แสดงกระทู้ - สมบัติ สูตรไชย
กระดานสนทนาธรรม

ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก บ้านห้วยยางทอง ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ 67260


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - สมบัติ สูตรไชย

หน้า: [1] 2 3 ... 6
1


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 452
มหาโจร ๕ จำพวก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มหาโจร ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

มหาโจร ๕ จำพวกเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มหาโจร บางคน ในโลกนี้
ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า

เมื่อไรหนอ
เราจักเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง หรือ พันหนึ่งแวดล้อม
แล้วท่องเที่ยวไปในคามนิคมและราชธานี

เบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียน
ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด
เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญ

สมัยต่อมา
เขาเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่ง แวดล้อม
แล้วเที่ยวไปในตามนิคมและราชธานี

เบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียน
ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด
เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล

ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า
เมื่อไรหนอ
เราจึงจักเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อม
แล้วเที่ยวจาริกไปในคามนิคมและราชธานี
อันคฤหัสถ์และบรรพชิต
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง
ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

สมัยต่อมา
เธอเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อม
แล้วเที่ยวจาริกไปในตามนิคมและราชธานี
อันคฤหัสถ์และบรรพชิต
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรงแล้ว ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัย เภสัชบริขารทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก.

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
ภิกษุผู้เลวทรามบางรูป ในธรรมวินัยนี้
เล่าเรียนธรรมวินัย อันตถาคตประกาศแล้ว
ย่อมยกตนขึ้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในโลก.



๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้

ย่อม ตาม กำจัด เพื่อนพรหมจารี ผู้หมดจด ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์
อยู่ด้วยธรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ อันหามูลมิได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในโลก.



๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
ภิกษุผู้เลวทราม บางรูปในธรรมวินัยนี้
ย่อมสงเคราะห์ เกลี้ยกล่อมคฤหัสถ์ ทั้งหลาย ด้วยครุภัณฑ์
ครุบริขารของสงฆ์ คือ
อาราม พื้นที่อาราม
วิหาร พื้นที่วิหาร
เตียง ตั่ง ฟูก  หมอน
หม้อโลหะ อ่างโลหะ
กระถางโลหะ กระทะโลหะ
มีด ขวาน ผึ่ง จอบ
สว่าน เถาวัลย์ ไม้ไผ่
หญ้ามุงกระต่าย หญ้าปล้อง
หญ้าสามัญ ดินเหนียว
เครื่องไม้ เครื่องดิน

ดูก่อนภิกษุทั้งหาลาย
นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก.


๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม
อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง นี้จัดเป็นยอดมหาโจร

ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้น ฉันก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น
ด้วยอาการแห่งคนขโมย.


นิคมคาถา
ภิกษุใด ประกาศตนอันมีอยู่โดยอาการอื่น ด้วยอาการอย่างอื่น
โภชนะนั้น อันภิกษุนั้น ฉันแล้ว ด้วยอาการแห่งคนขโมย
ดุจ พรานนก ลวงจับนก ฉะนั้น
 
ภิกษุผู้เลวทรามเป็นอันมาก
มีผ้ากาสาวะพันคอ
มีธรรมทรามไม่สำรวมแล้ว
ภิกษุผู้เลวทรามเหล่านั้นย่อมเข้าถึงซึ่งนรก
เพราะกรรมทั้งหลายที่เลวทราม

ภิกษุผู้ทุศีล ผู้ไม่สำรวมแล้ว
บริโภคก้อนเหล็กแดงดังเปลวไฟ ประเสริฐกว่า
การฉันก้อนข้าวของชาวรัฏฐะ จะประเสริฐอะไร.



2

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 667
๒๔. วงศ์พระกัสสปพุทธเจ้าที่ ๒๔
ว่าด้วยพระประวัติของพระกัสสปพุทธเจ้า
[๒๕] ต่อมาจากสมัยของ พระโกนาคมนพุทธเจ้า
ก็มีพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า
จอมทัพธรรม ผู้ทำพระรัศมี.
เรือนของตระกูล มีข้าวนำโภชนะมาก ก็สลัดทิ้งแล้ว
ให้ทานแก่พวกยาจก ยังใจให้เต็มแล้วทำลาย
เครื่องผูกพันดังคอก เหมือนโคอุสภะพังคอกฉะนั้น
ก็บรรลุพระสัมโพธิญาณสูงสุด.

เมื่อพระกัสสปพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่ สัตว์สองหมื่นโกฏิ.
ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกในเทวโลก ๔ เดือน อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ ตัวหนึ่งหมื่นโกฏิ.
ครั้งทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ประกาศพระสัพพัญญุตญาณ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์ห้าพันโกฏิ.

พระชินพุทธเจ้าประทับนั่ง ณ สภา ชื่อ สุธรรมา
ณ ดาวดึงส์เทวโลกทรงประกาศพระอภิธรรม
ทรงยังเทวดา สามพันโกฏิ ให้ตรัสรู้.

อีกครั้งหนึ่ง
ทรงแสดงธรรมโปรดนรเทวยักษ์ อภิสมัยของสัตว์เหล่านั้น นับจำนวนไม่ถ้วน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 668
พระผู้เป็นเทพแห่งเทพพระองค์นั้น
ทรงมีสันนิบาต ประชุมพระสาวกขีณาสพผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบคงที่ ครั้งเดียว.
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมพระภิกษุสาวกสองหมื่น
ผู้เป็นพระขีณาสพล่วงภพ เสมอกันด้วยหิริและศีล.

ครั้งนั้น เราเป็นมาณพ ปรากฏชื่อว่า โชติปาละ ผู้คงแก่เรียน
ทรงมนต์ จบไตรเพท ถึงฝั่งในลัทธิธรรมของตน ในลักษณศาสตร์ และ อิติหาสศาสตร์
ฉลาดรู้พื้นดินและอากาศ สำเร็จวิชาอย่างสมบูรณ์.
อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ ชื่อว่า ฆฏิการะ ผู้น่าเคารพ น่ายำเกรง
อันพระองค์ทรงแนะนำในอริยผลที่ ๓ [อนาคามีผล]
ท่านฆฏิการอุบาสก พาเราเข้าเฝ้าพระกัสสปชินพุทธเจ้า
เราฟังธรรมแล้วก็บวชในสำนักของพระองค์.
เราเป็นผู้ปรารภความเพียร ฉลาดในข้อวัตรน้อยใหญ่ไม่เสื่อมคลาย
ไม่ว่าในคุณข้อไหนๆ ยังคำสั่งสอนของพระชินพุทธเจ้าให้บริบูรณ์อยู่.

เราเล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์ พุทธวจนะตลอดทั้งหมด
ยังพระศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้งามแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 669
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น
ทรงเห็นความอัศจรรย์ของเรา
ก็ทรงพยากรณ์ว่า ในภัทรกัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วเสด็จเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ เข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์.

แต่นั้น พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ.

ท่านผู้นี้ จักมี
พระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวกชื่อว่าพระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 670
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อ พระเขมา และพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตาและอุตตรา
พระโคตมะผู้มีพระยศ จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์แลเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของพระผู้ไม่มีผู้เสมอ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้ว ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวดา พากันโห่ร้องปรบมือ
หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้าพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 671
เราท่องเที่ยวไปอย่างนี้ เว้นเด็ดขาดจากการอนาจารเราทำแต่กิจกรรมที่ทำได้ยาก
ก็เพราะเหตุอยากได้พระโพธิญาณอย่างเดียว.
พระนคร ชื่อว่า พาราณสี
มีกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้ากีกิ
ตระกูลของพระกัสสปพุทธเจ้าเป็นตระกูลใหญ่ อยู่ในพระนครนั้น.

พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า พรหมทัตตะ
พระชนนีเป็นพราหมณีชื่อว่า ธนวดี.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่ สองพันปี
มีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่าหังสะ ยสะ และ สิริจันทะ
มีนางบำเรอสี่หมื่นแปดพันนาง
มีพระนางสุนันทาเป็นประมุข
มีพระราชบุตรพระนามว่า วิชิตเสนะ.

พระผู้สูงสุดในบุรุษ
ทรงเห็นนิมิต ๔
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท
ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน.

พระมหาวีระกัสสปะ
ผู้นำโลก
สูงสุดในนรชนอันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มิคทายวัน.

พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระติสสะ และพระภารทวาชะ
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัพพมิตตะ.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระอนุลา และพระอุรุเวลา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นเรียกว่าต้นนิโครธ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 672
มีอัครอุปัฏฐากชื่อว่า สุมังคละและฆฏิการะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่าวิชิตเสนา และภัททา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๒๐ ศอก
เหมือนสายฟ้าแลบในอากาศ เหมือนดวงจันทร์ทรงกลด.

พระองค์ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระชนมายุสองหมื่นปี
พระองค์มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ ทรงสร้างสระธรรม ประทานศีลเป็นเครื่องลูบไล้
ทรงนุ่งผ้าธรรม แจกจ่ายพวงมาลัยธรรม.
ทรงตั้งธรรมอันใสสะอาดเป็นกระจกแก่มหาชน
คนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปรารถนาพระนิพพานก็จักดูเครื่องประดับของเรา.
ประทานศีลเป็นเสื้อ ฌานเป็นเกราะหนัง ห่มธรรมเป็นหนัง [เสือ]
ประทานเกราะสวมอันสูงสุด.
ประทานสติเป็นโล่ ญาณเป็นหอกคมกริบ
ประทานธรรมเป็นพระขรรค์อย่างดี ศีลเป็นเครื่อง*ย่ำยีศัตรู.
ประทานวิชชา ๓ เป็นเครื่องประดับ ผล ๔ เป็นมาลัยคล้องคอ
ประทานอภิญญา ๖ เป็นอาภรณ์ ธรรมเป็นดอกไม้ประดับ.
๑. อ. สีลสํสคฺคฆทฺทนํ ศีลเป็นเครื่องย่ำยีความคลุกคลี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 673
พระองค์ทั้งพระสาวก ประทานพระสัทธรรมเป็นเศวตฉัตรไว้ป้องกันบาป
ทรงเนรมิตดอกไม้คือทางอันไม่มีภัย แล้วก็ดับขันธปรินิพพาน.
นั่นคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ อันใครเข้าเฝ้าได้ยาก.
นั่นคือพระธรรมรัตนะ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ควรเรียกให้มาดู.
นั่นคือพระสังฆรัตนะ ผู้ปฏิบัติดียอดเยี่ยมทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

พระชินศาสดา มหากัสสปพุทธเจ้า
ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารเสตัพยาราม
ชินสถูปของพระองค์ ณ พระวิหารนั้น สูงหนึ่งโยชน์.
จบวงศ์พระกัสสปพุทธเจ้าที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 674
พรรณนาวงศ์พระกัสสปพุทธเจ้าที่ ๒๔
ภายหลังต่อมาจากสมัยพระผู้มีพระภาคเจ้า โกนาคามนะ
เมื่อพระศาสนาของพระองค์อันตรธานแล้ว
สัตว์ที่มีอายุสามหมื่นปี ก็เสื่อมลดลงโดยลำดับจนถึงมีอายุสิบปี
แล้วเจริญอีก จนมีอายุนับไม่ถ้วน แล้วก็เสื่อมลดลงอีกโดยลำดับ

เมื่อสัตว์เกิดมามีอายุสองหมื่นปี
พระศาสดาพระนามว่ากัสสปะ

ผู้ปกครองมนุษย์เป็นอันมาก ก็อุบัติขึ้นในโลก.
พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย แล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพราหมณีชื่อว่าธนวดี
ผู้มีคุณไพบูลย์ ของพราหมณ์ชื่อว่าพรหมทัตตะ กรุงพาราณสี
ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ตลอดออกจากครรภ์ชนนี ณ อิสิปตนะมิคทายวัน
แต่ญาติทรงหลายตั้งพระนามของพระองค์โดยโคตรว่า กัสสปกุมาร

พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่สองพันปี.
มีปราสาท ๓ หลังชื่อว่าหังสวา ยสวา และสิรินันทะ
ปรากฏมีนางบำเรอสี่หมื่นเเปดพันนาง
มีนางสุนันทาพราหมณี เกิดแล้ว
เมื่อบุตรชื่อ วิชิตเสนะ ของ นางสุนันทาพราหมณี เกิดแล้ว
พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ เกิดความสังเวชสลดใจ
เมื่อระหว่างที่พระองค์ทรงดำริเท่านั้น
ปราสาทก็หมุนเหมือนจักรแห่งแป้นทำภาชนะดิน
ลอยขึ้นสู่ท้องนภากาศ อันคนหลายร้อยแวดล้อมแล้ว
ดุจดวงรัชนีกรในฤดูสารท ที่เป็นกลุ่มทำความงามอย่างยิ่งอันหมู่ดาวแวดล้อมแล้ว
ลอยไปประหนึ่งประดับท้องนภากาศ
ประหนึ่งประกาศบุญญานุภาพ
ประหนึ่งดึงดูดดวงตาดวงใจของชน
ประหนึ่งทำยอดไม้ทั้งหลายให้งามยิ่ง
เอาต้นโพธิ์พฤกษ์ชื่อนิโครธต้นไทรไว้ตรงกลาง
แล้วลงตั้งเหนือพื้นดิน

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ ผู้เป็นมหาสัตว์ทรงยืนที่แผ่นดิน
ทรงถือเอาผ้าธงชัยแห่งพระอรหัตที่เทวดาถวาย ทรงผนวชแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 675
นางบำเรอของพระองค์ก็ลงจากปราสาท เดินทางไปครึ่งคาวุต
พร้อมด้วยบริวารจึงพากันนั่งกระทำให้เป็นดุจค่ายพักของกองทัพ.
แต่นั้น คนที่มาด้วยก็พากันบวชหมด เว้นนางบำเรอ.

ได้ยินว่า
พระมหาบุรุษ อันชนเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน
ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส ที่นางสุนันทาพราหมณีถวายแล้ว
ทรงพักกลางวัน ณ ป่าตะเคียน เวลาเย็น
ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียว ชื่อ โสมะ ถวาย
จึงเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อต้นนิโครธ
ทรงลาดหญ้ากว้างยาว ๑๕ ศอก ประทับนั่งเหนือสันถัตนั้น
บรรลุพระอภิสัมโพธิญาณ
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯ ล ฯ ตณฺหานํขยมชฺฌคา ดังนี้

ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์
ทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของภิกษุหนึ่งโกฏิ ซึ่งบวชกับพระองค์
เสด็จไปทางอากาศ ลงที่อิสิปตนะมิคทายวัน กรุงพาราณสี
อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ อิสิปตนะมิคทายวันนั้น
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สองหมื่นโกฏิ
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อมาจากสมัยของพระโกนาคมนพุทธเจ้า ก็มีพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กัสสปะ
ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ผู้เป็นราชาแห่งธรรม ผู้ทำพระรัศมี.
เรือนแห่งสกุล มีข้าวน้ำโภชนะ เป็นอันมาก
พระองค์ก็สละเสียแล้ว ทรงให้ทานแก่ยาจกทั้งหลายยังใจให้เต็มแล้ว
ทำลายเครื่องผูก ดุจโคอุสภะพังคอกฉะนั้น ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 676
เมื่อพระกัสสปพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรงประกาศ
พระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สองหมื่นโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สญฺฉฑฺฑิตํ ได้แก่ อันเขาละแล้ว ทิ้งแล้ว เสียสละแล้ว.
บทว่า กุลมูลํ ความว่า เรือนแห่งสกุล มีกองโภคะ
นับไม่ถ้วน มีกองทรัพย์หลายพันโกฏิ มีโภคะเสมือนภพท้าวสหัสสนัยน์ ที่
สละได้แสนยาก ก็สละได้เหมือนอย่างหญ้า.
บทว่า ยาจเก ได้แก่ ให้แก่ยาจกทั้งหลาย.
บทว่า อาฬกํ ได้แก่ คอกโค.
อธิบายว่า โคอุสภะพังคอกเสียแล้วก็ไปยังที่ปรารถนาได้ตามสบาย ฉันใด
แม้พระมหาบุรุษทำลายเครื่องผูกคือเรือนเสียแล้ว ก็ทรงบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณได้ ฉันนั้น.

ต่อมาอีก
เมื่อพระศาสดาเสด็จจาริกไปในชนบท อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์หนึ่งหมื่นโกฏิ
ครั้งพระองค์ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ที่โคนต้นประดู่ ใกล้ประตูสุนทรนคร
ทรงแสดงธรรม อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์ห้าพันโกฏิ

ต่อมาอีก
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์แล้ว ประทับนั่ง ณ เทวสภาชื่อสุธัมมา
ในภพดาวดึงส์ ซึ่งยากนักที่ข้าศึกของเทวดาจะครอบงำได้
เมื่อทรงแสดงอภิธรรมปิฏก ๗ คัมภีร์
เพื่อทรงอนุเคราะห์เทวดาทั้งหลาย ในหมื่นโลกธาตุ
มีธนวดีชนนีของพระองค์เป็นประมุข
ทรงยังเทวดาสามพันโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้ง พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปในโลก ๔ เดือน
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์หนึ่งหมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 677
ครั้งทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์
ประกาศพระสัพพัญญุตญาณ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่เทวดาห้าพันโกฏิ.

พระชินพุทธเจ้า ประทับนั่ง ณ ธรรมสภา ชื่อสุธัมมา
ณ เทวโลกอันน่ารื่นรมย์ [ดาวดึงส์]
ทรงประกาศพระอภิธรรม ยังเทวดาสามพันโกฏิให้ตรัสรู้.
อีกครั้งทรงแสดงธรรมโปรดนรเทวยักษ์
อภิสมัยได้มีแก่ สัตว์เหล่านั้น นับจำนวนไม่ได้เลย.


แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า จตุมาสํ ก็คือ จาตุมาเส แปลว่า ๔ เดือน หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า จรติ ก็คือ อจริ. แปลว่า ได้เสด็จจาริกไปแล้ว
บทว่า ยมกํ วิกุพฺพนํ กตฺวา ได้แก่ ทรงทำยมกปาฏิหาริย์.
บทว่า ญาณธาตุํ ได้แก่ สภาพของพระสัพพัญญุตญาณ อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า สพฺพญาณธาตุํ ดังนี้ก็มี.
บทว่า ปกิตฺตยิ ได้แก่ ทรงประกาศแก่มหาชน.
บทว่า สุธมฺมา ความว่า สภาชื่อว่าสุธัมมา มีอยู่ในภพดาวดึงส์
พระองค์ประทับนั่ง ณ สภานั้น.
บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ พระอภิธรรม.

เขาว่า ครั้งนั้น มียักษ์ชื่อว่า นรเทพ
ผู้เป็นนรเทพผู้มีอานุภาพและผู้พิชิต ซึ่งมีศักดิ์ใหญ่และฤทธิ์มาก
เหมือนนรเทพยักษ์ที่กล่าวมาแล้วแต่หนหลัง.
นรเทพยักษ์นั้น แปลงตัวเหมือนพระราชาในนครหนึ่งในชมพูทวีป
ทั้งรูปร่างทรวดทรงสุ้มเสียงท่วงที แล้วฆ่าพระราชาตัวจริงกินเสีย
ปฏิบัติหน้าที่พระราชาพร้อมทั้งในราชสำนัก โปรดเสวยเนื้อไม่จำกัดจำนวน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 678
เขาว่า นรเทวยักษ์นั้น เป็นนักเลงหญิงด้วย
แต่คราใดสตรีพวกที่ฉลาดเฉลียว รู้จักเขาว่า ผู้นี้ไม่ใช่พระราชาของเรา
นั่นอมนุษย์ผู้ฆ่าพระราชากินเสีย
ครานั้น เขาทำเป็นละอายกินสตรีพวกนั้นหมด แล้วก็เดินทางไปนครอื่น.
ด้วยประการดังนี้ นรเทวยักษ์นั้นกินมนุษย์แล้วก็มุ่งหน้าไปทางสุนทรนคร
พวกมนุษย์ชาวนครเห็นเขาถูกมรณภัยคุกคามก็สะดุ้งกลัว
พากันออกจากนครของตนหนีชมซานไป.

ครั้งนั้น พระกัสสปทศพล
ทรงเห็นพวกมนุษย์พากันหนีไป
ก็ประทับยืนประจันหน้านรเทวยักษ์นั้น
นรเทวยักษ์ครั้นเห็นพระเทพแห่งเทพยืนประจันหน้า
ก็แผดเสียงกัมปนาทดุดัน ร้ายกาจ แต่ไม่อาจให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเกิดความกลัวได้
ก็ถึงพระองค์เป็นสรณะ แล้วทูลถามปัญหา
เมื่อพระองค์ทรงวิสัชนาปัญหา ทรงฝึกเขา แสดงธรรม
อภิสมัยก็ได้มีแก่มนุษย์และเทวดาที่มาประชุมกัน เกินที่จะนับจำนวนได้ถ้วน.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
นรเทวสฺส ยกฺขสฺส เป็นต้น. ในคาถานั้น
บทว่า อปเร ธมฺมเทสเน ได้แก่ ในการแสดงธรรมครั้งอื่นอีก.
บทว่า เอเตสานํ ก็คือ เอเตสํ.

พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ พระองค์นั้น
มีสาวกสันนิบาตครั้งเดียวเท่านั้น.

มีบุตรปุโรหิตในกรุงพาราณสี ชื่อว่า ติสสะ
เขาเห็นลักษณะสมบัติในพระสรีระของ พระกัสสปโพธิสัตว์
 ฟังบิดาพูด ก็คิดว่า
ท่านผู้นี้จักออกมหาภิเนษกรมณ์เป็นพระพุทธเจ้า อย่างไม่ต้องสงสัย
จำเราจักบวชในสำนักของพระองค์พ้นจากสังสารทุกข์
จึงไปยังป่าหิมพานต์ที่มีหมู่มุนีผู้บริสุทธิ์ บวชเป็นดาบส.
เขามีดาบสสองหมื่นเป็นบริวาร.

ต่อมาภายหลัง
เขาทราบข่าวว่าพระกัสสปกุมาร
ออกอภิเนษกรมณ์บรรลุพระอภิสัมโพธิญาณ
จึงพร้อมด้วยบริวารมาบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ แล้วบรรลุพระอรหัต.
พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ในวันมาฆบูรณมีในสมาคมนั้น.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 679
พระผู้เป็นเทพแห่งเทพแม้พระองค์นั้น
ทรงมีสาวกสันนิบาต ประชุมพระสาวกขีณาสพผู้ไร้มลทินคงที่ ครั้งเดียว.
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมภิกษุสาวกของผู้เป็นพระขีณาสพ
ล่วงอริยบุคคลระดับอื่น เสมอกันด้วยหิริและศีล.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อติกฺกนฺตภวนฺตานํ ได้แก่ ผู้เกินระดับปุถุชนและอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น
คือเป็นพระขีณาสพหมดทั้งนั้น.
บทว่า หิริสีเลน ตาทีนํ ได้แก่ ผู้เสมอกันด้วยหิริและศีล.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา
เป็นมาณพชื่อ โชติปาละ จบไตรเพท
มีชื่อเสียงในการทำนายลักษณะพื้นดิน และลักษณะอากาศ
เป็นสหายของฆฏิการะอุบาสก ช่างหม้อ.
โชติปาลมาณพนั้น เข้าเฝ้าพระศาสดาพร้อมกับฆฏิการะอุบาสกนั้น
ฟังธรรมกถาของพระองค์แล้วก็บวชในสำนักของพระองค์

พระโพธิสัตว์นั้น ทรงปรารภความเพียร
เล่าเรียนพระไตรปิฎกแล้ว ยังพระพุทธศาสนาให้งามด้วยการปฏิบัติข้อวัตรใหญ่น้อย
พระศาสดาแม้พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้น.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งนั้น เราเป็นมาณพปรากฏชื่อว่า โชติปาละ
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท.
ถึงฝั่งในลัทธิธรรมของตน ในลักษณศาสตร์และอิติหาสศาสตร์
ฉลาดในลักษณะพื้นดินและอากาศสำเร็จวิทยาอย่างสมบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 680
อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะชื่อว่า ฆฏิการะ
เป็นผู้น่าเคารพ น่ายำเกรง
อันพระกัสสปพุทธเจ้าทรงสั่งสอนในพระอริยผลที่ ๓ [อนาคามิผล].
ฆฏิการะอุบาสก พาเราเข้าไปเฝ้าพระกัสสปชินพุทธเจ้า
เราฟังธรรมของพระองค์แล้วก็บวชในสำนักของพระองค์.
เราปรารภความเพียร ฉลาดในข้อวัตรใหญ่น้อย
จึงไม่เสื่อมคลายในที่ไหนๆ ยังศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้เต็มแล้ว.
เราเล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์ อันเป็นพระพุทธดำรัสตลอดหมด
จึงยังพระศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้งาม.

พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น
ทรงเห็นความอัศจรรย์ของเรา
ก็ทรงพยากรณ์ว่า ในภัทรกัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
เราท่องเที่ยวอย่างนี้ เว้นขาดอนาจาร เราทำกิจกรรมที่ทำได้ยาก
เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณอย่างเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 681
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ภูมนฺตลิกฺขกุสโล ความว่า เป็นผู้ฉลาด
ในวิชาสำรวจพื้นดิน วิชาดูลักษณะอากาศ วิชาดาราศาสตร์และวิชาโหราศาสตร์.
บทว่า อุปฏฺฐโก แปลว่า ผู้บำรุง.
บทว่า สปฺปติสฺโส ได้แก่ ผู้น่าเกรงขาม.
บทว่า นิพฺพุโต ได้แก่ อันทรงแนะนำแล้ว หรือปรากฏแล้ว.
บทว่า ตติเย ผเล เป็นนิมิตสัตตมี ความว่าอันทรงแนะนำแล้ว เพราะเหตุบรรลุอริยผลที่ ๓.
บทว่า อาทาย ได้แก่ พาเอา.
บทว่า วตฺตาวตฺเตสุ ได้แก่ ในข้อวัตรน้อยและข้อวัตรใหญ่.
บทว่า โกวิโท ได้แก่ ผู้ฉลาดในการยังข้อวัตรเหล่านั้นให้เต็ม.
ด้วยบทว่า น กฺวจิปริหายามิ
ทรงแสดงว่า เราไม่เสื่อมแม้ในที่ไหนๆ แม้แต่ในศีลหรือสมาธิ
สมาบัติเป็นต้นอย่างไหน ๆ ขึ้นชื่อว่า ความเสื่อมของเราในคุณทั้งปวง ไม่มีเลย.
ปาฐะว่า น โกจิ ปริหายามิ ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
คำว่า ยาวตา นั้น เป็นคำแสดงขั้นตอน.
ความว่า มีประมาณเพียงไร.
บทว่า พุทฺธภณิตํ ได้แก่ พระพุทธวจนะ.
บทว่า โสภยึ ได้แก่ ให้งามแล้ว ให้แจ่มแจ้งแล้ว.
บทว่า มม อจฺฉริยํ ความว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้ากัสสปะ ทรงเห็นสัมมาปฏิบัติของเรา ไม่ทั่วไปกับคนอื่นๆ น่าอัศจรรย์ไม่เคยมี.
บทว่า สํสริตฺวา ได้แก่ ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ.
บทว่า อนาจรํ ได้แก่ อนาจารที่ไม่พึงทำ ไม่ควรทำ.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ พระองค์นั้น
ทรงมีนครเกิดชื่อว่า พาราณสี
มีชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า พรหมทัตตะ
มีชนนีเป็นพราหมณีชื่อว่า ธนวดี
มีคู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระติสสะและพระภารทวาชะ
มีพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระสัพพมิตตะ
มีคู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระอนุฬาและอุรุเวฬา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่า นิโครธ ต้นไทร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 682
พระสรีระสูง ๒ ศอก
พระชนมายุสองหมื่นปี
ภริยาชื่อว่า สุนันทา
บุตรชื่อ วิชิตเสนะ
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือปราสาท.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
มีนคร ชื่อว่าพาราณสี
มีกษัตริย์พระนามว่า กิกี
ตระกูลของพระสัมพุทธเจ้าเป็นตระกูลใหญ่ อยู่ในพระนครนั้น.

พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่
มีชนกเป็นพราหมณ์ ชื่อว่าพรหมทัตตะ
มีชนนีเป็นพราหมณ์ชื่อว่า ธนวดี.

พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระติสสะ และพระภารทวาชะ
มีพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระสัพพมิตตะ.
มีอัครสาวกา ชื่อพระอนุฬา และ พระอุรุเวฬา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นนิโครธ.
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าสุมังคละ และ ฆฏิการะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่าวิชิตเสนา และภัททา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๒๐ ศอก เหมือนสายฟ้าอยู่กลางอากาศ เหมือนจันทร์เพ็ญทรงกลด.

พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น
มีพระชนมายุสองหมื่นปี
พระองค์ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 683
ทรงสร้างสระคือธรรม ประทานเครื่องลูบไล้คือศีล
ทรงนุ่งผ้าคือธรรม ทรงแจกมาลัยคือธรรม.
ทรงวางธรรมอันใสไร้มลทิน ต่างกระจก ไว้ในมหาชน
บางพวกปรารถนาพระนิพพาน ก็จงดูเครื่องประดับของเรา.
ประทานเสื้อคือศีล ผูกสอดเกราะ คือฌาน ห่มหนังคือธรรม
ประทานเกราะชั้นเยี่ยม.
ประทานสติเป็นโล่ ประทานธรรมเป็นพระขรรค์อย่างดี ศีลเป็นเครื่องย่ำยีการคลุกคลี.
ประทานวิชชา ๓ เป็นเครื่องประดับ ผลทั้ง ๓เป็นมาลัยสวมศีรษะ
ประทานอภิญญา ๖ เป็นอาภรณ์ธรรมเป็นดอกไม้เครื่องประดับ.

พระองค์ทั้งพระสาวก
ประทานพระสัทธรรมเป็นฉัตรขาว กั้นบาป
เนรมิตดอกไม้ คือทางที่ไม่มีภัยแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน.
ก็นั่น คือพระสัมมาสัมพุทธะ ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้
อันใครเข้าเฝ้าได้ยาก นั่นคือพระธรรม.
รัตนะที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว ควรเรียกให้มาดู.
นั่นคือพระสังฆรัตนะ ผู้ปฏิบัติดียอดเยี่ยม
ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวง ก็ว่างเปล่าแน่แท้.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า วิชฺชุลฏฺฐีว ได้แก่ ดุจสายฟ้าแลบอันตั้งอยู่ โดยเป็นของทึบ.
บทว่า จนฺโทว คหปูริโต ได้แก่ ดุจดวงจันทร์เพ็ญอันทรงกลดแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 684
บทว่า ธมฺมตฬากํ มาปยิตฺวา ทรงสร้างสระคือพระปริยัติธรรม.
บทว่า ธมฺมํ ทตฺวา วิเลปนํ ได้แก่ ประทานเครื่องลูบไล้ เพื่อประดับสันตติแห่งจิต
กล่าวคือจตุปาริสุทธิศีล.
บทว่า ธมฺมทุสฺสํ นิวาเสตฺวา ได้แก่ นุ่งผ้าคู่ กล่าวคือธรรม คือหิริ และโอตตัปปะ.
บทว่า ธมฺมมาลํ วิภชฺชิย ได้แก่ จำแนก คือเปิดพวงมาลัยดอกไม้คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ.
บทว่า ธมฺมวิมลมาทาสํ ความว่า วางกระจก กล่าวคือโสดาปัตติมรรคอันไร้มลทิน
คือกระจกธรรมใกล้ริมสระธรรมสำหรับมหาชน
เพื่อกำหนดธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษที่เป็นกุศลและอกุศล.
บทว่า มหาชเน แปลว่า แก่มหาชน.
บทว่า เกจิ ก็คือ เยเกจิ.
บทว่า นิพฺพานํ ปตฺเถนฺตา ความว่า เที่ยวปรารถนาพระนิพพาน
อันกระทำความย่อยยับแก่มลทินคืออกุศลทั้งมวล อันไม่ตาย
ปัจจัยปรุงแต่งมิได้ ไม่มีทุกข์ สงบอย่างยิ่งมีอันไม่จุติเป็นรส
ชนเหล่านั้นจงดูเครื่องประดับนี้ มีประการที่กล่าวแล้วอันเราแสดงแล้ว.
ปาฐะว่า นิพฺพานมภิปตฺเถนฺตา ปสฺสนฺตุ มํ อลงฺกรํ ดังนี้ก็มีความก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
บทว่า อลงฺกรํ ท่านทำรัสสะ กล่าว.
บทว่า สีลกญฺจุกํ ทตฺวาน ได้แก่ ประทานเสื้อที่สำเร็จด้วยศีล ๕ ศีล ๑๐ และจตุปาริสุทธิศีล.
บทว่า ฌานกวจวมฺมิตํ ได้แก่ ผูกเครื่องผูก คือเกราะ คือจตุกกฌานและปัญจกฌาน.
บทว่า ธมฺมจมฺมํ ปารุปิตฺวา ได้แก่ ห่มหนึ่งคือธรรมที่นับได้ว่าสติสัมปชัญญะ.
บทว่า ทตฺวา สนฺนาหนุตฺตมํ ความว่า ประทานเครื่องผูกสอดคือวิริยะ ที่ประกอบด้วยองค์ ๔ อันสูงสุด.
บทว่า สติผลกํ ทตฺวาน ได้แก่ ประทานเครื่องป้องกันคือโล่
คือสติปัฏฐาน ๔ เพื่อป้องกันโทษอริและบาปมีราคะเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 685
บทว่า ติขิณํญาณกุนฺติมํ ได้แก่ หอกคือวิปัสสนาญาณอันคมกริบ คือหอกคมอย่างดีคือ
วิปัสสนาญาณ ที่สามารถแทงตลอดได้.
หรือความว่า ทรงตั้งนักรบคือพระโยคาวจร ที่สามารถทำการกำจัดกองกำลังคือ กิเลสได้.
บทว่า ธมฺมขคฺควรํทตฺวา ได้แก่ ประทานพระขรรค์อย่างดีคือมรรคปัญญา ที่มีคมอันลับด้วยกลีบ
อุบลคือความเพียร แก่พระโยควาจรนั้น.
บทว่า สีลสํสคฺคมทฺทนํ ความว่า โลกุตรศีลอันเป็นอริยะ เพื่อย่ำยีการคลุกคลีด้วยกิเลสคือเพื่อฆ่ากิเลส.
บทว่า เตวิชฺชาภูสนํ ทตฺวาน ได้แก่ ประทานเครื่องประดับสำเร็จด้วยวิชชา ๓.
บทว่า อาเวฬํ จตุโร ผเล ได้แก่ ทำผล ถ ให้เป็นพวงมาลัยคล้องคอ.
บทว่า ฉฬภิญฺญาภรณํ ได้แก่ ประทานอภิญญา ๖ เพื่อเป็นอาภรณ์ และเพื่อกระทำการประดับ.
บทว่า ธมฺมปุปฺผปิลนฺธนํ ได้แก่ ทำพวงมาลัยดอกไม้ กล่าวคือโลกุตรธรรม ๙.
บทว่า สทฺธมฺมปุณฺฑรจฺฉตฺตํ ทตฺวา ปาปนิวารณํ ได้แก่ ประทานเศวตฉัตรคือวิมุตติอันบริสุทธิ์
สิ้นเชิง เป็นเครื่องกันแดดคืออกุศลทั้งปวง.
บทว่า มาปยิตฺวาภยํ ปุปฺผํ ความว่า ทำดอกไม้คือมรรคมีองค์ ๘ ที่ให้ถึงเมืองที่ไม่มีภัย.

ได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ ดับขันธปรินิพพาน ณ เสตัพยอุทยาน
ใกล้เสตัพยนคร แคว้นกาสี
เขาว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ไม่กระจัดกระจายแพร่หลายไป.
มนุษย์ทั่วชมพูทวีป เมื่อสร้างใช้มโนสิลาหินอ่อนแทนดิน ใช้น้ำมันแทนน้ำ
เพื่อก่อภายนอกเป็นแผ่นอิฐทองแต่ละแผ่นมีค่าเป็นโกฏิ วิจิตรด้วยรัตนะ
เพื่อทำภายในให้เต็ม เป็นอิฐทองแต่ละแผ่น มีค่าครึ่งโกฏิ ช่วยกันสร้างเป็นสถูปสูงหนึ่งโยชน์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 686
กสฺสโปปิ ภควา กตกิจฺโจ
สพฺพสตฺตหิตเมว กโรนฺโต
กาสิราชนคเร มิคทาเย โลกนนฺทนกโร นิวสิ.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป
เสด็จกิจแล้วทรงทำประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์อย่างเดียว
ทรงทำความร่าเริงแก่โลก ประทับอยู่ประจำ ณ กรุงพาราณสีราชธานี แห่งแคว้นกาสีแล.
ในคาถาที่เหลือ ทุกแห่ง คำชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระกัสสปพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 687




3

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 652
วงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้าที่ ๒๓
ว่าด้วยพระประวัติของ พระโกนาคมนพุทธเจ้า

[๒๔] ต่อมาจากสมัยของพระกกุสันธพุทธเจ้า
ก็มีพระชินสัมพุทธเจ้า พระนามว่า โกนาคมนะ ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจในนรชน.
ทรงบำเพ็ญบารมีธรรม ๑๐ ทรงก้าวล่วงกันดาร
ทรงลอยมลทินทั้งปวง บรรลุพระสัมโพธิญาณสูงสุด.
เมื่อพระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้นำพิเศษ ทรง
ประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์สามหมื่นโกฏิ.

อนึ่ง เมื่อพระโกนาคมนพุทธเจ้า
ทรงแสดงปาฏิหาริย์ในการย่ำยีลัทธิวาทของฝ่ายปรปักษ์ อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์สองหมื่นโกฏิ.
แต่นั้น พระชินสัมพุทธเจ้าทรงแสดงฤทธิ์ต่างๆ เสด็จไปเทวโลก
ประทับอยู่เหนือแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ เทวโลกนั้น.
พระมุนีพระองค์นั้น
อยู่จำพรรษาแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์  อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ เทวดาหมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 653

พระโกนาคมนพุทธเจ้า
ผู้เป็นเทพแห่งเทพพระองค์นั้น
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทินมีจิตสงบ คงที่ครั้งเดียว.
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมภิกษุสาวกสามหมื่นโกฏิ
ผู้ข้ามโอฆะทั้งหลาย ผู้หักรานมัจจุเสียแล้ว.

สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า ปัพพตะ
พรั่งพร้อมด้วยมิตรอมาตย์ทั้งหลาย ผู้มีกำลังพลและพาหนะหาที่สุดมิได้.
เราไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า สดับธรรมอันยอดเยี่ยม
นิมนต์พระองค์ทั้งพระสงฆ์พุทธชิโนรสถวายทาน จนพอแก่ความต้องการ.
ได้ถวายผ้าไหมทำในเมืองปัตตุณณะ
ผ้าไหมทำในเมืองจีน ผ้าแพร ผ้ากัมพล และฉลองพระบาท
ประดับทอง แด่พระศาสดาและพระสาวกทั้งหลาย.
พระมุนีแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์
ทรงพยากรณ์เราว่า
ในภัทรกัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาสในที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 654
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ.

ท่านผู้นี้จักมี
พระชนนี พระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมาและพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
จักมีอัครอุปัฏฐากชื่อจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และอุตตรา
พระโคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้น จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 655

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของพระองค์ผู้ไม่มีผู้เสมอ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้วก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก พากันโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการ
กล่าวว่าผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า
ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้าพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

เราสดับพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

เรากำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ ถวายทานแด่พระผู้สูงสุดในนรชน
สละราชสมบัติยิ่งใหญ่แล้วบวชในสำนักพระชินพุทธเจ้า.
พระนครชื่อ โสภวดี
มีกษัตริย์พระนามว่า โสภะ
ตระกูลของพระสัมพุทธเจ้าเป็นตระกูลใหญ่ อยู่ในพระนครนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 656
พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้เป็นพระศาสดา
มีพระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า ยัญญทัตตะ
พระชนนีเป็นพราหมณีชื่อว่า อุตตรา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่ สามพันปี
มีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า ตุสิตะ สันดุสิต และสันตุฏฐะ
มีนางบำเรอหนึ่งหมื่นหกพันนาง ภริยาชื่อว่า รุจิคัตตา
พระโอรสชื่อว่า สัตถวาหะ.
พระผู้สูงสุดในบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ช้าง
ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน.

พระมหาวีระ โกนาคมนะ ผู้นำโลก
ผู้สูงสุดในนรชน อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มิคทายวัน.

พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้มีพระยศ
มีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระภิยโยสะ และพระอุตตระ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระโสตถิชะ.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสมุททาและพระอุตตรา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นอุทุมพร.
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุคคะ และโสมเทวะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า สีวลา และสามา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 657
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๓๐ ศอก
ประดับด้วยพระรัศมีทั้งหลาย เหมือนแท่งทองในเบ้าช่างทอง.

ในยุคนั้น พระพุทธเจ้ามีพระชนมายุ สามหมื่นปี
พระองค์มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงยกธรรมเจดีย์ที่ประดับด้วยธงผ้าคือธรรม
ทรงทำพวงมาลัยดอกไม้คือธรรมแล้วดับขันธปรินิพพาน.
พระสงฆ์สาวกของพระองค์พิลาสด้วยฤทธิ์ยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมอันเป็นสิริ ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้

พระโกนาคมนสัมพุทธเจ้า
ปรินิพพาน ณ พระวิหารปัพพตาราม.
พระบรมสารีริกธาตุ แผ่กระจายไปเป็นส่วน ๆ ณ ที่นั้น ๆ แล.
จบวงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้าที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 658
พรรณาวงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้าที่ ๒๓
ภายหลังต่อมาจากสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า กกุสันธะ
เมื่อพระศาสนาของพระองค์อันตรธานแล้ว
เมื่อสัตว์ทั้งหลายเกิดมามีอายุสามหมื่นปี.

พระศาสดาพระนามว่า โกนาคมนะ
ผู้มีไม้ดีดพิณมาเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ก็อุบัติขึ้นในโลก
อีกนัยหนึ่ง
พระศาสดาพระนามว่า โกณาคมนะ
เพราะเป็นที่มาแห่งอาภรณ์ทองเป็นต้น อุบัติขึ้นในโลก.
ทอง เครื่องประดับมีทองเป็นต้น มาตกลง
ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดทรงอุบัติ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระนามว่า โกณาคมนะ
โดยนัยแห่งนิรุกติศาสตร์เพราะอาเทศ ก เป็น โก, อาเทศ น เป็น ณา ลบ ก เสียตัวหนึ่ง
ในคำว่า โกณาคมโน นั้น ก็ในข้อนี้อายุท่านทำให้เป็นเสมือนเสื่อมลงโดยลำดับ
แต่มิใช่เสื่อมอย่างนี้ พึงทราบว่า เจริญแล้วเสื่อมลงอีก. อย่างไร.
ในกัปนี้เท่านั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ
ทรงบังเกิดในเวลาที่มนุษย์มีอายุสี่หมื่นปี
แต่อายุนั้นกำลังลดลงจนถึงอายุสิบปี แล้วกลับเจริญขึ้นถึงอายุนับไม่ถ้วน (อสงไขย) แต่นั้นก็ลดลง
ตั้งอยู่ในเวลาที่มนุษย์มีอายุสามหมื่นปี

ครั้งนั้นพึงทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า โกนาคมนะ ทรงอุบัติขึ้นในโลก.
แม้พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย แล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต

จุติจากนั้นแล้ว
ก็ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพราหมณีชื่อ อุตตรา ผู้ยอดเยี่ยมด้วยคุณมีรูปเป็นต้น
ภริยาของ ยัญญทัตตพราหมณ์ กรุงโสภวดี
ถ้วนกำหนดทศมาส ก็เคลื่อนออกจากครรภ์ของชนนี ณ สุภวดีอุทยาน
เมื่อพระองค์สมภพ ฝนก็ตกลงมาเป็นทองทั่วชมพูทวีป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 659
ด้วยเหตุนั้น เพราะเหตุที่ทรงเป็นที่มาแห่งทอง
พระประยูรญาติจึงเฉลิมพระนามว่า กนกาคมนะ.
ก็พระนามนั้นของพระองค์แปรเปลี่ยนมาโดยลำดับ เป็นโกนาคมนะ.

พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่สามพันปี
มีปราสาท ๓ หลั่งชื่อว่า ดุสิตะ สันดุสิตะและสันตุฏฐะ
มีนางบำเรอหนึ่งหมื่นหกพันนาง มีนางรุจิคัตตาพราหมณีเป็นประมุข.
เมื่อบุตรชื่อ สัตถวาทะ ของนางรุจิคัตตาพราหมณีเกิด
พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔
ก็ขึ้นคอช้างสำคัญ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง
ทรงผนวชบุรุษสามหมื่นก็บวชตาม
พระองค์อันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อม
ก็บำเพ็ญเพียร ๖ เดือน

ในวันวิสาขบูรณมี
ก็เสวยข้าวมธุปายาส ที่อัคคิโสณพราหมณกุมารี
ธิดาของอัคคิโสณพราหมณ์ถวาย พักกลางวัน ณ ป่าตะเคียน
เวลาเย็น รับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ ชฏาตินทุกะ ถวาย
จึงเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอุทุมพร คือ ไม้มะเดื่อ ซึ่งมีขนาดที่กล่าวแล้วในต้นปุณฑรีกะ
ที่พรั่งพร้อมด้วยความเจริญแห่งผล ทางด้านทักษิณ
ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๒๐ ศอก
นั่งขัดสมาธิ กำจัดกองกำลังของมาร
ทรงได้ทศพลญาณ
ทรงเปล่งอุทานว่าอเนกชาติสํสารํ ฯเปฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ดังนี้
ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์
ทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของภิกษุ สามหมื่น ที่บวชกับพระองค์
 เสด็จไปทางอากาศ เสด็จลงที่อิสิปตนะมิคทายวัน ใกล้กรุงสุทัสสนนคร
อยู่ท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น ทรงประกาศธรรมจักร ครั้งนั้นอภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สามหมื่นโกฏิ.

ต่อมาอีก
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคนต้นมหาสาละ ใกล้ประตูสุนทรนคร
ทรงยังสัตว์สองหมื่นโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 660
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงอภิธรรมปิฎกโปรดเทวดาทั้งหลายที่มาประชุมกันในหมื่นจักรวาล
มีนางอุตตราพระชนนีของพระองค์เป็นประธาน อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์หมื่นโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อมาจากสมัยของพระกกุสันธพุทธเจ้า
ก็มีพระชินสัมพุทธเจ้า พระนามว่า โกนาคมนะ
สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจในนรชน.
ทรงบำเพ็ญบารมีธรรม ๑๐ ก้าวล่วงทางกันดาร
ทรงลอยมลทินทั้งปวง ทรงบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด.

เมื่อพระโกนาคมนะ ผู้นำ
ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ได้มีแก่ สัตว์สามหมื่นโกฏิ.
และเมื่อทรงทำยมกปาฏิหาริย์
ย่ำยีดำติเตียนของฝ่ายปรปักษ์ อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์สองหมื่นโกฏิ.

ต่อนั้น พระชินสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงฤทธิ์ต่างๆ
เสด็จไปยังเทวโลก ประทับอยู่เหนือบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ เทวโลกนั้น.
พระมุนีพระองค์นั้น ประทับจำพรรษาแสดง
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ เทวดาหมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 661
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ทส ธมฺเม ปูรยิตฺวาน ได้แก่ บำเพ็ญบารมีธรรม ๑๐.
บทว่า กนฺตารํ สมติกฺกมิ ได้แก่ ก้าวล่วงชาติกันดาร.
บทว่า ปวาหิย แปลว่า ลอยแล้ว.
บทว่า มลํ สพฺพํ ได้แก่ มลทิน ๓ มีราคะเป็นต้น.
บทว่า ปาฏิหีรํ กโรนฺเต จ ปรวาทปฺปมทฺทเน ความว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำปาฏิหาริย์ในการย่ำยีวาทะของฝ่ายปรปักษ์.
บทว่า วิกุพฺพนํ ได้แก่ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ใกล้ประตูกรุงสุนทรนคร
แล้วเสด็จไปเทวโลก จำพรรษาเหนือพระแท่นปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ในเทวโลกนั้น.
ถามว่า ทรงจำพรรษาอย่างไร
ตอบว่า ทรงแสดงอภิธรรม ๗ คัมภีร์.
อธิบายว่า ทรงอยู่จำพรรษา แสดงพระอภิธรรมปิฏก ๗ คัมภีร์
แก่เทวดาทั้งหลายในเทวโลกนั้น
เมื่อพระผู้มีพระ-ภาคเจ้าทรงแสดงพระอภิธรรม ณ ที่นั้นอย่างนี้ อภิสมัยได้มีแก่เทวดาหมื่นโกฏิ.

แม้พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้มาบำเพ็ญบารมีอันบริสุทธิ์
มีสาวกสันนิบาตครั้งเดียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ ณ สุรินทวดีอุทยาน กรุงสุรินทวดี
ทรงแสดงธรรมโปรดพระราชโอรสสองพระองค์คือ ภิยโยสราชโอรส และอุตตรราชโอรส พร้อมทั้งบริวาร
ทรงยังชนเหล่านั้นทั้งหมดให้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา
ประทับท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ วันมาฆบูรณมี.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้เป็นเทพแห่งเทพ
พระองค์นั้น ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ
ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ครั้งเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 662
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมภิกษุสาวกสาม-
หมื่น ผู้ข้ามพ้นโอฆะ ผู้หักรานมัจจุได้แล้ว.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า โอฆานํ ได้แก่ โอฆะมีกาโมฆะเป็นต้น
คำนี้เป็นซึ่งของโอฆะ ๔. โอฆะเหล่านั้นของผู้ใดมีอยู่.
ย่อมคร่าผู้นั้นให้จมลงในวัฏฏะ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า โอฆะ.
โอฆะเหล่านั้น พึงเห็นฉัฏฐีวิภัตติ
ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ ความว่า ผู้ก้าวล่วงโอฆะ ๔ อย่าง
แม้ในคำว่า ภิชฺชิตานํ นี้ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า มจฺจุยา ก็คือ มจฺจุโน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา
เป็นพระราชาพระนามว่า พระเจ้าปัพพตะ กรุงมิถิลนคร.
ครั้งนั้น พระราชาพร้อมทั้งราชบริพาร ทรงสดับ
ข่าวว่า พระโกนาคมนะพุทธเจ้า ผู้เป็นที่มาแห่งสรรพสัตว์ผู้ถึงสรณะ
เสด็จถึงกรุงมิถิลนครแล้ว จึงเสด็จออกไปรับเสด็จ ถวายบังคมนิมนต์พระทศพลถวาย
มหาทาน ทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับจำพรรษา ณ มิถิลนครนั้น
บำรุงพระศาสดาพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวกตลอดไตรมาส

ถวายของมีค่ามากเช่น
ผ้าไหมทำในเมืองปัตตุณณะ ผ้าทำในเมืองเมืองจีน ผ้ากัมพล ผ้าแพร ผ้าเปลือก
ไม้ ผ้าฝ้ายเป็นต้น ผ้าเนื้อละเอียด ฉลองพระบาทประดับทอง และบริขารอื่น
เป็นอันมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้น
ว่า ในภัทรกัปนี้นี่แล ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า. ลำดับนั้นมหาบุรุษนั้นสดับ
คำพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงบริจาคราชสมบัติยิ่งใหญ่
ทรงผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 663
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า ปัพพตะ
พรั่งพร้อมด้วยมิตรอำมาตย์ มีกำลังพลและพาหนะหาที่สุดมิได้.
เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า สดับธรรมอันยอดเยี่ยม
นิมนต์ พระองค์พร้อมทั้งพระสงฆ์พุทธชิโนรส ถวายทานจนพอต้องการ.
ได้ถวายผ้าไหมทำในเมืองปัตตุณณะ ผ้าทำใน
เมืองจีน ผ้าแพร ผ้ากัมพล ฉลองพระบาทประดับทองแด่พระศาสดาและพระสาวก.

พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น
ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางสงฆ์ ทรงพยากรณ์เราว่า
ในภัทรกัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราสดับคำของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อมใส จึง
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
เรากำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ
ถวายทานแด่พระผู้สูงสุดในนรชน สละราชสมบัติยิ่งใหญ่
บวชในสำนักของพระชินพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 664
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อนนฺตพลวาหโน ความว่า กำลังพลและพาหนะ มีช้างม้าเป็นต้นของเรามีมากไม่มีที่สุด.
บทว่า สมฺพุทฺธทสฺสนํก็คือ สมฺพุทฺธทสฺสนตฺถาย เพื่อเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า.
บทว่า ยทิจฺฉกํ ความว่า จนพอแก่ความต้องการ คือ ทรงเลี้ยงดูพระสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยอาหาร ๔ อย่าง
จนทรงห้ามว่า พอ ! พอ ! เอาพระหัตถ์ปิดบาตร
บทว่า สตฺถุสาวเก ได้แก่ ถวายแด่พระศาสดาและพระสาวกทั้งหลาย.
บทว่า นรุตฺตเม ก็คือ นรุตฺตมสฺส แด่พระผู้สูงสุดในนรชน.
บทว่า โอหายได้แก่ ละ เสียสละ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าโกนาคมน พระองค์นั้น
ทรงมีพระนครชื่อว่าโสภวดี
พระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า ยัญญทัตตะ
พระชนนีเป็นพราหมณีชื่อว่า อุตตรา
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระภิยโยสะ และพระอุตตระ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระโสตถิชะ
คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระสมุททา และพระอุตตรา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่า ต้นอุทุมพร

พระสรีระสูง ๓๐ ศอก
พระชนมายุสามหมื่นปี
ภริยาเป็นพราหมณีชื่อ รุจิคัตตา
โอรสชื่อ พระสัตถวาหะ
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ช้าง
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระนครชื่อว่า โสภวดี
มีกษัตริย์พระนามว่า โสภะ
ตระกูลของพระสัมพุทธเจ้าเป็นตระกูลใหญ่อยู่ในนครนั้น.

พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้เป็นพระศาสดา
มีพระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า ยัญญทัตตะ
พระชนนีเป็นพราหมณ์ ชื่อว่าอุตตรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 665
พระโกนาคมนศาสดา
มีพระอัครสาวกชื่อว่า พระภิยโยสะและพระอุตตระ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระโสตถิชะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระสมุททา และพระอุตตรา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอุทุมพร
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๓๐ ศอก
ประดับด้วยพระรัศมีทั้งหลาย เหมือนทองในเบ้าช่างทอง.

ในยุคนั้น
พระชนมายุของพระพุทธเจ้าสามหมื่นปี
 พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงยกธรรมเจดีย์อันประดับด้วยผ้าธรรม
ทรงทำเป็นพวงมาลัยดอกไม้ธรรมแล้วดับขันธปรินิพพานแล้ว.
พระสาวกของพระองค์พิลาสฤทธิ์ยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประกาศธรรมอันเป็นสิริ ทั้งนั้น
ก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อุกฺกามุเข ได้แก่ เตาของช่างทอง.
บทว่า ยถา กมฺพ ก็คือ สุวณิณนิกฺขํ วิย เหมือนแท่งทอง.
บทว่า เอวํ รํสีหิ มณฺฑิโต ได้แก่ ประดับตกแต่งด้วยรัศมีทั้งหลายอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 666
บทว่า ธมฺมเจติยํ สมุสฺเสตฺวา ได้แก่ ประดิษฐานพระเจดีย์สำเร็จด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗.
บทว่า ธมฺมทุสฺสวิภูสิตํ ได้แก่ ประดับด้วยธงธรรมคือสัจจะ ๔.
บทว่า ธมฺมปุปฺผคุฬํ กตฺวา ได้แก่ ทำให้เป็นพวงมาลัยดอกไม้สำเร็จด้วยธรรม.

อธิบายว่า พระศาสดาพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก
โปรดให้ประดิษฐานพระธรรมเจดีย์ เพื่อมหาชนที่อยู่ ณ ลานพระเจดีย์
สำหรับบำเพ็ญวิปัสสนา จะได้นมัสการ แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน.

บทว่า มหาวิลาโส ได้แก่ ผู้ถึงความพิลาสแห่งฤทธิ์ยิ่งใหญ่.
บทว่า ตสฺส ได้แก่ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
บทว่า ชโน ได้แก่ ชน คือ พระสาวก.
บทว่า สิริธมฺมปฺปกาสโน ความว่า และพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประกาศ
โลกุตรธรรม พระองค์นั้น ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น.
ในคาถาที่เหลือทุกแห่ง คำชัดแล้วทั้งนั้นแล.
สุเขน โกนาคมโน คตาสโว
วิกามปาณาคมโน มเหสี
วเน วิเวเก สิรินามเธยฺเย
วิสุทฺธวํสาคมโน วสิตฺถ.

พระโกนาคมนพุทธเจ้า

ทรงมีอาสวะไปแล้วโดยสะดวก
ผู้เป็นที่มาแห่งสัตว์ผู้ปราศจากกาม
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ผู้เป็นที่มาแห่งวงศ์ของพระผู้บริสุทธิ์ ประทับอยู่ ณ ป่าอันมีนามเป็นสิริ อันสงัด.
จบพรรณนาวงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 667




4

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 637
วงศ์พระกกุสันธพุทธเจ้าที่ ๒๒
ว่าด้วยพระประวัตของพระกกุสันธพุทธเจ้า
[๒๓] ต่อมาจากสมัยของพระเวสสภูพุทธเจ้า
ก็มีพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ
ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ ผู้อันใคร ๆเข้าเฝ้าได้ยาก.
พระองค์ทรงเพิกถอนภพทั้งปวง
ทรงถึงฝั่งบำเพ็ญบารมี
ทรงทำลายกรงคือภพ เหมือนราชสีห์ทำลายกรงฉะนั้น
ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

เมื่อพระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์สี่หมื่นโกฏิ.

พระกกุสันธพุทธเจ้า

ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ ภาคพื้นนภากาศ
ทรงยังเทวดาและมนุษย์ สามหมื่นโกฏิ ให้ตรัสรู้.
ในการประกาศสัจจะ ๔ แก่นรเทวยักษ์นั้น
ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่ สัตว์นับจำนวนไม่ถ้วน.

พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ
ทรงมีสันนิบาตการประชุมพระสาวกขีณาสพ

ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบคงที่ ครั้งเดียวเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 638
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมพระสาวก สี่หมื่น
ผู้บรรลุภูมิของพระผู้ฝึกแล้ว เพราะสิ้นหมู่กิเลสมีอาสวะเป็นต้น.

สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์ชื่อ เขมะ
ถวายทานจำนวนไม่น้อยในพระตถาคต และพระสาวกชิโนรส.
ถวายบาตรและจีวร ยาหยอดตา ไม้เท้าไม้มะซาง
ถวายสิ่งของที่ท่านปรารถนาเหล่านี้ ๆ ล้วนแต่ของดี ๆ.
พระมุนีกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำวิเศษ แม้พระองค์นั้น

ได้ทรงพยากรณ์เราว่า
ในภัทรกัปนี้แล ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.

พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.

แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัสสัตถะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 639
ท่านผู้นี้ จักมี
พระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักชื่อว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวกชื่อว่า พระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตา และอุตตรา
พระโคดม ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
ฟังพระดำรัสนี้ของพระกกุสันธะพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้คงที่ ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก พากันโห่ร้องปรบมือหัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 640
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า
ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
เราทุกคน ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้าพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

ครั้งนั้น เราชื่อว่า เขมะ
นครชื่อว่า เขมวดี
กำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ ก็บวชแล้วในสำนักของพระองค์.

พระกกุสันธพุทธเจ้า
ผู้แสวงคุณยิ่งให้มี
พระชนก ชื่อว่า อัคคิทัตตพราหมณ์
พระชนนี ชื่อว่า วิสาขา.
พระสัมพุทธเจ้ามีพระตระกูลใหญ่ประเสริฐเลิศล้ำ
กว่ามนุษย์ทั้งหลาย มีชาติสูง มีบริวารมาก อยู่ในกรุงเขมะนั้น.

พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่ สี่พันปี
มีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่ากามวัฑฒะ กามสุทธิและรติวัฑฒนะ.
มีนารีบำรุงบำเรอสามหมื่นนาง
มีเอกภริยาชื่อว่า  โรจินี๑
มีโอรสชื่อว่า อุตตระ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔
 ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือรถ
ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือนบริบูรณ์.
๑. บาลีว่า โรปินี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 641
พระมหาวีระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำโลก
สูงสุดในนรชนอันท้าวมหาพรหม ทูลอาราธนาแล้ว
ก็ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มิคทายวัน.

พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระอัครสาวกชื่อว่า พระวิธุระและพระสัญชีวะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระพุทธิชะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระสามาและพระจันปา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นสิรีสะ (ไม้ซึก)
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อัจจุคคตะและสุมนะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทา และ สุนันทา.
พระมหามุนี สูง ๔๐ ศอก
พระรัศมีสีทองแล่นไปรอบ ๆ ๑๐ โยชน์.

องค์พระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระชนมายุสี่หมื่นปี
พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังชนหมู่ใหญ่ให้ข้ามโอฆะ.

พระองค์ทั้งพระสาวก
ทรงแผ่ขยายตลาดธรรมเท่าบุรุษสตรีในโลกทั้งเทวโลก
ทรงบันลือดุจราชสีห์บันลือ แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 642
พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยพระสุรเสียงมีองค์ ๘
มีศีลไม่ขาดชั่วนิรันดร ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

พระกกุสันธชินพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารเขมาราม
พระวรสถูปของพระองค์ ณ ที่นั้น สูงจดฟ้าคาวุตหนึ่ง
จบวงศ์พระกกุสันธพุทธเจ้าที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 643
พรรณนาวงศ์พระกกุสันธพุทธเจ้าที่ ๒๒
เมื่อพระเวสสภู สยัมภูพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
เมื่อกัปนั้นล่วงไปดวงพระทินกร คือ พระชินพุทธเจ้า ก็ไม่อุบัติขึ้นถึง ๒๙ กัป
ส่วนในภัทรกัปนี้บังเกิดพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์แล้วคือ
พระกกุสันธะ
พระโกนาคมนะ
พระกัสสปะ และ
พระพุทธเจ้าของเรา.
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าเมตไตรยจักอุบัติในอนาคตกาล

ด้วยประการดังกล่าวมานี้
กัปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสรรเสริญว่าเป็นภัทรกัป
เพราะประดับด้วยการเกิดพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์.

ใน ๕ พระองค์นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ
ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้ว บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพราหมณีชื่อว่า วิสาขา
เอกภริยาของปุโรหิตชื่อว่า อัคคิทัตตะ
ผู้อนุศาสน์อรรถธรรมถวายพระเจ้า เขมังกร กรุงเขมวดี
ก็เมื่อใดกษัตริย์ทั้งหลาย
สักการะเคารพนับถือพราหมณ์ทั้งหลาย
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจึงบังเกิดในสกุลพราหมณ์.

ก็เมื่อใดพราหมณ์ทั้งหลาย
สักการะเคารพนับถือบูชากษัตริย์ทั้งหลาย
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจึงบังเกิดในสกุลกษัตริย์.

ได้ยินว่า
ในครั้งนั้นพราหมณ์ทั้งหลายอันกษัตริย์ทั้งหลายสักการะเคารพ
เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์ชื่อว่า กกุสันธะ ผู้มั่นอยู่ในสัจจะ
เมื่อจะยังหมื่นโลกธาตุให้บันลือหวั่นไหว จึงอุบัติในสกุลพราหมณ์ที่ไม่อากูล
แต่อากูลด้วยเหตุเกิดสิริสมบัติ ก็บังเกิดปาฏิหาริย์ดังกล่าวมาแล้วในหนหลัง.
จากนั้น ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติจากครรภ์มารดา ณ เขมวดีอุทยาน
เหมือนเปลวไฟแลบออกจากเถาวัลย์ทอง.

พระโพธิสัตว์นั้น ครองฆราวาสวิสัยอยู่ สี่พันปี
มีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่ากามะ กามวัณณะ และกามสุทธิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 644
ปรากฏมีสตรีบริจาริกา สามหมื่นนาง มีนางโรจินีพราหมณี๑ เป็นประมุข.

เมื่อกุมารชื่อว่า อุตตระ ผู้ยอดเยี่ยมของโรจินีพราหมณ์เกิดแล้ว
พระโพธิสัตว์นั้นก็เห็นนิมิต ๔
แล้วออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วย รถม้า ที่จัดเตรียมไว้แล้ว บวช,
บุรุษสี่หมื่นก็บวชตามพระโพธิสัตว์นั้น.

พระโพธิสัตว์นั้นอันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
บำเพ็ญเพียร ๘ เดือน

ในวันวิสาขบูรณมีบริโภคข้าวมธุปายาส
ที่ธิดา วชิรินธพราหมณ์ ณ สุจิรินธนิคม ถวาย

พักผ่อนกลางวัน ณ ป่าตะเคียน
เวลาเย็นรับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ สุภัททะ ถวาย
เข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ สิริสะ คือ ต้นซึก
ซึ่งมีขนาดเท่าต้นแคฝอย มีกลิ่นหอมเมื่อลมโชย
ลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๓๔ ศอก นั่งขัดสมาธิ

บรรลุพระสัมโพธิญาณ
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯเปฯ
ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ดังนี้ ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์

ทรงเห็นว่าภิกษุ สี่หมื่น ที่บวชกับพระองค์
เป็นผู้สามารถแทงตลอดสัจจะ
วันเดียวเท่านั้น ก็เสด็จเข้าไปยัง อิสิปตนะมิคทายวัน ซึ่งมีอยู่แล้วใกล้ๆ มกิลนคร
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ท่ามกลางบรรพชิตเหล่านั้น ทรงประกาศพระธรรมจักร.
ครั้งนั้นธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์สี่หมื่นโกฏิ.

ต่อมาอีก
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคนต้นมหาสาละ ใกล้ประตูกัณณกุชชนคร
ทรงยังธรรมจักษุให้เกิดแก่ สัตว์สามหมื่นโกฏิ นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.

ครั้งยักษ์ชื่อ นรเทพ ที่เรียกกันว่า เทพแห่งนรชน
ณ เทวาลัยแห่งหนึ่ง ไม่ไกลกรุงเขมวดี
ปรากฏตัวเป็นมนุษย์ ยืนอยู่ใกล้สระ ๆ หนึ่ง ซึ่งมีน้ำเย็น
ประดับด้วยบัวต้นบัวสายและอุบล มีน้ำเย็นรสอร่อยอย่างยิ่ง มีกลิ่นหอมรื่นรมย์สำหรับชนทั้งปวง
อยู่กลางทางกันดาร ล่อลวงสัตว์ทั้งหลายโดยเป็น
๑ บาลีเป็น โรปินี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 645
คนเก็บบัวต้นบัวสายบัวขาวเป็นต้นแล้วกินมนุษย์เสีย.
เมื่อทางนั้น ตัดขาดไม่มีคนไปถึง.
ยักษ์นรเทพก็เข้าไปดงใหญ่ กินสัตว์ที่ชุมนุมกันในที่นั้น ๆ เสียทางนั้น
โลกรู้จักกันว่า เป็นทางมหากันดาร.
เขาว่า หมู่มหาชนยืนชุมนุมกัน ใกล้ประตูสองข้างทาง เพื่อช่วยข้ามทางกันดาร.

ครั้งนั้น พระศาสดากกุสันธะ ผู้ปราศจากกิเลสเครื่องผูกในภพ.
วันหนึ่ง เวลาใกล้รุ่ง ทรงออกจากมหากรุณาสมาบัติตรวจดูโลก
ก็ทรงพบนรเทพยักษ์ผู้มีศักดิ์ใหญ่และกลุ่มชนนั้นเข้าไปในข่ายพระญาณ.

ครั้นทรงทราบแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เสด็จไปทางอากาศ
ทั้งที่กลุ่มชนนั้นแลเห็นอยู่นั่นเอง ก็ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์หลายอย่าง
เสด็จลงที่ภพของนรเทพยักษ์ นั้น ประทับนั่งเหนือบัลลังก์อันเป็นมงคล.

ครั้งนั้น ยักษ์ผู้กินคนตนนั้น เห็นพระทินกรผู้มุนี
ทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสี ดังดวงทินกรอันสายฟ้าแลบล้อม
กำลังเสด็จมาทางอากาศ ก็มีใจเลื่อมใสว่า
พระทศพลเสด็จมาที่นี้เพื่อทรงอนุเคราะห์เรา
จึงไปป่าหิมพานต์ที่มีหมู่มฤคมาก พร้อมด้วยบริวารยักษ์
รวบรวมดอกไม้ทั้งที่เกิดในน้ำทั้งที่เกิดบนบกอันมีสีและกลิ่นต่าง ๆ
เลือกเอาเฉพาะที่มีกลิ่นหอมจรุงน่ารื่นรมย์ใจอย่างยิ่ง
มาบูชา พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำโลกผู้ปราศจากโทษ ซึ่งประทับนั่งเหนือบัลลังก์ของตน
ด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น
แล้วร้องเพลงประสานเสียงสดุดี ทำอัญชลีไว้เหนือเศียร ยืนนมัสการ.

แต่นั้น มนุษย์ทั้งหลายเห็นปาฏิหาริย์นั้น ก็มีจิตใจเลื่อมใส
มาประชุมกัน พากันยืนนอบน้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ ผู้ไม่มีปฏิสนธิ
ทรงยังนรเทพยักษ์ ผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชายิ่งให้อาจหาญ
ด้วยทรงแสดงความเกี่ยวเนื่องของกรรมและผลของกรรม ให้หวาดสะดุ้ง
ด้วยกถา ว่าด้วย นรก แล้วจึงตรัสจตุสัจกถา.
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่ สัตว์หาประมาณมิได้ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 646

ต่อมาจากสมัยของพระเวสสภูพุทธเจ้า
ก็มีพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ ผู้สูงสุดแห่งสัตว์
สองเท้า ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ ผู้อันใคร ๆ เฝ้าได้ยาก.
ทรงเพิกถอนภพทั้งปวง ถึงฝั่งบำเพ็ญบารมีแล้ว
ทรงทำลายกรงภพ เหมือนราชสีห์ทำลายกรง
ทรงบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด.

เมื่อพระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ทรงประกาศพระธรรมจักร ธรรมาภิสัยได้มีแก่ สัตว์สี่หมื่นโกฏิ.
พระองค์ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ กลางพื้นนภากาศ ทรงยังเทวดาและมนุษย์สามหมื่น
ในการประกาศสัจจะ ๔ แก่นรเทพยักษ์นั้นธรรมาภิสมัย ได้มีแก่ สัตว์นับจำนวนไม่ถ้วน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อุคฺฆาเฏตฺวา แปลว่า ถอนแล้ว.
บทว่า สพฺพภวํ ได้แก่ ซึ่งภพทั้ง ๙ ภพ.
อธิบายว่า กรรมอันเป็นนิมิตแห่งอุปัตติในภพ.
บทว่า จริยาย ปารมึ คโต ความว่า ทรงถึงฝั่ง โดยทรงบำเพ็ญบารมีทุกอย่าง.
บทว่า สีโหว ปญฺชรํ เภตฺวา ความว่า พระมุนีกุญชร ทรงทำลายปัญชรคือภพ เหมือนราชสีห์ทำลายกรง.

พระกกุสันธพุทธเจ้า
ผู้รื้อเครื่องผูกภพเสียแล้ว
ทรงมีสาวกสันนิบาตครั้งเดียวเท่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพระอรหันต์สี่หมื่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 647
ซึ่งบวชกับพระองค์ ณ อิสิปตนะมิคทายวัน กรุงกัณณกุชชนคร
แวดล้อมแล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในวันมาฆบูรณมี.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ครั้งเดียว.
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมพระสาวกสี่หมื่น ผู้บรรลุภูมิของท่านผู้ฝึกแล้ว
เพราะสิ้นหมู่กิเลส ดังข้าศึกคืออาสวะ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา
เป็นพระราชา พระนามว่า เขมะ
ทรงถวายบาตรจีวรเป็นมหาทาน และถวายเภสัชทุกอย่างมียาหยอดตาเป็นต้น
แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน และถวายสมณบริขารอย่างอื่น
สดับพระธรรนเทศนาของพระองค์แล้ว มีพระหฤทัยเลื่อมใส
ก็ทรงผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงพยากรณ์ว่า
ในอนาคตกาล ในกัปนี้นี่แหละ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า เขมะ
ถวายทานมิใช่น้อย ในพระตถาคต และพระสาวกชิโนรส.
ถวายบาตรและจีวร ยาหยอดตา ไม้เท้าไม้มะซาง
ถวายสิ่งของที่ท่านปรารถนาเหล่านี้ ๆ ล้วนแต่ของดี ๆ.

พระมุนีกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำวิเศษ
แม้พระองค์นั้น ก็ได้ทรงพยากรณ์เราว่า
ในภัทรกัปนี้แล ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 648
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
ครั้งนั้น เราชื่อว่าเขมะ นครชื่อว่า เขมวดี กำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ
ก็บวชแล้วในสำนักของพระองค์.
แก้อรรถ
ในคาถานั้น อญฺชนํ แปลว่า ยาหยอดตา ความชัดแล้ว.
บทว่า มธุลฏฺฐิกํ ได้แก่ ไม้เท้าไม้มะซาง.
บทว่า อิเมตํ ตัดบทเป็น อิมํ เอตํ.
บทว่า ปตฺถิตํ แปลว่า ปรารถนาแล้ว.
บทว่า ปฏิยาเทมิ แปลว่า ถวาย อธิบายว่า ได้ถวายแล้ว.
บทว่า วรํ วรํ หมายความว่า ประเสริฐที่สุด ๆ. ปาฐะว่า ยเทตํปตฺถิตํ ดังนี้ก็มี.
ปาฐะนั้น ความว่า เราได้ถวายสิ่งที่พระองค์ปรารถนาทุกอย่างแด่พระองค์. ความนี้ดีกว่า.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ ผู้ไม่ชักช้าพระองค์นั้น
มีพระนครชื่อว่า เขมะ
พระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า อัคคิทัตตะ
พระชนนีเป็นพราหมณ์ชื่อว่า วิสาขา
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระวิธุระ และ พระสัญชีวะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระพุทธิชะ
คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระสามา และพระจัมปา.
โพธิพฤกษ์ชื่อว่า ต้นสิรีสะ คือไม้ซึก.
พระสรีระสูง ๔๐ ศอก.
พระรัศมีแห่งพระสรีระแล่นออกไปรอบ ๆ ๑๐ โยชน์.
พระชนมายุสี่หมื่นปี
มีเอกภริยาเป็นพราหมณีชื่อว่า โรจินี
โอรสชื่อว่า อุตตระ
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยรถเทียมม้า.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 649
พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้เป็นพระศาสดา
ทรงมีพระชนกเป็นพราหมณ์ ชื่อว่า อัคคิทัตตะ
ทรงชนนีชื่อว่า วิสาขา.
ตระกูลของพระสัมพุทธเจ้า เป็นตระกูลใหญ่
ประเสริฐเลิศล้ำกว่านรชนทั้งหลาย เป็นชาติสูงมีบริวารยศใหญ่ อยู่ในนครเขมะนั้น.

พระกกุสันธพุทธเจ้า
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระวิธุระและพระสัญชีวะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระพุทธิชะ.
มีพระอัครสาวิกาชื่อว่า พระสามา และพระจัมปา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นสิรีสะ (ไม้ซึก).
พระมหามุนีสูง ๔๐ ศอก
พระรัศมีสีทองแล่นออกไปรอบ ๆ ๑๐ โยชน์.

พระกกุสันธพุทธเจ้า พระองค์นั้น มีพระชนมายุ สี่หมื่นปี
พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก
ทรงขยายตลาดธรรมแก่บุรุษสตรี ในโลกทั้งเทวโลก
ทรงบันลือดุจการบันลือของราชสีห์ แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 650
พระองค์มีพระสุรเสียง มีองค์ ๘ มีศีลบริบูรณ์ อยู่นิรันดร ทั้งนั้น
ก็อันตรธานไปสิ้นสังขารทั้งปวงว่างเปล่า แน่แท้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า วสเต ตตฺถ เขเม ปุเร นี้
พึงทราบว่า ท่านกล่าวเพื่อชี้นครที่พระกกุสันธพุทธเจ้าทรงสมภพ.
บทว่า มหากุลํ ได้แก่ ตระกูลฝ่ายพระชนกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นตระกูลรุ่งเรือง.
บทว่า นรานํ ปวรํ เสฏฺฐํ ความว่า ประเสริฐเลิศล้ำกว่ามนุษย์ทั้งหมดโดยชาติ.
บทว่า ชาติมนฺตํ ได้แก่ มีชาติยิ่ง มีชาติสูง.
บทว่า มหายสํ ได้แก่มีบริวารมาก. ตระกูลใหญ่นั้นของพระพุทธเจ้าเป็นดังฤา.
ในคำนั้น พึงเห็นการเชื่อมความกับบทว่า มหากุลํ เขเม ปุเร วสเต ตระกูลใหญ่อยู่ในกรุงเขมะ.
บทว่า สมนฺตา ทสโยชนํ ความว่า
พระรัศมีสีทองออกจากพระสรีระเป็นนิตย์ แล่นแผ่ไป ๑๐ โยชน์โดยรอบ.
บทว่า ธมฺมาปณํ ได้แก่ ตลาดกล่าวคือธรรม.
บทว่า ปสาเรตฺวา ความว่า ขยายตลาดธรรม
เหมือนตลาดที่คับคั่งด้วยสินค้านานาชนิด เพื่อขายสินค้า.
บทว่า นรนารีนํ ได้แก่ เพื่อประสบรัตนะวิเศษ คือ ฌานสมาบัติและมรรคผล สำหรับบุรุษสตรีทั้งหลาย.
บทว่า สีหนาทํ ว ก็คือ สีหนาทํ วิย ได้แก่ บรรลือเสียงอภัย ไม่น่ากลัว.
บทว่า อฏฺฐงฺควจนสมฺปนฺโน ได้แก่ พระศาสดาทรงมีพระสุรเสียงประกอบด้วยองค์ ๘.
บทว่า อจฺฉิทฺทานิ ได้แก่ ศีลที่เว้นจากภาวะมีขาดเป็นต้น ไม่ขาด ไม่ด่าง ไม่พร้อย
อีกนัยหนึ่ง ศีลที่ไม่ทะลุ ไม่มีช่อง เช่นคู่พระอัครสาวก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 651
บทว่า นิรนฺตรํ ได้แก่ เนือง ๆ กาลเป็นนิตย์.
บทว่า สพฺพํ ตมนฺตรหิตํ ความว่า พระศาสดาและคู่พระอัครสาวกเป็นต้นนั้นทั้งหมด
เข้าถึงความเป็นพระมุนีแล้ว ก็เข้าถึงความเป็นผู้แลไม่เห็น.
อเปตพนฺโธ กกุสนฺธพุทฺโธ
อทนฺธปญฺโญ คตสพฺพรนฺโธ
ติโลกสนฺโธ กิร สจฺจสนฺโธ
เขเม วเน วาสมกปฺปยิตฺถ.
ข่าวว่า พระกกุสันธพุทธเจ้า
ทรงปราศจากพันธะ มีพระปัญญาไม่ชักช้า ไปจากโทษทั้งปวง
ทรงตั้งมั่นในไตรโลก ทรงมั่นคงในสัจจะ ประทับอยู่ ณ เขมวัน.
ในคาถาที่เหลือทุกแห่ง คำชัดแล้วทั้งนั้นแล. .
จบพรรณนาวงศ์พระกกุสันธพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 652



5
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 622
วงศ์พระเวสสภูพุทธเจ้าที่ ๒๑
ว่าด้วยพระประวัติของพระเวสสภูพุทธเจ้า

[๒๒] ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง พระชินพุทธเจ้า
พระองค์นั้น พระนามว่า เวสสภู ผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบเคียง ก็ทรงอุบัติขึ้นในโลก.
พระองค์ทรงทราบว่า สามโลก ถูกราคะเผาแล้ว
เป็นแว่นแคว้นแห่งตัณหาทั้งหลาย ทรงตัดเครื่อง
พันธนาการเหมือนช้าง ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
เมื่อพระโลกเชษฐ์ ผู้องอาจในนรชน เสด็จหลีกจาริกไปในแว่นแคว้น
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เจ็ดหมื่นโกฏิ.
พระองค์เมื่อทรงบรรเทาทิฏฐิใหญ่หลวงของพวกเดียรถีย์
ก็ทรงทำปาฏิหาริย์ มนุษย์และเทวดาในหมื่นโลกธาตุ ในโลกทั้งเทวโลกก็มาประชุมกัน.
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเห็นความมหัศจรรย์ไม่เคยมี ขนลุกชัน ก็พากันตรัสรู้หกหมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 623

พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีสันนิบาต
ประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทินมีจิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง.
ประชุมพระสาวกแปดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑
ประชุมพระสาวกเจ็ดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ประชุมภิกษุสาวกหกหมื่น ผู้ก้าวล่วงภัยมีชราเป็นต้น

พระโอรสของพระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
เราสดับพระธรรมจักรอันอุดมประณีต ที่พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น
ทรงประกาศแล้วก็ชอบใจการบรรพชา.

สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า สุทัสสนะ
ได้บูชาพระชินพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระสงฆ์ ด้วยข้าวน้ำและผ้า.
เราบำเพ็ญมหาทานแล้ว ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน
ทราบการบรรพชาว่าพรั่งพร้อมด้วยคุณจึงบวชในสำนักของพระชินพุทธเจ้า.
เราพรั่งพร้อมด้วยอาจารคุณ ตั้งมั่นในวัตรและศีล
กำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ ก็ยินดียิ่งในพระศาสนาของพระชินพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 624
เราเข้าถึงศรัทธาและปีติถวายบังคมพระพุทธเจ้า
ผู้พระศาสดา เราก็เกิดปีติ เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณนั่นแล.
พระสัมพุทธเจ้า ทรงทราบว่า เรามีใจไม่ท้อถอย
ก็ทรงพยากรณ์ดั่งนี้ว่า นับแต่กัปนี้ไปสามสิบเอ็ดกัป ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้น เสด็จเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.

แต่นั้น พระผู้มีพระยศ
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อว่า ต้นอัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะและพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 625
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าท่านนี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตา และอุตตรา
พระโคดมผู้มีพระยศ พระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดา ฟังพระดำรัสนี้ของพระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้องปรบมือ หัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้าพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้น เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 626
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์.

พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่ออโนมะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุปปตีตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางยสวดี.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หกหมื่นปี
มีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลังชื่อว่า รุจิ สุรติ และ วัฑฒกะ
มีพระสนมกำนัลสามหมื่นนางถ้วน
มีพระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสุจิตตา
พระโอรสพระนามว่า พระสุปปพุทธะ.
พระผู้สูงสุดในบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยพระวอ ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน.

พระมหาวีระ เวสสภู ผู้นำโลก
สูงสุดในนรชน อันท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ อรุณราชอุทยาน.

พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระอัครสาวกชื่อว่า พระโสณะ และพระอุตตระ
มีพระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอุปสันตะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระรามา และพระสมาลา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นมหาสาละ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 627
อัครอุปัฏฐากชื่อว่า โสตถิกะ และรัมมะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่าโคตมี และสิริมา.

พระเวสสภูพุทธเจ้า สูง ๖๐ ศอก
อุปมาเสมอด้วยเสาทอง
พระรัศมีแล่นออกจากพระวรกาย เหมือนดวงไฟเหนือยอดเขายามราตรี.

พระชนมายุของพระเวสสภู
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น หกหมื่นปี
พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก
ทรงทำพระธรรมให้แผ่ขยายไปกว้างขวาง
ทรงจำแนกมหาชน เป็นพระอริยะชั้นต่าง ๆ
ทรงตั้งธรรมนาวา แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน.
ชนทั้งหมด พระวิหาร พระอิริยาบถที่น่าดู ทั้งนั้น
ก็อันตรธานไปสิ้นสังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ชินวรศาสดา
ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารเขมาราม
พระบรมสารีริกธาตุ ก็แผ่ไปกว้างขวางเป็นส่วน ในถิ่นนั้น ๆ.
จบวงศ์พระเวสสภูพุทธเจ้าที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 628

พรรณนาวงศ์พระเวสสภูพุทธเจ้าที่ ๒๑
ต่อจากสมัยของพระสุขีสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อพระศาสนาของพระองค์อันตรธานแล้ว
มนุษย์ที่มีอายุเจ็ดหมื่นปีก็ลดลงโดยลำดับ จนมีอายุสิบปี แล้วเพิ่มขึ้นอีกจนมีอายุนับไม่ได้
แล้วก็ลดลงโดยลำดับ จนมีอายุหกหมื่นปี.

ครั้งนั้นพระศาสดาพระนามว่า เวสสภู
เทพเจ้าผู้พิชิต ผู้ครอบงำโลกทั้งปวงผู้เกิดเอง
ทรงอุบัติในโลก พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย

บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้ว
ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางยสวดี ผู้มีศีล
อัครมเหสีของพระเจ้าสุปปตีตะ ผู้เป็นที่ยำเกรง กรุงอโนมะ
ถ้วนกำหนดทศมาสพระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ อโนมราชอุทยาน


เมื่อสมภพ ก็ยังชนให้ยินดี ทรงบันลือดังเสียงวัวผู้
เพราะฉะนั้นในวันเฉลิมพระนามของพระองค์
พระประยูรญาติจึงเฉลิมพระนามว่า เวสสภู
เพราะเหตุที่ร้องดังเสียงวัวผู้
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่ หกพันปี
มีปราสาท ๓ หลังชื่อ ๑สุจิ สุรุจิและรติวัฑฒนะ
ปรากฏพระสนมกำนัลสามหมื่นนาง มีพระนางสุจิตตาเทวี เป็นประมุข.
เมื่อพระสุปปพุทธกุมาร ของ พระนางสุจิตตาเทวี สมภพ
พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จประพาสพระราชอุทยานด้วยพระวอทอง
ทรงรับผ้ากาสายะที่เทวดาถวาย ทรงผนวช
บุรุษเจ็ดหมื่นบวชตามเสด็จ

ลำดับนั้น
พระองค์อันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน
ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาสที่พระพี่เลี้ยงชื่อว่าสิริวัฒนา ผู้ปรากฏตัว
ณ สุจิตตนิคม ถวาย ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาลวัน เวลาเย็น
ทรงรับหญ้า ๘ กำที่พระยานาคชื่อ นรินทะ ถวาย
เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อต้นสาละ
๑. บาลีเป็นรุจิ สุรติและวัฑฒกะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 629
ด้านทิศทักษิณ สาละต้นนั้นมีขนาดเท่าขนาดต้นปาฏลีแคฝอยนั้นแล.
ดอกผลสิริและสมบัติ ก็พึงทราบอย่างนั้นเหมือนกัน.
พระองค์เสด็จเข้าไปยังโคนต้นสาละ
ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๔๐ ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิ
ทรงได้อนาวรณญาณ ที่ปราศจากนิวรณ์ แต่ห้ามกันความเมาในกามทุกอย่าง
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯ ล ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ดังนี้

ทรงยับยั้ง ณ โพธิพฤกษ์นั้นนั่นแล ๗ สัปดาห์
ทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของพระโสณกุมารและพระอุตตรกุมาร
พระกนิษฐภาดาของพระองค์ จึงเสด็จไปทางอากาศ
ลงที่อรุณราชอุทยาน ใกล้ กรุงอนูปมะ
ทรงให้พนักงานเฝ้าพระราชอุทยานไปอัญเชิญพระกุมารมาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ท่ามกลางพระกุมารทั้งสองพระองค์นั้นทั้งบริวาร.
ครั้งนั้นอภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.

ต่อมาอีก
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเสด็จจาริกไปในชนบท
ทรงแสดงธรรมโปรดในถิ่นนั้น ๆ
ธรรมาภิสมัยก็ได้มีแก่ สัตว์เจ็ดหมื่นโกฏิ.
นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงทำลายข่ายคือทิฏฐิ [เดียรถีย์]
ล้มธงคือมานะของเดียรถีย์ กำจัดความเมาด้วยมานะ
ทรงยกธงคือธรรมขึ้น
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ในมนุษยบริษัทกว้าง เก้าสิบโยชน์
ในเทวบริษัทประมาณมิได้ ณ กรุงอนูปมะนั่นเอง
ยังเทวดาและมนุษย์ให้เลื่อมใสแล้ว ทรงยังสัตว์หกหมื่นโกฏิ
ให้อิ่มด้วยอมตธรรม นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓

ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า

ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง พระผู้นำโลกพระนามว่า เวสสภู
ผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบเคียง ก็ทรงอุบัติในโลก.
ทรงทราบว่าโลกสามถูกราคะไหม้แล้ว เป็นถิ่นของตัณหาทั้งหลาย
พระองค์ก็ทรงตัดเครื่องพันธนาการดุจพระยาช้าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 630
ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
เมื่อพระโลกเชษฐ์ผู้องอาจในนรชน ทรงหลีก
จาริกไปในแว่นแคว้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่สัตว์เจ็ดหมื่นโกฏิ.

พระองค์เมื่อทรงบรรเทาทิฏฐิอย่างใหญ่หลวงของเดียรถีย์
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ มนุษย์และเทวดาในหมื่นโลกธาตุ
ในโลกทั้งเทวโลกก็มาประชุมกัน.
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเห็นมหัศจรรย์ไม่เคยมี
น่าขนชูชัน ก็ตรัสรู้ธรรมถึง หกหมื่นโกฏิ.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อาทิตฺตํ ความว่า สิ้นทั้งสามโลกนี้ ถูกไฟไหม้แล้ว.
บทว่า ราคคฺคิ แปลว่า อันราคะ.
บทว่า ตณฺหานํ วิชิตํ ตทา ความว่า
ทรงทราบว่า สามโลก เป็นถิ่นแคว้น สถานที่ตกอยู่ในอำนาจของตัณหาทั้งหลาย.
บทว่า นาโคว พนฺธนํ เฉตฺวา ความว่า
ทรงตัดเครื่องพันธนาการดุจเถาวัลย์เน่า ประดุจช้าง ทรงบรรลุถึงพระสัมโพธิญาณ.
บทว่า ทสสหสฺสี ก็คือ ทสสหสฺสิยํ.
บทว่า สเทวเก ได้แก่ ในโลกทั้งเทวโลก.
บทว่า พุชฺฌเร แปลว่า ตรัสรู้แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 631
อนึ่งเล่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าเวสสภู ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ วันมาฆบูรณมี
ท่ามกลางพระอรหันต์แปดหมื่นที่บวชในสมาคมของ พระโสณะ และ พระอุตตระ
คู่พระอัครสาวก นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.

ครั้งภิกษุนับจำนวนได้เจ็ดหมื่น
ซึ่งบวชกับพระเวสสภูผู้ครอบงำโลกทั้งปวงพากันหลีกไป
สมัยที่พระเวสสภูจะหลีกออกจากคณะไป ภิกษุเหล่านั้น
สดับข่าวการประกาศพระธรรมจักรของพระเวสสภูสัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงพากัน มายังนครโสเรยยะ ก็ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุเหล่านั้น
ทรงให้ภิกษุเหล่านั้นบวชด้วยเอหิภิกษุบรรพชาทั้งหมด แล้ว
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.

อนึ่ง ครั้งพระราชบุตรพระนามว่าอุปสันตะ
ทรงขึ้นครองราชย์ในกรุง นาริวาหนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปนครนั้น เพื่ออนุเคราะห์พระราชบุตรนั้น.
แม้พระราชบุตรนั้นทราบข่าวการเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมทั้งบริวารจึงทรงออกไปรับเสด็จ นิมนต์มาถวายมหาทาน
ทรงสดับธรรมของพระองค์ก็มีพระหฤทัยเลื่อมใสแล้วทรงผนวช บุรุษหกหมื่นโกฏิก็บวชตาม
เสด็จภิกษุเหล่านั้น บรรลุพระอรหัตพร้อมกับพระราชบุตรนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเวสสภูนั้น อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ก็ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓

ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า
พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 632


ประชุมภิกษุสาวกแปดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑
ประชุมภิกษุสาวกเจ็ดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ประชุมภิกษุสาวกหกหมื่น ผู้กลัวแต่ภัยมีชราเป็นต้น
โอรสของพระเวสสภูพุทธเจ้าผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา
เป็นพระราชาพระนามว่า พระเจ้าสุทัสสนะ
ผู้มีทัศนะน่ารักอย่างยิ่ง ณ กรุงสรภวดี

เมื่อพระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้นำโลก เสด็จถึงกรุงสรภะ
ทรงสดับธรรมของพระองค์ มีพระหฤทัยเลื่อมใสแล้ว
ทรงยกอัญชลีอันรุ่งเรื่องด้วยทศนขสโมธาน
เสมือนดอกบัวตูมเกิดในน้ำ ไม่มีมลทิน ไม่วิกลบกพร่อง ไว้เหนือเศียร
ถวายมหาทานพร้อมทั้งจีวรแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
ทรงสร้างพระคันธกุฎี เพื่อเป็นที่ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ นครนั้น
ทรงสร้างวิหารพันหลังล้อมพระคันธกุฎีนั้น
ทรงบริจาคสมบัติทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงผนวช ณ สำนักของพระองค์แล้ว
ทรงพร้อมด้วยอาจารคุณ
ทรงยินดีในธุดงคคุณ ๑๓
ทรงยินดีในการแสวงหาพระโพธิสมภาร
ทรงยินดีในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า
ในอนาคตกาล สามสิบเอ็ดกัปนับแต่กัปนี้ไป
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่าสุทัสสนะ
นิมนต์พระมหาวีระ ถวายทานอย่างสมควรยิ่งใหญ่
บูชาพระชินพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์ ด้วยข้าวน้ำและผ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 633
เราสดับพระธรรมจักรอันอุดมประณีตที่พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น
ทรงประกาศแล้วก็ชอบใจการบรรพชา.
เราบำเพ็ญมหาทาน ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืน
กลางวัน ทราบการบรรพชาว่าพร้อมพรั่งด้วยคุณ จึงบรรพชาในสำนักของพระชินพุทธเจ้า.
เราถึงพร้อมด้วยอาจารคุณ ตั้งมั่นในวัตรและศีล
แสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ จึงยินดีอยู่ในพระศาสนา ของพระชินพุทธเจ้า.
เราเข้าถึงศรัทธาและปีติ ถวายบังคมพระพุทธเจ้า
ผู้พระศาสดา เราก็เกิดปีติ เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณนั่นแล.
พระสัมพุทธเจ้าทรงทราบว่า เรามีใจไม่ท้อถอย
จึงทรงพยากรณ์ดังนี้ว่า
นับแต่กัปนี้ไปสามสิบเอ็ดกัปท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์ จิตก็ยิ่งเสื่อมใส จึง
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 634
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า จกฺกํ วตฺติตํ ได้แก่ ธรรมจักร ที่ทรงประกาศแล้ว.
บทว่า ปณิตํ ธมฺมํ ได้แก่ ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ความว่า เรารู้การบวชว่าพรั่งพร้อมด้วยคุณจึงบวช.
บทว่า วตฺตสีลสมาหิโต ได้แก่ ตั้งมั่นในวัตรและศีล
อธิบายว่า มั่นคงในการบำเพ็ญวัตรและศีลนั้น ๆ.
บทว่า รมามิ แปลว่า ยินดียิ่งแล้ว.
บทว่า สทฺธาปีตึ ได้แก่ เข้าถึงศรัทธาและปีติ.
บทว่า วนฺทามิ ได้แก่ ถวายบังคมแล้ว.
พึงเห็นว่าคำที่เป็นปัจจุบันกาล ใช้ในอรรถอดีตกาล.
บทว่า สตฺถรํ ก็คือ สตฺถารํ.
บทว่า อนิวตฺตมานสํ ได้แก่ มีใจไม่ท้อถอย.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงมีพระนครชื่อว่า อโนมะ
พระชนกมีพระนามว่า พระเจ้าสุปปตีตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางยสวดี
คู่พระอัครสาวกชื่อว่าพระโสณะ และพระอุตตระ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอุปสันตะ
คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระรามา และพระสมาลา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่าต้นสาละ
พระสรีระสูง ๖๐ ศอก พระชนมายุหกหมื่นปี
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสุจิตตา
พระโอรสพระนามว่าพระสุปปพุทธะ
เสด็จออกภิเนษกรมณ์ด้วยพระวอทอง.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่อ อโนมะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุปปตีตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางยสวดี.

พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระโสณะและพระอุตตระ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอุปสันตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 635
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระรามาและพระสมาลา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นมหาสาละ.
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าโสตถิกะและรัมมะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่าโคตมีและสิริมา.

พระเวสสภูพุทธเจ้า สูง ๖๐ ศอก
อุปมาเสมอด้วยเสาทอง
พระรัศมีแล่นออกจากพระวรกาย เหมือนดวงไฟบนเขายามราตรี.
พระชนมายุของพระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น หกหมื่นปี
พระองค์ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงทำธรรมะให้ขยายไปกว้างขวาง
ทรงจำแนกมหาชน ทรงตั้งธรรมนาวาไว้แล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน.
ชนทั้งหมด พระวิหาร พระอิริยาบถล้วนน่าดู
ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่าแน่แท้.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า เหมยูปสมูปโม ความว่า เสมือนเสาทอง.
บทว่า นิจฺฉรติ ได้แก่ แล่นไปทางโน้นทางนี้.
บทว่า รสฺมิ ได้แก่ แสงรัศมี.
บทว่า รตฺตึว ปพฺพเต สิขี ความว่า รัศมีส่องสว่างในพระวรกาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 636
ของพระองค์ เหมือนดวงไฟบนยอดเขาเวลากลางคืน.
บทว่า วิภชิตฺวา ความว่า ทำการจำแนก
โดยเป็นอุคฆฏิตัญญูเป็นต้น และโดยเป็นพระโสดาบันเป็นอาทิ.
บทว่า ธมฺมนาวํ ความว่า ทรงตั้งธรรมนาวา คือมรรคมีองค์ ๘ เพื่อช่วยให้ข้ามโอฆะ ๔.
บทว่า ทสฺสนียํ ก็คือ ทสฺสนีโย.
บทว่า สพฺพชนํ ชนทั้งปวงก็คือ สพฺโพชโน
อธิบายว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก.
บทว่า วิหารํ ก็คือ วิหาโร พึงเห็นว่าทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถปฐมาวิภัตติทุกแห่ง.

ได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าเวสสภู
เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ เขมมิคทายวัน กรุงอุสภวดี.
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ กระจัดกระจายไป.

ได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าเวสสภู พระชินะผู้ประเสริฐ.
เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
ณ พระวิหารใกล้ป่าที่น่ารื่นรมย์ กรุงอุสภวดีราชธานี.
คำที่เหลือในคาถาทั้งหลายทุกแห่ง ชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระเวสสภูพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 637


6

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 608
๒๐. วงศ์พระสิขีพุทธเจ้าที่ ๒๐
ว่าด้วยพระประวัติของพระสิขีพุทธเจ้า

[๒๑] ต่อจากสมัยของพระวิปัสสีพุทธเจ้า
พระชินสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สิขี
ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบ.
ทรงย่ำยีกองทัพมาร
ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุดแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรอันเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย.

เมื่อ พระสิขีพุทธเจ้า จอมมุนี
ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
เมื่อพระผู้ประเสริฐแห่งคณะ สูงสุดในนรชน
ทรงแสดงธรรมอื่นอีก อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.

เมื่อพระสุขีพุทธเจ้า
ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ในโลกทั้งเทวโลก อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.

พระสิขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่๓ ครั้ง.
ประชุมพระสาวกหนึ่งแสน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑
ประชุมพระภิกษุแปดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ประชุมพระภิกษุเจ็ดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 609
ภิกษุสันนิบาตอันโลกธรรมไม่ซึบซาบ
เหมือนปทุม เกิดเติบโตในน้ำ อันน้ำไม่ซึบซาบ ฉะนั้น.

สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า อรินทมะ
เลี้ยงดูพระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ.
เราถวายผ้าอย่างดีเป็นอันมาก ไม่น้อยนับโกฏิผืน
ได้ถวายยานคือช้างที่ประดับแล้วแด่พระสัมพุทธเจ้า.
เราชั่งกัปปิยภัณฑ์ ด้วยประมาณเท่ายานคือช้าง แล้วน้อมถวาย
เรายังจิตของเราที่ตั้งมั่นคง ให้เต็มด้วยปีติในทานเป็นนิตย์.

พระสิขีพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลก
ได้ทรงพยากรณ์เราว่า สามสิบเอ็ดกัป นับแต่นี้ไป จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์
ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 610
แต่นั้น พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม
จักตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ.

ท่านผู้นี้ จักมี
พระชนนี พระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ผู้นี้จักทรงพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และ พระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระอุบลวรรณ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และอุตตรา
พระโคดมผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
ฟังพระดำรัสของพระสิขีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 611
ผิว่า พวกเราพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคต พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า
ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ได้ฉันใด.
พวกเราทุกคน ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้าพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี๑๐ ให้บริบูรณ์.

พระสิขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่ออรุณวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอรุณ
พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เจ็ดพันปี
ทรงมีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า สุวัฑฒกะ คิริ และนารีวาหนะ
มีพระสนมกำนัลสองหมื่นสีพันนาง
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสัพพกามา
พระโอรสพระนามว่า อตุละ.

พระผู้เป็นบุรุษสูงสุด ทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือช้าง
ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 612
พระมหาวีระสุขีพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลก
ผู้สงบ ผู้เป็นนระผู้สูงสุด อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มิคทายวัน.

พระสุขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระอภิภู และพระสัมภวะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระเขมังกร.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระมขิลา และ พระปทุมา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นปุณฑรีกะ (มะม่วง).
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าสิริวัฑฒะ และนันทะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่าจิตตา และ สุจิตตา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๗๐ ศอกเช่นเดียวกับรูปปฏิมาทอง
มีพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ.
พระรัศมีวาหนึ่ง แล่นออกจากพระวรกายของพระองค์ไม่ว่างเว้น
พระรัศมีทั้งหลายแล่นออกไปทั้งทิศใหญ่ทิศน้อย ๓ โยชน์.

พระชนมายุของพระสิขีพุทธเจ้า
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น เจ็ดหมื่นปี
พระองค์ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ยังเมฆฝนคือธรรมให้ตกลงมา
ยังสัตว์โลกทั้งเทวโลกให้ชุ่มแล้วให้ถึงความเกษมแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 613
พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ พรั่งพร้อมด้วยพระอนุพยัญชนะ ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวง ก็ว่างเปล่า แน่แท้.

พระสุขีพุทธเจ้า มุนีผู้ประเสริฐ
ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารอัสสาราม พระสถูปอันประเสริฐ
ของพระองค์ ณ พระวิหารนั้น สูง ๓ โยชน์.
จบวงศ์พระสิขีพุทธเจ้าที่ ๒๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 614

พรรณนาวงศ์พระสิขีพุทธเจ้าที่ ๒๐
ต่อมาภายหลังสมัยของ พระวิปัสสีพุทธเจ้า
เมื่อกัปนั้นอันตรธานไปแล้ว
ต่อจากนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ไม่อุบัติขึ้นในโลก ๕๙ กัป
มีแต่แสงสว่างที่ปราศจากพระพุทธเจ้า
เอกราชของกิเลสมารและเทวปุตตมาร ก็ปราศจากเสี้ยนหนาม

ในสามสิบเอ็ดกัป นับแต่กัปนี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกสองพระองค์ คือ พระสิขี
ผู้ดุจไฟอันสุมด้วยไม้แก่นแห้งสนิทราดด้วยเนยใสมากๆ ไม่มีควัน และ พระเวสสภู.

บรรดาพระพุทธเจ้าสองพระองค์นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า สิขี
ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้น ก็ทรงถือปฏิสนธิ
ในพระครรภ์ของ พระนางปภาวดีเทวี
ผู้มีพระรัศมีงามดังรูปทองสีแดง อัครมเหสีของ พระเจ้าอรุณ
ผู้มีพระคุณอย่างยิ่ง กรุงอรุณวดี ซึ่งมีแต่ทำกุศล
ล่วง ๑๐ เดือน ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ นิสภะราชอุทยาน
ส่วนโหรผู้ทำนายนิมิต เมื่อเฉลิมพระนามของพระองค์
ก็เฉลิมพระนามว่า สิขี เพราะพระยอดกรอบพระพักตร์ พุ่งสูงขึ้นดุจยอดพระอุณหิส
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่ เจ็ดพันปี
ทรงมีปราสาท ๓ หลังชื่อว่า๑ สุจันทกสิริ คิริยสะ และ นาริวสภะ
ปรากฏมีพระสนมกำนัลสองหมื่นสี่พัน มีพระนางสัพพกามาเทวี เป็นประมุข.
เมื่อพระโอรสพระนามว่า อตุละ ผู้ไม่มีผู้ชั่ง
ผู้เทียบได้ด้วยหมู่แห่งพระคุณของพระนางสัพพกามาเทวี
ทรงสมภพ พระมหาบุรุษนั้น ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ ขึ้นทรงช้างต้น
เสด็จออกมหาภิเนษกรณ์ด้วยยานคือ ช้าง
ทรงผนวช บุรุษหนึ่งแสนสามหมื่นเจ็ดพัน พากันบวชตามเสด็จ.
พระองค์อันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือน ในวันวิสาขบูรณมี
ทรงละการคลุกคลีด้วยหมู่ เสวยข้าวมธุปายาส
ที่ ธิดาปิยเศรษฐี สุทัสสนนิคม ถวายแล้วยับยั้งพักกลางวัน ณ ป่าตะเคียนหนุ่ม
๑. บาลีว่า สุวัฑฒกะ, คิริ, นารีวาหนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 615
ทรงรับหญ้าคา ๘ กำ ที่ดาบสชื่อ อโนมทัสสี ถวาย
เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ ชื่อต้น บุณฑรีกะ คือ มะม่วงป่า.

เขาว่า แม้บุณฑรีกโพธิพฤกษ์นั้น ก็มีขนาดเท่าต้นแคฝอย
วันนั้นนั่นเอง มะม่วงป่าต้นนั้น
สูงชะลูดลำต้นขนาด ๕๐ ศอก
แม้กิ่งก็ขนาด ๕๐ ศอก เหมือนกัน
ดารดาษด้วยดอกหอมเป็นทิพย์
มิใช่ดารดาษด้วยดอกอย่างเดียวเท่านั้น ยังดารดาษแม้ด้วยผลทั้งหลาย.
มะม่วงต้นนั้น แถบหนึ่งมีผลอ่อน
แถบหนึ่ง มีผลปานกลาง
แถบหนึ่ง มีผลห่าม
แถบหนึ่ง มีผลมีรสดี
พรั่งพร้อมด้วยสีกลิ่นและรส เหมือนทิพยโอชาที่เทวดาใส่ไว้
ห้อยย้อยแด่แถบนั้นๆ
ต้นไม้ดอกก็ประดับด้วยดอก
ต้นไม้ผล ก็ประดับด้วยผล
ในหมื่นจักรวาลเหมือนอย่างมะม่วงต้นนั้น.

พระองค์ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๒๔ ศอก
ประทับนั่งขัดสมาธิอธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔

ครั้นประทับอย่างนั้นแล้ว
ก็ทรงกำจัดกองกำลังมารพร้อมทั้งตัวมารซึ่งกว้างถึง ๓๖ โยชน์
ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯ เป ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ดังนี้
ทรงยับยั้งใกล้ๆ โพธิพฤกษ์นั่นแล ๗ สัปดาห์
ทรงรับอาราธนาของท้าวมหาพรหม
ทรงเห็นอุปนิสสัยสมบัติของภิกษุแสนเจ็ดหมื่น ที่บวชกับพระองค์ จึงเสด็จไปทางอากาศ
ลงที่ มิคาจิระราชอุทยาน ใกล้ กรุงอรุณวดีราชธานี
ซึ่งมีรั้วกั้นชนิดต่างๆ อันหมู่มุนีเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรท่ามกลางหมู่มุนีเหล่านั้น
ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ ภิกษุแสนโกฏิ.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระวิปัสสีพุทธเจ้า
ก็มีพระชินสัมพุทธเจ้า พระนามว่า สิขี
ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้าไม่มีผู้เสมอ ไม่มีบุคคลเทียบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 616
พระองค์ทรงย่ำยีกองทัพมาร
ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณสุงสุด
ทรงประกาศพระธรรมจักรอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย.

เมื่อพระสิขีพุทธเจ้า จอมมุนี
ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.

ต่อมาอีก พระสิขีพุทธเจ้า
ทรงแสดงธรรมโปรดพระราชโอรสสองพระองค์ คือ
พระอภิภูราชโอรสและ พระสัมภวะราชโอรส พร้อมด้วยบริวาร ใกล้กรุงอรุณวดีราชธานี
ทรงยังสัตว์เก้าหมื่นโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม.นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระสิขีพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุดแห่งคณะ ผู้สูงสุดในนรชน
ทรงแสดงธรรมอีก อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่ สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.

ส่วนครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์เพื่อหักรานความเมาและมานะของเดียรถีย์
และเพื่อเปลื้องเครื่องผูกของชนทั้งปวง ใกล้ประตูสุริยวดีนคร
ทรงแสดงธรรมโปรด อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่ สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระสิขีพุทธเจ้า
ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ในโลก ทั้งเทวโลก อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับนั่งท่ามกลางพระอรหันต์หนึ่งแสน ที่บวชพร้อมกับพระราชโอรส
คือ พระอภิภู และ พระสัมภวะ ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง. นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๑
ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุแปดหมื่น
ที่บวชในสมาคมพระญาติ กรุงอรุณวดีทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง. นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 617
พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ท่ามกลางภิกษุเจ็ดหมื่น ที่บวชในสมัย
ทรงฝึกพระยาช้างชื่อ ธนบาลกะในธนัศชัยนคร.นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๓.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
แม้พระสิขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ก็ทรงมีสันนิบาต ประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
ประชุมภิกษุหนึ่งแสน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓
ประชุมภิกษุแปดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒
ประชุมภิกษุเจ็ดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓
ภิกษุสันนิบาต อันโลกธรรมไม่กำซาบแล้ว เหมือนปทุมเกิดเติบโตในน้ำ น้ำก็ไม่กำขาบ ฉะนั้น.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อนุปลิตฺโต ปทุมํว ความว่า ภิกษุสันนิบาตแม้นั้น
แม้เกิดในโลก โลกธรรมก็ซึมกำซาบไม่ได้เหมือนปทุมเกิด
ในน้ำเติบโตในน้ำนั่นแล น้ำก็ซึมซาบไม่ได้ ฉะนั้น.

ได้ยินว่า
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระราชาพระนามว่า อรินทมะ
ใน ปริภุตตนคร ไม่ทรงขัดข้องในที่ไหนๆ

เมื่อพระสิขีศาสดา เสด็จถึงปริภุตตนคร
พระราชาพร้อมทั้งราชบริพาร เสด็จออกไปรับเสด็จ
มีพระหฤทัย พระเนตร และ พระโสตอันความเลื่อมใสให้เจริญแล้ว
พร้อมราชบริพาร ถวายบังคมด้วยพระเศียร ที่พระยุคลบงกชบาทไม่มีมลทิน
ของพระทศพล นิมนต์พระทศพล ถวายมหาทาน อันเหมาะสมแก่พระอิสริยะ
สกุลสมบัติและศรัทธา ๗ วัน โปรดให้เปิดประตูคลังผ้า
ถวายผ้ามีค่ามากแด่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
ถวายช้างต้นที่ป้องกันข้าศึกได้เหมือนช้างเอราวัณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 618
ซึ่งพรั่งพร้อมด้วยกำลังรูปลักษณะและฝีเท้า
ประดับด้วยข่ายทองและมาลัย งามระยับด้วยพัดจามรคู่งาสวมปลอกทองใหม่งาม
มีหูใหญ่และอ่อนหน้างามระยับด้วยรอยดวงจันทร์ และถวายกัปปิยะภัณฑ์
มีขนาดเท่าช้างนั่นแหละ

พระศาสดาแม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์
พระโพธิสัตว์นั้นว่า สามสิบเอ็ดกัปนับแต่กัปนี้ไป ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า อรินทมะ
เลี้ยงดูพระสงฆ์มีพระสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้อิ่มหนำสำราญ.
เราถวายผ้าอย่างดีเป็นอันมาก ไม่น้อยนับโกฏิผืน
ถวายยานคือช้างที่ประดับแล้ว แด่พระสัมพุทธเจ้า.
เราชั่งกัปปิยภัณฑ์มีประมาณเท่ายานคือช้าง
ยังจิตของเราอันมั่นคง ให้เต็มด้วยปีติในทานเป็นนิตย์.

พระสิขีพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลก แม้พระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า สามสิบเอ็ดกัปนับแต่กัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์
จากกรุงกบิลพัสดุ์ อันน่ารื่นรมย์ ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งมีจิตเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไปเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า นิมฺนินิตฺวา ได้แก่ ชั่งเท่าขนาดช้างเชือกนั้น.
บทว่า กปฺปิยํ ได้แก่ กัปปิยภัณฑ์
สิ่งที่ควรรับสำหรับภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากัปปิยภัณฑ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 619
บทว่า ปูรยึ มานสํ มยฺหํ ความว่า ยังจิตของเราให้เต็มด้วยปีติในทาน
ทำให้สามารถเกิดความร่าเริงแก่เรา.
บทว่า นิจฺจํ ทฬฺหมุปฏฺฐิตํ ความว่า จิตอันตั้งมั่นคงโดยทานเจตนาว่าจะให้ทานเป็นนิตย์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์นั้น
ทรงมีพระนครชื่อว่า อรุณวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอรุณวา
พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี
คู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระอภิภู และ พระสัมภวะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระเขมังกร
คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสขิลา และ พระปทุมา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่า ต้นปุณฑรีกะ คือ มะม่วง
พระสรีระสูง ๗๐ ศอก
พระรัศมีแห่งสรีระแผ่ไป ๓ โยชน์เป็นนิตย์
พระชนมายุเจ็ดหมื่นปี

พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสัพพกามา
พระโอรสพระนามว่า อตุละ
ออกอภิเนษกรณ์ด้วยานคือช้าง.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่อ อรุณวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอรุณ
พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่ เจ็ดพันปี

ทรงมีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า สุวัฑฒกะ คิริและนารีวาหนะ
มีพระสนมกำนัลสองหมื่นสี่พันนาง ล้วนประดับประดางดงาม
มีพระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสัพพกามา
พระโอรสพระนามว่า อตุละ.

พระผู้สูงสุดในบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ช้าง.
๑. บาลีเป็นอรุณ ๒. บาลีเป็นมขิลา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 620
พระมหาวีระ สิขี ผู้นำเลิศแห่งโลก สูงสุดในนรชน
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มิคทายวัน

พระสิขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระอัครสาวกชื่อว่า พระอภิภูและพระสัมภวะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระเขมังกร.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสขิลา และพระปทุมา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก ต้นปุณฑรีกะ.
มีอัครอุปัฏฐากชื่อว่า สิริวัฑฒะ และนันทะ
มีอัครอุปัฏฐายิกาชื่อว่า จิตตา และสุจิตตา.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นสูง ๗๐ ศอก เสมือนรูปปฏิมาทอง มีมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ.
พระรัศมีวาหนึ่ง แล่นออกจากพระวรกายของพระองค์ ทั้งกลางวันกลางคืนไม่ว่างเว้น
พระรัศมีทั้งหลาย แล่นไปทั้งทิศใหญ่ทิศน้อย ๓ โยชน์.

พระชนมายุของพระสิขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ เจ็ดหมื่นปี
พระองค์มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.

พระองค์ทั้งพระสาวก
ทรงยังเมฆคือธรรมให้ตกลง ยังโลกทั้งเทวโลกให้ชุ่มชื่น
ให้ถึงถิ่นอันเกษมแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน.

พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ พรั่งพร้อมด้วยพระอนุพยัญชนะ
ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวง ก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 621
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ปุณฺฑรีโก ได้แก่ ต้นมะม่วง.
บทว่า ตีณิ โยชนโส ปภา ความว่า พระรัศมีทั้งหลายแล่นไป ๓ โยชน์.
บทว่า ธมฺมเมฆํ ได้แก่ ฝนคือธรรม. เมฆคือพระพุทธเจ้า ผู้ยังฝนคือธรรมให้ตกลงมา.
บทว่า เตมยิตฺวา ให้ชุ่ม อธิบายว่า รด ด้วยน้ำคือธรรมกถา.
บทว่า เทวเก ได้แก่ ยังสัตว์โลกทั้งเทวโลก.
บทว่า เขมนฺตํ ได้แก่ ถิ่นอันเกษม คือพระนิพพาน.
บทว่า อนุพฺยญฺชนสมฺปนฺนํ ความว่า
พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
พรั่งพร้อมด้วยพระอนุพยัญชนะ ๘๐ มีพระนขาแดง
พระนาสิกโด่ง และพระอังคุลีกลมเป็นต้น.

ได้ยินว่า
พระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารอัสสาราม สีลวตีนคร.
สิขีว โลเก ตปสา ชลิตฺวา
สิขีว เมฆาคมเน นทิตฺวา
สิขีว มเหสินฺธนวิปฺปหีโน
สิขีว สนฺตึ สุคโต คโต โส.

พระสิขีพุทธเจ้า ทรงรุ่งโรจน์ในโลกเหมือนดวงไฟ
ทรงบันลือในนภากาศเหมือนนกยูง.

พระสิขีพุทธเจ้า
ทรงละพระมเหสี และทรัพย์สมบัติ
พระองค์ถึงความสงบ เสด็จไปดีแล้วเหมือนไฟ.

ได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าสิขี มีพระบรมสารีริกธาตุ เป็นแท่งเดียว จึงไม่กระจัดกระจายไป.
แต่มนุษย์ชาวชมพูทวีป ช่วยกันสร้างพระสถูปสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ งามเสมือนภูเขาหิมะ สูง ๓ โยชน์.
คำที่เหลือในคาถาทั้งหลายทุกแห่ง ชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระสิขีพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 622




7

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 589
๑๙. วงศ์พระวิปัสสีพุทธเจ้า ๑๙
ว่าด้วยพระประวัติของพระวิปัสสีพุทธเจ้า
[๒๐] ต่อจากสมัยของพระปุสสพุทธเจ้า
พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี
ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า พระผู้มีจักษุ ก็ทรงอุบัติขึ้นในโลก.
ทรงทำลาย กะเปาะไข่คือ อวิชชา๑
บรรลุพระสัมโพธิญาณ เสด็จไปกรุงพันธุมดี เพื่อประกาศพระธรรมจักร.
พระผู้นำ ทรงยังพระโอรส และ บุตรปุโรหิตทั้งสองให้ตรัสรู้
อภิสมัยครั้งที่ ๑ กล่าวไม่ได้ถึงจำนวนผู้ตรัสรู้ธรรม.

ต่อมาอีก
พระผู้มีพระยศหาประมาณมิได้
ทรงประกาศสัจจะ ณ เขมมิคทายวันนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์แปดหมื่นสี่พัน.
บุรุษแปดหมื่นสี่พัน บวชตามเสด็จพระสัมพุทธเจ้า
พระผู้มีพระจักษุทรงแสดงธรรมโปรดบรรพชิตเหล่านั้นที่มาถึงพระอาราม.
บรรพชิตแม้เหล่านั้น ฟังธรรมของพระองค์ ซึ่งตรัสประทานโดยอาการทั้งปวง
ก็บรรลุธรรมอันประเสริฐ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่บรรพชิตเหล่านั้น.
๑. อรรถกถาว่า อวิชชาทั้งปวง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 590
พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
ประชุมพระสาวกแสนแปดหมื่นหกพัน เป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๑
ประชุมพระสาวกแสนหนึ่ง เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ประชุมพระสาวกแปดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓
พระสัมพุทธเจ้าทรงรุ่งโรจน์อยู่ท่ามกลางหมู่ภิกษุ ณเขมมิคทายวันนั้น.

สมัยนั้น เราเป็นพญานาค ชื่อว่า อตุละ มีฤทธิ์มากมีบุญ
ทรงรัศมีรุ่งโรจน์ แวดล้อมด้วยนาคหลายโกฏิบรรเลงดนตรีทิพย์
เข้าไปเฝ้าพระผู้เจริญที่สุดในโลก.

ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว ก็นิมนต์พระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์
ทรงพยากรณ์เราว่า เก้าสิบเอ็ดกัปนัปแต่กัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาสแล้ว เสด็จเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 591
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ เข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่ออัสสัตถะ.

ท่านผู้นี้จักมี
พระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และ พระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และ พระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่าต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และ หัตถะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และ อุตตรา
พระโคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้น มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของพระวิปัสสีพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 592
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็โห่ร้อง ปรบมือหัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า
ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้าพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้น.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งมีจิตเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนคร ชื่อว่าพันธุมดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าพันธุมะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางพันธุมดี.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่แปดพันปี
มีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลังชื่อว่า นันทะ สุนันทะ และสิริมา
มีพระสนมกำนัลที่แต่งกายงามสี่หมื่นสามพันนาง
มีพระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสุทัสสนา [สุตนู]
มีพระโอรสพระนามว่า พระสมวัฏฏขันธะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 593
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ ทรงออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ รถ
ทรงตั้งความเพียร ๘ เดือนเต็ม.

พระมหาวีระ วิปัสสี
ผู้นำโลก
สูงสุดในนรชนอันท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มิคทายวัน .

พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระอัครสาวกชื่อว่า พระขัณฑะ และ พระติสสะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอโสกะ.
มีพระอัครสาวิกาชื่อว่าพระจันทา และ พระจันทมิตตา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นปากลี.
มีอัครอุปัฏฐากชื่อว่า ปุนัพพสุมิตตะ และนาคะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ สิริมา และอุตตรา.
พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้นำโลก สูง ๘๐ ศอก
พระรัศมีของพระองค์แผ่ซ่านไปโดยรอบ ๗ โยชน์.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี
พระพุทธเจ้ามีพระชนม์ยืนตลอดกาลเท่านั้น
จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
ทรงเปลื้องเทวดาและมนุษย์จากเครื่องผูก

และทรงบอกปุถุชนนอกนั้นถึงทางและมิใช่ทาง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 594
พระองค์ทั้งพระสาวก ครั้นแสดงแสงสว่างแล้ว
จึงทรงแสดงอมตบท รุ่งเรืองแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน
เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้วดับฉะนั้น.
พระวรฤทธิ์อันเลิศ พระบุญญาธิการอันประเสริฐ
พระวรลักษณ์อันบานเต็มที่แล้ว ทั้งสิ้นนั้น ก็อันตรธาน
ไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้เลิศในนรชน
ทรงเป็นวีรบุรุษเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารสุมิตตาราม
พระวรสถูปของพระองค์ ณ พระวิหารนั้น สูง ๗ โยชน์.
จบวงศ์พระวิปัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 595
พรรณนาวงศ์พระวิปัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๙

ภายหลังต่อมาจากสมัยของ
พระปุสสพุทธเจ้า กัปนั้นพร้อมทั้งอันตรกัปล่วงไป
ในเก้าสิบเอ็ดกัปนัปแต่กัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่า วิปัสสี ผู้เห็นแจ้งในธรรมทั้งปวง
ทรงทราบกัปทั้งปวง ทรงมีความดำริยินดีแต่ประโยชน์ของสัตว์อื่น อุบัติขึ้นในโลก.
พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายและบังเกิดในภพสวรรค์ชั้นดุสิต
อันเป็นที่รุ่งโรจน์ด้วยแสงซ่านแห่งรัตนะมณีเป็นอันมาก

จุติจากนั้นแล้ว
ก็ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ ของพระนางพันธุมดี
อัครมเหสีของ พระเจ้าพันธุมะ ผู้มีพระญาติมาก
กรุงพันธุมดี ถ้วนกำหนดทศมาส
พระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ เขมมิคทายวัน
เหมือนดวงจันทร์เพ็ญออกจากกลีบเมฆสีเขียวคราม
ในวันรับพระนามของพระองค์โหรผู้ทำนายลักษณะ
และพระประยูรญาติทั้งหลาย แลเห็นพระองค์หมดจด
เพราะเว้นจากความมืดที่เกิดจากกระพริบตา ในระหว่างๆ ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน
จึงเฉลิมพระนามว่า วิปัสสี เพราะเห็นได้ด้วยตาที่เปิดแล้ว

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า หรือพระนามว่า วิปัสสี
เพราะพึงวิจัยค้นหาย่อมเห็นพระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่ แปดพันปี
ทรงมีปราสาท ๓ หลังชื่อว่า นันทะสุนันทะและสิริมา
มีพระสนมกำนัลแสนสองหมื่นนาง มีพระนางสุทัสสนาเทวีเป็นประมุข.
พระนางสุทัสสนา เรียกกันว่า พระนางสุตนู ก็มี.

ล่วงไปแปดพันปี

เมื่อพระโอรสของพระนางสุตนูเทวี พระนามว่า ทรงสมภพ
พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔
จึงเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ด้วยรถเทียมม้า
ทรงผนวช บุรุษแปดหมื่นสี่พันคน ออกบวชตามเสด็จ
พระมหาบุรุษนั้นอันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 596
ในวันวิสาขบูรณมีเสวยข้าวมธุปายาส ที่ ธิดาสุทัสสนเศรษฐี
ถวายทรงพักกลางวัน ณ สาลวัน ที่ประดับด้วยดอกไม้
ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ สุชาตะ ถวาย
ทรงเห็นโพธิพฤกษ์ชื่อว่า ปาฏลี คือต้นแคฝอย ที่ออกดอก
จึงเสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์นั้น ทางทิศทักษิณ

วันนั้นลำต้นอันเกลากลมของต้นปาฏลีนั้น
ชะลูดขึ้นไป ๕๐ ศอก กิ่ง ๕๐ ศอก สูง ๑๐๐ ศอก
วันนั้นนั่นเอง ต้นปาฏลีนั้น ออกดอกดารดาษไปหมดทั้งต้น
เริ่มแต่โคนต้นดอกทั้งหลายมีกลิ่นหอมอย่างยิ่ง เหมือนผูกไว้เป็นช่อ
มิใช่ปาฏลีต้นนี้ต้นเดียวเท่านั้น ที่ออกดอกในเวลานั้น
ต้นปาฏลีทั้งหมดในหมื่นจักรวาล ก็ออกดอกด้วย

มิใช่ต้นปาฏลีอย่างเดียวเท่านั้น
แม้ไม้ต้นไม้กอและไม้เถาทั้งหลายในหมื่นจักรวาลก็ออกดอกบาน.
แม้มหาสมุทร ก็ดารดาษไปด้วยปทุมบัวสาย อุบล และโกมุท ๕ สี มีน้ำเย็นอร่อย

ระหว่างหมื่นจักรวาลทั้งหมด ก็เกลื่อนกล่นไปด้วยธงและมาลัย
พื้นแผ่นธรณีอักตกแต่งด้วยดอกไม้กลิ่นหอมนานาชนิด
ก็เกลื่อนกล่นด้วยพวงมาลัย มืดมัวไปด้วยจุรณแห่งธูป
พระองค์เสด็จเข้าไปยังต้นปาฏลีนั้น
ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๕๓ ศอก
ทรงอธิษฐานความเพียรประกอบด้วยองค์ ๔
ประทับนั่ง ทำปฏิญาณว่า
ยังไม่เป็นพระพุทธเจ้าเพียงใด ก็จะไม่ยอมลุกจากที่นี้เพียงนั้น

ครั้นประทับนั่งอย่างนี้แล้ว
ทรงกำจัดกองกำลังมาร พร้อมทั้งตัวมาร
ทรงทำมรรคญาณ ๔ โดยลำดับมรรค ผลญาณ ๔
ในลำดับต่อจากมรรค ปฏิสัมภิทา ๔ จตุโยนิปริจเฉทกญาณ
ญาณเครื่องกำหนดรู้คติ ๕ เวสารัชชญาณ ๔ อสาธารณญาณ ๖
และพระพุทธคุณทั้งสิ้นไว้ในพระหัตถ์
ทรงมีความดำริบริบูรณ์ ประทับนั่งเหนือโพธิบัลลังก์นั่นเอง ทรงเปล่งพระอุทานอย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 597
อเนกชาติสํสารํ ฯ ล ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา.
อโยฆนหตสฺเสว ชลโต ชาตเวทโส
อนุปุพฺพูปสนฺตสฺส ยถา น ญายเต คติ.
ใครๆ ย่อมไม่รู้คติ ความไปของดวงไฟ ที่ลุก
โพลง ถูกฟาดด้วยค้อนเหล็ก แล้วสงบลงโดยลำดับฉันใด.
เอวํ สมฺมา วิมุตฺตานํ กามพนฺโธฆตารินํ
ปญฺญาเปตุํ คตี นตฺถิ ปตฺตานํ อจลํ สุขํ.
ไม่มีใครจะล่วงรู้คติความไป ของท่านผู้หลุดพ้นโดยชอบ
ผู้ข้ามพันธะและโอฆะ คือกาม ผู้ถึงสุขอันไม่หวั่นไหวได้ก็ฉันนั้น.

ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ ใกล้โพธิพฤกษ์นั่นเอง
ทรงรับอาราธนาของท้าวมหาพรหม
ทรงตรวจดูอุปนิสสัยสมบัติ ของ พระขัณฑกุมาร กนิษฐภาดา
ต่างพระมารดาของพระองค์ และ ติสสกุมาร บุตรปุโรหิต
เสด็จไปทางอากาศ ลงที่ เขมมิคทายวัน
ทรงใช้พนักงานเฝ้าอุทยานไปเรียกท่านทั้งสองนั้นมาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ท่ามกลางบริวารเหล่านั้น
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้แก่เทวดาทั้งหลาย ประมาณมิได้.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระปุสสพุทธเจ้า
พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี
ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ผู้มีจักษุ ก็อุบัติขึ้นในโลก.
ทรงทำลาย อวิชชาทั้งหมด๑ บรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด
เสด็จไปยังกรุงพันธุมดี เพื่อประกาศพระธรรมจักร.
๑. บาลีว่า อวิชฺชณฺฑํ กะเปาะไข่คืออวิชชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 598
พระผู้นำ
ครั้นทรงประกาศพระธรรมจักรแล้วยังกุมารทั้งสองให้ตรัสรู้แล้ว
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ไม่จำต้องกล่าวจำนวนผู้บรรลุ.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ปทาเลตฺวา แปลว่า ทำลาย อธิบายว่า ทำลายความมืดคืออวิชชา.
ปาฐะว่า วตฺเตตฺวา จกฺกมาราเม ดังนี้ก็มีปาฐะนั้น
บทว่า อาราเม ความว่า ณ เขมมิคทายวัน.
บทว่า อุโภ โพเธสิได้แก่ ทรงยังกุมารทั้งสองคือ
พระขัณฑราชโอรส กนิษฐภาดาของพระองค์และติสสกุมาร บุตรปุโรหิต ให้ตรัสรู้.
บทว่า คณนา น วตฺตพฺโพ ความว่า
ไม่มีการกำหนดจำนวนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย โดยอภิสมัย.

สมัยต่อมา
ทรงยังภิกษุแปดหมื่นสี่พัน
ซึ่งบวชตามพระขัณฑราชโอรส และติสสกุมาร
บุตรปุโรหิตให้ดื่มอมฤตธรรม นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อมาอีก
พระผู้มีพระยศประมาณมิได้
ทรงประกาศสัจจะ ณ เขมมิคทายวันนั้น
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์ แปดหมื่นสี่พัน.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ณ เขมมิคทายวัน
ในคำว่า จตุราสีติสหสฺสานิ สมฺพุทฺธมนุปพฺพชุํ นี้

บุรุษที่นับได้แปดหมื่นสี่พัน เหล่านี้
ก็คือพวกบุรุษที่รับใช้ พระวิปัสสีกุมารนั่นเอง
บุรุษเหล่านั้นไปยังที่รับใช้ พระวิปัสสีกุมารแต่เช้า
ไม่เห็นพระกุมาร ก็กลับไปเพื่อกินอาหารเช้า
กินอาหารเช้าแล้ว ถามกันว่า พระกุมารอยู่ไหน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 599
แต่นั้น ได้ฟังข่าวว่า เสด็จไปยังที่ราชอุทยาน
จึงพากันออกไปด้วยหวังว่าจักพบพระองค์ ณ ที่ราชอุทยานนั้น
เห็นสารถีของพระองค์กลับมา
ฟังว่าพระราชกุมารทรงผนวชแล้ว ก็เปลื้องอาภรณ์ทั้งหมดในที่ฟังข่าวนั่นเอง
ให้นำผ้ากาสายะมาจากภายในตลาด ปลงผมและหนวดพากันบวช
บุรุษเหล่านั้น ครั้นบวชแล้ว ก็พากันไปแวดล้อมพระมหาบุรุษ.

แต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์
ทรงพระดำริว่า
เราเมื่อจะบำเพ็ญความเพียร ยังคลุกคลีอยู่ ข้อนี้ไม่สมควร
คนเหล่านี้ แต่ก่อน เป็นคฤหัสถ์ ก็พากันมาแวดล้อมเราอย่างนั้น
ประโยชน์อะไรด้วยคนหมู่นี้
ทรงระอาในการคลุกคลีด้วยหมู่
ทรงพระดำริว่า จะไปเสียวันนี้แหละ
ทรงพระดำริอีกว่า
วันนี้ยังไม่ใช่เวลา ถ้าเราจักไปในวันนี้ คนเหล่านั้นจักรู้กันหมด
พรุ่งนี้จึงจักไป ในวันนั้นนั่นเอง มนุษย์ชาวบ้าน ในบ้านตำบลหนึ่ง เช่นเดียวกับอุรุเวลคาม
ได้จัดแจงข้าวมธุปายาสอย่างเดียว เพื่อบรรพชิตแปดหมื่นสี่พันเหล่านั้น และ พระมหาบุรุษ.

ในวันรุ่งขึ้น
เป็นวันวิสาขบูรณมี พระวิปัสสีมหาบุรุษ
เสวยภัตตาหารกับชนที่บวชเหล่านั้นในวันนั้นแล้ว
ก็เสด็จไปยังสถานที่ประทับอยู่ ณ ที่นั้น
บรรพชิตเหล่านั้น แสดงวัตรปฏิบัติแด่พระมหาบุรุษแล้ว
ก็พากันเข้าไปยังสถานที่อยู่กลางคืนและที่พักกลางวันของตนๆ.

แม้พระโพธิสัตว์ ก็เสด็จเข้าไปสู่บรรณศาลา
ประทับนั่ง ทรงพระดำริว่า นี้เป็นเวลาเหมาะที่จะออกไปได้
จึงเสด็จออกอภิเนษกรมณ์
ทรงปิดประตูบรรณศาลา
เสด็จบ่ายพระพักตร์ไปยังโพธิมัณฑสถาน
นัยว่า บรรพชิตเหล่านั้น เวลาเย็นก็พากันไปยังที่ปรนนิบัติพระโพธิสัตว์
นั่งล้อมบรรณศาลา กล่าวว่า วิกาลมืดค่ำแล้ว ตรวจกันดูเถิด
จึงเปิดประตูบรรณศาลาก็ไม่พบพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 600
คิดกันว่า พระมหาบุรุษเสด็จไปไหนหนอ ยังไม่พากันติดตาม
คิดแต่ว่า พระมหาบุรุษ เห็นทีจะเบื่อการอยู่เป็นหมู่ ประสงค์จะอยู่แต่ลำพัง
เราจะพบพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น
จึงพากันออกจาริกมุ่งหน้าไปภายในชมพูทวีป

ลำดับนั้น
บรรพชิตเหล่านั้นฟังข่าวว่า เขาว่า พระวิปัสสีถึงความเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
ประกาศพระธรรมจักร จึงประชุมกันที่เขมมิคทายวัน กรุงพันธุมดีราชธานี โดยลำดับ.
แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแสดงธรรมโปรดบรรพชิตเหล่านั้น
ครั้งนั้นธรรมภิสมัย ได้มีแก่ ภิกษุแปดหมื่นสี่พัน นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
บุรุษแปดหมื่นสี่พัน บวชตามเสด็จพระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า
พระผู้มีจักษุทรงแสดงธรรมโปรดบรรพชิตเหล่านั้นซึ่งมาถึงอาราม.
บรรพชิตแม้เหล่านั้น ฟังธรรมของพระองค์ ซึ่งตรัสประทาน โดยอาการทั้งปวง
ก็บรรลุธรรมอันประเสริฐ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่บรรพชิตเหล่านั้น.

แก้อรรถ
ในคำว่า จตุราสีติสหสฺสานิ สมฺพุทฺธํ อนุปพฺพชุํ นี้
ในคาถานั้น พึงทราบว่า ท่านทำเป็นทุติยาวิภัตติว่า สมฺพุทฺธํ
โดยประกอบนิคคหิตไว้ ความว่า บวชภายหลังพระสัมพุทธเจ้า
พึงถือลักษณะตามศัพทศาสตร์ปาฐะว่า ตตฺถ อารามปตฺตานํ ดังนี้ก็มี.
บทว่า ภาสโต แปลว่า ตรัสอยู่.
บทว่า อุปนิสาทิโน ความว่า ผู้เสด็จไปประทานธรรมทานถามอุปนิสสัย !
เตปิ ได้แก่ บรรพชิตนับได้แปดหมื่นสี่พันเหล่านั้น เป็นผู้รับใช้ พระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 601
บทว่า คนฺตฺวา ได้แก่ รู้ธรรมของพระองค์.
อภิสมัยครั้งที่ ๓ได้มีแก่ บรรพชิตเหล่านั้น ด้วยประการอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสี ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุแสนแปดหมื่นหกพัน
ซึ่งบวชตามพระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า และพระอัครสาวก ณ เขมมิคทายวัน
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ดังนี้ว่า
ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
น สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต.

พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัส ตีติกขา ขันติว่า เป็นตบะอย่างยิ่ง
ตรัสนิพพานว่าเป็นบรมธรรม
ผู้ยังทำร้ายผู้อื่น หาเป็นบรรพชิตไม่
ผู้ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ หาเป็นสมณะไม่.
สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ.
การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม
การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ.
การไม่ว่าร้าย การไม่ทำร้าย ความสำรวมใน
พระปาติโมกข์ [คำสอนที่เป็นหลักเป็นประธาน] ความรู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 602
จักประมาณในภัตตาหาร ที่นอนที่นั่งอันสงัด และ
การประกอบความเพียรในอธิจิต
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
พึงทราบว่า คาถาปาติโมกขุทเทศเหล่านี้
เป็นของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๑

ต่อมาอีก
สันนิบาตครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ ภิกษุแสนหนึ่ง ซึ่งเห็นยมกปาฏิหาริย์แล้วบวช.
ครั้งพระกนิษฐภาดา ๓ พระองค์ต่างพระมารดา ของพระวิปัสสีพุทธเจ้า
ปราบปัจจันตประเทศให้สงบแล้วได้รับพระราชทานพร
ด้วยการทำการบำรุงพระผู้มีพระภาคเจ้า
นำเสด็จมาสู่พระนครของพระองค์บำรุง
ทรงสดับธรรมของพระพุทธองค์แล้วทรงผนวช
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุแปดล้านเหล่านั้น
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ เขมมิคทายวัน นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๓

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีสันนิบาต
ประชุมพระสาวกผู้ขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง.
การประชุม พระสาวกหกล้านแปดเเสน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑
การประชุมพระสาวกหนึ่งแสน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
การประชุม พระภิกษุสาวกแปดหมื่น เป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๓
พระสัมพุทธเจ้า ทรงรุ่งโรจน์ ท่ามกลางหมู่ภิกษุ ณ เขมมิคทายวันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 603


แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อฏฺฐสฏฺฐิสตสหสฺสานํ ความว่าภิกษุหกล้านแปดแสน.
บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ณ เขมมิคทายวันนั้น.
บทว่า ภิกฺขุคณมชฺเฌ แปลว่า ท่ามกลางหมู่ภิกษุ.
ปาฐะว่า ตสฺส ภิกฺขุคณมชฺเฌ ดังนี้ก็มี.
ความว่า ท่ามกลางหมู่ภิกษุนั้น.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระยานาคชื่อ อตุละ
มีฤทธานุภาพมาก มีนาคหลายแสนโกฏิเป็นบริวาร
สร้างมณฑปอันสำเร็จด้วยรัตนะ๗ เป็นส่วนอันมั่นคงผ่องแผ้วที่น่าดู
เช่นเดียวกับดวงจันทร์ เพื่อทำสักการะแด่พระทศพล
ผู้มีกำลังและศีลที่ไม่มีผู้เสมอ มีพระหฤทัย
เยือกเย็นด้วยพระกรุณา พร้อมทั้งบริวาร
นิมนต์ให้ประทับนั่ง ณ มณฑปนั้น
ถวายมหาทานอันเหมาะแก่สมบัติทิพย์ ๗ วัน
ได้ถวายตั่งทอง ขจิตด้วยรัตนะ ๗
อันรุ่งเรืองด้วยประกายโชติช่วงแห่งมณีต่างๆ สมควรยิ่งใหญ่ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ครั้งนั้น พระวิปัสสีพุทธเจ้า
ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้น เวลาจบอนุโมทนา
ปีฐทานว่า เก้าสิบเอ็ดกัปนับแต่กัปนี้ไป ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพญานาค ชื่ออตุละ
มีฤทธิ์มากมีบุญ ทรงรัศมีโชติช่วง.

ครั้งนั้น เราแวดล้อมด้วยนาคหลายโกฏิ
บรรเลงทิพดนตรี เข้าไปเฝ้าพระผู้เจริญที่สุดในโลก.
ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว ก็นิมนต์พระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ได้ถวายตั่งทอง อันขจิตด้วยรัตนะคือแก้วมณีและแก้วมุกดา
ประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง แด่พระผู้เป็นพระธรรมราชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 604
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า เก้าสิบเอ็ดกัปนับแต่กัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาสแล้วเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ เข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อว่า อัสสัตถะ.

ท่านผู้นี้ จักมี
พระชนนี พระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
พระองค์ทรงพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีอัครสาวิกาชื่อว่า พระเขมา และพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
โพธพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า อัสสัตถะ ฯ ล ฯ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 605
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งมีจิตเสื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ปุญฺญวนฺโต แปลว่า ผู้มีบุญ อธิบายว่าผู้มีกองบุญอันสั่งสมไว้แล้ว.
บทว่า ชุตินฺธฺโร ได้แก่ ประกอบด้วยรัศมี.
บทว่า เนกานํ นาคโกฏีนํ ก็คือ อเนกาหิ นาคโกฏีหิ พึงเห็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถตติยาวิภัตติ.
บทว่า ปริวาเรตฺวา ได้แก่ แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า. ทรงแสดงพระองค์ ด้วยคำว่า อหํ.
บทว่า วชฺชนฺโต ได้แก่ บรรเลงประโคม.
บทว่า มณีมุตฺตรตนขจิตํ ความว่า ขจิตด้วยรัตนะต่างชนิดมีแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น.
บทว่า สพฺพาภรณวิภูสิตํ ความว่าประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง ที่สำเร็จด้วยรัตนะเช่น รูปสัตว์ร้ายเป็นต้น .
บทว่า สุวณฺณปีฐํ ได้แก่ ตั่งที่สำเร็จด้วยทอง.
บทว่า อทาสหํ ตัดบทเป็น อทาสึ อหํ.


พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสี
พระองค์นั้น
ทรงมีพระนครชื่อว่า พันธุมดี
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าพันธุมา
พระชนนีพระนามว่า พระนางพันธุมดี
คู่พระอัครสาวก็ชื่อว่า พระขัณฑะ และ พระติสสะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอโสกะ
คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระจันทา และ พระจันทมิตตา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่า ปาฏลี
พระสรีระสูง ๘๐ ศอก
พระรัศมีแห่งพระสรีระแผ่ไป ๗ โยชน์ทุกเวลา
พระชนมายุแปดหมื่นปี

พระอัครมเหสีของพระองค์ พระนามว่า พระนางสุตนู
พระโอรสของพระองค์ พระนามว่า พระสมวัฏฏขันธะ
ออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยรถเทียมม้า.

ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 606
พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนคร ชื่อพันธุมวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าพันธุมา
พระชนนีพระนามว่า พระนางพันธุมดี.

พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระขัณฑะ และ พระติสสะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอโสกะ.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระจันทาและ พระจันทมิตตา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นปาฏลี.

พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้นำโลก
สูง ๘๐ ศอก
พระรัศมีของพระองค์แล่นไปโดยรอบ ๗ โยชน์.
ในยุคนั้นมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี
พระชนมายุของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.

พระวิปัสสีพุทธเจ้า
ทรงเปลื้องเทวดาและมนุษย์ เป็นอันมากจากเครื่องผูก
ทรงบอกทางและมิใช่ทางกะพวกปุถุชนที่เหลือ.
พระองค์และพระสาวก สำแดงแสงสว่าง
ทรงแสดงอมตบท รุ่งโรจน์แล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน
เหมือนกองไฟโพลงแล้วก็ดับ ฉะนั้น.

พระวรฤทธิ์อันเลิศ พระบุญญาธิการอันประเสริฐ
พระวรลักษณ์อันบานเต็มที่แล้ว ทั้งนั้น
ก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 607

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า พนฺธนา ความว่า เปลื้องปล่อยซึ่งเทวดาและมนุษย์จากเครื่องผูกมีกามราคสังโยชน์เป็นต้น.
บทว่า มคฺคามคฺคญฺจ อาจิกฺขิ ความว่า
ทรงบอกปุถุชนที่เหลือว่า ทางนี้คือมัชฌิมาปฏิปทาเว้นจาก อุจเฉททิฏฐิและสัสสตทิฏฐิ
เป็นทางเพื่อบรรลุอมตธรรม การทำตัวให้ลำบากเปล่าเป็นต้นนี้มิใช่ทาง.
บทว่า อาโลกํ ทสฺสยิตฺวาน ได้แก่ ทรงแสดงแสงสว่าง คือมรรคญาณ และแสงสว่างคือวิปัสสนาญาณ.
บทว่า ลกฺขณญฺจกุสุมตํ ความว่า พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า บานแล้ว
ประดับแล้วด้วยพระลักษณะอันวิจิตรเป็นต้น.
คำที่เหลือในคาถาทั้งหลายทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระวิปัสสีพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 608




8

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 578
๑๘. วงศ์พระปุสสพุทธเจ้าที่ ๑๘
ว่าด้วยพระประวัติของพระปุสสพุทธเจ้า
[๑๙] ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง ก็ได้มีพระศาสดาพระนามว่า ปุสสะ
ผู้ยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้เสมอ พระผู้นำเลิศของโลก.
แม้พระองค์ ก็ทรงกำจัดความมืดทุกอย่าง
ทรงสางรกชัฏขนาดใหญ่ เมื่อทรงยังโลกทั้งเทวโลกให้อิ่มก็ทรงหลั่งน้ำอมฤตให้ตกลงมา.

เมื่อพระปุสสพุทธเจ้า
ทรงประกาศพระธรรมจักรในสมัยนักขัตมงคล
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่ สัตว์แปดล้าน.
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่ สัตว์เก้าล้าน
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่ สัตว์แปดล้าน.

พระปุสสพุทธเจ้า
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาต ประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
ประชุมพระสาวกหกล้าน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑
ประชุมพระสาวกห้าล้าน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ประชุมพระสาวก ผู้หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่น ผู้ขาดปฏิสนธิแล้วสี่ล้าน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 579
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์ นามว่า พระเจ้าวิชิตะ(วิชิตาวี)
ละราชสมบัติใหญ่ บวชในสำนักของพระองค์.

พระปุสสพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลกพระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์เราว่า เก้าสิบสองกัปนับแต่กัปนี้ไป ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์
ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วเสด็จเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ.

ท่านผู้นี้
จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวกชื่อว่า พระโกลิตะ และ พระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 580
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
จักมีอัครอุปัฏฐาก ซึ่งจิตตะ และ หัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ นันทมาตา และ อุตตรา
พระโคดม ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
ฟังพระดำรัสนี้ ของพระปุสสพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้ว
ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนา ของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัยและนวังคสัตถุศาสน์ทุกอย่าง
ยังพระศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้งาม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 581
เราอยู่อย่างไม่ประมาทในพระศาสนานั้น
เจริญพรหมวิหารภาวนา ถึงฝั่งในอภิญญา ก็ไปสู่พรหมโลก.

พระปุสสพุทธเจ้า
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่อกาสิกะ
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าชัยเสน
พระชนนี พระนามว่า พระนางสิริมา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี
มีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า ครุฬะ หังสะ สุวัณณดารา.
มีพระสนมนารี สามหมื่นสามพันนาง
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางกีสาโคตมี
พระโอรสพระนามว่า อานันทะ.
พระผู้เป็นยอดบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ทรงออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ช้าง
ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน.

พระมหาวีรปุสสพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลก
ผู้สูงสุดในนรชน อันท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ป่ามิคทายวัน.

พระปุสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระอัครสาวกชื่อว่า พระสุรักขิตะ และ พระธัมมเสนะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสภิยะ.
มีพระอัครสาวิกาชื่อพระจาลา และ พระอุปจาลา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นอามลกะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 582
มีอัครอุปัฏฐาก ซึ่งว่าธนัญชยะ และวิสาขะ
อัครอุปัฏฐายิกาชื่อว่า ปทุมา และสิรินาคา.
พระมหามุนีพระองค์นั้น สูง ๕๘ ศอก
ทรงงามเหมือนดวงอาทิตย์ เต็มเหมือนดวงจันทร์.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี

พระปุสสพุทธเจ้า
พระองค์นั้น
ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้นจึงทรงยังชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระศาสดาแม้พระองค์นั้น
ทรงสั่งสอนสัตว์เป็นอันมาก ยังชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ
พระองค์ทั้งพระสาวก มีพระยศที่ไม่มีใครเทียบ ก็ยังปรินิพพาน.

พระศาสดา ชินวรปุสสพุทธเจ้า
เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารเสนาราม พระบรมสารีริกธาตุ
ก็แผ่กระจายไปเป็นส่วน ๆ ในประเทศนั้นๆ.
จบวงศ์พระปุสสพุทธเจ้าที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 583
พรรณนาวงศ์พระปุสสพุทธเจ้าที่ ๑๘
ภายหลังต่อมาจากสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าติสสะพระองค์นั้น
เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย
เสื่อมลงโดยลำดับและเจริญขึ้นอีก จนมีอายุมาก หาประมาณไม่ได้
แล้วก็เสื่อมลงโดยลำดับ จนมีอายุได้เก้าหมื่นปี

ในกัปนั้นนั่นเอง
พระศาสดาพระนามว่า ปุสสะ ก็อุบัติขึ้นในโลก
พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้พระองค์นั้น
ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย ก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้นแล้วก็ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางสิริมาเทวี
อัครมเหสีของพระเจ้าชัยเสนะ กรุงกาสี
ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ สิริมาราชอุทยาน
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี

ได้ยินว่า
ทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่า ครุฬปักขะ หังสะ และ สุวรรณภาระ.
ปรากฏพระสนมกำนัลสามหมื่นนาง มี พระนางกีสาโคตมี เป็นประมุข
เมื่อพระโอรสพระนามว่า อนูปมะ ของ พระนางกีสาโคตมี
ทรงสมภพ พระมหาบุรุษทรงเห็นนิมิต ๔
ก็ขึ้นทรงช้างพระที่นั่งที่ประดับแล้วเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ทรงผนวช
ชนโกฏิหนึ่งออกบวชตามเสด็จ
พระองค์อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน

แต่นั้น ก็ทรงละหมู่
ทรงเพิ่มความประพฤติ แต่ลำพังพระองค์อยู่ ในวันวิสาขบูรณมี
เสวยข้าวมธุปายาสที่ นางสิริวัฑฒา ธิดาของเศรษฐีผู้หนึ่ง ณ นครแห่งหนึ่งถวาย
ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ ป่า สีสปาวัน เวลาเย็น
ทรงรับหญ้า ๘ กำที่อุบาสกชื่อ สิริวัฑฒะ ถวาย
เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ อามลกะคือ ต้นมะขามป้อม
ทรงกำจัดกองกำลังมาร พร้อมทั้งตัวมาร
บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯ เป ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา
ยับยั้งอยู่ใกล้ต้นโพธิ์พฤกษ์ ๗ วัน ทรงเห็นภิกษุโกฏิหนึ่งซึ่งบวชกับพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 584
เป็นผู้สามารถแทงตลอดธรรมได้จึงเสด็จไปทางอากาศ ลงที่อิสิปตนะมิคทายวันสังกัสสนคร
ทรงประกาศพระธรรมจักร ท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น
ครั้งนั้นอภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง
ได้มีพระศาสดาพระนามว่า ปุสสะ ผู้ยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เปรียบ
เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้นำเลิศของโลก แม้พระองค์
ทรงกำจัดความมืดทั้งหมดแล้ว
ทรงสางรกชัฏขนาดใหญ่ เมื่อทรงยังโลกทั้งเทวโลกให้อิ่ม
ทรงหลั่งน้ำอมฤตให้ตกลงมา.

เมื่อพระปุสสพุทธเจ้า
ทรงประกาศพระธรรมจักรในสมัยนักขัตมงคล
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตตฺเถว มณฺฑกปฺปมฺหิ ความว่า ในกัปใด มีพระพุทธเจ้าทรงอุบัติ ๒ พระองค์
กัปนั้นเราเรียกมาแต่หนหลังว่า มัณฑกัป.
บทว่า วิชเฏตฺวา ได้แก่ แก้.
คำว่า ชฏา ในคำว่า มหาชฏํนี้ เป็นชื่อของตัณหา
ท่านกล่าวว่า จริงอยู่ตัณหานั้น ชื่อว่า ชฏา เพราะเป็นเหมือนชัฏ
กล่าวคือขนมร่างแหที่ร้อยด้วยกลุ่มด้าย เพราะเกิดบ่อยๆ ร้อยไว้ด้วยตัณหา
เบื้องล่างเบื้องบนในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ซึ่งรกชัฏขนาดใหญ่นั้น.
บทว่า สเทวกํ ได้แก่ โลกทั้งเทวโลก.
บทว่า อภิวสฺสิ แปลว่า ให้ตกลงมาแล้ว.
บทว่า อมตมฺพุนา ความว่า เมื่อให้อิ่ม จึงหลั่งน้ำคือธรรมกถา กล่าวคืออมตธรรม ให้ตกลงมา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 585
ครั้งพระเจ้าสิริวัฑฒะ กรุงพาราณสี
ทรงละกองโภคสมบัติใหญ่ ทรงผนวชเป็นดาบส
ได้มีดาบสที่บวชกับพระองค์จำนวนเก้าล้าน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดดาบสเหล่านั้น
ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เก้าล้าน
ส่วนครั้งทรงแสดงธรรมโปรดอนุปมกุมาร
พระโอรสของพระองค์ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดล้าน.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เก้าล้าน
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์แปดล้าน.

แต่นั้น สมัยต่อมา
พระสุรักขิตะราชโอรส และธัมมเสนกุมาร บุตรปุโรหิต ณ กัณณกุชชนคร

เมื่อพระปุสสสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสด็จถึงนครของตนก็ออกไปรับเสด็จ พร้อมด้วยบุรุษหกล้าน
ถวายบังคมแล้วนิมนต์ถวายมหาทาน ๗ วัน
สดับธรรมกถาของพระทศพลแล้วเลื่อมใส พร้อมกับบริวารก็พากันบวชแล้วบรรลุพระอรหัต.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ท่ามกลางภิกษุหกล้านเหล่านั้น นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๑.

ต่อมาอีก
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพุทธวงศ์ ในสมาคมพระญาติประมาณหกสิบ
ของพระเจ้าชัยเสน กรุงกาสี
ชนห้าล้านฟังพุทธวงศ์นั้น พากันบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา แล้วบรรลุพระอรหัต
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอยู่ในท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๒.

ต่อมาอีก
บุรุษสี่ล้านฟังมงคลกถาในมหามงคลสมาคม พากันบวชแล้ว บรรลุพระอรหัต
พระสุคตเสด็จอยู่ในท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 586
พระปุสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
ประชุมพระสาวกหนึ่งล้าน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑
ประชุมพระสาวกห้าล้าน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ประชุมพระสาวก ผู้หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่น ผู้ขาดปฏิสนธิแล้วสี่ล้าน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา
ทรงเป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้า วิชิตาวี นครอรินทมะ
ทรงสดับธรรมของพระปุสสพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายมหาทานแด่พระองค์
ทรงละราชสมบัติใหญ่ทรงผนวชในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเรียนพระไตรปิฎกทรงพระไตรปิฏก
ตรัสธรรมกถาแก่มหาชน และทรงบำเพ็ญศีลบารมี

พระปุสสพุทธเจ้า แม้พระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า วิชิตาวี ละราชสมบัติใหญ่ บวชในสำนักของพระองค์.
พระปุสสพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลกพระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์เราว่า เก้าสิบสองกัปนัปแต่กัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 587
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุศาสน์ทั้งหมด
ยังพระศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้งาม.
เราอยู่อย่างไม่ประมาท ในพระศาสนานั้นเจริญ
พรหมวิหารภาวนา ถึงฝั่งแห่งอภิญญาก็ไปสู่พรหมโลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงมีพระนครชื่อว่า กาสี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าชัยเสน
พระชนนีพระนามว่า พระนางสิริมา
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระสุรักขิตะ และ พระธัมมเสนะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระสภิยะ
คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระจาลา และ พระอุปจาลา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่า อามลกะ คือ ต้นมะขามป้อม
พระสรีระสูง ๕๘ ศอก
พระชนมายุเก้าหมื่นปี

พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางกีสาโคตมี
พระโอรสพระนามว่า พระอนุปมะ
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ช้าง.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระปุสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระนครชื่อ กาสี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าชัยเสน
พระชนนีพระนามว่า พระนางสิริมา ฯ ล ฯ
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่าอามัณฑะ ต้นมะขามป้อม ฯ ล ฯ .
พระมุนีแม้พระองค์นั้นสูง ๕๘ ศอก งามเหมือนดวงอาทิตย์ เต็มเหมือนดวงจันทร์.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี

พระปุสสพุทธเจ้า พระองค์นั้น
เมื่อทรงพระชนม์ถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 588
พระศาสดา แม้พระองค์นั้น ทรงสั่งสอนสัตว์เป็นอันมาก ให้ชนเป็นอันมากข้ามโอฆะ
พระองค์ทั้งพระสาวก มีพระยศที่ไม่มีผู้เทียบ ก็ยังปรินิพพาน.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อามณฺโฑ๑ แปลว่า ต้นมะขามป้อม.
บทว่า โอวทิตฺวา ได้แก่ ให้โอวาท อธิบายว่า พร่ำสอน.
บทว่า โสปิสตฺถา อตุลยโส ความว่า พระศาสดา ผู้มีพระยศที่ชั่งมิได้ แม้พระองค์นั้น.
ปาฐะว่า โส ชหิตฺวา อมิตยโส ดังนี้ก็มี
ปาฐะนั้น มีความว่า พระองค์จำต้องละคุณวิเศษดังกล่าวแล้วทุกอย่าง.

ได้ยินว่า
พระปุสสสัมมาสัมพุทธเจ้า ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารเสนาราม กรุงกุสินารา
ได้ยินว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป.
ในคาถาที่เหลือทุกแห่งชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระปุสสพุทธเจ้า
๑. บาลีเป็น อามลโก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 589




9

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 564
๑๗. วงศ์พระติสสพุทธเจ้าที่ ๑๗
ว่าด้วยพระประวัติของพระติสสพุทธเจ้า
[๑๘] ต่อจากสมัยของพระสิทธัตถพุทธเจ้า

พระติสสพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบ มีศีล ไม่มีที่สุด
มีพระบริวารยศหาประมาณมิได้ เป็นพระผู้นำเลิศแห่งโลก.


พระมหาวีระผู้มีจักษุ
ทรงกำจัดอนธการคือความมืด
ทรงยังโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้สว่างแล้ว
ทรงมีพระกรุณา ทรงอุบัติแล้วในโลก.

พระติสสพุทธเจ้า แม้พระองค์นั้น
ทรงมีพระวรฤทธิ์ไม่มีใครเทียบได้ มีศีลและสมาธิที่ไม่มีอะไรเทียบ
ทรงถึงฝั่งในธรรมทั้งปวง ประกาศพระธรรมจักร.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงประกาศพระวาจาอันสะอาดในหมื่นโลกธาตุ
สัตว์ร้อยโกฏิตรัสรู้ ในการแสดงครั้งที่ ๑.
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เก้าสิบโกฏิ
ในอภิสมัยครั้งที่ ๓ สัตว์หกสิบโกฏิตรัสรู้

ในครั้งนั้น พระติสสพุทธเจ้า ทรงเปลื้องสัตว์ คือ มนุษย์และเทวดาจากเครื่องผูก [สังโยชน์].
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 565

พระติสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาต ประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทินมีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
การประชุมพระสาวกขีณาสพแสนหนึ่ง เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑
การประชุมพระสาวกขีณาสพเก้าล้าน เป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๒.
การประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน ผู้บานแล้วด้วยวิมุตติ แปดล้าน เป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๓.

สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์ พระนามว่า สุชาตะ
สละโภคสมบัติยิ่งใหญ่ บวชเป็นฤษี.
เมื่อเราบวชแล้ว พระผู้นำโลก ก็อุบัติ
เพราะดับเสียงว่า พุทโธ เราจึงเกิดปีติ.
เราใช้มือทั้งสองประคองดอกไม้ทิพย์ คือดอก
มณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะ สะบัดผ้าคากรองเข้าไปเฝ้า.
เราถือดอกไม้ทิพย์นั้น กั้นพระติสสชินพุทธเจ้า
ผู้นำเลิศแห่งโลก อันวรรณะ ๔ เหล่า แวดล้อมแล้วไว้เหนือพระเศียร.

ครั้งนั้น พระติสสพุทธเจ้า แม้พระองค์นั้น
ประทับท่ามกลางชน ทรงพยากรณ์เราว่า เก้าสิบสอง
กัปนับแต่กัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 566
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์ อันน่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับ ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วเสด็จเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่ออัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกต้นอัสสัตถะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 567
อัครอุปัฏฐาก ชื่อจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อนันทมาตา และอุตตรา
พระโคดมผู้มีพระยศ พระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
ฟังพระดำรัสนี้ ของพระติสสพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก พากันโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่าผิว่า พวกเราพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้าพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราจักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

พระติสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระนครชื่อว่า เขมกะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าชนสันธะ
พระชนนี พระนามว่า ปทุมา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 568
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่แสนปี
ทรงมีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า คุณเสลา อนาทิยะ และนิสภะ
มีพระสนมนารี ที่แต่งกายงามสามหมื่นนาง
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสุภัททา
พระโอรสพระนามว่า อานันทะ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ม้า
ทรงตั้งความเพียร ครึ่งเดือนเต็ม.

พระมหาวีระติสสพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลก
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ยสวดีทายวัน อันสูงสุด.

พระติสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระพรหมเทวะ และ พระอุทยะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระสมังคะ.
พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระผุสสา และ พระสุทัตตา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่าอัสนะ ต้นประดู่.
อัครอุปัฐฏาก ชื่อว่า สัมพละ และสิริ อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่ากีสาโคตมี และอุปเสนา.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๖๐ ศอก
พระผู้ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้เสมือน ปรากฏเด่นเหมือนภูเขาหิมวันต์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 569
พระผู้มีจักษุ ทรงดำรงอยู่ในโลกแสนปี
แม้พระองค์ผู้มีพระเดชไม่มีผู้เทียบ ก็มีพระชนมายุเท่านั้น.
พระองค์ทั้งพระสาวก เสวยพระยศอันยิ่งใหญ่ที่อุดม เลิศ ประเสริฐสุด
รุ่งโรจน์แล้วก็ดับขันธปรินิพพาน เหมือนกองไฟที่ดับไปฉะนั้น.
พระองค์ทั้งพระสาวก ก็ปรินิพพานไปเหมือนพลาหกหายไปเพราะลม
เหมือนน้ำค้างหายไปเพราะดวงอาทิตย์ เหมือนความมืดหายไปเพราะดวงประทีปฉะนั้น.
พระติสสชินวรพุทธเจ้า ปรินิพพาน ณ พระวิหารนันทาราม
พระชินสถูปของพระองค์ ณ ที่นั้นสูง ๓ โยชน์.
จบวงศ์พระติสสพุทธเจ้าที่ ๑๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 570
พรรณนาวงศ์พระติสสพุทธเจ้าที่ ๑๗

ต่อมาภายหลังจากสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า สิทธัตถะ พระองค์นั้น
ก็ว่างพระพุทธเจ้าไปกัปหนึ่ง
ที่สุดเก้าสิบสองกัปนับแต่กัปนี้ ก็บังเกิดพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์
ในกัปหนึ่ง คือ พระติสสะ และ พระปุสสะ
บรรดาพระพุทธเจ้าทั้ง ๒ พระองค์นั้น

พระมหาบุรุษพระนามว่า ติสสะ
ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้นแล้ว ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางปทุมาเทวี
ผู้มีพระเนตรงามดังกลีบปทุมอัครมเหสีของ พระเจ้าชนสันธะ กรุงเขมกะ
ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ อโนมราชอุทยาน.
ทรงครองฆราวาสวิสัย อยู่เจ็ดพันปี
พระองค์มีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่า คุหาเสละ นาริสยะ และ นิสภะ
มีพระสนมนารีสามหมื่นสามพันนาง
มี พระนางสุภัททาเทวี เป็นประมุข.
เมื่อ อานันทกุมาร พระโอรสของพระนางสุภัททาเทวีสมภพ
พระมหาบุรุษทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จขึ้นทรงม้าต้น ตัวเยี่ยม ชื่อว่า โสนุตตระ ออกมหาภิเนษกรมณ์
ทรงผนวช มนุษย์โกฏิหนึ่งก็บวชตามเสด็จ
พระองค์อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือน

ในวันวิสาขบูรณมีเสวยข้าวมธุปายาสที่ธิดา วีรเศรษฐี ณ วีรนิคม ถวายแล้ว
ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สลลวัน ป่าต้นช้างน้าว (อ้อยช้างก็ว่า)
เวลาเย็นทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ วิชิตสังคามกะ ถวายแล้ว
เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ อสนะ คือต้นประดู่
ทรงลาดสันถัตหญ้า กว้าง ๔๐ ศอก
ประทับนั่งขัดสมาธิเหนือบัลลังก์หญ้านั้น
ทรงกำจัดกองกำลังมารพร้อมด้วยตัวมาร บรรลุสัพพัญญุตญาณ
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 571
ฯ เป ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา
ทรงเห็นพระราชโอรส กรุงยสวดี สองพระองค์
พระนามว่า พรหมเทวะ และ อุทยะ พร้อมด้วยบริวาร
ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยสมบัติเสด็จไปทางอากาศ
เสด็จลงที่ยสวดีมิคทายวัน โปรดให้พนักงานเฝ้าพระราชอุทยานเชิญพระราชโอรสมาแล้ว
ทรงยังหมื่นโลกธาตุให้เข้าใจ ด้วยพระสุรเสียงดังพรหม ไม่พร่า ไพเราะซาบซึ้ง
ประกาศพระธรรมจักรแก่พระราชโอรสทั้งสองพระองค์นั้นกับทั้งบริวาร
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์ร้อยโกฏิ.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระสิทธัตถพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ติสสะ ผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบ
มีพระเดชไม่มีที่สุด มีพระบริวารยศหาประมาณมิได้ เป็นผู้นำเลิศแห่งโลก.
พระมหาวีระผู้ประกอบด้วยความเอ็นดู ผู้มีจักษุ
ทรงกำจัดอนธการคือความมืด ยังโลกทั้งเทวโลกให้สว่าง ทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก.
พระวรฤทธิ์ของพระองค์ ก็ชั่งไม่ได้ ศีลและสมาธิก็ชั่งไม่ได้
ทรงบรรลุพระบารมีในธรรมทั้งปวง
ทรงให้พระธรรมจักรเป็นไปแล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศพระวาจาอันสะอาด
ให้สัตว์ร้อยโกฏิในหมื่นโลกธาตุ ตรัสรู้ธรรมในการแสดงธรรมครั้งที่ ๑.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สพฺพตฺถ ความว่า ถึงฝั่งในธรรมทั้งปวง.
บทว่า ทสสหสฺสิมฺหิ ก็คือ ทสสหสฺสิยํ ในหมื่นโลกธาตุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 572

ภายหลังสมัยต่อมา
ในสมัยที่พระมหาบุรุษทรงละการอยู่เป็นหมู่แล้วเสด็จเข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์
ภิกษุที่บวชกับพระติสสศาสดาจำนวนโกฏิหนึ่ง
ก็แยกไปเสียที่อื่นแล้ว ครั้นภิกษุโกฏิหนึ่งนั้น
ทราบข่าวว่า พระติสสสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงประกาศพระธรรมจักร ก็พากันมาที่ยสวดีมิคทายวัน
ถวายบังคมพระทศพลแล้ว ก็นั่งล้อมพระองค์
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุเหล่านั้น
ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เก้าสิบโกฏิ.

ต่อมาอีก
ในมหามงคลสมาคม ในเมื่อจบมงคล อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่ สัตว์หกสิบโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
อภิสมัยครั้งที่ ๒ การตรัสรู้ธรรม ได้มีแก่ สัตว์เก้าสิบโกฏิ
อภิสมัยครั้งที่ ๓ การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่ สัตว์หกสิบโกฏิ
ในครั้งนั้น พระติสสพุทธเจ้า
ทรงเปลื้องสัตว์คือมนุษย์และเทวดาทั้งหลายจากเครื่องผูก.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ทุติโย นวุติโกฏินํ ความว่า อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
บทว่า พนฺธนาโต ก็คือ พนฺธนโต แปลว่า จากเครื่องผูก ความว่า  ทรงเปลื้องจากสังโยชน์ ๑๐.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงสัตว์ที่ทรงเปลื้อง โดยสรุป จึงตรัสว่า นรมรู.
บทว่า นรมรู ก็คือ นรามเร ได้แก่ มนุษย์และเทวดา.

ได้ยินว่า
พระติสสพุทธเจ้า อันพระอรหันต์ที่บวชภายในพรรษา ในยสวดีนครแวดล้อมแล้ว
ทรงปวารณาพรรษาแล้ว นั้น เป็น สันนิบาตครั้งที่ ๑.
เมื่อพระโลกนาถพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึง นาริวาหนนคร
นาริวาหนกุมาร โอรสของ พระเจ้าสุชาตะ ผู้เกิดดีทั้งสองฝ่าย พร้อมด้วยบริวาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 573
เสด็จออกไปรับเสด็จ นิมนต์พระทศพลพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์
ถวายอสทิสทาน ๗ วัน จึงมอบราชสมบัติของพระองค์แก่พระโอรส
พร้อมด้วยบริวารก็ทรงผนวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา
ในสำนักของพระติสสสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่แห่งโลกทั้งปวง.
นัยว่า การบรรพชาของพระองค์ปรากฏโด่งดังไปทุกทิศ.
เพราะฉะนั้น มหาชนมาจากทิศนั้น ๆ
บวชตามเสด็จพระนาริวาหนกุมาร
ครั้งนั้น พระตถาคตเสด็จไปท่ามกลางภิกษุเก้าล้าน
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๒.

ต่อมาอีก
ชนแปดล้านฟังธรรมกถาเรื่องพุทธวงศ์ ในสมาคมพระญาติ กรุงเขมวดี
ก็พากันบวชในสำนักของพระองค์แล้วบรรลุพระอรหัต.
พระสุคตเจ้าอันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๓.

ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระติสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
การประชุมพระสาวกขีณาสพแสนหนึ่ง เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑
ประชุมพระสาวกขีณาสพเก้าล้าน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน ผู้บานแล้วด้วยวิมุตติแปดล้าน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา
เป็นพระราชาพระนามว่า สุชาตะ กรุงยสวดี
ทรงสละราชอาณาจักรที่มั่นคงรุ่งเรือง กองทรัพย์หลายโกฏิ และคนใกล้ชิดที่มีใจจงรักภักดี
สังเวชใจในทุกข์มีชาติทุกข์เป็นต้น จึงออกผนวชเป็นดาบส มีฤทธานุภาพมาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 574
สดับข่าวว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก
ก็มีพระวรกายอันปีติ ๕ อย่างถูกต้องแล้ว มีความยำเกรง
ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าติสสะ
ถวายบังคมแล้วดำริว่า
จำเราจักบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกไม้ทิพย์ มีดอกมณฑารพ ดอกปาริฉัตตกะ เป็นต้น
ครั้นดำริอย่างนั้นแล้ว ก็ไปโลกสวรรค์ด้วยฤทธิ์ เข้าไปยังสวนจิตรลดา
บรรจุผอบ ที่สำเร็จด้วยรัตนะ ขนาดคาวุตหนึ่ง
ให้เต็มด้วยดอกไม้ทิพย์มีดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะและดอกมณฑารพ เป็นต้น
พามาทางท้องนภากาศ บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยดอกไม้ทิพย์ที่มีกลิ่นหอม
และกั้นดอกปทุมต่างฉัตรคันหนึ่ง ซึ่งมีด้ามเป็นมณี มีเกสรเป็นทอง
มีใบเป็นแก้วทับทิม เหมือนฉัตรที่สำเร็จด้วยเกสรหอม
ไว้เหนือพระเศียรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ยืนอยู่ท่ามกลางบริษัท ๔.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า เก้าสิบสองกัปนับแต่กัปนี้
จักเป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า สุชาตะ สละโภคสมบัติยิ่งใหญ่ บวชเป็นฤษี.
เมื่อเราบวชแล้ว พระผู้นำโลกก็อุบัติเพราะสดับเสียงว่าพุทโธ เราก็เกิดปีติ.
เราใช้มือทั้งสองประคองดอกไม้ทิพย์ คือ ดอกมณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะ

สะบัดผ้าคากรองเข้าไปเฝ้า.
เราถือดอกไม้นั้น กั้นพระติสสชินพุทธเจ้า
ผู้นำเลิศแห่งโลก อันบริษัท ๔ แวดล้อมแล้วไว้เหนือพระเศียร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 575
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางชน
ทรงพยากรณ์เราว่า เก้าสิบสองกัปนับแต่กัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตทรงทำความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า มยิ ปพฺพชิเต ได้แก่ เมื่อเราเข้าถึงความเป็นนักบวช.
อาจารย์ทั้งหลายเขียนไว้ในคัมภีร์ว่า มม ปพฺพชิตํสนฺตํ ปาฐะนั้น พึงเห็นว่าเขียนพลั้งเผลอ.
บทว่า อุปปชฺชถ ก็คืออุปฺปชฺชิตฺถ อุบัติขึ้นแล้ว.
บทว่า อุโภ หตฺเถหิ ก็คือ อุโภหิหตฺเถหิ.
บทว่า ปคฺคยฺห แปลว่า ถือแล้ว.
บทว่า ธุนมาโน ได้แก่ สะบัดผ้าเปลือกไม้.
บทว่า จาตุวณฺณปริวุตํ แปลว่า อันบริษัท ๔ แวดล้อมแล้ว
อธิบายว่า อันบริษัทคือ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดีและสมณะแวดล้อมแล้ว
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
จตุวณฺเณหิ ปริวุตํ อันวรรณะ ๔ แวดล้อมแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงมีพระนครชื่อ เขมะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าชนสันธะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางปทุมา
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระพรหมเทวะ และ พระอุทยะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสมังคะ
คู่พระอัครสาวิกาชื่อ พระผุสสา และ พระสุทัตตา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 576
โพธิพฤกษ์ ชื่อ อสนะต้นประดู่
พระสรีระสูง ๖๐ ศอก
พระชนมายุแสนปี

พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสุภัททา
พระโอรสพระนามว่า อานันทะ
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ม้า.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระติสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่อ เขมกะ
พระชนกพระนามว่า ชนสันธะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางปทุมา.

พระติสสพุทธเจ้า
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระอัครสาวก ชื่อพระพรหมเทวะ และพระสุทัตตา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า อสนะ ต้นประดู่.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยส่วนสูง ๖๐ ศอก
ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้เสมือน ปรากฏดังภูเขาหิมวันต์.
พระผู้มีจักษุดำรงอยู่ในโลก แสนปี
พระผู้มีพระเดชไม่มีผู้เทียบพระองค์นั้น ก็มีพระชนมายุเท่านั้น.
พระองค์ทั้งพระสาวก เสวยพระยศยิ่งใหญ่ อันสูงสุด เลิศ ประเสริฐ รุ่งเรืองแล้ว
ก็ปรินิพพานไปดังกองไฟที่ดับไปฉะนั้น.

พระองค์ทั้งพระสาวกก็ปรินิพพานไป เหมือนพลาหกเมฆฝน หายไปเพราะลม
เหมือนน้ำค้างเหือดหายไปเพราะดวงอาทิตย์ เหมือนความนิดหายไปเพราะดวงประทีปฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 577
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อุจฺจตฺตเน ก็คือ อุจฺจภาเวน โดยส่วนสูง.
บทว่า หิมวา วิย ทิสฺสติ ได้แก่ ปรากฏเด่นเหมือนภูเขาหิมวันต์ หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน
ความว่า หิมวันต์ปัญจบรรพต สูงร้อยโยชน์ ปรากฏเด่นชัดน่ารื่นรมย์ยิ่ง
เพราะแม้แต่อยู่ไกลแสนไกล ก็สูง และสงบเรียบร้อย ฉันใด
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ปรากฏเด่นชัดฉันนั้น.
บทว่า อนุตฺตโร ได้แก่ ไม่ยืนนัก ไม่สั้นนัก อธิบายว่า พระชนมายุแสนปี.
บทว่า อุตฺตมํ ปวรํ เสฏฺฐํ เป็นไวพจน์ของกันและกัน.
บทว่า อุสฺสโว ได้แก่ หยาดหิมะ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งพระสาวกอันลมดวงอาทิตย์และ
ดวงประทีป คือความเป็นอนิจจัง เบียดเบียนแล้วก็ปรินิพพาน เหมือนพลาหก
น้ำค้างและความมืด อันลมดวงอาทิตย์และดวงประทีปเบียดเบียนก็เหือดหายไป

ได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าติสสะ
เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณพระวิหารสุนันทาราม กรุงสุนันทวดี
คำที่เหลือในคาถาทั้งหลายทุกแห่ง ชัดแล้ว ทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระติสสพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 578


10

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 552
๑๖. วงศ์พระสิทธัตถพุทธเจ้าที่ ๑๖
ว่าด้วยพระประวัติของพระสิทธัตถพุทธเจ้า

[๑๗] ต่อจาก สมัยของพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้นำโลก
ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง ก็เจิดจ้าเหมือนดวงอาทิตย์อุทัย.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น
ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว
เมื่อทรงยังโลกทั้งเทวโลกให้ข้ามโอฆะ
เมื่อยังโลกทั้งเทวโลกให้ดับร้อน ก็ทรงหลั่งเมฆฝนคือธรรมให้ตกลงมา.
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชหาผู้เทียบไม่ได้พระองค์นั้น ก็ทรงมีอภิสมัย ๓ ครั้ง
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
ต่อมาอีก
ครั้งทรงลั่นธรรมเภรี ณ นครภีมรถะ อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งพระพุทธเจ้า ผู้สูงสุดในนรชนพระองค์นั้น
ทรงแสดงธรรมโปรด ณ กรุงเวภาระ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์เก้าสิบโกฏิ.

พระสิทธัตถพุทธเจ้า
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
สถาน ๓ เหล่านี้คือ สันนิบาตประชุมพระสาวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 553
ร้อยโกฏิ เก้าสิบโกฏิ และแปดสิบโกฏิเป็นสันนิบาตประชุมพระสาวก ผู้ไร้มลทิน.

สมัยนั้น เราเป็นดาบสชื่อ มังคละ
มีเดชสูง อันใคร ๆ พบได้ยาก ตั้งมั่นด้วยกำลังแห่งอภิญญา.
เรานำผลชมพูมาจากต้นชมพู ถวายแด่พระสิทธัตถพุทธเจ้า
พระสัมพุทธเจ้าทรงรับแล้ว ตรัสพระดำรัสดังนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย จงดูชฏิลดาบสผู้มีตบะสูงผู้นี้ เก้าสิบสี่กัปนับแต่กัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินไปตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.

แต่นั้น พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถาน
จักตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 554
พระอัครสาวกชื่อว่า พระโกลิตะ และพระอุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอานันทะ จักบำรุง พระชินเจ้าพระองค์นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และ พระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียก ต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตา และอุตตรา
พระโคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้น พระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์ และ เทวดาทั้งหลายพึงพระดำรัสนี้
ของพระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก พากันโห่ร้อง ปรบมือหัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถ พระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 555
พวกเราทุกคน ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้าพระองค์นิไซร้
ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ฉันนั้นเหมือนกัน .
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระนครชื่อว่า เวภาระ
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าอุเทน
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุผัสสา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี
มีปราสาทอย่างเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า โกกาสะ อุปปละและ โกกนุทะ
มีพระสนมนารีสี่หมื่นแปดพันนาง
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุมนา
พระโอรสพระนามว่า อนุปมะ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยพระวอ
ทรงบำเพ็ญเพียร ๑๐ เดือนเต็ม.

พระมหาวีรสิทธัตถะ ผู้นำโลก สูงสุดในนรชน
อันท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มิคทายวัน.

พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระสัมพละ และ พระสุมิตตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระเรวตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 556
ทรงมีพระอัครสาวิกาชื่อว่าพระสีวลา และพระสุรัมมา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น เรียกต้นกณิการ์.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุปปิยะและสัมพุทธะ
อัครอุปัฏฐายิกาชื่อว่า ธัมมา และสุธัมมา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูงขึ้นเบื้องบน ๖๐ ศอก เสมือนรูปปฏิมาทอง รุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้ชั่ง ไม่มีผู้เทียบ ผู้มีพระจักษุ พระองค์นั้น
ทรงดำรงพระชนม์อยู่ในโลก แสนปี.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงแสดงพระรัศมีอันไพบูลย์
ทรงยังสาวกทั้งหลายให้บานแล้ว ทรงพิลาสด้วยสมบัติอันประเสริฐ ปรินิพพาน.
พระสิทธัตถพุทธเจ้า วรมุนี ปรินิพพาน ณ พระวิหารอโนมาราม
พระวรสถูปของพระองค์ในพระวิหารนั้น สูง ๔ โยชน์.
จบวงศ์พระสิทธัตถพุทธเจ้าที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 557
พรรณนาวงศ์พระสิทธัตถพุทธเจ้าที่ ๑๖
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าธัมมทัสสีปรินิพพานแล้ว ศาสนาของพระองค์ก็อันตรธานไปแล้ว
เมื่อกัปนั้นล่วงไปและล่วงไปหนึ่งพันเจ็ดร้อยหกกัป
ในกัปหนึ่ง สุดท้ายเก้าสิบสี่กัปนับแต่กัปนี้
ก็ปรากฏมีพระศาสดาพระองค์หนึ่งพระนามว่า สิทธัตถะ
ผู้บรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง ผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่โลก.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ต่อจากสมัยของพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้นำโลก
ทรงกำจัดความมืดทั้งหมด เจิดจ้า เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย
แม้พระสิทธัตถโพธิสัตว์ ก็ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย.
บังเกิดในภพดุสิต จุติจากนั้นแล้ว
ก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสุผัสสาเทวี อัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน กรุงเวภาระ
ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระชนนี ณ วีริยราชอุทยาน
เมื่อพระมหาบุรุษสมภพแล้ว การงานที่คนทั้งปวงเริ่มไว้ และประโยชน์ที่ปรารถนา ก็สำเร็จ
เพราะฉะนั้น พระประยูรญาติทั้งหลายของพระองค์จึงเฉลิมพระนามว่า สิทธัตถะ
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี
ทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่า โกกาสะ อุปปละและปทุมะ๑ ปรากฏมีสนมนารีแปดหมื่นสี่พันนาง
มีพระนางโสมนัสสาเทวี เป็นประมุข.

เมื่อ พระอนุปมกุมาร โอรสของพระนางโสมนัสสาเทวีสมภพแล้ว
พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ ในวันอาสาหฬบูรณมี ก็ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยพระวอทอง
เสด็จไปยังวีริยราชอุทยาน ทรงผนวช มนุษย์แสนโกฏิก็บวชตามเสด็จ
๑. บาลีว่า โกกนุทะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 558

เล่ากันว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียร ๑๐ เดือน กับบรรพชิตเหล่านั้น
ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส ที่ธิดาพราหมณ์ชื่อ สุเนตตา
ตำบลบ้านอสทิสพราหมณ์ถวาย ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ ป่าพุทรา เวลาเย็น
ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียว ชื่อวรุณะถวาย
ทรงลาดสันถัตหญ้า ๔๐ ศอก
ประทับนั่งขัดสมาธิ บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯ เป ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ทรงยับยั้ง
อยู่ ๗ วัน ทรงเห็นภิกษุแสนโกฏิที่บวชกับพระองค์ เป็นผู้สามารถแทงตลอด
สัจจะ ๔ จึงเสด็จโดยทางอากาศ ลงที่คยามิคทายวัน
ทรงประกาศพระธรรมจักรแก่ภิกษุเหล่านั้น
ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ ภิกษุแสนโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น บรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว เมื่อทรงยังโลกทั้งเทวโลก ให้ข้ามโอฆะ
เมื่อทรงยังโลกทั้งเทวโลกให้ดับร้อน จึงทรงหลั่งฝนคือธรรมให้ตกลง.
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชที่ไม่มีผู้เทียบได้ พระองค์นั้น
ทรงมีอภิสมัย ๓ ครั้ง
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สเทวกํ ได้แก่ โลกทั้งเทวโลก.
บทว่า ธมฺมเมเฆน ได้แก่ เมฆฝน คือธรรมกถา
ต่อมาอีก
ทรงทำทิศทั้งสิบให้เต็มด้วยพระสุรเสียงดังพรหม เสนาะดังเสียงนกการเวกร้อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 559
สบายโสตไพเราะอย่างยิ่ง จับใจบัณฑิตชน เฉกเช่นอภิเษกด้วยน้ำอมฤต
ทรงลั่นอมตธรรมเภรี ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
ต่อมาอีก
พระสิทธัตถพุทธเจ้า
ทรงลั่นกลองธรรม ในภีมรถนคร อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งพระสิทธัตถพุทธเจ้า ทรงแสดงพุทธวงศ์ในสมาคมพระญาติ
กรุงเวภาระ ทรงยังธรรมจักษุให้เกิดแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดในนรชนพระองค์นั้น
ทรงแสดงธรรม อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
พระราชาสองพี่น้องพระนาม สัมพละ และ สุมิตตะ
ทรงครองราชย์ ณ อมรนคร ซึ่งงามน่าดูดั่งนครแห่งเทพ

ลำดับนั้น
พระสิทธัตถศาสดา
ทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของพระราชาสองพระองค์นั้น
จึงเสด็จไปทางนภากาศลงท่านกลางอมรนคร
ทรงแสดงเจดีย์คือรอยพระบาทเหมือนเหยียบพื้นแผ่นดิน ด้วยพระยุคลบาท
ซึ่งมีฝ่าพระบาทประดับด้วยจักร แล้วเสด็จไปยังอมรราชอุทยาน
ประทับนั่งเหนือพื้นศิลา ที่เย็นด้วยพระกรุณาของพระองค์ อันน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง
แต่นั้น พี่น้องสองพระราชา เห็นพระเจดีย์คือรอยพระบาท
ก็เสด็จไปตามรอยพระบาท เข้าเฝ้าพระสิทธัตถศาสดาผู้บรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง
ถวายบังคมแล้วประทับนั่งล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอันเหมาะแก่พระอัธยาศัยโปรดพระราชาสองพี่น้องนั้น
สองพระองค์ทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดาพระองค์นั้นแล้ว เกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 560
พระศรัทธา ทรงผนวชแล้วบรรลุพระอรหัตทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางพระขีณาสพร้อยโกฏินั้น นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางบรรพชิตเก้าสิบโกฏิ
ในสมาคมพระญาติ กรุงเวภาระ นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางบรรพชิตแปดสิบโกฏิ
ที่ประชุมกัน ณ พระสุทัสสนวิหาร นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาต ประชุมสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
สถาน ๓ เหล่านี้ คือ
สันนิบาตพระสาวกร้อยโกฏิ เก้าสิบโกฏิ แปดสิบโกฏิ
เป็นสันนิบาตของพระสาวกขีณาสพผู้ไร้มลทิน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า นวุตีนํ อสีติยาปิ จ โกฏินํ ความว่า มีสันนิบาตแห่งพระสาวกเก้าสิบโกฏิ และแปดสิบโกฏิ.
บทว่า เอเต อาสุํตโย ฐานา ความว่า มีสถานที่สันนิบาต ๓ เหล่านั้น.
ปาฐะว่า ฐานาเนตานิ ตีณิ อเหสุํ ดังนี้ก็มี.

สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพราหมณ์ชื่อว่า มังคละ กรุงสุรเสน
จบไตรเพทและเวทางคศาสตร์ บริจาคกองทรัพย์นับได้หลายโกฏิ
เป็นผู้ยินดีในวิเวก บวชเป็นดาบส ยังฌานและอภิญญาให้เกิดอยู่

ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ
อุบัติขึ้นแล้วในโลกจึงเข้าไปเฝ้า ถวายบังคมแล้วฟังธรรมกถาของพระองค์
แล้วเข้าไปยังต้นชมพู อันเป็นเครื่องหมายของชมพูทวีปนี้ด้วยฤทธิ์
นำผลชมพูมาแล้วอาราธนาพระสิทธัตถศาสดาผู้มีภิกษุบริวารเก้าสิบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 561
โกฏิ ให้ประทับในสุรเสนวิหาร เลี้ยงดูด้วยผลชมพู ให้ทรงอิ่มหนำสำราญ
ลำดับนั้น
พระศาสดาเสวยผลชมพูนั้นแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า ในที่สุดเก้าสิบสี่กัป
นับแต่กัปนี้ จักเป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่าโคตมะ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นดาบสชื่อมังคละ มีเดชสูง อัน
ใครๆ เข้าพบได้ยาก ตั้งมั่นด้วยกำลังแห่งอภิญญา.
เรานำผลชมพูมาจากต้นชมพู ได้ถวายแด่พระสิทธัตถพุทธเจ้า
พระสัมพุทธเจ้าทรงรับแล้ว ตรัสพระดำรัสดังนี้ว่า
ท่านทั้งหลายจงดูชฎิลดาบสผู้มีตบะสูงผู้นี้ เก้าสิบสีกัปนับแต่กัปนี้ ดาบสผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ทุปฺปสโห แปลว่า อันใครๆ เข้าหาได้ยาก หรือปาฐะก็อย่างนั้นเหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงมีพระนครชื่อ เวภาระ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอุเทน
พระนามว่า พระเจ้าชัยเสน บ้างก็มี
พระชนนีพระนามว่า สุผัสสา
คู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสัมพละ และพระสุมิตตะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระเรวตะ
คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวลา และพระสุรามา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 562
พระชนมายุแสนปี
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนาง โสมนัสสา
พระโอรสพระนาม อนุปมะ
ออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยพระวอทอง

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่อเวภาระ
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าอุเทน
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุผัสสา.
พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่

มีพระอัครสาวกชื่อว่า พระสัมพละ และพระสุมิตตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระเรวตะ.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระสีวลา และพระสุรามา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกกณิการะ ต้นกรรณิการ์.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูงขึ้นสู่ฟ้า ๖๐ ศอก
เสมือนรูปปฏิมาทอง จึงรุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ อันใครชั่งไม่ได้
เปรียบไม่ได้ ผู้มีจักษุพระองค์นั้น ทรงดำรงอยู่ในโลกแสนปี.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงแสดงพระรัศมีอันไพบูลย์
ยังสาวกทั้งหลายให้บานแล้ว ให้งดงามแล้ว
ด้วยสมาบัติ อันประเสริฐแล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 563
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สุฏฺฐิรตนํ ความว่า สูงจรดท้องฟ้าประมาณ ๖๐ ศอก.
บทว่า กญฺจนคฺฆิยสงฺกาโส ได้แก่ น่าดูเสมอรูปปฏิมาที่สำเร็จด้วยทอง วิจิตรด้วยรัตนะต่างๆ.
บทว่า ทสสหสฺสี วิโรจติ แปลว่า รุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ.
บทว่า วิปุลํ ได้แก่ พระรักมีอันโอฬาร.
บทว่า ปุปฺผาเปตฺวาน ความว่า ทำให้บานแล้วด้วยดอกไม้ คือฌานอภิญญา
มรรคผลและสมาบัติ ถึงความโสภาคย์อย่างยิ่ง.
บทว่า วิลาเสตฺวา ได้เยื้องกรายเล่นแล้ว.
บทว่า วรสมาปตฺติยา ได้แก่ ด้วยสมาบัติและอภิญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ.
บทว่า นิพฺพุโต ได้แก่ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทาปรินิพพาน.
ได้ยินว่า
พระสิทธัตถศาสดา เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ณ อโนมราชอุทยาน กรุงกาญจนเวฬุ ณ พระราชอุทยานนั้นนั่นเอง
เขาช่วยกันสร้างพระเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะ สูง ๔ โยชน์ สำหรับพระองค์แล
ในคาถาทั้งหลายที่เหลือ ก็ชัดเจนแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระสิทธัตถพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 564



11

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 540
๑๕. วงศ์พระธัมมทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๕
ว่าด้วยพระประวัติของพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า

[๑๖] ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทรงกำจัด
อนธการคือความมืดได้แล้ว ก็เจิดจ้าในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.

ครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชไม่มีใครเทียบพระองค์นั้น
ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
ครั้งพระธัมนทัสสีพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนสัญชัยฤษี อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งท้าวสักกะพร้อมทั้งบริษัท เข้าเฝ้าพระผู้นำพิเศษ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่ สัตว์แปดสิบโกฏิ.

พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้เป็นเทพแห่งเทพ พระองค์นั้น
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ
ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.

ครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า เข้าจำพรรษา ณ กรุงสรณะ
พระสาวกพันโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 541
ต่อมาอีก
ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกมาสู่มนุษยโลก
พระสาวกร้อยโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๒.

ต่อมาอีก
ครั้งพระพุทธเจ้าทรงประกาศธุดงคคุณ
พระสาวกแปดสิบโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

สมัยนั้น เราเป็นท้าวสักกปุรินททะ
ได้บูชาด้วยของหอมดอกไม้และดนตรี อันเป็นทิพย์.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางเทวดา
ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์ตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วเสด็จเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางดี อันเขาจัดแต่งไว้แล้ว ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 542
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักเป็นพระโคตมะ.
พระอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงท่านพระชินเจ้าพระองค์นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และ พระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มิจิตสงบ ตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และ อุตตรา
พระโคดม ผู้มีพระยศพระองค์นั้น จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
ฟังพระดำรัสนี้ของพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้นแล้ว
ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ พร้อมทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง
ปรบมือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถ พระองค์นิไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 543
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า
ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป
เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

พระธัมมทัสสีศาสดา
มีพระนคร ชื่อว่า สรณะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสรณะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุนันทา.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่แปดพันปี
มีปราสาทอย่างเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า อรชะ วิรชะ และสุทัสสนะ.
มีพระสนมนารี แต่งกายงามสี่หมื่นนาง
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิจิโกฬี
พระโอรสพระนามว่า พระปุญญวัฒนะ.
พระผู้เป็นยอดบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน.

พระมหาวีระ ธัมมทัสสีนราสภ
ผู้เลิศกว่านรชนอันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศ พระธรรมจักร ณ มิคทายวัน.
พระอัครสาวก ชื่อว่า พระปทุมะ พระปุสสเทวะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระสุทัตตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 544
พระอัครสาวกาชื่อว่า พระเขมาและ พระสัจจนามา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่าพิมพิชาละ ต้นมะกล่ำเครือ.
อัครอุปัฏฐากชื่อว่า สุภัททะ และกฏิสสหะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า สาฬิสา และกฬิสสา.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ สูง ๘๐ ศอก
รุ่งโรจน์ด้วยพระเดช ในหมื่นโลกธาตุ.
พระองค์งดงาม เหมือนต้นพญาสาลพกฤษ์ที่ออกดอกบานสะพรั่ง
เหมือนสายฟ้าในนภากาศเหมือนดวงอาทิตย์เที่ยงวัน.
พระผู้มีพระจักษุดำรงอยู่ในโลกแสนปี
พระชนมายุของพระองค์ ผู้มีพระเดชไม่มีใครเทียบ พระองค์นั้น ก็เท่าๆ กับสัตว์อื่น.
พระองค์ทั้งพระสาวก
ทรงแสดงพระรัศมีทำพระศาสนาให้ไร้มลทินแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน
เหมือนดวงจันทร์เคลื่อนจากท้องนภากาศ.

พระมหาวีระธัมมทัสสี ปรินิพพาน ณ พระวิหารเกสาราม
พระสถูปของพระองค์สูง ๓ โยชน์.
จบวงศ์พระธัมมทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 545

พรรณนาวงศ์พระธัมมทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๕
เมื่อพระอัตถทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว อันตรกัปก็ล่วงไปแล้ว
เมื่อสัตว์ทั้งหลายที่มีอายุนับไม่ได้ลดลงโดยลำดับ จนมีอายุได้แสนปี
พระศาสดาพระนามว่า ธัมมทัสสี
ผู้ทำความสว่างแก่โลก ทำการกำจัดมลทินมีโลภะเป็นต้น เป็นนายกเอกของโลก
อุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ก็ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้นแล้ว ก็ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางสุนันทาเทวี
อัครมเหสีของพระเจ้าสรณะ ผู้เป็นที่พึ่งของโลกทั้งปวง ณ กรุงสรณะ
ถ้วนกำหนดทศมาส พระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ สรณะราชอุทยาน
เหมือนจันทร์เพ็ญโคจรลอดช่องเมฆ ในฤดูฝน เมื่อพระมหาบุรุษ
พอประสูติจากพระครรภ์พระชนนีเท่านั้น
โวหารการว่ากล่าวที่ไม่ชอบธรรม ในศาสตร์และคัมภีร์อันกล่าวด้วยเรื่องอธิกรณ์ (การตัดสินคดี)
ก็เสื่อมหายไปเองแล ดำรงอยู่แต่การว่ากล่าวที่ชอบธรรมเท่านั้น
ด้วยเหตุนั้น ในวันเฉลิมพระนามของพระองค์
พระชนกชนนีจึงเฉลิมพระนามว่า ธัมมทัสสี
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่แปดพันปี
นัยว่าทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่า อรชะ วิรชะ และ สุทัสสนะ
มีพระสนมนารีสองแสนสองหมื่นนาง
มีพระนาง วิจิโกฬิเทวี เป็นประมุข.

เมื่อพระโอรสพระนามว่า ปุญญวัฒนะ ของพระนาง วิจิโกฬิเทวีสมภพ
พระมหาบุรุษนั้น ทรงเห็นนิมิต ๔ ทรงเป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่งเหมือนเทพกุมาร
เสวยสมบัติเหมือนเทพสมบัติ
ทรงลุกขึ้นในยามกลาง ประทับบนที่สิริไสยาสน์
ทรงเห็นอาการอันวิการของเหล่าสนมที่หลับไหล ก็เกิดสังเวช เกิดจิตคิดออกมหาภิเนษกรมณ์
ในลำดับเกิดจิตนั่นแล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 546
สุทัสสนปราสาทของพระองค์ก็ลอยขึ้นสู่นภากาศ อันจตุรงค์เสนาแวดล้อมแล้ว
ลอยไปเหมือนดวงอาทิตย์และเหมือนเทพวิมาน
แล้วก็ลงตั้งอยู่ใกล้โพธิพฤกษ์ชื่อต้น รัตตกุรวกะ มะกล่ำทอง

ได้ยินว่า
พระมหาบุรุษ ทรงรับผ้ากาสายะที่ท้าวมหาพรหมน้อมถวาย
ทรงผนวชแล้ว เสด็จลงจากปราสาท ประทับยืนอยู่ไม่ไกล.
ปราสาทก็ลอยไปทางอากาศอีก ทำโพธิพฤกษ์ไว้ข้างในแล้วตั้งลงที่แผ่นดิน
แม้นางสนมนารีพร้อมทั้งบริวาร ก็ลงจากปราสาท เดินไปชั่วครึ่งคาวุตก็หยุด ณ ที่นั้น
เว้น นางสนมนารี ปริจาริกาและหญิงรับใช้ของนางสนมเหล่านั้น
มนุษย์ทุกคนก็บวชตามเสด็จ ภิกษุทั้งหลาย ก็มีจำนวนถึงแสนโกฏิ.

ลำดับนั้น
พระธัมมทัสสีโพธิสัตว์
ทรงบำเพ็ญความเพียร ๗ วัน
เสวยข้าวมธุปายาสที่ พระนางวิจิโกฬิเทวี ถวาย
ทรงพักกลางวัน ณ ป่าพุทรา
เวลาเย็นทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อสิริวัฒนะถวาย
แล้วเสด็จไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อพิมพิชาละ ต้นมะกล่ำเครือ
ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๕๓ ศอก
ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิพฤกษ์นั้น
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯ ล ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา แล้ว
ทรงยับยั้งอยู่ใกล้ ๆ โพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์
ทรงรับอาราธนาท้าวมหาพรหมแล้วทรงทราบว่า
ภิกษุแสนโกฏิที่บวชกับพระองค์เป็นผู้สามารถแทงตลอดพระสัทธรรมได้
ก็เสด็จหนทาง ๑๘ โยชน์ วันเดียวเท่านั้นก็ถึงอิสิปตนะ อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ก็ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ อิสิปตนะนั้น ครั้งนั้นอภิสมัยครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่ภิกษุแสนโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง
พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ก็กำจัดความมืดมนอนธการแล้วเจิดจ้าในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 547

ในกาลที่พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชที่ไม่มีผู้เทียบได้พระองค์นั้น
ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ ภิกษุแสนโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตมนฺธการํ ความว่า ได้แก่ อนธการ คือโมหะ ที่ชื่อว่า ตมะ.

ครั้งพระราชาพระนามว่า สัญชัย ในนครชื่อ ตคระ
ทรงเห็นโทษในกาม และคุณอันเกษมในเนกขัมมะ จึงทรงผนวชเป็นฤษี
คนเก้าหมื่นโกฏิบวชตามเสด็จ ชนเหล่านั้น ได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ หมดทุกคน
ครั้งนั้น พระธัมมทัสสีศาสดาทรงเห็นอุปนิสสัยสมบัติของชนเหล่านั้น
จึงเสด็จไปทางอากาศ ถึงอาศรมบทของสัญชัยดาบสแล้ว ทรงยืนอยู่ในอากาศ
ทรงแสดงธรรมอันเหมาะแก่อัธยาศัยของดาบสเหล่านั้น
ทรงยังธรรมจักษุให้เกิดขึ้นนั้น เป็นอภิสมัย ครั้งที่ ๒.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า
ทรงสั่งสอนสัญชัยฤษี อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งท้าวสักกะจอมทวยเทพ
ประสงค์จะฟังธรรมของพระทศพล จึงเสด็จเข้าไปเฝ้า อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดสิบโกฏิ.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งท้าวสักกะพร้อมทั้งบริษัทเข้าเฝ้า
พระผู้เป็นนายกพิเศษ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์แปดสิบโกฏิ.
 
ส่วนครั้ง พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า
ทรงบวช พระปทุมกุมาร และพระปุสสเทวกุมาร
พระกนิษฐภาดาต่างพระมารดา พร้อมทั้งบริวารในกรุงสรณะ
ทรงทำสุทธิปวารณา ท่ามกลางภิกษุแสนโกฏิ
ซึ่งบวชภายในพรรษานั้น นั้นเป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 548

ต่อมาอีก
ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก
ภิกษุร้อยโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒
ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศคุณานิสงส์เเห่งธุดงค์ ๑๓ ณ พระสุทัสสนาราม
ทรงสถาปนาพระมหาสาวก ชื่อ หาริตะ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางภิกษุแปดสิบโกฏิ นั้นเป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๓.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระธัมมทัสสี ผู้เป็นเทพแห่งเทพ แม้พระองค์นั้น
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.

ครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า จำพรรษา ณ กรุงสรณะ
ภิกษุสาวกแสนโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
ต่อมาอีก
ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกมา
สู่มนุษย์โลก ภิกษุสาวกร้อยโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.

ต่อมาอีก
ครั้งพระพุทธเจ้าทรงประกาศธุดงคคุณ
ภิกษุสาวกแปดสิบโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นท้าวสักกเทวราช
อันทวยเทพในเทวโลกทั้งสองแวดล้อมแล้ว
เสด็จมาบูชาพระตถาคต ด้วยของทิพย์มีของหอมและดอกไม้เป็นต้น และด้วยทิพยดนตรี
พระศาสดาแม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า
ในอนาคตกาล จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 549
ครั้งนั้น เราเป็นท้าวสักกปุรินททะ ได้บูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และดนตรีทิพย์.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางเทวดา
ทรงพยากรณ์เราว่า ล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงมีพระนครชื่อ สรณะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสรณะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุนันทา
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระปรุมะ และ พระปุสสเทวะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า สุเนตตะ๑
คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และ พระสัจจนามา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่า พิมพิชาละ ต้นมะกล่ำเครือ
พระสรีระสูง ๘๐ ศอก
พระชนมายุแสนปี
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวิจิโกฬิเทวี
พระโอรสพระนามว่า พระปุญญวัฒนะ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระธัมมทัสสีศาสดา
ทรงมีพระนครชื่อว่าสรณะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสรณะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุนันทา.
พระธัมมทัสสีศาสดา มีพระอัครสาวก ชื่อว่า
พระปทุมะ และ พระปุสสเทวะ พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระสุเนตตะ.
๑. บาลีเป็น ลุทัตตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 550
พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระเขมาและพระสัจจนามา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นพิมพิชาละ.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น สูง ๘๐ ศอก
ทรงรุ่งโรจน์ด้วยพระเดชในหมื่นโลกธาตุ.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น งดงามเหมือนต้นพญาสาลพฤกษ์ที่ออกดอกบานสะพรั่ง
เหมือนสายฟ้าในนภากาศ เหมือนดวงอาทิตย์เที่ยงวัน.
พระผู้มีพระจักษุดำรงอยู่ในโลกแสนปี
พระชนมายุของพระผู้มีพระเดช ที่ไม่มีใครเทียบพระองค์นั้น ก็เท่านั้น.
พระองค์ทั้งพระสาวก แสดงพระรัศมีทำพระศาสนาให้ไร้มลทินแล้ว
ก็ปรินิพพานเหมือนดวงจันทร์เคลื่อนจากต้องนภากาศ.

แก้อรรถ
ต้นมะกล่ำทอง ชื่อว่า ต้นพิมพิชาละในพระคาถานั้น.
บทว่า ทสสหสฺสิมฺหิ ธาตุยา ก็คือ ทสสหสฺสิยา โลกธาตุยา ในหมื่นโลกธาตุ.
บทว่า วิชฺชูว ก็คือ วิชฺชุลตา วิย เหมือนสายฟ้า.
บทว่า อุปโสภถ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
งดงามเหมือนสายฟ้าและเหมือนดวงอาทิตย์งามเวลาเที่ยงวันฉะนั้น .
บทว่า สมกํ ความว่า พระชนมายุของพระองค์ ก็เท่า ๆ กับนรสัตว์ทั้งปวง.
บทว่า จวิ แปลว่า เคลื่อนแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 551
บทว่า จนฺโทว ความว่า เหมือนดวงจันทร์เคลื่อนจากท้องฟ้า.
ได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าธัมมทัสสี ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารเกสาราม กรุงสาลวดี
คำที่เหลือในคาถาทุกแห่งชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 552



12

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 527
๑๔. วงศ์พระอัตถทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๔
ว่าด้วยพระประวัติของพระอัตถทัสสีพุทธเจ้า

[๑๕] ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ทรงกำจัดความมืดใหญ่บรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม.
พระองค์อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร
ทรงยังหมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลกให้อิ่มด้วยอมตธรรม.
พระโลกนาถแม้พระองค์นั้น ก็ทรงมีอภิสมัย ๓ ครั้ง
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
ครั้งพระอัตถทัสสีพุทธเจ้า เสด็จจาริกไปในเทวโลก
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
ต่อจากนั้น ครั้งพระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมโปรดในสำนักพระชนก
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.

พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น
มีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
พระสาวกเก้าหมื่นแปดพันประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑
พระสาวกแปดหมื่นแปดพันประชุมกันเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 528
พระสาวกผู้หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่น ไร้มลทิน
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ เจ็ดหมื่นเจ็ดพันประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

สมัยนั้น เราเป็นชฎิลผู้มีตบะสูง โดยชื่อสุสีมะ
อันแผ่นดินคือโลก สมมติว่าเป็นผู้ประเสริฐ.

เรานำดอกไม้ทิพย์คือ มณฑารพ ปทุม และปาริฉัตตกะ มาจากเทวโลก บูชาพระสัมพุทธเจ้า.
พระมหามุนีอัตถทัสสีพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์เราว่า ล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาสในที่นั้น เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัด
แต่งไว้แล้ว ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัสสัตถะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 529
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักเป็นพระโคตมะ.
พระอัครสาวกชื่อว่าพระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะจักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และ พระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตา และ อุตตรา
พระโคดมพุทธเจ้า ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
ฟังพระดำรัสนี้ของพระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ พร้อมทั้งเทวโลก พากันโห่ร้อง
ปรบมือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ข้างหน้า ก็จะถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ฉันใด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 530
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์ ก็ยินดีสลดใจ
 จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระนครชื่อ โสภณะ
พระชนกพระนานว่า พระเจ้าสาคระ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุทัสสนา.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี
มีปราสาทชั้นยอด ๓ หลังชื่อว่า อมรคิรี สุรคิรี และคิริวาหนะ
มีพระสนมนารีแต่งกายงามสามหมื่นสามพันนาง
มีพระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวิสาขา
พระโอรสพระนามว่า เสละ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือ ม้า
ทรงตั้งความเพียร ๘ เดือนถ้วน.

พระมหาวีระอัตถทัสสี ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ผู้องอาจในนรชน อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ที่อโนมราชอุทยาน.

พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระสันตะ และพระอุปสันตะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอภยะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 531
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระธัมมา และ พระสุธัมมา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นจัมปกะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นกุละ และ นิสภะ
อัครอุปัฏฐายิถา ชื่อว่า มกิลา และ สุนันทา.
พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วย พระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น สูง ๘๐ ศอก
งามเหมือนพญาสาลพฤกษ์ บริบูรณ์เหมือนดวงจันทร์.
พระรัศมีตามปกติของพระองค์ หลายร้อยโกฏิ
แผ่ไปโยชน์หนึ่งทั้งสิบทิศ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างทุกเมื่อ.
พระพุทธเจ้า ผู้ล้ำเลิศในนรชน เป็นมุนี ยอดสรรพสัตว์ ผู้มีจักษุ ทรงดำรงอยู่ในโลกแสนปี.

พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า แม้พระองค์นั้น
ทรงแสดงพระรัศมี อันหาอะไรเปรียบมิได้ เจิดจ้าไปในโลกทั้งเทวโลก
ถึงความเป็นผู้ไม่เที่ยง ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
เพราะสินอุปาทาน เหมือนดวงไฟดับเพราะสิ้นเชื้อฉะนั้น.
พระชินวรอัตถทัสสีพุทธเจ้า ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารชื่อ อโนมาราม.
พระบรมสารีริกธาตุ ก็แผ่กระจายไปเป็นส่วนๆ ในประเทศนั้นๆ.
จบวงศ์พระอัตถทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 532

[/b][/color]พรรณนาวงศ์พระอัตถทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๔
เมื่อพระปิยทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
พระศาสนาของพระองค์ก็อันตรธานแล้วเสื่อมไป
เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย มีอายุนับประมาณมิได้เจริญแล้ว ก็เสื่อมลงโดยลำดับ จนมีอายุแสนปี

พระพุทธเจ้าพระนามว่า อัตถทัสสี
ผู้เห็นอรรถอย่างยิ่ง ก็อุบัติขึ้นในโลก.
พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้นแล้วถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสุทัสสนเทวี
อัครมเหสีในราชสกุลของ พระเจ้าสาคระ กรุงโสภณะที่งามอย่างยิ่ง
อยู่ในพระครรภ์ ๑๐ เดือน ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ สุจินธนราชอุทยาน.
พอพระมหาบุรุษประสูติจากพระครรภ์พระชนนี
เจ้าของทรัพย์ทั้งหลาย ก็พากันได้ขุมทรัพย์ใหญ่ ที่ฝังกันไว้นาน สืบๆ ตระกูลกันมา
เพราะเหตุนั้น ในวันรับพระนามของพระองค์
พระชนกชนนีจึงเฉลิมพระนามว่า อัตถทัสสี
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี.

ทรงมีปราสาท ๓ หลังที่มีกลิ่นหอมอย่างยิ่ง ชื่อ อมรคิรี สุรคิรี และคิริวาหนะ
มีพระสนมนารีสามหมื่นสามพันนาง มีพระนางวิสาขาเทวีเป็นประมุข.
เมื่อพระโอรสพระนามว่า เสลกุมาร ของ พระนางวิสาขาเทวี
ทรงสมภพ พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ ขึ้นทรงพญาม้าชื่อ สุทัสสนะ
เสด็จออกมหาอภิเนษกรมณ์ทรงผนวช มนุษย์เก้าโกฏิก็บวชตามเสด็จ
พระมหาบุรุษอันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือน

ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาสที่มหาชนนำมาเป็นเครื่องสังเวยนางนาคชื่อว่า สุจินธรา
นางนาคที่มีเรือนร่างทุกส่วนอันมหาชนเห็นอยู่ ถวายพร้อมด้วยถาดทอง
ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สวนสาละรุ่น ที่ประดับด้วยต้นไม้รุ่น ๑๐ ต้น เวลาเย็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 533
ทรงรับหญ้าคา ๘ กำ ที่พญานาคชื่อ มหารุจิ ผู้ชอบใจธรรมถวาย แล้ว
เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ จัมปกะ ต้นจำปา
ทรงลาดสันถัตหญ้าคากว้างยาว ๕๓ ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิ
ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ ทรงเปล่งพระอุทานว่า
อเนกชาติสํสารํ ฯ ล ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์
ทรงประพฤติมา ทรงยับยั้งอยู่ ณ ที่ใกล้โพธิพฤกษ์ ๗ วัน
ทรงรับอาราธนาแสดงธรรมของท้าวมหาพรหม
ทรงเห็นภิกษุใหม่เก้าโกฏิที่บวชกับพระองค์เป็นผู้สามารถแทงตลอดอริยธรรมได้
เสด็จไปทางอากาศลงที่อโนมราชอุทยานใกล้อโนมนคร อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ที่นั้น
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
ต่อมาอีก
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นำโลกเสด็จจาริกไปในเทวโลก
ทรงแสดงธรรมโปรดในที่นั้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ
ก็ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าอัตถทัสสี เสด็จเข้าไปยังกรุงโสภณะ เหมือนพระผู้มีพระภาค
เจ้าของเราเสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงธรรมโปรด ธรรมาภิสมัย
ครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ก็ทรงกำจัดความมืดใหญ่ บรรลุพระโพธิญาณอันอุดม.
พระองค์ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ทรงยังหมื่นโลกธาตุ พร้อมทั้งเทวโลกให้อิ่มด้วยอมฤตธรรม.
พระโลกนาถแม้พระองค์นั้น ก็ทรงมีอภิสมัย ๓ ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 534
ครั้งพระอัตถทัสสีพุทธเจ้า
เสด็จจาริกไปในเทวโลก อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
ต่อมา
ครั้งพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม
ในสำนักพระชนก อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตตฺเถว ความว่า ในกัปนั้นนั่นเอง

แต่ในที่นี้ วรกัปท่านประสงค์เอาว่ามัณฑกัป ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลัง
ในการพรรณนาวงศ์ของพระปทุมุตตรพุทธเจ้าว่า
ในกัปใด บังเกิดพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ กัปนั้นชื่อว่า วรกัป
เพราะฉะนั้นในที่นี้ วรกัป ท่านจึงประสงค์เอาว่า มัณฑกัป.
บทว่า นิหนฺตฺวาน แปลว่า กำจัดแล้ว หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า สนฺโต แปลว่า มีอยู่.
บทว่า อมเตน ได้แก่ ด้วยดื่มอมฤตธรรมคือการบรรลุมรรคผล.
บทว่า ตปฺปยิ แปลว่า ให้อิ่มแล้ว อธิบายว่าให้อิ่มหนำสำราญ.
บทว่า ทสสหสฺสี ก็คือ ทสสหสฺสิโลกธาตุํ.
บทว่า เทวจาริกํ ความว่า จาริกไปในเทวโลก เพื่อแนะนำเทวดาทั้งหลาย

ได้ยินว่า
ในสุจันทกนคร พระสันตราชโอรสและอุปสันตะบุตรปุโรหิต
ไม่เห็นสาระในไตรเพทและลัทธิสมัยอื่นทุกอย่าง จึงวางคนที่รอบรู้และแกล้ว
กล้าไว้ ๔ คน ที่ประตูทั้ง ๔ ของพระนคร
โดยสั่งว่า พวกท่านเห็นหรือได้ยินสมณะหรือพราหมณ์ที่เป็นบัณฑิตผู้ใด
พวกท่านจงมาบอกเรา
สมัยนั้น
พระโลกนาถอัตถทัสสี เสด็จถึง สุจันทกนคร.
ลำดับนั้น พวกบุรุษที่คนเหล่านั้นบอกแล้ว
ก็พากันไปแจ้งการเสด็จมาในที่นั้นของพระทศพลแก่สองท่านนั้น
แต่นั้นพระสันตราชโอรสและอุปสันตะบุตรปุโรหิต ฟังข่าวการเสด็จมาของพระตถาคต ก็มีใจร่าเริง
มีบริวารพันหนึ่งไปรับเสด็จพระทศพลผู้ไม่มีผู้เสมอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 535
ถวายบังคมแล้วนิมนต์ ถวายมหาทานที่ไม่มีใครเทียม แด่พระสงฆ์มีพระพุทธ
เจ้าเป็นประธาน วันที่ ๗ ก็ฟังธรรมกถาพร้อมด้วยผู้คนชาวนครทั้งสิ้น เขาว่า
วันนั้น บุรุษเก้าหมื่นแปดแสน
พากันบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาแล้วบรรลุพระอรหัต
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางบริษัทนั้น นั้นเป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๑.
ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรมแก่พระเสลเถระ โอรสของพระองค์
ทรงยังบุรุษแปดหมื่นแปดพันให้เลื่อมใสแล้ว ให้บวชด้วยเอหิภิกขุภาวะให้เขาบรรลุพระอรหัตแล้ว
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ต่อมาอีก
เมื่อทรงแสดงธรรมแก่เทวดาและมนุษย์วันมาฆบูรณมีในมหามงคลสมาคม
ทรงยังสัตว์เจ็ดหมื่นแปดพันให้บรรลุพระอรหัต
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ พระองค์นั้น
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง.
พระสาวกเก้าหมื่นแปดพันประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑
พระสาวกแปดหมื่นแปดพันประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
พระสาวกขีณาสพ ผู้หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่น ผู้ไร้มลทิน
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่เจ็ดหมื่นเจ็ดพันประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา
อันโลกสมมติว่าเป็นพราหมณ์มหาศาล ชื่อสุสิมะ
ในนครจัมปกะ พระโพธิสัตว์นั้นสละสมบัติทุก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 536
อย่าง แก่คนจน คนอนาถา คนกำพร้า คนเดินทางไกลเป็นต้น ไปใกล้ป่า
หิมพานต์ บวชเป็นดาบส ยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดแล้ว เป็นผู้
มีฤทธานุภาพมาก แสดงความไม่มีโทษและความมีโทษ แห่งกุศลธรรมและ
อกุศลธรรมทั้งหลายแก่มหาชน รอคอยการอุบัติแห่งพระพุทธเจ้า.
สมัยต่อมา
เมื่อพระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ผู้นำโลกทรงอุบัติในโลกแล้ว
ทรงยังฝนคืออมฤตธรรมให้ตกลงในท่ามกลางบริษัท ๘ ณ กรุงสุทัสสนมหานคร
พระโพธิสัตว์ฟังธรรมของพระองค์แล้ว ก็ไปสู่โลกสวรรค์ แล้วนำเอา
ดอกไม้ทิพย์ มีมณฑารพ ปทุม ปาริฉัตตกะ เป็นต้น มาจากเทวโลก
เมื่อจะสำแดงอานุภาพของตน จึงปรากฏตัว ยังฝนดอกไม้ให้ตกลงในทิศทั้ง ๔
เหมือนมหาเมฆตกใน ๔ ทวีป แล้วสร้างสิ่งที่สำเร็จด้วยดอกไม้มีที่บูชา เสาระเนียด
ข่ายทองที่สำเร็จด้วยดอกไม้เป็นต้น เป็นมณฑปดอกไม้โดยรอบ
บูชาพระทศพลด้วยฉัตรดอกมณฑารพ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรง
พยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ในอนาคตกาล จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีตบะสูง โดยชื่อว่าสุสีมะ
อันแผ่นดินคือโลกสมมติว่า เป็นผู้ประเสริฐ.
เรานำดอกไม้ทิพย์ คือ มณฑารพ ปทุม
ปาริฉัตตกะ จากเทวโลก บูชาพระสัมพุทธเจ้า.
พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า มหามุนีพระองค์นั้นทรง
พยากรณ์เราว่า ล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 537
พระตถาคตทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์ ก็ร่าเริง สลดใจ
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ชฏิโล ได้แก่ ชื่อว่าชฎิล เพราะมีชฎามุ่นมวยผม.
บทว่า มหิยา เสฏฺฐสมฺมโต ความว่า
อันโลกแม้ทั้งสิ้นสมมติยกย่องอย่างนี้ว่า เป็นผู้ประเสริฐสุด สูงสุด เลิศ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าอัตถทัสสี พระองค์นั้น
ทรงมีพระนคร ชื่อว่า โสภณะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสาคระ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุทัสสนา
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระสันตะ และ พระอุปสันตะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอภยะ
คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระธัมมา และพระสุธัมมา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่า จัมปกะ
พระสรีระสูง ๘๐ ศอก
พระรัศมีแห่งพระสรีระแผ่ไปโดยรอบ ประมาณโยชน์หนึ่งทุกเวลา
พระชนมายุแสนปี

พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวิสาขา
พระโอรสพระนามว่า เสละ
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ม้า.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระอัตถทัสสีศาสดา
ทรงมีพระนครชื่อว่าโสภณะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสาคระ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุทัสสนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 538

พระอัตถทัสสีศาสดา
มีพระอัครสาวกชื่อว่า พระสันตะ และ พระอุปสันตะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอภยะ.
พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระธัมมา และพระสุธัมมา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า จัมปกะ.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสมอด้วยพระพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอ สูง ๘๐ ศอก งามเหมือนพญาสาลพฤกษ์เต็มบริบูรณ์เหมือนพระจันทร์.
พระรัศมีตามปกติของพระองค์ มีหลายร้อยโกฏิ
แผ่ไปโยชน์หนึ่ง สิบทิศทั้งเบื้องสูงเบื้องต่ำทุกเมื่อ.
พระพุทธเจ้าเป็นผู้องอาจในนรชน เป็นมุนียอดแห่งสรรพสัตว์
ผู้มีพระจักษุพระองค์นั้น ทรงดำรงอยู่ในโลกแสนปี.

พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า แม้พระองค์นั้น
ทรงแสดงพระรัศมีที่ไม่มีอะไรเทียบ เจิดจ้าไปในโลกทั้งเทวโลก
ทรงถึงความเป็นผู้ไม่เที่ยงแท้ ดับขันธปรินิพพาน
เพราะสิ้นอุปาทาน เหมือนดวงไฟดับ เพราะสิ้นเชื้อฉะนั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อุฬุราชาว ปูริโต ความว่า เหมือนดวงจันทร์ราชาแห่งดวงดาว
บริบูรณ์ไร้มลทินทั่วมณฑลในฤดูสารท.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 539
บทว่า ปากติกา ความว่า เกิดขึ้นตามปกติ ไม่ใช่ตามอธิษฐาน
เมื่อใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์
เมื่อนั้น ก็ทรงแผ่พระรัศมีไปในจักรวาลแม้หลายแสนโกฏิ.
บทว่า รํสี แปลว่า พระรัศมีทั้งหลาย.
บทว่า อุปาทานสงฺขยา ได้แก่ เพราะสิ้นอุปาทาน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เพราะสิ้นอุปาทาน ๔ เหมือนไฟดับเพราะสิ้นเชื้อ
พระธาตุทั้งหลายของพระองค์ เรี่ยรายไปด้วยพระอธิษฐาน.
คำที่เหลือในคาถาทั้งหลายทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 540



13
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 509

๑๓. วงศ์พระปิยทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๓
ว่าด้วยพระประวัติของพระปิยทัสสีพุทธเจ้า

[๑๔] ต่อจากสมัยของพระสุชาตพุทธเจ้า
ก็มีพระสยัมภูพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มีพระยศใหญ่ ผู้นำโลก
ผู้ที่เข้าเฝ้าได้ยาก ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอ.
พระพุทธเจ้า ผู้มีบริวารยศหาประมาณมิได้
แม้พระองค์นั้น รุ่งโรจน์ดังดวงอาทิตย์
ทรงกำจัดความมืดทุกอย่างแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร.

พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชอันชั่งมิได้
แม้พระองค์นั้น ก็มีอภิสมัย ๓ ครั้ง
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
ท้าวสุทัสสนเทวราช ชอบใจมิจฉาทิฏฐิ
พระศาสดาเมื่อทรงบรรเทาทัฏฐิของท้าวเธอ ก็ได้แสดงธรรมโปรด.
ครั้งนั้น การประชุมของชนนับไม่ได้
ก็เป็นมหาสันนิบาต อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.
ครั้ง พระผู้เป็นสารภีฝึกคน
ทรงฝึกพระยาช้างโทณมุขะ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 510

พระปิยทัสสีพระพุทธเจ้า แม้พระองค์นั้น
ก็ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง
พระสาวกแสนโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
พระมุนี พระสาวกเก้าหมื่นโกฏิ
ประชุมพร้อมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒
พระสาวกแปดหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

สมัยนั้น
เราเป็นมาณพพราหมณ์ชื่อว่า กัสสปะ คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท.
เราฟังธรรมของพระองค์ เกิดความเลื่อมใส ได้สร้างสังฆาราม ด้วยทรัพย์แสนโกฏิ.
เราถวายอารามแด่พระองค์แล้ว ก็ร่าเริงสลดใจยึดสรณะและศีล ๕ ไว้มั่น.

พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์
ทรงพยากรณ์เราว่า ล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์
ทรงตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับ ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 511

พระชินเจ้าพระองค์นั้น
เสวยข้าวมธุปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินไปตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศทรงประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่ออัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ

ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
พระอัครสาวกชื่อว่าพระโกลิตะและพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และ พระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และ อุตตรา.

พระโคดมพุทธเจ้า
ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ ของพระปิยทัสสีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 512
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า ผิว่า
พวกเราจักพลาดศาสนา ของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจักข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทุกคน ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นิไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

พระปิยทัสสีศาสดา
มีพระนครชื่อว่า สุธัญญะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุจันทา.

พระองค์ครองฆราวาสวิสัย อยู่เก้าพันปี
มีปราสาท ๓ หลังชื่อว่า สุนิมมละ วิมละ และคิริคูหา
มีพระสนมนารี ที่แต่งกายงามสามหมื่นหนึ่งพันนาง
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวิมลา
พระโอรสพระนามว่า กัญจนาเวฬะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 513
พระผู้เป็นยอดบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอธิเนษกรมณ์ด้วยยานคือรถ
ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน.

พระมหาวีระปิยทัสสีมหามุนี ผู้สงบ
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ อุสภราชอุทยาน ที่น่ารื่นรมย์ใจ.

พระปิยทัสสีศาสดา
มีพระอัครสาวกชื่อว่าพระปาลิตะ และพระสีพพทัสสี
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระโสภิตะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสุชาดาและพระธัมมทินนา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า กกุธะ ต้นกุ่ม.
อัครอุปัฏฐากชื่อว่า สันทกะ และธัมมิกะ อัครอุปัฏฐายิกาชื่อว่า วิสาขาและธัมมทินนา.

พระพุทธเจ้า ผู้มีพระบริวารยศหาประมาณมิได้
มีพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ พระองค์นั้น สูง ๘๐ ศอก
เห็นกันชัดเหมือนพระยาสาลพฤกษ์.
รัศมีแสงของดวงไฟ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
หามีเหมือนพระรัศมีของพระปิยทัสสี ผู้ไม่มีผู้เสมอผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้นไม่.

พระผู้มีพระจักษุ ดำรงอยู่ในโลกเก้าหมื่นปี
แม้พระองค์ผู้เป็นเทพแห่งเทพก็มีพระชนมายุเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 514
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น ก็ดี
คู่พระสาวกที่ไม่มีผู้เปรียบได้เหล่านั้นก็ดี
ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

พระปิยทัสสีวรมุนี เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารอัสสัตถาราม
ชินสถูปของพระองค์ ณ พระวิหารนั้น สูง ๓ โยชน์แล.
จบวงศ์พระปิยทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 515

พรรณนาวงศ์พระปิยทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๓
ต่อมาจากสมัยของพระสุชาตพุทธเจ้า ในกัปหนึ่ง ในที่สุดแห่งหนึ่งพัน
แปดร้อยกัปแต่ภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าบังเกิด ๓ พระองค์ คือ
พระปิยทัสสี
พระอัตถทัสสี
พระธัมมทัสสี

ใน ๓ พระองค์นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสี
ทรงบำเพ็ญบารมีแล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางจันทาเทวี ผู้มีพระพักตร์เสมือนดวงจันทร์
อัครมเหสีของพระเจ้าสุทัตตะ กรุงสุธัญญวดี
ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติออกจากพระครรภ์ของพระชนนี ณ วรุณราชอุทยาน

ในวันเฉลิมพระนามของพระองค์พระชนกชนนี
ทรงเฉลิมพระนามว่า ปิยทัสสี
เพราะเห็นปาฏิหาริย์วิเศษอันเป็นที่รักของโลก
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี
นัยว่าทรงมีปราสาท ๓ หลังชื่อว่า สุนิมมละ วิมละ และ คิริพรหา
ปรากฏพระสนมนารีสามหมื่นสามพันนาง
มี พระนางวิมลามหาเทวี เป็นประมุข.

เมื่อพระโอรสพระนามว่า กัญจนเวฬะ ของพระนางวิมลาเทวีประสูติแล้ว
พระมหาบุรุษนั้น ทรงเห็นนิมิต ๔ แล้ว
เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วยรถเทียมม้า
ทรงผนวชแล้ว บุรุษโกฏิหนึ่งบวชตามเสด็จ
พระมหาบุรุษอันชนโกฏิหนึ่งนั้น แวดล้อมแล้วพระองค์นั้น

ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน
ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส ที่ธิดาของ วสภพราหมณ์
บ้านวรุณพราหมณ์ ถวายแล้วทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาลวัน
ทรงรับหญ้า ๘ กำที่สุชาตะอาชีวก ถวายแล้ว
เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อว่า กกุธะ ต้นกุ่ม
ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๕๓ ศอก
ประทับนั่งขัดสมาธิ แทงตลอดพระสัพพัญณุตญาณ
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ เป็นต้นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 516
ทรงยับยั้ง ณ โคนโพธิพฤกษ์นั้นนั่นแหละ ๗ สัปดาห์
ทรงทราบว่า ผู้ที่บวชกับพระองค์ สามารถแทงตลอดอริยธรรม
จึงเสด็จไป ณ ที่นั้นทางอากาศ ลงที่ อุสภวดีราชอุทยาน
ใกล้ กรุงอุสกวดี อันภิกษุโกฏิหนึ่งแวดล้อมแล้ว

ทรงประกาศพระธรรมจักร
ครั้งนั้นธรรมาภิสมัยได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๑

ต่อมาอีก
ราชาแห่งเทพ พระนามว่า สุทัสสนะ
ประทับอยู่ ณ สุทัสสนบรรพต ไม่ไกลกรุงอุสภวดี
ท้าวเธอเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็พวกมนุษย์ทั่วชมพูทวีป
นำเครื่องสังเวยมีค่านับแสน มาเซ่นสรวงท้าวเธอ ท้าวสุทัสสนเทวราชนั้น
ประทับบนอาสนะเดียวกันกับพระราชาแห่งมนุษย์ ทรงรับเครื่องสังเวย

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ปิยทัสสี
ทรงพระดำริว่า จำเราจักบรรเทามิจฉาทิฏฐิของท้าวสุทัสสนเทวราชนั้นเสีย
เมื่อท้าวสุทัสสนเทวราชนั้นเสด็จไปยังสมาคมยักษ์
จึงเสด็จเข้าไปยังภพของท้าวเธอ ขึ้นสู่ที่สิริไสยาสน์ประทับนั่งเปล่งพระฉัพพรรณรังสี
เหมือนดวงอาทิตย์ในฤดูสาวทเปล่งแสงเหนือยุคนธรบรรพต
เทวดาที่เป็นบริวารรับใช้ของท้าวเธอ
ก็บูชาพระทศพลด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น ยืนแวดล้อม.

ฝ่ายท้าวสุทัสสนเทวราช กลับจากยักขสมาคม
เห็นฉัพพรรณรังสีแล่นออกจากภพของตน
ก็คิดว่า ในวันอื่นๆ ไม่เคยเห็นภพของเรา จำเริญรุ่งเรื่องด้วยแสงรัศมีมากมายเช่นนี้
ใครหนอ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ เข้าไปในที่นี้
ตรวจดูก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งรุ่งโรจน์ด้วยแสงพระฉัพพรรณรังสี
ดังดวงอาทิตย์ในฤดูสารทเหนือยอดอุทัยคิรี
คิดว่า สมณะโล้นผู้นี้ อันชนใกล้ชิดบริวารของเราแวดล้อมแล้วนั่งเหนือที่นอนอันดี
ก็ถูกความโกรธครอบงำใจคิดว่า เอาเถิด จำเราจักสำแดงกำลังของเราแก่สมณะโล้นนั้น
แล้วก็ทำภูเขานั้นทั้งลูกลุกเป็นเปลวไฟอันเดียว
ตรวจดูว่าสมณะโล้นคงเป็นเถ้าเพราะเปลวไฟแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 517
แต่ก็เห็นพระทศพลมีพระวรกายถูกแสงรังสีมากมาย แล่นท่วมไป
มีพระพักตร์ผ่องวรรณะงาม มีพระฉวีสดใสรุ่งโรจน์อยู่
ก็คิดว่า สมณะผู้นี้ทนไฟไหม้ได้
เอาเถิด จำเราจักรุกรานสมณะผู้นี้ด้วยกระแสน้ำหลากแล้วฆ่าเสีย
จึงปล่อยกระแสน้ำหลากอันลึกล้ำตรงไปยังวิมาน.
แต่นั้น น้ำก็ไม่เปียกเพียงขนผ้าแห่งจีวร หรือเพียงพระโลมา
ในพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ซึ่งประทับนั่งในวิมานนั้น อันเต็มด้วยกระแสน้ำหลาก

แต่นั้น ท้าวสุทัสสนเทวราช รู้ว่า ด้วยกระแสน้ำหลากนี้
สมณะหายใจไม่ออก ก็จักตาย จึงเสกมนต์พ่นอัดน้ำแล้วตรวจดู
ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอันบริษัทของตนแวดล้อม
รุ่งโรจน์ด้วยแสงแลบแห่งเปลวรังสีต่างชนิด ดุจดวงรัชนีกรในฤดูสารท
ส่งแสงลอดหลืบเมฆสีเขียวครามทนการลบหลู่ตนไม่ได้
ก็คิดว่า จำเราจักฆ่าสมณะนั้นเสียเถิด
แล้วก็บันดาลฝนอาวุธ ๙ ชนิด ให้ตกลง ด้วยความโกรธ
ลำดับนั้น ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
อาวุธทุกอย่างก็กลายเป็นพวงดอกไม้หอมนานาชนิดงามน่าดูอย่างยิ่ง
หล่นลงแทบเบื้องบาทของพระทศพล.

แต่นั้น ท้าวสุทัสสนเทวราช เห็นความอัศจรรย์นั้นก็ยิ่งมีใจโกรธขึ้ง
จึงเอามือทั้งสองจับพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมายจะฉุดคร่าออกไปจากภพของตน
ก็เหวี่ยงเลยมหาสมุทรไปถึงจักรวาลบรรพต
ตรวจดูว่า สมณะยังเป็นอยู่หรือตายไปแล้ว
ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ายังคงประทับนั่ง อยู่เหนืออาสนะนั้นนั่นแหละ
ก็คิดว่า โอ สมณะนี้มีอานุภาพมาก เราไม่สามารถจะฉุดคร่าสมณะผู้นี้ออกไปจากที่นี้ได้
หากว่าใครรู้เรื่องเรา เราก็จักอัปยศหาน้อยไม่
จำเราจักปล่อยสมณะนั้นไปเสีย ตราบเท่าที่ใครยังไม่เห็นสมณะผู้นี้.

ลำดับนั้น
พระทศพลทรงทราบความประพฤติทางจิตของท้าวสุทัสสนเทวราชนั้น
ก็ทรงอธิษฐานอย่างที่พวกเทวดาและมนุษย์ทุกคนเห็นท้าวเธออยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 518
ในวันนั้นนั่นเอง พระราชา ๑๐๑ พระองค์ทั่วชมพูทวีป
ก็พากันมาประชุมเพื่อถวายเครื่องสังเวยแด่ท้าวสุทัสสนเทวราชนั้น
พระราชาแห่งมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น
ทรงเห็นท้าวสุทัสสนเทวราชประทับนั่งจับพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็มีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเทวราชของพวกเรา
บำเรอพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสี จอมมุนี
โอ ! ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายน่าอัศจรรย์
โอ ! พระพุทธคุณทั้งหลาย วิเศษจริง ๆ
ก็พากันนอบน้อม ยืนประคองอัญชลีไว้เหนือเศียรเกล้าหมดทุกคน ณ สันนิบาตนั้น


พระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสี

ทรงทำท้าวสุทัสสนเทวราชนั้นให้เป็นประมุข ทรงแสดงธรรมโปรด
ครั้งนั้น เทวดาและมนุษย์เก้าหมื่นโกฏิ บรรลุพระอรหัต นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.

ครั้งเมื่อศัตรูของพระพุทธเจ้า
ในกุมุทนครซึ่งมีขนาด ๙ โยชน์ ชื่อพระโสณเถระ เหมือนพระเทวทัต
ปรึกษากับ พระมหาปทุมราชกุมาร ให้ปลงพระชนม์พระชนกของพระราชกุมารนั้น
แม้พยายามต่างๆ เพื่อปลงพระชนม์ของพระปิยทัสสีพุทธเจ้า ก็ไม่อาจปลงพระชนม์ได้
ท่านจึงเรียกควาญพญาช้างชื่อ โทณมุขะ
ประเล้าประโลมเขา บอกความว่า เมื่อใดพระสมณะปิยทัสสีผู้นี้ เข้าไปบิณฑบาตยังนครนี้
เมื่อนั้น ท่านจงปล่อยพญาช้างชื่อโทณมุข ให้ฆ่าพระสมณะปิยทัสสีเสีย.

ครั้งนั้น
นายควาญช้างนั้น เป็นราชวัลลภ ไม่ทันพิจารณาถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
รู้แต่ว่า สมณะผู้นี้จะพึงทำเราให้หลุดพ้นจากตำแหน่งแน่
จึงรับคำ วันรุ่งขึ้นก็กำหนดเวลาที่พระทศพลเสด็จเข้าไปยังพระนครเข้าไปหาพญาช้างโทณมุข
ซึ่งมีหน้าผากเหมือนหม้อข้าวเหนือตระพองที่เกิดดีแล้ว
มีลำงวงยาวเสมือนธนู มีหูอ่อนกว้างใหญ่
ตาเหลืองดังน้ำผึ้ง ที่นั่งบนตัวดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 519
ตะโพกหนาทึบกลมกลึง ระหว่างเข่าเก็บของลับไว้
งางามเหมือนงอนไถ ขนหางสวย โคนหางน่ายำเกรง
สมบูรณ์ด้วยลักษณะครบทุกอย่าง
งามน่าดูเสมือนเมฆสีเขียวคราม
ไปยังถิ่นที่ราชสีห์ชอบเยื้องกรายเหมือนก้อนเมฆเดินได้
มีกำลังเท่า ๗ ช้างสาร ตกมัน ๗ ครั้ง มีพิษทั่วตัว
เหมือนมัจจุมารที่มีเรือนร่างทำให้เมามันมึนยิ่งขึ้น
ปรนด้วยวิธีพิเศษเช่นคำข้าวคลุกกำยานหยอดยาตา รมควัน ฉาบทา เป็นต้น
แล้วก็ส่งไปเพื่อต้องการปลงพระชนม์พระมุนีผู้ประเสริฐ
ผู้ป้องกันชนที่เป็นอริได้ เหมือนช้างเอราวัณ ป้องกันช้างข้าศึกฉะนั้น


ลำดับนั้น
พญาช้างโทณมุขนั้น เป็นช้างพลายตัวดี
พอหลุดไปเท่านั้น ก็ฆ่าช้าง ควาย ม้า ชาย หญิง มีเนื้อตัวพร้อมทั้งงาและงวงเปรอะ
ไปด้วยเลือดของผู้ที่ถูกฆ่า มีตาที่คลุมด้วยข่ายแห่งความตาย หักทะลายเกวียน
บานประตู ประตูเรือนยอด เสาระเนียดเป็นต้น อันฝูงกา สุนัข และ แร้งเป็นต้นติดตามไป
ตัดอวัยวะของควาย คน ม้า และ ช้างพลาย เป็นต้น
กินเหมือนยักษ์กินคน เห็นพระทศพลอันหมู่ศิษย์แวดล้อม กำลังเสด็จมาแต่ไกล
มีกำลังเร็วเสมือนครุฑในอากาศ นุ่งไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยความเร็ว.

ครั้งนั้น พวกชนชาวเมือง มีใจเปี่ยมไปด้วยความเร่าร้อน
เพราะภัย ก็เข้าไปยังซากกองกำแพงแห่งปราสาท
เห็นพระยาช้างวิ่งแล่นมุ่งหน้าตรงพระตถาคตก็ส่งเสียงร้อง ฮ้า ! ฮ้า !
ส่วนอุบาสกบางพวก เริ่มห้ามกันพญาช้างนั้น ด้วยวิธีการต่างๆ.
ลำดับนั้น คือพระพุทธนาคพระองค์นั้นทรงแลดูพญาช้าง ซึ่งกำลังมา
มีพระหฤทัยเยือกเย็นด้วยพระกรุณาแผ่ไป
ก็ทรงแผ่พระเมตตาไปยังพญาช้างนั้น.
แต่นั้น พญาช้างเชือกนั้น ก็มีสันดานประจำใจอันพระเมตตาที่ทรงแผ่ไปทำให้อ่อนโยน
สำนึกรู้โทษและความผิดของตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 520
ไม่อาจยืนต่อเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ด้วยความละอาย จึงหมอบจบเศียรเกล้าลงแทบเบื้องพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ดุจแทรกเข้าไปในแผ่นปฐพี.
พญาช้างเชือกนั้นหมอบลงอย่างนั้นแล้ว เรือนร่างเสมือนกลุ่มหมอก ก็เจิดจ้า
เหมือนก้อนเมฆสีเขียวความเข้าไปใกล้ยอดภูเขาทองที่ฉาบด้วยแสงสนธยา.

ครั้งนั้น พวกชนชาวเมืองเห็นพญาช้างหมอบจบเศียรเกล้าลงแทบเบื้องบาทของพระจอมมุนี
ก็มีใจเปี่ยมด้วยปีติอย่างยิ่ง ก็พากันส่งเสียงโห่ร้องสาธุการ
กึกก้องดังเสียงราชสีห์ บูชาพระองค์มีประการต่าง ๆ ด้วยดอกไม้หอม
มาลัยจันทน์จุรณหอมและเครื่องประดับเป็นต้น โยนแผ่นผ้าไปโดยรอบ
เทพเภรีก็บรรลือลั่นในท้องนภากาศ

ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแลดูพญาช้างพลาย
ซึ่งหมอบจบเศียรเกล้าแทบเบื้องพระบาท ดั่งยอดเขาที่อาบสีดำ
ก็ทรงลูบกระพองพญาช้าง ด้วยฝ่าพระหัตถ์ อันประดับด้วยขอช้าง ธง สังข์ และจักร
จึงทรงพร่ำสอนพญาช้างนั้น ด้วยพระธรรมเทศนา
ที่เกื้อกูลแก่ความประพฤติทางจิตของพญาช้างนั้นว่า

ดูก่อนพญาช้าง
เจ้าจงฟังคำของเราที่พร่ำสอนและจงเสพคำพร่ำสอนของเรานั้น
ซึ่งประกอบด้วยประโยชน์เกื้อกูล จงกำจัดความยินดีในการฆ่า
ความมีจิตร้ายของเจ้าเสีย จงเป็นช้างที่น่ารัก ผู้สงบ.
ดูก่อนพญาช้าง ผู้ใดเบียดเบียนสัตว์มีชีวิต
ด้วยโลภะ และ โทสะ หรือด้วยโมหะผู้นั้น ชื่อว่า ผู้ฆ่า
สัตว์มีชีวิต ย่อมเสวยทุกข์อันร้ายกาจ ในนรก ตลอดกาลนาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 521
ดูก่อนพญาช้าง
เจ้าอย่าได้ทำกรรมเห็นปานนั้นด้วยความประมาท
หรือแม้ด้วยความเมาอีกนะ เพราะผู้ทำสัตว์มีชีวิตที่ตกล่วงไป
ย่อมประสบทุกข์แสนสาหัสในนรกตลอดกัป.

ผู้เบียดเบียน ครั้นเสวยทุกข์อันร้ายกาจในนรกแล้ว
ผิว่า ไปสู่มนุษยโลก ก็ยิ่งเป็นผู้มีอายุสั้น มีรูปร่างแปลกประหลาด ยังมีส่วนพิเศษแห่งทุกข์.

ดูก่อนกุญชร
พญาช้างผู้เบาปัญญา เจ้ารู้ว่าชีวิตเป็นที่รักอย่างยิ่งของเจ้าฉันใด
ในมหาชนชีวิตแม้ของผู้อื่นก็เป็นที่รักฉันนั้น แล้วพึงงดเว้นปาณาติบาตอย่างเด็ดขาด.
ถ้าเจ้ารู้จักโทษที่ไม่เว้นการเบียดเบียน และคุณที่เว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว
จงเว้นขาดปาณาติบาตเสีย ก็ปรารถนาสุขในสวรรค์ในโลกหน้าได้.
ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตฝึกตนดีแล้ว ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจในโลกนี้
เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่า เขาก็อยู่ยั้งในสวรรค์.
ใครๆ ในโลก ย่อมไม่ปรารถนาให้ทุกข์มาถึงผู้เกิดมาแล้ว
ทุก ๆ คน ย่อมแสวงสุขกันทั้งนั้น

ดูก่อนพญาช้างผู้ยิ่งใหญ่
เพราะฉะนั้น เจ้าจงละการเบียดเบียนเสีย
เจริญแต่เมตตาและกรุณาในเวลาอันสมควรเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 522
ลำดับนั้น
พญาช้างอันพระทศพลทรงพร่ำสอนอย่างนี้ ก็ได้สำนึก เป็นผู้ที่ทรงฝึกปรือแล้วอย่างยิ่ง
ถึงพร้อมด้วยวินัย แล จรรยา ก็ได้เป็นเหมือนศิษย์.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสี พระองค์นั้น
ทรงทรมานพญาช้างโทณมุข
เหมือนพระศาสดาของเราทรงทรมานช้างธนปาลแล้ว
จึงทรงแสดงธรรมโปรดในสมาคมแห่งมหาชนนั้น.
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระสุชาตพุทธเจ้าก็มีพระสยัมภู
พุทธเจ้า พระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มีพระยศใหญ่ ผู้นำโลก
อันเข้าเฝ้าได้ยาก เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น มีบริวารยศอันประมาณมิได้ รุ่งโรจน์ดุจดวงอาทิตย์
ทรงกำจัดความมืดทุกอย่าง ประกาศพระธรรมจักร.
พระพุทธเจ้าผู้มีพระเดช ที่ชั่งไม่ได้แม้พระองค์
นั้น ก็ทรงมีอภิสมัย ๓ ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
ท้าวสุทัสสนเทวราชทรงชอบใจมิจฉาทิฏฐิ
พระศาสดาเมื่อทรงบรรเทาทิฏฐิของท้าวเทวราชพระองค์นั้นแล้ว ก็ทรงแสดงธรรมโปรด.
ครั้งนั้น การประชุมของชนนับไม่ได้ เป็นมหาสันนิบาต อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 523
ครั้งพระศาสดาผู้เป็นสารถีฝึกคน
ทรงแนะนำพญาช้างชื่อโทณมุขะ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.

ใน สุมังคลนคร มีสหายสองคน คือ
พระราชโอรส พระนามว่า ปาลิตะ
บุตรปุโรหิต ชื่อว่า สัพพทัสสิกุมาร

สองสหายนั้น
เมื่อพระปิยทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจาริกอยู่
สดับข่าวว่า เสด็จถึงพระนครของพระองค์ มีบริวารแสนโกฏิ
ก็ออกไปรับเสด็จ สดับฟังธรรมของพระองค์แล้วก็ถวายมหาทาน ๗ วัน
ในวันที่ ๗ จบอนุโมทนาภัตทานของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมกับบริวารแสนโกฏิบวชแล้วบรรลุพระอรหัต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ท่ามกลางภิกษุสาวกเหล่านั้น นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.

สมัยต่อมา
สัตว์เก้าหมื่นโกฏิบรรลุพระอรหัต.
ในสมาคมของท้าวสุทัสสนเทวราช
พระศาสดาอันภิกษุสาวกเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.

ต่อมาอีก
ในสมัยทรงแนะนำพญาช้างโทณมุข
สัตว์แปดหมื่นโกฏิบวชแล้วบรรลุพระอรหัต
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ท่ามกลางภิกษุสาวกเหล่านั้น นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า แม้พระองค์นั้น
ก็ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง
พระสาวกแสนโกฏิ ประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
พระมุนีสาวกเก้าหมื่นโกฏิ ประชุมพร้อมกันเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒
พระสาวกแปดหมื่นโกฏิ  ประชุมกันเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 524
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นมาณพพราหมณ์ชื่อ กัสสปะ
เรียนจบไตรเพท ครบ ๕ ทั้งอิติหาสศาสตร์
ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ให้สร้างสังฆาราม ที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง
ด้วยการบริจาคทรัพย์แสนโกฏิ ตั้งอยู่ในสรณะและศีล ๕.

ลำดับนั้น
พระศาสดาทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า
ล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป นับแต่กัปนี้
จักเป็นพระพุทธเจ้าในโลกพระนามว่า โคตมะ

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นมาณพพราหมณ์ ชื่อว่า กัสสปะ
คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท.
เราฟังธรรมของพระปิยทัสสีพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แล้ว ก็เกิดความเลื่อมใส ให้สร้างสังฆารามด้วยทรัพย์แสนโกฏิ.
เราถวายอารามแด่พระองค์แล้ว ก็ร่าเริงสลดใจยึดสรณะและศีล ๕ ไว้มั่น.

พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า เมื่อล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว
ก็ยิ่งเลื่อมใสจึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป
เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 525
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สรเณ ปญฺจสีเล จ ความว่า สรณะ ๓ และศีล ๕.
บทว่า อฏฺฐารเส กปฺปสเต ความว่า ล่วงไป ๑,๘๐๐ กัปนับแต่ภัตรกัปนี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสี พระองค์นั้น
ทรงมีพระนครชื่อว่า สุธัญญะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุจันทาเทวี.
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระปาลิตะ และ พระสัพพทัสสี
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระโสภิตะ.
คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสุชาดาและพระธัมมทินนา
โพธิพฤกษ์ ชื่อ ต้นกกุธะ ต้นกุ่ม

พระสรีระสูง ๘๐ศอก
พระชนมายุเก้าหมื่นปี
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวิมลา
พระโอรสพระนามว่า พระกัญจนาเวฬะ
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยรถเทียมม้า.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระปิยทัสสีศาสดา ทรงมีพระนคร ชื่อว่า สุธัญญะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางจันทา.

พระปิยทัสสีศาสดา

มีพระอัครสาวกชื่อว่า พระปาลิตะ และ พระสัพพทัสสี
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระโสภิตะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระสุชาดา และ พระธัมมทินนา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นกกุธะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 526
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น มีพระบริวารยศหา
ประมาณมิได้ มีพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
สูง ๘๐ ศอก ปรากฏชัดเหมือนต้นพญาสาละ.
พระรัศมีของพระปิยทัสสีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้นเป็นเช่นใด
รัศมีของดวงไฟ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ หาเป็นเช่นนั้นไม่.
พระผู้มีพระจักษุ ดำรงอยู่ในโลกเก้าหมื่นปี
พระชนมายุของพระผู้เป็นเทพแห่งเทพพระองค์นั้น ก็มีเพียงเท่านั้น.

พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น ก็ดี
คู่พระอัครสาวกผู้ไม่มีผู้เทียบได้เหล่านั้น ก็ดี ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่าแน่แท้.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สาลราชาว ความว่า เห็นได้ชัดเหมือนพญาสาลพฤกษ์
ที่มีลำต้นเกลากลมออกดอกบานสะพรั่งทั่วทั้งต้น ดูน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง.
บทว่า ยุคานิปิ ตานิ ได้แก่ คู่ มีคู่พระอัครสาวกเป็นต้น.
คาถาที่เหลือทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระปิยทัสสีพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 527



14

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 492

๑๒. วงศ์พระสุชาตพุทธเจ้าที่ ๑๒
ว่าด้วยพระประวัติของพระสุชาตพุทธเจ้า

[๑๓] ในมัณฑกัปนั้นนั่นเองมีพระพุทธเจ้าพระนามว่า สุชาตะ ผู้นำโลก
ผู้มีพระหนุดังคางราชสีห์ มีพระศอดังโคอุสภะ มีพระคุณหาประมาณมิได้ อันบุคคลเข้าเฝ้าได้ยาก.
พระสัมพุทธเจ้า ทรงรุ่งเรืองด้วยสิริย่อมงามสง่าทุกเมื่อ เหมือนดวงจันทร์หมดจดไร้มลทิน
เหมือนดวงอาทิตย์ส่องแสงแรงร้อน ฉะนั้น.
พระสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด
สิ้นเชิงแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุงสุมงคล.
เมื่อพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรงแสดงธรรม
อันประเสริฐ สัตว์แปดสิบโกฏิ ก็ตรัสรู้ในการแสดงธรรม ครั้งที่ ๑.
ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้มีบริวารยศหาประมาณมิได้ เสด็จเข้าจำพรรษา ณ เทวโลก.
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์สามล้านเจ็ดแสน.
ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ เสด็จเข้าเฝ้าพระชนก
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์หกล้าน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 493

พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพไร้มลทิน มีจิตสงบผู้คงที่ ๓ ครั้ง.
พระอรหันต์สาวกผู้ถึงกำลังแห่งอภิญญา ผู้ไม่ถึงพร้อมในภพน้อยภพใหญ่หกล้าน
พระสาวกเหล่านั้นประชุมกัน ครั้งที่ ๑.
ในสันนิบาต ต่อมาอีก เมื่อพระชินพุทธเจ้าเสด็จ
ลงจากเทวโลกชั้นไตรทศ พระสาวกสี่แสนประชุมกัน ครั้งที่ ๒.
พระสุทัสสนะอัครสาวก เมื่อเข้าเฝ้าพระนราสภ
ก็เข้าเผ้าพระสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วย พระสาวกสี่แสน.
สมัยนั้น เราเป็นจักรพรรดิ์เป็นใหญ่แห่งทวีปทั้ง ๔ มีกำลังมาก ท่องเที่ยวไปในอากาศได้.
เรามอบถวายสมบัติใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ และรัตนะ ๗ แด่พระพุทธเจ้าผู้สูงสุด
แล้วก็บวชในสำนักของพระองค์.
พวกคนวัดรวบรวมผลรายได้ในชนบท น้อมถวายเป็นปัจจัย ที่นอนและที่นั่งแด่พระภิกษุสงฆ์.

ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่แห่งหมื่นโลกธาตุ
ก็ได้ทรงพยากรณ์เราว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าในที่สุดสามหมื่นกัป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 494
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้น เสด็จเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ณ
ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถาน อันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ที่โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ.

ท่านผู้นี้ จักมี
พระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักชื่อว่า โคตมะ.
จักมีอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะและพระอุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
พระพุทธอุปฐากชื่อว่า อานันทะ จักบำรุง พระชินเจ้าพระองค์นี้.
จักมีอัครสาวิกาชื่อว่า พระเขมา และพระอุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ชื่อว่า ต้นอัสสัตถะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 495
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และ อุตตรา
พระโคดมพุทธเจ้า ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดา ฟังพระดำรัสนี้ของพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง

ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสอนของพระโลกนาถพระองค์นี้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งร่าเริงใจ
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุศาสน์ทั้งหมด ยังพระศาสนาของพระชินเจ้าให้งาม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 496
เราอยู่อย่างไม่ประมาทในพระศาสนานั้น
เจริญพรหมวิหารภาวนา ถึงฝั่งแห่งอภิญญา ก็ไปสู่พรหมโลก.

พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระนครชื่อว่า สุมงคล
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอุคคตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางประภาวดี.
ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี
ทรงมีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า สิริ อุปสิริ และจันทะ.
มีพระสนมนารีแต่งกายงาม สองหมื่นสามพันนาง
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสิรินันทา
พระโอรส พระนามว่า อุปเสนะ.
พระพุทธชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ม้า
ทรงตั้งความเพียร ๙ เดือนเต็ม.
พระมหาวีระ สุชาตพุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้สงบอันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ สุมงคลราชอุทยานอันอุดม.

พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระอัครสาวก ชื่อ พระสุทัสสนะ และ พระสุเทวะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อ นารทะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อพระนาคา และ พระนาคสมาลา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า มหาเวฬุ ต้นไผ่ใหญ่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 497
ไผ่ต้นนั้น ลำต้นตัน ไม่มีรู มีใบมาก ลำตรงเป็นไผ่ต้นใหญ่ น่าดูน่ารื่นรมย์.
ไผ่ต้นนั้น เติบโตต้นเดียวโดด กิ่งแตกออกจากต้นนั้น งามเหมือนกำแววหางนกยูง ที่เขาผูกไว้ดีแล้ว.
ไผ่ต้นนั้น ไม่มีหนาม ไม่มีรู เป็นไผ่ใหญ่มีกิ่งแผ่กว้าง ไม่มีช่อง ร่มเงาทึบ น่ารื่นรมย์.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อ สุทัตตะ และ จิตตะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ สุภัททา และ ปทุมา.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น ว่าโดยส่วนสูง ๕๐ ศอก
ทรงประกอบด้วยความประเสริฐ โดยอาการพร้อมสรรพ ทรงถึงพระพุทธคุณ ครบถ้วน.
พระรัศมีของพระองค์ เสมอด้วยรัศมีของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอ ย่อมแล่นออกโดยรอบ
พระวรกาย พระองค์มีพระคุณหาประมาณมิได้ ชั่งไม่ได้ เปรียบไม่ได้ด้วยข้ออุปมาทั้งหลาย.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี
พระองค์ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
ครั้งนั้น ปาพจน์คือธรรมวินัย งามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
เหมือนคลื่นในสาคร เหมือนดารากรในนภากาศ ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 498
พระศาสนานี้งดงาม ด้วยพระอรหันต์ทั้งหลายผู้มีวิชชา ๓ มีอภิญญา ๖ ผู้ถึงกำลังฤทธิ์ ผู้คงที่.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้นด้วย พระคุณทั้งหลาย ที่ชั่งไม่ได้
เหล่านั้นด้วย ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสุชาตชินวรพุทธเจ้า ดับขันธปรินิพพาน
ณ พระวิหารเสลาราม พระเจดีย์ของพระศาสดา ณ พระวิหารนั้น สูง ๓ คาวุต.๑
จบวงศ์พระสุชาตพุทธเจ้าที่ ๑๒
๑. ๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 499

พรรณนาวงศ์พระสุชาตพุทธเจ้าที่ ๑๒
ภายหลัง ต่อมาจากสมัยของพระสุเมธพุทธเจ้า ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล
เมื่อสัตว์ทั้งหลายมีอายุที่นับไม่ได้มาโดยลำดับ และลดลงตามลำดับ จนมีอายุเก้าหมื่นปี
พระศาสดาพระนามว่า สุชาตะ ผู้มีพระรูปกายเกิดดี มีพระชาติบริสุทธิ์ ก็อุบัติในโลก
แม้พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญบารมีแล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้นแล้ว ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางปภาวดี
อัครมเหสีในราชสกุลของ พระเจ้าอุคคตะ กรุงสุมงคล
ถ้วนกำหนดทศมาสก็ออกจากพระครรภ์ของพระชนนี.
ในวันเฉลิมพระนาม พระชนกชนนีเมื่อจะทรงเฉลิมพระนามของพระองค์
ก็ได้ทรงเฉลิมพระนามว่า สุชาตะ
เพราะเกิดมาแล้ว ยังสุขให้เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย ทั่วชมพูทวีป.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยเก้าพันปี
ทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่าสิรี อุปสิรี และสิรินันทะ๑
ปรากฏพระสนมนารีสองหมื่นสามพันนาง มี พระนางสิรินันทาเทวี เป็นประมุข.
เมื่อพระโอรสพระนามว่า อุปเสน ของพระนางสิรินันเทวีทรงสมภพแล้ว
พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔
ทรงม้าต้นชื่อว่า หังสวหัง เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์
ทรงผนวช มนุษย์โกฏิหนึ่ง ก็บวชตามพระองค์ผู้ทรงผนวชอยู่

ลำดับนั้น
พระมหาบุรุษนั้น อันมนุษย์เหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียร ๙ เดือน ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส รสอร่อย
ที่ธิดาของสิรินันทนเศรษฐีแห่งสิรินันทนนคร ถวายแล้ว
ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาลวัน
๑. บาลีเป็น สิริ อุปสิริ และจันทะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 500
เวลาเย็น ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่สุนันทอาชีวกถวายแล้ว
เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ ชื่อ เวฬุ ต้นไผ่
ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๓๓ ศอก
เมื่อดวงอาทิตย์ยังคงอยู่ ก็ทรงกำจัดกองกำลังมาร พร้อมทั้งตัวมาร
ทรงแทงตลอดพระสัมมาสัมโพธิญาณ
ก็ทรงเปล่งพระอุทานที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงประพฤติมาแล้ว
ทรงยับยั้งอยู่ใกล้โพธิต้นพฤกษ์นั่นแล ตลอด ๗ สัปดาห์ อันท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงเห็น พระสุทัสสนกุมาร พระกนิษฐภาดาของพระองค์และเทวกุมาร บุตรปุโรหิต
เป็นผู้สามารถแทงตลอดธรรมคือสัจจะ ๔
เสด็จไปทางอากาศ ลงที่ สุมังคลราชอุทยาน กรุงสุมงคล
ให้พนักงานเฝ้าราชอุทยาน เรียก พระสุทัสสนกุมาร กนิษฐภาดาและ เทวกุมาร
บุตรปุโรหิตมาแล้ว ประทับนั่งท่ามกลางกุมารทั้งสองนั้น พร้อมด้วยบริวาร
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ที่นั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์โกฏิหนึ่ง นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๑.
ครั้ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคน มหาสาลพฤกษ์
ใกล้ประตูสุทัสสนราชอุทยานเสด็จเข้าจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เทวโลก
ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์สามล้านเจ็ดแสน นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.

ครั้งพระสุชาตทศพล เสด็จเข้าเฝ้าพระชนก
ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์หกล้าน นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล มีพระพุทธเจ้าพระนามว่า สุชาตะ ผู้นำ
มีพระหนุดังคางราชสีห์ มีพระศอดังโค อุสภะ มีพระคุณหาประมาณมิได้ เข้าเฝ้าได้ยาก.
พระสัมพุทธเจ้า รุ่งเรืองด้วยพระสิริ ย่อมงามสง่าทุกเมื่อ เหมือนดวงจันทร์หมดจดไร้มลทิน
เหมือนดวงอาทิตย์ ส่องแสงแรงร้อน ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 501
พระสัมพุทธเจ้า บรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุดสิ้นเชิงแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุงสุมงคล.
เมื่อพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ สัตว์แปดสิบโกฏิ ตรัสรู้ ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๑.
ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้มีบริวารยศหาประมาณมิได้
เสด็จเข้าจำพรรษา ณ เทวโลก อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์ สามล้านเจ็ดแสน.
ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วย พระพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอ เข้าไปโปรดพระชนก อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์ หกล้าน.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตตฺเถว มณฺฑกปฺปมฺหิ ความว่า ในมัณฑกัปใด
พระผู้มีพระภาคเจ้า สุเมธะ ทรงอุบัติแล้ว ในกัปนั้นนั่นแหละ
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าสุชาตะก็อุบัติแล้ว.
บทว่า สีหหนุ ได้แก่ ชื่อว่า สีหหนุ
เพราะพระหนุของพระองค์เหมือนคางราชสีห์ ก็ราชสีห์ คางล่างเท่านั้นเต็ม คางบนไม่เต็ม.
ส่วนพระมหาบุรุษนั้น เต็มทั้งสองพระหนุเหมือนคางล่างของราชสีห์
จึงเป็นเสมือนดวงจันทร์ ๑๒ คา
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า สีหหนุ.
บทว่า อุสภกฺขนฺโธ ได้แก่มีพระศอเสมอ อิ่ม กลม เหมือนโค อุสภะ
อธิบายว่า มีลำพระศอเสมือนกลองทองกลมกลึง.
บทว่า สตรํสีวแปลว่า เหมือนควงอาทิตย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 502
บทว่า สิริยา ได้แก่ ด้วยพระพุทธสิริ.
บทว่า โพธิมุตฺตมํ ได้แก่ พระสัมโพธิญาณอันสูงสุด.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมโปรดมนุษย์ที่มาใน สุธรรมราชอุทยาน กรุงสุธรรมวดี
ทรงยังชนหกล้านให้บวชด้วยเอหิภิกขุภาวะ
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น นั้น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.

ต่อจากนั้น
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก
ภิกษุห้าล้านประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
พระสุทัสสนเถระพาบุรุษสี่แสนซึ่งฟังข่าวว่าพระสุทัสสนกุมาร
ทรงผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า บรรลุพระอรหัตจึงมาเข้าเฝ้าพระสุชาตนราสภ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดบุรุษเหล่านั้น
ทรงให้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในสันนิบาตที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีสันนิบาตประชุมพระสาวก ผู้เป็นพระขีณาสพไร้มลทินมีจิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง.
พระอรหันตสาวก ผู้ถึงกำลังแต่งอภิญญา
ผู้ไม่ต้องไปในภพน้อยภพใหญ่ หกล้าน เหล่านั้นประชุมกันเป็นการประชุมครั้งที่ ๑.
ในสันนิบาตต่อมาอีก
เมื่อพระชินพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก
พระอรหันตสาวกห้าล้านประชุมกัน เป็นการประชุมครั้งที่ ๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 503
พระสุทัสสนอัครสาวก เมื่อเข้าเฝ้าพระนราสภก็เข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสาวกสี่แสน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อปฺปตฺตานํ ความว่า ผู้ไม่ถึงพร้อมในภพน้อยภพใหญ่.
ปาฐะว่า อปฺปวตฺตา ภวาภเว ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
บทว่า ติทิโวโรหเณ ได้แก่ เมื่อพระชินพุทธเจ้าเสด็จลงจากโลกสวรรค์.
จึงเห็นว่าลงในอรรถกัตตุการก ท่านกล่าวเป็นการกวิปลาส.
อีกนัยหนึ่ง
บทว่า ติทิโวโรหเณ ได้แก่ ในการเสด็จลงจากเทวโลก.
บทว่า ชิเน ได้แก่ เมื่อพระชินพุทธเจ้า พึงเห็นสัตตมีวิภัตติลงในในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ.

ได้ยินว่า ครั้งนั้น
พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
สดับข่าวว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
สดับธรรมกถา ก็ถวายราชสมบัติในมหาทวีปทั้ง ๔ พร้อมด้วยรัตนะ ๗ แด่
พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ทรงผนวชในสำนักของพระศาสดา
ชาวทวีปทั้งสิ้น รวบรวมรายได้ที่เกิดในรัฐ ทำหน้าที่ของคนวัดให้สำเร็จ ถวาย
มหาทานเป็นประจำแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน พระศาสดาแม้พระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า
จักเป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ ในอนาคตกาล.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ มีกำลังมาก ท่องเที่ยวไปในอากาศ.
เรามอบถวายราชสมบัติอย่างใหญ่ ในทวีปทั้ง ๔ และรัตนะ ๗ แด่พระพุทธเจ้าผู้สูงสุด
แล้วบวชในสำนักของพระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 504
ชาววัดทั้งหลาย รวบรวมรายได้ในชนบทมาจัดปัจจัย ที่นอน ที่นั่ง สำหรับพระภิกษุสงฆ์.
แม้พระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่ในหมื่นโลกธาตุพระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ในที่สุดสามหมื่นกัป.
พระตถาคตตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งร่าเริงใจ
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุศาสน์ทั้งหมด ยังพระศาสนาของพระชินเจ้าให้งาม.
เราอยู่อย่างไม่ประมาทในพระศาสนานั้น
เจริญพรหมวิหารภาวนา ถึงฝั่งแห่งอภิญญาแล้ว ไปสู่พรหมโลก.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า จตุทีปมฺหิ ความว่า แห่งมหาทวีป ๔ ที่มีทวีป [น้อย.] เป็นบริวาร.
บทว่า อนฺตลิกฺขจโร ความว่า ทำจักรรัตนะไว้ข้างหน้าท่องเที่ยวไปในอากาศ.
บทว่า รตเน สตฺต ได้แก่ รัตนะ ๗ มีหัตถิรัตนะเป็นต้น.
บทว่า อุตฺตเม ก็คือ อุตฺตมานิ เเปลว่า อุดม
อีกนัยหนึ่ง
พึงเห็นอรรถว่าอุตฺตเม พุทฺเธ แปลว่าในพระพุทธเจ้า ผู้อุดม.
บทว่า นิยฺยาตยิตฺวาน ได้แก่ ถวาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 505
บทว่า อุฏฺฐานํ ได้แก่ ผลประโยชน์ที่เกิดในรัฐ อธิบายว่า รายได้.
บทว่า ปฏิปิณฺฑิย ได้แก่ รวมเอามาเก็บไว้เป็นกอง.
บทว่า ปจฺจยํ ได้แก่ ปัจจัยต่างๆ มีจีวรเป็นต้น .
บทว่า ทสสหสฺสิมฺหิ อิสฺสโร ได้แก่ เป็นใหญ่ในหมื่นโลกธาตุ
คำนี้นั้น พึงทราบว่า ตรัสหมายถึงเขตแห่งชาติ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นใหญ่แห่งโลกธาตุ ที่ไม่มีที่สุด.
บทว่า ตึสกฺปฺปสหสฺสมฺหิ ความว่า ในที่สุดสามหมื่นกัปนับแต่กัปนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าสุชาตะ
ทรงมีพระนคร ชื่อว่า สุมังคละ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอุคคตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี
คู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสุทัสสนะ และ พระสุเทวะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระนารทะ
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนาคา และ พระนาคสมาลา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่า มหาเวฬุ ต้นไผ่ใหญ่
เขาว่าต้นไผ่ใหญ่นั้น มีรูลีบ ลำต้นใหญ่ ปกคลุมด้วยใบทั้งหลายที่ไร้มลทิน
สีเสมือนแก้วไพฑูรย์ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง งามเพริศแพร้วเหมือนกำแววหางนกยูง
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีพระสรีระสูง ๕๐ ศอก
พระชนมายุเก้าหมื่นปี
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสิรีนันทา
พระโอรสพระนามว่า อุปเสนะ
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือ ม้าต้น.
พระองค์ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหาร สิลาราม กรุงจันทวดี

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่อว่า สุมงคล
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอุคคตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี.
พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระสุทัสสนะ และ พระสุเทวะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระนารทะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 506
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระนาคา และพระนาคสมาลา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า มหาเวฬุ.
ไผ่ต้นนั้น ลำต้นตัน ไม่มีรู มีใบมาก ลำตรงเป็นไผ่ต้นใหญ่ น่าดูน่ารื่นรมย์.
ลำเดียวโดด เติบโต กิ่งทั้งหลายแตกออกจาก
ต้นนั้น ไผ่ต้นนั้นงามเหมือนกำแววทางนกยูง ที่เขาผูกกำไว้ดีแล้ว.
ไผ่ต้นนั้นไม่มีหนาม ไม่มีรู เป็นไผ่ใหญ่ มีกิ่งแผ่ไปไม่มีช่อง มีร่มเงาทึบน่ารื่นรมย์.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น ว่าโดยส่วนสูง ก็ ๕๐ ศอก
ทรงประกอบด้วยความประเสริฐ โดยเพราะอาการพร้อมสรรพ ทรงถึงพระพุทธคุณครบถ้วน.
พระรัศมีของพระองค์ ก็เสมอด้วยพระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอ
แล่นออกโดยรอบพระวรกายไม่มีประมาณ ชั่งไม่ได้ เปรียบไม่ได้ด้วยข้ออุปมาทั้งหลาย.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี
พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
ครั้งนั้น ปาพจน์คือธรรมวินัย งามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย เหมือนคลื่นในสาคร
เหมือนดารากรในท้องนภากาศ ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 507
พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น
ด้วยพระคุณเหล่านั้นที่ชั่งไม่ได้ด้วยทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่าแน่แท้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อจฺฉิทฺโท แปลว่า มีรูเล็ก
พึงเห็นเหมือนในประโยคเป็นต้นว่า อนุทรา กญฺญา หญิงสาวท้องเล็ก อาจารย์
บางพวกกล่าว ฉิทฺทํ โหติ ปริตฺตกํ ดังนี้ก็มี.
บทว่า ปตฺติโก แปลว่า มีใบมาก. อธิบายว่า ปกคลุมด้วยใบทั้งหลาย มีสีเหมือนแก้วผลึก
บทว่า อุชุ ได้แก่ ไม่คด ไม่งอ.
บทว่า วํโส แปลว่า ไม้ไผ่.
บทว่า พฺรหา ได้แก่ ใหญ่โดยรอบ.
บทว่า เอกกฺขนฺโธ ความว่า งอกขึ้นลำเดียวโดดไม่มีเพื่อน.
บทว่า ปวฑฺฒิตฺวา แปลว่า เติบโตแล้ว.
บทว่า ตโต สาขาปภิชฺชติ ได้แก่ กิ่ง ๕ แฉก แตกออกจากยอดไผ่ต้นนั้น.
ปาฐะว่า ตโตสาขา ปภิชฺชถ ดังนี้ก็มี.
บทว่า สุพทฺโธ ได้แก่ ที่เขาผูกโดยอาการผูกเป็นห้าเส้นอย่างดี.
กำแววหางนกยูง ที่เขาทำผูกเพื่อป้องกันแดด เรียกว่าโมรหัตถะ.
บทว่า น ตสฺส กณฺฏกา โหนฺติ ความว่า ไผ่ต้นนั้น เป็นต้นไม้มีหนามตามธรรมดา ก็ไม่มีหนาม.
บทว่า อวิรโฬ ได้แก่ ปกคลุมด้วยกิ่งไม่มีช่อง.
บทว่า สนฺทจฺฉาโย ได้แก่ มีร่มเงาทึบ ท่านกล่าวว่ามีร่มเงาทึบ ก็เพราะไม่มีช่อง.
บทว่า ปญฺญาสรตโน อาสิ ได้แก่ ๕๐ ศอก.
บทว่า สพฺพาการวรูเปโต ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยความประเสริฐทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 508
โดยอาการทั้งปวง ชื่อว่า ประกอบพร้อมด้วยความประเสริฐโดยการพร้อมสรรพ.
บทว่า สพฺพคุณมุปาคโต เป็นเพียงไวพจน์ของบทหน้า.
บทว่า อปฺปมาโณ ได้แก่ เว้นจากประมาณ หรือชื่อว่า ไม่มีประมาณ เพราะไม่อาจจะนับได้.
บทว่า อตุลิโย แปลว่า ชั่งไม่ได้. อธิบายว่า ไม่มีใครเหมือน.
บทว่า โอปมิเมหิ ได้แก่ ข้อที่พึงเปรียบ.
บทว่า อนูปโม ได้แก่ เว้นการเปรียบ อธิบายว่า อุปมาไม่ได้ เพราะไม่อาจกล่าว
อุปมาว่า เหมือนผู้นี้ ผู้นี้.
บทว่า คุณานิ จ ตานิ ก็คือ คุณา จ เต ความว่า พระคุณทั้งหลาย มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น
ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส
คำที่เหลือทุกแห่ง ความง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระสุชาตพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 509


15


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 477


๑๑. วงศ์พระสุเมธพุทธเจ้าที่ ๑๑
ว่าด้วยพระประวัติของพระสุเมธพุทธเจ้า

[๑๒] ต่อจาก สมัยของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า

พระชินพุทธเจ้า พระนามว่า สุเมธะ
เป็นผู้นำโลก ผู้อันเขาเข้าเฝ้าได้ยาก มีพระเดชยิ่ง สูงสุดแห่งโลกทั้งปวง.
พระองค์มีพระเนตรผ่องใส พระพักตร์งาม พระวรกายใหญ่ ตรง สดใส
ทรงแสวงประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ทรงเปลื้องคนเป็นอันมากให้พ้นจากเครื่องผูก.
ครั้งพระพุทธเจ้า บรรลุพระโพธิญาณ อันสูงสุดสิ้นเชิง
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุงสุทัสสนะ.
ในการแสดงธรรม แม้พระองค์ก็มีอภิสมัย ๓ ครั้ง
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์ แสนโกฏิ.
ต่อมาอีก พระชินพุทธเจ้า ทรงทรมานยักษ์ชื่อว่า กุมภกรรณ
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.
ต่อมาอีก พระผู้มีพระยศบริวาร หาประมาณมิได้
ทรงประกาศสัจจะ ๔ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 478
[/color]พระสุเมธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาต ประชุมพระสาวก ผู้เป็นพระขีณาสพไร้มลทินมีจิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง.
ครั้งพระชินพุทธเจ้า เสด็จเข้าไปในกรุงสุทัสสนะ
พระภิกษุขีณาสพร้อยโกฏิประชุมกัน.
ต่อมาอีก
เมื่อภิกษุทั้งหลาย กรานกฐินที่ภูเขาเทวกูฏ
ภิกษุเก้าสิบโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่๒.
ต่อมาอีก
ครั้งพระทศพลเสด็จจาริกไป ภิกษุแปดสิบโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

ครั้งนั้น เราเป็นมาณพ ชื่อ อุตตระ
เราสั่งสมทรัพย์ในเรือนแปดสิบโกฏิ.
เราถวายทรัพย์เสียทั้งหมดสิ้น แด่พระผู้นำโลกพร้อมทั้งพระสงฆ์ ถึงพระองค์เป็นสรณะ
ชอบใจการบวชอย่างยิ่ง.

ครั้งนั้น แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เมื่อทรงทำอนุโมทนา ก็ทรงพยากรณ์เราว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อล่วงไปสามหมื่นกัป.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์
ทรงตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาสในที่นั้น เข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 479
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญูชรา
เสด็จไปตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.

แต่นั้น พระผู้มียศใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ.

ท่านผู้นี้จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนางมายา
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่าโคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และอุตตรา
พระโคดมผู้มีพระยศ จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของพระพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้ว
ก็พากันปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 480
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก พากันส่งเสียงโห่ร้องปรบมือ หัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่าผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสอน [ศาสนา]
ของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้าพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุศาสน์ทุกอย่าง
ทำศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้งาม.
เราไม่ประมาทในพระศาสนานั้น
อยู่แต่ในอิริยาบถนั่งยืนและเดิน ถึงฝั่งแห่งอภิญญา ก็ไปสู่พรหมโลก

พระสุเมธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่อว่า สุทัสสนะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุทัตตา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 481
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่ เก้าพันปี
มีปราสาทชั้นยอด ๓ หลัง ชื่อว่า สุจันทะ กัญจนะ และสิริวัฑฒะ
มีพระสนมนารีที่ประดับกายงาม สี่หมื่นแปดพันนาง
มีพระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุมนา
พระโอรสพระนามว่า ปุนัพพะ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ช้าง
ทรงตั้งความเพียร ๘ เดือนเต็ม.

พระมหาวีระสุเมธะ ผู้นำโลก ผู้สงบอันท้าว
มหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ สุทัสสนราชอุทยานอันสูงสุด.

พระสุเมธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระอัครสาวกชื่อว่า พระสรณะ พระสัพพกามะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระสาคระ.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระรามา และ พระสุรามา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นนิมพะคือ ต้นสะเดา.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุรุเวลา และยสวา
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า ยสา และสิริวา.
พระมหามุนี สูง ๘๘ ศอก
ส่องสว่างทุกทิศเหมือนดวงจันทร์ ส่องสว่างเห็นหมู่ดาวฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 482
ธรรมดามณีรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ย่อมสว่างไปโยชน์หนึ่ง ฉันใด
รัตนะคือ พระรัศมีของพระองค์ก็แผ่ไปโยชน์หนึ่งโดยรอบ ฉันนั้น.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี
พระองค์ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
ย่อมยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.

พระศาสนานี้ มากไปด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
ผู้มีวิชชา ๓ มีอภิญญา ๖ ผู้ถึงกำลังฤทธิ์ คงที่.
พระอรหันต์แม้เหล่านั้น ผู้มีบริวารยศหาประมาณมิได้ ผู้หลุดพ้น ปราศจากอุปธิ
พระอรหันต์เหล่านั้น แสดงแสงสว่าง คือ ญาณแล้ว ต่างก็นิพพานกันหมด.
พระชินวรสุเมธพุทธเจ้า ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารเมธาราม
พระบรมสารีริกธาตุก็เฉลี่ยกระจายไปเป็นส่วนๆ ในประเทศนั้นๆ.
จบวงศ์พระสุเมธพุทธเจ้าที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 483

พรรณนาวงศ์พระสุเมธพุทธเจ้าที่ ๑๑
เมื่อพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ดับขันธปรินิพพานแล้ว
ศาสนาของพระองค์ก็อันตรธานแล้ว
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่อุบัติเป็นเวลา เจ็ดหมื่นปี ว่างพระพุทธเจ้า ในกัปหนึ่ง
สุดท้ายสามหมื่นกัปนับแต่กัปนี้
มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดสองพระองค์ คือ
พระสุเมธะ และ
พระสุชาตะ

ในสองพระองค์นั้น พระโพธิสัตว์นามว่า สุเมธะ ผู้บรรลุเมธาปัญญาแล้ว
บำเพ็ญบารมีทั้งหลาย บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนาง สุทัตตาเทวี
อัครมเหสี ของ พระเจ้าสุทัตตะ กรุงสุทัสสนะ
ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ สุทัสสนราชอุทยาน
ประหนึ่งดวงทินกรอ่อนๆ ลอดหลืบเมฆ ฉะนั้น
พระองค์ครองฆราวาสวิสัย เก้าพันปี
เขาว่าทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่า สุจันทนะสุกัญจนะและสิริวัฒนะ
ปรากฏมีพระสนมนารีสามหมื่นแปดพันนาง มีพระนางสุมนามหาเทวีเป็นประมุข.

พระสุเมธกุมาร นั้น
เมื่อพระโอรสของพระนางสุมนาเทวี พระนามว่า ปุนัพพสุมิตตะ
ทรงสมภพ ทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ม้า
ทรงผนวช มนุษย์ร้อยโกฏิก็บวชตาม
พระองค์อันมนุษย์เหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงทำความเพียร ๘ เดือน
ในวันวิสาขบูรณมีเสวยข้าวมธุปายาส ที่ ธิดานกุลเศรษฐี ณ นกุลนิคม ถวายแล้ว
ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาลวัน
ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่ สุวัฑฒอาชีวก ถวายแล้ว
ทรงลาดสันถัตหญ้า กว้าง ๒๐ ศอก ที่โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อ นีปะ ต้นกะทุ่ม
ทรงกำจัดกองกำลังมาร พร้อมทั้งตัวมารแล้ว ทรงบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 484
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติลํสารํ ฯ เป ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา
ทรงยับยั้งใกล้ๆ โพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ ๘
ทรงรับอาราธนาแสดงธรรมของท้าวมหาพรหม
ทรงตรวจดูภัพพบุคคล
ทรงเห็น สรณกุมารและสัพพกามีกุมาร
พระกนิษฐภาดาของพระองค์ และภิกษุที่บวชกับพระองค์ร้อยโกฏิ
เป็นผู้สามารถแทงตลอดธรรมคือ สัจจะ ๔ จึงเสด็จทางอากาศ
ทรงลงที่สุทัสสนะราชอุทยาน ใกล้กรุงสุทัสสนะ
โปรดให้พนักงานเฝ้าพระราชอุทยาน เรียกพระกนิษฐภาดามาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ท่ามกลางบริวารเหล่านั้น
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๑
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า
มีพระพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ ผู้นำ
ผู้ที่เข้าเฝ้ายาก มีพระเดชยิ่ง เป็นพระมุนี สูงสุดแห่งโลกทั้งปวง.

พระองค์มีพระเนตรผ่องใส พระพักตร์งามพระวรกายใหญ่ ตรง
สดใส ทรงแสวงประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ทรงเปลื้องสัตว์เป็นอันมาก จากเครื่องผูก.

ครั้งพระพุทธเจ้าทรงบรรลุพระโพธิญาณ อันสูงสุดสิ้นเชิง
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุงสุทัสสนะ.
อภิสมัยในการทรงแสดงธรรมแม้ของพระองค์ก็มี ๓ ครั้ง
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์ แสนโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อุคฺคเตโช ได้แก่ มีพระเดชสูง.
บทว่า ปสนฺนเนตฺโต ได้แก่ มีพระนัยนาใสสนิท
พระเนตรใสเหมือนก้อนแก้วมณี ที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 485
เขาชำระขัดวางไว้ เพราะฉะนั้นพระองค์เขาจึงเรียกว่า ผู้มีพระเนตรใส
อธิบายว่า มีพระนัยนาประกอบด้วย ขนตาอันอ่อนน่ารักเขียวไร้มลทิน และละเอียด
จะกล่าวว่า สุปฺปสนฺนปญฺจนยโน มีพระจักษุ ๕ ผ่องใสดี ดังนี้ก็ควร.
บทว่า สุมุโข ได้แก่ มีพระพักตร์เสมือนดวงจันทร์เต็มดวงในฤดูสารท.

บทว่า พฺรหา ได้แก่ พรหาคือใหญ่
เพราะทรงมีพระสรีระขนาด ๘๘ ศอก
อธิบายว่า ขนาดพระสรีระไม่ทั่วไปกับคนอื่นๆ.

บทว่า อุชุ ได้แก่ มีพระองค์ตรงเหมือนพรหม คือ มีพระสรีระสูงตรงขึ้นนั่นเอง
อธิบายว่ามีพระวรกายเสมือนเสาระเนียดทอง ที่เขายกขึ้นกลางเทพนคร.
บทว่า ปตาปวา ได้มีพระสรีระรุ่งเรือง.
บทว่า หิเตสี แปลว่า แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล.
บทว่า อภิสมยา ตีณิ ก็คือ อภิสมยา ตโย อภิสมัย ๓ ทำเป็นลิงควิปลาส.
ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติตอนย่ำรุ่ง
ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ทรงตรวจดูโลก
ก็เห็นยักษ์กินคน ชื่อ กุมภกรรณ
มีอานุภาพเสมือน กุมภกรรณ ปรากฏเรือนร่างร้ายอยู่ปากดงใหญ่
คอยดักตัดการสัญจรทางเข้าดงอยู่ แต่ลำพังพระองค์ไม่มีสหาย
เสด็จเข้าไปยังภพของยักษ์ตนนั้น เข้าไปข้างใน ประทับนั่งบนที่ไสยาสน์อันมีสิริ
ลำดับนั้น
ยักษ์ตนนั้น ทนการลบหลู่ไม่ได้ ก็กริ้วโกรธเหมือนงูมีพิษร้ายแรง
ถูกตีด้วยไม้ ประสงค์จะขู่พระทศพลให้กลัว
จึงทำอัตภาพของตนให้ร้ายกาจ
ทำศีรษะเหมือนภูเขา
เนรมิตดวงตาทั้งสองเหมือนดวงอาทิตย์
ทำเขี้ยวคมยาวใหญ่อย่างกับหัวคันไถ
มีท้องเขียวใหญ่ยาน
มีแขนอย่างกะลำต้นตาล
มีจมูกแบนวิกลและคด
มีปากแดงใหญ่อย่างกะปล่องภูเขา
มีเส้นผมใหญ่เหลืองและหยาบ
มีแววตาน่ากลัวยิ่ง
มายืนอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าสุเมธะ
บังหวนควัน บันดาลเพลิงลุกโชน บันดาลฝน ๙ อย่าง คือ
ฝนแผ่นหิน
ภูเขา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 486
เปลวไฟ
น้ำ
ตม
เถ้า
อาวุธถ่านเพลิงและฝนทราย ให้ตกลงมา
ไม่อาจให้พระผู้มีพระภาคเจ้าขับเขยื้อนแม้เท่าปลายขน
คิดว่า จำเราจักถามปัญหาแล้วฆ่าเสีย
แล้วถามปัญหาเหมือนอาฬวกยักษ์
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำยักษ์ตนนั้นเข้าสู่วินัย
ด้วยทรงพยากรณ์ปัญหา.
เขาว่า วันที่ ๒ จากวันนั้น พวกมนุษย์ชาวแคว้น
นำเอาราชกุมารพร้อมด้วยภัตตาหารที่บรรทุกมาเต็มเกวียน มอบให้ยักษ์ตนนั้น
ครั้งนั้น ยักษ์ได้ถวายพระราชกุมารแด่พระพุทธเจ้า
พวกมนุษย์ที่อยู่ประตูดง ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้งนั้น ในสมาคมนั้น พระทศพลเมื่อจะทรงแสดงธรรมอันเหมาะแก่ใจของยักษ์
ทรงยังธรรมจักษุให้เกิดแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ นั้นเป็นธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
วันรุ่งขึ้น พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงทรมาน ยักษ์กุมภกรรณ
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์ เก้าหมื่นโกฏิ.
ครั้งที่ทรงประกาศสัจจะ ๔ ณ สิรินันทราช อุทยาน อุปการีนคร
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์ แปดหมื่นโกฏิ

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อมาอีก
พระผู้มีพระยศหาประมาณมิได้ ก็ทรงประกาศสัจจะ ๔
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าสุเมธะ ก็ทรงมีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ในสันนิบาตครั้งที่ ๑ ณ กรุงสุทัสสนะ มีพระขีณาสพร้อยโกฏิ
ในสันนิบาตครั้งที่ ๒ เมื่อพวกภิกษุกรานกฐิน ณ ภูเขาเทวกูฏ มีพระอรหันต์เก้าสิบโกฏิ
ในสันนิบาตครั้งที่ ๓ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริก มีพระอรหันต์แปดสิบโกฏิ
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 487

พระสุเมธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีสันนิบาตประชุมสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง.
ครั้งพระชินพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปยังกรุงสุทัสสนะ ภิกษุขีณาสพร้อยโกฏิ ประชุมกัน.
ต่อมา ครั้งภิกษุทั้งหลายช่วยกันกรานกฐิน ณ ภูเขาเทวกูฎ พระขีณาสพเก้าสิบโกฏิ
ประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ต่อมา ครั้งพระทศพลเสด็จจาริกไป พระขีณาสพแปดสิบโกฏิ
ประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

ครั้งนั้น
พระโพธิสัตว์ของเราเป็นมาณพที่เป็นยอดของคนทั้งปวง ชื่อ อุตตระ
สละทรัพย์แปดสิบโกฏิ ที่ฝังเก็บไว้
ถวายมหาทานแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
ฟังธรรมของพระทศพลในครั้งนั้น ก็ตั้งอยู่ในสรณะ แล้วออกบวช
พระศาสดาแม้พระองค์นั้น เมื่อทรงทำอนุโมทนาโภชนทาน
ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า
ในอนาคตกาล จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นมาณพชื่ออุตตระ เราสั่งสมทรัพย์ไว้ในเรือนแปดสิบโกฏิ.
เราถวายทรัพย์ทั้งหมดสิ้น แด่พระผู้นำโลกพร้อมทั้งพระสงฆ์ ถึงพระองค์เป็นสรณะ
และเราชอบใจการบวชอย่างยิ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 488
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงทำอนุโมทนาทรงพยากรณ์เราว่า
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อล่วงไปสามหมื่นกัป.
พระตถาคต ทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
พึงทำคาถาพยากรณ์ให้พิศดาร
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อม
ใสจึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
เราเล่าเรียนพระสูตรพระวินัย และนวังคสัตถุศาสน์ทุกอย่าง
ยังศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้งาม.
เราไม่ประมาทในพระศาสนานั้น.
อยู่แต่ในอิริยาบถ นั่ง ยืน และเดิน ก็ถึงฝั่งแห่งอภิญญา เข้าถึงพรหมโลก.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สนฺนิจิตํ ได้แก่ เก็บไว้โดยการฝัง.
บทว่า เกวลํ แปลว่า ทั้งสิ้น.
บทว่า สพฺพํ ได้แก่ ให้ไม่เหลือเลย.
บทว่า สสงฺเฆ ก็คือ พร้อมกับพระสงฆ์.
บทว่า ตสฺสูปคญฺฉึ ก็คือ ตํ อุปคญฺฉึฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถทุติยาวิภัตติ.
บทว่า อภิโรจยึ ได้แก่ บวช.
บทว่า ตึสกปฺปสหสฺสมฺหิ ความว่า เมื่อสามหมื่นกัปล่วงแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า สุเมธะ
ทรงมีพระนครชื่อว่า สุทัสสนะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ
พระชนนี พระนามว่า พระนางสุทัตตา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 489

คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระสรณะ และ พระสัพพกามะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อ พระสาคระ
คู่พระอัครสาวิกา ชื่อ พระรามา พระสุรามา
โพธิพฤกษ์ ชื่อ มหานีปะ คือ ต้นกะทุ่มใหญ่
พระสรีระสูง ๘๘ ศอก
พระชนมายุเก้าหมื่นปี

ทรงครองฆราวาสวิสัยเก้าพันปี
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนาง สุมนา
พระโอรสพระนามว่า ปุนัพพสุมิตตะ
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือช้าง.
คำที่เหลือปรากฏในคาถาทั้งหลาย
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุเมธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่อว่า สุทัสสนะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุทัตตา.
พระสุเมธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสรณะ พระสัพพกามะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสาคระ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระรามา พระสุรามา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นมหานีปะ คือต้นกะทุ่มใหญ่.
พระมหามุนี สูง ๘๘ ศอก
ทรงส่องสว่างทั่วทุกทิศ เหมือนดวงจันทร์ส่องสว่างในหมู่ดาว ฉะนั้น.
ธรรมดามณีรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมส่องสว่างไปได้โยชน์หนึ่ง ฉันใด
รัตนะคือพระรัศมีของพระสุเมธพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็แผ่ไปโยชน์หนึ่งโดยรอบ ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 490

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี
พระองค์มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น ย่อมยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระศาสนานี้ เกลื่อนกล่นด้วยพระอรหันต์ ผู้มีวิชชา ๓ มีอภิญญา ๖ ผู้ถึงกำลังคงที่ดี.
พระอรหันต์เหล่านั้นทั้งหมด มียศที่หาประมาณมิได้ หลุดพ้น ปราศจากอุปธิ
ท่านผู้มียศใหญ่เหล่านั้นแสดงแสงสว่างคือญาณแล้ว ต่างก็นิพพานไป.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า จนฺโท ตาราคเณ ยถา ความว่า จันทร์เพ็ญในท้องฟ้า
ย่อมส่องหมู่ดาวให้สว่าง ให้ปรากฏ ฉันใด
พระสุเมธพุทธเจ้า ก็ทรงส่องทุกทิศให้สว่าง ฉันนั้นเหมือนกัน.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
จนฺโท ปณฺณรโส ยถา ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้น ความง่ายเหมือนกัน.
บทว่า จกฺกวตฺติมณี นาม ความว่า มณีรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ยาว ๔ ศอก
ใหญ่เท่ากับดุมเกวียน มีมณีแปดหมื่นสี่พันเป็นบริวาร
มาถึงมณีรัตนะที่ดูน่ารื่นรมย์อย่างยิ่งจากเวปุลลบรรพต
ดุจเรียกเอาความงามที่เกิดจากสิริของรัชนีกรเต็มดวงในฤดูสารทอันหมู่ดาวแวดล้อมแล้ว
รัศมีของมณีรัตนะนั้นที่มาอย่างนั้น ย่อมแผ่ไปตลอดโอกาสประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบ ฉันใด
รัตนะ คือ พระรัศมีก็แผ่ไปโยชน์หนึ่ง โดยรอบ
จากพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 491
บทว่า เตวิชฺชฉฬภิญฺเญหิ ความว่า ผู้มีวิชชา ๓ และอภิญญา ๖.
บทว่า พลปฺปตฺเตหิ ได้แก่ ผู้ถึงกำลังแห่งฤทธิ์.
บทว่า ตาทิหิ ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้คงที่.
บทว่า สมากุลํ ได้แก่ เกลื่อนกล่น คือ รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวะอย่างเดียวกัน.
ท่านกล่าวว่า อิทํ หมายถึง พระศาสนาหรือพื้นแผ่นดิน.
บทว่า อมิตยสา ได้แก่ ผู้มีบริวารหาประมาณมิได้ หรือผู้มีเกียรติก้องที่ชั่งไม่ได้.
บทว่า นิรูปธี ได้แก่ เว้นจากอุปธิ ๔.
คำที่เหลือในคาถาทั้งหลายในที่นี้ทุกแห่ง ชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระสุเมธพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 492

[/b][/color]


หน้า: [1] 2 3 ... 6