กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้
กระดานสนทนาธรรม

ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก บ้านห้วยยางทอง ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ 67260


กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10
21
ภาพการทำงานพัฒนาสถานีตำรวจภูธรน้ำหนาว ของอาจารย์เกษม เจ้าหน้าที่และครอบครัว วันที่ 19 สิงหาคม 2567






















22
ภาพการทำงานพัฒนาสถานีตำรวจภูธรน้ำหนาว ของอาจารย์เกษม เจ้าหน้าที่และครอบครัว วันที่ 17,18 สิงหาคม 2567

























24
ภาพการทำงานพัฒนาสถานีตำรวจภูธรน้ำหนาว ของอาจารย์เกษม เจ้าหน้าที่และครอบครัว วันที่ 9,11 สิงหาคม 2567



































25
ภาพการทำงานพัฒนาสถานีตำรวจภูธรน้ำหนาว ของอาจารย์เกษม เจ้าหน้าที่และครอบครัว วันที่ 6,8 สิงหาคม 2567























26
ภาพการทำงานพัฒนาสถานีตำรวจภูธรน้ำหนาว ของอาจารย์เกษม เจ้าหน้าที่และครอบครัว วันที่ 4 สิงหาคม 2567
















27
ภาพการทำงานพัฒนาสถานีตำรวจภูธรน้ำหนาว ของอาจารย์เกษม เจ้าหน้าที่และครอบครัว วันที่ 30,31 กรกฎาคม 2567

















28
ภาพการทำงานพัฒนาสถานีตำรวจภูธรน้ำหนาว ของอาจารย์เกษม เจ้าหน้าที่และครอบครัว วันที่ 27,28,29 กรกฎาคม 2567



















29



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 458
๑๐. วงศ์พระปทุมุตตรพุทธเจ้าที่ ๑๐
ว่าด้วยพระประวัติของปทุมุตตรพุทธเจ้า

[๑๑] ต่อจาก สมัยของพระนารทพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นยอดแห่ง
สัตว์สองเท้า พระชินะผู้ไม่กระเพื่อม เปรียบดังสาคร.
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในกัปใด กัปนั้น ชื่อว่า
มัณฑกัป หมู่ชนที่สั่งสมกุศลไว้ ก็ได้เกิดในกัปนั้น.
ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๑ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ
ธรรมาภิสมัยได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
แม้ต่อจากนั้น เมื่อพระองค์ทรงหลั่งฝนคือธรรมยังสัตว์ทั้งหลายให้เอิบอิ่ม
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่ สัตว์สามหมื่นเจ็ดพัน.
ครั้งพระมหาวีระ เข้าเฝ้าพระเจ้าอานันทะ เสด็จเข้าไปใกล้พระชนก ทรงลั่นอมตเภรี.
เมื่อทรงลั่นอมตเภรี ทรงหลั่งฝนคือธรรม
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่ สัตว์ห้าล้าน.
พระพุทธเจ้าผู้ฉลาดในเทศนา ทรงโอวาทให้สัตว์รู้ ยังสัตว์ทั้งปวงให้ข้ามโอฆสงสาร
ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 459
พระปทุมุตตรศาสดา ทรงมีสันนิบาตประชุมสาวก ๓ ครั้ง
สาวกแสนโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
ครั้งพระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ
จำพรรษา ณ เวภารบรรพต สาวกเก้าหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปอีก ผู้ออกจากคาม
นิคมและรัฐ บวชเป็นสาวกแปดหมื่นโกฏิประชุมกันเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
สมัยนั้น เราเป็นผู้ครองรัฐชื่อ ชฎิล ได้ถวายภัตตาหารพร้อมทั้งผ้า
แด่พระสงฆ์มีพระสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน.

พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์
ทรงพยากรณ์เราว่าจักเป็นพระพุทธเจ้า ในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์
ที่น่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 460
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้น อัสสัตถะ.

ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนาง มายา
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
พระอัครสาวกชื่อพระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อ พระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อพระเขมา และ พระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น เรียกว่าต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อนันทมาตา และอุตตรา.
พระโคดมผู้มีพระยศ พระองค์จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของพระผู้ไม่มีผู้เสมอ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้ว ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 461
ผิว่า พวกเราพลาดคำสั่งสอนของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเรา ก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสแม้ของพระองค์แล้วอธิษฐานข้อ
วัตรยิ่งยวดขึ้นไป ได้ทำความเพียรมั่นคงอย่างยิ่ง เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

ครั้งนั้น พวกเดียรถีย์ทั้งหมด มีใจผิดปกติ ใจเสีย
ถูกกำจัดความถือตัวและกระด้างแล้ว
บุรุษบางพวกของเดียรถีย์เหล่านั้น
ไม่ยอมบำรุงบำเรอก็ขับไล่เดียรถีย์เหล่านั้นออกไปจากรัฐ.
พวกเดียรถีย์ทั้งหมดประชุมกันในที่นั้น เข้าไปที่สำนักของพระพุทธเจ้า
ทูลวอนว่า ข้าแต่พระมหาวีระขอพระองค์โปรดเป็นสรณะ ด้วยเถิด.
พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ผู้เอ็นดู มีพระกรุณาแสวงประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง
ทรงตั้งเดียรถีย์ที่ประชุมกันทั้งหมด ไว้ในศีล ๕.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 462
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ไม่วุ่นวายอย่างนี้
ว่างเปล่าจากเดียรถีย์ทั้งหลายงดงามด้วย
พระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ชำนาญคงที่.

พระปทุมุตตรศาสดา
ทรงมีพระนครชื่อหังสวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอานันทะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุชาดา.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยเก้าพันปี
ทรงมีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อ นารี พาหนะ ยสวดี.
มีพระสนมนารี ที่แต่งกายงาม จำนวนสี่หมื่น
สามพันนาง มีพระอัครมเหสีพระนามว่า
พระนางวสุลทัตตา พระโอรสพระนามว่า พระอุตตระ.
พระผู้เป็นยอดบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท ทรงตั้งความเพียร ๗ วัน.

พระมหาวีระ ปทุมุตตระ ผู้นำพิเศษ
ผู้สงบ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรม ณ พระราชอุทยาน มิถิลาอันสูงสุด.

พระปทุมุตตรศาสดา
ทรงมีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระเทวิละ และพระสุชาตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสุมนะ.
พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระอมิตา และ พระอสมา
โพธิพฤกษ์เรียกว่า ต้นสลละต้นช้างน้าว.
อัครอุปัฏฐากชื่อว่า อมิตะ และติสสะ อัครอุปัฏฐายิกาชื่อว่า หัตถา และ สุจิตตา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 463
พระมหามุนี สูง ๕๘ ศอก
พระลักษณะประเสริฐ ๓๒ ประการ เช่นเดียวกับรูปปฏิมาทอง.
พระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไป ๑๒ โยชน์ โดยรอบ
ยอดเรือน บานประตู ฝา ต้นไม้ กองศิลา คือ ภูเขา ปิดกั้นพระรัศมีนั้นไม่ได้.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี
พระปทุมุตตรพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
ย่อมยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทั้งพระสาวก ยังชนเป็นอันมากให้ข้าม
แล้ว ตัดความสงสัยทุกอย่าง ก็ดับขันธปรินิพพาน
เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้ว ก็ดับไปฉะนั้น.
พระปทุมุตตรชินพุทธเจ้า ปรินิพพาน ณ พระวิหารนันทาราม
พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์ ณ ที่นั้น สูง ๑๒ โยชน์.
จบวงศ์พระปทุมุตตรพุทธเจ้าที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 464
พรรณนาวงศ์พระปทุมุตตรพุทธเจ้าที่ ๑๐
พระศาสนาของพระนารทพุทธเจ้าเป็นไปได้เก้าหมื่นปี ก็อันตรธาน.
กัปนั้นก็พินาศไป ต่อจากนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ไม่อุบัติในโลก
ตลอดอสงไขยแห่งกัปทั้งหลาย.
ว่างพระพุทธเจ้า มีแสงสว่างที่ปราศจากพระพุทธเจ้า.

แต่นั้น เมื่อกัปและอสงไขยทั้งหลายล่วงไป ๆ ในกัปหนึ่ง ที่สุดแสนกัปนับแต่กัปนี้
พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพิชิตมาร ปลงภาระ มีพระเมรุเป็นสาระ
ไม่มีสังสารวัฏ  มีสัตว์เป็นสาระ ยอดเยี่ยมเหนือโลกทั้งปวง
พระนามว่า ปทุมุตตระ ก็อุบัติขึ้นในโลก.

แม้พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากดุสิตนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสุชาดาเทวี
ผู้เกิดในสกุลที่มีชื่อเสียง อัครมเหสีของ พระเจ้าอานันทะ
ผู้ทำความบันเทิงจิตแก่ชนทั้งปวง กรุงหังสวดี.
พระนางสุชาดาเทวี นั้น อันทวยเทพอารักขาแล้ว ถ้วนกำหนดทศมาส
ก็ประสูติ พระปทุมุตตรกุมาร ณ พระราชอุทยานหังสวดี.
ในสมัยปฏิสนธิ และสมภพก็มีปาฏิหาริย์ ดังกล่าวแล้วแต่หนหลัง.

ดังได้สดับมา
ในสมัยพระราชกุมารพระองค์นั้น ทรงสมภพ ฝนดอกปทุมก็ตกลงมา.
ด้วยเหตุนั้น ในวันเฉลิมพระนามพระกุมาร
พระประยูรญาติทั้งหลายจึงเฉลิมพระนามว่า ปทุมุตตรกุมาร.
พระกุมารพระองค์นั้นทรงครองฆราวาสวิสัยหมื่นปี.
พระองค์มีปราสาท ๓ หลังเหมาะแก่ฤดูทั้งสาม ชื่อ นรวาหนะ ยสวาหนะ และ วสวัตดี
มีพระสนมนารีแสนสองหมื่นนาง
มีพระนางวสุทัตตาเทวี เป็นประมุข
 เมื่อ พระอุตตรกุมาร ผู้ยอดเยี่ยมด้วยพระคุณทุกอย่าง
พระโอรสของพระนางวสุทัตตาเทวีทรงสมภพแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 465
พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ ทรงพระดำริจักเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์
พอทรงพระดำริเท่านั้นปราสาทที่ชื่อว่า วสวัตดี ก็ลอยขึ้นสู่อากาศ
เหมือนจักรของช่างหม้อไปทางท้องอัมพร เหมือนเทพวิมาน และเหมือนดวงจันทร์เพ็ญ
ทำโพธิพฤกษ์ไว้ตรงกลางลงที่พื้นดิน เหมือนปราสาทที่กล่าวแล้ว
ในการพรรณนาวงศ์ของพระโสภิตพุทธเจ้า.

ได้ยินว่า
พระมหาบุรุษเสด็จลงจากปราสาทนั้น ทรงห่มผ้ากาสายะ
อันเป็นธงชัยแห่งพระอรหันต์ ซึ่งเทวดาถวาย ทรงผนวชในปราสาทนั้นนั่นเอง
ส่วนปราสาทกลับมาตั้งอยู่ในที่ตั้งเดิมของตน.
บริษัททุกคนที่ไปกับพระมหาสัตว์ พากันบวช เว้นพวกสตรี.
พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน
พร้อมกับผู้บวชเหล่านั้น วันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส
ที่ ธิดารุจานันทเศรษฐี อุชเชนีนิคม ถวายแล้ว ทรงพักกลางวัน ณ สาลวัน
เวลาเย็นทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่ สุมิตตะอาชีวก ถวาย
เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ ชื่อต้น สลละ ช้างน้าว
ทรงทำประทักษิณโพธิพฤกษ์นั้น ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๓๘ ศอก
ทรงนั่งขัดสมาธิ อธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔
ทรงกำจัดกองกำลังมารพร้อมทั้งตัวมาร
ยามที่ ๑ ทรงระลึกได้บุพเพนิวาส.
ยามที่ ๒ ทรงชำระทิพยจักษุให้บริสุทธิ์,
ยามที่ ๓ ทรงพิจารณาปัจจยาการออกจากจตุตถฌาน
มีอานาปานัสสติเป็นอารมณ์ แล้วหยั่งลงในขันธ์ ๕
ทรงเห็นลักษณะ ๕๐ ถ้วนด้วยสามารถแห่งความเกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป
ทรงเจริญวิปัสสนาจนถึงโคตรภูญาณแทงตลอดพระพุทธคุณทั้งสิ้น ด้วยอริยมรรค
ทรงเปล่งพระอุทานที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ประพฤติมาว่า
อเนกชาติสํสารํ ฯ เป ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา.
ได้ทราบว่า ครั้งนั้น ฝนดอกปทุมตกลงมา ประหนึ่งประดับทั่วภายในทั้งหมื่นจักรวาล.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 466
ต่อจากสมัยของพระนารทพุทธเจ้า
พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้า
พระชินะผู้ไม่หวั่นไหว เปรียบดังสาครที่ไม่กระเพื่อมฉะนั้น.
พระพุทธเจ้าได้อุบัติในกัปใด กัปนั้นเป็นมัณฑกัป
หมู่ชนผู้สั่งสมกุศลไว้ ก็ได้เกิดในกัปนั้น.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สาครูปโม ได้แก่ มีภาวะลึกล้ำเสมือนสาคร.
ในคำว่า มณฺฑกปฺโป วา โส อาสิ นี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์อุบัติในกัปใด กัปนี้ชื่อว่า มัณฑกัป.

จริงอยู่
กัปมี ๒ คือ สุญญกัป และอสุญญกัป
บรรดากัปทั้งสองนั้น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิ
ย่อมไม่อุบัติในสุญญกัป เพราะฉะนั้นกัปนั้น จึงเรียกว่า สุญญกัป
เพราะว่างเปล่าจากบุคคลผู้ที่คุณ.

อสุญญกัปนี้ ๕ คือ
สารกัป
มัณฑกัป
วรกัป
สารมัณฑกัป
ภัททกัป.
ในอสุญญกัปนั้นกัปที่ประกอบด้วยสาระคือคุณ เรียกว่า สารกัป
เพราะปรากฏ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่พระองค์เดียว.
ผู้กำเนิดคุณสาร ยังคุณสารให้เกิดส่วนในกัปใด
เกิดพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ กัปนั้นเรียกว่า มัณฑกัป.

ในกัปใด เกิดพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์
บรรดาพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์นั้น
พระองค์ที่ ๑ พยากรณ์พระองค์ที่ ๒
พระองค์ที่ ๒ พยากรณ์พระองค์ที่ ๓.
ในกัปนั้น มนุษย์ทั้งหลาย มีใจเบิกบาน ย่อมเลือก โดยปณิธานที่
คนปรารถนา เพราะฉะนั้น กัปนั้น จึงเรียกว่า วรกัป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 467
ส่วนในกัปเกิดพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ กัปนั้นเรียกว่า สารมัณฑกัป
เพราะประเสริฐกว่า มีสาระกว่า กัปก่อน ๆ
ในกัปใดเกิดพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ กัปนั้นเรียกว่า ภัททกัป.
ก็ภัททกัปนั้น หาได้ยากยิ่ง.
ก็กัปนั้น โดยมาก สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มากด้วยกัลยาณสุข.
โดยมาก ติเหตุกสัตว์ย่อมทำความสิ้นกิเลส ทุเหตุกสัตว์ย่อมถึงสุคติ.
อเหตุกสัตว์ ก็ได้เหตุ.
เพราะฉะนั้น กัปนั้น จึงเรียกว่า ภัททกัป.
ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า อสุญญกัปมี ๕ เป็นต้น.

สมจริงดังที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า
เอโก พุทฺโธ สารกปฺเป มณฺฑกปฺเป ชินา ทุเว
วรกปฺเป ตโย พุทฺธา สารมณฺเฑ จตุโร พุทฺธา
ปญฺจ พุทฺธา ภทฺทกปฺเป ตโต นตฺถาธิกา ชินา.
ในสารกัป มีพระพุทธเจ้า ๑ พระองค์
ในมัณฑกัป มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์
ในวรกัป มีพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์
ในสารมัณฑกัป มีพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์
ในภัททกัป มีพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์พระพุทธเจ้ามากกว่านั้นไม่มี ดังนี้.

ส่วนในกัปใด พระปทุมุตตรทศพลอุบัติ
กัปนั้นแม้เป็นสารกัป ท่านก็เรียกว่า มัณฑกัป
เพราะเป็นเช่นเดียวกับมัณฑกัป ด้วยคุณสมบัติ.
วาศัพท์พึงเห็นว่า ลงในอรรถอุปมา.
บทว่า อุสฺสนฺนกุสลา ได้แก่ ผู้สั่งสมบุญไว้.
บทว่า ชนตา ได้แก่ ชุมชนก็พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ.
ผู้เป็นยอดบุรุษ ทรงยับยั้ง ณ โพธิบัลลังก์ ๗ วัน
ทรงย่างพระบาทเบื้องขวา ด้วยหมายพระหฤทัยว่า จะวางพระบาทลงที่แผ่นดิน.
ลำดับนั้น
ดอกบัวบกทั้งหลายมีเกสรและช่อละเอียดไร้มลทิน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 468
มีใบดังเกิดในน้ำไม่หม่นหมองไม่บกพร่องแต่บริบูรณ์

ชำแรกแผ่นดินผุดขึ้นมา
บัวบกเหล่านั้นมีใบชิดกัน ๙๐ ศอก
เกสร ๓๐ ศอก
ช่อ ๑๒ ศอก
เรณูของดอกแต่ละดอกขนาดหม้อใหม่
ส่วนพระศาสดาสูง ๕๘ ศอก
ระหว่างพระพาหาสองข้างของพระองค์ ๑๘ ศอก
พระนลาต ๕ ศอก
พระหัตถ์และพระบาท ๑๑ ศอก.
พอพระองค์ทรงเหยียบช่อ ๑๒ ศอก
ด้วยพระบาท ๑๑ ศอก
เรณูขนาดหม้อใหม่ ก็ฟุ้งขึ้นกลบพระสรีระ ๕๘ ศอก
แล้วกลับท่วมทับ ทำให้เป็นเหมือนฝุ่นมโนศิลาป่นเป็นจุณ.

หมายเอาข้อนั้น
พระอาจารย์ผู้รจนาคัมภีรสังยุตตนิกายจึงกล่าวว่า
พระศาสดาปรากฏในโลกว่า พระปทุมุตตระ ดังนี้.

ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ ผู้ยอดเยี่ยมเหนือโลกทั้งปวง
ทรงรับอาราธนาของท้าวมหาพรหม
ทรงตรวจดูสัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นดังภาชนะรองรับพระธรรมเทศนา

ทรงเห็นพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ เทวละ และสุชาตะ กรุงมิถิลา ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
ทันใดก็เสด็จโดยทางอากาศ ลงที่พระราชอุทยานกรุงมิถิลา
ใช้พนักงานเฝ้าพระราชอุทยานให้เรียกพระราชกุมารทั้งสองพระองค์มาแล้ว
ทั้งสองพระองค์นั้น ทรงดำริว่า พระปทุมุตตรกุมาร โอรสของพระเจ้าอาของเรา ทรงผนวช.
ทรงบรรลุ พระสัมมาสัมโพธิญาณเสด็จถึงนครของเรา
จำเราจักเข้าไปเฝ้าพระองค์พร้อมด้วยบริวาร
ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ นั่งแวดล้อม.

ครั้งนั้น พระทศพล อันพระราชกุมารและบริวารเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงรุ่งโรจน์ดุจจันทร์เพ็ญ อันหมู่ดาวแวดล้อมแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ที่นั้น.
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๑ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 469
สมัยต่อมา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังมหาชนให้ร้อน ด้วยความร้อนในนรก
ทรงแสดงธรรมในสมาคมของสรทดาบส
ทรงยังหมู่สัตว์นับได้สามล้านเจ็ดแสน ให้ดื่มอมตธรรม

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากนั้น เมื่อทรงหลั่งฝนธรรม ให้สัตว์ทั้ง
หลายเอิบอิ่ม อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์สามล้านเจ็ดแสน.

ก็ครั้ง พระเจ้าอานันทมหาราช ปรากฏพระองค์ในกรุงมิถิลา
ในสำนักของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า
พร้อมด้วยบุรุษ [ทหาร] สองหมื่นและอมาตย์ยี่สิบคน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ
ทรงให้ชนเหล่านั้นบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาทุกคน อันชนเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
เสด็จไปทำการสงเคราะห์พระชนก
ประทับอยู่ ณ กรุงหังสวดี ราชธานี
ในที่นั้น พระองค์เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรม ในท้องนภากาศ
ตรัสพุทธวงศ์เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ในกรุงกบิลพัสดุ์
ครั้งนั้นธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์ห้าล้าน
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งพระมหาวีระ เข้าไปโปรดพระเจ้าอานันทะ
เสด็จเข้าไปใกล้พระชนก ทรงลั่นอมตเภรี.
เมื่อทรงลั่นอมตเภรีแล้ว ทรงหลั่งฝนคือ ธรรมอภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์ห้าล้าน.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อานนฺทํ อุปสงฺกมิ ตรัสหมายถึงพระเจ้าอานันทะ พระชนก.
บทว่า อาหนิ แปลว่า ลั่น (ตี).
บทว่า อาหเตก็คือ อาหตาย ทรงลั่นแล้ว.
บทว่า อมตเภริมฺหิ ก็คือ อมตเภริยา เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 470
กลองอมตะ พึงเห็นว่าเป็นลิงควิปลาส
ปาฐะว่า อาเสวิเต ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น มีความว่า อาเสวิตาย อันเขาซ่องเสพแล้ว.
บทว่า วสฺสนฺเต ธมฺมวุฏฺฐิยา ความว่า หลั่งฝนคือธรรม
บัดนี้ เมื่อทรงแสดงอุบายเพื่อกระทำอภิสมัยจึงตรัสว่า
พระพุทธเจ้าผู้ทรงฉลาดในเทศนา ทรงสั่งสอนให้สัตว์เข้าใจ
ให้สัตว์ทั้งหลายข้าม ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า โอวาทกะ ได้แก่ ชื่อว่า โอวาทกะ
เพราะสั่งสอนด้วยพรรณนาคุณานิสงส์ของสรณะและการสมาทานศีล และธุดงค์.
บทว่า วิญฺญาปโก ได้แก่ ชื่อว่า วิญญาปกะ เพราะให้เขารู้สัจจะ ๔ คือให้เขาตรัสรู้.
บทว่า ตารโก ได้แก่ ให้ข้ามโอฆะ ๔.

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงมีพระพักตร์เสมือนจันทร์เพ็ญในวันเพ็ญมาฆบูรณมี
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ท่ามกลางภิกษุแสนโกฏิ ณ มิถิลา ราชอุทยาน กรุงมิถิลา
นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระศาสดาปทุมุตตระ ทรงมีสันนิบาตประชุมสาวก ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ เป็นการประชุมสาวกแสนโกฏิ.
ครั้ง พระผู้มีพระภาคเจ้า จำพรรษา ณ ยอดเวภารบรรพต
ทรงแสดงธรรมโปรดมหาชนที่มาชมบรรพต
ทรงยังชนเก้าหมื่นโกฏิให้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา
อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 471
ครั้งพระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ
เสด็จจำพรรษา ณ เวภารบรรพต ภิกษุเก้าหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระคุณ ผู้เป็นนาถะของ ๓ โลก
ทรงทำการเปลื้องมหาชนจากเครื่องผูก เสด็จจาริกไปตามชนบท
ภิกษุแปดหมื่นโกฏิประชุมกัน

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปอีก
ภิกษุที่ออกบวชจากคามนิคมและรัฐแปดหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า คามนิคมรฏฺฐโต ก็คือ คามนิคมรฏฺเฐหิ จากคามนิคมรัฐชนบท
หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน ปาฐะนั้น ความว่า ผู้ออกบวชจากคามนิคมและรัฐทั้งหลาย.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นผู้ครองรัฐใหญ่ชื่อว่า ชฎิล มีทรัพย์หลายโกฏิ
ได้ถวายทานอย่างดีพร้อมทั้งจีวร แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
เสร็จอนุโมทนาภัตทาน พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ในอนาคตกาล จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ ในที่สุดแสนกัป

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นผู้ครองรัฐ ชื่อชฎิล
ได้ถวายภัตตาหารพร้อมทั้งผ้า แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 472
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์
ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต ตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้น
ได้ทำความเพียรมั่นคงอย่างยิ่ง เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สมฺพุทฺธปฺปมุขํ สงฺฆํ ก็คือ พุทฺธปฺปมุขสฺส สงฺฆสฺส
แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ทุติยาวิภัตติลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ.
บทว่า สภตฺตํ ทุสฺสมทาสหํ ความว่า เราได้ถวายภัตตาหารพร้อมด้วยจีวร.
บทว่า อุคฺคทฬฺหํ แปลว่า มั่นคงยิ่ง.
บทว่า ธิตึ ความว่า ได้ทำความเพียร.

ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า ปทุมุตตระ
ไม่มีพวกเดียรถีย์ เทวดาและมนุษย์ทุกคนถึงพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเป็นสรณะ
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งนั้น พวกเดียรถีย์ ผู้มีใจผัดปกติ มีใจเสียถูกกำจัดมานะหมด
บุรุษบางพวกของเดียรถีย์เหล่านั้นไม่ยอมบำรุงบำเรอ
ก็ขับไล่เดียรถีย์เหล่านั้น ออกไปจากแว่นแคว้น.
ทุกคนมาประชุมกันในที่นั้น ก็เข้าไปที่สำนักของพระพุทธเจ้า
ทูลวอนว่า ข้าแต่พระมหาวีระ ขอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 473
พระองค์ทรงเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระผู้มีพระจักษุ ขอพระองค์ทรงเป็นสรณะ.
พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีความเอ็นดู มีพระกรุณาแสวงประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย
ก็ทรงยังเดียรถีย์ที่ประชุมกันทั้งหมดให้ตั้งอยู่ในศีล.
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่อากูลอย่างนี้
ว่างเปล่าจากเดียรถีย์ทั้งหลาย งดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ชำนาญ ผู้คงที่.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า พฺยาหตา ได้แก่ ผู้มีความถือตัวและความกระด้างถูกขจัดแล้ว
ในคำว่า ติตฺถิยา นี้ พึงทราบว่าติตถะ พึงทราบว่าติตถกระ พึงทราบว่าติตถิยะ.
ใน ๓ อรรถนั้น ชื่อว่า ติตถะ เพราะคนทั้งหลายข้ามไป
ด้วยอำนาจทิฏฐิมีสัสสตะทิฏฐิเป็นต้น ได้แก่ ลัทธิ.
ผู้ยังลัทธินั้นให้เกิดขึ้น ชื่อว่า ติตถกระ ผู้มีในลัทธิ ชื่อว่า ติตถิยะ.
พึงทราบว่าที่ตรัสว่า พวกเดียรถีย์ ถูกกำจัดความถือตัวและกระด้างเสียแล้วเป็นต้น
ก็เพื่อแสดงว่า เขาว่า ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระไม่มีเดียรถีย์ ถึงเดียรถีย์เหล่าใด
ยังมีเดียรถีย์แม้เหล่านั้น ก็เป็นเช่นนี้.

บทว่า วิมนา ได้แก่ มีใจผิดแผกไป.
บทว่า ทุมฺมนา เป็นไวพจน์ของคำว่า วิมนา นั้นนั่นแหละ.
บทว่า น เตสํ เกจิ ปริจรนฺติ ความว่า บุรุษแม้บางพวกของเดียรถีย์เหล่านั้น
ไม่ทำการนวดฟั้น ไม่ให้ภิกษาหาร ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา
ไม่ยอมลุกจากที่นั่ง ไม่ทำอัญชลีกรรม.
บทว่า รฏฺฐโต ได้แก่ แม้จากรัฐทั่วไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 474
บทว่า นิจฺฉุภนฺติ ได้แก่ นำออกไป รุกราน อธิบายว่า ไม่ให้ที่อยู่แก่เดียรถีย์เหล่านั้น.
บทว่า เต ได้แก่ เดียรถีย์ทั้งหลาย.
บทว่า อุปคญฺฉุํ พุทฺธสนฺติเก ความว่า พวกอัญญเดียรถีย์
แม้ทั้งหมด ที่ถูกพวกมนุษย์ชาวแว่นแคว้นรุกราน อย่างนี้ มาประชุมแล้วก็ถึง
พระปทุมุตตรทศพลพระองค์เดียวเป็นสรณะ
พากันกล่าวถึงสรณะอย่างนี้ว่า
ขอพระองค์โปรดทรงเป็นศาสดา เป็นนาถะ เป็นคติ เป็นที่ไปเบื้องหน้า
เป็นสรณะของพวกข้าพระองค์เถิด.
ชื่อว่า อนุกัมปกะ เพราะทรงเอ็นดู.
ชื่อว่า การุณิกะ เพราะทรงประพฤติด้วยความกรุณา.
บทว่า สมฺปตฺเต ได้แก่ พวกเดียรถีย์ที่มาประชุมเข้าถึงสรณะ.
บทว่า ปญฺจสีเล ปติฏฺฐหิ ความว่า ให้ตั้งอยู่ในศีล ๕.
บทว่า นิรากุลํ ได้แก่ ไม่อากูล อธิบายว่า ไม่ปะปนด้วยลัทธิอื่น.
บทว่า สุญฺญกํ ได้แก่ ว่างเปล่าจากเดียรถีย์เหล่านั้น.
บทว่า ตํ พึงเติมคำลงไปว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.
บทว่า วิจิตฺตํ ได้แก่ งามวิจิตร.
บทว่า วสีภูเตหิ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระพระองค์นั้น
มีพระนครชื่อว่า หังสวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอานันทะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุชาดาเทวี.
คู่พระอัครสาวก ชื่อ พระเทวิละ และพระสุชาตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อ พระสุมนะ
คู่พระอัครสาวิกาชื่อ พระอมิตา และ พระอสมา
โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสลละ ช้างน้าว.
พระสรีระสูง ๕๘ ศอก
พระรัศมีของพระองค์แผ่ไปกินเนื้อที่ ๑๒ โยชน์ โดยรอบ
พระชนมายุแสนปี
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวสุทัตตา
พระโอรสพระนามว่า อุตตระ

เล่ากันว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารนันทาราม
อันเป็นที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง.
ส่วนพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ กระจัดกระจายทั่วไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 475
พวกมนุษย์ทั่วชมพูทวีป
ชุมนุมกันช่วยกันสร้างพระเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการสูง ๑๒ โยชน์

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระปทุมุตตรศาสดา
มีพระนคร ชื่อว่า หังสวดี
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าอานันทะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุชาดา.

พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่มี
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระอมิตา และ พระอสมา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ชื่อต้นสลละ(ต้นช้างน้าว).
พระมหามุนีสูง ๕๘ ศอก
พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ เช่นเดียวกับรูปปฏิมาทอง.
พระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไปรอบๆ ๑๒ โยชน์
ยอดเรือน บานประตู ฝา ต้นไม้ กองศิลา คือ ภูเขาก็กั้นพระรัศมีนั้นไม่ได้.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี
พระปทุมุตตระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
ย่อมยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทั้งพระสาวก ยังชนเป็นอันมากให้ข้าม
โอฆสงสาร ตัดความสงสัยทุกอย่างแล้ว ก็เสด็จดับ
ขันธปรินิพพาน เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้วก็ดับฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 476
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า นคสิลุจฺจยา ได้แก่ กองศิลากล่าวคือภูเขา.
บทว่า อาวรณํ ได้แก่ ปกปิด ทำไว้ภายนอก.
บทว่า ทฺวาทสโยชเน ความว่า พระรัศมีแห่งพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แผ่ไปในที่ ๑๒ โยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ทั้งกลางคืนกลางวัน.
ในคาถาที่เหลือในที่ทุกแห่งความชัดแล้วทั้งนั้นแล.
ตั้งแต่นี้ไป เราจักย่อความที่มาแล้วซ้ำซากมีการบำเพ็ญบารมีเป็นต้น
จะกล่าวแต่ความที่แปลกกันเท่านั้น ก็หากว่า เราจะกล่าวซ้ำซากความที่กล่าว
มาแล้วเมื่อไร จักจบ การพรรณนามีอย่างนี้แล.
จบพรรณาวงศ์พระปทุมุตตรพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 477



30


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 439
๙. วงศ์พระนารทพุทธเจ้าที่ ๙
ว่าด้วยพระประวัติของพระนารทพุทธเจ้า


[๑๐] ต่อจากสมัยของพระปทุมพุทธเจ้า
พระสมัยพุทธเจ้าพระนามว่า นารทะ ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้า ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระเชษฐโอรสที่น่าเอ็นดูของพระเจ้าจักรพรรดิ
ทรงสวมอาภรณ์มณีเสด็จเข้าไปยังพระราชอุทยาน.
ในพระราชอุทยานนั้น มีต้นไม้ใหญ่ไพศาลงามสะอาดสะอ้าน
ถึงต้นไม้นั้นแล้ว ประทับนั่งภายใต้ต้นมหาโสณะ [ต้นอ้อยช่างใหญ่].
ณ ที่นั้น ญาณอันประเสริฐ ไม่มีที่สุด คมดุจวชิระ ก็เกิด
ทรงพิจารณา ความเกิด ความดับแห่งสังขารทั้งหลาย ด้วยพระญาณนั้น.
ณ ที่นั้น ทรงกำจัดกิเลสทั้งหลายไม่เหลือเลย
ทรงบรรลุพระโพธิญาณ และพระพุทธญาณ ๑๔ สิ้นเชิง.
ครั้น ทรงบรรลุพระโพธิญาณแล้ว ก็ทรงประกาศพระธรรมจักร
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 440
พระมหามุนีทรงฝึกทรมาน พญานาค ชื่อ มหาโทณะ
เมื่อทรงแสดงแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก ก็ได้ทรงทำปาฏิหาริย์ในครั้งนั้น.
ครั้งนั้น เทวดาและมนุษย์เก้าหมื่นโกฏิ ข้ามพ้นความสงสัยทั้งปวง ในการประกาศธรรมนั้น.

สมัยพระมหาวีระ ทรงโอวาทพระโอรสของพระองค์
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.

พระนารทพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตประชุมสาวก ๓ ครั้ง
ครั้งที่ เป็นการประชุมสาวกแสนโกฏิ.

ครั้งพระพุทธเจ้า ทรงประกาศพระพุทธคุณพร้อมทั้งเหตุ
สาวกเก้าหมื่นโกฏิ ผู้ไร้มลทินก็ประชุมกัน.

ครั้งพญานาคชื่อว่า เวโรจนะ
ถวายทานแด่พระศาสดา พระชินบุตรแปดล้านก็ประชุมกัน.

สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีตบะสูง
ถึงฝั่งอภิญญา ๕ ท่องเที่ยวไปในอากาศ.

แม้ครั้งนั้น เราก็เลี้ยงดูพระนารทพุทธเจ้า
ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ที่ไม่มีผู้เสมอ
พร้อมทั้งพระสงฆ์ ทั้งบริวารชนให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าว น้ำ บูชาด้วยจันทน์แดง.
ครั้งนั้น พระนารทพุทธเจ้า
ผู้นำโลกแม้พระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 441
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์
ที่น่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินตามทางอัน ที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และ พระอุบลวรรณนา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น.
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่าต้นอัสสัตถะ
จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อจิตตะ และหัตถะอาฬวกะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 442
จักมีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และอุตตรา
พระโคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้น จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์แลเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของพระนารทพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาด คำสั่งสอนของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระพุทธชินเจ้าพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งร่าเริงใจ
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

พระนารทพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่มีพระนคร
ชื่อว่าธัญญวดี พระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุเทวะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางอโนมา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 443
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยเก้าพันปี
มีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลังชื่อว่า ชิตะ วิชิตะ และอภิรามะ.
มีพระสนมนารี ที่ประดับกายงามสี่หมื่นสามพันนาง
พระอัครมเหสีพระนามว่า วิชิตเสนา
พระโอรสพระนามว่า นันทุตตระ.
พระยอดบุรุษทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ โดยดำเนินด้วยพระบาท
ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน.

พระมหาวีระนารทะ ผู้นำโลก ผู้สงบ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ธนัญชัยราชอุทยาน อันสูงสุด.
พระอัครสาวก ชื่อ พระภัททสาละ และ พระชิตมิตตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า วาเสฏฐะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อ พระอุตตรา และพระผัคคุนี
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นมหาโสณะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุคครินทะ และ วสภะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ อินทวรี และ คัณฑี.
พระมหามุนี ทรงสูง ๘๘ ศอก เช่นเดียวกับรูปปฏิมาทอง หมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้า.
พระรัศมีวาหนึ่ง แล่นออกจากพระวรกายของพระองค์ไปทั้งทิศน้อยทิศใหญ่
แผ่ไปโยชน์หนึ่ง ทั้งกลางวันกลางคืน ไม่มีระหว่างทุกเมื่อ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 444
สมัยนั้น ชนบางพวกไม่ยังคบเพลิง และดวงประทีปให้ลุกโพลงไปรอบๆ โยชน์หนึ่ง
เพราะพระพุทธรัศมีทั้งหลายครอบไว้.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี
พระนารทพุทธเจ้า พระองค์นั้น
เมื่อทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้นก็ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
ท้องฟ้างามวิจิตร ด้วยดวงดาวทั้งหลาย ฉันใด
พระศาสนาของพระองค์ก็งดงาม ด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระนราสภพระองค์นั้น ทรงสร้างสะพานธรรมไว้มั่นคง
เพื่อยังผู้ปฏิบัติที่เหลือให้ข้ามกระแสสังสารวัฏ แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ที่ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้นก็ดี
ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระนารทพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระชินะ ผู้ประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ กรุงสุทัสสนะ
พระสถูปอันประเสริฐ สูง ๔ โยชน์ ก็อยู่ ณ ที่นั้นแล.
จบวงศ์นารทพุทธเจ้าที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 445
พรรณนาวงศ์พระนารทพุทธเจ้าที่ ๙
เมื่อพระปทุมพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้ว ศาสนาของพระองค์ก็อันตรธานไปแล้ว
มนุษย์ทั้งหลายมีอายุแสนปี ลดลงโดยลำดับ จนมีอายุสิบปีแล้วก็เพิ่มขึ้นอีก
เป็นอายุอสงไขยหนึ่ง แล้วก็ลดลงเหลือเก้าหมื่นปี.

ครั้งนั้น พระศาสดายอดนรสัตว์พระนามว่า นารทะ
ผู้ทรงกำลัง ๑๐ มีวิชชา ๓ ผู้แกล้วกล้าด้วยเวสารัชชญาณ ๔
ผู้ประทานวิมุตติสาร อุบัติขึ้นในโลก.

พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมา สี่อสงไขยแสนกัป
ทรงบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้นแล้ว ก็ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอโนมาเทวี
ผู้มีพระโฉมไม่มีที่เปรียบพระอัครมเหสีในราชสกุล พระเจ้าสุเทวะ
วาสุเทพแห่งวีริยรัฐของพระองค์ กรุงธัญญวดี
ครบทศมาส พระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ ธนัญชัยราชอุทยาน.
ในวันเฉลิมพระนาม เมื่อกำลังเฉลิมพระนาม
เครื่องอาภรณ์ทั้งหลายที่สมควรเหมาะแก่การใช้สำหรับมนุษย์ทั้งหลายทั่วชมพูทวีป
ก็หล่นจากต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้นทางอากาศ ด้วยเหตุนั้น เขาจึงถวายเครื่อง
อาภรณ์ทั้งหลายที่สมควรสำหรับนรชนทั้งหลายแต่พระองค์ เพราะฉะนั้นพวก
โหรและพระประยูรญาติทั้งหลายจึงเฉลิมพระนามว่า นารทะ.

พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี.
มีปราสาท ๓ หลังเหมาะฤดูทั้ง ๓ ชื่อว่า วิชิตาวี วิชิตาวี และวิชิตาภิรามะ
พระชนกชนนีได้ทรงทำขัตติยกัญญาผู้มีบุญอย่างยิ่งพระนามว่า วิชิตเสนา
ผู้ถึงพร้อมด้วยสกุลศีลาจารวัตรและรูปสมบัติให้เป็นอัครมเหสีแก่นารทกุมารนั้น.
พระสนมนารี จำนวนแสนสองหมื่นนาง มีพระนางวิชิตเสนานั้นเป็นประธาน
เมื่อพระนันทุตตรกุมาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 446
ผู้นำความบันเทิงใจแก่โลกทั้งปวง ของพระนางวิชิตเสนาเทวีนั้น ประสูติแล้ว
พระนารทะกุมารนั้น ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ อันจตุรงคเสนาทัพใหญ่
แวดล้อมแล้วทรงเครื่องนุ่งห่มอันเบาดี สีต่างๆ สวมกุณฑลมณีมุกดาหาร
ทรงพาหุรัดพระมงกุฎและทองพระกรอย่างดี
ทรงประดับด้วยดอกไม้กลิ่นหอมอย่างยิ่ง ดำเนินด้วยพระบาทสู่พระราชอุทยาน
ทรงเปลื้องเครื่องประดับทั้งหมดมอบไว้ในมือพนักงานรักษาคลังหลวง
ทรงตัดพระเกศาและมงกุฎของพระองค์ที่ประดับด้วยรัตนะอันงามอย่างยิ่ง
ด้วยพระขรรค์อันคมกริบ เฉกเช่นกลีบบัวขาบอันไม่มีมลทินด้วยพระองค์เอง
แล้วทรงเหวี่ยงไปที่ท้องนภากาศ.

ท้าวสักกเทวราช ทรงรับด้วยผอบทอง นำไปภพดาวดึงส์
ทรงสร้างพระเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ เหนือยอดขุนเขาสิเนรุ สูง ๓ โยชน์.
ฝ่ายพระมหาบุรุษ ทรงครองผ้ากาสายะที่เทวดาถวาย
ทรงผนวช ณ อุทยานนั้นนั่นเอง บุรุษแสนคนก็บวชตามเสด็จ
พระมหาบุรุษทรงทำความเพียรอยู่ในที่นั้น ๗ วัน
วันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาสที่พระนางวิชิตเสนาอัครมเหสีถวาย
ทรงพักกลางวัน ณ พระราชอุทยานทรงรับหญ้า ๘ กำที่พนักงานเฝ้าพระสุทัสสนราชอุทยาน ถวาย
ทรงทำประทักษิณ ต้นมหาโสณะโพธิพฤกษ์
ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๕๘ ศอก ประทับนั่ง
ทรงกำจัดกองกำลังมาร
ทรงยังวิชชา ๓ ให้เกิดในยามทั้ง ๓ แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ
ทรงเปล่งพระอุทานว่า
อเนกชาติสํสารํ ฯเปฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา แล้ว
ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ประทานคำรับรองแล้วอันภิกษุแสนรูปที่บวชกับพระองค์ ณ ธนัญชัยราชอุทยานแวดล้อมแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ที่นั้น
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 447
ต่อจากสมัยของพระปทุมพุทธเจ้า
พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า นารทะ
ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้าไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเป็นเชษฐโอรสน่าเอ็นดูของพระเจ้าจักรพรรดิ
ทรงสวมอาภรณ์แก้วมณีเสด็จเข้าพระราชอุทยาน.
ณ พระราชอุทยานนั้น มีต้นไม้งามกว้างใหญ่สะอาดสะอ้าน
เสด็จถึงต้นไม้นั้นแล้วประทับนั่งภายใต้ต้นมหาโสณะ.
ณ ต้นไม้นั้น ก็เกิดญาณอันประเสริฐไม่มีที่สุด
คมเปรียบด้วยวชิระ ก็ทรงพิจารณาความเกิดความดับของสังขารทั้งหลาย.
ทรงขจัดกิเลสทุกอย่างไม่เหลือเลย ณ ต้นไม้นั้น
ทรงบรรลุพระโพธิญาณ และพระพุทธญาณ ๑๔ สิ้นเชิง.
ครั้นทรงบรรลุพระโพธิญาณแล้ว
ก็ทรงประกาศพระธรรมจักร
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฎิ.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า จกฺกวตฺติสฺส ได้แก่ พระเจ้าจักรพรรดิ
บทว่า เชฏฺโฐ ได้แก่ เกิดก่อน.
บทว่า ทยิตโอรโส ได้แก่ พระโอรส พระราชบุตร ที่น่าเอ็นดูน่ารัก.
บุตรที่เขาเอ็นดูแล้ว อันเขากอดประทับไว้ที่อก ชื่อว่า ทยิตโอรส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 448
บทว่า อามุกฺกมาลาภรโณ๑ ได้แก่ สวมพาหุรัดทองกรมงกุฏ
และกุณฑลมุกดาหารเป็นมาลัย.
บทว่า อุยฺยานํ ความว่า ได้ไปยังอารามชื่อ ธนัญชัยราชอุทยาน นอกพระนคร.
บทว่า ตตฺถาสิ รุกฺโข ความว่า เขาว่าในราชอุทยานนั้น มีต้นไม้ ต้นหนึ่ง ชื่อว่า รัตตโสณะ.
เขาว่าต้นรัตตโสณะนั้น สูง ๙๐ ศอก ลำต้นเกลากลม มีค่าคบและกิ่งก้านสะพรั่ง
มีใบเขียวหนาและกว้าง มีเงาทึบเพราะมีเทวดาสิงสถิต
จึงปราศจากหมู่นกนานาชนิดสัญจร เป็นดิลกจุดเด่นของพื้นธรณี
กระทำประหนึ่งราชาแห่งต้นไม้ ดูน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ทุกกิ่งประดับด้วย
ดอกสีแดง เป็นจุดรวมแห่งดวงตาของเทวดาและมนุษย์.
บทว่า ยสวิปุโล ได้แก่ มียศไพบูลย์ อธิบายว่า อันโลกทั้งปวงกล่าวถึง ปรากฏเลื่องลือไปในที่
ทั้งปวงเพราะสมบัติของต้นไม้เอง.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ตตฺถาสิ รุกฺโขวิปุโล ดังนี้ก็มี.
บทว่า พฺรหา แปลว่า ใหญ่ อธิบายว่า เช่นเดียวกับต้นปาริฉัตตกะของทวยเทพ.
บทว่า ตมชฺฌปฺปตฺวา ความว่า ถึง ถึงทับ คือเข้าไปยังต้นโสณะนั้น.
บทว่า เหฏฺฐโต ได้แก่ ภายใต้ต้นไม้นั้น.
บทว่า ญาณวรุปฺปชฺชิ ได้แก่ ญาณอันประเสริฐเกิดขึ้น.
บทว่า อนนฺตํ ได้แก่ นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้.
บทว่า วชิรูปมํ ได้แก่ คมเช่นวชิระ
คำนี้เป็นชื่อของวิปัสสนาญาณ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น.
บทว่า เตน วิจินิ สงฺขาเร ได้แก่ พิจารณาสังขารทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ด้วยวิปัสสนาญาณนั้น.
บทว่า อุกฺกุชฺชมวกุชฺชกํ ความว่า พิจารณาความเกิดและความเสื่อมของสังขารทั้งหลาย.
อธิบายว่า เพราะฉะนั้น พระองค์พิจารณาปัจจยาการออกจากจตุตถฌาน
มีอานาปานสติเป็นอารมณ์ หยั่งลงในขันธ์ ๕ ก็เห็นลักษณะ ๕๐ถ้วน
ด้วยอุทยัพพยญาณ เจริญวิปัสสนาจนถึงโคตรภูญาณ
ก็ได้พระพุทธคุณทั้งสิ้นโดยลำดับแห่งพระอริยมรรค
๑. บาลีเป็น อามุตฺตมณฺยาภรโณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 449
บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ณ ต้นโสณะ.
บทว่า สพฺพกิเลสานิ ได้แก่ สพฺเพปิ กิเลเส กิเลสแม้ทั้งหมด ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ตตฺถ สพฺพกิเลเสหิ.
บทว่า อเสสํ แปลว่า ไม่เหลือเลย
บทว่า อภิวาหยิ ได้แก่ ขจัดกิเลสทั้งหมด โดยเขตมรรคและเขตกิเลส
อธิบายว่านำเข้าไปสู่ความสูญหาย.
บทว่า โพธิ ได้แก่ อรหัตมรรคญาณ.
บทว่า พุทฺธญาเณ จ จุทฺทส ได้แก่ พุทฺธญาณานิ จุทฺทส พุทธญาณ ๑๔ อย่าง.
๑๔ อย่าง คืออะไร. คือญาณเหล่านี้อย่างนี้คือ มรรคญาณผลญาณ ๘ อสาธารณ-
ญาณ ๖ ชื่อว่าพุทธญาณของพระพุทธเจ้า. จ ศัพท์เป็นสัมปิณฑนัตถะ ด้วย จ
ศัพท์นั้นความว่า แม้ประการอื่นทรงบรรลุปฏิสัมภิทาญาณ ๔ เวสารัชชญาณ
๔ ญาณกำหนดกำเนิด ๔ ญาณกำหนดคติ ๕ ทศพลญาณ ย่อมรวมลงในพระพุทธคุณทั้งสิ้น.

พระมหาบุรุษนารทะ
ทรงบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าอย่างนี้
ทรงรับอาราธนาของท้าวมหาพรหม
ทรงทำภิกษุแสนโกฏิ ซึ่งบวชกับพระองค์ ณ ธนัญชัยราชอุทยาน
ไว้เฉพาะพระพักตร์แล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร.
ครั้งนั้นอภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ภิกษุแสนโกฏิ.

ได้ยินว่า ครั้งนั้นพระยานาค ชื่อ โทณะ
มีฤทธานุภาพมาก มหาชนสักการะเคารพนับถือบูชา อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา
ใกล้ มหาโทณนคร พวกมนุษย์ชาวชนบทในถิ่นใดไม่ทำการบวงสรวงพระยานาคนั้น
พระยานาคนั้นก็จะทำถิ่นนั้นของมนุษย์พวกนั้นให้พินาศโดยทำไม่ให้ฝนตกบ้าง
ให้ฝนตกมากเกินไปบ้าง ทำฝนก้อนกรวดให้ตกลงบ้าง.

ลำดับนั้น
พระนารทศาสดา ผู้ทรงเห็นฝั่ง
ทรงเห็นอุปนิสัยของสัตว์เป็นอันมาก
ในการแนะนำพระยานาคโทณะอันภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว
จึงเสด็จไปยังสถานที่อยู่ของพระยานาคนั้น.
แต่นั้นมนุษย์ทั้งหลายเห็นพระศาสดาแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระยานาคมีพิษร้าย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 450
มีเดชสูง มีฤทธานุภาพมาก อาศัยอยู่ในที่นั้น มันจักเบียดเบียนพระองค์
ไม่ควรเสด็จไปพระเจ้าข้า.
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประหนึ่งไม่ฟังคำของมนุษย์เหล่านั้นเสด็จไป.
ครั้นเสด็จไปแล้ว ก็ประทับนั่งบนเครื่องลาดดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมอย่างยิ่ง
ซึ่งพวกมนุษย์เซ่นสรวงพระยานาคนั้นในที่นั้น.
เขาว่า มหาชนประชุมกัน
ด้วยหมายว่าจะเห็นการยุทธของสองฝ่าย คือพระนารทจอมมุนีและพระยานาคโทณะ.

ครั้งนั้น
พระยานาคเห็นพระนาคมุนีนั่งอย่างนั้น
ทนการลบหลู่ไม่ได้ก็ปรากฏตัวบังหวนควัน. แม้พระทศพลก็ทรงบังหวนควัน
พระยานาคบันดาลไฟอีก. แม้พระมุนีเจ้าก็ทรงบันดาลไฟบ้าง.
พระยานาคนั้นมีเนื้อตัวลำบากอย่างเหลือเกิน
เพราะเปลวควันที่พลุ่งออกจากพระสรีระของพระทศพล ทนทุกข์ไม่ได้
ก็ปล่อยพิษออกไป หมายจะฆ่าพระองค์ด้วยความเร็วแห่งพิษ
ทั่วทั้งชมพูทวีปพึงพินาศด้วยความเร็วแห่งพิษ.
แต่พิษนั้น ไม่สามารถจะทำพระโลมาแม้เส้นเดียว
ในพระสรีระของพระทศพลให้สั่นสะเทือนได้.


ทีนั้น พระยานาคนั้นก็ตรวจดูว่า
พระสมณะมีความเป็นไปอย่างไรหนอ
ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระพักตร์งามผ่องใส
รุ่งเรืองด้วยพระพุทธรัศมี ๖ พรรณะ เต็มที่ดุจพระอาทิตย์และพระจันทร์ ในฤดูสารท
ก็คิดว่า โอ ! พระสมณะนี้มีฤทธิ์มาก เราไม่รู้กำลังของตัวเอง ผิดพลาดไปเสียแล้ว
แสวงหาที่ช่วยตัวเอง ก็ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแหละเป็นสรณะ.

ลำดับนั้น
พระนารทมุนีเจ้า ฝึกพระยานาคนั้นแล้ว
ก็ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ เพื่อยังจิตของมหาชนที่ประชุมกันในที่นั้นให้เลื่อมใส.
ครั้งนั้น สัตว์เก้าหมื่นโกฏิก็ตั้งอยู่ในพระอรหัต.
นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 451
พระมหามุนีทรงฝึกพระยานาคมหาโทณะ
เมื่อจะทรงแสดงแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก ก็ได้ทรงทำปาฏิหารย์ในครั้งนั้น.
ครั้งนั้น เทวดาและมนุษย์เก้าหมื่นโกฏิก็ข้ามพ้นความสงสัยทั้งปวง ในการประกาศธรรม.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ปาฏิเหรํ ตทากาสิ ความว่า ได้ทรงทำยมกปาฏิหาริย์.
หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.
ปาฐะว่า ตทา เทวมนุสฺสาวา ดังนี้ก็มี.
ในปาฐะนั้น ปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติว่า เทวมนุสฺสานํ
เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า เทวดาและมนุษย์เก้าหมื่นโกฏิ.
บทว่า ตรึสุ ได้แก่ ก้าวล่วงพ้น.
ครั้งเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโอวาทพระนันทุตตรกุมารพระโอรส
ของพระองค์ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งที่พระมหาวีระ ทรงโอวาทพระโอรสของพระองค์
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
ก็ครั้งที่พราหมณ์สหาย ๒ คน ชื่อ ภัททสาละและวิชิตมิตตะ
กำลังแสวงหาห้วงน้ำคือ อมฤตธรรม ก็ได้เห็นพระนารทสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้ายิ่ง
ประทับนั่งในบริษัท. เขาเห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการในพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ตกลงใจว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีกิเลสดุจหลังคาอันเปิดแล้วในโลก
เกิดศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยบริวารก็บวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
เมื่อสองสหายนั้นบวชแล้วบรรลุพระอรหัต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 452
แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ท่ามกลางภิกษุแสนโกฏิ.
นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระนารทพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตประชุมสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เป็นการประชุมสาวกแสนโกฎิ.

สมัยที่พระนารทสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสพุทธวงศ์ จำเดิมแต่ทรงตั้งปณิธานของพระองค์
ในสมาคมพระญาติ ภิกษุเก้าหมื่นโกฏิประชุมกัน

เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธคุณพร้อมทั้งเหตุ
ภิกษุเก้าหมื่นโกฏิผู้ไร้มลทินประชุมกัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า วิมลา ได้แก่ ปราศจากมลทิน อธิบายว่า พระขีณาสพ.
ครั้งที่พระยานาค ชื่อเวโรจนะ
ผู้เลื่อมใสในการฝึกพระยานาค ชื่อ มหาโทณะ
เนรมิตมณฑปที่สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ ขนาด ๓ คาวุต
ในแม่น้ำคงคา อาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งบริวาร
ให้ประทับนั่ง ณ มณฑปนั้น พร้อมทั้งบริวารก็นิมนต์เพื่อทรงชมโรงทานของตน
ณ ชนบทของตน ให้เหล่านาฏกะนักฟ้อนรำนาค และนักดนตรีผู้บรรเลงดนตรีชื่อตาละ
ซึ่งทรงเครื่องประดับแต่งตัวนานาชนิด ได้ถวายมหาทาน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมทั้งบริวารด้วยสักการะใหญ่ เสวยเสร็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำ
อนุโมทนาเสมือนเสด็จลงสู่มหาคงคา. ในกาลนั้นทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่าม
กลางภิกษุแปดล้าน ผู้ฟังธรรม เวลาจบอนุโมทนาภัตทาน เลื่อมใสแล้วบวช
ด้วยเอหิภิกขุบรรพชา นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 453
ครั้งเวโรจนนาค ถวายทานแด่พระศาสดา ภิกษุ
ชินบุตร แปดล้านก็ประชุมกัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อสีติสตสหสฺสิโย แปลว่า แปดล้าน.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราบวชเป็นฤาษี
เป็นผู้ชำนาญในอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘
สร้างอาศรมอาศัยอยู่ข้างภูเขาหิมพานต์
ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้านารทะ อันพระอรหันต์แปดสิบโกฏิ
และอุบาสกผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล หนึ่งหมื่นแวดล้อม
เสด็จไปยังอาศรมนั้น เพื่ออนุเคราะห์ฤาษีนั้น.

ดาบสเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น ก็ปลื้มใจ
สร้างอาศรมเพื่อเป็นที่ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้งบริวาร
ประกาศพระคุณของพระศาสดาสิ้นทั้งคืน
ฟังธรรมกถาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

วันรุ่งขึ้น ก็ไปอุตตรกุรุทวีป
นำอาหารมาจากที่นั้น ได้ถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งบริวาร
ถวายมหาทานอย่างนี้ ๗ วัน นำจันทน์แดงที่หาค่ามิได้มาจากป่าหิมพานต์
บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยจันทน์แดงนั้น.

ครั้งนั้น พระทศพลอันเทวดาและมนุษย์แวดล้อมแล้ว
ตรัสธรรมกถาแล้วทรงพยากรณ์ว่า
ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ ในอนาคตกาล.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีตบะสูง ถึงฝั่งอภิญญา ๕ ท่องเที่ยวไปในอากาศได้.
แม้ครั้งนั้น เราเลี้ยงดูพระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอ
พร้อมทั้งพระสงฆ์ ทั้งบริวารชน ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำแล้วบูชาด้วยจันทน์แดง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 454
แม้ครั้งนั้น พระนารทพุทธเจ้าผู้นำโลกพระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์เราว่าจักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต ทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งร่าเริงใจ
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้น เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตทาปาหํ ตัดบทว่า ตทาปิ อหํ.
บทว่า อสมสมํ ความว่า อดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลายชื่อว่า ไม่มีผู้เสมอ,
ผู้เสมอ คือวัดได้ด้วยอดีตพระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอเหล่านั้น ชื่อว่าผู้เสมอด้วย
พระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอ. อีกนัยหนึ่ง ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้ปราศจากผู้เสมอ.
สาธุชนผู้เสมอ ผู้ปราศจากผู้เสมอหามิได้.
บรรดาผู้เสมอด้วยท่านผู้ไม่มีผู้เสมอเหล่านั้น ผู้เสมอ
เมื่อควรจะกล่าวว่า อสมสมสโม ผู้เสมอเสมอกับท่านผู้ไม่มีผู้เสมอ
พึงทราบว่า ท่านกล่าวลบ สมศัพท์เสียศัพท์หนึ่ง.
ความว่า ผู้เสมอด้วยผู้ไม่มีผู้เสมอ คือผู้ปราศจากผู้เสมอ.
บทว่า สปริชฺชนํ ได้แก่ ทั้งชนผู้เป็นอุบาสก.
ปาฐะว่า โสปิ มํ ตทา นรมรูนํ มชฺเฌ มชฺเฌ พฺยากาสิ จกฺขุมา ดังนี้ก็มี.
ปาฐะนั้น มีความง่ายเหมือนกัน.
บทว่า ภุยโย หาเสตฺว มานสํ ได้แก่ ยังหัวใจให้ร่าเริง ให้ยินดียิ่งขึ้นไป.
บทว่า อธิฏฺฐหํ วตํ อุคฺคํ ได้แก่ อธิษฐานข้อวัตรสูงขึ้น.
ปาฐะว่า อุตฺตรึ วตมธิฏฐาสึ ทสปารมิปูริยา ดังนี้ก็มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 455
พระผู้มีพระภาคเจ้านารทะพระองค์นั้น
มีพระนครชื่อว่า ธัญญวดี
พระชนกเป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าสุเทวะ
พระชนนีพระนามว่า อโนมา
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระภัททสาละ และพระชิตมิตตะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระวาเสฏฐะ
คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระอุตตรา และพระผัคคุนี
โพธิพฤกษ์ชื่อว่าต้นมหาโสณะ
พระสรีระสูง ๘๘ ศอก
พระรัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์แผ่ไปโยชน์หนึ่งเป็นนิตย์
พระชนมายุเก้าหมื่นปี

พระอัครมเหสีของพระองค์พระนามว่า วิชิตเสนา
พระโอรสพระนามว่า นันทุตตระกุมาร
ปราสาท ๓ หลังชื่อ วิชิตะ วิชิตาวี และวิชิตาราม.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี.
พระองค์เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยพระบาท
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระนารทพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่อว่าธัญญวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุเทวะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางอโนมา.

พระนารทพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระอัครสาวกชื่อว่า พระภัททสาละและพระชินมิตตะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระวาเสฏฐะ.
พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระอุตตราเเละพระผัคคุนี
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นมหาโสณะ.
พระมหามุนีทรงสูง ๘๘ ศอก เช่นเดียวกับรูปปฏิมาทอง หมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 456
พระรัศมีวาหนึ่ง แล่นออกจากพระวรกายของพระองค์แผ่ไปทั้งทิศน้อยทิศใหญ่
แผ่ไปโยชน์หนึ่งทั้งกลางวันกลางคืน ไม่มีระหว่างทุกเมื่อ.

สมัยนั้น
ชนบางพวกจุดคบเพลิง และตามประทีปให้ติดสว่าง ในที่รอบ ๆ โยชน์หนึ่งไม่ได้
เพราะพระพุทธรัศมีครอบงำไว้เสีย.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี
พระนารทพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้นก็ยังหมู่ชนเป็นอันมาก ให้ข้ามโอฆสงสาร.
ท้องฟ้างามไพจิตร ด้วยดวงดาวทั้งหลายฉันใดศาสนาของพระองค์ก็งาม
ด้วยพระอรหันต์ทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน.

พระนราสภพระองค์นั้น
ทรงทำสะพานคือธรรม
เพื่อยังผู้ปฏิบัติที่เหลือให้ข้ามกระแสสังสารวัฎ แล้วเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน.
พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ที่ไม่มีผู้เสมอ พระองค์นั้นก็ดี
พระขีณาสพทั้งหลาย ผู้มีเดชที่ชั่งไม่ได้เหล่านั้นก็ดี
ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่าแน่แท้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า กญฺจนคฺฆิยสงฺกาโส ได้แก่
ผู้มีรูปงามเหมือนรูปปฏิมาที่สำเร็จด้วยทองที่วิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 457
บทว่า ทสสหสฺสี วิโรจติ ความว่า ทั้งหมื่นโลกธาตุเจิดจ้ารุ่งเรือง ด้วยพระรัศมีของพระองค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศความข้อนั้นนั่นแล
จึงตรัสว่า พระรัศมีวาหนึ่ง แล่นออกจากพระวรกายของพระองค์ไปทั้งทิศน้อยทิศใหญ่.
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า พฺยามปฺปกา กายา ได้แก่ เหมือนพระรัศมีวาหนึ่ง
เหตุนั้นจึงชื่อว่า พฺยามปฺปภา อธิบายว่า เหมือนพระรัศมีวาหนึ่งของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา.
น อักษรในคำว่า น เกจิ นี้ เป็นปฏิเสธัตถะ [ความปฏิเสธ] พึง
เห็นการเชื่อมความของ น อักษรนั้น กับศัพท์ว่า อุชฺชาเลนฺติ.
บทว่า อุกฺกา ได้แก่ ประทีปมีด้าม.
ชนบางพวกไม่ยังคบเพลิงหรือดวงประทีปให้ติดโพลงไม่ให้ลุกโพลงได้.
ถ้าจะถามว่า เพราะเหตุไร.
ก็ตอบได้ว่า เพราะแสงสว่างของพระรัศมีแห่งพระพุทธสรีระ.
บทว่า พุทฺธรํสีหิ แปลว่า พระพุทธรัศมีทั้งหลาย.
บทว่า โอตฺถฏา ได้แก่ ทับไว้.
บทว่า อุฬูหิ แปลว่า ดวงดาวทั้งหลาย ความว่า ท้องฟ้างามวิจิตร
ด้วยดวงดาวทั้งหลาย ฉันใด พระศาสนาของพระนารทพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก็งดงามวิจิตรด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
บทว่า สํสารโสตํ ตรณาย ได้แก่ เพื่อข้ามสาครคือสังสารวัฏ.
บทว่า เสสเก ปฏิปนฺนเก ความว่า ยังเสกขบุคคลที่เหลือกับกัลยาณปุถุชน
เว้นพระอรหันต์ทั้งหลาย.
บทว่า ธมฺมเสตุํ ได้แก่ สะพานคือมรรค.
ความว่า ทรงตั้งสะพานธรรมเพื่อยังบุคคลที่เหลือให้ข้ามจากสังสารวัฎ
ทรงทำกิจทุกอย่างเสร็จแล้ว ก็ปรินิพพาน.
คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น เพราะกล่าวไว้แล้วแต่หนหลัง แล.
จบพรรณนาวงศ์พระนารทพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 458

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10