ติดต่อ :- |
:- ชื่อ |
Tel.(โทร) |
Line : ID |
E-mail : |
อื่นๆ |
สอบถามปัญหาธรรม |
อาจารย์เกษม ดวงแพงมาต |
0868533355 |
- |
- |
|
สอบถามเกี่ยวกับการเข้าพัก/ทำบุญ/เข้าพบ อ.เกษม |
นายสุวิทย์ เมืองมีศรี |
0836766449 |
0836766449 |
suwit.muang@gmail.com |
|
แจ้งปัญหาการใ้ช้งานเว็บ samyaek |
ว่าที่ร.ต.อภิวิชญ์ แก้วดี |
0905694956 |
- |
k.abhiwich@gmail.com |
|
วัดสามแยก หมู่ 9 ตำบลวังกวาง อำเภอนำ้หนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ 67260
ประมาณพ.ศ.2536 หลวงปู่เฉลิม ธมฺมธโร ได้มาดำเนินงานโครงการปลูกป่าถาวร เฉลิมพระเกียรติ
ณ บริเวณหมู่บ้านดงคล้อ – บ้านห้วยยางทอง ขึ้น เพื่อฟื้นฟูสภาพป่า ที่ถูกทำลาย และเพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับศึกษาพระธรรมของผู้สนใจทั่วไป
การดำเนินงานโครงการปลูกป่าฯ นี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายๆฝ่ายเช่น หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน แห่งวัดป่าบ้านตาด รวมทั้ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และได้รับบริจาคจากผู้ที่มีจิตศรัทธาในโครงการฯ ทั่วๆไปด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ธนาคารแหลมทอง จำกัด (มหาชน) ได้สนับสนุน
งบประมาณในการดำเนินงานของโครงการเพิ่มเติมด้วย
ในการดำเนินงานโครงการฯ นั้น จำเป็นที่จะต้องอาศัยแรงงานจากชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อทำการแผ้วถางพื้นที่ – ปลูกกล้าไม้ – ป้องกันไฟป่า ฯลฯ
ฉะนั้น เมื่อหลวงปู่เฉลิม ธมฺมธโร ได้ทราบว่า หลวงปู่เกษม อาจิณฺณสีโล ได้พักอาศัยอยู่ที่สำนักสงฆ์บ้านห้วยยางทอง
ซึ่งชาวบ้านก็ได้ให้ความเคารพเลื่อมใสในตัวท่านหลวงปู่เกษมอยู่บ้าง หลวงปู่เฉลิม จึงได้ชักชวนหลวงปู่เกษม ให้มาช่วยกันทำงานในโครงการปลูกป่าฯ ด้วยกัน
ต่อมา เมื่อ พ.ศ.2542 โครงการปลูกป่าฯ เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาดีแล้ว ประกอบกับทางวัดป่าภูแปก บ้านกกบก ตำบลหนองงิ้ว อำเภอวังสะพุง จ.เลย
ที่หลวงปู่เฉลิมเคยอยู่ปกครองมาก่อน ขาดพระเถระที่จะอยู่อบรมธรรมะให้กับชาวบ้าน และชาวบ้านภูแปกเองก็ต้องการให้หลวงปู่เฉลิม
กลับไปจำพรรษาที่วัดป่าภูแปกด้วย
เมื่อออกพรรษา พ.ศ. 2542 หลวงปู่เฉลิมจึงได้เดินทางไปอยู่อบรมชาวบ้าน ที่วัดป่าภูแปกเหมือนเดิม
โดยภาระต่างๆ ของวัดสามแยกทั้งหมด หลวงปู่เกษม อาจิณฺณสีโล รับภาระในการดูแลรับผิดชอบทั้งหมดตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้
และวัดสามแยกนี้ขึ้นกับ หมู่บ้านห้วยยางทอง หมู่ 9 ตำบลวังกวาง อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์
ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่หลวงปู่เกษม อาจิณฺณสีโล ได้มาพำนักอยู่ใกล้หมู่บ้านนั้น ตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2533 และเมื่อวันที่ 14 ก.พ.2537
จึงได้ขึ้นมาช่วยงานหลวงปู่เฉลิมบนภูเขาซึ่งเป็นที่ตั้งวัดในปัจจุบันนี้ เพราะฉะนั้นวัดสามแยกจึงได้ขึ้นบัญชีวัดกับหมู่บ้านห้วยยางทอง
และชาวบ้านห้วยยางทองก็เป็นผู้อุปถัมภ์วัดสามแยกมาอย่างมั่นคง ตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค.2533 มาจนถึงบัดนี้
เมื่อก่อนนั้นวัดสามแยกนี้คนทั้งหลายจะรู้จักกันในนามว่า “สำนักสงฆ์ห้วยผึ้ง” แต่ปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนชื่อเรียกมาเป็น “วัดสามแยก”
เพราะว่ามีหมู่บ้านชื่อว่าสามแยก ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดเท่าใดนัก เพราะฉะนั้นคนทั้งหลาย จึงเรียกชื่อสำนักสงฆ์ไปตามชื่อหมู่บ้าน
ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลนั้น ทางสำนักสงฆ์จึงได้อนุโลมเรียกไปตามชื่อที่คนทั้งหลายเรียกกัน แต่ตามความเป็นจริงแล้ว หมู่บ้านสามแยกนั้น
ถือกันว่าเป็นคุ้มสามแยก เพราะในขณะนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้านดงคล้อ เอกสารทางราชการ ของคนหมู่บ้านสามแยก จึงขึ้นกับหมู่บ้านดงคล้อทั้งหมด
สำหรับพื้นที่ของวัดสามแยกจากเดิมที่มีพื้นที่ประมาณ 2,735 ไร่ บัดนี้ มีผู้แลกสิทธิที่ดินของชาวบ้านถวายเพิ่มขึ้นอีกเพื่อปลูกป่า
เป็นพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ และจะดูความเหมาะสมในการพิจารณา รับพื้นที่เพื่อปลูกป่าต่อไปอีกในอนาคต
เพราะฉะนั้นพื้นที่ปลูกป่าของวัดสามแยกจึงยังไม่แน่นอน แต่พื้นที่ทั้งหมดเมื่อปลูกป่าแล้ว ก็คือการคืนให้กรมป่าไม้ไปพร้อมแล้ว
พระไตรปิฎก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นหูที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นกายที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นใจที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง
พระวัดสามแยก ไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจให้กับทุกคนได้
ผู้ใดสามารถที่จะเข้าใจในสิ่งที่พวกเราอธิบาย ก็ไปด้วยกันกับพวกเราได้
ก็จงอยู่ศึกษาเล่าเรียนธรรมของพระพุทธเจ้าด้วยกันกับพวกเรา
ส่วนผู้ใดเมื่อฟังพวกเราอธิบายธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้
ก็ควรไปหาผู้อื่นที่สามารถจะอธิบายให้ท่านเข้าใจได้
และควรปล่อยให้พวกเราได้ดำเนินไปตามเรื่องของพวกเรา
ประกาศให้ทราบ จาก พระวัดสามแยก