

๔. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการขวนขวายเล่นการพนัน
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังขวนขวายเล่นการพนัน
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเห็นปานนี้อยู่เนือง ๆ คือ
เล่นหมากรุกแถว ละแปดตา แถวละสิบตา
เล่นหมากเก็บ
เล่นดวด
เล่นหมากไหว
เล่นโยนบ่วง
เล่นไม้หึ่ง
เล่นกำทาย เล่นสะกา
เล่นเป่าใบไม้
เล่นไถนาน้อย ๆ
เล่นหกคะเมน
เล่นกังหัน
เล่นตวงทราย
เล่นรถน้อย ๆ
เล่นธนูน้อย ๆ
เล่นทายอักษร
เล่นทายใจ
เล่นเลียนคนพิการ.

๕. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉัน โภชนะที่เขา ให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงให้เห็นปานนี้อยู่เนือง ๆ คือ
เตียงมีเท้าเกินประมาณ
เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย
พรมทำด้วยขนสัตว์
เครื่องลาดทำด้วยขนแกะอันสวยงาม
เครื่องลาดทำด้วยขนแกะสีขาว
เครื่องลาดทำด้วยขนแกะเป็นรูปดอกไม้
เครื่องลาดที่ยัดนุ่น
เครื่องลาดทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ต่าง ๆ
เครื่องลาดทำด้วยขนแกะมีขนตั้ง
เครื่องลาดทำด้วยขนแกะมีขนข้างเดียว
เครื่องลาดทำด้วยทองและเงินแกมไหม
เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน
เครื่องลาดขนแกะและจุหญิงฟ้อนได้ ๑๖ คน
เครื่องลาดหลังช้าง
เครื่องลาดหลังม้า
เครื่องลาดในรถ
เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังเสือ
เครื่องลาดอย่างดี ที่ทำด้วยหนังชะมด
เครื่องลาดมีเพดาน
เครื่องลาดมีหมอนสองข้าง.

๖. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการประดับตกแต่งร่างกาย
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังขวนขวายประดับตกแต่งร่างกายเห็นปานนี้อยู่เนือง ๆ คือ
อบตัว
ไคลอวัยวะ
อาบน้ำหอม
นวด
ส่องกระจก
แต้มตา
ทัดดอกไม้
ประเทืองผิว
ผัดหน้า
ทาปาก
ประดับข้อมือ
สวมเกี้ยว
ใช้ไม้เท้า
ใช้กลักยา
ใช้ดาบ
ใช้มีดสองคม
ใช้ร่ม
สวมรองเท้าสวยงาม
ติดกรอบหน้า
ปักปิ่น
ใช้พัดวาลวีชนี
นุ่งห่มผ้าขาว
นุ่งห่มผ้ามีชายยาว.

๗. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากติรัจฉานกถา
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังประกอบดิรัจฉานกถาเห็นปานนี้อยู่เนือง ๆ คือ
เรื่องพระราชา
เรื่องโจร
เรื่องมหาอำมาตย์
เรื่องกองทัพ
เรื่องภัย
เรื่องสงคราม
เรื่องข้าว 
เรื่องน้ำ
เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ
เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท
เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้า เรื่องตรอก
เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก
เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ.

๘. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการพูดแก่งแย่งกัน
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังพูดแก่งแย่งกันเห็นปานนี้อยู่เนือง ๆ คือ
ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง
ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร
ท่านปฏิบัติผิดข้าพเจ้าปฏิบัติถูก
คำพูดของข้าพเจ้ามีประโยชน์ ของท่านไม่มีประโยชน์
คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวทีหลัง
คำที่ควรจะกล่าวทีหลัง ท่านกล่าวก่อน
ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาได้ผันแปรไปแล้ว
ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้
ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว
ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ.

๙. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการเป็นทูต และการรับใช้
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา
แล้ว ยังขวนขวายประกอบการเป็นทูตและการรับใช้เห็นปานนี้อยู่เนือง ๆ คือ
รับเป็นทูตของพระราชา
มหาอำมาตย์ของพระราชา
กษัตริย์พราหมณ์ คฤหบดี และกุมารว่า
จงไปที่นี้ จงไปที่โน้น จงนำเอาสิ่งนี้ไป
จงนำเอาสิ่งในที่โน้นมา ดังนี้.

๑๐. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการพูดหลอกลวง และการพูดเลียบเคียง
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขา ให้ด้วยศรัทธาแล้ว
พูดเลียบเคียง
พูดหว่านล้อม
พูดและเล็ม
แสวงหาด้วยลาภ.
จบมัชฌิมศีล

มหาศีล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวชมอย่างนี้ว่า
๑. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่ เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ 
ทายอวัยวะ
ทายนิมิต
ทายอุปบาต
ทำนายฝัน
ทำนายลักษณะ
ทำนายหนูกัดผ้า
ทำพิธีบูชาไฟ
ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน
ทำพิธี ซัดแกลบบูชาไฟ
ทำพิธี ซัดรำบูชาไฟ
ทำพิธี ซัดข้าวสารบูชาไฟ
ทำพิธี เติมเนยบูชาไฟ
ทำพิธี เติมน้ำมันบูชาไฟ
ทำพิธี เสกเป่าบูชาไฟ
ทำพลีกรรมด้วยโลหิต
เป็นหมอดูอวัยวะ
ดูลักษณะพื้นที่
ดูลักษณะที่ไร่นา
เป็นหมอปลุกเสก
เป็นหมอผี 
เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน
เป็นหมองู
เป็นหมอยาพิษ
เป็นหมอแมลงป่อง 
เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด
เป็นหมอทายเสียงนก
เป็นหมอทายเสียงกา 
เป็นหมอทายอายุ
เป็นหมอเสกกันลูกศร
เป็นหมอดูรอยเท้าสัตว์

๒. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉัน โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
ทายลักษณะแก้วมณี
ทายลักษณะไม้พลอง
ทายลักษณะผ้า
ทายลักษณะศาสตรา
ทายลักษณะดาบ
ทายลักษณะศร
ทายลักษณะธนู
ทายลักษณะอาวุธ
ทายลักษณะสตรี
ทายลักษณะบุรุษ
ทายลักษณะกุมาร
ทายลักษณะกุมารี
ทายลักษณะทาส
ทายลักษณะทาสี
ทายลักษณะช้าง
ทายลักษณะม้า
ทายลักษณะกระบือ
ทายลักษณะ โคอุสภะ
ทายลักษณะโค
ทายลักษณะแพะ
ทายลักษณะแกะ
ทายลักษณะไก่
ทายลักษณะนกกระทา
ทายลักษณะเหี้ย
ทายลักษณะช่อฟ้า
ทายลักษณะเต่า
ทายลักษณะมฤค.

๓. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก
พระราชาภายในจักเข้าประชิด
พระราชาภายนอกจักถอย
พระราชาภายนอกจักเข้าประชิด
พระราชาภายในจักถอย
พระราชาภายในจักมีชัย
พระราชาภายนอกจักปราชัย
พระราชาภายนอกจักมีชัย
พระราชาภายในจักปราชัย
พระราชาพระองค์นี้จักมีชัย
พระราชาพระองค์นี้จักปราชัยเพราะเหตุนี้ หรือเหตุนี้.

๔. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉัน โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง
ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง
ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง
จักมีอุกกาบาด จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก
ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักมัวหมอง
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักกระจ่าง
จันทรคราสจักมีผลอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลอย่างนี้
นักษัตรคราสจักมีผลอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลอย่างนี้
ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลอย่างนี้ อุกกาบาตจักมีผลอย่างนี้ ดาวหางจักมีผลอย่างนี้
แผ่นดินไหวจักมีผลอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผลอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผลอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผลอย่างนี้ ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลอย่างนี้.

๕. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
พยากรณ์ว่า
จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง
จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษาหาได้ยาก
จักมีความเกษม จักมีภัย
จักเกิดโรค
จักมีความสำราญหาโรคมิได้
หรือ นับคะแนน คำนวณ นับประมวล แต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์.

๖. พระสมณโคดม
เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
ให้ฤกษ์อาวาหมงคล
ฤกษ์วิวาหมงคล
ดูฤกษ์เรียงหมอน
ดูฤกษ์หย่าร้าง
ดูฤกษ์เก็บทรัพย์
ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์
ดูโชคดี
ดูเคราะห์ร้าย
ให้ยาผดุงครรภ์
ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง
ร่ายมนต์ให้คางแข็ง
ร่ายมนต์ให้มือสั่น
ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง
เป็นหมอทรงกระจก
เป็นหมอทรงหญิงสาว
เป็นหมอทรงเจ้าบวงสรวงพระอาทิตย์
บวงสรวงท้าวมหาพรหม
ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ.

๗. พระสมณะโคดม
เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
ทำพิธีบนบาน
ทำพิธีแก้บน
ร่ายมนต์ขับผี
สอนมนต์ป้องกัน
บ้านเรือน
ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย
ทำชายให้กลายเป็นกะเทย
ทำพิธีปลูกเรือน
ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่
พ่นน้ำมนต์
รดน้ำมนต์
ทำพิธีบูชาไฟ
ปรุงยาสำรอก
ปรุงยาถ่าย
ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน
ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง
ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ
หุงน้ำมันหยอดหู
ปรุงยาตา
ปรุงยานัตถุ์
ปรุงยาทากัด
ปรุงยาทาสมาน
ป้ายยาตา
ทำการผ่าตัด
รักษาเด็ก
ใส่ยา ชะแผล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข้อที่ปุถุชนกล่าวชมตถาคตด้วยประการใด
ซึ่งมีประมาณน้อยนัก ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีลนั้น เท่านั้นแล.
จบมหาศีล





28

ในกาลภายหลังแต่ ตติยสังคายนา
ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต จัก ปฏิบัติอย่างนี้.


[๓๙๕] ฤาษี มีชื่อตามโคตรว่า ปัณฑรสะ
ได้เห็นภิกษุเป็นอันมากที่น่าเลื่อมใส
มีตนอันอบรมแล้ว สำรวมด้วยดี

จึงได้ถาม พระปุสสเถระ ว่า

ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้
จักมีความพอใจอย่างไร
มีความประสงค์อย่างไร
กระผมถามแล้ว ขอจงบอกความข้อนั้นแก่กระผมเถิด.

พระปุสสเถระ
จึงกล่าวตอบด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า
ดูก่อนปัณฑรสฤาษี
ขอเชิญฟังคำ ของอาตมา
จงจำคำ ของอาตมาให้ดี
อาตมาจะบอกซึ่งข้อความที่ท่านถามถึงอนาคต คือ ในกาลข้างหน้า

ภิกษุเป็นอันมาก
จักเป็นคนมักโกรธ
มักผูกโกรธไว้
ลบหลู่คุณเท่านี้
หัวดื้อ โอ้อวด ริษยา
มีวาทะต่าง ๆ กัน
จักเป็นผู้มีมานะ ในธรรมที่ยัง ไม่รู้ทั่วถึง
คิดว่า ตื้น ในธรรม ที่ลึกซึ้ง
เป็นคนเบา ไม่เคารพธรรม
ไม่มีความเคารพกันและกัน
ในกาลข้างหน้า
โทษเป็นอันมากจักเกิดขึ้นในหมู่สัตว์โลก

ก็เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ไร้ปัญญา
จักทำ ธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนี้ ให้เศร้าหมอง
ทั้งพวกภิกษุที่มีคุณอันเลว โวหารจัด แกล้วกล้า
มีกำลังมาก ปากกล้า ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ก็จักมีขึ้นในสังฆมณฑล

ภิกษุทั้งหลาย ในสังฆมณฑล
แม้ที่มีคุณความดี
มีโวหารโดยสมควรแก่เนื้อความ
มีความละอายบาป
ไม่ต้องการอะไรๆ ก็จักมีกำลังน้อย

ภิกษุทั้งหลายในอนาคต ที่ทรามปัญญา ก็จะพากันยินดี
เงินทอง ไร่นา ที่ดิน แพะ แกะ และคนใช้หญิงชาย
จักเป็นคนโง่
มุ่ง แต่จะยกโทษคนอื่น
ไม่ดำรงมั่นอยู่ในศีล
ถือตัว โหดร้าย
เที่ยวยินดี แต่การทะเลาะวิวาท

จักมีใจฟุ้งซ่าน
นุ่งห่มแต่จีวรที่ย้อมสีเขียว แดง
เป็นคนลวงโลก
กระด้าง เป็นผู้แส่หาแต่ลาภผล
เที่ยวชูเขา คือ มานะ
ทำตนดั่งพระอริยเจ้า ท่องเที่ยวไปอยู่

เป็นผู้แต่งผมด้วยน้ำมัน
ทำให้มีเส้นละเอียด เหลาะแหละ
ใช้ยาหยอดและทาตา
มีร่างกายคลุมด้วยจีวรที่ย้อมด้วยสีงา

สัญจรไปตามตรอกน้อยใหญ่
จักพากันเกลียดชัง ผ้าอันย้อมด้วยน้ำฝาด เป็นของไม่น่าเกลียด

พอใจแต่ในผ้าขาว ๆ จักเป็นผู้มุ่งแต่ลาภผล
เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม

เห็นการอยู่ป่าอันสงัดเป็นความลำบาก
จักใคร่อยู่ในเสนาสนะ ที่ใกล้บ้าน

ภิกษุเหล่าใด ยินดี มิจฉาชีพ จักได้ลาภเสมอๆ
จักพากันประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น
(เที่ยวคบหาราชสกุลเป็นต้น เพื่อให้เกิดลาภแก่ตน)
ไม่สำรวมอินทรีย์เที่ยวไป

อนึ่ง ในอนาคตกาล
ภิกษุทั้งหลาย จะไม่บูชา พวกภิกษุที่มีลาภน้อย
จัก ไม่สมคบภิกษุ ที่เป็นนักปราชญ์ มีศีลเป็นที่รัก
จักทรงผ้าสีแดง ที่ชนชาวมิลักขะ ชอบย้อมใช้
พากันติเตียน ผ้าอันเป็นธงชัย ของตนเสีย

บางพวกก็นุ่งห่มผ้าสีขาว
อันเป็นธงของพวกเดียรถีย์

อนึ่ง ในอนาคตกาล
ภิกษุเหล่านั้นจักไม่เคารพในผ้ากาสาวะ
จักไม่พิจารณาในอุบายอันแยบคาย บริโภคผ้ากาสาวะ

เมื่อทุกข์ครอบงำ
ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว ก็ไม่พิจารณาโดยแยบคาย

แสดงอาการยุ่งยาก ในใจออกมา
มีแต่เสียงโอดครวญ อย่างใหญ่หลวง


อนึ่ง
ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต

จักเป็นผู้มีจิตใจชั่วร้าย
ไม่เอื้อเฟื้อ จักข่มขี่ภิกษุทั้งหลายผู้คงที่ มีเมตตาจิต

แม้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นคนโง่เขลา มีปัญญาทราม
ไม่สำรวมอินทรีย์ กระทำตามความใคร่
ถึงพระเถระ ให้ศึกษาการใช้สอยผ้าจีวร ก็จักไม่เชื่อฟัง

พวกภิกษุที่โง่เขลาเหล่านั้น
อันพระเถระทั้งหลายให้การศึกษาแล้วเหมือนอย่างนั้น
จักไม่เคารพกันและกัน ไม่เอื้อเฟื้อนาย
เพระอุปัชฌายาจารย์ จักเป็นเหมือนม้าพิการ
ไม่เอื้อเฟื้อนายสารถีฉะนั้น

ในกาลภายหลังแต่ตติยสังคายนา
ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต จักปฏิบัติอย่างนี้.


ครั้นพระปุสสเถระ
แสดงมหาภัยอันจะบังเกิดขึ้น ในกาลภายหลังอย่างนี้แล้ว
เมื่อจะให้โอวาทภิกษุที่ประชุมกัน ณ ที่นั้นอีก
จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า
ภัยอย่างใหญ่หลวงที่จะทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติ
ย่อมมาในอนาคตอย่างนี้ก่อน
ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ว่าง่าย
จงพูดแต่ถ้อยคำที่สละสลวย มีความเคารพกันและกัน
มีจิตเมตตากรุณาต่อกัน จงสำรวมในศีล ปรารภความเพียร
มีใจเด็ดเดี่ยวบากบั่นอย่างมั่นเป็นนิตย์

ขอท่านทั้งหลายจงเห็นความประมาท โดยความเป็นภัย
และจงเห็นความไม่ประมาท โดยความเป็นของปลอดภัย
แล้วจงอบรม อัฏฐังคิกมรรค
เมื่อทำได้ดังนี้แล้ว ย่อมจะบรรลุนิพพานอันเป็นทางไม่เกิดไม่ตาย.

อรรถกถาติงสนิบาต
[/b][/color]




29

กรรมที่เป็นเหตุให้เกิดเป็นมนุษย์และเทวดา
[๑๑๐๕] คนทั้งหลาย ให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรมแล้ว เกิดที่ไหน ?
คนทั้งหลาย ให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรมแล้ว
บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง กษัตริย์ผู้มหาศาล
บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง พราหมณ์ผู้มหาศาล
บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง คหบดีผู้มหาศาล
บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง เหล่าเทวดา ชั้นจาตุมหาราช
บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง เหล่าเทวดา ชั้นดาวดึงส์
บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง เหล่าเทวดา ชั้นยามา
บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง เหล่าเทวดา ชั้นดุสิต
บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง เหล่าเทวดา ชั้นนิมมานรดี
บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง เหล่าเทวดา ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.

ประมาณแห่งอายุของมนุษย์
[๑๑๐๖] อายุของเหล่ามนุษย์ มีประมาณเท่าไร ?
คือ ประมาณ ๑๐๐ ปี
ต่ำกว่าบ้าง
เกินกว่าบ้างก็มี.

ประมาณแห่งอายุของเทวดาเทียบกับมนุษย์
อายุของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช มีประมาณเท่าไร ? คือ
๕๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช,
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน, ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑ ปี.
๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๙ ล้านปี.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ มีประมาณเท่าไร ? คือ
๑๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์,
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑ปี.
๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๓ โกฏิ ๖ ล้านปี.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นยามา มีประมาณเท่าไร ?
คือ ๒๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นยามา,
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน, ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑
ปี. ๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นยามา.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๑๔ โกฏิ ๔ ล้านปี.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นดุสิต มีประมาณเท่าไร ? คือ
๔๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นดุสิต,
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน, ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี,
๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นดุสิต.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๕๗ โกฏิ ๖ ล้านปี.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี มีประมาณเท่าไร ? คือ
๘๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี,
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑ ปี,
๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๒๓๐ โกฏิ ๔ ล้านปี.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มีประมาณเท่าไร ? คือ
๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี,
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน, ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี,
๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๙๒๑ โกฏิ ๖ ล้านปี.

พวกเทวดากามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น เพียบพร้อมไปด้วยกามคุณทั้งปวง
อายุของพวกเทวดากามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น
นับรวมกันทั้งหมดเป็นเท่าไร เป็น ๑,๒๒๘ โกฏิ ๕ ล้านปี โดยนับอย่างปีมนุษย์.


ประมาณแห่งอายุของรูปพรหม
[๑๑๐๗] ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นพรหมปาริสัชชา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณเท่าส่วนที่ ๓ ที่ ๔ แห่งกัป [คือ ๑ ใน ๓ หรือ ๑ ใน ๔แห่งกัป].

ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นพรหมปุโรหิตา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณกึ่งกัป.

ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นมหาพรหมา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๑ กัป.

ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นปริตตาภา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๒ กัป.


ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอัปปมาณาภา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๔ กัป.

ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอาภัสสรา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๘ กัป.

ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างสามัญไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นปริตตสุภา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๑๖ กัป.

ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอัปปมาณสุกา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๓๒ กัป.

ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นสุภกิณหา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๖๔ กัป.

ผู้เจริญจตุตถฌาน
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาเหล่าอสัญญสัตว์
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นเวหัปผลา

บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอวิหา
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอตัปปา
บางคนไปเกิดพวกเทวดาชั้นสุทัสสา
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นสุทัสสี
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอกนิฏฐา

บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ

เพราะอารมณ์ต่างกัน
เพราะมนสิการต่างกัน
เพราะฉันทะต่างกัน
เพราะปณิธิต่างกัน
เพราะอธิโมกข์ต่างกัน
เพราะอภินีหารต่างกัน
เพราะปัญญาต่างกัน.


อายุของเหล่าเทวดาอสัญญสัตว์ และ
เหล่าเทวดาชั้นเวหัปผลามีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๕๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาชั้นอวิหา มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๑,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาชั้นอตัปปา มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๒,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาชั้นสุทัสสา มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๔,๐๐๐ กัป.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นสุทัสสี มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๘,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาชั้นอกนิฏฐา มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๑๖,๐๐๐ กัป.

ประมาณแห่งอายุของอรูปพรหม
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๒๐,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงวิญญานัญจายตนภพ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๔๐,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๖๐,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๘๔,๐๐๐ กัป.

เหล่าสัตว์ที่มีอำนาจแห่งบุญส่งเสริม ไปแล้วสู่กามภพ และรูปภพ หรือแม้ไปสู่ภวัคคพรหม
ย่อมกลับสู่ทุคติอีกได้ เหล่าสัตว์มีอายุยืนถึงเพียงนั้น ก็ยังจุติเพราะสิ้นอายุ ภพไหน ๆ ชื่อว่า เที่ยงไม่มี

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้ตรัสไว้อย่างนี้

เพราะฉะนั้นแล เหล่านักปราชญ์ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดรอบคอบ คำนึงถึงความจริงข้อนี้
จึงเจริญมรรคอันอุดมเพื่อพ้นจากชรามรณะ
ครั้นเจริญมรรคอันบริสุทธิ์สะอาด ซึ่งมีปกติยังสัตว์ให้หยั่งถึงพระนิพพานแล้ว
ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน เพราะกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงฉะนี้แล.
[/size]





30
[๓๑๙] ธาตุ ๖
๑. ปฐวีธาตุ ธาตุดิน
๒. อาโปธาตุ ธาตุน้ำ
๓. เตโชธาตุ ธาตุไฟ
๔. วาโยธาตุ ธาตุลม
๕. อากาสธาตุ ธาตุที่สัมผัสไม่ได้
๖. วิญญาณธาตุ ธาตุรู้.

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6