แสดงกระทู้ - สมบัติ สูตรไชย
กระดานสนทนาธรรม

ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก บ้านห้วยยางทอง ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ 67260


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - สมบัติ สูตรไชย

หน้า: 1 2 3 [4] 5
46
เนื้อเรื่องบางตอนหน้า68 ว่าด้วยการให้ดวงตาเป็นทาน

ลำดับนั้น
เมื่ออำมาตย์ทั้งหลาย จะทูลถามท้าวเธอว่า พระองค์จะ
พระราชทานพระจักษุ เพราะทรงปรารถนาอะไร จึงกล่าวคาถา ความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชา พระองค์ทรง
ปรารถนา พระชนมายุ วรรณะ สุขะ และพละอะไร
หรือ จึงทรงพระราชทานพระเนตร พระองค์ทรงเป็น
ราชาแห่งชาวสีพี ไม่มีใครประเสริฐยิ่งไปกว่า ทรง
พระราชทานพระเนตร เพราะเหตุปรโลกหรืออย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรโลกเหตุ ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเช่นพระองค์ จำต้องละอิสริยยศส่วนปัจจุบันแล้ว พระราช-
ทานดวงพระเนตร เพราะเหตุแห่งปรโลกหรืออย่างไร ?
ลำดับนั้น
พระราชาเมื่อจะตรัสตอบอำมาตย์เหล่านั้น จึงตรัสพระคาถาความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 70
เราให้ดวงตาเป็นทานนั้น เพราะยศก็หาไม่
เราจะได้ปรารถนาบุตร ทรัพย์หรือแว่นแคว้น เพราะผลแห่งการให้ดวงตานี้ก็หาไม่
อีกประการหนึ่ง ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ท่านได้ประพฤติกันมาแล้วแต่
โบราณ เพราะเหตุนี้แหละ ใจของเราจึงยินดีในทาน.
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า นวาหํ ตัดบทเป็น น เว อหํ.

บทว่า ยสสา ความว่า เพราะเหตุแห่งยศอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ก็หามิได้.
บทว่า น ปุตฺตมิจฺเฉ ความว่า ใช่ว่าเราอยากจะได้บุตร ทรัพย์สมบัติแว่นแคว้น
เพราะผลแห่งการให้จักษุเป็นทานนี้ก็หามิได้ ก็แต่ว่าข้อนี้ ชื่อว่าเป็นโบราณมรรค คือ
เป็นการบำเพ็ญบารมี อันสัตบุรุษคือบัณฑิตได้แก่ พระโพธิสัตว์ผู้สัพพัญญูสั่งสมมาดีแล้ว
ด้วยว่าพระโพธิสัตว์ไม่บำเพ็ญบารมีให้เต็มแล้ว ชื่อว่าจะมีความสามารถที่จะบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
 ณ โพธิบัลลังก์ก็หามิได้

อนึ่ง
เราบำเพ็ญบารมีไว้ ก็ใคร่จะเป็นพระพุทธเจ้า.

บทว่า อิจฺเจว ทาเน นิรโต มโน
ความว่า เพราะเหตุนี้ใจของเราจึงได้ยินดีเฉพาะในทานบริจาค.
แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงแสดงจริยาปิฎก
แก่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ เพื่อจะทรงแสดงว่า พระสัพพัญญุตญาณเท่านั้น
เป็นที่รักกว่าดวงตาแม้ทั้งสองของเรา จึงตรัสว่า
ดวงตาทั้งสองข้างจะได้เป็นที่เกลียดชังของเราก็
หาไม่ ตนของตนเองก็หาได้เป็นที่เกลียดชังของเราไม่
พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้นเราจึงได้ให้ดวงตา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 71
ก็เมื่ออำมาตย์ทั้งหลาย ได้ฟังพระดำรัสของพระมหาสัตว์แล้ว ไม่อาจ
จะทูลทัดทาน จำต้องนิ่งเฉยอยู่ พระมหาสัตว์เจ้าได้ตรัสกำชับสีวิกแพทย์
ด้วยพระคาถาว่า
ดูก่อนสีวิกะ ท่านเป็นมิตรสหายของเรา
ท่านเป็นคนศึกษามาดีแล้ว จงกระทำตามคำของเราให้ดี

จงควักดวงตาทั้งสองของเราผู้ปรารถนาอยู่ แล้ววาง

ลงในมือของพราหมณ์วณิพกเถิด.
พระคาถานั้นมีอรรถกถาอธิบายว่า ดูก่อนสีวกแพทย์ผู้สหาย เธอเป็น
ทั้งสหายและมิตรของเรา ได้ศึกษามาในศิลปะของแพทย์เป็นอย่างดีโดยแท้
จงทำตามคำของเราให้สำเร็จประโยชน์ เมื่อเราปรารถนาพิจารณาแลดูนั่นแล
เธอจงควักดวงตาทั้งคู่ของเราออกดังถอนหน่อตาล แล้ววางไว้ในมือของยาจก
ผู้นี้เถิด ดังนี้.


ลำดับนั้น
สีวกแพทย์ ทูลเตือนท้าวเธอว่า ขึ้นชื่อว่าการให้จักษุเป็นทาน เป็นกรรมหนัก
ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์จงใคร่ครวญให้ดี.
พระราชาตรัสว่า ดูก่อนสีวิกแพทย์ เราใคร่ครวญดีแล้ว ท่านอย่ามัวชักช้าร่ำไรอยู่เลย อย่าพูดกับเราให้มากเรื่องไปเลย.

สีวิกแพทย์คิดว่า
การที่นายแพทย์ผู้ศึกษามาดีเช่นเรา จะเอาศาสตราคว้านพระเนตรของพระราชาไม่สมควร.
เขาจึงบดโอสถหลายขนาน แล้วเอาผลตัวยาอบดอกอุบลเขียวแล้วถวายให้ทรงถูพระเนตรเบื้องขวา.
พระเนตรพร่า เกิดทุกขเวทนาเป็นกำลัง

เขากราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าแต่มหาราชเจ้า
ขอพระองค์จงทรงกำหนดพระทัยดูเถิด
การทำพระเนตรให้เป็นปกติ เป็นภาระของข้าพระพุทธเจ้า.
พระราชาตรัสว่า พ่อหมอ เธอจงหลีกไป อย่ามัวทำช้าอยู่เลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 72
เขาจึงปรุงโอสถน้อมเข้าไปให้ทรงถูพระเนตรซ้ำอีก
พระเนตรก็หลุดออกจากหลุมพระเนตร
บังเกิดทุกขเวทนาเหลือประมาณ.

เขากราบทูลว่า ขอเดชะมหาราชเจ้า
ขอพระองค์จงทรงกำหนดพระทัยดูเถิด
การทำพระเนตรให้เป็นปกติ เป็นภาระของข้าพระพุทธเจ้า.
พระราชาตรัสว่า หลีกไปเถอะพ่อหมอ อย่าทำชักช้าอยู่เลย.


ในวาระที่ ๓ เขาปรุงโอสถให้แรงขึ้นกว่าเดิม น้อมเข้าไปถวาย.
ด้วยกำลังพระโอสถ พระเนตรก็หมุนหลุดออกจากเบ้าพระเนตร ลงมาห้อยอยู่ด้วยเส้นเอ็น.

เขาจึงกราบทูลซ้ำอีกว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมนรชน ขอพระองค์จงทรงกำหนดพระทัยดูเถิด
การทำพระเนตรให้เป็นปกติ เป็นภาระของข้าพระพุทธเจ้า.
พระราชาตรัสว่า เธออย่าทำการชักช้าอยู่เลย.
ทุกขเวทนาบังเกิดขึ้น เหลือที่จะประมาณ พระโลหิตก็ไหลออก.
พระภูษาทรงเปียกชุ่มไปด้วยพระโลหิต


นางสนมและหมู่อำมาตย์ทั้งหลาย
หมอบเฝ้าอยู่แทบบาทมูลของพระราชา ต่างพากันปริเทวนาการพิไรรำพันอึงคะนึงว่า
ขอเดชะ พระองค์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ
ขอพระองค์อย่าทรงพระราชทานดวงพระเนตรเลย.


พระราชาทรงอดกลั้นทุกขเวทนา ตรัสว่า
พ่อหมอ เธออย่าทำการชักช้าอยู่เลย.
เขารับพระบรมราชโองการแล้ว ประคองพระเนตรด้วยมือซ้าย จับศาสตราตัดเอ็นที่ติดพระเนตรด้วยมือขวา
แล้วรับพระเนตรไปวางไว้ในพระหัตถ์ของพระมหาสัตว์.


พระองค์ทอดพระเนตรเบื้องขวา ด้วยพระเนตรเบื้องซ้าย
ทรงอดกลั้นทุกขเวทนา ตรัสเรียกพราหมณ์ว่า มาเถิดพราหมณ์ แล้วตรัสว่า
สัพพัญญุตญาณเท่านั้น เป็นที่รักกว่านัยน์ตาของเรานี้ ตั้งร้อยเท่า พันเท่าแสนเท่า
ผลที่เราบริจาคดวงตานี้ จงเป็นปัจจัยแก่พระสัพพัญญุคญาณนั้นเถิด
แล้วได้พระราชทานดวงพระเนตรนั้นแก่พราหมณ์ไป.


พราหมณ์รับพระเนตรนั้น ประดิษฐานไว้ในดวงตาของตน.
ด้วยอานุภาพของพระเจ้าสีวิราชนั้นดวงพระเนตรก็ประดิษฐานอยู่ เป็นเหมือนดอกอุบลเขียวที่แย้มบาน.


พระมหาสัตว์เจ้า ทอดพระเนตรดูนัยน์ตาของพราหมณ์นั้น ด้วยพระเนตรเบื้องซ้าย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 73
แล้วทรงดำริว่า โอ อักขิทาน เราได้ให้ดีแล้ว
ทรงเสวยปีติอันซ่านไปภายในพระหฤทัยหาระหว่างมิได้ จึงได้พระราชทานพระเนตรเบื้องซ้ายนอกนี้อีก.

ท้าวสักกเทวราช ทรงประดิษฐาน แม้พระเนตรเบื้องซ้ายนั้นไว้ในดวงพระเนตร
ของพระองค์ แล้วเสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ เมื่อมหาชนกำลังแลดูอยู่นั่นแล ได้ออกจากพระนครไปสู่เทวโลกทันที

47
ว่าด้วยภิกษุผู้นับถือและไม่นับถือตลอด เล่ม35หน้า81
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 81
[/color]
๖. กุหสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้นับถือและไม่นับถือตลอด
[๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด     
หลอกลวง
ดื้อรั้น
พล่ามเพ้อ
ไว้ตัว
เย่อหยิ่ง
ใจไม่มั่น

ภิกษุเหล่านั้นนับว่าไม่นับถือเรา และชื่อว่าออกไปนอกพระธรรมวินัยนี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ให้พระธรรมวินัยนี้.

ส่วนภิกษุเหล่าใด           
ไม่หลอกลวง
ไม่พล่ามเพ้อ
ฉลาด
ไม่ดื้อรั้น
ใจมั่นคงดี

ภิกษุเหล่านั้นนับว่านับถือเรา และไม่ออกไปนอกพระธรรมวินัยนี้
ภิกษุเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้

ภิกษุเหล่าใด     
หลอกลวง
ดื้อรั้น
พล่ามเพ้อ
ไว้ตัว
เย่อหยิ่ง และ
ใจไม่มั่น

ภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่งอกงามในพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
ภิกษุเหล่าใด     
ไม่หลอกลวง
ไม่พล่ามเพ้อ
ฉลาด
ไม่ดื้อรั้น
ใจมั่นคงดี

ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อนงอกงามในพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.
จบกุหสูตรที่ ๖
[/color][/b]

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 82
[/color][/b]
อรรถกถากุหสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในกุหสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กุหา แปลว่า ผู้หลอกลวง.
บทว่า ถทฺธา ได้แก่ ดื้อรั้นด้วยความโกรธ และมานะ.
บทว่า ลปา ได้แก่ พูดพล่าม.
บทว่า สิงฺคี ความว่า ผู้ประกอบด้วยกิเลสที่ปรากฏเสมือนเขาสัตว์
ที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่าบรรดากิเลสเหล่านั้น
การไว้ตัวเป็นไฉน ? คือ การไว้ตัว ภาวะคือการไว้ตัวภาวะคือการไว้ในตัวในอิริยาบถ ๔
 กิริยาวางท่าในอิริยาบถ ๔ ภาวะคือความมีคนแวดล้อม กิริยาวางท่ากับคนแวดล้อม.
บทว่า อุนฺนฬา ความว่า เป็นดุจไม้อ้อที่ชูขึ้น คือยกมานะเปล่า ๆ ขึ้นตั้ง.
บทว่า อสมาหิตา ความว่า ไม่ได้แม้เพียงเอกัคคตาจิต.
บทว่า น เม เต ภิกฺขเว ภิกฺขู มามกา ความว่า ภิกษุเหล่านั้นของเรา ไม่ใช่เป็นสมบัติของเรา.
ก็บทนี้ว่า เต มยฺหํ ตรัสเพราะบวชอุทิศพระศาสดา.
บทว่า เต โข เม ภิกฺขเว ภิกฺขู มามกา ความว่า ก็ตรัสเพราะบวชอุทิศตนในศาสนาแม้นี้
แต่ตรัสว่า มามกา เพราะเป็นผู้ปฏิบัติชอบ.
บทว่า วุฑฺฒึ วิรุฬฺหึ เวปุลฺลํ อาปชฺชนฺติ ความว่า ภิกษุเหล่านั้น ย่อมถึงความเจริญ
เพราะ เจริญด้วยศีลาทิคุณ ความงอกงาม
เพราะไม่หวั่นไหว ความไพบูลย์
เพราะ แผ่ไปในที่ทุกสถาน
ก็ภิกษุเหล่านี้นั้นย่อมงอกงามจนถึงอรหัตมรรค
เมื่อบรรลุพระอรหัตผลแล้ว ชื่อว่า งอกงาม.
ทั้งในพระสูตรนี้ ทั้งในคาถา ตรัสทั้งวัฏฏะทั้งวิวัฏฏะ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถากุหสูตรที่ ๖__
[/color][/b]


48

[๑๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่ประทับพักผ่อนในเวลาเย็น
เสด็จตรงไปยังโรงกลมใกล้หมู่ไม้กุ่มน้ำ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนาอะไรกัน เรื่องอะไรที่พวกเธอพูดค้างไว้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามดังนี้ ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน
พวกข้าพระองค์ได้สนทนากันขึ้นในระหว่างนี้ว่า
น่าอัศจรรย์  ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ไม่เคยมีแล้ว ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
พระตถาคตจะต้องทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 10
จึงจักทรงระลึกได้ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ซึ่งปรินิพพานแล้ว
ทรงตัดธรรมที่ทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว
ทรงตัดความหมุนเวียนได้แล้ว
ทรงครอบงำความหมุนเวียนได้แล้ว
ทรงล่วงทุกข์ได้ทุกอย่างแล้ว แม้โดยพระชาติ
แม้โดยพระนาม
แม้โดยพระโคตร
แม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ
แม้โดยคู่แห่งพระสาวก
แม้โดยประชุมแห่งพระสาวกว่า แม้ด้วยเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงได้มีพระชาติเช่นนี้ ฯลฯ
มีวิมุตติเช่นนี้
ท่านผู้มีอายุทั้งหลายเป็นอย่างไรหนอแล
พระตถาคตพระองค์เดียว จึงทรงแทงตลอดธรรมธาตุนี้
เพราะเหตุที่พระตถาคตทรงแทงตลอดธรรมธาตุแล้วฉะนั้น
จึงทรงระลึกได้ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ซึ่งปรินิพพานแล้ว
ตัดธรรมเครื่องทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว ทรงตัดความหมุนเวียนได้แล้ว
ทรงครอบงำความหมุนเวียนได้แล้ว ทรงล่วงทุกข์ได้ทุกอย่างแล้ว
แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม
แม้โดยพระโคตร
แม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ
แม้โดยคู่แห่งพระสาวก
แม้โดยประชุมแห่งพระสาวกว่า
แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงได้ มีพระชาติเช่นนี้
มีพระนามเช่นนี้
มีพระโคตรเช่นนี้
มีศีลเช่นนี้
มีธรรมเช่นนี้
มีพระปัญญาเช่นนี้
มีวิหารธรรมเช่นนี้
มีวิมุตติเช่นนี้ หรือว่า
เพราะความข้อนี้พวกเทวดาได้กราบทูลแด่พระตถาคต
พระตถาคตจึงทรงระลึกได้ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว
ซึ่งปรินิพพานแล้ว ตัดธรรมเครื่องทำให้เนิ่นช้าได้แล้วตัดความหนุนเวียนได้แล้ว
ทรงครอบงำความหมุนเวียนได้แล้ว ทรงล่วงความทุกข์ทุกอย่างได้แล้ว
แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม ฯ ล ฯ แม้โดยประชุมแห่งพระสาวกว่า
แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงได้มีพระชาติเช่นนี้ มีพระนามเช่นนี้ ฯ ล ฯ
มีวิมุตติเช่นนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้แลที่พวกข้าพระองค์พูดค้างไว้
พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 11
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุที่ตถาคตนี่แหละแทงตลอดธรรมธาตุแล้ว
ฉะนั้นตถาคตจึงระลึกได้ถึงพระพุทธเจ้าที่ล่วงไปแล้ว ซึ่งปรินิพพานแล้ว ตัดธรรมเครื่องทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว
มีวัฏฏะอันตัดแล้วครอบงำวัฏฏะแล้ว แม้โดยพระชาติ
แม้โดยพระนาม
แม้โดยพระโคตร
แม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ
แม้โดยคู่แห่งพระสาวก
แม้โดยการประชุมกันแห่งพระสาวกว่า
แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีพระชาติเช่นนี้
มีพระนามเช่นนี้ ฯลฯ มีวิมุตติเช่นนี้
ความข้อนี้ แม้พวกเทวดาก็ได้กราบทูลแด่ตถาคต ตถาคตจึงระลึกได้
ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ซึ่งปรินิพพานแล้ว ตัดธรรมเครื่องทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว มีวัฏฏะอันตัดแล้ว ครอบงำวัฏฏะแล้ว ล่วงสรรพทุกข์แล้ว
แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม ฯ ล ฯ
แม้โดยการประชุมกันแห่งพระสาวกว่า
แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้ มีพระชาติเช่นนี้
มีพระนามเช่นนี้
มีวิมุตติเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอปรารถนาหรือไม่ที่จะฟังธรรมีกถา
ซึ่งเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาสโดยยิ่งกว่าประมาณภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นกาลสมควรแล้ว
ข้าแต่พระสุคต เป็นกาลสมควรแล้วที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงการทำธรรมีกถาซึ่ง
เกี่ยวด้วยบุพเพนิวาส โดยยิ่งกว่าประมาณ
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วจักได้ทรงจำไว้.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกเธอ จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นับแต่นี้ไป ๙๑ กัป
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี
เสด็จอุบัติแล้วในโลก พระองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ
เสด็จอุบัติแล้วในขัตติยสกุล เป็นโกณฑัญญะโดยพระโคตร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 12
มีพระชนมายุประมาณ ๘๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้แคฝอย
มีพระขัณฑะและพระติสสะ เป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ
การประชุมแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าวิปัสสี ได้มีแล้วสามครั้ง
ครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกัน เป็นจำนวนภิกษุหกล้านแปดแสนรูป
อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุแสนรูป
อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุแปดหมื่นรูป
ภิกษุทั้งหลาย
พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ซึ่งได้ประชุมกันทั้งสามครั้งนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่า อโสกะ
ได้เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พระราชาพระนามว่า พันธุม เป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่า พันธุมดี เป็นพระชนนี
บังเกิดเกล้าของพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
พระนครชื่อว่าพันธุมดี ได้เป็นราชธานีของ พระเจ้าพันธุม.
ว่าด้วยพระโพธิสัตว์
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์พระนามว่าวิปัสสี
จุติจากชั้นดุสิตแล้ว มีพระสติสัมปชัญญะ เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา
ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้
เมื่อใดพระโพธิสัตว์จุติจากชั้นดุสิต เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา
เมื่อนั้นในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณปรากฏในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย
ช่องว่างซึ่งอยู่ที่สุดในโลก มิได้ถูกอะไรปกปิดไว้ ที่มืดมิดก็ดี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 13
สถานที่ ที่พระจันทร์และพระอาทิตย์เหล่านี้ ซึ่งมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากปานนี้ส่องแสงไปไม่ถึงก็ดี
ในที่ทั้งสองแห่งนั้น แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย
ถึงสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในสถานที่เหล่านั้นก็จำกันและกันได้ ด้วยแสงนั้น
ว่า พ่อผู้เจริญ ได้ยินว่า ถึงสัตว์พวกอื่นที่เกิดในนี้ก็มีอยู่เหมือนกัน
ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ ย่อมหวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ
ย่อมปรากฏในโลกล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย
ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้
ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา
เทวบุตร ๔ องค์ ย่อมเข้าไปรักษาทิศทั้ง ๔โดยตั้งใจว่าใคร ๆ
คือ มนุษย์ หรืออมนุษย์ก็ตาม อย่าเบียดเบียนพระโพธิสัตว์
หรือพระมารดาของโพธิสัตว์นั้นได้
ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้
ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา
พระมารดาของพระโพธิสัตว์โดยปรกติทรงศีล
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
งดเว้นจากการลักทรัพย์
งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
งดเว้นจากการกล่าวเท็จ
งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท
ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้
ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา
พระมารดาของโพธิสัตว์ย่อมไม่เกิดมนัสซึ่งเกี่ยวด้วยกามคุณในบุรุษทั้งหลาย
พระมารดาของโพธิสัตว์ย่อมเป็นหญิงที่บุรุษใด ๆ ซึ่งมีจิตกำหนัดแล้วจะล่วงเกินไม่ได้
ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้
ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา
พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมได้กามคุณ๕
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 14
พระนางเพียบพร้อมพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ได้รับบำเรออยู่
ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้
ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา
อาพาธใด ๆ ย่อมไม่เกิดแก่พระมารดาของของพระโพธิสัตว์เลย
พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมทรงสำราญ ไม่ลำบากกาย และ
พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์
ซึ่งเสด็จอยู่ภายในพระครรภ์ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม
นายช่างเจียรไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้าย เขียว เหลือง แดง
ขาวหรือนวลร้อยอยู่ในนั้น. บุรุษผู้มีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นี้นั้นวางไว้ใน
มือแล้วพิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม
นายช่างเจียรไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนแวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้าย
เขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวล ร้อยอยู่ในแก้วไพฑูรย์นั้น แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา อาพาธใด ๆ ย่อมไม่เกิดแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์เลย
พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทรงสำราญ ไม่ลำบากพระกาย และ
พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ผู้เสด็จอยู่ ณ ภายในพระครรภ์ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วนมีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้
ในเมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติแล้วได้ ๗ วัน
พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมทิวงคตเสด็จเข้าถึงชั้นดุสิต
ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ หญิงอื่น ๆ บริหารครรภ์
๙ เดือนบ้าง ๑๐ เดือนบ้าง จึงคลอด
พระมารดาของพระโพธิสัตว์หาเหมือนอย่างนั้นไม่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 15
พระมารดาของพระโพธิสัตว์
บริหารพระโพธิสัตว์ด้วยพระครรภ์ครบ ๑๐ เดือนถ้วน จึงประสูติ
ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรดามีอยู่ดังนี้
พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมไม่ประสูติเหมือนหญิงอื่น ๆ ซึ่งนั่งหรือนอนคลอด
ส่วนพระมารดาของพระโพธิสัตว์ประทับยืนประสูติพระโพธิสัตว์
ข้อนี้เป็นธรรดาในเรื่องนี้.

[๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้
ในเวลาพระโพธิสัตว์เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดา
พวกเทวดารับก่อน พวกมนุษย์รับทีหลัง
ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้
ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดาและยังไม่ทันถึงแผ่นดิน
เทวบุตร ๔ องค์ประคองรับพระโพธิสัตว์นั้นแล้ววางไว้เบื้องหน้าพระมารดา
กราบทูลว่า ขอจงมีพระทัยยินดีเถิดพระเทวี พระโอรสของพระองค์ที่เกิดมีศักดิ์ใหญ่
นี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

[๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้
ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดา
เสด็จประสูติอย่างง่ายดาย ทีเดียว
ไม่เปรอะเปื้อนด้วยน้ำ
ไม่เปรอะเปื้อนด้วยเสมหะ
ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลหิต
ไม่เปรอะเปื้อนด้วยสิ่งไม่สะอาดอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
แก้วมณีอันบุคคลวางลงไว้ในผ้ากาสิกพัสตร์
แก้วมณีย่อมไม่ทำผ้ากาสิกพัสตร์ให้เปรอะเปื้อนเลย
ถึงแม้ผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่ทำแก้วมณีให้เปรอะเปื้อน
เพราะเหตุไรจึงเป็นดังนั้น เพราะสิ่งทั้งสองเป็นของบริสุทธิ์แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดาก็
ประสูติอย่างง่ายดายทีเดียว
ไม่เปรอะเปื้อนด้วยน้ำ
ไม่เปรอะเปื้อนด้วยเสมหะ
ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลหิต
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 16
ไม่เปรอะเปื้อนด้วยสิ่งไม่สะอาด อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง
ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้
ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดา
ธารน้ำย่อมปรากฏจากอากาศสองธาร
เย็นธารหนึ่ง
ร้อนธารหนึ่ง
สำหรับสนานพระโพธิสัตว์และพระมารดา
ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้
พระโพธิสัตว์ผู้ประสูติแล้วได้ครู่หนึ่ง
ประทับยืนด้วยพระบาททั้งสองอันสม่ำเสมอ
ผินพระพักตร์ทางด้านทิศอุดร
เสด็จดำเนินไปเจ็ดก้าว และ
เมื่อฝูงเทพดากั้นเศวตฉัตรตามเสด็จอยู่ทรงเหลียวแลดูทั่วทุกทิศ เปล่งวาจาว่า
เราเป็นยอดของโลก
เราเป็นใหญ่แห่งโลก
เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก
ความเกิดของเรานี้เป็นครั้งที่สุด บัดนี้ความเกิดอีกมิได้มี ดังนี้
ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้
เมื่อใด พระโพธิสัตว์เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดา
เมื่อนั้น ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลกพรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวาและมนุษย์ แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ
ย่อมปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ช่องว่างซึ่งอยู่ที่สุดโลกมิได้ถูกอะไรปกปิด ที่มืดมิดก็ดี สถานที่ที่พระจันทร์และพระอาทิตย์เหล่านี้ซึ่งมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากปานนี้ส่องแสงไป ไม่ถึงก็ดี ในที่ทั้งสองแห่งนั้นแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ถึงสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในสถานที่เหล่านั้นก็จำกันและกันได้ ด้วยแสงสว่างนั้นว่าพ่อผู้เจริญ ได้ยินว่าถึงสัตว์พวกอื่นที่เกิดในนี้ก็มีอยู่เหมือนกัน และหมื่นโลกธาตุนี้ย่อมหวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏในโลกล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย
ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 17
[/size]

49
บุคคลที่ไม่ควรไหว้ ๑๐ จำพวก
[๒๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑ จำพวกนี้ อันภิกษุไม่ควรไหว้ คือ
อันภิกษุผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทภายหลัง ๑
ไม่ควรไหว้ อนุปสัมบัน ๑
ไม่ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้แก่กว่า แต่ไม่ใช่ธรรมวาที ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 137
ไม่ควรไหว้มาตุคาม ๑
ไม่ควรไหว้บัณเฑาะก์ ๑
ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ๑
ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ๑
ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรมานัต ๑
ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ประพฤติมานัต ๑
ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรอัพภาน ๑
บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล อันภิกษุไม่ควรไหว้.

บุคคลที่ควรไหว้ ๓ จำพวก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ ภิกษุควรไหว้ คือ
ภิกษุผู้อุปสมบทภายหลัง ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทก่อน ๑
ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้แก่กว่า แต่เป็นธรรมวาที ๑
ควรไหว้ตถาคตผู้อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบในโลกทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์.
บุคคล ๓ จำพวกนี้แล ภิกษุควรไหว้


50

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 31
อรรถกถาปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุที่ ๔
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี
ทรงปรารภทานของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี ได้ตรัสคำนี้
เริ่มต้นว่า ยงฺกิญฺจารมฺมณํ กตฺวา ดังนี้ :-

ได้ยินว่า
พี่เลี้ยงของเด็กหญิง ธิดาของลูกสาวท่าน อนาถปิณฑิกคฤหบดี ได้ให้ตุ๊กตาแป้งด้วยสั่งว่า นี้ลูกสาวของเจ้าเจ้าจงอุ้มมันไปเล่นเถอะ.
เด็กหญิงนั้นเกิดความเข้าใจในตุ๊กตาแป้งนั้นว่า เป็นลูกสาว.

ครั้นวันหนึ่ง
เมื่อเธออุ้มตุ๊กตานั้นเล่น ตุ๊กตาตกแตก เพราะความเลินเล่อ.
แต่นั้นเด็กหญิงจึงร้องร่ำไห้ ลูกสาวเราตายแล้ว.
เธอกำลังร้องไห้อยู่ คนในเรือนบางคน ก็ไม่สามารถจะชี้แจงให้เธอเข้าใจได้.

ก็สมัยนั้น
พระศาสดาประทับนั่งบนปัญญัตาอาสน์ ในเรือนของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี. และท่านมหาเศรษฐี ก็ได้นั่งอยู่ ณ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า.

หญิงพี่เลี้ยงได้พาเด็กหญิงนั้นไปหาท่านเศรษฐี.
ท่านเศรษฐีเห็นเข้า จึงกล่าวว่าเด็กหญิงนี้ร้องไห้ เพื่ออะไรกัน.
พี่เลี้ยงได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ท่านเศรษฐีแล้ว.
เศรษฐีได้ให้เด็กหญิงนั้น นั่งบนตักแล้วให้เข้าใจว่าฉันจะให้ทานอุทิศแก่ลูกของหนู ดังนี้แล้วจึงกราบทูลแต่พระศาสดาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาจะให้ทาน
อุทิศแก่ตุ๊กตาแป้ง ซึ่งเป็นลูกสาวของหลาน ของข้าพระองค์,
ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป จงรับทานนั้นของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้
เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 32
ครั้นในวันที่สอง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูปเสด็จไปยังเรือนของท่านเศรษฐี
เสวยพระกระยาหารแล้ว เมื่อจะทำอนุโมทนา
จึงได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ ควรทำเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
ปรารภถึงบุรพเปตชน
เทวดาผู้สิงอยู่ในเรือน หรือ
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกผู้มียศ คือ
ท้าวธตรฐ ๑
วิรุฬหก ๑
วิรูปักษ์ ๑ และ
ท้าวกุเวร ๑ ให้เป็นอารมณ์แล้วพึงให้ทาน
ท่านเหล่านั้นเป็นผู้อันบุคคลบูชาแล้ว ทั้งทายกก็ไม่ไร้ผล

ความร้องไห้ ความเศร้าโศกหรือความร่ำไห้อย่างอื่น ไม่ควรทำเลย
เพราะความร้องไห้เป็นต้นนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
ญาติทั้งหลาย คงตั้งอยู่ตามธรรมดาของตน ๆอันทักษิณาทานนี้
ที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในพระสงฆ์ให้แล้ว ย่อมสำเร็จประโยชน์
โดยฉับพลัน แก่บุรพเปตชนนั้น สิ้นกาลนาน.

51
ญาณถวิกเถราปทานที่ ๔ (๔๘๕)
ว่าด้วยผลแห่งการสรรเสริญพระพุทธญาณ
[๗๔] เราสร้างอาศรมอย่างสวยงามไว้ ณ ทิศทักษิณแห่งภูเขาหิมวันต์
ครั้งนั้น เราเสาะหาประโยชน์อันสูงสุด จึงอยู่ในป่าใหญ่
เรายินดีด้วยลาภและความเสื่อมลาภ คือ ด้วยเหง้ามันและผลไม้ ไม่เบียดเบียนใคร ๆ เที่ยวไป เราอยู่คนเดียว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 123
ครั้งนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธะ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์กำลังรื้อขนมหาชน
ทรงประกาศสัจจะอยู่เรามิได้สดับข่าวพระสัมพุทธเจ้า
ถึงใคร ๆ ที่จะบอกกล่าวให้เรารู้ก็ไม่มี

เมื่อล่วงไปได้ ๘ ปี
เราจึงได้สดับข่าวพระนายกของโลก
เรานำเอาไฟและฟืนออกไปเสียแล้ว
กวาดอาศรม ถือเอาหาบสิ่งของออกจากเตาไป

ครั้งนั้นเราพักอยู่ในบ้านและนิคมแห่งละคืน เข้าไปใกล้พระนครจันทวดีโดยลำดับ
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำของโลกพระนามว่า สุเมธะ
กำลังรื้อขนสัตว์เป็นอันมาก ทรงแสดงอมตบท
เราได้ผ่านหมู่ชนไปถวายบังคมพระชินเจ้าผู้เสด็จมาดี

ทำหนังสัตว์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วสรรเสริญพระผู้นำของโลกว่า
1.พระองค์เป็นพระศาสดาประหนึ่งยอดเป็นธงชัย และ เป็นเสายัญของหมู่สัตว์
เป็นที่ยึดหน่วง เป็นที่พึ่ง และเป็นเกาะของหมู่สัตว์ เป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์.
จบภาณวารที่ ๒๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

2.พระองค์เป็นผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์ในทัศนะ ทรงช่วยประชุมชนให้ข้ามพ้นไปได้
ข้าแต่พระมุนี ผู้อื่นที่จะช่วยให้สัตว์ข้ามพ้นไปยิ่งไปกว่าพระองค์ ไม่มีในโลก

3.สาครแสนลึกสุด ก็พึงอาจที่จะประมาณได้ด้วยปลายหญ้าคา
ข้าแต่พระสัพพัญญู ส่วนพระญาณของพระองค์ ใคร ๆ ไม่อาจจะประมาณได้เลย

4.แผ่นดิน ก็อาจที่จะวางบนตาชั่งแล้วกำหนดได้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ แต่สิ่งที่เสมอกับพระปัญญาของพระองค์ไม่มีเลย

5.อากาศก็อาจจะวัดได้ด้วยเชือกและนิ้วมือข้าแต่พระสัพพัญญู
ส่วนศีลของพระองค์ ใคร ๆไม่อาจจะประมาณได้เลยน้ำในมหาสมุทร

6.อากาศและภูมิภาค ๓อย่างนี้ประมาณเอาได้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุพระองค์ย่อมเป็นผู้อันใคร ๆ จะประมาณเอาไม่ได้เลย

เรากล่าวสรรเสริญพระสัพพัญญู ผู้มีพระยศใหญ่ ด้วยคาถา ๖ คาถาแล้ว
ประนมกรอัญชลี ยืนนิ่งอยู่ในเวลานั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 125
พระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาเสมอด้วย
แผ่นดิน เป็นเมธีชั้นดี เขาขนานพระนามว่า สุเมธะ.
ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว
ได้ตรัสพระคาลาเหล่านี้ว่า ผู้ใดมีใจเลื่อมใส ได้
กล่าวสรรเสริญญาณของเรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว
ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๗๗ กัป
จักเป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติอยู่ในเทวโลก๑,๐๐๐ ครั้ง
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเกินกว่าร้อยครั้ง
และจักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้
เขาเป็นเทวดาหรือมนุษย์ จักเป็นผู้ตั้งมั่นในบุญกรรม
จักเป็นผู้ความดำริแห่งใจไม่บกพร่อง มีปัญญากล้า

ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ พระศาสดามีพระนามว่า โคดม
จักทรงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราชจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
ผู้นี้ไม่มีความกังวล ออกบวชเป็นบรรพชิต จักบรรลุพระอรหัตแต่อายุ ๗ ขวบ ใน
ระหว่างเวลาที่เราระลึกถึงคน และได้บรรลุศาสน-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 126
ธรรม เจตนาที่ไม่น่ารื่นรมย์ใจ เราไม่รู้จักเลย
เราท่องเที่ยวไปเสวยสมบัติในภพน้อยภพใหญ่
ความบกพร่องในโภคทรัพย์ไม่มีแก่เราเลย นี้เป็นผลในการสรรเสริญพระญาณ
ไฟ ๓ กองเราดับสนิทแล้ว เราถอนภพทั้งปวงขึ้นหมดแล้ว เราเป็นผู้สิ้นอาสวะทุกอย่าง
แล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีกในกัปที่สามหมื่น เราได้สรรเสริญ
พระญาณใด ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้ก็เป็นผลแห่งการสรรเสริญพระญาณ
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน
ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระญาณถวิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบญาณถวิกเถราปทาน


52
ปานธิทายกเถราปทานที่ ๙ (๔๗๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายรองเท้า
[๖๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าทอโนมทัสสี
เชษฐบุรุษของโลกประเสริฐกว่านรชน มีพระจักษุ
เสด็จออกจากที่ประทับสำราญกลางวันแล้ว เสด็จขึ้นถนน
เราสวมรองเท้าที่ทำอย่างดีออกเดินทางไป ณ ที่นั้น
เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้างามน่าดูน่าชม เสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า
เรายังจิตของตนให้เลื่อมใส ถอดรองเท้าออกวางไว้แทบพระบาท
แล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่พระสุคต ผู้เป็นมหาวีรบุรุษ เป็นใหญ่เป็นผู้นำชั้นพิเศษ
ขอเชิญสวมรองเท้าเถิด ข้าพระองค์จักได้ผลแต่รองเท้าคู่นี้
ขอความต้องการของข้าพระองค์จงสำเร็จเถิด

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี
เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านรชน ทรงสวมรองเท้าแล้ว

ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า
ผู้ใดเลื่อมใสถวายคู่รองเท้าแก่เรา ด้วยมือทั้งสองของตน
เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว
เทวดาทุก ๆ องค์ได้ทราบพระพุทธเจ้าดำรัสแล้ว
มาประชุมกัน ต่างก็มีจิตปีติ ดีใจเกินความโสมนัส ประนมกรอัญชลี

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
เพราะการถวายรองเท้านี้แล ผู้นี้จักเป็นผู้ถึงความสุข
จักเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๕๕ ครั้ง
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ครั้ง และ
จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้

ในกับซึ่งนับไม่ถ้วน แต่กัปนี้ไป
จักทรงสมภพในสกุลโอกกากะ มีพระนามว่าโคดม
จักเสด็จอุบัติขึ้นเป็นพระศาสดาของโลก

ผู้นี้จักเป็นทายาทในธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต
จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว
จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน

ผู้นี้บังเกิดในเทวโลกหรือในมนุษย์โลก
จักเป็นผู้มีปัญญา
จักได้ยานอันเปรียบด้วยยานของเทวดา
ปราสาท วอ ช้าง ที่ประดับประดาแล้วและรถที่เทียมแล้วด้วยม้าอาชาไนย
ย่อมเกิดปรากฏแก่เราทุกเมื่อ

แม้เมื่อเราออกบวช ก็ได้ออกบวชด้วยรถ
ได้บรรลุอรหัตเมื่อกำลังปลงผม

นี้เป็นลาภของเรา เราได้ดีแล้ว คือการค้าขายเราได้ประกอบถูกทางแล้ว
เราถวายรองเท้าคู่หนึ่งจึงได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว

ในกัปอันประมาณมิได้แต่กัปนี้
เราได้ถวายรองเท้าใด ด้วยการถวายรองเท้านั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายรองเท้า
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 113
ทราบว่า ท่านพระปานธิทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบปานธิทายกเถราปทาน


53
เอกทีปิยเถราปทานที่ ๖ (๔๑๖)
ว่าด้วยการตามประทีปเป็นพุทธบูชา
[๖] เมื่อพระสุคตเจ้าผู้นำโลกพระนามว่า สิทธัตถะ ปรินิพพานแล้ว
ชนทั้งปวงทั้งเทวดาและมนุษย์ ต่างก็บูชาพระองค์ผู้สูงสุดกว่าสัตว์
และเมื่อเขาช่วยกันยกพระผู้นำโลก พระนามว่า สิทธัตถะ ขึ้นบนเชิงตะกอน
ชนทั้งหลายพากันบูชาเชิงตะกอนของพระศาสดาตามกำลัง

เราได้ตามประทีปไว้ไม่ไกลเชิงตะกอน ประทีปของเราลุกโพรงจนพระอาทิตย์ขึ้น
เพราะกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และ เพราะความตั้งใจชอบ
เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่ดาวดึงสพิภพ
เขาย่อมทราบกันว่า วิมานอันบุญกรรมได้ทำไว้เป็นอย่างดี เพื่อเราในดาวดึงสพิภพนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

ชื่อว่าเอกทีปะ ประทีปแสนดวงส่องสว่างอยู่ในวิมานของเรา
ร่างกายของเรารุ่งเรืองอยู่ทุกเมื่อ เหมือนพระอาทิตย์ที่กำลังอุทัยฉะนี้
สรีระของเรามีแสงสว่างด้วยรัศมีในกาลทุกเมื่อ
เรามองเห็นได้ตลอด ด้วยจักษุ ทะลุฝากำแพง ภูเขา โดยรอบร้อยโยชน์
รื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๗๗ ครั้ง
เสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๓๑ ครั้ง
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๒๘ ครั้ง
เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้
เราจุติจากเทวโลกแล้วเกิดในครรภ์ของมารดา นัยน์ตาของเราผู้แม้จะอยู่ในครรภ์ ของมารดา ก็ไม่วินาศ

เรามีอายุ ๔ ขวบแต่กำเนิดก็ได้ออกบวชเป็นบรรพชิต ได้บรรลุพระอรหัตแต่ยังไม่ทันได้ถึงกึ่งเดือน

เราชำระทิพยจักษุให้บริสุทธิ์แล้ว
ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว
ตัดกิเลสทั้งปวงขาดแล้ว
นี้เป็นผลแห่งประทีปดวงเดียว
นอกฝา นอกกำแพง และถึงภูเขาทั้งสิ้น เราก็เห็นทะลุไปได้ นี้ก็เป็นผลแห่งประทีปดวงเดียว

สำหรับเรา ภูมิภาคที่ขรุขระ ย่อมเป็นที่ราบเรียบ
ความมืดย่อมไม่ปรากฏมี เราไม่เห็นความมืด นี้ก็เป็นแห่งประทีปดวงเดียว

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายประทีปใด ด้วยการถวายประทีปนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้ก็เป็นผลแห่งประทีปดวงเดียว
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . .
คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้
ทราบว่า ท่านพระเอกปิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบเอกทีปิยเถราปทาน

54
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 292
ฐิตัญชลิยเถราปทานที่ ๙ (๗๙)
ว่าด้วยผลแห่งการประนมกรอัญชลี
[๘๑] เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้ออยู่ในป่าชัฏ ได้พบพระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ
ในป่านั้น ณ ที่นั้น เราประนมกรอัญชลีแล้ว เดินบ่ายหน้าไปทางทิศปราจีน
ขณะเมื่อเรานั่งอยู่บนเครื่องลาดใบไม้ที่เรานำมาในที่ไม่ไกล.อสนีบาตตกลงบนกระหม่อมของเราในเวลานั้น
ในเวลาใกล้ตายเราได้ประนมกรอัญชลีอีกครั้งหนึ่ง.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ทำอัญชลีในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการทำอัญชลี.
ในกัปที่ ๕๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีพระนามว่า มิคเกตุ
ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ประการ ๗ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖
เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระฐิตัญชลิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล.
จบฐิตัญชลิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 293
๗๙. อรรถกถาฐิติญชลิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระฐิตัญชลิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า มิคลุทฺโธปุเร อาสึ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพที่ตนเกิดนั้น ๆ
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ
บังเกิดในกำเนิดนายพราน เพราะกรรมอย่างหนึ่งที่ตนกระทำไว้ในก่อนตัดรอน
จึงสำเร็จการอยู่ป่า.
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ ได้เสด็จไปเพื่ออนุเคราะห์แก่ท่าน.
ท่านเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้รุ่งเรืองด้วยพระลักษณะ ๓๒ประการ และ
ด้วยพระรัศมีแห่งอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการด้านละวา
เกิดโสมนัสกระทำการนอบน้อม เสด็จไปประทับนั่งบนเครื่องลาดใบไม้.
ขณะนั้นฝนตกฟ้าร้องกระหึ่มผ่าลงมา. แต่นั้นในสมัยใกล้ตาย ท่านระลึกถึง
พระพุทธเจ้า ได้กระทำอัญชลีอีก. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจึงห้ามอกุศลวิบาก เพราะเหตุที่ตนกระทำกุศลไว้ในเขตดี จึงบังเกิดในสวรรค์ เสวยสมบัติในชั้นกามาวจรสวรรค์ และเสวยมนุษย์สมบัติในมนุษย์ทั้งหลาย
ครั้นภายหลังในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล เจริญวัยแล้วเลื่อมใส
ในพระศาสดา ด้วยวาสนาที่คนกระทำไว้ในกาลก่อน
บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
เบื้องหน้าแต่นั้น ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มิคลุทฺโธ ปุเร อาสึดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 294
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคลุทฺโธ ความว่า ชื่อว่า มิคลุทฺโธเพราะเข้าถึงการฆ่าเนื้อ.
ชื่อว่า มิคา เพราะไป คือแล่นไปโดยเร็วคือด้วยกำลังเร็วราวกับลม.
ชื่อว่า มิคทุธะ เพราะในการฆ่าเนื้อเหล่านั้น นายพรานได้เป็นผู้มีความทารุณ อธิบายว่า เรานั้นได้เป็นพรานในกาลก่อนคือในสมัยที่ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า อรญฺเญ กานเน ความว่า ชื่อว่า อรัญญะ เพราะเป็นที่เที่ยวไปของหมู่เนื้อ
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อรัญญะ เพราะเป็นที่ยินดีโดยทั่วไป คือโดยรอบแห่งสัตบุรุษผู้ถึงธรรมอันเป็นสาระใหญ่ มีพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น
ผู้ยินดีในวิเวก อีกอย่างหนึ่ง กาทั้งหลายย่อมบันลือคือกระทำเสียง เพลิดเพลินยินดีใน
ด้วยอาการที่น่าเกลียด หรือด้วยอาการที่น่ากลัว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กานนะ.
เชื่อมความว่า นายพรานได้มีในป่าคือกานนะนั้นในกาลก่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทฺทสํ สมฺพุทฺธํ ความว่า ข้าพเจ้าเห็น คือได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้เสด็จเข้าไปในที่นั้นคือป่านั้น.
ได้เห็นคือได้มีอยู่เบื้องหน้าไม่ไกล เพราะฉะนั้น จึงยังจักขุวิญญาณให้สำเร็จเป็นปุเรจาริกเที่ยวไปในเบื้องหน้า พรั่งพร้อมด้วยกายวิญญาณ ตามกระแสแห่งมโนทวาร.
บทว่า ตโต เม อสนีปาโต ความว่า ชื่อว่า อสนี เพราะบันลือกระหึ่มตกไปโดยรอบ.
การตกลงแห่งสายฟ้า ชื่อว่า อสนีปาโต ได้แก่ เทวทัณฑ์.
คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาฐิตัญชลิยเถราปทาน


55
71-97
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 97
ปัญจสีลสมาทานิยเถราปทานที่ ๔ (๒๔)
ว่าด้วยผลแห่งการรักษาเบญจศีล
[๒๖] เวลานั้น เราเป็นคนทำงานรับจ้างอยู่ในนครจันทวดี
เรามัวประกอบในการนำมาซึ่งการงานของผู้อื่น จึงไม่ได้บวช
โลกทั้งหลายถูกความมืดใหญ่หลวงปิดบังแล้ว ย่อมถูกไฟ ๓ กองเผา
เราควรจะปลีกตัวออกไปด้วยอุบายอะไรหนอ.
ไทยธรรมของเราไม่มี และเราเป็นคนยากไร้ ทำงานรับจ้างอยู่
ถ้ากระไร เราพึงรักษาเบญจศีลให้บริบูรณ์เถิด.
เราจึงเข้าไปหาพระภิกษุชื่อนี้นิสภะ ผู้เป็นสาวกของพระมุนี
พระนามว่าอโนมทัสสี แล้วได้รับสิกขาบท ๕.
เวลานั้น เรานี้อายุแสนปี เรารักษาเบญจศีลให้บริบูรณ์
ตลอดเวลาเท่านั้น เมื่อเวลาใกล้ตายมาถึงเข้า ทวยเทพย่อมยังเราให้ชื่นชม (เชื้อเชิญเรา) ว่า
ท่านผู้นิรทุกข์ รถอันเทียมด้วยม้าพันหนึ่งนี้ปรากฏแล้วเพื่อท่าน.
เมื่อจิตดวงสุดท้ายเป็นไป เราได้ระลึกถึงศีลของเรา
ด้วยกรรมดีที่ได้ทำแล้วนั้น เราได้ไปสู่ภพดาวดึงส์
ได้เป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ ครั้ง
แวดล้อมด้วยนางอัปสรทั้งหลาย เสวยสุขอันเป็นทิพย์อยู่.
และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง
ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้.

เราอันกุศลมูลตักเตือนแล้วเคลื่อนจากเทวโลก มาเถิด
ในตระกูลพราหมณ์มหาศาลอันมั่งคั่งในนครเวสาสี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 98
เมื่อศาสนาของพระชินเจ้ายังรุ่งเรืองอยู่ มารดาและบิดา
ของเราได้รับสิกขาบท ๕ในเวลาเข้าพรรษา เราฟังเรื่องศีลอยู่
พร้อมกับมารดาบิดา จึงระลึกถึงศีลของเราได้
เรานั่งอยู่บนอาสนะอันเดียว ได้บรรลุอรหัตแล้ว.
เราได้บรรลุอรหัตนับแต่เกิดได้ ๕ ปี พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุทรงทราบคุณของเราแล้ว
ได้ประทานอุปสมบทให้เรา เรารักษาสิกขาบท ๕ ให้บริบูรณ์แล้ว ไม่ได้ไปสู่วินิบาตเลยตลอดกัปหาประมาณมิได้แต่กัปนี้ เรานั้นได้เสวยยศเพราะกำลังแห่งศีลเหล่านั้น.
เมื่อจะประกาศผลของศีลที่เราได้เสวยแล้ว โดยจะนำมา
ประกาศตลอดโกฏิกัป ก็พึงประกาศได้เพียงส่วนเดียว.
เรารักษาเบญจศีลแล้ว ย่อมได้เหตุ ๓ ประการ คือเรา
เป็นผู้มีอายุยืนนาน ๑ มีโภคสมบัติมาก ๑ มีปัญญาคมกล้า ๑.
เมื่อประกาศผลของศีลทั้งปวงกะหมู่มนุษย์อันมีประมาณ
ยิ่ง เราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมได้ฐานะเหล่านี้.
พระสาวกของพระชินเจ้าทั้งหลาย ประพฤติอยู่ในศีล
หาประมาณมิได้ ถ้าจะพึงยินดีอยู่ในภพ จะพึงมีผลเช่นไร.
เบญจศีลอันเราผู้เป็นคนรับจ้าง มีความเพียรประพฤติแล้ว
เราพ้นจากเครื่องผูกทั้งปวงได้ในวันนี้ด้วยศีลนั้น ในกัปอัน
ประมาณมิได้แต่กัปนี้ เรารักษาเบญจศีลแล้ว ไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่ง (การรักษา) เบญจศีล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 99
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสันภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และแม้
อภิญญา ๖ เราพึงทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้วฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระปัญจสีลสมาทานิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น
ด้วยประการฉะนี้แล.
จบปัญจสีลสมาทานนิยเถราปทาน


56

เราผู้เดียวเท่านั้น เพราะไม่มีผู้อื่นเป็นเพื่อนสอง.
เชื่อมความว่า เราเป็นชฎิลดาบสคือผู้ทรงไว้ซึ่งชฎา
ไม่มีเพื่อนสอง คือเว้น จากดาบสคนที่ ๒ในกาลนั้นเราอยู่ที่ภูเขา ชื่อว่า นิสภะ.
บทว่า ผลํ มูลญฺจ ปณฺณญฺจน ภุญฺชามิ อหํ ตทา ความว่า ในกาลนั้น คือในกาลที่เราอยู่ที่นิสภบรรพตนั้น เราไม่ได้บริโภคผลไม้ เหง้ามันและใบไม้ที่เก็บจากต้น.
เมื่อแสดงถึงข้อนั้นว่า เป็นเช่นนี้ จะเป็นอยู่ได้อย่างไร
จึงกล่าวว่า ปวตฺตํ วสุปาตาหํ ดังนี้. เชื่อมความว่า
ในกาลนั้นเราอาศัยใบไม้เป็นต้น ที่หล่นเองในที่นั้น ๆ คือ ที่ตกไปตามธรรมดาของตน เป็นอาหารเลี้ยงชีพ
อีกอย่างหนึ่งบาลีว่า ปวตฺตปณฺฑุปณฺณานิ ดังนี้ก็มี. ความว่า
เราอาศัยใบไม้เหลืองที่หล่นเองเลี้ยงชีพ.
บทว่า นาหํ โกเปมิ อาชีวํ ความว่า เราแม้เมื่อจะสละชีวิต คือเมื่อทำการบริจาค ย่อมไม่ยังสัมมาอาชีวะให้กำเริบคือให้พินาศ ในการแสวงหาอาหาร มีมูลผลาผลเป็นต้น
ด้วยอำนาจตัณหา.
บทว่า อาราเธมิสกํ จิตฺตํ ความว่า ย่อมยังจิตคือใจของตนให้ยินดี คือให้เลื่อมใส ด้วย
ความมักน้อยและสันโดษ.
บทว่า วิวชฺเชมิ อเนสนํ ความว่า เราเว้นการแสวงหาอันไม่สมควร ด้วยอำนาจกรรมมีเวชกรรม และทูตกรรมเป็นต้นให้ห่างไกล.
บทว่า ราคูปสํหิตํ จิตฺตํ ความว่า เมื่อใดคือในกาลใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 83
จิตของเราสัมปยุตด้วยราคะย่อมเกิดขึ้น
ในกาลนั้นเราพิจารณาตนด้วยตนเอง คือพิจารณาด้วยญาณแล้วบรรเทา.
บทว่า เอกคฺโค ตํ ทเมมหํ ความว่า เราเป็นผู้มีอารมณ์ตั้งมั่น ในอารมณ์แห่งกรรมฐานอีกอย่างหนึ่ง ย่อมฝึกคือกระทำการทรมานจิตที่ประกอบด้วยราคะ.

57
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 388 (เล่ม70หน้า388)

พรรณนาชีวิตสังขยคาถา
คาถาว่า ราคญฺจ โทสญฺจ ดังนี้ป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า
พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า มาตังคะ
อาศัยนครราชคฤห์อยู่ เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หลังสุดแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวงบรรดาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย.

ครั้งนั้น
พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายอุบัติขึ้นแล้ว เทวดาทั้งหลายมาเพื่อจะบูชาพระโพธิสัตว์ เห็นพระมาตังคปัจเจกพุทธเจ้า
จึงพากันกล่าวว่า นี่แนะ ท่านผู้นิรทุกข์ พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก.
พระมาตังคปัจเจกพุทธเจ้านั้น กำลังออกจากนิโรธ ได้ฟังดังนั้นเห็นตนจะสิ้นชีวิต จึงเหาะไปที่ภูเขาชื่อ มหาปปาตะในหิมวันตประเทศ
อันเป็นที่ปรินิพพานของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
แล้วโยนร่างกระดูกของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้วในกาลก่อนลงในเหว แล้วตนเองก็นั่งบนพื้นศิลา

ได้กล่าวอุทานคาถานี้.
ราคะ โทสะ โมหะ ในคาถานั้นได้กล่าวไว้แล้วในอุรคสูตร.
บทว่า สํโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐. ทำลายสังโยชน์ทั้ง ๑๐นั้น ด้วยมรรคนั้น ๆ.
บทว่า อสนฺตสํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ ความว่า ความแตกหมดแห่ง
จุติจิต เรียกว่าความสิ้นชีวิต. ก็ชื่อว่าผู้ไม่สะดุ้งกลัวในความสิ้นชีวิตนั้นเพราะละความใคร่ในชีวิตได้แล้ว.
โดยลำดับคำเพียงเท่านี้ ท่านแสดงสอุปาทิเสสนิพพานของตน ในเวลาจบคาถา
จึงปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ฉะนี้แล.
    จบพรรณนาชีวิตสังขยคาถา

คาถา๑มีอาทิว่า
คนทั้งหลายมุ่งประโยชน์ จึงคบหาสมาคมกัน,
ในทุกวันนี้มิตรทั้งหลายผู้ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก ดังนี้.

  คาถาว่า ภชนฺติ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า
พระราชาองค์หนึ่งในนครพาราณสี ทรงปกครองราชอาณาจักรอันรุ่งเรื่อง มีประการดังกล่าวแล้วในคาถาต้นนั่นแหละ อาพาธ
กล้าเกิดขึ้นแก่พระองค์ ทุกขเวทนาทั้งหลายย่อมเป็นไป.
สตรีสองหมื่นนางห้อมล้อมพระองค์ กระทำการนวดฟั้นพระหัตถ์และพระบาทเป็นต้น.
พวกอำมาตย์คิดกันว่า พระราชาจักสวรรคตในบัดนี้ ช่างเถอะพวกเราจะแสวงหาที่พึ่งของตน จึงไปยังสำนักของพระราชาองค์หนึ่ง
ทูลขออยู่รับใช้. อำมาตย์เหล่านั้นรับใช้อยู่ในที่นั้น ไม่ได้อะไรๆ.
พระราชาทรงหายจากประชวรแล้วตรัสถามว่า อำมาตย์ชื่อนี้ ๆ ไปไหน ?
จากนั้นได้ทรงสดับเรื่องราวนั้น ได้ทรงสั่นพระเศียรนิ่งอยู่.
ฝ่ายอำมาตย์เหล่านั้นได้ฟังข่าวว่า พระราชาทรงหายประชวรแล้ว
๑. พรรณนาคาถาที่เหลือ ที่ไม่มีชื่อ รวม ๑๐ คาถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 390
ทั้งไม่ได้อะไรในที่นั้น ถูกความเสื่อมอย่างยิ่งบีบคั้น จึงกลับมาอีก ถวายบังคมพระราชาแล้วได้ยืนอยู่ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง.
และถูกพระราชานั้นตรัสถามว่า นี่แน่ะพ่อทั้งหลาย พวกท่านไปไหน จึงพากันกราบทูลว่า
ข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นสมมติเทพทรงทุรพล จึงพากันไปยังชนบทชื่อโน้นเพราะความกลัวอันเกิดจากการเลี้ยงชีพ.
พระราชาทรงสั่นพระเศียรแล้วดำริว่า ถ้ากระไร เราจักแสดงอาพาธนั้นอีก พวกอำมาตย์จักกระทำอย่างนั้นอีกครั้งหรือไม่.
พระราชาเมื่อจะทรงแสดงเวทนากล้า เหมือนโรคถูกต้องแล้วในกาลก่อน จึงได้ทรงกระทำการลวงว่าเป็นไข้.
เหล่าสตรีพากันห้อมล้อม ได้กระทำกิจทั้งปวงเช่นกับครั้งก่อนนั่นแล.
ฝ่ายพวกอำมาตย์ก็พาชนมากกว่าก่อน หลีกไปอีกเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ.
พระราชาทรงกระทำกรรมทุกอย่างเช่นกับครั้งก่อน จนถึงครั้งที่สาม ด้วยอาการอย่างนี้
ฝ่ายอำมาตย์เหล่านั้นก็พากันหลีกไปเหมือนอย่างนั้นนั่นแล.
แม้ครั้งที่สี่จากนั้น พระราชาทรงเห็นอำมาตย์เหล่านั้นมาทรงดำริว่า พุทโธ่เอ๋ย พวกอำมาตย์ผู้ละทิ้งเราผู้ป่วยไข้ไม่ห่วงใยหลีกไป
จำพวกนี้ ได้กระทำกรรมที่ทำได้ยาก จึงทรงเบื่อหน่าย ได้ละราชสมบัติผนวช ทรงเห็นแจ้งอยู่ ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ
จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ภชนฺติ ความว่า เข้าไปนั่งชิดร่างกาย.
บทว่า เสวนฺติ ความว่า บำเรออัญชลีกรรมเป็นต้น โดยคอยฟังว่าจะให้ทำอะไร ชื่อว่าผู้มุ่งประโยชน์ เพราะมีประโยชน์เป็นเหตุ.
ท่านอธิบายว่า การคบหาสมาคมไม่มีเหตุอื่น ประโยชน์เท่านั้นเป็นเหตุของคนเหล่านั้น คนทั้งหลายคบหากันเพราะประโยชน์เป็นเหตุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 391
บทว่า นิกฺการณา ทุลฺลภา อชฺช มิตฺตา ความว่า ชื่อว่า ไม่มุ่งประโยชน์ เพราะประโยชน์ที่ได้เฉพาะแก่ตนอย่างนี้ว่า พวกเราจักได้
อะไรๆ จากคนนี้. มิตรทุกวันนี้ผู้ประกอบด้วยความเป็นมิตรอันประเสริฐซึ่งท่านกล่าวไว้โดยสิ้นเชิงอย่างนี้ว่า
   มิตรมีอุปการะ
   มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
   มิตรผู้แนะประโยชน์
   มิตรมีความเอ็นดู ดังนี้.
บทว่า อตฺตฏฺฐปญฺญา ความว่า ปัญญาของชนเหล่านี้ตั้งอยู่ในตน อธิบายว่า เห็นแก่ตน ไม่เห็นแก่คนอื่น.
บาลีว่า อตฺตตฺถปญฺญา ดังนี้
ก็มี บาลีนั้นมีความว่า เห็นแก่ประโยชน์ของตนเท่านั้น ไม่เห็นประโยชน์ของคนอื่น.
ได้ยินว่า บาลีว่า ทิฏฺฐตฺถปญฺญา แม้นี้ เป็นบาลีเก่า.

บาลีนั้นมีใจความว่า ชนเหล่านั้นมีปัญญาในประโยชน์เดี๋ยวนี้ คือในปัจจุบัน
ไม่มีปัญญาในอนาคต ท่านอธิบายว่า เห็นแก่ประโยชน์ปัจจุบัน ไม่เห็นแก่ประโยชน์ภายหน้า.
บทว่า อสุจินา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรมอันไม่สะอาด คือ ไม่ประเสริฐ.
บทว่า ขคฺควิสาณกปฺโป ความว่า ชื่อว่ามีเขาดังมีด
        เพราะเที่ยวทำภูเขาเป็นต้นให้เป็นจุณวิจุณ ด้วยเขาของตน เหมือนคนเอามีดดาบตัดต้นไม้ฉะนั้น.
ชื่อว่า วิสาณะ เพราะมีอำนาจเช่นกับยาพิษ.
ชื่อว่า ขัคคะ เพราะดุจมีดดาบ.
มฤคใดมีเขาดุจมีดดาบ มฤคนี้นั้น 
ชื่อว่า ขัคควิสาณะมีเขาดุจมีด. นอของมฤคที่มีเขาดุจมีดนั้น
ชื่อว่า ขัคควิสาณกัปปะ คือนอแรด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 392
อธิบายว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าเปรียบเสมือนนอแรดฉะนั้น องค์เดียวไม่มีเพื่อน ไม่มีสหาย เที่ยวไป คืออยู่ เป็นไป ดำเนินไป ให้ดำเนินไป.
บทว่า วิสุทฺธสึลา แปลว่า ผู้มีศีลหมดจดโดยพิเศษ คือผู้มีศีลหมดจดด้วยความบริสุทธิ์ ๔ ประการ.
บทว่า วิสุทฺธปญฺญา แปลว่า ผู้มีปัญญาบริสุทธิ์ด้วยดี คือ ชื่อว่า มีปัญญา คือความแตกฉานในมรรคและผลอันบริสุทธิ์ เพราะเว้นจากราคะเป็นต้น.
บทว่า สมาหิตา แปลว่า ตั้งมั่นดี คือด้วยดี ได้แก่ มีจิตั้งอยู่ในที่ใกล้.
บทว่า ชาคริยานุยุตฺตา ความว่า ความตื่น ชื่อว่าชาคระ, อธิบายว่า ก้าวล่วงความหลับ. ความเป็นแห่งความตื่นอยู่ ชื่อว่าชาคริยะ, ผู้หมั่น
ประกอบในความตื่นอยู่ ชื่อว่าผู้ประกอบตามในความตื่นอยู่.
บทว่า วิปสฺสกา ได้แก่ ผู้มีปกติเห็นโดยพิเศษว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อธิบายว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอยู่.
บทว่า ธมฺมวิเสสทสฺสี แปลว่า ผู้มีปกติเห็นโดยพิเศษซึ่งกุศล
ธรรม ๑๐ ซึ่งสัจธรรม ๔ หรือโลกุตรธรรม ๙.
บทว่า มคฺคงฺคโพชฺฌงฺคคเต ได้แก่ อริยธรรมอันถึง คือประกอบด้วยองค์แห่งมรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น และด้วยโพชฌงค์มีสติสัมโพชฌงค์เป็นต้น.
บทว่า วิชญฺญา แปลว่า รู้ อธิบายว่า รู้โดยพิเศษ.
บทว่า สุญฺญตาปฺปณิหิตญฺจานิมิตฺตํ ได้แก่ ซึ่งสุญญตวิโมกข์ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 393
อนัตตานุปัสสนา ซึ่งอัปปณิหิตวิโมกข์ด้วยทุกขานุปัสสนา และซึ่งอนิมิตตวิโมกข์ด้วยอนิจจานุปัสสนา.
บทว่า อาเสวยิตฺวา ได้แก่ เจริญแล้ว. ธีรชนเหล่าใดกระทำบุญสมภารไว้ ยังไม่ถึง คือยังไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาแห่ง
พระชินเจ้า ธีรชนเหล่านั้นได้กระทำบุญสมภารไว้ ย่อมเป็นพระปัจเจกชินเจ้า คือเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้สยัมภู คือผู้เป็นเอง.
ถามว่า ท่านเป็นอย่างไร ? ตอบว่า ท่านเป็นผู้มีธรรมยิ่งใหญ่คือมีบุญสมภารใหญ่อันได้บำเพ็ญมาแล้ว มีธรรมกายมาก คือมีสภาวธรรม
มิใช่น้อยเป็นร่างกาย. ถามว่า ท่านเป็นอย่างไรอีก ? ตอบว่า ท่านมีจิตเป็นอิสระ คือเป็นไปในคติของจิต อธิบายว่า ถึงพร้อมด้วยฌาน.
ผู้ข้ามห้วงทุกข์ทั้งมวล คือข้าม ได้แก่ ก้าวล่วงโอฆะ คือสงสารทั้งมวล มีจิตเบิกบาน คือมีจิตโสมนัส อธิบายว่า มีใจสงบ เพราะเว้น
จากกิเลสมีโกธะ และมานะเป็นต้น.
ผู้มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง คือมีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง คือ
ประโยชน์สูงสุด เช่นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ อาการ ๓๒ สัจจะ ๔ และ
ปฏิจจสมุปบาท. เปรียบด้วยราชสีห์ฉะนั้น อธิบายว่า ประดุจราชสีห์
เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวและไม่กลัว. ผู้เช่นกับนอแรด อธิบายว่า
ชื่อว่า ผู้เช่นกับนอของแรด เพราะไม่มีการคลุกคลีด้วยหมู่.
บทว่า สนฺตินฺทฺริยา ความว่า ผู้มีอินทรีย์มีสภาวะอันสงบแล้ว
เพราะจักขุนทรีย์เป็นต้น ไม่ดำเนินไปในอารมณ์ของตน ๆ.
บทว่า สนฺตมนา แปลว่า มีจิตสงบ, อธิบายว่า มีความดำริ
แห่งจิตมีสภาวะสงบแล้ว เพราะความเป็นผู้หมดกิเลส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 394
บทว่า สมาธี ได้แก่ ผู้มีจิตเป็นเอกัคคตาด้วยดี
บทว่า ปจฺจนฺตสตฺเตสุ ปติปฺปจารา ความว่า มีปกติประพฤติ
ด้วยความเอ็นดู และความกรุณาเป็นต้นในเหล่าสัตว์ในปัจจันตชนบท
บทว่า ทีปา ปรตฺถ อิธ วิชฺชลนฺตา ความว่า เป็นดวงประทีป
คือเป็นเช่นกับดวงประทีป อันโพลงอยู่ในโลกหน้าและโลกนี้ ด้วยการ
กระทำความอนุเคราะห์แก่ชาวโลกทั้งสิ้น.
บทว่า ปจฺเจกพุทฺธา สตตํ หิตาเม ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า
เหล่านี้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งมวล ติดต่อกัน คือตลอดกาล.
บทว่า ปหีนสพฺพาวรณา ชนินฺทา ความว่า พระปัจเจกสัม-
พุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นใหญ่ คือเป็นผู้สูงสุดแห่งมวลชน ชื่อว่าผู้ละเครื่อง
กั้นทั้งปวงได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละเครื่องกั้น ๕ ประการทั้งหมด มีกาม-
ฉันทนิวรณ์เป็นต้น.
บทว่า ฑนกญฺจนาภา ความว่า ผู้มีรัศมีเช่นกับความสุกสกาวแห่ง
ทองสีแดงและทองชมพูนุท.
บทว่า นิสฺสํสยํ โลกสุทกฺขิเณยฺยา ได้แก่ เป็นผู้ควร คือสมควร
เพื่อรับทักษิณาชั้นดี คือทานชั้นเลิศของชาวโลกโดยส่วนเดียว อธิบายว่า
ชื่อว่าเป็นผู้ควรรับสุนทรทาน เพราะเป็นผู้ไม่มีกิเลส.
บทว่า ปจฺเจกพุทฺธา สตตปฺปิตาเม ความว่า พระพุทธะผู้บรรลุ
ปัจเจกญาณเหล่านี้เป็นผู้แนบแน่น คืออิ่มหนำบริบูรณ์เป็นนิตย์ คือเป็น
นิตยกาล อธิบายว่า แม้จะไม่มีอาหารตลอด ๗ วัน ก็บริบูรณ์อยู่ได้ด้วย
อำนาจนิโรธสมาบัติและผลสมาบัติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 395
อสาธารณพุทธะทั้งหลายเป็นใหญ่เป็นเอก คือเป็นส่วนหนึ่ง ได้แก่
ไม่เหมือน เป็นอย่างอื่น จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าปัจเจกสัมพุทธเจ้า
อีกอย่างหนึ่ง เพราะ ปติ ศัพท์เป็นอุปสรรคในความว่าเป็นเอก ท่าน
กล่าวไว้ว่า
ศัพท์ทั้ง ๓ นี้ คืออุปสรรค นิบาตและปัจจัย นักนิรุตติ-
ศาสตร์ทั้งหลายกล่าวว่า มีวิสัยแห่งอรรถมิใช่น้อย.
ท่านจึงเป็นใหญ่ คือเป็นประธานเป็นเจ้าของ เพราะรับอาหาร
มีประมาณน้อยของเหล่าทายกมากมาย แล้วให้ได้บรรลุถึงสวรรค์ และ
นิพพาน. จริงอย่างนั้น ท่านเป็นใหญ่เป็นประธานโดยรับส่วนแห่งภัตของ
คนหาบหญ้า ชื่อว่าอันนภาระ เมื่อเขามองเห็นอยู่ ก็ฉันให้ดู ยังเหล่าเทวดา
ให้ให้สาธุการ แล้วทำนายอันนภาระผู้เข็ญใจให้ได้รับตำแหน่งเศรษฐี แล้ว
ยังทรัพย์นับด้วยโกฏิให้เกิดขึ้น และโดยรับบิณฑบาตที่พระโพธิสัตว์เหยียบ
ฝักปทุมอันผุดขึ้นในหลุมถ่านเพลิง ไม้ตะเคียนที่มารนิรมิตขึ้นถวาย เมื่อ
พระโพธิสัตว์นั้นมองเห็นอยู่นั่นแหละ ได้ทำความโสมนัสให้เกิดขึ้นด้วย
การเหาะไป (ดังกล่าวไว้)ในขทิรังคารชาดกและโดยที่พระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นโอรสของพระอัครมเหสีอรุณวตี ยังความโสมนัสให้เกิด
ขึ้นแก่มหาชนกโพธิสัตว์และเทวี ด้วยการเหาะมาจากเขาคันธมาทน์ ด้วย
การอาราธนาของพระเทวีแห่งพระเจ้ามหาชนกแล้วรับการถวายทาน.
อนึ่ง ในกาลที่พระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น เมื่อฉาตกภัยเกิดขึ้น
ในชมพูทวีปทั้งสิ้น พาราณสีเศรษฐีทำข้าวเปลือกในฉางหกหมื่นฉางซึ่ง
บรรจุไว้เต็มรักษาไว้ให้หมดไป เพราะอาศัยฉาตกภัย ทำข้าวเปลือกที่ฝั่งไว้
ในแผ่นดินและข้าวเปลือกที่บรรจุไว้ในตุ่มหกพันตุ่มให้หมดไป และทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 396
ข้าวเปลือกที่ขยำกับดินเหนียวแล้วทาไว้ที่ฝาปราสาททั้งสิ้นให้หมดไป ใน
คราวนั้นเหลือข้าวเพียงทะนานเดียวเท่านั้น จึงนอนทำความคิดให้เกิด
ขึ้นว่า เราจักกินข้าวนี้แล้วตายวันนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่ง
มาจากเขาคันธมาทน์ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือน. เศรษฐีเห็นท่านเข้าจึงเกิด
ความเลื่อมใส เมื่อจะบริจาคชีวิตถวาย จึงเกลี่ยภัตตาหารลงในบาตร
ของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จไปยังที่อยู่
เมื่อเศรษฐีมองเห็นอยู่นั่นแล ได้ฉันพร้อมกับพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
๕๐๐ องค์ ด้วยอานุภาพของตน. ในคราวนั้นท่านเศรษฐีและภรรยาได้
ปิดหม้อข้าวที่หุงภัตแล้วตั้งไว้.
เมื่อความหิวเกิดขึ้นแก่เศรษฐีผู้กำลังหลับ เขาจึงลุกขึ้นกล่าวกะ
ภรรยาว่า นางผู้เจริญ เธอจงดูสักว่าภัตอันเป็นข้าวตังในภัต. นางผู้มีการ
ศึกษาดีไม่กล่าวว่า ให้หมดแล้วมิใช่หรือ (นาง) เปิดฝาหม้อข้าว (ดู).
ทันใดนั้นหม้อข้าวนั้นได้เต็มด้วยภัตแห่งข้าวสาลี มีกลิ่นหอม เช่นกับดอก
มะลิตูม. นางกับเศรษฐีดีใจ ตนเอง คนที่อยู่ในเรือนทั้งสิ้น และชาวเมือง
ทั้งสิ้นพากันบริโภค. ที่ที่คนตักเอา ๆ ด้วยทัพพีกลับเต็มอยู่. ข้าวสาลี
มีกลิ่นหอม เต็มในฉางทั้งหกหมื่นฉาง. ชนชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นถือเอา
พืชข้าวเปลือกจากเรือนของเศรษฐีนั่นแหละ จึงพากันมีความสุข พระ-
พุทธเจ้าเป็นใหญ่ คือเป็นเจ้าของในการก้าวลงสู่ความสุข การบริบาล
รักษาและการให้บรรลุสวรรค์และนิพพานในสัตตนิกายมิใช่น้อย มีอาทิ
อย่างนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัจเจกสัมพุทธเจ้า.
บทว่า ปจฺเจกพุทฺธานํ สุภาสิตานิ ได้แก่ คำที่พระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้าทั้งหลาย ภาษิตคือกล่าวไว้ดีแล้ว ด้วยอำนาจโอวาทและอนุสาสนี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 397
บทว่า จรนฺติ โลกมฺหิ สเทวโลกมฺหิ ความว่า ย่อมเที่ยวไป คือ
เป็นไปในสัตว์โลก อันเป็นไปกับเทวโลก.
บทว่า สุตฺวา ตถา เย น กโรนฺติ พาลา ความว่า พาลชน
เหล่าใดไม่กระทำ คือไม่ใส่ใจถึงคำภาษิตของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้ง-
หลายเห็นปานนั้น พาลชนเหล่านั้นย่อมเที่ยวไปคือเป็นไป อธิบายว่า
แล่นไปในกองทุกข์ คือในสงสารทุกข์ ด้วยอำนาจการเกิดขึ้นบ่อย ๆ.
บทว่า ปจฺเจกพุทฺธานํ สุภาสิตานิ ความว่า คำที่พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว คือกล่าวเพื่อต้องการความหลุดพ้นจากอบายทั้ง ๔.
ถ้อยคำเป็นอย่างไร ? เป็นดุจรวงน้ำผึ้งอันหลั่งออก คือกำลังไหลออก
อธิบายว่า เป็นคำหวานเหมือนน้ำผึ้ง. ความว่า แม้บัณฑิตชนเหล่าใด
ผู้ประกอบด้วยการปฏิบัติ ปฏิบัติอยู่ในข้อปฏิบัติทั้งหลายตามแนวที่กล่าว
แล้ว ได้ฟังคำอันไพเราะเห็นปานนั้นแล้วกระทำตามถ้อยคำ บัณฑิต-
ชนเหล่านั้นย่อมเป็นผู้เห็นสัจจะ คือมีปกติเห็นสัจจะทั้ง ๔ เป็นผู้มีปัญญา
คือเป็นไปกับด้วยปัญญา.
บทว่า ปจฺเจกพุทฺเธหิ ชิเนหิ ภาสิตา ความว่า ชื่อว่าชินะ เพราะ
ชนะ คือได้ชนะกิเลส กถาที่พระชินปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นกล่าว
คือภาษิตไว้ กล่าวไว้ เป็นคำโอฬาร คือมีโอชะปรากฏอยู่ คือเป็นไปอยู่.
เชื่อมความว่า กถาเหล่านั้น คือกถาอันพระศากยสีหะ ได้แก่พระตถาคต
ผู้เป็นสีหะในวงศ์แห่งศากยราช ผู้ออกบวชแล้วได้เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
นระชั้นสูง คือเป็นผู้สูงสุดประเสริฐกว่านรชนทั้งหลาย ทรงประกาศไว้
คือทรงทำให้ปรากฏ ได้แก่ตรัสเทศนาไว้แล้ว. เพื่อจะเฉลยคำถามว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 398
ทรงประกาศไว้เพื่ออะไร จึงตรัสว่า เพื่อให้รู้แจ้งธรรม. อธิบายว่า
เพื่อให้รู้โลกุตรธรรม ๙ โดยพิเศษ.
บทว่า โลกานุกมฺปาย อิมานิ เตสํ ความว่า เพราะความเป็นผู้
อนุเคราะห์โลก คือเพราะอาศัยความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงกล่าวคำเหล่านี้ คือคาถาเหล่านี้ให้วิเศษ คือแต่งไว้
กล่าวไว้โดยพิเศษ.
บทว่า สํเวคสงฺคมติวฑฺฒนตฺถํ ความว่า เพื่อเพิ่มพูนความ
สังเวช เพื่อเพิ่มพูนความไม่คลุกคลี คือเพื่อเพิ่มพูนความเป็นผู้เดียว
และเพื่อเพิ่มพูนความรู้ คือเพื่อเพิ่มพูนปัญญา พระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นสยัมภูสีหะ คือเป็นผู้ไม่มีอาจารย์ เป็นแล้ว เกิดแล้ว แทงตลอดแล้ว
เฉพาะพระองค์เอง เป็นดุจสีหะไม่กลัว ได้ประกาศคำเหล่านี้ อธิบายว่า
ประกาศ เปิดเผย ทำให้คนซึ่งความเหล่านี้.
ศัพท์ว่า อิติ เป็นนิบาตลงในอรรถจบข้อความ.
พรรณนาปัจเจกพุทธาปทาน
ในวิสุทธชนวิลบาสินี อรรถกถาอปทาน
จบบริบูรณ์เท่านี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 399

58
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 341(เล่ม70หน้า341)
พรรณนาอีติคาถา
คาถาว่า อีติ จ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า
หัวฝีเกิดขึ้นแก่พระเจ้าพาราณสี เวทนากล้าได้เพิ่มมากขึ้น หมอทั้งหลายทูลว่า เว้นสัตถกรรมการผ่าตัด จะไม่มีความผาสุก
พระราชาทรงให้อภัยหมอเหล่านั้น แล้วให้กระทำการผ่าตัด.
หมอเหล่านั้นผ่าหัวฝีนั้นแล้ว นำหนองและเลือดออกมา กระทำให้ไม่มีเวทนาแล้วเอาผ้าพันแผล. และ
ถวายคำแนะนำพระราชาใน (การเสวย) เนื้อและพระกระยาหารอันเศร้าหมอง.
พระราชาทรงมีพระสรีระซูบผอม เพราะโภชนะเศร้าหมอง. และหัวฝีของพระราชานั้นก็แห้งไป.

พระราชาทรงมีสัญญาว่าทรงผาสุก จึงเสวยพระกระยาหารอันสนิท. ด้วยเหตุนั้น จึงทรงเกิดพละกำลัง ทรงเสพเฉพาะในการเสพเท่านั้น.
หัวฝีของพระราชานั้นก็ถึงสภาวะอันมีในก่อนนั่นแหละ เมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์จึงให้ทำการผ่าตัดจนถึง ๓ ครั้ง
อันหมอทั้งหลายละเว้นแล้ว (จากการรักษา) จึงทรงเบื่อหน่าย ละราชสมบัติใหญ่ออกบวชเข้าป่า เริ่มวิปัสสนา ๖ พรรษา
ก็ทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ ได้กล่าวอุทานคาถานี้แล้วไปยังเงื้อมเขานันทมูลกะ.

ที่ชื่อว่า อีติ จัญไร ในคาถานั้น เพราะอรรถว่า มา.
คำว่า อีตินี้ เป็นชื่อของเหตุแห่งความฉิบหายอันเป็นส่วนแห่งอกุศลที่จรมา.
เพราะฉะนั้น แม้กามคุณเหล่านี้ก็ชื่อว่า จัญไร เพราะอรรถว่า นำมาซึ่งความฉิบหายมิใช่น้อย และเพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุมอนัตถพินาศ.
แม้หัวฝีก็หลั่งของไม่สะอาดออกมา เป็นของบวมขึ้น แก่จัด และแตกออกเพราะฉะนั้น กามคุณเหล่านี้ จึงชื่อว่าดุจหัวฝี เพราะหลั่งของไม่สะอาด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 342
คือ กิเลสออกมา และเพราะมีภาวะบวมขึ้น แก่จัด และแตกออก โดยการเกิดขึ้น การคร่ำคร่า และแตกพังไป.
ชื่อว่าอุปัทวะ เพราะอรรถว่ารบกวน. อธิบายว่า ทำอนัตถพินาศให้เกิดครอบงำ ท่วมทับไว้.
คำว่า อุปัทวะนี้เป็นชื่อของหัวฝีคือราคะเป็นต้น. เพราะฉะนั้น แม้กามคุณเหล่านี้ ก็ชื่อว่าอุปัทวะ เพราะนำมาซึ่งความพินาศ
คือ การไม่รู้แจ้งพระนิพพานเป็นเหตุ และเพราะเป็นวัตถุที่ตั้งโดยรอบแห่งอุปัทวกรรมทุกชนิด.
ก็เพราะเหตุที่กามคุณเหล่านี้ ทำความกระสับกระส่ายเพราะกิเลสให้เกิด ทำความไม่มีโรคกล่าวคือศีล หรือความโลภให้เกิดขึ้น
ปล้นเอาความไม่มีโรคซึ่งเป็นไปตามปกติ ฉะนั้น กามคุณเหล่านั้นจึงชื่อว่าดุจโรค เพราะอรรถว่า ปล้นความไม่มีโรคนี้.

อนึ่ง
ชื่อว่า ดุจลูกศร เพราะอรรถว่า เข้าไปเรื่อย ๆ ในภายใน เพราะอรรถว่า เสียบเข้าในภายใน และ
                  เพราะอรรถว่า ถอนออกยาก.
ชื่อว่า เป็นภัย เพราะนำมาซึ่งภัยในปัจจุบันและภัยในภายหน้า.
ชื่อว่า เมตํ เพราะตัดบทออกเป็น เม เอตํ.

คำที่เหลือในคาถานี้ปรากฏชัดแล้ว.
แม้คำสรุปก็พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบพรรณนาอีติคาถา

59
ชื่อเรื่อง พระปูติคัตตติสสเถระ40-435
หัวเรื่องพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 435

๗. เรื่องพระปูติคัตตติสสเถระ [๓๐]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภพระเถระ
ชื่อว่า ปูติคัตตติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อจิรํ วตยํ กาโย"เป็นต้น.

พระเถระกายเน่า
ได้ยินว่า กุลบุตรชาวกรุงสาวัตถีผู้หนึ่ง ฟังธรรมกถาในสำนักของพระศาสดา
ถวายชีวิตในพระศาสนา ได้บรรพชาอุปสมบทแล้วได้ชื่อว่า พระติสสเถระ.

เมื่อกาลล่วงไป ๆ โรคเกิดขึ้นในสรีระของท่าน.ต่อม ทั้งหลาย
ประมาณเท่าเมล็ดผักกาดผุดขึ้น. มัน (โตขึ้น) โดยลำดับ
ประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว
ประมาณเท่าเมล็ดถั่วดำ
ประมาณเท่าเมล็ดกระเบา
ประมาณเท่าผลมะขามป้อม
ประมาณเท่าผลมะตูม
แตกแล้ว. สรีระทั้งสิ้น ได้เป็นช่องเล็กช่องน้อย
ชื่อของท่านเกิดขึ้นแล้วว่า พระปูติคัตตติสสเถระ (พระติสสเถระผู้มีกายเน่า).

ต่อมา
ในกาลเป็นส่วนอื่น กระดูกของท่าน แตกแล้ว. ท่านได้เป็นผู้ที่ใคร ๆ ปฏิบัติไม่ได้.
ผ้านุ่งและผ้าห่มเปื้อนด้วยหนองและเลือด ได้เป็นเช่นกับขนมร่างแห.
พวกภิกษุมีสัทธิวิหาริกเป็นต้นไม่อาจจะปฏิบัติได้ (จึงพากัน) ทอดทิ้งแล้ว.
ท่านเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งนอน ( แซ่ว ) แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 436
พระพุทธเจ้าทรงพยาบาลและทรงแสดงธรรม
ก็ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงละการตรวจดูโลกสิ้น ๒ วาระ
(คือ) ในกาลใกล้รุ่ง
เมื่อทรงตรวจดูโลก ทรงตรวจดูจำเดิมแต่ขอบปากแห่งจักรวาล
ทำพระญาณให้มุ่งต่อพระคันธกุฎี.

เมื่อทรงตรวจดูเวลาเย็น
ทรงตรวจดูจำเดิมแต่พระคันธกุฎี ทำพระญาณให้มุ่งต่อที่(ออกไป ) ภายนอก.
ก็ในสมัยนั้น พระปูติคัตตติสสเถระ ปรากฏแล้วภายในข่ายคือพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของติสสภิกษุ
ทรงดำริว่า "ภิกษุนี้ ถูกพวกสัทธิวิหาริกเป็นต้น ทอดทิ้งแล้ว, บัดนี้ เธอยกเว้นเราเสีย ก็ไม่มีที่พึ่งอื่น

" ดังนี้แล้ว จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี
เหมือนเสด็จเที่ยวจาริกในวิหาร เสด็จไปสู่โรงไฟ ทรงล้างหม้อ ใส่น้ำ ยกตั้งบนเตา เมื่อทรงรอให้น้ำร้อนได้ประทับยืนในโรงไฟนั่นเอง: ทรงรู้ความที่น้ำร้อนแล้ว เสด็จไปจับปลายเตียงที่ติสสภิกษุนอน.

ในกาลนั้น
พวกภิกษุ กราบทูลว่า"ขอพระองค์ จงเสด็จหลีกไป พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์จักยก๑ (เอง)แล้ว ( ช่วยกัน ) ยกเตียง นำไปสู่โรงไฟ. พระศาสดาทรงให้นำร่างมาทรงเทน้ำร้อน ( ใส่ ) แล้ว ทรงสั่งภิกษุเหล่านั้นให้ ( เปลื้อง ) เอาผ้าห่มของเธอ ให้ขยำด้วยน้ำร้อน แล้วให้ผึ่งแดด

ลำดับนั้น
พระศาสดา ประทับยืนอยู่ในที่ใกล้ของเธอ ทรงรดสรีระนั้นให้ชุ่มด้วยน้ำอุ่นทรงถูสรีระของเธอ ให้เธออาบแล้ว .ในที่สุดแห่งการอาบของเธอ,ผ้าห่มนั้นแห้งแล้ว. ทีนั้น พระศาสดาทรงช่วยเธอให้นุ่งผ้าห่มนั้น ทรงให้ขยำผ้ากาสาวะที่เธอนุ่งด้วยน้ำ แล้วให้ผึ่งแดด. ทีนั้น เมื่อน้ำที่กายของ
๑. สำนวนภาษามคธ ใช้คหธาตุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 437
เธอพอขาด (คือแห้ง) ผ้านุ่งนั้นก็แห้ง. เธอนุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่งห่มผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง เป็นผู้มีสรีระเบา มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง นอนบนเตียงแล้ว. พระศาสดาประทับยืน ณ ที่เหนือศีรษะของเธอ
ตรัสว่า" ภิกษุ กายของเธอนี้ มีวิญญาณไปปราศแล้ว หาอุปการะมิได้ จักนอนบนแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้
" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
๗. อจิรํ วตยํ กาโย ปฐวึ อธิเสสฺสติ
ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ นิรตฺถํว กลิงคฺรํ.
"ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน.
กายนี้มีวิญญาณไปปราศ อันบุคคลทิ้งแล้ว,
ราวกับท่อนไม้ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น."

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจิรํ วต เป็นต้น ความว่า ภิกษุต่อกาลไม่นานเลย
กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน คือจักนอนเบื้องบนแห่งแผ่นดิน ที่สัตว์นอนแล้วด้วยการนอนปกตินี้.
ด้วยบทว่า ฉุฑฺโฑ พระศาสดา ทรงแสดงเนื้อความว่า "กายนี้ จักเป็นของชื่อว่าเปล่า เพราะความมีวิญญาณไปปราศ ถูกทอดทิ้งแล้วนอน."เหมือนอะไร ?เหมือนท่อนไม้ ไม่มีประโยชน์.

อธิบายว่า เหมือนท่อนไม้อันไร้อุปการะ ไม่มีประโยชน์,
จริงอยู่ พวกมนุษย์ผู้มีความต้องการด้วยทัพสัมภาระ เข้าไปสู่ป่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 438
แล้ว ตัดไม้ตรงโดยสัณฐานแห่งไม้ตรง ไม้คดโดยสัณฐานแห่งไม้คด
ถือเอา (เป็น) ทัพสัมภาระ, แต่ตัดไม้เป็นโพรง ไม้ผุ ไม้ไม่มีแก่น
ไม้เกิดเป็นตะปุ่มตะป่ำที่เหลือ ทิ้งไว้ในป่านั้นนั่นเอง มนุษย์พวกอื่นผู้มี
ความต้องการด้วยทัพสัมภาระมาแล้ว ชื่อว่า หวังถือเอาชิ้นไม้ที่ถูกทิ้ง
ไว้นั้น ย่อมไม่มี, มนุษย์เหล่านั้น แลดูไม้นั้นแล้ว ย่อมถือเอาไม้ ที่
เป็นอุปการะแก่ตนเท่านั้น; ไม้นอกนี้ ย่อมเป็นไม้ถมแผ่นดินอย่างเดียว,
ก็ไม้นั้น พึงเป็นไม้แม้ที่ใคร ๆ อาจจะทำเชิงรองเตียงหรือเขียงเท้า หรือ
ว่าตั่งแผ่นกระดาน ด้วยอุบายนั้น ๆ ได้; ส่วนว่า บรรดาส่วน ๓๒ ใน
อัตภาพนี้ แม้ส่วนหนึ่ง ชื่อว่า เข้าถึงความเป็นของที่จะพึงถือเอาได้ด้วย
สามารถแห่งอุปกรณ์วัตถุ มีเชิงรองเตียงเป็นต้น หรือด้วยมุขเป็นอุปการะ
อย่างอื่น ย่อมไม่มี กายนี้มีวิญญาณไปปราศแล้ว ต่อวันเล็กน้อยเท่านั้น
ก็จักต้องนอนเหนือแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น ดังนี้แล.

พระปูติคัตตติสสเถระนิพพาน
ในเวลาจบเทศนา พระปูติคัตตติสสเถระ บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแล้ว.
แม้ชนอื่นเป็นอันมาก ก็ได้เป็นพระอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น.
ฝ่ายพระเถระบรรลุพระอรหัตแล้วก็ปรินิพพาน.

พระศาสดาโปรดให้ทำสรีรกิจของท่าน ทรงเก็บ ( อัฐิ ) ธาตุ แล้วโปรดให้ทำเจดีย์ไว้.
พวกภิกษุ กราบทูลถามพระศาสดาว่า " พระเจ้าข้า พระปูติคัตตติสสเถระ บังเกิดในที่ไหน ?"
๑. ปฐวีคตํ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 439
พระศาสดา. เธอปรินิพพานแล้ว ภิกษุทั้งหลาย.
พวกภิกษุ. พระเจ้าข้า กายของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัตเห็นปานนั้น เกิดเป็นกายเน่า เพราะเหตุอะไร ? กระดูกทั้งหลายแตกแล้ว เพราะเหตุอะไร ?
อะไรเป็นเหตุถึงความเป็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของท่านเล่า ?
พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย ผลนี้ทั้งหมด เกิดแล้วแก่ติสสะนั่นก็เพราะกรรมที่ตัวทำไว้.
พวกภิกษุ. ก็กรรมอะไร ? ที่ท่านทำไว้ พระเจ้าข้า.
พระศาสดา ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้น พวกเธอจงฟัง"
ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสดังต่อไปนี้ :-)

บุรพกรรมของพระติสสะ
ติสสะนี้เป็นพรานนก ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ ฆ่านกเป็นอันมาก
บำรุงอิสรชน, ขายนกที่เหลือจากนกที่ให้แก่อิสรชนเหล่านั้น.
คิดว่า "นกที่เหลือจากขาย อันเราฆ่าเก็บไว้จักเน่าเสีย" จึงหักกระดูกแข้งและกระดูกปีกของนกเหล่านั้น ทำอย่าง
ที่มันไม่อาจบินหนีไปได้ แล้วกองไว้. เขาขายนกเหล่านั้นในวันรุ่งขึ้น,
ในเวลาที่ได้นกมามากมาย ก็ให้ปิ้งไว้ เพื่อประโยชน์แห่งตน.

วันหนึ่ง
เมื่อโภชนะมีรสของเขาสุกแล้ว พระขีณาสพองค์หนึ่ง เที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของเขา เขาเห็นพระเถระแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสคิดว่า "สัตว์มีชีวิตมากมาย ถูกเราฆ่าตาย, ก็พระผู้เป็นเจ้ายืนอยู่ที่ประตู
เรือนของเรา และโภชนะอันมีรสก็มีอยู่พร้อมภายในเรือน, เราจะถวายบิณฑบาตแก่ท่าน
" ดังนี้แล้วจึงรับบาตรของพระขีณาสพนั้น ใส่โภชนะอันมีรสนั้นให้เต็มบาตรแล้ว ถวายบิณฑบาตอันมีรส แล้วไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าพึงถึงที่สุดแห่งธรรมที่ท่านเห็นเถิด." พระเถระได้ทำอนุโมทนาว่า "จงเป็นอย่างนั้น."

ประมวลผลธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ผล (ทั้งหมด ) นั่นสำเร็จแล้วแก่ติสสะ ด้วยอำนาจแห่งกรรมที่ติสสะทำแล้วในกาลนั้นนั่นเอง;
กายของติสสะเกิดเน่าเปื่อย, และกระดูกทั้งหลายแตก ก็ด้วยผลของการทุบกระดูกนกทั้งหลาย;
ติสสะบรรลุพระอรหัต ก็ด้วยผลของการถวายบิณฑบาตอันมีรสแก่พระขีณาสพ ดังนี้แล
เรื่องพระปูติคัตตติสสเถระ จบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 441


60
เรื่องพระจิตตหัตถเถระ40-418
หัวเรื่อง  พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 418

๕. เรื่องพระจิตตหัตถเถระ [๒๘]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระ
ชื่อจิตตหัตถ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส"
เขาเที่ยวตามโคจนอ่อนเพลีย
ได้ยินว่า กุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง แสวงหาโคผู้ที่หายไปอยู่
จึงเข้าป่า พบโคผู้ในเวลาเที่ยง ปล่อยเข้าฝูงแล้วคิดว่า " เราจักได้วัตถุ
สักว่าอาหาร ในสำนักของพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายแน่แท้" ถูกความหิวกระ-
หายรบกวนแล้ว จึงเข้าไปสู่วิหาร ถึงสำนักของภิกษุทั้งหลาย ไหว้แล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ก็ในสมัยนั้นแล ภัตอันเหลือจากภิกษุทั้งหลาย
ฉัน ยังมีอยู่ในถาดสำหรับใส่ภัตอันเป็นเดน. ภิกษุเหล่านั้นเห็นเขาถูก
ความหิวรบกวนแล้ว จึงกล่าวว่า " เชิญท่านถือเอาภัตกินเถิด," ก็ชื่อว่า
ในครั้งพุทธกาล แกงและกับมากมายย่อมเกิดขึ้น, เขารับภัตพอเยียวยา
อัตภาพจากถาดนั้นบริโภคแล้ว ดื่มน้ำ ล้างมือ ไหว้ภิกษุทั้งหลายแล้ว
ถามว่า " ท่านขอรับ วันนี้ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายได้ไปสู่ที่นิมนต์แล้ว
หรือ ?" ภิกษุทั้งหลายตอบว่า " อุบาสก วันนี้ ไม่มี, ภิกษุทั้งหลาย
ย่อมได้ (ภัตตาหาร) เนือง ๆ โดยทำนองนี้เทียว."
เขาบวชเป็นภิกษุ
เขาคิดว่า " พวกเรา ลุกขึ้นแล้ว ครั้นลุกขึ้นแล้ว แม้ทำการงาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 419
เนือง ๆ ตลอดคืนและวัน ก็ยังไม่ได้ภัตมีกับอันอร่อยอย่างนี้, ได้ยินว่า
ภิกษุเหล่านี้ย่อมฉันเนือง ๆ, เราจะต้องการอะไรด้วยความเป็นคฤหัสถ์,
เราจักเป็นภิกษุ" ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชาแล้ว.
ลำดับนั้น พวกภิกษุพูดกะเขาว่า " เป็นการดี อุบาสก" ให้เขาบรรพชา
แล้ว. เขาได้อุปสมบทแล้ว ทำวัตรและปฏิวัตร ซึ่งเป็นอุปการะแก่ภิกษุ
ทั้งปวง. เธอได้มีสรีระอ้วนท้วนโดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน เพราะลาภ
และสักการะที่เกิดขึ้นแก่พระพุทธะ๑ทั้งหลาย.
เขาบวช ๆ สึก ๆ ถึง ๖ ครั้ง
แต่นั้น เธอคิดว่า " เราจักต้องการอะไรด้วยการเที่ยวไปเพื่อภิกษา
เลี้ยงชีพ, เราจักเป็นคฤหัสถ์." เธอสึกเข้าเรือนแล้ว. เมื่อกุลบุตร [ทิด
สึกใหม่] นั้น ทำการงานอยู่ในเรือน โดย ๒ - ๓ วัน เท่านั้น สรีระ
ก็ซูบผอม. แต่นั้นเธอคิดว่า " ประโยชน์อะไรของเราด้วยทุกข์นี้, เรา
จักเป็นสมณะ" ดังนี้แล้ว ก็กลับมาบวชใหม่. เธอยับยั้งอยู่ไม่ได้กี่วัน
กระสันขึ้นแล้วสึกอีก แต่เธอได้มีอุปการะแก่พวกภิกษุในเวลาบวช. โดย
๒ - ๓ วัน เท่านั้น เธอก็ระอาใจแม้อีก คิดว่า " ประโยชน์อะไรของ
เราด้วยความเป็นคฤหัสถ์, เราจักบวช" จึงไปไหว้ภิกษุทั้งหลาย ขอ
บรรพชาแล้ว. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย ให้เขาบรรพชาอีกแล้ว ด้วยอำนาจ
แห่งอุปการะ, เขาบวชแล้วก็สึกอยู่อย่างนี้ถึง ๖ ครั้ง. ภิกษุทั้งหลายคิดว่า
" ภิกษุนี่ เป็นไปในอำนาจแห่งจิตเที่ยวไปอยู่" จึงขนานนามแก่เธอว่า
"จิตตหัตถเถระ."
๑. ใช้ศัพท์ว่า พุทฺธานํ ในที่นี้ น่าจะหมายถึงพระสัมพุทธะ และอนพุทธะหรือพระสาวกพุทธะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 420
ครั้งที่ ๗ เขาเกิดธรรมสังเวชเลยบวชไม่สึก
เมื่อนายจิตตหัตถ์นั้นเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่อย่างนี้เทียว ภริยาได้มีครรภ์แล้ว.
ในวาระที่ ๗ เขาแบกเครื่องไถจากป่าไปเรือน
วางเครื่องใช้ไว้แล้ว เข้าห้องด้วยประสงค์ว่า " จักหยิบผ้ากาสาวะของตน.

" ในขณะนั้น ภริยาของเขากำลังนอนหลับ. ผ้าที่หล่อนนุ่งหลุดลุ่ย น้ำลายไหลออกปาก, จมูกก็กรนดังครืด ๆ, ปากอ้า, กัดฟัน. หล่อนปรากฏแก่เขาประดุจสรีระที่พองขึ้น.

เขาคิดว่า " สรีระนี้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์.
เราบวชตลอดกาลประมาณเท่านี้แล้ว อาศัยสรีระนี้ จึงไม่สามารถดำรงอยู่ในภิกษุภาวะได้
" ดังนี้แล้ว ก็ฉวยผ้ากาสาวะพันท้อง พลางออกจากเรือน.

ขณะนั้น
 แม่ยายของเขายืนอยู่ที่เรือนติดต่อกัน เห็นเขากำลังเดินไปด้วยอาการอย่างนั้น สงสัยว่า " เจ้านี่กลับไปอีกแล้ว เขามาจากป่าเดี๋ยวนี้เองพันผ้ากาสาวะที่ท้อง ออกเดินบ่ายหน้าตรงไปวิหาร; เกิดเหตุอะไรกันหนอ ?
" จึงเข้าเรือนเห็นลูกสาวหลับอยู่ รู้ว่า "เขาเห็นลูกสาวของเรานี้มีความรำคาญไปเสียแล้ว
" จึงตีลูกสาว กล่าวว่า " นางชั่วชาติ จงลุกขึ้น.
ผัวของเอง เห็นเองกำลังหลับ มีความรำคาญไปเสียแล้ว, ตั้งแต่นี้เองจะไม่มีเขาละ
" ลูกสาวกล่าวว่า " หลีกไป หลีกไปเถิดแม่ เขาจะไปข้างไหน, อีก ๒-๓ วันเท่านั้น ก็มาอีก."

แม้นายจิตตหัตถ์นั้น บ่นไปว่า
 " ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ " กำลังเดินไป ๆ บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว.

เขาไปไหว้ภิกษุทั้งหลายแล้ว ก็ขอบรรพชา.
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า "พวกเราจักไม่อาจให้ท่านบรรพชาได้,
ความเป็นสมณะของท่านจักมีมาแต่ที่ไหน ? ศีรษะของท่านเช่นกับหินลับมีด.
" เขากล่าวว่า " ท่านขอรับ พวกท่านโปรดอนุเคราะห์ให้กระผมบวชในคราว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 421
นี้อีกคราวหนึ่งเถิด." ภิกษุเหล่านั้นจึงให้เขาบวชแล้ว ด้วยอำนาจแห่งอุปการะ

บรรลุพระอรหัตแล้วถูกหาว่าพูดไม่จริง
ได้ ๒-๓ วันเท่านั้น เธอก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
ภิกษุแม้เหล่านั้น พูดกับเธอว่า " คุณจิตตหัตถ์ คุณควรรู้สมัยที่คุณจะ
ไปโดยแท้. ทำไม ในครั้งนี้ คุณจึงชักช้าอยู่เล่า ?" เธอกล่าวว่า " พวก
ผมไปแล้วในเวลาที่มีความเกี่ยวข้องดอก๑ ขอรับ ความเกี่ยวข้องนั้น ผม
ตัดได้แล้ว, ต่อไปนี้ พวกผมมีความไม่ไปเป็นธรรมดา." พวกภิกษุ
พากันไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุนี้ ถูกพวกข้าพระองค์พูดอย่างนี้ กล่าวชื่ออย่างนี้ เธอพยากรณ์
พระอรหัต เธอพูดคำไม่จริง." พระศาสดา ตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุ
ทั้งหลาย บุตรของเรา ได้ทำการไปและการมา ในเวลาไม่รู้พระสัทธรรม
ในเวลาที่ตนยังมีจิตไม่มั่นคง, บัดนี้ บุตรของเรานั่นละบุญและบาปได้
แล้ว" ได้ตรัสสองพระคาถาเหล่านี้ว่า
๕. อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส สทฺธมฺมํ อวิชานโต
ปริปฺลวปสาทสฺส ปญฺญา น ปริปูรติ
อนวสฺสุตจิตฺตสฺส อนนฺวาหตเจตโส
ปุญฺญปาปปหีนสฺส นตฺถิ ชาครโต ภยํ.
"ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์ แก่ผู้มีจิตไม่มั่นคง
ไม่รู้แจ้งซึ่งพระสัทธรรม มีความเลื่อมใสอันเลื่อน
๑. หมายถึง กิเลสเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 422
ลอย, ภัย (ความกลัว) ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตอัน
ราคะไม่ซึมซาบ มีใจไม่ถูกโทสะตามกระทบ ละบุญและบาปได้ ตื่นอยู่."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส พระศาสดา
ทรงแสดงเนื้อความว่า " ชื่อว่าจิตนี้ ของใคร ๆ ไม่มีแน่นอนหรือมั่นคง;
ก็บุคคลใด ไม่ดำรงอยู่ในภาวะไหน ๆ เหมือนกับฟักเขียวที่ตั้งไว้บน
หลังม้า เหมือนกับหลักที่ปักไว้ในกองแกลบ เหมือนกับดอกกระทุ่มบน
ศีรษะล้าน, บางคราวเป็นเสวก บางครั้งเป็นอาชีวก บางคาบเป็นนิครนถ์
บางเวลาเป็นดาบส, บุคคลเห็นปานนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่มั่นคง, ปัญญาอัน
เป็นกามาพจรก็ดี อันต่างด้วยปัญญามีรูปาพจรเป็นอาทิก็ดี ย่อมไม่บริบูรณ์
แก่บุคคลนั้น ผู้มีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรมนี้ อันต่างโดยโพธิปัก-
ขิยธรรม๑ ๓๗ ชื่อว่ามีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย เพราะความเป็นผู้มี
ศรัทธาน้อย หรือเพราะความเป็นผู้มีศรัทธาคลอนแคลน, เมื่อปัญญาแม้
เป็นกามาพจรไม่บริบูรณ์ ปัญญาที่เป็นรูปาพจร อรูปาพจรและโลกุตระ
จักบริบูรณ์ได้แต่ที่ไหนเล่า ?
บทว่า อนวสฺสุตจิตฺตสฺส ได้แก่ ผู้มีจิตอันราคะไม่ชุ่มแล้ว.
ในบทว่า อนนฺวาหตเจตโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความที่จิตถูก
โทสะกระทบแล้วไว้ในอาคตสถานว่า๒ " มีจิตถูกโทสะกระทบเกิดเป็นดังเสาเขื่อน."
๑. มีธรรมเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ๓๗ เป็นประเภท.
๒. ที่แห่งบาลีประเทศอันมาแล้ว. อภิ. วิ. ๓๕/๕๑๐. ม. มู. ๑๒/๒๐๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 423
แต่ในบทว่า อนนฺวาหตเจตโส นี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความว่า
" ผู้มีจิตอันโทสะไม่กระทบ."
บทว่า ปุญฺญปาปปหีนสฺส ความว่า ผู้ละบุญและบาปได้ด้วย
มรรคที่ ๔ คือผู้สิ้นอาสวะแล้ว.
บาทพระคาถาว่า นตฺถิ ชาครโต ภยํ ความว่า ความไม่มีภัย
ดูเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้สำหรับท่านผู้สิ้นอาสวะ ตื่นอยู่แล, ก็
ท่านผู้สิ้นอาสวะนั้น ชื่อว่า ตื่นแล้ว เพราะประกอบด้ายธรรมเป็นเหตุตื่น
ทั้งหลาย มีศรัทธาเป็นอาทิ, เพราะฉะนั้น ท่านตื่นอยู่ (ตื่นนอน)
ก็ตาม ยังไม่ตื่น (ยังนอนหลับ) ก็ตาม ภัยคือกิเลสชื่อว่าย่อมไม่มี
เพราะกิเลสทั้งหลายไม่มีการหวนกลับมา, จริงอยู่ กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่า
ย่อมไม่ติดตามท่าน เพราะกิเลสทั้งหลายที่ท่านละได้แล้วด้วยมรรคนั้น ๆ
ไม่มีการเข้าไปหา (ท่าน) อีก, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า " กิเลสเหล่าใด อันอริยบุคคลละได้แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค,
เธอย่อมไม่มาหา คือไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก; กิเลสเหล่าใด อันอริย-
บุคคลละได้แล้วด้วยสกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค,
เธอย่อมไม่มาหา คือไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก " ดังนี้.
เทศนาได้มีประโยชน์ มีผล แก่มหาชนแล้ว.
กิเลสทำผู้มีอุปนิสัยแห่งพระอรหัตให้เศร้าหมองได้
ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย
ขึ้นชื่อว่ากิเลสเหล่านี้ หยาบนัก, กุลบุตรผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระ-
อรหัตเห็นปานนี้ ยังถูกกิเลสให้มัวหมองได้ (ต้อง) เป็นคฤหัสถ์ ๗ ครั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 424
บวช ๗ ครั้ง." พระศาสดาทรงสดับประวัติกถาของภิกษุเหล่านั้น จึง
เสด็จไปสู่ธรรมสภา ด้วยการไปอันสมควรแก่ขณะนั้น ประทับบนพุทธ-
อาสน์แล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งประชุมกัน ด้วยถ้อย
คำอะไรหนอ ? " เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า " ด้วยเรื่องชื่อนี้ " แล้ว
จึงตรัสว่า " อย่างนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่ากิเลสทั้งหลาย
ย่อมเป็นสภาพหยาบ, ถ้ากิเลสเหล่านี้ มีรูปร่าง อันใคร ๆ พึงสามารถ
จะเก็บไว้ได้ในที่บางแห่ง, จักรวาลก็แคบเกินไป, พรหมโลกก็ต่ำ
เกินไป, โอกาสของกิเลสเหล่านั้นไม่พึงมี (บรรจุ) เลย, อันกิเลส
เหล่านี้ ย่อมทำบุรุษอาชาไนยที่ถึงพร้อมด้วยปัญญา แม้เช่นกับเราให้มัว
หมองได้ จะกล่าวอะไรในเหล่าชนที่เหลือ; จริงอยู่ เราเคยอาศัยข้าวฟ่าง
และลูกเดือยเพียงครึ่งทะนาน และจอบเหี้ยน บวชสึกแล้ว ๖ ครั้ง."
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลถามว่า " ในกาลไร ? พระเจ้าข้า."
พระศาสดาตรัสว่า " จักฟังหรือ ? ภิกษุทั้งหลาย."
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " อย่างนั้น พระเจ้าข้า."
พระศาสดาตรัสว่า " ถ้ากระนั้น พวกเธอจงฟัง" ดังนี้แล้วทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสว่า) :-
เรื่องบัณฑิตจอบเหี้ยน
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี
บุรุษผู้หนึ่ง ชื่อกุททาลบัณฑิต บวชเป็นนักบวชภายนอกอยู่ในป่าหิมวันต์
๘ เดือน เมื่อภูมิภาคชุ่มชื้น ในสมัยที่ฝนตกชุก๑คิดว่า " ในเรือนของเรา
๑. วสฺสารตฺตสมเย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 425
ยังมีข้าวฟ่างและลูกเดือยประมาณครึ่งทะนาน และจอบเหี้ยน (อีกอัน
หนึ่ง), พืชคือข้าวฟ่างและลูกเดือยอย่าเสียไป" จึงสึกเอาจอบเหี้ยนฟื้น
ที่แห่งหนึ่ง หว่านพืชนั้น ทำรั้วไว้ ในเวลาที่เมล็ดพืชแก่ก็เหี่ยว เก็บพืช
ไว้ประมาณทะนานหนึ่ง เคี้ยวกินพืชที่เหลือ. ท่านคิดว่า " บัดนี้ ประ-
โยชน์อะไรด้วยเรือนของเรา, เราจักบวชอีก ๘ เดือน" จึงออกบวชแล้ว.
ท่านอาศัยข้าวฟ่างและลูกเดือยเพียงหนึ่งทะนานและจอบเหี้ยน เป็นคฤหัสถ์
๗ ครั้ง บวช ๗ ครั้ง โดยทำนองนี้แล แต่ในครั้งที่ ๗ คิดว่า " เรา
อาศัยจอบเหี้ยนอันนี้ เป็นคฤหัสถ์แล้วบวชถึง ๗ ครั้ง, เราจักทิ้งมันในที่
ไหน ๆ สักแห่งหนึ่ง." ท่านไปยังฝั่งแม่น้ำคงคา คิดว่า " เราเมื่อเห็น
ที่ตก คงต้องลงงมเอา; เราจักทิ้งมัน โดยอาการที่เราจะไม่เห็นที่ซึ่ง
มันตก" จึงเอาผ้าเก่าห่อพืชประมาณทะนานหนึ่ง แล้วผูกผ้าเก่าที่แผ่นจอบ
จับจอบที่ปลายด้าม ยืนที่ฝั่งแห่งแม่น้ำ หลับตาแกว่งเวียนเหนือศีรษะ
๓ ครั้ง ขว้างไปในแม่น้ำคงคา หันไปดู ไม่เห็นที่ตกได้เปล่งเสียงว่า
" เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว" ดังนี้ ๒ ครั้ง. ในขณะนั้น พระเจ้า
กรุงพาราณสี ทรงปราบปัจจันตชนบทให้สงบราบคาบแล้วเสด็จมา โปรด
ให้ตั้งค่ายพัก๑ ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เสด็จลงสู่แม่น้ำ เพื่อทรงประสงค์จะสรง-
สนาน ได้ทรงสดับเสียงนั้น. ก็ธรรมดาว่า เสียงที่ว่า " เราชนะแล้ว
เราชนะแล้ว" ย่อมไม่พอพระหฤทัยของพระราชาทั้งหลาย. พระองค์จึง
เสด็จไปยังสำนักของกุททาลบัณฑิตนั้น ตรัสถามว่า " เราทำการย่ำยี
อมิตรมาเดี๋ยวนี้ ก็ด้วยคิดว่า ' เราชนะ' ส่วนเธอร้องว่า ' เราชนะแล้ว
เราชนะแล้ว,' นี้ชื่อเป็นอย่างไร ?" กุททาลบัณฑิต จึงทูลว่า "พระ-
๑. ขนฺธาวารํ ประเทศเป็นที่กั้นด้วยท่อนไม้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 426
องค์ทรงชนะพวกโจรภายนอก, ความชนะที่พระองค์ทรงชนะแล้ว ย่อม
กลับเป็นไม่ชนะอีกได้แท้; ส่วนโจรคือความโลภ ซึ่งมีในภายใน อัน
ข้าพระองค์ชนะแล้ว, โจรคือความโลภนั้น จักไม่กลับชนะข้าพระองค์อีก
ชนะโจรคือความโลภนั้นอย่างเดียวเป็นดี" ดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า
"ความชนะใด กลับแพ้ได้ ความชนะนั้นมิใช่
ความชนะที่ดี, (ส่วน) ความชนะใด ไม่กลับแม้
ความชนะนั้นแลเป็นความชนะที่ดี.๑"
ในขณะนั้นเอง ท่านแลดูแม่น้ำคงคา ยังกสิณมีน้ำเป็นอารมณ์
ให้บังเกิด บรรลุคุณพิเศษแล้ว นั่งในอากาศโดยบัลลังก์. พระราชา
ทรงสดับธรรมกถาของพระมหาบุรุษ ไหว้แล้ว ทรงขอบวช ทรงผนวช
พร้อมกับหมู่พล. ได้มีบริษัทประมาณโยชน์หนึ่งแล้ว. แม้กษัตริย์สามันต-
ราชอื่น๒ ทรงสดับความที่พระเจ้ากรุงพาราณสีนั้นผนวชแล้วเสด็จมาด้วย
ประสงค์ว่า "เราจักยึดเอาพระราชสมบัติของพระเจ้ากรุงพาราณสีนั้น"
ทรงเห็นพระนครที่มั่งคั่งอย่างนั้นว่างเปล่า จึงทรงดำริว่า " พระราชา
เมื่อทรงทิ้งพระนครเห็นปานนี้ผนวช จักไม่ทรงผนวชในฐานะอันต่ำช้า,
ถึงเราผนวชก็ควร" ดังนี้แล้ว เสด็จไปในที่นั้น เข้าไปหาพระมหาบุรุษ
ทรงขอบวช ทรงผนวชพร้อมกับบริษัทแล้ว. พระราชา ๗ พระองค์
ทรงผนวชโดยทำนองเดียวกันนี้. ได้มีอาศรมตั้งแผ่ไปถึง ๗ โยชน์.
พระราชา ๗ พระองค์ก็ทรงทิ้งโภคะทั้งหลาย พาชนมีประมาณเท่านี้บวช
๑. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๒. อรรถกถา. ๒/๑๑๓.
๒. สามนฺตราชา พระราชาผู้อยู่ในเมืองใกล้เคียงกัน พระราชาโดยรอบ พระราชาใกล้เคียง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 427
แล้ว. พระมหาบุรุษอยู่ประพฤติพรหมจรรย์๑ เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว.
พระศาสดา ครั้นทรงนำธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ
ทั้งหลาย กุททาลบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็น๒เรา, ขึ้นชื่อว่ากิเลสเหล่านี้
เป็นสภาพหยาบอย่างนั้น."
เรื่องพระจิตตหัตถเถระ จบ.


หน้า: 1 2 3 [4] 5