เรื่องยาที่พระควรให้ และ ไม่ควรให้ เล่ม2หน้า432
[ภิกษุควรทำยาให้คน ๑๐ จำพวก]
ภิกษุควรทำยาให้แก่ชน ๑๐ จำพวก แม้อื่นอีก คือ
พี่ชาย ๑
น้องชาย ๑
พี่หญิง ๑
น้องหญิง ๑
น้าหญิง ๑
ป้า ๑
อาชาย ๑
ลุง ๑
อาหญิง ๑
น้าชาย ๑.
ก็เมื่อจะทำให้แก่ชนมีพี่ชายเป็นต้นนั้นแม้ทั้งหมด
ควรเอาเภสัชอันเป็นของ ๆ คนเหล่านั้นนั่นแล ปรุงให้อย่างเดียว,
แต่ถ้าสิ่งของ ๆ ชนเหล่านั้น ไม่เพียงพอ และชนเหล่านั้นก็ขอร้องอยู่ว่า
ท่านขอรับ ! โปรดให้พวกกระผมเถิด พวกกระผมจักถวายคืนแก่พระคุณท่าน, ควรให้เป็นของยืม,
ถึงหากพวกเขาไม่ขอร้อง, ภิกษุควรพูดว่า อาตมา มีเภสัชอยู่,
พวกท่านจงถือเอาเป็นของยืมเถิด หรือ ควรทำความผูกใจไว้ว่า สิ่งของ ๆ ชนเหล่านั้น
จักมีเมื่อใด เขาจักให้เมื่อนั้น ดังนี้ แล้วพึงให้ไป.
ถ้าเขาคืนให้ควรรับเอา,
ถ้าไม่คืนให้ ไม่ควรทวง.
เว้นญาติ ๑๐ จำพวกเหล่านั้นเสีย ไม่ควรให้เภสัชแก่ชนเหล่าอื่น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 433
ก็เมื่อภิกษุใช้ให้ญาตินำจตุปัจจัยมาตราบเท่าจนถึง ๗ ชั่วเครือสกุล โดยสืบ ๆ กันมาแห่งบุตรของญาติ ๑๐ จำพวก
มีพี่ชายเป็นต้นเหล่านั้นไม่เป็นการทำวิญญัติ เมื่อทำเภสัช (แก่ชนเหล่านั้น) ก็ไม่เป็นเวชกรรม
หรือ ไม่เป็นอาบัติ เพราะประทุษร้ายสกุล.
ถ้าพี่สะใภ้ น้องสะใภ้ หรือพี่เขย น้องเขย เป็นไข้,
ถ้าเขาเป็นญาติ, จะทำเภสัชแก่ญาติแม้เหล่านั้น ก็ควร.
ถ้าเขามิใช่ญาติพึงทำให้แก่พี่ชาย และพี่หญิง
ด้วยสั่งว่า จงให้ในที่ปฏิบัติของพวกท่าน.
อีกอย่างหนึ่ง
พึงทำให้แก่บุตรของเขา ด้วยสั่งว่า จงให้แก่มารดาและบิดาของพวกเจ้าเถิด.
พึงทราบวินิจฉัยในบททั้งปวงโดยอุบายนี้.
อันภิกษุเมื่อจะใช้สามเณรทั้งหลาย ให้นำเภสัชมาจากป่า
เพื่อประโยชน์แก่พี่สะใภ้
น้องสะใภ้เป็นต้นเหล่านั้น
ควรใช้พวกสามเณรที่เป็นญาติให้นำมา หรือ
พึงให้นำมาเพื่อประโยชน์แก่ตนแล้วจึงให้ไป.
แม้พวกสามเณรผู้ ไม่ใช่ญาติเหล่านั้นก็ควรนำมาด้วยหัวข้อวัตรว่า
พวกเราจะนำมาถวายพระอุปัชฌายะ.
โยมมารดาและบิดาของพระอุปัชฌายะ เป็นไข้ มายังวิหาร, และ
พระอุปัชฌายะหลีกไปสู่ทิศเสีย.
สัทธิวิหาริก ควรให้เภสัชอัน เป็นของ ๆ พระอุปัชฌายะ.
ถ้าไม่มีควรบริจาคเภสัชของตน ถวายพระอุปัชฌายะให้ไป.
แม้เมื่อของ ๆ ตนก็ไม่มีควรแสวงหาทำให้เป็นของ ๆ พระอุปัชฌายะ
แล้วให้ไป โดยนัยดังกล่าวแล้ว.ในโยม
มารดาและ
บิดา
ของสัทธิวิหาริก
แม้พระอุปัชฌายะก็ควรปฏิบัติเหมือน อย่างนั้นเหมือนกัน.
ในอาจารย์และอันเตวาสิกก็นัยนี้.
[ภิกษุควรทำยาให้ คน ๕ จำพวก]
บุคคลแม้อื่นใด คือ
คนจรมา ๑
โจร ๑
นักรบแพ้ ๑
ผู้เป็นใหญ่ ๑
คนที่พวกญาติสละเตรียมจะไป ๑
เป็นไข้ เข้าไปสู่วิหาร
ภิกษุผู้ไม่หวังตอบแทน
ควรทำเภสัช แก่คนทั้งหมดนั้น.
ตระกูลที่มีศรัทธาบำรุงด้วย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 434
ปัจจัย ๔ ย่อมตั้งอยู่ในฐานเป็นมารดาและบิดาของภิกษุสงฆ์.
ถ้าในตระกูลนั้นมีคนบางคน เป็นไข้,
ชนทั้งหลายเรียนขอเพื่อประโยชน์แก่ผู้เป็นไข้นั้นว่าท่านขอรับ !
ขอพระคุณท่านทำเภสัชให้ ด้วยความวิสาสะเถิด, ไม่ควรให้ ทั้งไม่ควรทำเลย.
ก็ถ้าพวกเขารู้สิ่งที่ควร เรียนถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ !
เขาปรุงเภสัชอะไรแก้โรคชื่อโน้น ?
ภิกษุจะตอบว่า เขาเอาสิ่งนี้และสิ่งนี้ทำ(เภสัช) ดังนี้ ก็ควร.
ก็ภิกษุถูกคฤหัสถ์เรียนถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ !มารดาของกระผมเป็นไข้
ขอได้โปรดบอกเภสัชด้วยเถิด ดังนี้ ไม่ควรบอก.
แต่ควรสนทนาถ้อยคำกะกันและกันว่า อาวุโส !
ในโรคชนิดนี้ ของภิกษุชื่อโน้น เขาปรุงเภสัชอะไรแก้ ?
ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า เขาเอาสิ่งนี้และนี้ปรุงเภสัช ขอรับ !
ฝ่ายชาวบ้าน ฟังคำสนทนานั้นแล้ว ย่อมปรุงเภสัชแก่มารดา;
ข้อที่ภิกษุสนทนากันนั้น ย่อมควร.
[เรื่องพระมหาปทุมเถระสนทนาเรื่องยาแก้โรค]
ได้ยินว่า
แม้พระมหาปทุมเถระ เมื่อพระเทวีของพระเจ้าวสภะ เกิดประชวรพระโรคขึ้น
ก็ถูกนางนักสนมคนหนึ่งมาเรียนถาม ท่านก็ ไม่พูด ว่าไม่รู้
ได้สนทนากับพวกภิกษุเหมือนอย่างที่กล่าวมาแล้วนนี้แล.
ข้าราชบริพารฟังคำสนทนานั้นแล้ว ได้ปรุงเภสัชถวายแด่พระเทวีพระองค์นั้น.
และเมื่อพระโรคสงบลงแล้ว ข้าราชบริพารได้บรรทุกผอบเภสัชให้เต็ม
พร้อมทั้งไตรจีวรและกหาปณะ ๓๐๐ นำไปวางไว้ใกล้เท้าของพระเถระ
แล้ว เรียนว่า ท่านเจ้าข้า ! โปรดทำการบูชาด้วยดอกไม้เถิด.
พระเถระคิดว่า
นี้ชื่อว่าเป็นส่วนของอาจารย์ แล้วให้ไวยาจักรรับไว้ด้วยอำนาจเป็นของกับปิยะ
ได้ทำการบูชาด้วยดอกไม้แล้ว. ภิกษุควรปฏิบัติในเภสัชอย่างนี้ก่อน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 435