แสดงกระทู้ - สมบัติ สูตรไชย
กระดานสนทนาธรรม

ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก บ้านห้วยยางทอง ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ 67260


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - สมบัติ สูตรไชย

หน้า: 1 2 [3] 4 5
31
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 159

๒. เรื่องกุมาริกากินไข่ไก่ [๒๑๕]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภกุมาริกาผู้กินไข่ไก่คนหนึ่ง
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปรทุกฺขูปธาเนน "เป็นต้น.


แม่ไก่ผูกอาฆาตในนางกุมาริกา
ได้ยินว่า บ้านหนึ่งชื่อปัณฑุระ อยู่ไม่ไกลเมืองสาวัตถี,
ในบ้านนั้น มีชาวประมงอยู่คนหนึ่ง.
เขาเมื่อไปยังเมืองสาวัตถี เห็นไข่เต่า ริมฝั่งแม่น้ำอจิรวดีแล้ว
ถือเอาไข่เต่าเหล่านั้นไปสู่เมืองสาวัตถี ให้ต้มในเรือนหลังหนึ่งแล้วเคี้ยวกิน
ได้ให้ไข่ฟองหนึ่งแก่กุมาริกาในเรือนนั้น.
นางเคี้ยวกินไข่เต่านั้นแล้ว จำเดิมแต่นั้น ไม่ปรารถนาซึ่งของควรเคี้ยวอย่างอื่น.

ครั้งนั้นมารดาของนาง ถือเอาไข่ฟองหนึ่งจากที่แม่ไก่ไข่แล้ว ได้ให้ (แก่นาง).
นางเคี้ยวกินไข่ฟองนั้นแล้ว อันความอยากในรสผูกแล้ว
จำเดิมแต่นั้น ก็ถือเอาไข่ไก่มาเคี้ยวกินเองทีเดียว.


ในเวลาตกฟอง แม่ไก่เห็นกุมาริกานั้นถือเอาไข่ของตนเคี้ยวกินอยู่
ถูกกุมาริกานั้นเบียดเบียนแล้วผูกอาฆาต
ตั้งความปรารถนาว่า " บัดนี้เราเคลื่อนจากอัตภาพนี้แล้ว พึงเกิดเป็นยักษิณี
เป็นผู้สามารถจะเคี้ยวกินทารกของเจ้า
" ทำกาละแล้วบังเกิดเป็นนางแมวในเรือนนั้นนั่นเอง.

การจองเวรกันให้เกิดทุกข์
แม้นางกุมาริกานอกนี้ ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นแม่ไก่ในเรือนนั้นเหมือนกัน.
แม่ไก่ตกฟองทั้งหลายแล้ว. นางแมวมาเคี้ยวกินฟองไข่เหล่านั้นแล้ว
แม้ครั้งที่ ๒
แม้ครั้งที่ ๓ ก็เคี้ยวกินแล้วเหมือนกัน.
แม่ไก่ ทำความปรารถนาว่า " เจ้าเคี้ยวกินฟองไข่ทั้งหลายของเราตลอด ๓ คราว
บัดนี้ ยังปรารถนาจะเคี้ยวกินเรา,
เราเคลื่อนจากอัตภาพนี้แล้ว พึงได้เพื่อเคี้ยวกินเจ้าพร้อมทั้งลูก
" เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดเป็นนางเสือเหลือง.

ฝ่ายนางแมวนอกนี้ ทำกาละแล้วบังเกิดเป็นนางเนื้อ.
ในเวลานางเนื้อนั้นคลอดแล้ว
นางเสือเหลืองก็มาเคี้ยวกินนางเนื้อนั้นพร้อมด้วยลูกทั้งหลาย.

สองสัตว์นั้นเคี้ยวกินอยู่อย่างนี้ ยังทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่กันและกันใน ๕๐๐ อัตภาพ
ในที่สุดนางหนึ่งเกิดเป็นยักษิณี,
นางหนึ่งเกิดเป็นกุลธิดาในเมืองสาวัตถี.

เบื้องหน้าแต่นี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในพระคาถาว่า
" น หิ เวเรน เวรานิ " เป็นอาทิ นั่นแล.
แต่ในเรื่องนี้ พระศาสดาตรัสว่า
" ก็เวรย่อมระงับด้วยความไม่มีเวร,ย่อมไม่ระงับด้วยเวร,"
ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ชนแม้ทั้งสองงจึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๒. ปรทุกขูปธาเนน โย อตฺตโน สุขมิจฺฉติ
เวรสํสคฺคสํสฏฺโฐ เวรา โส น ปริมุจฺจติ.
" ผู้ใด ย่อมปรารถนาสุขเพื่อตน เพราะก่อทุกข์ในผู้อื่น,
ผู้นั้น เป็นผู้ระคนด้วยเครื่องระคนคือเวร ย่อมไม่พ้นจากเวรได้."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ปรทุกฺขุปธาเนน ความว่า เพราะก่อทุกข์ในผู้อื่น,
อธิบายว่า เพราะยังทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 161
บาทพระคาถาว่า เวรสํสคฺคสํสฏฺโฐ ความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ระคนแล้วด้วยเครื่องระคนคือเวร
อันตนทำให้แก่กันและกัน ด้วยสามารถแห่งการด่าและการด่าตอบ การประหารและการประหารตอบ เป็นต้น.

บาทพระคาถาว่า เวรา โส น ปริมุจฺจติ ความว่า ย่อมถึงทุกข์อย่างเดียว ตลอดกาลเป็นนิตย์ ด้วยสามารถแห่งเวร.

ในกาลจบเทศนา นางยักษิณีตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย สมาทานศีล ๕พ้นแล้วจากเวร,
ฝ่ายกุลธิดานอกนี้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว,
เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องกุมาริกากินไข่ไก่ จบ.
[/color]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 162[/size]

32
เขตตัฏฐวิภาค
[๑๐๑] บุพพัณชาติ หรืออปรัณชาติ เกิดในที่ใด ที่นั้นชื่อว่า นา
ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในนา ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในนา โดยฐาน ๔ คือ
ฝังอยู่ในดิน ๑
ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑
ลอยอยู่ในอากาศ ๑
แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑.

ภิกษุมีไถยจิต คิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในนา
เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี
เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ
ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.

ภิกษุมีไถยจิตจับต้องบุพพัณชาติ หรืออปรัณชาติ
ซึ่งเกิดในนานั้นได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.

ภิกษุตู่เอาที่นา ต้องอาบัติทุกกฏ
ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เจ้าของทอดธุระว่า จักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก.

ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก ล้อมรั้ว หรือถมคันนาให้รุกล้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ
เมื่ออีกประโยคหนึ่งจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เมื่อประโยคนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 22


33
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 20
อารามัฏฐวิภาค
[๙๙] ที่ชื่อว่า สวน ได้แก่สวนไม้ดอก สวนไม้ผล
ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในสวน ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในสวน โดยฐาน ๔ คือ
ฝังอยู่ในดิน ๑
ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑
ลอยอยู่ในอากาศ ๑
แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑.

ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในสวน
เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ
ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.

ภิกษุมีไถยจิตจับต้องรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ หรือผลไม้
ซึ่งเกิดในสวนนั้น ได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.

ภิกษุ ตู่เอาที่สวน ต้องอาบัติทุกกฏ
ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก.

ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.


34
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 212

๑๐. มณิจูฬกสูตร ว่าด้วยทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร
[๖๒๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์.
ก็สมัยนั้นแล เมื่อราชบริษัทนั่งประชุมกันในพระราชวัง
สนทนากันว่า ทองและเงินย่อมควรแก่สมณศากยบุตร
สมณศากยบุตรย่อมยินดีทองสละเงิน ย่อมรับทองและเงิน.

[๖๒๔] ก็สมัยนั้นแล นายบ้านนามว่ามณิจูฬกะนั่งอยู่ในบริษัทนั้น
นายบ้าน นามว่ามณิจูฬกะได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า
ท่านผู้เจริญย่อมไม่ควรกล่าวอย่างนี้
ทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน
ย่อมไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วและทองปราศจากทองและเงิน

นายบ้านมณิจูฬกะไม่อาจให้บริษัทนั้นยินยอมได้.

[๖๒๕] ครั้งนั้น นายบ้านมณิจูฬกะจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อราชบริษัทนั่งประชุมกันในพระราชวัง
สนทนากันว่า
ทองและเงินย่อมควรแก่สมณศากยบุตร
สมณศากยบุตรย่อมยินดีทองและเงิน

เมื่อราชบริษัทกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า
ท่านผู้เจริญอย่าได้กล่าวอย่างนี้
ทองและเงินย่อมไม่ควรแก่สมณศากยบุตร
สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน
ย่อมไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วและทอง ปราศจากทองและเงิน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 213
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ไม่อาจให้บริษัทนั้นยินยอมได้
เมื่อข้าพระองค์พยากรณ์อย่างนี้ เป็นอันกล่าวตามคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว
จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และ
สหธรรมิกไรๆคล้อยตามวาทะ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้แลหรือ พระเจ้าข้า.

[๖๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ นายคามณี
เมื่อท่านพยากรณ์อย่างนี้ เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว
ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และ
สหธรรมิกไรๆ คล้อยตามวาทะ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้.
เพราะว่า ทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร
สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน
สมณศากยบุตรห้ามแก้วและทอง ปราศจากทองและเงิน.


ดูก่อนนายคามณี
ทองและเงินควรแก่ผู้ใด เบญจกามคุณก็ควรแก่ผู้นั้น
เบญจกามคุณควรแก่ผู้ใด ทองและเงินก็ควรแก่ผู้นั้น
ดูก่อนนายคามณี
ท่านพึงทรงจำความที่ควรแก่เบญจกามคุณนั้นโดยส่วนเดียวว่า
ไม่ใช่ธรรมของสมณะ
ไม่ใช่ธรรมของศากยบุตร
อนึ่งเล่า เรากล่าวอย่างนี้ว่า
ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า
ผู้ต้องการไม้พึงแสวงหาไม้
ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน
ผู้ต้องการบุรุษพึงแสวงหาบุรุษ
เรามิได้กล่าวว่า
สมณศากยบุตรพึงยินดีพึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายอะไรเลย.

จบ มณิจูฬกสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 214
อรรถกถามณิจูฬกสูตรที่ ๑๐
ในมณิจูฬกสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้.
บทว่า ตํ ปริสํ เอตทโวจ ความว่า ได้ยินว่า
นายบ้านนามว่ามณิจูฬกะนั้นได้มีความคิดว่า
กุลบุตรทั้งหลายเมื่อบวช ย่อมละบุตรและภรรยา ทองและเงินก่อนแล้วจึงบวช
แลเขาเหล่านั้นครั้นละแล้วบวช จึงไม่อาจรับทองและเงินนั้นได้.

นายบ้านนั้นมีความยึดถือเป็นพิเศษ จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า มา อยฺยา ดังนี้.
บทว่า. เอกํเสเนตํ ความว่า ท่านพึงทรงจำความที่ควรแก่กามคุณห้านั้น
โดยส่วนเดียวว่า ไม่ใช่ธรรมของสมณะ ไม่ใช่ธรรมของศากยบุตร.
บทว่า ติณํ ได้แก่หญ้ามุงเสนาสนะ.
บทว่า ปริเยสิตพฺพํ ความว่า เมื่อเรือนที่มุงด้วยหญ้า หรือมุงด้วยอิฐพัง
พึงไปยังสำนักของผู้ที่ทำเรือนนั้น บอกว่า เสนาสนะที่ท่านทำ ฝนรั่วเราไม่อาจอยู่ในเสนาสนะนั้นได้.
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อทำได้ก็จักทำให้
เมื่อทำไม่ได้ก็จักบอกว่า พวกท่านจงหานายช่างให้ทำ
พวกเราจักให้สัญญากะนายช่างเหล่านั้น

ครั้นให้นายช่างที่บอกไว้อย่างนั้นทำเสร็จแจ้ว พึงบอกแก่มนุษย์เหล่านั้น
พวกมนุษย์จักให้ค่าจ้างแก่พวกนายช่าง.
ถ้าไม่มีเจ้าของที่อยู่อาศัย ภิกษุผู้ประพฤติภิกขาจารวัตร ควรบอกแม้แก่คนอื่น ๆให้ทำ.
บทว่า ปริเยสิตพฺพํ ตรัสหมายข้อความดังนี้.
บทว่า ทารุํ ความว่า เมื่อไม้กลอนหลังคาเป็นต้นในเสนาสนะพัง
พึงแสวงหาไม้เพื่อซ่อมแซมสิ่งนั้น.
บทว่า สกฏํ ได้แก่เกวียนชั่วคราวเท่านั้น ทำให้แปลกจากของคฤหัสถ์ มิใช่แต่เกวียนอย่างเดียวเท่านั้น
แม้อุปกรณ์อื่น ๆ มีมีด ขวานและจอบเป็นต้น ก็ควรแสวงหาอย่างนี้.
บทว่า ปุริโส ความว่า ควรแสวงหาคนมาช่วยงาน คือ พูดกะคนใดคนหนึ่งว่า
ท่านจักช่วยงานได้ไหม เมื่อเขาบอกว่า กระผมจักช่วยขอรับควรให้เขาทำสิ่งที่ต้องการว่า ท่านจงทำสิ่งนี้ ๆ.
บทว่า น เตฺววาหํ คามณิ เกนจิ ปริยาเยน ความว่า
แต่เรามิได้กล่าวถึงทองและเงิน ว่าสมณศากยบุตรพึงแสวงหา ด้วยเหตุอะไร ๆ เลย.
จบ อรรถกถามณิจูฬกสูตรที่ ๑๐



35
[๒๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก
สำคัญมรรคผลอันตนยังมิได้เห็นว่าได้เห็น
สำคัญมรรคผลอันยังมิได้ถึงว่าได้ถึง
สำคัญมรรคผลอันตนยังมิได้บรรลุว่าได้บรรลุ
สำคัญมรรคผลอันตนยังมิได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง
จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ


ครั้นต่อมา จิตของพวกเธอ
น้อมไปเพื่อความกำหนัดก็มี
น้อมไปเพื่อความคัดเคืองก็มี
น้อมไปเพื่อความหลงก็มี
จึงมีความรังเกียจว่า สิกขาบทอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว
แต่พวกเรา
สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้เห็นว่าได้เห็น
สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้ถึงว่าได้ถึง
สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้บรรลุว่าได้บรรลุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 456
สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง
จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ท่านพระอานนท์ ๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า มีอยู่เหมือนกัน อานนท์ ข้อที่ภิกษุทั้งหลาย
สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้เห็นว่าได้เห็น
สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้ถึงว่าได้ถึง
สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้บรรลุว่าได้บรรลุ
สำคัญมรรคผลที่ตนยังได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง
จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ แต่ข้อนั้นนั่นแล เป็นอัพโพหาริก

ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา
ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ
๔. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม
อันเป็นความรู้ ความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ
น้อมเข้ามาในตนว่า
ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้
ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้

ครั้นสมัยอื่นแต่นั้นอันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็นอันต้องอาบัติแล้ว
มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น
ได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่า ๆ
เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.
เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 457



(หน้า459) บทภาชนีย์
[๒๓๖] ที่ชื่อว่า อุตริมนุสธรรม ได้แก่
๑. ฌาน
๒. วิโมกข์
๓. สมาธิ
๔. สมาบัติ
๕. ญาณทัสสนะ
๖. มรรคภาวนา
๗.การทำให้แจ้งซึ่งผล
๘. การละกิเลส
๙. ความเปิดจิต
๑๐. ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 460
ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน.
ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์.
ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ.
ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ.
ที่ชื่อว่า ญาณ ได้แก่ วิชชา ๓.

ที่ชื่อว่า มรรคภาวนา ได้แก่
สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘.

ที่ชื่อว่า การทำให้แจ้งซึ่งผล ได้แก่
การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
การทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล
การทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล
การทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล.

ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่
การละราคะ
การละโทสะ
การละโมหะ.

ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่
ความเปิดจิตจากราคะ
ความเปิดจิตจากโทสะ
ความเปิดจิตจากโมหะ

ที่ชื่อว่า ความยินดีในเรือนอันว่างเปล่า ได้แก่
ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยปฐมฌาน
ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยทุติยฌาน
ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยตติยฌาน
ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยจตุตถฌาน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 461




36

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ 1-393 คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 394


[อธิบายประโยชน์การบัญญัติสิกขาบท ๑๐ อย่าง]
บรรดาอำนาจประโยชน์สิบอย่างนั้น ที่ชื่อว่า ความเห็นชอบของสงฆ์ ได้แก่ข้อที่สงฆ์ยอมรับว่าดี.
คือ ข้อที่สงฆ์รับพระดำรัสว่า "ดีละ พระเจ้าข้า!"
เหมือนในอนาคตสถานที่ว่า "ดีละ สมมติเทพเจ้า !"

จริงอยู่
ภิกษุใด ยอมรับพระดำรัสของพระตถาคตเจ้า,
การยอมรับพระดำรัสนั้น ของภิกษุนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงเปิดเผยเนื้อความนี้ว่า
เราจักแสดงโทษในความไม่ยอมรับ และอานิสงส์ในความยอมรับ คือ
ไม่กดขี่โดยพลการ จักบัญญัติ(สิกขาบท) เพื่อให้สงฆ์ยอมรับคำของเราว่า ดีละ พระเจ้าข้า ! ดังนี้
จึงตรัสคำว่า "เพื่อความเห็นชอบแห่งสงฆ์"

บทว่า สงฺฆผาสุตาย คือเพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์,
อธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่ความอยู่เป็นสุข ด้วยความเป็นอยู่ร่วมกัน.

หลายบทว่า ทุมฺมงฺกูนํ ปุคฺคลานํ นิคฺคหาย ความว่า บุคคลผู้ทุศีล ชื่อว่า บุคคลผู้เก้อยาก,
ภิกษุเหล่าใด แม้อันภิกษุทั้งหลายจะให้ถึงความเป็นผู้เก้อ ย่อมถึงได้โดยยาก,
กำลังกระทำการละเมิด หรือกระทำแล้ว ย่อมไม่ละอาย, เพื่อประโยชน์แก่อันข่มภิกษุเหล่านั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 738
จริงอยู่
ภิกษุเหล่านั้น เมื่อสิกขาบทไม่มี จักเบียดเบียนสงฆ์ด้วยถ้อยคำว่า
เรื่องอะไรที่พวกท่านเห็นมาแล้ว
เรื่องอะไรที่พวกท่านได้ฟังมาแล้ว
สิ่งอะไรที่พวกข้าพเจ้าทำแล้ว พวกท่านยกอาบัติไหนในเพราะวัตถุอะไรขึ้นข่มพวกข้าพเจ้า,
ก็เมื่อสิกขาบทมีอยู่ สงฆ์จักอ้างสิกขาบทแล้ว ข่มภิกษุพวกนั้น โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสนา .
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เพื่อข่มเหล่าบุคคลผู้เก้อยาก.




37
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 399
๔. มิตตวินทชาดก
โทษของผู้ลุอำนาจความปรารถนา
[๑๐๔] "ผู้ที่มีความปราถนาเกินส่วน
มีอยู่ ๔ก็ต้องการ ๘
มี ๘ ก็ต้องการ ๑๖
มี ๑๖ ก็ต้องการ๓๒
บัดนี้มาได้รับกงจักรกรด กงจักรกรดพัดอยู่เหนือศีรษะ ของคนผู้ลุอำนาจความปราถนา"
จบ มิตตวินทชาดกที่ ๔
อรรถกถามิตตวินทชาดกที่ ๔
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภภิกษุผู้ว่ายากรูปหนึ่ง
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า จพุพฺภิ อฏฺฐชฺฌคมา ดังนี้.
เรื่องราวพึงให้พิสดารตามนัยที่กล่าวแล้วในมิตตวินทชาดกในหนหลัง
ส่วนชาดกนี้ เป็นเรื่องราวที่เกิดในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ
ก็ในกาลครั้งนั้น เนรยิกสัตว์ตนหนึ่งทูลจักรกรดไว้ไหม้อยู่ในนรก
ถามพระโพธิสัตว์ว่า ท่านเจ้าข้าข้าพเจ้าได้กระทำบาปกรรมอะไรไว้เล่าหนอ ?
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เจ้าได้กระทำบาปกรรมนี้ ๆ แล้วกล่าวคาถา ความว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 400
" ผู้ที่มีความปรารถนาเกินส่วน
มีอยู่ ๔ก็ต้องการ ๘
มี ๘ ก็ต้องการ ๑๖
มี ๑๖ ก็ต้องการ๓๒ บัดนี้

มาได้รับกงจักรกรด กรงจักกรดพัดอยู่เหนือศีรษะของคนผู้ลุอำนาจความปรารถนาดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า จตุพฺภิ อฏฺฐชฺฌคมา ความว่า เจ้าได้เวมานิกเปรต ๔ นาง
ในระหว่างสมุทร ยังไม่พอใจด้วยนางเหล่านั้น
จึงเดินมุ่งต่อไปข้างหน้า ด้วยปรารถนาเกินส่วนได้ครอบครองนางทั้ง ๘ อีก
 แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อตฺริจฺฉํ จกฺกมาสโท ความว่า เจ้าไม่พอใจด้วยลาภของตนอย่างนี้
ยังปรารถนาเกินส่วน คือต้องการต่อไปไม่รู้หยุด
มุ่งลาภข้างหน้าต่อไป คราวนี้จึงมาโดนจักรกรด คือถึงจักรกรดนี้

เจ้านั้นอันความปรารถนากำจัดเสียแล้ว คือ ถูกตัณหาความทะยานอยาก กำจัด คือ เข้าไปตัดรอนเสียแล้ว จักรกรดจึงพัดผันบนหัวเจ้า
ในจักรทั้งสอง คือจักรหินเละจักรเหล็กพระโพธิสัตว์เห็นจักรเหล็กคมปานมีดโกน
พัดผันอยู่บนหัวของเขาด้วยสามารถแห่งการพัดหมุนเวียนต่อเนื่องกันไป จึงกล่าวอย่างนี้.
ก็และครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็กลับไปสู่เทวโลกของตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 401
แม้เนรยิกสัตว์นั้น เมื่อบาปของตนสิ้นแล้ว ก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
มิตตวินทกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุผู้ว่ายาก
ส่วนเทวบุตรได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามิตตวินทชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 402

38

(๑๓๙) เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว
พระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร เจ้าแผ่นดินมคธ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์ไพเราะจับใจยิ่งนัก
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด
ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่า เป็นสรณะ
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ซึ่งเป็นคนเขลา คนหลง ไม่ฉลาด ข้าพระองค์ได้ปลงพระชนมชีพพระบิดา
ผู้ดำรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เพราะปรารถนาความเป็นใหญ่
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงรับทราบความผิดของข้าพระองค์โดยเป็นความผิดจริง เพื่อสำรวมต่อไป

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า จริง มหาบพิตร ความผิดได้ครอบงำมหาบพิตรซึ่งเป็นคน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 336
เขลา คนหลง ไม่ฉลาด
มหาบพิตร ได้ปลงพระชนมชีพพระบิดาผู้ดำรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เพราะปรารถนาความเป็นใหญ่
แต่เพราะมหาบพิตรทรง
เห็นความผิดโดยเป็นความผิดจริงแล้ว
ทรงสารภาพตามเป็นจริง

ฉะนั้น ตถาคตขอรับทราบความผิดของมหาบพิตร
ก็การที่บุคคลเห็นความผิดโดยเป็นความผิดจริง แล้วสารภาพตามเป็นจริง รับสังวรต่อไป
นี้เป็นวัฒนธรรมในวินัยของพระอริยะแล.

(๑๔๐) เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร เจ้าแผ่นดินมคธ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ข้าพระองค์มีกิจมาก มีกรณียะมากขอทูลลาไปในบัดนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ขอมหาบพิตรจงทรงทราบเวลา ณ บัดนี้เถิด

ลำดับนั้น
พระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร เจ้าแผ่นดินมคธ ทรงเพลิดเพลิน ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จไป.

ต่อจากนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระราชาพระองค์นี้ถูกขุดเสียแล้ว
พระราชาพระองค์นี้ถูกขจัดเสียแล้ว

หากท้าวเธอจักไม่ปลงพระชนมชีพพระบิดาผู้ดำรงธรรมเป็นพระราชาโดยธรรมไซร้
ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี
ปราศจากมลทินจักเกิดขึ้นแก่ท้าวเธอ ณ ที่ประทับนี้ทีเดียว

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำเป็นไวยากรณ์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.
จบสามัญญผลสูตร ที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 337


39
เรื่องยาที่พระควรให้ และ ไม่ควรให้ เล่ม2หน้า432

[ภิกษุควรทำยาให้คน ๑๐ จำพวก]
ภิกษุควรทำยาให้แก่ชน ๑๐ จำพวก แม้อื่นอีก คือ
พี่ชาย ๑
น้องชาย ๑
พี่หญิง ๑
น้องหญิง ๑
น้าหญิง ๑
ป้า ๑
อาชาย ๑
ลุง ๑
อาหญิง ๑
น้าชาย ๑.
ก็เมื่อจะทำให้แก่ชนมีพี่ชายเป็นต้นนั้นแม้ทั้งหมด
ควรเอาเภสัชอันเป็นของ ๆ คนเหล่านั้นนั่นแล ปรุงให้อย่างเดียว,
แต่ถ้าสิ่งของ ๆ ชนเหล่านั้น ไม่เพียงพอ และชนเหล่านั้นก็ขอร้องอยู่ว่า
ท่านขอรับ ! โปรดให้พวกกระผมเถิด พวกกระผมจักถวายคืนแก่พระคุณท่าน, ควรให้เป็นของยืม,
ถึงหากพวกเขาไม่ขอร้อง, ภิกษุควรพูดว่า อาตมา มีเภสัชอยู่,
พวกท่านจงถือเอาเป็นของยืมเถิด หรือ ควรทำความผูกใจไว้ว่า สิ่งของ ๆ ชนเหล่านั้น
จักมีเมื่อใด เขาจักให้เมื่อนั้น ดังนี้ แล้วพึงให้ไป.
ถ้าเขาคืนให้ควรรับเอา,
ถ้าไม่คืนให้ ไม่ควรทวง.

เว้นญาติ ๑๐ จำพวกเหล่านั้นเสีย ไม่ควรให้เภสัชแก่ชนเหล่าอื่น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 433

ก็เมื่อภิกษุใช้ให้ญาตินำจตุปัจจัยมาตราบเท่าจนถึง ๗ ชั่วเครือสกุล โดยสืบ ๆ กันมาแห่งบุตรของญาติ ๑๐ จำพวก
มีพี่ชายเป็นต้นเหล่านั้นไม่เป็นการทำวิญญัติ เมื่อทำเภสัช (แก่ชนเหล่านั้น) ก็ไม่เป็นเวชกรรม
หรือ ไม่เป็นอาบัติ เพราะประทุษร้ายสกุล.

ถ้าพี่สะใภ้ น้องสะใภ้ หรือพี่เขย น้องเขย เป็นไข้,
ถ้าเขาเป็นญาติ, จะทำเภสัชแก่ญาติแม้เหล่านั้น ก็ควร.

ถ้าเขามิใช่ญาติพึงทำให้แก่พี่ชาย และพี่หญิง
ด้วยสั่งว่า จงให้ในที่ปฏิบัติของพวกท่าน.

อีกอย่างหนึ่ง
พึงทำให้แก่บุตรของเขา ด้วยสั่งว่า จงให้แก่มารดาและบิดาของพวกเจ้าเถิด.
พึงทราบวินิจฉัยในบททั้งปวงโดยอุบายนี้.

อันภิกษุเมื่อจะใช้สามเณรทั้งหลาย ให้นำเภสัชมาจากป่า
เพื่อประโยชน์แก่พี่สะใภ้
น้องสะใภ้เป็นต้นเหล่านั้น
ควรใช้พวกสามเณรที่เป็นญาติให้นำมา หรือ
พึงให้นำมาเพื่อประโยชน์แก่ตนแล้วจึงให้ไป.
แม้พวกสามเณรผู้ ไม่ใช่ญาติเหล่านั้นก็ควรนำมาด้วยหัวข้อวัตรว่า
พวกเราจะนำมาถวายพระอุปัชฌายะ.

โยมมารดาและบิดาของพระอุปัชฌายะ เป็นไข้ มายังวิหาร, และ
พระอุปัชฌายะหลีกไปสู่ทิศเสีย.
สัทธิวิหาริก ควรให้เภสัชอัน เป็นของ ๆ พระอุปัชฌายะ.

ถ้าไม่มีควรบริจาคเภสัชของตน ถวายพระอุปัชฌายะให้ไป.
แม้เมื่อของ ๆ ตนก็ไม่มีควรแสวงหาทำให้เป็นของ ๆ พระอุปัชฌายะ
แล้วให้ไป โดยนัยดังกล่าวแล้ว.ในโยม
มารดาและ
บิดา
ของสัทธิวิหาริก
แม้พระอุปัชฌายะก็ควรปฏิบัติเหมือน อย่างนั้นเหมือนกัน.
ในอาจารย์และอันเตวาสิกก็นัยนี้.




[ภิกษุควรทำยาให้ คน ๕ จำพวก]
บุคคลแม้อื่นใด คือ
คนจรมา ๑
โจร ๑
นักรบแพ้ ๑
ผู้เป็นใหญ่ ๑
คนที่พวกญาติสละเตรียมจะไป ๑

เป็นไข้ เข้าไปสู่วิหาร
ภิกษุผู้ไม่หวังตอบแทน
ควรทำเภสัช แก่คนทั้งหมดนั้น.

ตระกูลที่มีศรัทธาบำรุงด้วย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 434
ปัจจัย ๔ ย่อมตั้งอยู่ในฐานเป็นมารดาและบิดาของภิกษุสงฆ์.
ถ้าในตระกูลนั้นมีคนบางคน เป็นไข้,
ชนทั้งหลายเรียนขอเพื่อประโยชน์แก่ผู้เป็นไข้นั้นว่าท่านขอรับ !
ขอพระคุณท่านทำเภสัชให้ ด้วยความวิสาสะเถิด, ไม่ควรให้ ทั้งไม่ควรทำเลย.

ก็ถ้าพวกเขารู้สิ่งที่ควร เรียนถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ !
เขาปรุงเภสัชอะไรแก้โรคชื่อโน้น ?
ภิกษุจะตอบว่า เขาเอาสิ่งนี้และสิ่งนี้ทำ(เภสัช) ดังนี้ ก็ควร.
 
ก็ภิกษุถูกคฤหัสถ์เรียนถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ !มารดาของกระผมเป็นไข้
ขอได้โปรดบอกเภสัชด้วยเถิด ดังนี้ ไม่ควรบอก.
แต่ควรสนทนาถ้อยคำกะกันและกันว่า อาวุโส !
ในโรคชนิดนี้ ของภิกษุชื่อโน้น เขาปรุงเภสัชอะไรแก้ ?
ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า เขาเอาสิ่งนี้และนี้ปรุงเภสัช ขอรับ !
ฝ่ายชาวบ้าน ฟังคำสนทนานั้นแล้ว ย่อมปรุงเภสัชแก่มารดา;
ข้อที่ภิกษุสนทนากันนั้น ย่อมควร.

[เรื่องพระมหาปทุมเถระสนทนาเรื่องยาแก้โรค]
ได้ยินว่า
แม้พระมหาปทุมเถระ เมื่อพระเทวีของพระเจ้าวสภะ เกิดประชวรพระโรคขึ้น
ก็ถูกนางนักสนมคนหนึ่งมาเรียนถาม ท่านก็ ไม่พูด ว่าไม่รู้
ได้สนทนากับพวกภิกษุเหมือนอย่างที่กล่าวมาแล้วนนี้แล.

ข้าราชบริพารฟังคำสนทนานั้นแล้ว ได้ปรุงเภสัชถวายแด่พระเทวีพระองค์นั้น.
และเมื่อพระโรคสงบลงแล้ว ข้าราชบริพารได้บรรทุกผอบเภสัชให้เต็ม
พร้อมทั้งไตรจีวรและกหาปณะ ๓๐๐ นำไปวางไว้ใกล้เท้าของพระเถระ
แล้ว เรียนว่า ท่านเจ้าข้า ! โปรดทำการบูชาด้วยดอกไม้เถิด.

พระเถระคิดว่า
นี้ชื่อว่าเป็นส่วนของอาจารย์ แล้วให้ไวยาจักรรับไว้ด้วยอำนาจเป็นของกับปิยะ
ได้ทำการบูชาด้วยดอกไม้แล้ว. ภิกษุควรปฏิบัติในเภสัชอย่างนี้ก่อน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 435




40

(๑๗๐) ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระวิหารจงกรมแล้ว.
แม้อัมพัฏฐมาณพก็ออกจากพระวิหารเดินจงกรม
ขณะที่อัมพัฏฐมาณพเดินจงกรมตามพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่นั้น
ได้พิจารณาดูมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
ในพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 519
ก็ได้เห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ โดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ
พระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ๑
พระชิวหาใหญ่ ๑
จึงยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อไม่เลื่อมใสอยู่.

ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า
อัมพัฏฐมาณพนี้เห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการของเรา โดยมาก
เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ
คุยหะเร้นอยู่ในฝัก ๑
ชิวหาใหญ่ ๑
ยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อไม่เลื่อมใสอยู่.
ทันใดนั้นจึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้อัมพัฏฐมาณพได้เห็นพระคุยหะ
เร้นอยู่ในฝัก และ ทรงแลบพระชิวหาสอดเข้าช่องพระกรรณทั้ง ๒ กลับไปกลับมา
สอดเข้าช่องพระนาสิกทั้ง ๒ กลับไปกลับมา
แผ่ปิดจนมิดมณฑลพระนลาต.

(๑๗๑) ครั้งนั้น อัมพัฏฐมาณพคิดว่า
พระสมณโคดมประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ บริบูรณ์
ไม่บกพร่อง ดังนี้แล.
เขาจึงได้ทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอทูลลาไป ณ บัดนี้
ข้าพเจ้ามีกิจมาก มีธุระมาก.
ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจงสำคัญกาลอันควรบัดนี้.
แล้วอัมพัฏฐมาณพก็ขึ้นรถเทียมลากลับไป.




41
ลำดับนั้น
ท่านพระสีวลีเถระ ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับเอตทัคคะแล้ว
ระลึกถึงบุรพกรรมของตนแล้ว เกิดความโสมนัสใจ

เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนได้เคยประพฤติมาแล้วในกาลก่อน
จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า
ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.
ข้าพเจ้า จักกระทำการพรรณนาเนื้อความเฉพาะบทที่ยากเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

บทว่า สีลํ ตสฺส อสงฺเขยฺย ความว่า
ศีลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระองค์นั้น
กำหนดนับไม่ได้ สิกขาบททั้งหลายที่ตรัสไว้แล้ว อย่างนี้ว่า:-
สังวรวินัยเหล่านี้คือ
จำนวน ๙ พันโกฏิ,๑๘๐ โกฏิ, ๕ ล้าน และอื่นอีก ๓๖

พระสัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้ว คือ
ทรงแสดงไว้แล้วโดยมุขเปยยาล ในสิกขาวินัยสังวรแล.

อธิบายว่า
ก็ศีลของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันใคร ๆ ไม่อาจจะกำหนดนับได้โดยสิ้นเชิง.

บทว่า สมาธิวชิรูปโม ความว่า เพชรที่อยู่ ย่อมทำการตัดรัตนะเช่น
แก้วอินทนิล
แก้วไพฑูรย์
แก้วมณี
แก้วผลึก และ
เพชรตาแมว เป็นต้น
ให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ ฉันใด
สมาธิในโลกุตตรมรรคของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ
ย่อมแทง
ย่อมทำลาย
ย่อมตัดได้เด็ดขาด
ซึ่งธรรมทั้งหลายอันเป็นฝ่ายตรงกันข้ามและเป็นข้าศึก.

บทว่า อสงฺเขยฺยํ ญาณวรํ ความว่า หมู่แห่งพระญาณ เช่น พระสยัมภูญาณและ
พระสัพพัญญุตญาณเป็นต้นของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งสามารถ
เพื่อจะรู้และแทงตลอดอริยสัจ ๔ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ และสังขตธรรมและ
อสังขตธรรมทั้งหลายได้ อันบุคคลกำหนดนับไม่ได้ คือ ปราศจากการนับ
โดยประเภทเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันเป็นต้น.

บทว่า วิมุตฺติ จ อโนปมา ความว่าวิมุตฺติ ๔ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น
ไม่มีข้ออุปมา ปราศจากข้ออุปมาเพราะพ้นจากสังกิเลสทั้งหลาย
อันใคร ๆ ไม่สามารถเพื่อจะอุปมาว่า เป็นเช่นกับสิ่งเหล่านี้.
คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสีวลิเถราปทาน

42
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 149
อรรถกถาจันทกุมารชาดก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภพระเทวทัต
จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ราชาสิ ลุทฺทกมฺโม ดังนี้.
เรื่องของพระเทวทัตนั้น มาแล้วในสังฆเภทกขันกะแล้วนั่นแล.
เรื่องนั้น นับจำเดิมแต่เวลาที่ท่านออกผนวชแล้วตราบเท่าถึงให้ปลงพระชนมชีพ
ของพระเจ้าพิมพิสาร พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในที่นั้นนั่นเอง.


ฝ่ายพระเทวทัต ครั้นให้ปลงพระชนมชีพพระเจ้าพิมพิสารแล้ว
ก็เข้าไปเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรูทูลว่า ดูก่อนมหาราช
มโนรถของพระองค์ถึงที่สุดแล้ว
ส่วนมโนรถของของอาตมา ก็ยังหาถึงที่สุดก่อนไม่.
พระราชาได้ทรงฟังดังนั้นจึงตรัสถามว่า
ดูก่อนท่านผู้เจริญ ก็มโนรถของท่านเป็นอย่างไร ?

พระเทวทัต. ดูก่อนมหาราช
เมื่อฆ่าพระทสพลแล้วอาตมาจักเป็นพระพุทธเจ้ามิใช่หรือ ?

พระราชาตรัสถามว่า ก็ในเพราะเรื่องนี้ควรเราจะทำอย่างไรเล่า ?
เทวทัต. ดูก่อนมหาราช ควรจะให้นายขมังธนูทั้งหลายประชุมกัน.

พระราชาทรงรับว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ
จึงให้ประชุมนายขมังธนูจำพวกที่ยิงไม่ผิดพลาดรวม ๕๐๐ ตระกูล
ทรงเลือกจากคนเหล่านั้นไว้ ๓๑ คน
ตรัสสั่งว่า พ่อทั้งหลาย พวกเจ้าจงทำตามคำสั่งของพระเถระ
ดังนี้แล้วจึงส่งไปยังสำนักพระเทวทัต.

พระเทวทัตเรียกผู้เป็นใหญ่ ในบรรดาพวกนายขมังธนูเหล่านั้นมาแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านผู้มีอายุ พระสมณโคดมประทับอยู่ ณ เขาคิมฌกูฏเสด็จจงกรมอยู่ในที่พักกลางวันในที่โน้น.
ส่วนท่านจงไปในที่นั้น ยิงพระสมณโคดมด้วยลูกศรอาบด้วยยาพิษ ให้สิ้นพระชนมชีพแล้ว จงกลับโดยทางชื่อโน้น.

พระเทวทัตนั้น ครั้นส่งนายขมังธนูผู้ใหญ่นั้นไปแล้ว จึงพักนายขมังธนูไว้ในทางนั้น ๒ คน
ด้วยสั่งว่า จักมีบุรุษคนหนึ่งเดินทางมาโดยทางที่พวกท่านยืนอยู่
พวกท่านจงปลงชีวิตบุรุษนั้นเสีย แล้วกับมาโดยทางโน้น.

ในทางนั้นพระเทวทัตจึงวางบุรุษไว้๔ คน
ด้วยสั่งว่า โดยทางที่พวกท่านยืนอยู่ จักมีบุรุษเดินมา ๒ คน
ท่านจงปลงชีวิตบุรุษ ๒ คนนั้นเสีย แล้วกลับมาโดยทางชื่อโน้น.

ในทางนั้น พระเทวทัตวางคนไว้ ๘ คน ด้วยสั่งว่า
โดยทางที่พวกท่านยืนอยู่จักมีบุรุษ ๔ คนเดินทางมา
พวกท่านจงปลงชีวิตบุรุษทั้ง ๔ คนนั้นเสีย แล้วกลับโดยทางชื่อโน้น.

ในทางนั้น พระเทวทัตวางบุรุษไว้ ๑๖ คน
ด้วยสั่งว่าโดยทางที่พวกท่านไปยืนอยู่ จักมีบุรุษเดินมา ๘ คน
ท่านจงปลงชีวิตบุรุษทั้ง๘ คนนั้นเสีย แล้วจงกลับมาโดยทางชื่อโน้น.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระเทวทัตจึงทำอย่างนั้น.
แก้ว่า เพราะปกปิดกรรมชั่วของตน.
ได้ยินว่า พระเทวทัตได้ทำดังนั้น เพื่อจะปกปิดกรรมชั่วของตน.

ลำดับนั้น
นายขมังธนูผู้ใหญ่ ขัดดาบแล้วทางข้างซ้าย ผูกแล่งและศรไว้ข้างหลังจับธนูใหญ่ทำด้วยเขาแกะ
ไปยังสำนักพระตถาคตเจ้า จึงยกธนูขึ้นด้วยสัญญาว่า เราจักยิงดังนี้แล้ว
จึงผูกสอดลูกศร ฉุดสายมาเพื่อจะยิง ก็ไม่สามารถจะยิงไปได้.

พระศาสดา ได้ทรงให้คร่าธนูมาแล้ว หาได้ประทานให้ยิงไปได้ไม่.
นายขมังธนูผู้ใหญ่นั้น เมื่อไม่อาจแม้จะยิงลูกศรไปก็ดี ลดลงก็ดี ก็ได้เป็นคนลำบากใจ
เพราะสีข้างทั้งสองเป็นเหมือนจะหักลง น้ำลายก็ไหลนองออกจากปาก.
ร่างกายทั้งสิ้นเกิดแข็งกระด้าง ได้เป็นเสมือนถึงอาการอันเครื่องยนต์บีบคั้น.
นายขมังธนูนั้นได้เป็นคนอันมรณภัยคุกคามแล้วยืนอยู่.

ลำดับนั้น
พระศาสดา ทรงทอดพระเนตรเห็นดังนั้นแล้ว ทรงเปล่งด้วยเสียงอันไพเราะ
ตรัสปลอบนายขมังธนูว่า พ่อบุรุษผู้โง่เขลาท่านอย่ากล่าวเลย จงมาที่นี้เถิด.

ในขณะนั้น
นายขมังธนูก็ทิ้งอาวุธเสีย กราบลงด้วยศีรษะแทบพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
โทษได้ล่วงข้าพระพุทธเจ้าแล้ว โดยที่เป็นคนเขลา คนหลง คนชั่วบาป
ข้าพระพุทธเจ้ามิได้รู้จักคุณของพระองค์ จึงได้มาแล้ว เพื่อปลงพระชนมชีพของ
พระองค์ ตามคำเสี้ยมสอนของพระเทวทัตผู้เป็นอันธพาล

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระองค์จงอดโทษข้าพระพุทธเจ้า
ข้าแต่พระสุคตขอพระองค์จงอดโทษข้าพระพุทธเจ้า
ข้าแต่พระองค์ผู้รู้โลก ขอพระองค์จงอดโทษข้าพระพุทธเจ้า
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอดโทษให้ตนแล้วก็นั่งลงในที่สุดส่วนข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย ยังนายขมังธนูให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว
ดำรัสสอนว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านอย่าเดินทางไปตามทางที่พระเทวทัตชี้ให้
จงไปเสียทางอื่น แล้วส่งนายขมังธนูนั้นไป.

ก็แล้วครั้นส่งนายขมังธนูไปแล้ว พระองค์ก็เสด็จลงจากที่จงกรมไปประทับอยู่ ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง.

ลำดับนั้น
เมื่อนายขมังธนูผู้ใหญ่มิได้กลับมา
นายขมังธนูอีก ๒ คนที่คอยอยู่ก็คิดว่า
อย่างไรหนอเขาจึงล่าช้าอยู่
ออกเดินสวนทางไป ครั้นเห็นพระทศพล
ก็เข้าไปถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง.

พระศาสดาครั้นทรงประกาศพระอริยสัจแก่ชนทั้ง ๒ ยังเขาให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
แล้วดำรัสสอนว่า ท่านผู้มีอายุ
ท่านอย่าเดินไปทางที่พระเทวทัตบอก
จงไปโดยทางนี้ แล้วก็ส่งเขาไป โดยอุบายนี้
เมื่อทรงประกาศพระอริสัจ ยังนายขมังธนูแม้นอกนี้ ที่มานั่งเฝ้า ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว
ก็ทรงส่งไปโดยทางอื่น.

ลำดับนั้น
นายขมังธนูผู้ใหญ่นั้น กลับมาถึงก่อน ก็เข้าไปหาพระเทวทัต
กล่าวว่า ข้าแต่พระเทวทัตผู้เจริญ
ข้าพเจ้าหาได้อาจปลงพระชนมชีพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมทรงฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ ทรงอานุภาพอันยิ่งใหญ่.

ส่วนบรรดานายขมังธนูเหล่านั้น รำพึงว่า เราทั้งหมดนั้นอาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้รอดชีวิตแล้ว
ก็ออกบรรพชาในสำนักพระศาสดา แล้วทรงบรรลุพระอรหัตทุกท่าน.



43
โสมทัตกล่าวว่า
ข้าแต่พ่อผู้เป็นพราหมณ์ ภูริทัตนาคราชบูชา
คุณพ่อผู้ไปถึงที่อยู่ของตน
เพราะเหตุไร คุณพ่อจะปรารถนาประทุษร้าย ต่อผู้กระทำดี
เพราะความหลงอย่างนี้ ถ้าคุณพ่อปรารถนาทรัพย์ ภูริทัตนาคราชก็คงจักให้
คุณพ่อไปขอท่านเถิด ภูริทัตนาคราชคงจักให้ทรัพย์เป็นอันมากแก่คุณพ่อ.

บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ปูชยิ ความว่า บูชาแล้วด้วยกามอันเป็นทิพย์.
บทว่า ทุพฺภิมิจฺฉสิ ความว่า ดูก่อนพ่อ ท่านปรารถนาเพื่อกระทำกรรมคือการประทุษร้ายต่อมิตรเห็นปานนั้นหรือ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 66
พราหมณ์กล่าวว่า
ดูก่อนโสมทัต การกินของที่ถึงมือ ที่อยู่ใน
ภาชนะหรือที่ตั้งอยู่เบื้องหน้า เป็นความประเสริฐ
ประโยชน์ที่อยู่เบื้องหน้าเรา อย่าได้ล่วงเราไปเสียเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า หตฺถคตํ ความว่า ดูก่อนพ่อโสมทัตท่านเป็นหนุ่มไม่รู้ความเป็นไปของโลกอะไร
เพราะจะเคี้ยวกินสิ่งที่อยู่ในมืออยู่ในบาตร หรือที่ตั้งเก็บไว้ตรงหน้านั้นนั่นแลประเสริฐ คือ ตั้งอยู่ในที่ไม่ไกล

โสมทัตกล่าวว่า
คนประทุษร้ายต่อมิตร สละความเกื้อกูล จะตก
หมกไหม้อยู่ในนรกอันร้ายแรง แผ่นดินย่อมสูบผู้นั้น
หรือเมื่อผู้นั้นมีชีวิตอยู่ที่ซูบซีด ถ้าคุณพ่อปรารถนา
ทรัพย์ ภูริทัตนาคราชก็คงจักให้ ลูกเข้าใจว่า คุณพ่อ
จักต้องประสบเวรที่ตนทำไว้ในไม่ช้า.

บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า มหิมสฺส วินฺทฺรียติ ความว่า ดูก่อนพ่อ ปฐพีย่อมแยกให้ช่องแก่ประทุษร้ายต่อมิตร ทั้งที่ยังเป็นอยู่นั่นแล.
บทว่า หิตจฺจาคี ได้แก่ ผู้สละประโยชน์เกื้อกูลของตน.
บทว่า ชีวเร วาปิ สุสฺสติ ความว่า ถึงจะมีชีวิตอยู่ก็ย่อมซูบซีดเป็นมนุษย์เพียงดัง
เปรตฉะนั้น. ว่า อตฺตกตํ เวรํ ได้แก่ บาปที่ตนทำ.
บทว่า น จิรํ ความว่า ลูกเข้าใจว่า ไม่นานเขาจักประสบเวร.
พราหมณ์กล่าวว่า
พราหมณ์ทั้งหลายบูชามหายัญแล้ว ย่อมบริสุทธิ์
ได้ เราจักบูชามหายัญ ก็จักพ้นจากบาปด้วยการบูชายัญอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 67
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า สุชฺฌนฺติ แสดงว่า ลูกโสมทัต
ลูกยังเป็นหนุ่มไม่รู้อะไร ธรรมดาว่า พราหมณ์ทั้งหลาย ครั้นกระทำบาป
อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยยัญ จึงได้กล่าวอย่างนี้

โสมทัตกล่าวว่า
เชิญเถิด ลูกจะขอแยกไป ณ บัดนี้ วันนี้ลูกจะไม่ขออยู่ร่วมกับคุณพ่อ
จะไม่ขอเดินทางร่วมกับคุณพ่อ ผู้ทำกรรมหยาบอย่างนี้สักก้าวเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อปายามิ ความว่า เชิญเถิด ลูกจะขอแยกไป คือหนีไป.
ก็แลบัณฑิตมาณพครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
เมื่อไม่อาจให้บิดาเชื่อฟังคำของตน จึงโพนทนาให้เทวดาทราบด้วยเสียงอันดังว่า
ข้าพเจ้าจะไม่ไปกับคนทำบาปเห็นปานนี้ละ
ครั้นประกาศแล้ว ก็หนีไปทั้ง ๆ ที่บิดาเห็นอยู่นั่นแล
เข้าไปสู่ป่าหิมพานต์ บวชเป็นฤาษียังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดแล้ว มิให้เสื่อมฌานแล้วเกิดในพรหมโลก.

เมื่อพระศาสดาจะประกาศความนั้นจึงตรัสว่า
โสมทัตผู้ได้ยินได้ฟังมามาก ได้กล่าวคำนี้กะ
บิดาแล้ว ได้ประกาศให้เทวดาทั้งหลายทราบแล้ว ก็
ได้หลีกไปจากที่นั้น.
จบโสมทัตกัณฑ์



44
เนื้อเรื่องบางตอนหน้า68 ว่าด้วยการให้ดวงตาเป็นทาน

ลำดับนั้น
เมื่ออำมาตย์ทั้งหลาย จะทูลถามท้าวเธอว่า พระองค์จะ
พระราชทานพระจักษุ เพราะทรงปรารถนาอะไร จึงกล่าวคาถา ความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชา พระองค์ทรง
ปรารถนา พระชนมายุ วรรณะ สุขะ และพละอะไร
หรือ จึงทรงพระราชทานพระเนตร พระองค์ทรงเป็น
ราชาแห่งชาวสีพี ไม่มีใครประเสริฐยิ่งไปกว่า ทรง
พระราชทานพระเนตร เพราะเหตุปรโลกหรืออย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรโลกเหตุ ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเช่นพระองค์ จำต้องละอิสริยยศส่วนปัจจุบันแล้ว พระราช-
ทานดวงพระเนตร เพราะเหตุแห่งปรโลกหรืออย่างไร ?
ลำดับนั้น
พระราชาเมื่อจะตรัสตอบอำมาตย์เหล่านั้น จึงตรัสพระคาถาความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 70
เราให้ดวงตาเป็นทานนั้น เพราะยศก็หาไม่
เราจะได้ปรารถนาบุตร ทรัพย์หรือแว่นแคว้น เพราะผลแห่งการให้ดวงตานี้ก็หาไม่
อีกประการหนึ่ง ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ท่านได้ประพฤติกันมาแล้วแต่
โบราณ เพราะเหตุนี้แหละ ใจของเราจึงยินดีในทาน.
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า นวาหํ ตัดบทเป็น น เว อหํ.

บทว่า ยสสา ความว่า เพราะเหตุแห่งยศอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ก็หามิได้.
บทว่า น ปุตฺตมิจฺเฉ ความว่า ใช่ว่าเราอยากจะได้บุตร ทรัพย์สมบัติแว่นแคว้น
เพราะผลแห่งการให้จักษุเป็นทานนี้ก็หามิได้ ก็แต่ว่าข้อนี้ ชื่อว่าเป็นโบราณมรรค คือ
เป็นการบำเพ็ญบารมี อันสัตบุรุษคือบัณฑิตได้แก่ พระโพธิสัตว์ผู้สัพพัญญูสั่งสมมาดีแล้ว
ด้วยว่าพระโพธิสัตว์ไม่บำเพ็ญบารมีให้เต็มแล้ว ชื่อว่าจะมีความสามารถที่จะบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
 ณ โพธิบัลลังก์ก็หามิได้

อนึ่ง
เราบำเพ็ญบารมีไว้ ก็ใคร่จะเป็นพระพุทธเจ้า.

บทว่า อิจฺเจว ทาเน นิรโต มโน
ความว่า เพราะเหตุนี้ใจของเราจึงได้ยินดีเฉพาะในทานบริจาค.
แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงแสดงจริยาปิฎก
แก่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ เพื่อจะทรงแสดงว่า พระสัพพัญญุตญาณเท่านั้น
เป็นที่รักกว่าดวงตาแม้ทั้งสองของเรา จึงตรัสว่า
ดวงตาทั้งสองข้างจะได้เป็นที่เกลียดชังของเราก็
หาไม่ ตนของตนเองก็หาได้เป็นที่เกลียดชังของเราไม่
พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้นเราจึงได้ให้ดวงตา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 71
ก็เมื่ออำมาตย์ทั้งหลาย ได้ฟังพระดำรัสของพระมหาสัตว์แล้ว ไม่อาจ
จะทูลทัดทาน จำต้องนิ่งเฉยอยู่ พระมหาสัตว์เจ้าได้ตรัสกำชับสีวิกแพทย์
ด้วยพระคาถาว่า
ดูก่อนสีวิกะ ท่านเป็นมิตรสหายของเรา
ท่านเป็นคนศึกษามาดีแล้ว จงกระทำตามคำของเราให้ดี

จงควักดวงตาทั้งสองของเราผู้ปรารถนาอยู่ แล้ววาง

ลงในมือของพราหมณ์วณิพกเถิด.
พระคาถานั้นมีอรรถกถาอธิบายว่า ดูก่อนสีวกแพทย์ผู้สหาย เธอเป็น
ทั้งสหายและมิตรของเรา ได้ศึกษามาในศิลปะของแพทย์เป็นอย่างดีโดยแท้
จงทำตามคำของเราให้สำเร็จประโยชน์ เมื่อเราปรารถนาพิจารณาแลดูนั่นแล
เธอจงควักดวงตาทั้งคู่ของเราออกดังถอนหน่อตาล แล้ววางไว้ในมือของยาจก
ผู้นี้เถิด ดังนี้.


ลำดับนั้น
สีวกแพทย์ ทูลเตือนท้าวเธอว่า ขึ้นชื่อว่าการให้จักษุเป็นทาน เป็นกรรมหนัก
ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์จงใคร่ครวญให้ดี.
พระราชาตรัสว่า ดูก่อนสีวิกแพทย์ เราใคร่ครวญดีแล้ว ท่านอย่ามัวชักช้าร่ำไรอยู่เลย อย่าพูดกับเราให้มากเรื่องไปเลย.

สีวิกแพทย์คิดว่า
การที่นายแพทย์ผู้ศึกษามาดีเช่นเรา จะเอาศาสตราคว้านพระเนตรของพระราชาไม่สมควร.
เขาจึงบดโอสถหลายขนาน แล้วเอาผลตัวยาอบดอกอุบลเขียวแล้วถวายให้ทรงถูพระเนตรเบื้องขวา.
พระเนตรพร่า เกิดทุกขเวทนาเป็นกำลัง

เขากราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าแต่มหาราชเจ้า
ขอพระองค์จงทรงกำหนดพระทัยดูเถิด
การทำพระเนตรให้เป็นปกติ เป็นภาระของข้าพระพุทธเจ้า.
พระราชาตรัสว่า พ่อหมอ เธอจงหลีกไป อย่ามัวทำช้าอยู่เลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 72
เขาจึงปรุงโอสถน้อมเข้าไปให้ทรงถูพระเนตรซ้ำอีก
พระเนตรก็หลุดออกจากหลุมพระเนตร
บังเกิดทุกขเวทนาเหลือประมาณ.

เขากราบทูลว่า ขอเดชะมหาราชเจ้า
ขอพระองค์จงทรงกำหนดพระทัยดูเถิด
การทำพระเนตรให้เป็นปกติ เป็นภาระของข้าพระพุทธเจ้า.
พระราชาตรัสว่า หลีกไปเถอะพ่อหมอ อย่าทำชักช้าอยู่เลย.


ในวาระที่ ๓ เขาปรุงโอสถให้แรงขึ้นกว่าเดิม น้อมเข้าไปถวาย.
ด้วยกำลังพระโอสถ พระเนตรก็หมุนหลุดออกจากเบ้าพระเนตร ลงมาห้อยอยู่ด้วยเส้นเอ็น.

เขาจึงกราบทูลซ้ำอีกว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมนรชน ขอพระองค์จงทรงกำหนดพระทัยดูเถิด
การทำพระเนตรให้เป็นปกติ เป็นภาระของข้าพระพุทธเจ้า.
พระราชาตรัสว่า เธออย่าทำการชักช้าอยู่เลย.
ทุกขเวทนาบังเกิดขึ้น เหลือที่จะประมาณ พระโลหิตก็ไหลออก.
พระภูษาทรงเปียกชุ่มไปด้วยพระโลหิต


นางสนมและหมู่อำมาตย์ทั้งหลาย
หมอบเฝ้าอยู่แทบบาทมูลของพระราชา ต่างพากันปริเทวนาการพิไรรำพันอึงคะนึงว่า
ขอเดชะ พระองค์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ
ขอพระองค์อย่าทรงพระราชทานดวงพระเนตรเลย.


พระราชาทรงอดกลั้นทุกขเวทนา ตรัสว่า
พ่อหมอ เธออย่าทำการชักช้าอยู่เลย.
เขารับพระบรมราชโองการแล้ว ประคองพระเนตรด้วยมือซ้าย จับศาสตราตัดเอ็นที่ติดพระเนตรด้วยมือขวา
แล้วรับพระเนตรไปวางไว้ในพระหัตถ์ของพระมหาสัตว์.


พระองค์ทอดพระเนตรเบื้องขวา ด้วยพระเนตรเบื้องซ้าย
ทรงอดกลั้นทุกขเวทนา ตรัสเรียกพราหมณ์ว่า มาเถิดพราหมณ์ แล้วตรัสว่า
สัพพัญญุตญาณเท่านั้น เป็นที่รักกว่านัยน์ตาของเรานี้ ตั้งร้อยเท่า พันเท่าแสนเท่า
ผลที่เราบริจาคดวงตานี้ จงเป็นปัจจัยแก่พระสัพพัญญุคญาณนั้นเถิด
แล้วได้พระราชทานดวงพระเนตรนั้นแก่พราหมณ์ไป.


พราหมณ์รับพระเนตรนั้น ประดิษฐานไว้ในดวงตาของตน.
ด้วยอานุภาพของพระเจ้าสีวิราชนั้นดวงพระเนตรก็ประดิษฐานอยู่ เป็นเหมือนดอกอุบลเขียวที่แย้มบาน.


พระมหาสัตว์เจ้า ทอดพระเนตรดูนัยน์ตาของพราหมณ์นั้น ด้วยพระเนตรเบื้องซ้าย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 73
แล้วทรงดำริว่า โอ อักขิทาน เราได้ให้ดีแล้ว
ทรงเสวยปีติอันซ่านไปภายในพระหฤทัยหาระหว่างมิได้ จึงได้พระราชทานพระเนตรเบื้องซ้ายนอกนี้อีก.

ท้าวสักกเทวราช ทรงประดิษฐาน แม้พระเนตรเบื้องซ้ายนั้นไว้ในดวงพระเนตร
ของพระองค์ แล้วเสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ เมื่อมหาชนกำลังแลดูอยู่นั่นแล ได้ออกจากพระนครไปสู่เทวโลกทันที

45
ว่าด้วยภิกษุผู้นับถือและไม่นับถือตลอด เล่ม35หน้า81
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 81
[/color]
๖. กุหสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้นับถือและไม่นับถือตลอด
[๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด     
หลอกลวง
ดื้อรั้น
พล่ามเพ้อ
ไว้ตัว
เย่อหยิ่ง
ใจไม่มั่น

ภิกษุเหล่านั้นนับว่าไม่นับถือเรา และชื่อว่าออกไปนอกพระธรรมวินัยนี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ให้พระธรรมวินัยนี้.

ส่วนภิกษุเหล่าใด           
ไม่หลอกลวง
ไม่พล่ามเพ้อ
ฉลาด
ไม่ดื้อรั้น
ใจมั่นคงดี

ภิกษุเหล่านั้นนับว่านับถือเรา และไม่ออกไปนอกพระธรรมวินัยนี้
ภิกษุเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้

ภิกษุเหล่าใด     
หลอกลวง
ดื้อรั้น
พล่ามเพ้อ
ไว้ตัว
เย่อหยิ่ง และ
ใจไม่มั่น

ภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่งอกงามในพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
ภิกษุเหล่าใด     
ไม่หลอกลวง
ไม่พล่ามเพ้อ
ฉลาด
ไม่ดื้อรั้น
ใจมั่นคงดี

ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อนงอกงามในพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.
จบกุหสูตรที่ ๖
[/color][/b]

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 82
[/color][/b]
อรรถกถากุหสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในกุหสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กุหา แปลว่า ผู้หลอกลวง.
บทว่า ถทฺธา ได้แก่ ดื้อรั้นด้วยความโกรธ และมานะ.
บทว่า ลปา ได้แก่ พูดพล่าม.
บทว่า สิงฺคี ความว่า ผู้ประกอบด้วยกิเลสที่ปรากฏเสมือนเขาสัตว์
ที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่าบรรดากิเลสเหล่านั้น
การไว้ตัวเป็นไฉน ? คือ การไว้ตัว ภาวะคือการไว้ตัวภาวะคือการไว้ในตัวในอิริยาบถ ๔
 กิริยาวางท่าในอิริยาบถ ๔ ภาวะคือความมีคนแวดล้อม กิริยาวางท่ากับคนแวดล้อม.
บทว่า อุนฺนฬา ความว่า เป็นดุจไม้อ้อที่ชูขึ้น คือยกมานะเปล่า ๆ ขึ้นตั้ง.
บทว่า อสมาหิตา ความว่า ไม่ได้แม้เพียงเอกัคคตาจิต.
บทว่า น เม เต ภิกฺขเว ภิกฺขู มามกา ความว่า ภิกษุเหล่านั้นของเรา ไม่ใช่เป็นสมบัติของเรา.
ก็บทนี้ว่า เต มยฺหํ ตรัสเพราะบวชอุทิศพระศาสดา.
บทว่า เต โข เม ภิกฺขเว ภิกฺขู มามกา ความว่า ก็ตรัสเพราะบวชอุทิศตนในศาสนาแม้นี้
แต่ตรัสว่า มามกา เพราะเป็นผู้ปฏิบัติชอบ.
บทว่า วุฑฺฒึ วิรุฬฺหึ เวปุลฺลํ อาปชฺชนฺติ ความว่า ภิกษุเหล่านั้น ย่อมถึงความเจริญ
เพราะ เจริญด้วยศีลาทิคุณ ความงอกงาม
เพราะไม่หวั่นไหว ความไพบูลย์
เพราะ แผ่ไปในที่ทุกสถาน
ก็ภิกษุเหล่านี้นั้นย่อมงอกงามจนถึงอรหัตมรรค
เมื่อบรรลุพระอรหัตผลแล้ว ชื่อว่า งอกงาม.
ทั้งในพระสูตรนี้ ทั้งในคาถา ตรัสทั้งวัฏฏะทั้งวิวัฏฏะ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถากุหสูตรที่ ๖__
[/color][/b]


หน้า: 1 2 [3] 4 5