กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้
กระดานสนทนาธรรม

ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก บ้านห้วยยางทอง ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ 67260


กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: [1] 2 3 ... 10
1
กิจกรรมเด็กวัดและสมาชิกสัมพันธ์ / Assess the Pros and Cons of Property Transformation
« กระทู้ล่าสุด โดย Thomastaf เมื่อ ตุลาคม 13, 2024, 11:45:39 PM »
 
 
 
 
 
Selling your house for cash and renovating real estate for profit can be an superb strategy to produce profit in the housing market, but it requires comprehensive preparation and arrangement. Commence by precisely evaluating your property's market worth, which you can accomplish through licensed evaluations, comparisons with comparable residences, or digital assessment tools. Correct valuing is vital to circumvent financial deficits or extended marketing durations. Engaging a property broker can give important insights to aid you determine a reasonable and accurate value reflecting current marketplace conditions.
 
Prior to offering your property for money, focus on performing essential repairs and improvements, particularly in key areas like the cooking area and washrooms, which can significantly increase your home's price and attractiveness. Making sure that your property is clean and orderly is essential to luring potential investors promptly. Additionally, preparing your home by tidying up, placing fixtures carefully, and incorporating elegant ornaments can form an inviting environment that enhances investor attraction. Hiring a licensed property stager can moreover optimize your property’s presentation.
 
For those aiming to flip houses for profit, getting the appropriate investment is vital. Choices such as conventional bank funds, private credits, and individual funds are obtainable, and it's critical to choose one that fits with your economic condition and undertaking needs. Verify you have a strong payback approach in position. Collaborating with the proper professionals, like property professionals, renovators, evaluators, and attorney professionals, is vital for a effective property renovating venture. These professionals can assist in locating the ideal home, managing renovations, assessing home status, and managing law-related issues, securing a seamless and profitable revolving procedure. For more details and materials on this area, kindly explore my top page.
 
As long as you wish to be taught how more about this topic come visit a web page:
 
[color=#000_url]sell real estate by owner by Atlanta GA and Conyers GA 30013[/color]
 
Planning to sell and buy in Property Transformation 239c6df
2
คืนวันเสาร์ที่ 12 ต.ค. 2567 เวลาประมาณ 20.00 น. มีถ่ายทอดสด การแสดงธรรมจากที่พักสงฆ์ป่าสามแยก
3
ลิงค์สำหรับลงทะเบียน ไปทำบุญที่วัด 12-14 ต.ค.67
https://forms.gle/VBjSu3oxsK441vu26

4


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 452
มหาโจร ๕ จำพวก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มหาโจร ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

มหาโจร ๕ จำพวกเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มหาโจร บางคน ในโลกนี้
ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า

เมื่อไรหนอ
เราจักเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง หรือ พันหนึ่งแวดล้อม
แล้วท่องเที่ยวไปในคามนิคมและราชธานี

เบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียน
ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด
เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญ

สมัยต่อมา
เขาเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่ง แวดล้อม
แล้วเที่ยวไปในตามนิคมและราชธานี

เบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียน
ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด
เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล

ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า
เมื่อไรหนอ
เราจึงจักเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อม
แล้วเที่ยวจาริกไปในคามนิคมและราชธานี
อันคฤหัสถ์และบรรพชิต
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง
ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

สมัยต่อมา
เธอเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อม
แล้วเที่ยวจาริกไปในตามนิคมและราชธานี
อันคฤหัสถ์และบรรพชิต
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรงแล้ว ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัย เภสัชบริขารทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก.

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
ภิกษุผู้เลวทรามบางรูป ในธรรมวินัยนี้
เล่าเรียนธรรมวินัย อันตถาคตประกาศแล้ว
ย่อมยกตนขึ้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในโลก.



๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้

ย่อม ตาม กำจัด เพื่อนพรหมจารี ผู้หมดจด ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์
อยู่ด้วยธรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ อันหามูลมิได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในโลก.



๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
ภิกษุผู้เลวทราม บางรูปในธรรมวินัยนี้
ย่อมสงเคราะห์ เกลี้ยกล่อมคฤหัสถ์ ทั้งหลาย ด้วยครุภัณฑ์
ครุบริขารของสงฆ์ คือ
อาราม พื้นที่อาราม
วิหาร พื้นที่วิหาร
เตียง ตั่ง ฟูก  หมอน
หม้อโลหะ อ่างโลหะ
กระถางโลหะ กระทะโลหะ
มีด ขวาน ผึ่ง จอบ
สว่าน เถาวัลย์ ไม้ไผ่
หญ้ามุงกระต่าย หญ้าปล้อง
หญ้าสามัญ ดินเหนียว
เครื่องไม้ เครื่องดิน

ดูก่อนภิกษุทั้งหาลาย
นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก.


๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม
อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง นี้จัดเป็นยอดมหาโจร

ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้น ฉันก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น
ด้วยอาการแห่งคนขโมย.


นิคมคาถา
ภิกษุใด ประกาศตนอันมีอยู่โดยอาการอื่น ด้วยอาการอย่างอื่น
โภชนะนั้น อันภิกษุนั้น ฉันแล้ว ด้วยอาการแห่งคนขโมย
ดุจ พรานนก ลวงจับนก ฉะนั้น
 
ภิกษุผู้เลวทรามเป็นอันมาก
มีผ้ากาสาวะพันคอ
มีธรรมทรามไม่สำรวมแล้ว
ภิกษุผู้เลวทรามเหล่านั้นย่อมเข้าถึงซึ่งนรก
เพราะกรรมทั้งหลายที่เลวทราม

ภิกษุผู้ทุศีล ผู้ไม่สำรวมแล้ว
บริโภคก้อนเหล็กแดงดังเปลวไฟ ประเสริฐกว่า
การฉันก้อนข้าวของชาวรัฏฐะ จะประเสริฐอะไร.


5
ภาพการทำงานพัฒนาสถานีตำรวจภูธรน้ำหนาว ของอาจารย์เกษม เจ้าหน้าที่และครอบครัว วันที่ 15 กันยายน 2567



















6
ภาพการทำงานพัฒนาสถานีตำรวจภูธรน้ำหนาว ของอาจารย์เกษม เจ้าหน้าที่และครอบครัว วันที่ 13 กันยายน 2567









7
ภาพการทำงานพัฒนาสถานีตำรวจภูธรน้ำหนาว ของอาจารย์เกษม เจ้าหน้าที่และครอบครัว วันที่ 5 กันยายน 2567











































































8

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 667
๒๔. วงศ์พระกัสสปพุทธเจ้าที่ ๒๔
ว่าด้วยพระประวัติของพระกัสสปพุทธเจ้า
[๒๕] ต่อมาจากสมัยของ พระโกนาคมนพุทธเจ้า
ก็มีพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า
จอมทัพธรรม ผู้ทำพระรัศมี.
เรือนของตระกูล มีข้าวนำโภชนะมาก ก็สลัดทิ้งแล้ว
ให้ทานแก่พวกยาจก ยังใจให้เต็มแล้วทำลาย
เครื่องผูกพันดังคอก เหมือนโคอุสภะพังคอกฉะนั้น
ก็บรรลุพระสัมโพธิญาณสูงสุด.

เมื่อพระกัสสปพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่ สัตว์สองหมื่นโกฏิ.
ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกในเทวโลก ๔ เดือน อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ ตัวหนึ่งหมื่นโกฏิ.
ครั้งทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ประกาศพระสัพพัญญุตญาณ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์ห้าพันโกฏิ.

พระชินพุทธเจ้าประทับนั่ง ณ สภา ชื่อ สุธรรมา
ณ ดาวดึงส์เทวโลกทรงประกาศพระอภิธรรม
ทรงยังเทวดา สามพันโกฏิ ให้ตรัสรู้.

อีกครั้งหนึ่ง
ทรงแสดงธรรมโปรดนรเทวยักษ์ อภิสมัยของสัตว์เหล่านั้น นับจำนวนไม่ถ้วน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 668
พระผู้เป็นเทพแห่งเทพพระองค์นั้น
ทรงมีสันนิบาต ประชุมพระสาวกขีณาสพผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบคงที่ ครั้งเดียว.
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมพระภิกษุสาวกสองหมื่น
ผู้เป็นพระขีณาสพล่วงภพ เสมอกันด้วยหิริและศีล.

ครั้งนั้น เราเป็นมาณพ ปรากฏชื่อว่า โชติปาละ ผู้คงแก่เรียน
ทรงมนต์ จบไตรเพท ถึงฝั่งในลัทธิธรรมของตน ในลักษณศาสตร์ และ อิติหาสศาสตร์
ฉลาดรู้พื้นดินและอากาศ สำเร็จวิชาอย่างสมบูรณ์.
อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ ชื่อว่า ฆฏิการะ ผู้น่าเคารพ น่ายำเกรง
อันพระองค์ทรงแนะนำในอริยผลที่ ๓ [อนาคามีผล]
ท่านฆฏิการอุบาสก พาเราเข้าเฝ้าพระกัสสปชินพุทธเจ้า
เราฟังธรรมแล้วก็บวชในสำนักของพระองค์.
เราเป็นผู้ปรารภความเพียร ฉลาดในข้อวัตรน้อยใหญ่ไม่เสื่อมคลาย
ไม่ว่าในคุณข้อไหนๆ ยังคำสั่งสอนของพระชินพุทธเจ้าให้บริบูรณ์อยู่.

เราเล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์ พุทธวจนะตลอดทั้งหมด
ยังพระศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้งามแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 669
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น
ทรงเห็นความอัศจรรย์ของเรา
ก็ทรงพยากรณ์ว่า ในภัทรกัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วเสด็จเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ เข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์.

แต่นั้น พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ.

ท่านผู้นี้ จักมี
พระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวกชื่อว่าพระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 670
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อ พระเขมา และพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตาและอุตตรา
พระโคตมะผู้มีพระยศ จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์แลเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของพระผู้ไม่มีผู้เสมอ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้ว ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวดา พากันโห่ร้องปรบมือ
หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้าพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 671
เราท่องเที่ยวไปอย่างนี้ เว้นเด็ดขาดจากการอนาจารเราทำแต่กิจกรรมที่ทำได้ยาก
ก็เพราะเหตุอยากได้พระโพธิญาณอย่างเดียว.
พระนคร ชื่อว่า พาราณสี
มีกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้ากีกิ
ตระกูลของพระกัสสปพุทธเจ้าเป็นตระกูลใหญ่ อยู่ในพระนครนั้น.

พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า พรหมทัตตะ
พระชนนีเป็นพราหมณีชื่อว่า ธนวดี.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่ สองพันปี
มีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่าหังสะ ยสะ และ สิริจันทะ
มีนางบำเรอสี่หมื่นแปดพันนาง
มีพระนางสุนันทาเป็นประมุข
มีพระราชบุตรพระนามว่า วิชิตเสนะ.

พระผู้สูงสุดในบุรุษ
ทรงเห็นนิมิต ๔
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท
ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน.

พระมหาวีระกัสสปะ
ผู้นำโลก
สูงสุดในนรชนอันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มิคทายวัน.

พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระติสสะ และพระภารทวาชะ
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัพพมิตตะ.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระอนุลา และพระอุรุเวลา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นเรียกว่าต้นนิโครธ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 672
มีอัครอุปัฏฐากชื่อว่า สุมังคละและฆฏิการะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่าวิชิตเสนา และภัททา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๒๐ ศอก
เหมือนสายฟ้าแลบในอากาศ เหมือนดวงจันทร์ทรงกลด.

พระองค์ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระชนมายุสองหมื่นปี
พระองค์มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ ทรงสร้างสระธรรม ประทานศีลเป็นเครื่องลูบไล้
ทรงนุ่งผ้าธรรม แจกจ่ายพวงมาลัยธรรม.
ทรงตั้งธรรมอันใสสะอาดเป็นกระจกแก่มหาชน
คนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปรารถนาพระนิพพานก็จักดูเครื่องประดับของเรา.
ประทานศีลเป็นเสื้อ ฌานเป็นเกราะหนัง ห่มธรรมเป็นหนัง [เสือ]
ประทานเกราะสวมอันสูงสุด.
ประทานสติเป็นโล่ ญาณเป็นหอกคมกริบ
ประทานธรรมเป็นพระขรรค์อย่างดี ศีลเป็นเครื่อง*ย่ำยีศัตรู.
ประทานวิชชา ๓ เป็นเครื่องประดับ ผล ๔ เป็นมาลัยคล้องคอ
ประทานอภิญญา ๖ เป็นอาภรณ์ ธรรมเป็นดอกไม้ประดับ.
๑. อ. สีลสํสคฺคฆทฺทนํ ศีลเป็นเครื่องย่ำยีความคลุกคลี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 673
พระองค์ทั้งพระสาวก ประทานพระสัทธรรมเป็นเศวตฉัตรไว้ป้องกันบาป
ทรงเนรมิตดอกไม้คือทางอันไม่มีภัย แล้วก็ดับขันธปรินิพพาน.
นั่นคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ อันใครเข้าเฝ้าได้ยาก.
นั่นคือพระธรรมรัตนะ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ควรเรียกให้มาดู.
นั่นคือพระสังฆรัตนะ ผู้ปฏิบัติดียอดเยี่ยมทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

พระชินศาสดา มหากัสสปพุทธเจ้า
ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารเสตัพยาราม
ชินสถูปของพระองค์ ณ พระวิหารนั้น สูงหนึ่งโยชน์.
จบวงศ์พระกัสสปพุทธเจ้าที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 674
พรรณนาวงศ์พระกัสสปพุทธเจ้าที่ ๒๔
ภายหลังต่อมาจากสมัยพระผู้มีพระภาคเจ้า โกนาคามนะ
เมื่อพระศาสนาของพระองค์อันตรธานแล้ว
สัตว์ที่มีอายุสามหมื่นปี ก็เสื่อมลดลงโดยลำดับจนถึงมีอายุสิบปี
แล้วเจริญอีก จนมีอายุนับไม่ถ้วน แล้วก็เสื่อมลดลงอีกโดยลำดับ

เมื่อสัตว์เกิดมามีอายุสองหมื่นปี
พระศาสดาพระนามว่ากัสสปะ

ผู้ปกครองมนุษย์เป็นอันมาก ก็อุบัติขึ้นในโลก.
พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย แล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพราหมณีชื่อว่าธนวดี
ผู้มีคุณไพบูลย์ ของพราหมณ์ชื่อว่าพรหมทัตตะ กรุงพาราณสี
ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ตลอดออกจากครรภ์ชนนี ณ อิสิปตนะมิคทายวัน
แต่ญาติทรงหลายตั้งพระนามของพระองค์โดยโคตรว่า กัสสปกุมาร

พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่สองพันปี.
มีปราสาท ๓ หลังชื่อว่าหังสวา ยสวา และสิรินันทะ
ปรากฏมีนางบำเรอสี่หมื่นเเปดพันนาง
มีนางสุนันทาพราหมณี เกิดแล้ว
เมื่อบุตรชื่อ วิชิตเสนะ ของ นางสุนันทาพราหมณี เกิดแล้ว
พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ เกิดความสังเวชสลดใจ
เมื่อระหว่างที่พระองค์ทรงดำริเท่านั้น
ปราสาทก็หมุนเหมือนจักรแห่งแป้นทำภาชนะดิน
ลอยขึ้นสู่ท้องนภากาศ อันคนหลายร้อยแวดล้อมแล้ว
ดุจดวงรัชนีกรในฤดูสารท ที่เป็นกลุ่มทำความงามอย่างยิ่งอันหมู่ดาวแวดล้อมแล้ว
ลอยไปประหนึ่งประดับท้องนภากาศ
ประหนึ่งประกาศบุญญานุภาพ
ประหนึ่งดึงดูดดวงตาดวงใจของชน
ประหนึ่งทำยอดไม้ทั้งหลายให้งามยิ่ง
เอาต้นโพธิ์พฤกษ์ชื่อนิโครธต้นไทรไว้ตรงกลาง
แล้วลงตั้งเหนือพื้นดิน

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ ผู้เป็นมหาสัตว์ทรงยืนที่แผ่นดิน
ทรงถือเอาผ้าธงชัยแห่งพระอรหัตที่เทวดาถวาย ทรงผนวชแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 675
นางบำเรอของพระองค์ก็ลงจากปราสาท เดินทางไปครึ่งคาวุต
พร้อมด้วยบริวารจึงพากันนั่งกระทำให้เป็นดุจค่ายพักของกองทัพ.
แต่นั้น คนที่มาด้วยก็พากันบวชหมด เว้นนางบำเรอ.

ได้ยินว่า
พระมหาบุรุษ อันชนเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน
ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส ที่นางสุนันทาพราหมณีถวายแล้ว
ทรงพักกลางวัน ณ ป่าตะเคียน เวลาเย็น
ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียว ชื่อ โสมะ ถวาย
จึงเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อต้นนิโครธ
ทรงลาดหญ้ากว้างยาว ๑๕ ศอก ประทับนั่งเหนือสันถัตนั้น
บรรลุพระอภิสัมโพธิญาณ
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯ ล ฯ ตณฺหานํขยมชฺฌคา ดังนี้

ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์
ทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของภิกษุหนึ่งโกฏิ ซึ่งบวชกับพระองค์
เสด็จไปทางอากาศ ลงที่อิสิปตนะมิคทายวัน กรุงพาราณสี
อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ อิสิปตนะมิคทายวันนั้น
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สองหมื่นโกฏิ
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อมาจากสมัยของพระโกนาคมนพุทธเจ้า ก็มีพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กัสสปะ
ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ผู้เป็นราชาแห่งธรรม ผู้ทำพระรัศมี.
เรือนแห่งสกุล มีข้าวน้ำโภชนะ เป็นอันมาก
พระองค์ก็สละเสียแล้ว ทรงให้ทานแก่ยาจกทั้งหลายยังใจให้เต็มแล้ว
ทำลายเครื่องผูก ดุจโคอุสภะพังคอกฉะนั้น ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 676
เมื่อพระกัสสปพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรงประกาศ
พระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สองหมื่นโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สญฺฉฑฺฑิตํ ได้แก่ อันเขาละแล้ว ทิ้งแล้ว เสียสละแล้ว.
บทว่า กุลมูลํ ความว่า เรือนแห่งสกุล มีกองโภคะ
นับไม่ถ้วน มีกองทรัพย์หลายพันโกฏิ มีโภคะเสมือนภพท้าวสหัสสนัยน์ ที่
สละได้แสนยาก ก็สละได้เหมือนอย่างหญ้า.
บทว่า ยาจเก ได้แก่ ให้แก่ยาจกทั้งหลาย.
บทว่า อาฬกํ ได้แก่ คอกโค.
อธิบายว่า โคอุสภะพังคอกเสียแล้วก็ไปยังที่ปรารถนาได้ตามสบาย ฉันใด
แม้พระมหาบุรุษทำลายเครื่องผูกคือเรือนเสียแล้ว ก็ทรงบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณได้ ฉันนั้น.

ต่อมาอีก
เมื่อพระศาสดาเสด็จจาริกไปในชนบท อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์หนึ่งหมื่นโกฏิ
ครั้งพระองค์ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ที่โคนต้นประดู่ ใกล้ประตูสุนทรนคร
ทรงแสดงธรรม อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์ห้าพันโกฏิ

ต่อมาอีก
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์แล้ว ประทับนั่ง ณ เทวสภาชื่อสุธัมมา
ในภพดาวดึงส์ ซึ่งยากนักที่ข้าศึกของเทวดาจะครอบงำได้
เมื่อทรงแสดงอภิธรรมปิฏก ๗ คัมภีร์
เพื่อทรงอนุเคราะห์เทวดาทั้งหลาย ในหมื่นโลกธาตุ
มีธนวดีชนนีของพระองค์เป็นประมุข
ทรงยังเทวดาสามพันโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้ง พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปในโลก ๔ เดือน
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์หนึ่งหมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 677
ครั้งทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์
ประกาศพระสัพพัญญุตญาณ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่เทวดาห้าพันโกฏิ.

พระชินพุทธเจ้า ประทับนั่ง ณ ธรรมสภา ชื่อสุธัมมา
ณ เทวโลกอันน่ารื่นรมย์ [ดาวดึงส์]
ทรงประกาศพระอภิธรรม ยังเทวดาสามพันโกฏิให้ตรัสรู้.
อีกครั้งทรงแสดงธรรมโปรดนรเทวยักษ์
อภิสมัยได้มีแก่ สัตว์เหล่านั้น นับจำนวนไม่ได้เลย.


แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า จตุมาสํ ก็คือ จาตุมาเส แปลว่า ๔ เดือน หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า จรติ ก็คือ อจริ. แปลว่า ได้เสด็จจาริกไปแล้ว
บทว่า ยมกํ วิกุพฺพนํ กตฺวา ได้แก่ ทรงทำยมกปาฏิหาริย์.
บทว่า ญาณธาตุํ ได้แก่ สภาพของพระสัพพัญญุตญาณ อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า สพฺพญาณธาตุํ ดังนี้ก็มี.
บทว่า ปกิตฺตยิ ได้แก่ ทรงประกาศแก่มหาชน.
บทว่า สุธมฺมา ความว่า สภาชื่อว่าสุธัมมา มีอยู่ในภพดาวดึงส์
พระองค์ประทับนั่ง ณ สภานั้น.
บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ พระอภิธรรม.

เขาว่า ครั้งนั้น มียักษ์ชื่อว่า นรเทพ
ผู้เป็นนรเทพผู้มีอานุภาพและผู้พิชิต ซึ่งมีศักดิ์ใหญ่และฤทธิ์มาก
เหมือนนรเทพยักษ์ที่กล่าวมาแล้วแต่หนหลัง.
นรเทพยักษ์นั้น แปลงตัวเหมือนพระราชาในนครหนึ่งในชมพูทวีป
ทั้งรูปร่างทรวดทรงสุ้มเสียงท่วงที แล้วฆ่าพระราชาตัวจริงกินเสีย
ปฏิบัติหน้าที่พระราชาพร้อมทั้งในราชสำนัก โปรดเสวยเนื้อไม่จำกัดจำนวน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 678
เขาว่า นรเทวยักษ์นั้น เป็นนักเลงหญิงด้วย
แต่คราใดสตรีพวกที่ฉลาดเฉลียว รู้จักเขาว่า ผู้นี้ไม่ใช่พระราชาของเรา
นั่นอมนุษย์ผู้ฆ่าพระราชากินเสีย
ครานั้น เขาทำเป็นละอายกินสตรีพวกนั้นหมด แล้วก็เดินทางไปนครอื่น.
ด้วยประการดังนี้ นรเทวยักษ์นั้นกินมนุษย์แล้วก็มุ่งหน้าไปทางสุนทรนคร
พวกมนุษย์ชาวนครเห็นเขาถูกมรณภัยคุกคามก็สะดุ้งกลัว
พากันออกจากนครของตนหนีชมซานไป.

ครั้งนั้น พระกัสสปทศพล
ทรงเห็นพวกมนุษย์พากันหนีไป
ก็ประทับยืนประจันหน้านรเทวยักษ์นั้น
นรเทวยักษ์ครั้นเห็นพระเทพแห่งเทพยืนประจันหน้า
ก็แผดเสียงกัมปนาทดุดัน ร้ายกาจ แต่ไม่อาจให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเกิดความกลัวได้
ก็ถึงพระองค์เป็นสรณะ แล้วทูลถามปัญหา
เมื่อพระองค์ทรงวิสัชนาปัญหา ทรงฝึกเขา แสดงธรรม
อภิสมัยก็ได้มีแก่มนุษย์และเทวดาที่มาประชุมกัน เกินที่จะนับจำนวนได้ถ้วน.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
นรเทวสฺส ยกฺขสฺส เป็นต้น. ในคาถานั้น
บทว่า อปเร ธมฺมเทสเน ได้แก่ ในการแสดงธรรมครั้งอื่นอีก.
บทว่า เอเตสานํ ก็คือ เอเตสํ.

พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ พระองค์นั้น
มีสาวกสันนิบาตครั้งเดียวเท่านั้น.

มีบุตรปุโรหิตในกรุงพาราณสี ชื่อว่า ติสสะ
เขาเห็นลักษณะสมบัติในพระสรีระของ พระกัสสปโพธิสัตว์
 ฟังบิดาพูด ก็คิดว่า
ท่านผู้นี้จักออกมหาภิเนษกรมณ์เป็นพระพุทธเจ้า อย่างไม่ต้องสงสัย
จำเราจักบวชในสำนักของพระองค์พ้นจากสังสารทุกข์
จึงไปยังป่าหิมพานต์ที่มีหมู่มุนีผู้บริสุทธิ์ บวชเป็นดาบส.
เขามีดาบสสองหมื่นเป็นบริวาร.

ต่อมาภายหลัง
เขาทราบข่าวว่าพระกัสสปกุมาร
ออกอภิเนษกรมณ์บรรลุพระอภิสัมโพธิญาณ
จึงพร้อมด้วยบริวารมาบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ แล้วบรรลุพระอรหัต.
พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ในวันมาฆบูรณมีในสมาคมนั้น.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 679
พระผู้เป็นเทพแห่งเทพแม้พระองค์นั้น
ทรงมีสาวกสันนิบาต ประชุมพระสาวกขีณาสพผู้ไร้มลทินคงที่ ครั้งเดียว.
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมภิกษุสาวกของผู้เป็นพระขีณาสพ
ล่วงอริยบุคคลระดับอื่น เสมอกันด้วยหิริและศีล.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อติกฺกนฺตภวนฺตานํ ได้แก่ ผู้เกินระดับปุถุชนและอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น
คือเป็นพระขีณาสพหมดทั้งนั้น.
บทว่า หิริสีเลน ตาทีนํ ได้แก่ ผู้เสมอกันด้วยหิริและศีล.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา
เป็นมาณพชื่อ โชติปาละ จบไตรเพท
มีชื่อเสียงในการทำนายลักษณะพื้นดิน และลักษณะอากาศ
เป็นสหายของฆฏิการะอุบาสก ช่างหม้อ.
โชติปาลมาณพนั้น เข้าเฝ้าพระศาสดาพร้อมกับฆฏิการะอุบาสกนั้น
ฟังธรรมกถาของพระองค์แล้วก็บวชในสำนักของพระองค์

พระโพธิสัตว์นั้น ทรงปรารภความเพียร
เล่าเรียนพระไตรปิฎกแล้ว ยังพระพุทธศาสนาให้งามด้วยการปฏิบัติข้อวัตรใหญ่น้อย
พระศาสดาแม้พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้น.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งนั้น เราเป็นมาณพปรากฏชื่อว่า โชติปาละ
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท.
ถึงฝั่งในลัทธิธรรมของตน ในลักษณศาสตร์และอิติหาสศาสตร์
ฉลาดในลักษณะพื้นดินและอากาศสำเร็จวิทยาอย่างสมบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 680
อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะชื่อว่า ฆฏิการะ
เป็นผู้น่าเคารพ น่ายำเกรง
อันพระกัสสปพุทธเจ้าทรงสั่งสอนในพระอริยผลที่ ๓ [อนาคามิผล].
ฆฏิการะอุบาสก พาเราเข้าไปเฝ้าพระกัสสปชินพุทธเจ้า
เราฟังธรรมของพระองค์แล้วก็บวชในสำนักของพระองค์.
เราปรารภความเพียร ฉลาดในข้อวัตรใหญ่น้อย
จึงไม่เสื่อมคลายในที่ไหนๆ ยังศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้เต็มแล้ว.
เราเล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์ อันเป็นพระพุทธดำรัสตลอดหมด
จึงยังพระศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้งาม.

พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น
ทรงเห็นความอัศจรรย์ของเรา
ก็ทรงพยากรณ์ว่า ในภัทรกัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
เราท่องเที่ยวอย่างนี้ เว้นขาดอนาจาร เราทำกิจกรรมที่ทำได้ยาก
เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณอย่างเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 681
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ภูมนฺตลิกฺขกุสโล ความว่า เป็นผู้ฉลาด
ในวิชาสำรวจพื้นดิน วิชาดูลักษณะอากาศ วิชาดาราศาสตร์และวิชาโหราศาสตร์.
บทว่า อุปฏฺฐโก แปลว่า ผู้บำรุง.
บทว่า สปฺปติสฺโส ได้แก่ ผู้น่าเกรงขาม.
บทว่า นิพฺพุโต ได้แก่ อันทรงแนะนำแล้ว หรือปรากฏแล้ว.
บทว่า ตติเย ผเล เป็นนิมิตสัตตมี ความว่าอันทรงแนะนำแล้ว เพราะเหตุบรรลุอริยผลที่ ๓.
บทว่า อาทาย ได้แก่ พาเอา.
บทว่า วตฺตาวตฺเตสุ ได้แก่ ในข้อวัตรน้อยและข้อวัตรใหญ่.
บทว่า โกวิโท ได้แก่ ผู้ฉลาดในการยังข้อวัตรเหล่านั้นให้เต็ม.
ด้วยบทว่า น กฺวจิปริหายามิ
ทรงแสดงว่า เราไม่เสื่อมแม้ในที่ไหนๆ แม้แต่ในศีลหรือสมาธิ
สมาบัติเป็นต้นอย่างไหน ๆ ขึ้นชื่อว่า ความเสื่อมของเราในคุณทั้งปวง ไม่มีเลย.
ปาฐะว่า น โกจิ ปริหายามิ ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
คำว่า ยาวตา นั้น เป็นคำแสดงขั้นตอน.
ความว่า มีประมาณเพียงไร.
บทว่า พุทฺธภณิตํ ได้แก่ พระพุทธวจนะ.
บทว่า โสภยึ ได้แก่ ให้งามแล้ว ให้แจ่มแจ้งแล้ว.
บทว่า มม อจฺฉริยํ ความว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้ากัสสปะ ทรงเห็นสัมมาปฏิบัติของเรา ไม่ทั่วไปกับคนอื่นๆ น่าอัศจรรย์ไม่เคยมี.
บทว่า สํสริตฺวา ได้แก่ ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ.
บทว่า อนาจรํ ได้แก่ อนาจารที่ไม่พึงทำ ไม่ควรทำ.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ พระองค์นั้น
ทรงมีนครเกิดชื่อว่า พาราณสี
มีชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า พรหมทัตตะ
มีชนนีเป็นพราหมณีชื่อว่า ธนวดี
มีคู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระติสสะและพระภารทวาชะ
มีพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระสัพพมิตตะ
มีคู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระอนุฬาและอุรุเวฬา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่า นิโครธ ต้นไทร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 682
พระสรีระสูง ๒ ศอก
พระชนมายุสองหมื่นปี
ภริยาชื่อว่า สุนันทา
บุตรชื่อ วิชิตเสนะ
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือปราสาท.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
มีนคร ชื่อว่าพาราณสี
มีกษัตริย์พระนามว่า กิกี
ตระกูลของพระสัมพุทธเจ้าเป็นตระกูลใหญ่ อยู่ในพระนครนั้น.

พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่
มีชนกเป็นพราหมณ์ ชื่อว่าพรหมทัตตะ
มีชนนีเป็นพราหมณ์ชื่อว่า ธนวดี.

พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระติสสะ และพระภารทวาชะ
มีพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระสัพพมิตตะ.
มีอัครสาวกา ชื่อพระอนุฬา และ พระอุรุเวฬา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นนิโครธ.
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าสุมังคละ และ ฆฏิการะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่าวิชิตเสนา และภัททา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๒๐ ศอก เหมือนสายฟ้าอยู่กลางอากาศ เหมือนจันทร์เพ็ญทรงกลด.

พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น
มีพระชนมายุสองหมื่นปี
พระองค์ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 683
ทรงสร้างสระคือธรรม ประทานเครื่องลูบไล้คือศีล
ทรงนุ่งผ้าคือธรรม ทรงแจกมาลัยคือธรรม.
ทรงวางธรรมอันใสไร้มลทิน ต่างกระจก ไว้ในมหาชน
บางพวกปรารถนาพระนิพพาน ก็จงดูเครื่องประดับของเรา.
ประทานเสื้อคือศีล ผูกสอดเกราะ คือฌาน ห่มหนังคือธรรม
ประทานเกราะชั้นเยี่ยม.
ประทานสติเป็นโล่ ประทานธรรมเป็นพระขรรค์อย่างดี ศีลเป็นเครื่องย่ำยีการคลุกคลี.
ประทานวิชชา ๓ เป็นเครื่องประดับ ผลทั้ง ๓เป็นมาลัยสวมศีรษะ
ประทานอภิญญา ๖ เป็นอาภรณ์ธรรมเป็นดอกไม้เครื่องประดับ.

พระองค์ทั้งพระสาวก
ประทานพระสัทธรรมเป็นฉัตรขาว กั้นบาป
เนรมิตดอกไม้ คือทางที่ไม่มีภัยแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน.
ก็นั่น คือพระสัมมาสัมพุทธะ ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้
อันใครเข้าเฝ้าได้ยาก นั่นคือพระธรรม.
รัตนะที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว ควรเรียกให้มาดู.
นั่นคือพระสังฆรัตนะ ผู้ปฏิบัติดียอดเยี่ยม
ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวง ก็ว่างเปล่าแน่แท้.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า วิชฺชุลฏฺฐีว ได้แก่ ดุจสายฟ้าแลบอันตั้งอยู่ โดยเป็นของทึบ.
บทว่า จนฺโทว คหปูริโต ได้แก่ ดุจดวงจันทร์เพ็ญอันทรงกลดแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 684
บทว่า ธมฺมตฬากํ มาปยิตฺวา ทรงสร้างสระคือพระปริยัติธรรม.
บทว่า ธมฺมํ ทตฺวา วิเลปนํ ได้แก่ ประทานเครื่องลูบไล้ เพื่อประดับสันตติแห่งจิต
กล่าวคือจตุปาริสุทธิศีล.
บทว่า ธมฺมทุสฺสํ นิวาเสตฺวา ได้แก่ นุ่งผ้าคู่ กล่าวคือธรรม คือหิริ และโอตตัปปะ.
บทว่า ธมฺมมาลํ วิภชฺชิย ได้แก่ จำแนก คือเปิดพวงมาลัยดอกไม้คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ.
บทว่า ธมฺมวิมลมาทาสํ ความว่า วางกระจก กล่าวคือโสดาปัตติมรรคอันไร้มลทิน
คือกระจกธรรมใกล้ริมสระธรรมสำหรับมหาชน
เพื่อกำหนดธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษที่เป็นกุศลและอกุศล.
บทว่า มหาชเน แปลว่า แก่มหาชน.
บทว่า เกจิ ก็คือ เยเกจิ.
บทว่า นิพฺพานํ ปตฺเถนฺตา ความว่า เที่ยวปรารถนาพระนิพพาน
อันกระทำความย่อยยับแก่มลทินคืออกุศลทั้งมวล อันไม่ตาย
ปัจจัยปรุงแต่งมิได้ ไม่มีทุกข์ สงบอย่างยิ่งมีอันไม่จุติเป็นรส
ชนเหล่านั้นจงดูเครื่องประดับนี้ มีประการที่กล่าวแล้วอันเราแสดงแล้ว.
ปาฐะว่า นิพฺพานมภิปตฺเถนฺตา ปสฺสนฺตุ มํ อลงฺกรํ ดังนี้ก็มีความก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
บทว่า อลงฺกรํ ท่านทำรัสสะ กล่าว.
บทว่า สีลกญฺจุกํ ทตฺวาน ได้แก่ ประทานเสื้อที่สำเร็จด้วยศีล ๕ ศีล ๑๐ และจตุปาริสุทธิศีล.
บทว่า ฌานกวจวมฺมิตํ ได้แก่ ผูกเครื่องผูก คือเกราะ คือจตุกกฌานและปัญจกฌาน.
บทว่า ธมฺมจมฺมํ ปารุปิตฺวา ได้แก่ ห่มหนึ่งคือธรรมที่นับได้ว่าสติสัมปชัญญะ.
บทว่า ทตฺวา สนฺนาหนุตฺตมํ ความว่า ประทานเครื่องผูกสอดคือวิริยะ ที่ประกอบด้วยองค์ ๔ อันสูงสุด.
บทว่า สติผลกํ ทตฺวาน ได้แก่ ประทานเครื่องป้องกันคือโล่
คือสติปัฏฐาน ๔ เพื่อป้องกันโทษอริและบาปมีราคะเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 685
บทว่า ติขิณํญาณกุนฺติมํ ได้แก่ หอกคือวิปัสสนาญาณอันคมกริบ คือหอกคมอย่างดีคือ
วิปัสสนาญาณ ที่สามารถแทงตลอดได้.
หรือความว่า ทรงตั้งนักรบคือพระโยคาวจร ที่สามารถทำการกำจัดกองกำลังคือ กิเลสได้.
บทว่า ธมฺมขคฺควรํทตฺวา ได้แก่ ประทานพระขรรค์อย่างดีคือมรรคปัญญา ที่มีคมอันลับด้วยกลีบ
อุบลคือความเพียร แก่พระโยควาจรนั้น.
บทว่า สีลสํสคฺคมทฺทนํ ความว่า โลกุตรศีลอันเป็นอริยะ เพื่อย่ำยีการคลุกคลีด้วยกิเลสคือเพื่อฆ่ากิเลส.
บทว่า เตวิชฺชาภูสนํ ทตฺวาน ได้แก่ ประทานเครื่องประดับสำเร็จด้วยวิชชา ๓.
บทว่า อาเวฬํ จตุโร ผเล ได้แก่ ทำผล ถ ให้เป็นพวงมาลัยคล้องคอ.
บทว่า ฉฬภิญฺญาภรณํ ได้แก่ ประทานอภิญญา ๖ เพื่อเป็นอาภรณ์ และเพื่อกระทำการประดับ.
บทว่า ธมฺมปุปฺผปิลนฺธนํ ได้แก่ ทำพวงมาลัยดอกไม้ กล่าวคือโลกุตรธรรม ๙.
บทว่า สทฺธมฺมปุณฺฑรจฺฉตฺตํ ทตฺวา ปาปนิวารณํ ได้แก่ ประทานเศวตฉัตรคือวิมุตติอันบริสุทธิ์
สิ้นเชิง เป็นเครื่องกันแดดคืออกุศลทั้งปวง.
บทว่า มาปยิตฺวาภยํ ปุปฺผํ ความว่า ทำดอกไม้คือมรรคมีองค์ ๘ ที่ให้ถึงเมืองที่ไม่มีภัย.

ได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ ดับขันธปรินิพพาน ณ เสตัพยอุทยาน
ใกล้เสตัพยนคร แคว้นกาสี
เขาว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ไม่กระจัดกระจายแพร่หลายไป.
มนุษย์ทั่วชมพูทวีป เมื่อสร้างใช้มโนสิลาหินอ่อนแทนดิน ใช้น้ำมันแทนน้ำ
เพื่อก่อภายนอกเป็นแผ่นอิฐทองแต่ละแผ่นมีค่าเป็นโกฏิ วิจิตรด้วยรัตนะ
เพื่อทำภายในให้เต็ม เป็นอิฐทองแต่ละแผ่น มีค่าครึ่งโกฏิ ช่วยกันสร้างเป็นสถูปสูงหนึ่งโยชน์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 686
กสฺสโปปิ ภควา กตกิจฺโจ
สพฺพสตฺตหิตเมว กโรนฺโต
กาสิราชนคเร มิคทาเย โลกนนฺทนกโร นิวสิ.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป
เสด็จกิจแล้วทรงทำประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์อย่างเดียว
ทรงทำความร่าเริงแก่โลก ประทับอยู่ประจำ ณ กรุงพาราณสีราชธานี แห่งแคว้นกาสีแล.
ในคาถาที่เหลือ ทุกแห่ง คำชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระกัสสปพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 687



9

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 652
วงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้าที่ ๒๓
ว่าด้วยพระประวัติของ พระโกนาคมนพุทธเจ้า

[๒๔] ต่อมาจากสมัยของพระกกุสันธพุทธเจ้า
ก็มีพระชินสัมพุทธเจ้า พระนามว่า โกนาคมนะ ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจในนรชน.
ทรงบำเพ็ญบารมีธรรม ๑๐ ทรงก้าวล่วงกันดาร
ทรงลอยมลทินทั้งปวง บรรลุพระสัมโพธิญาณสูงสุด.
เมื่อพระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้นำพิเศษ ทรง
ประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์สามหมื่นโกฏิ.

อนึ่ง เมื่อพระโกนาคมนพุทธเจ้า
ทรงแสดงปาฏิหาริย์ในการย่ำยีลัทธิวาทของฝ่ายปรปักษ์ อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์สองหมื่นโกฏิ.
แต่นั้น พระชินสัมพุทธเจ้าทรงแสดงฤทธิ์ต่างๆ เสด็จไปเทวโลก
ประทับอยู่เหนือแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ เทวโลกนั้น.
พระมุนีพระองค์นั้น
อยู่จำพรรษาแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์  อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ เทวดาหมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 653

พระโกนาคมนพุทธเจ้า
ผู้เป็นเทพแห่งเทพพระองค์นั้น
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทินมีจิตสงบ คงที่ครั้งเดียว.
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมภิกษุสาวกสามหมื่นโกฏิ
ผู้ข้ามโอฆะทั้งหลาย ผู้หักรานมัจจุเสียแล้ว.

สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า ปัพพตะ
พรั่งพร้อมด้วยมิตรอมาตย์ทั้งหลาย ผู้มีกำลังพลและพาหนะหาที่สุดมิได้.
เราไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า สดับธรรมอันยอดเยี่ยม
นิมนต์พระองค์ทั้งพระสงฆ์พุทธชิโนรสถวายทาน จนพอแก่ความต้องการ.
ได้ถวายผ้าไหมทำในเมืองปัตตุณณะ
ผ้าไหมทำในเมืองจีน ผ้าแพร ผ้ากัมพล และฉลองพระบาท
ประดับทอง แด่พระศาสดาและพระสาวกทั้งหลาย.
พระมุนีแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์
ทรงพยากรณ์เราว่า
ในภัทรกัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาสในที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 654
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ.

ท่านผู้นี้จักมี
พระชนนี พระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมาและพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
จักมีอัครอุปัฏฐากชื่อจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และอุตตรา
พระโคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้น จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 655

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของพระองค์ผู้ไม่มีผู้เสมอ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้วก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก พากันโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการ
กล่าวว่าผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า
ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้าพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

เราสดับพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

เรากำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ ถวายทานแด่พระผู้สูงสุดในนรชน
สละราชสมบัติยิ่งใหญ่แล้วบวชในสำนักพระชินพุทธเจ้า.
พระนครชื่อ โสภวดี
มีกษัตริย์พระนามว่า โสภะ
ตระกูลของพระสัมพุทธเจ้าเป็นตระกูลใหญ่ อยู่ในพระนครนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 656
พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้เป็นพระศาสดา
มีพระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า ยัญญทัตตะ
พระชนนีเป็นพราหมณีชื่อว่า อุตตรา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่ สามพันปี
มีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า ตุสิตะ สันดุสิต และสันตุฏฐะ
มีนางบำเรอหนึ่งหมื่นหกพันนาง ภริยาชื่อว่า รุจิคัตตา
พระโอรสชื่อว่า สัตถวาหะ.
พระผู้สูงสุดในบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ช้าง
ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน.

พระมหาวีระ โกนาคมนะ ผู้นำโลก
ผู้สูงสุดในนรชน อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มิคทายวัน.

พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้มีพระยศ
มีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระภิยโยสะ และพระอุตตระ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระโสตถิชะ.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสมุททาและพระอุตตรา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นอุทุมพร.
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุคคะ และโสมเทวะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า สีวลา และสามา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 657
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๓๐ ศอก
ประดับด้วยพระรัศมีทั้งหลาย เหมือนแท่งทองในเบ้าช่างทอง.

ในยุคนั้น พระพุทธเจ้ามีพระชนมายุ สามหมื่นปี
พระองค์มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงยกธรรมเจดีย์ที่ประดับด้วยธงผ้าคือธรรม
ทรงทำพวงมาลัยดอกไม้คือธรรมแล้วดับขันธปรินิพพาน.
พระสงฆ์สาวกของพระองค์พิลาสด้วยฤทธิ์ยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมอันเป็นสิริ ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้

พระโกนาคมนสัมพุทธเจ้า
ปรินิพพาน ณ พระวิหารปัพพตาราม.
พระบรมสารีริกธาตุ แผ่กระจายไปเป็นส่วน ๆ ณ ที่นั้น ๆ แล.
จบวงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้าที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 658
พรรณาวงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้าที่ ๒๓
ภายหลังต่อมาจากสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า กกุสันธะ
เมื่อพระศาสนาของพระองค์อันตรธานแล้ว
เมื่อสัตว์ทั้งหลายเกิดมามีอายุสามหมื่นปี.

พระศาสดาพระนามว่า โกนาคมนะ
ผู้มีไม้ดีดพิณมาเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ก็อุบัติขึ้นในโลก
อีกนัยหนึ่ง
พระศาสดาพระนามว่า โกณาคมนะ
เพราะเป็นที่มาแห่งอาภรณ์ทองเป็นต้น อุบัติขึ้นในโลก.
ทอง เครื่องประดับมีทองเป็นต้น มาตกลง
ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดทรงอุบัติ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระนามว่า โกณาคมนะ
โดยนัยแห่งนิรุกติศาสตร์เพราะอาเทศ ก เป็น โก, อาเทศ น เป็น ณา ลบ ก เสียตัวหนึ่ง
ในคำว่า โกณาคมโน นั้น ก็ในข้อนี้อายุท่านทำให้เป็นเสมือนเสื่อมลงโดยลำดับ
แต่มิใช่เสื่อมอย่างนี้ พึงทราบว่า เจริญแล้วเสื่อมลงอีก. อย่างไร.
ในกัปนี้เท่านั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ
ทรงบังเกิดในเวลาที่มนุษย์มีอายุสี่หมื่นปี
แต่อายุนั้นกำลังลดลงจนถึงอายุสิบปี แล้วกลับเจริญขึ้นถึงอายุนับไม่ถ้วน (อสงไขย) แต่นั้นก็ลดลง
ตั้งอยู่ในเวลาที่มนุษย์มีอายุสามหมื่นปี

ครั้งนั้นพึงทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า โกนาคมนะ ทรงอุบัติขึ้นในโลก.
แม้พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย แล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต

จุติจากนั้นแล้ว
ก็ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพราหมณีชื่อ อุตตรา ผู้ยอดเยี่ยมด้วยคุณมีรูปเป็นต้น
ภริยาของ ยัญญทัตตพราหมณ์ กรุงโสภวดี
ถ้วนกำหนดทศมาส ก็เคลื่อนออกจากครรภ์ของชนนี ณ สุภวดีอุทยาน
เมื่อพระองค์สมภพ ฝนก็ตกลงมาเป็นทองทั่วชมพูทวีป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 659
ด้วยเหตุนั้น เพราะเหตุที่ทรงเป็นที่มาแห่งทอง
พระประยูรญาติจึงเฉลิมพระนามว่า กนกาคมนะ.
ก็พระนามนั้นของพระองค์แปรเปลี่ยนมาโดยลำดับ เป็นโกนาคมนะ.

พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่สามพันปี
มีปราสาท ๓ หลั่งชื่อว่า ดุสิตะ สันดุสิตะและสันตุฏฐะ
มีนางบำเรอหนึ่งหมื่นหกพันนาง มีนางรุจิคัตตาพราหมณีเป็นประมุข.
เมื่อบุตรชื่อ สัตถวาทะ ของนางรุจิคัตตาพราหมณีเกิด
พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔
ก็ขึ้นคอช้างสำคัญ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง
ทรงผนวชบุรุษสามหมื่นก็บวชตาม
พระองค์อันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อม
ก็บำเพ็ญเพียร ๖ เดือน

ในวันวิสาขบูรณมี
ก็เสวยข้าวมธุปายาส ที่อัคคิโสณพราหมณกุมารี
ธิดาของอัคคิโสณพราหมณ์ถวาย พักกลางวัน ณ ป่าตะเคียน
เวลาเย็น รับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ ชฏาตินทุกะ ถวาย
จึงเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอุทุมพร คือ ไม้มะเดื่อ ซึ่งมีขนาดที่กล่าวแล้วในต้นปุณฑรีกะ
ที่พรั่งพร้อมด้วยความเจริญแห่งผล ทางด้านทักษิณ
ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๒๐ ศอก
นั่งขัดสมาธิ กำจัดกองกำลังของมาร
ทรงได้ทศพลญาณ
ทรงเปล่งอุทานว่าอเนกชาติสํสารํ ฯเปฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ดังนี้
ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์
ทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของภิกษุ สามหมื่น ที่บวชกับพระองค์
 เสด็จไปทางอากาศ เสด็จลงที่อิสิปตนะมิคทายวัน ใกล้กรุงสุทัสสนนคร
อยู่ท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น ทรงประกาศธรรมจักร ครั้งนั้นอภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สามหมื่นโกฏิ.

ต่อมาอีก
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคนต้นมหาสาละ ใกล้ประตูสุนทรนคร
ทรงยังสัตว์สองหมื่นโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 660
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงอภิธรรมปิฎกโปรดเทวดาทั้งหลายที่มาประชุมกันในหมื่นจักรวาล
มีนางอุตตราพระชนนีของพระองค์เป็นประธาน อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์หมื่นโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อมาจากสมัยของพระกกุสันธพุทธเจ้า
ก็มีพระชินสัมพุทธเจ้า พระนามว่า โกนาคมนะ
สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจในนรชน.
ทรงบำเพ็ญบารมีธรรม ๑๐ ก้าวล่วงทางกันดาร
ทรงลอยมลทินทั้งปวง ทรงบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด.

เมื่อพระโกนาคมนะ ผู้นำ
ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ได้มีแก่ สัตว์สามหมื่นโกฏิ.
และเมื่อทรงทำยมกปาฏิหาริย์
ย่ำยีดำติเตียนของฝ่ายปรปักษ์ อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์สองหมื่นโกฏิ.

ต่อนั้น พระชินสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงฤทธิ์ต่างๆ
เสด็จไปยังเทวโลก ประทับอยู่เหนือบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ เทวโลกนั้น.
พระมุนีพระองค์นั้น ประทับจำพรรษาแสดง
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ เทวดาหมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 661
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ทส ธมฺเม ปูรยิตฺวาน ได้แก่ บำเพ็ญบารมีธรรม ๑๐.
บทว่า กนฺตารํ สมติกฺกมิ ได้แก่ ก้าวล่วงชาติกันดาร.
บทว่า ปวาหิย แปลว่า ลอยแล้ว.
บทว่า มลํ สพฺพํ ได้แก่ มลทิน ๓ มีราคะเป็นต้น.
บทว่า ปาฏิหีรํ กโรนฺเต จ ปรวาทปฺปมทฺทเน ความว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำปาฏิหาริย์ในการย่ำยีวาทะของฝ่ายปรปักษ์.
บทว่า วิกุพฺพนํ ได้แก่ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ใกล้ประตูกรุงสุนทรนคร
แล้วเสด็จไปเทวโลก จำพรรษาเหนือพระแท่นปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ในเทวโลกนั้น.
ถามว่า ทรงจำพรรษาอย่างไร
ตอบว่า ทรงแสดงอภิธรรม ๗ คัมภีร์.
อธิบายว่า ทรงอยู่จำพรรษา แสดงพระอภิธรรมปิฏก ๗ คัมภีร์
แก่เทวดาทั้งหลายในเทวโลกนั้น
เมื่อพระผู้มีพระ-ภาคเจ้าทรงแสดงพระอภิธรรม ณ ที่นั้นอย่างนี้ อภิสมัยได้มีแก่เทวดาหมื่นโกฏิ.

แม้พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้มาบำเพ็ญบารมีอันบริสุทธิ์
มีสาวกสันนิบาตครั้งเดียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ ณ สุรินทวดีอุทยาน กรุงสุรินทวดี
ทรงแสดงธรรมโปรดพระราชโอรสสองพระองค์คือ ภิยโยสราชโอรส และอุตตรราชโอรส พร้อมทั้งบริวาร
ทรงยังชนเหล่านั้นทั้งหมดให้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา
ประทับท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ วันมาฆบูรณมี.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้เป็นเทพแห่งเทพ
พระองค์นั้น ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ
ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ครั้งเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 662
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมภิกษุสาวกสาม-
หมื่น ผู้ข้ามพ้นโอฆะ ผู้หักรานมัจจุได้แล้ว.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า โอฆานํ ได้แก่ โอฆะมีกาโมฆะเป็นต้น
คำนี้เป็นซึ่งของโอฆะ ๔. โอฆะเหล่านั้นของผู้ใดมีอยู่.
ย่อมคร่าผู้นั้นให้จมลงในวัฏฏะ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า โอฆะ.
โอฆะเหล่านั้น พึงเห็นฉัฏฐีวิภัตติ
ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ ความว่า ผู้ก้าวล่วงโอฆะ ๔ อย่าง
แม้ในคำว่า ภิชฺชิตานํ นี้ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า มจฺจุยา ก็คือ มจฺจุโน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา
เป็นพระราชาพระนามว่า พระเจ้าปัพพตะ กรุงมิถิลนคร.
ครั้งนั้น พระราชาพร้อมทั้งราชบริพาร ทรงสดับ
ข่าวว่า พระโกนาคมนะพุทธเจ้า ผู้เป็นที่มาแห่งสรรพสัตว์ผู้ถึงสรณะ
เสด็จถึงกรุงมิถิลนครแล้ว จึงเสด็จออกไปรับเสด็จ ถวายบังคมนิมนต์พระทศพลถวาย
มหาทาน ทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับจำพรรษา ณ มิถิลนครนั้น
บำรุงพระศาสดาพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวกตลอดไตรมาส

ถวายของมีค่ามากเช่น
ผ้าไหมทำในเมืองปัตตุณณะ ผ้าทำในเมืองเมืองจีน ผ้ากัมพล ผ้าแพร ผ้าเปลือก
ไม้ ผ้าฝ้ายเป็นต้น ผ้าเนื้อละเอียด ฉลองพระบาทประดับทอง และบริขารอื่น
เป็นอันมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้น
ว่า ในภัทรกัปนี้นี่แล ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า. ลำดับนั้นมหาบุรุษนั้นสดับ
คำพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงบริจาคราชสมบัติยิ่งใหญ่
ทรงผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 663
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า ปัพพตะ
พรั่งพร้อมด้วยมิตรอำมาตย์ มีกำลังพลและพาหนะหาที่สุดมิได้.
เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า สดับธรรมอันยอดเยี่ยม
นิมนต์ พระองค์พร้อมทั้งพระสงฆ์พุทธชิโนรส ถวายทานจนพอต้องการ.
ได้ถวายผ้าไหมทำในเมืองปัตตุณณะ ผ้าทำใน
เมืองจีน ผ้าแพร ผ้ากัมพล ฉลองพระบาทประดับทองแด่พระศาสดาและพระสาวก.

พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น
ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางสงฆ์ ทรงพยากรณ์เราว่า
ในภัทรกัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราสดับคำของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อมใส จึง
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
เรากำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ
ถวายทานแด่พระผู้สูงสุดในนรชน สละราชสมบัติยิ่งใหญ่
บวชในสำนักของพระชินพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 664
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อนนฺตพลวาหโน ความว่า กำลังพลและพาหนะ มีช้างม้าเป็นต้นของเรามีมากไม่มีที่สุด.
บทว่า สมฺพุทฺธทสฺสนํก็คือ สมฺพุทฺธทสฺสนตฺถาย เพื่อเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า.
บทว่า ยทิจฺฉกํ ความว่า จนพอแก่ความต้องการ คือ ทรงเลี้ยงดูพระสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยอาหาร ๔ อย่าง
จนทรงห้ามว่า พอ ! พอ ! เอาพระหัตถ์ปิดบาตร
บทว่า สตฺถุสาวเก ได้แก่ ถวายแด่พระศาสดาและพระสาวกทั้งหลาย.
บทว่า นรุตฺตเม ก็คือ นรุตฺตมสฺส แด่พระผู้สูงสุดในนรชน.
บทว่า โอหายได้แก่ ละ เสียสละ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าโกนาคมน พระองค์นั้น
ทรงมีพระนครชื่อว่าโสภวดี
พระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า ยัญญทัตตะ
พระชนนีเป็นพราหมณีชื่อว่า อุตตรา
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระภิยโยสะ และพระอุตตระ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระโสตถิชะ
คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระสมุททา และพระอุตตรา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่า ต้นอุทุมพร

พระสรีระสูง ๓๐ ศอก
พระชนมายุสามหมื่นปี
ภริยาเป็นพราหมณีชื่อ รุจิคัตตา
โอรสชื่อ พระสัตถวาหะ
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ช้าง
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระนครชื่อว่า โสภวดี
มีกษัตริย์พระนามว่า โสภะ
ตระกูลของพระสัมพุทธเจ้าเป็นตระกูลใหญ่อยู่ในนครนั้น.

พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้เป็นพระศาสดา
มีพระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า ยัญญทัตตะ
พระชนนีเป็นพราหมณ์ ชื่อว่าอุตตรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 665
พระโกนาคมนศาสดา
มีพระอัครสาวกชื่อว่า พระภิยโยสะและพระอุตตระ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระโสตถิชะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระสมุททา และพระอุตตรา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอุทุมพร
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๓๐ ศอก
ประดับด้วยพระรัศมีทั้งหลาย เหมือนทองในเบ้าช่างทอง.

ในยุคนั้น
พระชนมายุของพระพุทธเจ้าสามหมื่นปี
 พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงยกธรรมเจดีย์อันประดับด้วยผ้าธรรม
ทรงทำเป็นพวงมาลัยดอกไม้ธรรมแล้วดับขันธปรินิพพานแล้ว.
พระสาวกของพระองค์พิลาสฤทธิ์ยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประกาศธรรมอันเป็นสิริ ทั้งนั้น
ก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อุกฺกามุเข ได้แก่ เตาของช่างทอง.
บทว่า ยถา กมฺพ ก็คือ สุวณิณนิกฺขํ วิย เหมือนแท่งทอง.
บทว่า เอวํ รํสีหิ มณฺฑิโต ได้แก่ ประดับตกแต่งด้วยรัศมีทั้งหลายอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 666
บทว่า ธมฺมเจติยํ สมุสฺเสตฺวา ได้แก่ ประดิษฐานพระเจดีย์สำเร็จด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗.
บทว่า ธมฺมทุสฺสวิภูสิตํ ได้แก่ ประดับด้วยธงธรรมคือสัจจะ ๔.
บทว่า ธมฺมปุปฺผคุฬํ กตฺวา ได้แก่ ทำให้เป็นพวงมาลัยดอกไม้สำเร็จด้วยธรรม.

อธิบายว่า พระศาสดาพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก
โปรดให้ประดิษฐานพระธรรมเจดีย์ เพื่อมหาชนที่อยู่ ณ ลานพระเจดีย์
สำหรับบำเพ็ญวิปัสสนา จะได้นมัสการ แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน.

บทว่า มหาวิลาโส ได้แก่ ผู้ถึงความพิลาสแห่งฤทธิ์ยิ่งใหญ่.
บทว่า ตสฺส ได้แก่ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
บทว่า ชโน ได้แก่ ชน คือ พระสาวก.
บทว่า สิริธมฺมปฺปกาสโน ความว่า และพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประกาศ
โลกุตรธรรม พระองค์นั้น ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น.
ในคาถาที่เหลือทุกแห่ง คำชัดแล้วทั้งนั้นแล.
สุเขน โกนาคมโน คตาสโว
วิกามปาณาคมโน มเหสี
วเน วิเวเก สิรินามเธยฺเย
วิสุทฺธวํสาคมโน วสิตฺถ.

พระโกนาคมนพุทธเจ้า

ทรงมีอาสวะไปแล้วโดยสะดวก
ผู้เป็นที่มาแห่งสัตว์ผู้ปราศจากกาม
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ผู้เป็นที่มาแห่งวงศ์ของพระผู้บริสุทธิ์ ประทับอยู่ ณ ป่าอันมีนามเป็นสิริ อันสงัด.
จบพรรณนาวงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 667



10

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 637
วงศ์พระกกุสันธพุทธเจ้าที่ ๒๒
ว่าด้วยพระประวัตของพระกกุสันธพุทธเจ้า
[๒๓] ต่อมาจากสมัยของพระเวสสภูพุทธเจ้า
ก็มีพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ
ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ ผู้อันใคร ๆเข้าเฝ้าได้ยาก.
พระองค์ทรงเพิกถอนภพทั้งปวง
ทรงถึงฝั่งบำเพ็ญบารมี
ทรงทำลายกรงคือภพ เหมือนราชสีห์ทำลายกรงฉะนั้น
ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

เมื่อพระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์สี่หมื่นโกฏิ.

พระกกุสันธพุทธเจ้า

ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ ภาคพื้นนภากาศ
ทรงยังเทวดาและมนุษย์ สามหมื่นโกฏิ ให้ตรัสรู้.
ในการประกาศสัจจะ ๔ แก่นรเทวยักษ์นั้น
ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่ สัตว์นับจำนวนไม่ถ้วน.

พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ
ทรงมีสันนิบาตการประชุมพระสาวกขีณาสพ

ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบคงที่ ครั้งเดียวเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 638
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมพระสาวก สี่หมื่น
ผู้บรรลุภูมิของพระผู้ฝึกแล้ว เพราะสิ้นหมู่กิเลสมีอาสวะเป็นต้น.

สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์ชื่อ เขมะ
ถวายทานจำนวนไม่น้อยในพระตถาคต และพระสาวกชิโนรส.
ถวายบาตรและจีวร ยาหยอดตา ไม้เท้าไม้มะซาง
ถวายสิ่งของที่ท่านปรารถนาเหล่านี้ ๆ ล้วนแต่ของดี ๆ.
พระมุนีกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำวิเศษ แม้พระองค์นั้น

ได้ทรงพยากรณ์เราว่า
ในภัทรกัปนี้แล ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.

พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.

แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัสสัตถะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 639
ท่านผู้นี้ จักมี
พระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักชื่อว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวกชื่อว่า พระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตา และอุตตรา
พระโคดม ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
ฟังพระดำรัสนี้ของพระกกุสันธะพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้คงที่ ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก พากันโห่ร้องปรบมือหัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 640
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า
ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
เราทุกคน ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้าพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

ครั้งนั้น เราชื่อว่า เขมะ
นครชื่อว่า เขมวดี
กำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ ก็บวชแล้วในสำนักของพระองค์.

พระกกุสันธพุทธเจ้า
ผู้แสวงคุณยิ่งให้มี
พระชนก ชื่อว่า อัคคิทัตตพราหมณ์
พระชนนี ชื่อว่า วิสาขา.
พระสัมพุทธเจ้ามีพระตระกูลใหญ่ประเสริฐเลิศล้ำ
กว่ามนุษย์ทั้งหลาย มีชาติสูง มีบริวารมาก อยู่ในกรุงเขมะนั้น.

พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่ สี่พันปี
มีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่ากามวัฑฒะ กามสุทธิและรติวัฑฒนะ.
มีนารีบำรุงบำเรอสามหมื่นนาง
มีเอกภริยาชื่อว่า  โรจินี๑
มีโอรสชื่อว่า อุตตระ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔
 ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือรถ
ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือนบริบูรณ์.
๑. บาลีว่า โรปินี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 641
พระมหาวีระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำโลก
สูงสุดในนรชนอันท้าวมหาพรหม ทูลอาราธนาแล้ว
ก็ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มิคทายวัน.

พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระอัครสาวกชื่อว่า พระวิธุระและพระสัญชีวะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระพุทธิชะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระสามาและพระจันปา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นสิรีสะ (ไม้ซึก)
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อัจจุคคตะและสุมนะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทา และ สุนันทา.
พระมหามุนี สูง ๔๐ ศอก
พระรัศมีสีทองแล่นไปรอบ ๆ ๑๐ โยชน์.

องค์พระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระชนมายุสี่หมื่นปี
พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังชนหมู่ใหญ่ให้ข้ามโอฆะ.

พระองค์ทั้งพระสาวก
ทรงแผ่ขยายตลาดธรรมเท่าบุรุษสตรีในโลกทั้งเทวโลก
ทรงบันลือดุจราชสีห์บันลือ แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 642
พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยพระสุรเสียงมีองค์ ๘
มีศีลไม่ขาดชั่วนิรันดร ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

พระกกุสันธชินพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารเขมาราม
พระวรสถูปของพระองค์ ณ ที่นั้น สูงจดฟ้าคาวุตหนึ่ง
จบวงศ์พระกกุสันธพุทธเจ้าที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 643
พรรณนาวงศ์พระกกุสันธพุทธเจ้าที่ ๒๒
เมื่อพระเวสสภู สยัมภูพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
เมื่อกัปนั้นล่วงไปดวงพระทินกร คือ พระชินพุทธเจ้า ก็ไม่อุบัติขึ้นถึง ๒๙ กัป
ส่วนในภัทรกัปนี้บังเกิดพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์แล้วคือ
พระกกุสันธะ
พระโกนาคมนะ
พระกัสสปะ และ
พระพุทธเจ้าของเรา.
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าเมตไตรยจักอุบัติในอนาคตกาล

ด้วยประการดังกล่าวมานี้
กัปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสรรเสริญว่าเป็นภัทรกัป
เพราะประดับด้วยการเกิดพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์.

ใน ๕ พระองค์นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ
ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้ว บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพราหมณีชื่อว่า วิสาขา
เอกภริยาของปุโรหิตชื่อว่า อัคคิทัตตะ
ผู้อนุศาสน์อรรถธรรมถวายพระเจ้า เขมังกร กรุงเขมวดี
ก็เมื่อใดกษัตริย์ทั้งหลาย
สักการะเคารพนับถือพราหมณ์ทั้งหลาย
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจึงบังเกิดในสกุลพราหมณ์.

ก็เมื่อใดพราหมณ์ทั้งหลาย
สักการะเคารพนับถือบูชากษัตริย์ทั้งหลาย
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจึงบังเกิดในสกุลกษัตริย์.

ได้ยินว่า
ในครั้งนั้นพราหมณ์ทั้งหลายอันกษัตริย์ทั้งหลายสักการะเคารพ
เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์ชื่อว่า กกุสันธะ ผู้มั่นอยู่ในสัจจะ
เมื่อจะยังหมื่นโลกธาตุให้บันลือหวั่นไหว จึงอุบัติในสกุลพราหมณ์ที่ไม่อากูล
แต่อากูลด้วยเหตุเกิดสิริสมบัติ ก็บังเกิดปาฏิหาริย์ดังกล่าวมาแล้วในหนหลัง.
จากนั้น ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติจากครรภ์มารดา ณ เขมวดีอุทยาน
เหมือนเปลวไฟแลบออกจากเถาวัลย์ทอง.

พระโพธิสัตว์นั้น ครองฆราวาสวิสัยอยู่ สี่พันปี
มีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่ากามะ กามวัณณะ และกามสุทธิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 644
ปรากฏมีสตรีบริจาริกา สามหมื่นนาง มีนางโรจินีพราหมณี๑ เป็นประมุข.

เมื่อกุมารชื่อว่า อุตตระ ผู้ยอดเยี่ยมของโรจินีพราหมณ์เกิดแล้ว
พระโพธิสัตว์นั้นก็เห็นนิมิต ๔
แล้วออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วย รถม้า ที่จัดเตรียมไว้แล้ว บวช,
บุรุษสี่หมื่นก็บวชตามพระโพธิสัตว์นั้น.

พระโพธิสัตว์นั้นอันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
บำเพ็ญเพียร ๘ เดือน

ในวันวิสาขบูรณมีบริโภคข้าวมธุปายาส
ที่ธิดา วชิรินธพราหมณ์ ณ สุจิรินธนิคม ถวาย

พักผ่อนกลางวัน ณ ป่าตะเคียน
เวลาเย็นรับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ สุภัททะ ถวาย
เข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ สิริสะ คือ ต้นซึก
ซึ่งมีขนาดเท่าต้นแคฝอย มีกลิ่นหอมเมื่อลมโชย
ลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๓๔ ศอก นั่งขัดสมาธิ

บรรลุพระสัมโพธิญาณ
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯเปฯ
ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ดังนี้ ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์

ทรงเห็นว่าภิกษุ สี่หมื่น ที่บวชกับพระองค์
เป็นผู้สามารถแทงตลอดสัจจะ
วันเดียวเท่านั้น ก็เสด็จเข้าไปยัง อิสิปตนะมิคทายวัน ซึ่งมีอยู่แล้วใกล้ๆ มกิลนคร
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ท่ามกลางบรรพชิตเหล่านั้น ทรงประกาศพระธรรมจักร.
ครั้งนั้นธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์สี่หมื่นโกฏิ.

ต่อมาอีก
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคนต้นมหาสาละ ใกล้ประตูกัณณกุชชนคร
ทรงยังธรรมจักษุให้เกิดแก่ สัตว์สามหมื่นโกฏิ นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.

ครั้งยักษ์ชื่อ นรเทพ ที่เรียกกันว่า เทพแห่งนรชน
ณ เทวาลัยแห่งหนึ่ง ไม่ไกลกรุงเขมวดี
ปรากฏตัวเป็นมนุษย์ ยืนอยู่ใกล้สระ ๆ หนึ่ง ซึ่งมีน้ำเย็น
ประดับด้วยบัวต้นบัวสายและอุบล มีน้ำเย็นรสอร่อยอย่างยิ่ง มีกลิ่นหอมรื่นรมย์สำหรับชนทั้งปวง
อยู่กลางทางกันดาร ล่อลวงสัตว์ทั้งหลายโดยเป็น
๑ บาลีเป็น โรปินี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 645
คนเก็บบัวต้นบัวสายบัวขาวเป็นต้นแล้วกินมนุษย์เสีย.
เมื่อทางนั้น ตัดขาดไม่มีคนไปถึง.
ยักษ์นรเทพก็เข้าไปดงใหญ่ กินสัตว์ที่ชุมนุมกันในที่นั้น ๆ เสียทางนั้น
โลกรู้จักกันว่า เป็นทางมหากันดาร.
เขาว่า หมู่มหาชนยืนชุมนุมกัน ใกล้ประตูสองข้างทาง เพื่อช่วยข้ามทางกันดาร.

ครั้งนั้น พระศาสดากกุสันธะ ผู้ปราศจากกิเลสเครื่องผูกในภพ.
วันหนึ่ง เวลาใกล้รุ่ง ทรงออกจากมหากรุณาสมาบัติตรวจดูโลก
ก็ทรงพบนรเทพยักษ์ผู้มีศักดิ์ใหญ่และกลุ่มชนนั้นเข้าไปในข่ายพระญาณ.

ครั้นทรงทราบแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เสด็จไปทางอากาศ
ทั้งที่กลุ่มชนนั้นแลเห็นอยู่นั่นเอง ก็ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์หลายอย่าง
เสด็จลงที่ภพของนรเทพยักษ์ นั้น ประทับนั่งเหนือบัลลังก์อันเป็นมงคล.

ครั้งนั้น ยักษ์ผู้กินคนตนนั้น เห็นพระทินกรผู้มุนี
ทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสี ดังดวงทินกรอันสายฟ้าแลบล้อม
กำลังเสด็จมาทางอากาศ ก็มีใจเลื่อมใสว่า
พระทศพลเสด็จมาที่นี้เพื่อทรงอนุเคราะห์เรา
จึงไปป่าหิมพานต์ที่มีหมู่มฤคมาก พร้อมด้วยบริวารยักษ์
รวบรวมดอกไม้ทั้งที่เกิดในน้ำทั้งที่เกิดบนบกอันมีสีและกลิ่นต่าง ๆ
เลือกเอาเฉพาะที่มีกลิ่นหอมจรุงน่ารื่นรมย์ใจอย่างยิ่ง
มาบูชา พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำโลกผู้ปราศจากโทษ ซึ่งประทับนั่งเหนือบัลลังก์ของตน
ด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น
แล้วร้องเพลงประสานเสียงสดุดี ทำอัญชลีไว้เหนือเศียร ยืนนมัสการ.

แต่นั้น มนุษย์ทั้งหลายเห็นปาฏิหาริย์นั้น ก็มีจิตใจเลื่อมใส
มาประชุมกัน พากันยืนนอบน้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ ผู้ไม่มีปฏิสนธิ
ทรงยังนรเทพยักษ์ ผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชายิ่งให้อาจหาญ
ด้วยทรงแสดงความเกี่ยวเนื่องของกรรมและผลของกรรม ให้หวาดสะดุ้ง
ด้วยกถา ว่าด้วย นรก แล้วจึงตรัสจตุสัจกถา.
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่ สัตว์หาประมาณมิได้ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 646

ต่อมาจากสมัยของพระเวสสภูพุทธเจ้า
ก็มีพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ ผู้สูงสุดแห่งสัตว์
สองเท้า ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ ผู้อันใคร ๆ เฝ้าได้ยาก.
ทรงเพิกถอนภพทั้งปวง ถึงฝั่งบำเพ็ญบารมีแล้ว
ทรงทำลายกรงภพ เหมือนราชสีห์ทำลายกรง
ทรงบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด.

เมื่อพระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ทรงประกาศพระธรรมจักร ธรรมาภิสัยได้มีแก่ สัตว์สี่หมื่นโกฏิ.
พระองค์ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ กลางพื้นนภากาศ ทรงยังเทวดาและมนุษย์สามหมื่น
ในการประกาศสัจจะ ๔ แก่นรเทพยักษ์นั้นธรรมาภิสมัย ได้มีแก่ สัตว์นับจำนวนไม่ถ้วน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อุคฺฆาเฏตฺวา แปลว่า ถอนแล้ว.
บทว่า สพฺพภวํ ได้แก่ ซึ่งภพทั้ง ๙ ภพ.
อธิบายว่า กรรมอันเป็นนิมิตแห่งอุปัตติในภพ.
บทว่า จริยาย ปารมึ คโต ความว่า ทรงถึงฝั่ง โดยทรงบำเพ็ญบารมีทุกอย่าง.
บทว่า สีโหว ปญฺชรํ เภตฺวา ความว่า พระมุนีกุญชร ทรงทำลายปัญชรคือภพ เหมือนราชสีห์ทำลายกรง.

พระกกุสันธพุทธเจ้า
ผู้รื้อเครื่องผูกภพเสียแล้ว
ทรงมีสาวกสันนิบาตครั้งเดียวเท่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพระอรหันต์สี่หมื่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 647
ซึ่งบวชกับพระองค์ ณ อิสิปตนะมิคทายวัน กรุงกัณณกุชชนคร
แวดล้อมแล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในวันมาฆบูรณมี.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ครั้งเดียว.
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมพระสาวกสี่หมื่น ผู้บรรลุภูมิของท่านผู้ฝึกแล้ว
เพราะสิ้นหมู่กิเลส ดังข้าศึกคืออาสวะ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา
เป็นพระราชา พระนามว่า เขมะ
ทรงถวายบาตรจีวรเป็นมหาทาน และถวายเภสัชทุกอย่างมียาหยอดตาเป็นต้น
แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน และถวายสมณบริขารอย่างอื่น
สดับพระธรรนเทศนาของพระองค์แล้ว มีพระหฤทัยเลื่อมใส
ก็ทรงผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงพยากรณ์ว่า
ในอนาคตกาล ในกัปนี้นี่แหละ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า เขมะ
ถวายทานมิใช่น้อย ในพระตถาคต และพระสาวกชิโนรส.
ถวายบาตรและจีวร ยาหยอดตา ไม้เท้าไม้มะซาง
ถวายสิ่งของที่ท่านปรารถนาเหล่านี้ ๆ ล้วนแต่ของดี ๆ.

พระมุนีกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำวิเศษ
แม้พระองค์นั้น ก็ได้ทรงพยากรณ์เราว่า
ในภัทรกัปนี้แล ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 648
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
ครั้งนั้น เราชื่อว่าเขมะ นครชื่อว่า เขมวดี กำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ
ก็บวชแล้วในสำนักของพระองค์.
แก้อรรถ
ในคาถานั้น อญฺชนํ แปลว่า ยาหยอดตา ความชัดแล้ว.
บทว่า มธุลฏฺฐิกํ ได้แก่ ไม้เท้าไม้มะซาง.
บทว่า อิเมตํ ตัดบทเป็น อิมํ เอตํ.
บทว่า ปตฺถิตํ แปลว่า ปรารถนาแล้ว.
บทว่า ปฏิยาเทมิ แปลว่า ถวาย อธิบายว่า ได้ถวายแล้ว.
บทว่า วรํ วรํ หมายความว่า ประเสริฐที่สุด ๆ. ปาฐะว่า ยเทตํปตฺถิตํ ดังนี้ก็มี.
ปาฐะนั้น ความว่า เราได้ถวายสิ่งที่พระองค์ปรารถนาทุกอย่างแด่พระองค์. ความนี้ดีกว่า.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ ผู้ไม่ชักช้าพระองค์นั้น
มีพระนครชื่อว่า เขมะ
พระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า อัคคิทัตตะ
พระชนนีเป็นพราหมณ์ชื่อว่า วิสาขา
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระวิธุระ และ พระสัญชีวะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระพุทธิชะ
คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระสามา และพระจัมปา.
โพธิพฤกษ์ชื่อว่า ต้นสิรีสะ คือไม้ซึก.
พระสรีระสูง ๔๐ ศอก.
พระรัศมีแห่งพระสรีระแล่นออกไปรอบ ๆ ๑๐ โยชน์.
พระชนมายุสี่หมื่นปี
มีเอกภริยาเป็นพราหมณีชื่อว่า โรจินี
โอรสชื่อว่า อุตตระ
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยรถเทียมม้า.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 649
พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้เป็นพระศาสดา
ทรงมีพระชนกเป็นพราหมณ์ ชื่อว่า อัคคิทัตตะ
ทรงชนนีชื่อว่า วิสาขา.
ตระกูลของพระสัมพุทธเจ้า เป็นตระกูลใหญ่
ประเสริฐเลิศล้ำกว่านรชนทั้งหลาย เป็นชาติสูงมีบริวารยศใหญ่ อยู่ในนครเขมะนั้น.

พระกกุสันธพุทธเจ้า
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระวิธุระและพระสัญชีวะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระพุทธิชะ.
มีพระอัครสาวิกาชื่อว่า พระสามา และพระจัมปา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นสิรีสะ (ไม้ซึก).
พระมหามุนีสูง ๔๐ ศอก
พระรัศมีสีทองแล่นออกไปรอบ ๆ ๑๐ โยชน์.

พระกกุสันธพุทธเจ้า พระองค์นั้น มีพระชนมายุ สี่หมื่นปี
พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก
ทรงขยายตลาดธรรมแก่บุรุษสตรี ในโลกทั้งเทวโลก
ทรงบันลือดุจการบันลือของราชสีห์ แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 650
พระองค์มีพระสุรเสียง มีองค์ ๘ มีศีลบริบูรณ์ อยู่นิรันดร ทั้งนั้น
ก็อันตรธานไปสิ้นสังขารทั้งปวงว่างเปล่า แน่แท้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า วสเต ตตฺถ เขเม ปุเร นี้
พึงทราบว่า ท่านกล่าวเพื่อชี้นครที่พระกกุสันธพุทธเจ้าทรงสมภพ.
บทว่า มหากุลํ ได้แก่ ตระกูลฝ่ายพระชนกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นตระกูลรุ่งเรือง.
บทว่า นรานํ ปวรํ เสฏฺฐํ ความว่า ประเสริฐเลิศล้ำกว่ามนุษย์ทั้งหมดโดยชาติ.
บทว่า ชาติมนฺตํ ได้แก่ มีชาติยิ่ง มีชาติสูง.
บทว่า มหายสํ ได้แก่มีบริวารมาก. ตระกูลใหญ่นั้นของพระพุทธเจ้าเป็นดังฤา.
ในคำนั้น พึงเห็นการเชื่อมความกับบทว่า มหากุลํ เขเม ปุเร วสเต ตระกูลใหญ่อยู่ในกรุงเขมะ.
บทว่า สมนฺตา ทสโยชนํ ความว่า
พระรัศมีสีทองออกจากพระสรีระเป็นนิตย์ แล่นแผ่ไป ๑๐ โยชน์โดยรอบ.
บทว่า ธมฺมาปณํ ได้แก่ ตลาดกล่าวคือธรรม.
บทว่า ปสาเรตฺวา ความว่า ขยายตลาดธรรม
เหมือนตลาดที่คับคั่งด้วยสินค้านานาชนิด เพื่อขายสินค้า.
บทว่า นรนารีนํ ได้แก่ เพื่อประสบรัตนะวิเศษ คือ ฌานสมาบัติและมรรคผล สำหรับบุรุษสตรีทั้งหลาย.
บทว่า สีหนาทํ ว ก็คือ สีหนาทํ วิย ได้แก่ บรรลือเสียงอภัย ไม่น่ากลัว.
บทว่า อฏฺฐงฺควจนสมฺปนฺโน ได้แก่ พระศาสดาทรงมีพระสุรเสียงประกอบด้วยองค์ ๘.
บทว่า อจฺฉิทฺทานิ ได้แก่ ศีลที่เว้นจากภาวะมีขาดเป็นต้น ไม่ขาด ไม่ด่าง ไม่พร้อย
อีกนัยหนึ่ง ศีลที่ไม่ทะลุ ไม่มีช่อง เช่นคู่พระอัครสาวก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 651
บทว่า นิรนฺตรํ ได้แก่ เนือง ๆ กาลเป็นนิตย์.
บทว่า สพฺพํ ตมนฺตรหิตํ ความว่า พระศาสดาและคู่พระอัครสาวกเป็นต้นนั้นทั้งหมด
เข้าถึงความเป็นพระมุนีแล้ว ก็เข้าถึงความเป็นผู้แลไม่เห็น.
อเปตพนฺโธ กกุสนฺธพุทฺโธ
อทนฺธปญฺโญ คตสพฺพรนฺโธ
ติโลกสนฺโธ กิร สจฺจสนฺโธ
เขเม วเน วาสมกปฺปยิตฺถ.
ข่าวว่า พระกกุสันธพุทธเจ้า
ทรงปราศจากพันธะ มีพระปัญญาไม่ชักช้า ไปจากโทษทั้งปวง
ทรงตั้งมั่นในไตรโลก ทรงมั่นคงในสัจจะ ประทับอยู่ ณ เขมวัน.
ในคาถาที่เหลือทุกแห่ง คำชัดแล้วทั้งนั้นแล. .
จบพรรณนาวงศ์พระกกุสันธพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 652


หน้า: [1] 2 3 ... 10