แสดงกระทู้ - สมบัติ สูตรไชย
กระดานสนทนาธรรม

ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก บ้านห้วยยางทอง ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ 67260


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - สมบัติ สูตรไชย

หน้า: [1] 2 3 ... 5
1

กรรมที่เป็นเหตุให้เกิดเป็นมนุษย์และเทวดา
[๑๑๐๕] คนทั้งหลาย ให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรมแล้ว เกิดที่ไหน ?
คนทั้งหลาย ให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรมแล้ว
บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง กษัตริย์ผู้มหาศาล
บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง พราหมณ์ผู้มหาศาล
บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง คหบดีผู้มหาศาล
บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง เหล่าเทวดา ชั้นจาตุมหาราช
บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง เหล่าเทวดา ชั้นดาวดึงส์
บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง เหล่าเทวดา ชั้นยามา
บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง เหล่าเทวดา ชั้นดุสิต
บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง เหล่าเทวดา ชั้นนิมมานรดี
บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง เหล่าเทวดา ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.

ประมาณแห่งอายุของมนุษย์
[๑๑๐๖] อายุของเหล่ามนุษย์ มีประมาณเท่าไร ?
คือ ประมาณ ๑๐๐ ปี
ต่ำกว่าบ้าง
เกินกว่าบ้างก็มี.

ประมาณแห่งอายุของเทวดาเทียบกับมนุษย์
อายุของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช มีประมาณเท่าไร ? คือ
๕๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช,
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน, ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑ ปี.
๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๙ ล้านปี.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ มีประมาณเท่าไร ? คือ
๑๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์,
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑ปี.
๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๓ โกฏิ ๖ ล้านปี.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นยามา มีประมาณเท่าไร ?
คือ ๒๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นยามา,
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน, ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑
ปี. ๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นยามา.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๑๔ โกฏิ ๔ ล้านปี.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นดุสิต มีประมาณเท่าไร ? คือ
๔๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นดุสิต,
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน, ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี,
๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นดุสิต.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๕๗ โกฏิ ๖ ล้านปี.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี มีประมาณเท่าไร ? คือ
๘๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี,
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑ ปี,
๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๒๓๐ โกฏิ ๔ ล้านปี.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มีประมาณเท่าไร ? คือ
๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี,
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน, ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี,
๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๙๒๑ โกฏิ ๖ ล้านปี.

พวกเทวดากามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น เพียบพร้อมไปด้วยกามคุณทั้งปวง
อายุของพวกเทวดากามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น
นับรวมกันทั้งหมดเป็นเท่าไร เป็น ๑,๒๒๘ โกฏิ ๕ ล้านปี โดยนับอย่างปีมนุษย์.


ประมาณแห่งอายุของรูปพรหม
[๑๑๐๗] ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นพรหมปาริสัชชา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณเท่าส่วนที่ ๓ ที่ ๔ แห่งกัป [คือ ๑ ใน ๓ หรือ ๑ ใน ๔แห่งกัป].

ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นพรหมปุโรหิตา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณกึ่งกัป.

ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นมหาพรหมา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๑ กัป.

ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นปริตตาภา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๒ กัป.


ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอัปปมาณาภา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๔ กัป.

ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอาภัสสรา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๘ กัป.

ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างสามัญไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นปริตตสุภา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๑๖ กัป.

ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอัปปมาณสุกา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๓๒ กัป.

ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นสุภกิณหา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๖๔ กัป.

ผู้เจริญจตุตถฌาน
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาเหล่าอสัญญสัตว์
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นเวหัปผลา

บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอวิหา
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอตัปปา
บางคนไปเกิดพวกเทวดาชั้นสุทัสสา
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นสุทัสสี
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอกนิฏฐา

บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ

เพราะอารมณ์ต่างกัน
เพราะมนสิการต่างกัน
เพราะฉันทะต่างกัน
เพราะปณิธิต่างกัน
เพราะอธิโมกข์ต่างกัน
เพราะอภินีหารต่างกัน
เพราะปัญญาต่างกัน.


อายุของเหล่าเทวดาอสัญญสัตว์ และ
เหล่าเทวดาชั้นเวหัปผลามีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๕๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาชั้นอวิหา มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๑,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาชั้นอตัปปา มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๒,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาชั้นสุทัสสา มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๔,๐๐๐ กัป.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นสุทัสสี มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๘,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาชั้นอกนิฏฐา มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๑๖,๐๐๐ กัป.

ประมาณแห่งอายุของอรูปพรหม
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๒๐,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงวิญญานัญจายตนภพ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๔๐,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๖๐,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ มีประมาณเท่าไร ? มีประมาณ ๘๔,๐๐๐ กัป.

เหล่าสัตว์ที่มีอำนาจแห่งบุญส่งเสริม ไปแล้วสู่กามภพ และรูปภพ หรือแม้ไปสู่ภวัคคพรหม
ย่อมกลับสู่ทุคติอีกได้ เหล่าสัตว์มีอายุยืนถึงเพียงนั้น ก็ยังจุติเพราะสิ้นอายุ ภพไหน ๆ ชื่อว่า เที่ยงไม่มี

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้ตรัสไว้อย่างนี้

เพราะฉะนั้นแล เหล่านักปราชญ์ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดรอบคอบ คำนึงถึงความจริงข้อนี้
จึงเจริญมรรคอันอุดมเพื่อพ้นจากชรามรณะ
ครั้นเจริญมรรคอันบริสุทธิ์สะอาด ซึ่งมีปกติยังสัตว์ให้หยั่งถึงพระนิพพานแล้ว
ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน เพราะกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงฉะนี้แล.
[/size]





2
[๓๑๙] ธาตุ ๖
๑. ปฐวีธาตุ ธาตุดิน
๒. อาโปธาตุ ธาตุน้ำ
๓. เตโชธาตุ ธาตุไฟ
๔. วาโยธาตุ ธาตุลม
๕. อากาสธาตุ ธาตุที่สัมผัสไม่ได้
๖. วิญญาณธาตุ ธาตุรู้.

3
[๓๐๕] อายตนะภายนอก ๖
๑. รูปายตนะ อายตนะ คือ รูป
๒. สัททายตนะ อายตนะ คือ เสียง
๓. คันธายตนะ อายตนะ คือ กลิ่น
๔. รสายตนะ อายตนะ คือ รส
๕. โผฏฐัพพายตนะ อายตนะ คือ โผฏฐัพพะ
๖. ธัมมายตนะ อายตนะ คือ ธรรม.

4
อายตนะภายใน ๖
๑. จักขายตนะ อายตนะ คือ ตา
๒. โสตายตนะ อายตนะ คือ หู
๓. ฆานายตนะ อายตนะ คือ จมูก
๔. ชิวหายตนะ อายตนะ คือ ลิ้น
๕. กายายตนะ อายตนะ คือ กาย
๖. มนายตนะ อายตนะ คือ ใจ.

5
พระปุณณาเถรี เล่ม54 หน้า 343
ทรมาน พราหมณ์ที่ถือว่าบริสุทธิ์ด้วยการ ลงอาบน้ำ
ข้าพเจ้าเป็นหญิงแบกหม้อน้ำได้พบ พราหมณ์ โสตถิยะ
กำลังหนาวสั่นอยู่กลางน้ำ
แม้แต่หน้าหนาว
ท่านพราหมณ์ ท่านเล่ากลัวอะไร จึงลงน้ำทุกเมื่อ
ตัวสั่นเทา ประสบความหนาวเย็นอย่างหนัก.
พราหมณ์กล่าวว่า
ดูก่อนแม่ปุณณาผู้จำเริญ
เจ้าเมื่อรู้ว่าเราผู้กระทำกุศลกรรม อันห้ามบาปที่ทำไว้แล้ว
ยังจะสอบถามหรือหนอ
ก็ผู้ใด ไม่ว่าเป็นคนแก่และคนหนุ่ม
ประกอบบาปกรรมได้
ผู้นั้น ย่อมจะหลุดพ้นจากบาปกรรมได้
เพราะการลงอาบน้ำ.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า
ใครหนอช่างไม่รู้ มาบอกกับท่าน
ซึ่งก็ไม่รู้ว่า ตนจะหลุดพ้นจากบาปกรรมได้ 
เพราะการอาบน้ำ
พวก กบ เต่า งู จระเข้ และสัตว์อื่น ๆ ที่สัญจรอยู่ในน้ำทั้งหมด
ก็คงจักพากันไปสวรรค์แน่แท้

คนฆ่าแพะคนฆ่าสุกร คนฆ่าปลา คนล่าเนื้อ
พวกโจร พวกเพชฌฆาต และคนทำบาปกรรมอื่น ๆ
แม้คนทั้งนั้นจะหลุดพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการอาบน้ำ

ถ้าหากว่า แม่น้ำเหล่านี้
จะพึงนำบาปที่ท่านทำมาแต่ก่อนไปได้ไซร้
แม่น้ำเหล่านี้ ก็จะพึงนำ แม้บุญของท่านไปด้วย
ท่านก็จะพึงเห็นห่างจากบุญนั้นไป.

ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าทุกข์ไม่น่ารักสำหรับท่าน
ท่านก็อย่าทำบาปกรรม ทั้งในที่ลับ ทั้งในที่แจ้ง

ก็หากว่าท่านจักกระทำ หรือกำลังกระทำบาปกรรม
ท่านถึงจะเหาะหนีไป ก็ไม่พ้นไปจากทุกข์ได้เลย.

ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าทุกข์ไม่น่ารักสำหรับท่าน
ท่านก็จงถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เช่นนั้นเป็นสรณะ
จงสมาทานศีล ข้อนั้นก็จักเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นของท่าน.

พราหมณ์นั้นตั้งอยู่ในสรณะและศีลแล้ว
ต่อมา ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดาแล้วได้ศรัทธา
ก็บวชพากเพียรพยายามอยู่ ไม่นานนัก ก็เป็นผู้มีวิชชา ๓
พิจารณาทบทวนข้อปฏิบัติของตน
เมื่อจะอุทานจึงกล่าวคาถาว่า พฺรหฺมพนฺธุ เป็นต้น.

คาถานั้นมีความว่า
แต่ก่อน ข้าพเจ้ามีชื่อว่า พรหมพันธุ์ เผ่าพันธุ์พรหม
โดยเหตุเพียงเกิดในสกุลพราหมณ์
ข้าพเจ้า เป็นผู้มีไตรเพทถึงพร้อมด้วยเวท
ชื่อว่า เป็นพราหมณ์ผู้อาบน้ำเสร็จแล้ว โดยเหตุเพียงเรียนเป็นต้น
ซึ่งไตรเพทมีอิรุพเพทเป็นอาทิ ก็อย่างนั้น
บัดนี้ ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ จริง คือเป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์
เพราะลอยบาปได้โดยประการทั้งปวง ชื่อว่า เตวิชชา
เพราะบรรลุวิชชา ๓ ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยเวท
เพราะประกอบด้วยเวท กล่าวคือมรรคญาณ และ
ชื่อว่าอาบน้ำเสร็จแล้ว เพราะถอนบาปได้หมด
แม้คาถาที่พราหมณ์กล่าวไว้ในเรื่องนี้ ภายหลัง
พระเถรีก็กล่าวไว้เฉพาะดังนั้น จึงชื่อว่าคาถาของพระเถรีทั้งหมดแล.
จบ อรรถกถาปุณณาเถรีคาถา


6

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 323
อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม. . .
ย่อมแสดงสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
ย่อมแสดงวินัยว่ามิใช่วินัย
ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ ว่าเป็นคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้
ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้
ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตพระพฤติมาแล้ว
ย่อมแสดงกรรมอัน ตถาคตประพฤติมาแล้วว่าเป็นกรรมอันตถาคตมิได้พระพฤติมาแล้ว
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ว่าเป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้
ย่อมแสดงอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ย่อมแสดงอาบัติว่าเป็นอนาบัติ
ย่อมแสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก
ย่อมแสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติเบา
ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม
มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม
มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม
มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม
มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม
มีความสงสัยในความแตกกัน
มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม
มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม
มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความสงสัยในความแตกกัน
มีความสงสัยในธรรมนั้น
มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม
มีความสงสัยในธรรมนั้น
มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม
มีความสงสัยในธรรมนั้น
มีความสงสัยในความแตกกัน
อำพรางความเห็น
อำพรางความถูกใจ
อำพรางความชอบใจ
อำพรางความจริง
ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัยนี้สัตถุศาสน์
ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 324
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรกอยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้.


7
ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้
จักมีความพอใจอย่างไร
มีความประสงค์อย่างไร
กระผมถามแล้ว ขอจงบอกความข้อนั้นแก่กระผมเถิด.

ดูก่อนปัณฑรสฤาษี
ขอเชิญฟังคำของอาตมา
จงจำคำของอาตมาให้ดี
อาตมาจะบอกซึ่งข้อความที่ท่านถามถึงอนาคตกาล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 209
ลำดับนั้น
พระเถระมองเห็นตามความเป็นจริง
ซึ่งความเป็นไปของพวกภิกษุ และพวกนางภิกษุณีอย่างแจ่มแจ้ง
ด้วยอนาคตังสญาณแล้ว
เมื่อจะบอกแก่ดาบสนั้น จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

ในกาลข้างหน้า ภิกษุเป็นอันมาก
จักเป็นคนมักโกรธ
มักผูกโกรธไว้
ลบหลู่คุณท่าน
หัวดื้อ โอ้อวด ริษยา
มีวาทะต่าง ๆ กัน
จักเป็นผู้มีมานะ ในธรรมที่ยังไม่รู้ทั่วถึง
คิดว่าตื้นในธรรมที่ลึกซึ้ง
เป็นคนเบา
ไม่เคารพธรรม
ไม่มีความเคารพกันและกัน

ในกาลข้างหน้าโทษเป็นอันมากจักเกิดขึ้นในหมู่สัตวโลก

ก็เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ไร้ปัญญา
จักทำ ธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนี้ให้เศร้าหมอง
ทั้งพวกภิกษุ ที่มีคุณอันเลวโวหารจัด แกล้วกล้า มีกำลังมาก
ปากกล้า ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ก็จักมีขึ้นในสังฆมณฑล
ภิกษุทั้งหลาย
ในสังฆมณฑล แม้ที่มีคุณความดี
มีโวหารโดยสมควรแก่เนื้อความ
มีความละอายบาป ไม่ต้องการอะไร ๆก็จักมีกำลังน้อย

ภิกษุทั้งหลาย
ในอนาคตที่ทรามปัญญา ก็จะพากัน ยินดี
เงิน ทอง ไร่นา ที่ดิน แพะ แกะ และคนใช้หญิงชาย
จักเป็นคนโง่มุ่งแต่จะยกโทษผู้อื่น
ไม่ดำรงมั่นอยู่ในศีล ถือตัว โหดร้าย เที่ยวยินดีแต่การทะเลาะวิวาท
จักมีใจฟุ้งซ่าน นุ่งห่มแต่จีวรที่ย้อมสีเขียวแดง เป็นคนลวงโลก กระด้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 210
เป็นผู้แส่หาแต่ ลาภผล
เที่ยวชูเขา คือ มานะ
ทำตน ดังพระอริยเจ้า ท่องเที่ยวไปอยู่
เป็นผู้แต่งผมด้วยน้ำมัน ทำให้มีเส้นละเอียด
เหลาะแหละ ใช้ยาหยอดและทาตา
มีร่างกายคลุมด้วยจีวรที่ย้อมด้วยสีงา
สัญจรไปตามตรอกน้อยใหญ่
จักพากันเกลียดชังผ้าอันย้อมด้วยน้ำฝาด เป็นของไม่น่าเกลียด
พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้ว ยินดียิ่งนักเป็นธงชัยของพระอรหันต์

พอใจแต่ในผ้าขาว ๆ จักเป็นผู้มุ่งแต่ลาภผล
เป็นคนเกียจคร้าน
มีความเพียรเลวทราม
เห็นการอยู่ป่าอันสงัด เป็นความลำบาก
จักใคร่อยู่ในเสนาสนะที่ใกล้บ้าน


ภิกษุเหล่าใด
ยินดี มิจฉาชีพ จักได้ลาภเสมอ ๆ จักพากันประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น
(เที่ยวคบหาราชสกุลเป็นต้น เพื่อให้เกิดลาภแก่ตน) ไม่สำรวมอินทรีย์เที่ยวไป

อนึ่ง ในอนาคตกาล
ภิกษุทั้งหลายจะไม่บูชาพวกภิกษุที่มีลาภน้อย
จักไม่สมคบภิกษุที่เป็นนักปราชญ์ มีศีลเป็นที่รัก
จักทรงผ้าสีแดง ที่ชนชาวมิลักขะชอบย้อมใช้
พากันติเตียนผ้าอันเป็นธงชัยของตนเสีย
บางพวกก็นุ่งห่มผ้าสีขาวอันเป็นธงของพวกเดียรถีย์


อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุเหล่านั้น
จักไม่เคารพในผ้ากาสาวะ
จักไม่พิจารณาในอุบายอันแยบคาย
บริโภคผ้ากาสาวะ
เมื่อทุกข์ครอบงำถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว ก็ไม่พิจารณาโดยแยบคาย
แสดงอาการยุ่งยากในใจออกมา
มีแต่เสียงโอดครวญอย่างใหญ่หลวง


อนึ่ง
ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต
จักเป็นผู้มีจิตใจชั่วร้าย
ไม่เอื้อเฟื้อจักข่มขู่ภิกษุทั้งหลายผู้คงที่มีเมตตาจิต
 แม้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นคนโง่เขลา มีปัญญาทราม
ไม่สำรวมอินทรีย์
กระทำตามความใคร่
ถึงพระเถระ ให้ศึกษา การใช้สอยผ้าจีวร ก็ไม่เชื่อฟัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 212
พวกภิกษุที่โง่เขลาเหล่านั้น
อันพระเถระทั้งหลายให้การศึกษาแล้วเหมือนอย่างนั้น
จักไม่เคารพกันและกัน
ไม่เอื้อเฟื้อในพระอุปัชฌายาจารย์
จักเป็นเหมือนม้าพิการ
ไม่เอื้อเฟื้อนายสารถีฉะนั้น

 ในกาลภายหลังแต่ตติยสังคายนา
ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต จักปฏิบัติอย่างนี้.
ภัยอย่างใหญ่หลวงที่จะทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติ ย่อมมาในอนาคตอย่างนี้ก่อน
ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ว่าง่าย
จงพูดแต่ถ้อยคำที่สละสลวย
มีความเคารพกันและกัน
มีจิตเมตตากรุณาต่อกัน
จงสำรวมในศีล
ปรารภความเพียร
มีใจเด็ดเดี่ยวบากบั่นอย่างมั่นเป็นนิตย์
ขอท่านทั้งหลาย
จงเห็นความ ประมาท โดยความเป็นภัย และ
จงเห็นความ ไม่ประมาท โดยความเป็นของปลอดภัย
แล้วจงอบรมอัฏฐังรคิกมรรค
เมื่อทำได้ดังนี้แล้ว ย่อมจะบรรลุพระนิพพานอันเป็นทางไม่เกิดไม่ตาย.




8

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 207
๕. ปฐมสุขสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์และสุข
[๖๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่นาลกคาม แคว้นมคธ
ครั้งนั้นแล
ปริพาชกชื่อว่าสามัณฑกานิ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า
ดูก่อนท่านพระสารีบุตร อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดทุกข์.
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
การเกิดเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
การไม่เกิดเป็นเหตุให้เกิดสุข
ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อมีการเกิด เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้ คือ

ความหนาว
ความร้อน
ความหิว
ความระหาย
อุจจาระ
ปัสสาวะ
สัมผัสไฟ
สัมผัสท่อนไม้
สัมผัสศัสตรา
ญาติก็ดี มิตรก็ดี มาประชุมพร้อมกัน ย่อมโกรธเคืองเขา
ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อมีการเกิด เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้

ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อไม่มีการเกิด เป็นอันหวังได้สุขนี้ คือ
ความไม่หนาว
ความไม่ร้อน
ความไม่หิว
ความไม่ระหาย
ไม่ต้องอุจจาระ
ไม่ต้องปัสสาวะ
ไม่ต้องสัมผัสไฟ
ไม่ต้องสัมผัสท่อนไม้
ไม่ต้องสัมผัสศัสตรา
ญาติก็ดี มิตรก็ดี มาประชุมพร้อมกัน ย่อมไม่โกรธเคืองเขา

ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อไม่มีการเกิด เป็นอันหวังได้สุขนี้ ดังนี้ .
จบปฐมสุขสูตรที่ ๕
อรรถกถาปฐมสุขสูตรที่ ๕
ปฐมสุขสูตรที่ ๕ สามัณฑกานิปริพาชก ถามท่านพระสารีบุตร ถึงสุขทุกข์ที่มีวัฏฏะเป็นมูล.
จบอรรถกถาปฐมสุขสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 208


9
เล่ม47หน้า187
ชื่อว่า การเห็นสมณะทั้งหลายการเข้าไปหาทั้งหมดเป็นต้นนั้น
ท่านกล่าวว่า ทัสสนะ (การเห็น) เพราะไม่ได้แสดงสิ่งที่ต่ำช้า
ข้อนี้พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเหตุไร เพราะมีอุปการะมาก และ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเเม้การเห็นว่ามีอุปการะมากแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น
ดังนี้เป็นอาทิ
เพราะกุลบุตรที่ปรารถนาประโยชน์ เห็นภิกษุทั้งหลายผู้ทรงศีล มาถึงประตูเรือน
ถ้าหากว่าไทยธรรมมีอยู่ ก็พึงต้อนรับด้วยไทยธรรม ตามกำลัง
ถ้าหากว่าไทยธรรมไม่มี ก็พึงไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์
เมื่อการไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์นั้นไม่สำเร็จ (ไหว้ไม่สะดวก) ก็พึงประคองอัญชลีนมัสการ
แม้เมื่อการประคองอัญชลีนมัสการนั้นไม่สำเร็จ ก็พึงนั่งมองด้วยจิตที่เลื่อมใส
ด้วยนัยน์ตาทั้งสอง ที่ประกอบด้วยความรัก

เพราะว่าด้วยบุญที่มีการมองดูอย่างนี้เป็นมูลเหตุ
โรคนัยน์ตาก็ดี
โทษก็ดี
ฝ้าก็ดี
ไฝก็ดี
ย่อมไม่มีตลอดพันชาติเป็นอเนก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 188
เขามีจักษุที่แจ่มใส ประกอบด้วยสิริ มีวรรณะ ๕ เช่น กับด้วยหน้าต่างแก้วมณีที่เปิดไว้ในวิมานแก้ว
เป็นผู้มีปกติได้สมบัติทุกอย่าง ทั้งในเทวโลก ทั้งในมนุษยโลกประมาณสิ้นแสนกัป

10
(พระนางอนุฬาเทวีทรงมีพระประสงค์จะบวช)
ก็สมัยนั้นแล พระนางอนุฬาเทวี มีพระประสงค์จะบวช กราบทูลแด่พระราชา.
พระราชาทรงสดับคำของพระนางแล้ว ได้ตรัสพระดำรัสนี้กะพระเถระว่า ท่านผู้เจริญ !
พระนางอนุฬาเทวีมีพระประสงค์จะบวช. ขอพระคุณท่านให้พระนางบวชเถิด.
พระเถระถวายพระพรว่า มหาบพิตร !
การให้มาตุคามบวช ไม่สมควรแก่พวกอาตมภาพ.
แต่ในนครปาตลีบุตร มีพระเถรี นามว่าสังฆมิตตา เป็นน้องสาวของอาตมภาพ.
ขอพระองค์ได้ทรงโปรดให้นิมนต์พระเถรีนั้นมา

มหาบพิตร ! ก็แลโพธิพฤกษ์ (ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ทั้ง ๓ พระองค์
ได้ประดิษฐานอยู่ที่เกาะนี้,โพธิพฤกษ์อันเปล่งข่ายคือรัศมีใหม่ ๆ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเรา
ก็ควรประดิษฐานอยู่บนเกาะนี้
เพราะฉะนั้น พระองค์พึงส่งพระราชสาสน์ไปโดยวิธีที่พระเถรีสังฆมิตตาจะพึงเชิญไม้โพธิ์มาด้วย

[พระราชาส่งทูตไปยังชมพูทวีป]
พระราชาทรงรับคำของพระเถระว่า ดีละ เจ้าข้า ! ดังนี้
ทรงปรึกษากับพวกอำมาตย์แล้วตรัสกะอำมาตย์ผู้เป็นหลานของพระองค์ นามว่าอริฏฐะ
ว่าเธอจักอาจไปยังนครปาตลีบุตรนิมนต์พระแม่เจ้าสังฆมิตตาเถรีมาพร้อมกับไม้มหาโพธิหรือ ?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 152
อริฏฐอำมาตย์กราบทูลว่า อาจ สมมติเทพ ! ถ้าพระองค์จักทรงอนุญาตให้หม่อมฉันบวช.
พระราชาตรัสว่า ไปเถิดพ่อ ! เจ้านำพระเถรีมาแล้ว จงบวชเถิด.
อำมาตย์นั้นถือเอาพระราชสาสน์และเถรสาสน์แล้วไปยังท่าเรือชื่อชัมพุโกลปัฏฏนะ โดยวันเดียวเท่านั้น
ด้วยกำลังการอธิษฐานของพระเถระ ลงเรือข้ามสมุทรไปยังเมืองปาตลีบุตรทีเดียว.
ฝ่ายพระนางอนุฬาเทวีแล พร้อมด้วยหญิงสาว ๕๐๐ คน และหญิงชาววังอี ๕๐๐ คน
สมทานศีล๑๐ ครองผ้ากาสาวพัสตร์ให้สร้างสำนักอาศัย ในส่วนหนึ่งพระนคร แล้วสำเร็จการอยู่อาศัย.

[ทูตถวายพระราชสาสน์และเถรสาสน์]
ฝ่ายอริฏฐอำมาตย์ก็ไปถึงในวันนั้นนั่นแล
ได้ทูลเกล้าถวายพระราชสาสน์และกราบทูลอย่างนี้ว่า
ข้าแต่สมมติเทพ ! พระมหินทเถระพระโอรสของพระองค์ ทูลอย่างนี้ว่า
ได้ยินว่า พระเทวีพระนามว่า อนุฬา พระชายาของพระกนิษฐภาดาแห่งพระเจ้าเทวานัมปิยดิส
พระสหายของพระองค์ มีพระประสงค์จะบวช เพื่อให้พระนางได้บวช
ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดส่งพระแม่เจ้าสังฆมิตตาเถรี และต้นมหาโพธิ์ไปกับพระแม่เจ้าด้วย.
อริฏฐอำมาตย์ครั้นทูลถวายเถรสาสน์แล้ว เข้าเฝ้าพระเถรีสังฆมิตตา กราบเรียนอย่างนี้ว่า
ข้าแต่พระแม่เจ้า ! พระมหินทเถระ หลวงพี่ของพระแม่เจ้า ส่งข้าพเจ้ามาในสำนักของพระแม่เจ้า
โดยสั่งว่า พระนางอนุฬาเทวี พระชายาของพระกนิษฐภาดาแห่งพระเจ้าเทวานัมปิยดิส
พร้อมกับหญิงสาว ๕๐๐ คน และหญิงชาววัง๕๐๐ คน มีความประสงค์จะบวช
นัยว่าพระแม่เจ้าจงมาให้พระนางอนุฬาเทวีนั้นบวช.
ในทันใดนั้นนั่นเอง พระเถรีนั้นรีบด่วนไปยังราชสำนัก แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาบพิตร !
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 153
พระมหินทเถระ หลวงพี่ของหม่อมฉันส่งข่าวมาอย่างนี้ว่า
ได้ยินว่า พระนางอนุฬาเทวี พระชายาของพระกนิษฐภาดาแห่งพระราชา
พร้อมด้วยหญิงสาว ๕๐๐ คน และหญิงชาววัง ๕๐๐ คน
มีความประสงค์จะบวช คอยท่า การมาของหม่อมฉันอยู่
ข้าแต่มหาราช ! หม่อมฉันปราถนาจะไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีป.
พระราชาตรัสว่า แน่ะแม่ ! พระมหินทเถระแม้ผู้เป็นลูกของเราและสุมนสามเณรหลานของเรา ก็ไปสู่เกาะตัมพปัณณิทวีป
ทำให้เราเป็นเหมือนคนแขนขาด เรานั้นเมื่อไม่เห็นลูกหลานแม้เหล่านั้น
ก็เกิดความเศร้าโศก เมื่อเห็นหน้าเจ้าก็หายโศก อย่าเลยแม่ ! แม่อย่าไป.
พระเถรีทูลว่า ข้าแต่มหาราช ! คำของหลวงพี่แห่งหม่อมฉันหนักแน่น
แม้พระนางอนุฬาขัตติยานี อันสตรีพันคนแวดล้อมแล้วมุ่งหน้าต่อบรรพชา
รอคอยหม่อมฉันอยู่ หม่อมฉันจะต้องไป มหาบพิตร !
พระราชาตรัสว่า แม่ถ้าเช่นนั้น เจ้าเชิญมหาโพธิ์ไปด้วยเถิด.


11
มาตลีเทพสารถีขับรถไปข้างหน้า
นายนิรยบาลทั้งหลายทิ่มแทงสัตว์นรกด้วยอาวุธอันลุกโพลง
สัตว์นรกเหล่านั้นก็ตกลงในหลุมถ่านเพลิง
เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นจมอยู่ในหลุมถ่านเพลิงเพียงเอว
นายนิรยบาลก็เอากระเช้าเหล็กใหญ่ตักถ่านเพลิงโปรยลงบนศีรษะสัตว์นรกเหล่านั้น
สัตว์นรกเหล่านั้นไม่อาจรับถ่านเพลิงก็ร้องไห้ มีกายไฟไหม้ทั่วดิ้นรนอยู่

พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงตรัสคาถาว่า
สัตว์เหล่าอื่นร้องไห้ มีกายไฟไหม้ทั่ว ดิ้นรนอยู่ในหลุมถ่านเพลิง
ความกลัวปรากฏแก่เรา เพราะเห็นกิริยานี้
ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เราขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ได้ทำบาปอะไรไว้ จึงมาร้องไห้ ดิ้นรนอยู่ในหลุมถ่านเพลิงนี้.
มาตลีเทพสารถีอันพระเจ้าเนมิราชตรัสถามแล้ว
ได้ทูลพยากรณ์วิบากของเหล่าสัตว์ผู้ทำบาป
ตามที่ได้ทราบ แด่พระเจ้าเนมิราชผู้ไม่ทรงทราบว่า
สัตว์นรกเหล่านี้ยังหนี้ให้เกิด เพราะ
สร้างพยานโกงเหตุแห่งทรัพย์ ของประชุมชน
ยังหนี้ให้เกิดแก่ประชุมชน
มีกรรมหยาบช้าทำความชั่ว

จึงมาร้องไห้ดิ้นรนอยู่ในหลุมถ่านเพลิง พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า องฺคารกาสุํ ความว่า แน่ะสหายมาตลี
ไฉนสัตว์บางพวกนี้จึงถูกนายนิรยบาลล้อมทิ่มแทงด้วยอาวุธอันลุกโพลง เหมือนต้อนโคที่ไม่เข้าคอก
ตกลงในหลุมถ่านเพลิง และนายนิรยบาลทั้งหลายถือเอากระเช้าเหล็กใหญ่โปรยถ่านเพลิงลงบนสัตว์เหล่านั้น
ที่จมอยู่ในหลุมถ่านเพลิงแค่เอว
คราวนั้นเหล่าสัตว์ไม่อาจรับถ่านเพลิงทั้งหลายได้ จึงร้องไห้มีกายไฟไหม้ทั่วคร่ำครวญดิ้นรนอยู่
อธิบายว่า โปรยคือโรยถ่านเพลิงลงบนศีรษะของตน ด้วยกำลังแห่งกรรมบ้าง ด้วยตนเองบ้าง.

บทว่า ปูคาย ธนสฺส ความว่า เหตุแห่งทรัพย์ซึ่งเป็นของประชุมชนที่ตนเรี่ยไร
เมื่อมีโอกาสว่า พวกเราจักถวายทานบ้าง จักทำการบูชาบ้าง จักสร้างวิหารบ้าง
บทว่า ชาปยนฺติ ความว่า ใช้จ่ายทรัพย์นั้นตามชอบใจ ตัดสินพวกหัวหน้าคณะสร้างพยานโกงว่า
พวกเราทำการขวนขวายในที่โน้นไปเท่านี้ ให้ในที่โน้นไปเท่านี้ ทำทรัพย์นั้น
ให้เสื่อมคือให้พินาศไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 264


12


ภริยาของเราทำกาละแล้ว
บุตรของเราก็ไปสู่ป่าช้า
มารดา บิดา และพี่ชายของเราเผาที่เชิงตะกอนเดียวกัน
เพราะความเศร้าโศกนั้น เราเป็นผู้เร่าร้อน เป็นผู้ผอมเหลือง
จิตเราฟุ้งซ่าน เพราะเราประกอบด้วยความเศร้าโศกนั้น
เรามากด้วยลูกศรคือความโศก จึงเข้าไปสู่ชายป่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธ ผู้เป็นนายของโลกผู้ตรัสรู้แล้ว ครั้นประทับนั่งบนใบไม้นั้นแล้ว
ทรงแสดงธรรมเครื่องบรรเทาลูกศรคือความโศกแก่เราว่า

ชนเหล่านั้น
ใครไม่ได้เชื้อเชิญให้มา ก็มาจากปรโลกนั้นเอง
ใครไม่ได้อนุญาตให้ไป ก็ไปจากมนุษยโลกนี้แล้ว

เขามาแล้วฉันใด ก็ไปฉันนั้น จะปริเทวนาไปทำไมในการตายของเขานั้น
สัตว์มีเท้า เมื่อฝนตกลงมา เขาก็เข้าไปอาศัยในโรง เพราะฝนตก
เมื่อฝนหายแล้วเขาก็ไปตามปรารถนา

ฉันใด มารดาบิดาของท่านก็ฉันนั้น จะปริเทวนาไปทำไมในการตายของเขานั้น
แขกผู้จรไปมา เป็นผู้สั่นหวั่นไหว
ฉันใด  มารดาบิดาของท่านก็ฉันนั้น จะปริเทวนาไปทำไมในการตายของเขานั้น
งูละคราบเก่าแล้ว ย่อมไปสู่กายเดิม
ฉันใด มารดาบิดาของท่านก็ฉันนั้น จะปริเทวนาไปทำไมในการตายของเขานั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 84
เราได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสแล้ว เว้นลูกศรคือความโศกได้ ยังความปราโมทย์ให้เกิดแล้ว
ได้ถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด
ครั้นถวายบังคมแล้ว
ได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ล่วงพ้นภูเขาคือกิเลส เป็นพระมหานาค
ทรงสมบูรณ์ด้วยกลิ่นหอมอันเป็นทิพย์ พระนานว่าสุเมธ เป็นนายกของโลก
ครั้นบูชาพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ประนมกรอัญชลีขึ้นเหนือเศียรอนุสรณ์ถึงคุณอันเลิศแล้ว
ได้สรรเสริญพระองค์ผู้เป็นนายกของโลกว่า
ข้าแต่พระมุนีมหาวีรเจ้า
พระองค์เป็นสัพพัญญู เป็นนายกของโลก
ทรงข้ามพ้นแล้วยังทรงรื้อขนสรรพสัตว์ด้วยพระญาณอีก
ข้าแต่พระมหามุนีผู้มีจักษุ
พระองค์ตัดความเคลือบแคลงสงสัยแล้วได้ทรงยังมรรคให้เกิดแก่ข้าพระองค์
ด้วยพระญาณของพระองค์ พระอรหันต์ผู้ถึงความสำเร็จ ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มากเที่ยว
ไปในอากาศได้ เป็นนักปราชญ์ ห้อมล้อมอยู่ทุกขณะ
พระเสขะผู้กำลังปฏิบัติ และผู้ตั้งอยู่ในผลเป็นสาวกของพระองค์
สาวกทั้งหลายของพระองค์ย่อมบาน เหมือนดอกปทุมเมื่ออาทิตย์อุทัย
มหาสมุทรประมาณไม่ได้ ไม่มีอะไรเหมือน ยากที่จะข้ามได้ฉันใด
แต่ข้าพระองค์ผู้มีจักษุ พระองค์สมบูรณ์ด้วยพระญาณก็ประมาณไม่ได้ฉันนั้น
เราถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้ชนะโลกมีจักษุ มียศมาก นมัสการทั่ว ๔ ทิศแล้วได้กลับไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 85
เราเคลื่อนจากเทวโลกแล้วรู้สึกตัว กลับมีสติ ท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยใหญ่ลงสู่ครรภ์มารดา
ออกจากเรือนแล้วบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญา มีการหลีกเร้นอยู่เป็นอารมณ์
ตั้งความเพียร ยังพระมหามุนีให้ทรงโปรดปราน พ้นแล้วจากกิเลส
ดังพระจันทร์พ้นแล้วจากกลีบเมฆอยู่ทุกเมื่อ
เราเป็นผู้ขวนขวายในวิเวก สงบระงับ ไม่มีอุปธิ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่
ในกัปที่ ๓ หมื่นแต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด
ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ...ฯลฯ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
[/size]

13
ในสมัยหนึ่งจุติจากเทวโลก บังเกิดในราชตระกูลในกรุงพาราณสี
โดยกาลที่พระชนกสวรรคต ถึงความเป็นพระราชาแล้ว.
ท้าวเธอทรงดำริว่า "จักยึดเอาพระนครหนึ่ง" จึงเสด็จไปล้อม (นครนั้นไว้).
และทรงส่งสาสน์ไปแก่ชาวเมืองว่า "จงให้ราชสมบัติหรือให้การยุทธ
" ชาวเมืองเหล่านั้นตอบว่า "จักไม่ให้ทั้งราชสมบัตินั่นแหละ, จักไม่ให้ทั้งการยุทธ"

๑. อนิจไตย เรื่องที่ไม่ควรคิด ๔ อย่าง คือ พุทธวิสัย. ฌานวิสัย. กรรมวิสัย. โลกจินตะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 410
ดังนี้แล้ว ก็ออกไปนำฟืนและน้ำเป็นต้นมาทางประตูเล็ก ๆ, ทำกิจทุกอย่าง.
ฝ่ายพระราชานอกนี้รักษาประตูใหญ่ ๔ ประตู ล้อมพระนครไว้สิ้น ๗ ปี ยิ่งด้วย ๗ เดือน ๗ วัน.
ในกาลต่อมา
พระชนนีของพระราชานั้นตรัสถามว่า บุตรของเราทำอะไร ?
" ทรงสดับเรื่องนั้นว่า "ทรงทำกรรมชื่อนี้ พระเจ้าข้า" ตรัสว่า "บุตรของเราโง่,
พวกเธอจงไป จงทูลแก่บุตรของเรานั้นว่า "จงปิดประตูเล็ก ๆ ล้อมพระนคร."
ท้าวเธอทรงสดับคำสอนของพระชนนีแล้ว ก็ได้ทรงทำอย่างนั้น.
ฝ่ายชาวเมืองเมื่อไม่ได้เพื่อออกไปภายนอก
ในวันที่ ๗ จึงปลงพระชนม์พระราชาของตนเสีย ได้ถวายราชสมบัติแด่พระราชานั้น.
ท้าวเธอทรงทำกรรมนี้แล้ว ในกาลเป็นที่สิ้นสุดแห่งอายุบังเกิดในอเวจี,
ไหม้แล้วในนรกตราบเท่ามหาปฐพีนี้หนาขึ้นได้ประมาณโยชน์หนึ่ง,
จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ถือปฏิสนธิในท้องของมารดานั้นนั่นแหละ อยู่ภายในท้องสิ้น ๗ ปี
ยิ่งด้วย ๗ เดือน นอนขวางอยู่ที่ปากช่องกำเนิดสิ้น ๗ วัน เพราะความที่ตนปิดประตูเล็ก ๆ ทั้งสี่.
ภิกษุทั้งหลาย สีวลีไหม้แล้วในนรกสิ้นกาลประมาณเท่านั้น
เพราะกรรมที่เธอล้อมพระนครแล้วยึดเอาในกาลนั้น ถือปฏิสนธิในท้องของมารดานั้นนั่นแหละ
อยู่ในท้องสิ้นกาลประมาณเท่านั้น เพราะความที่เธอปิดประตูเล็ก ๆ ทั้งสี่,
เป็นผู้ถึงความเป็นผู้มีลาภเลิศ มียศเลิศ เพราะความที่เธอถวายน้ำผึ้งใหม่ ด้วยประการอย่างนี้.


14
บังสุกุลจีวร เล่ม๓๕หน้า๙๐
ข้อว่าพึงรู้จักบังสุกุลจีวร ได้แก่ พึงทราบผ้าบังสุกุล ๒๓ อย่าง คือ
๑. ผ้าที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
๒. ผ้าที่เขาทิ้งในตลาด
๓. ผ้าที่เขาทิ้งตามทางรถ
๔. ผ้าที่เขาทิ้งในกองขยะ
๕. ผ้าเช็คครรภ์มลทินของหญิงคลอดบุตร
๖. ผ้าอาบน้ำ
๗. ผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามท่าอาบน้ำหรือท่าข้าม
๘. ผ้าที่เขาห่อคนตายไปป่าช้าแล้ว นำกลับมา
๙. ผ้าถูกไฟไหม้แล้วเขาทิ้ง
๑๐. ผ้าที่โคเคี้ยวแล้วเขาทิ้ง
๑๑. ผ้าปลวกกัดแล้วเขาทิ้ง
๑๒. ผ้าหนูกัดแล้วเขาทิ้ง
๑๓. ผ้าริมขาดแล้วเขาทิ้ง
๑๔. ผ้าขาดชายแล้วเขาทิ้ง
๑๕. ผ้าที่เขาทำเป็นธง
๑๖. ผ้าที่เขาบูชาไว้ที่จอมปลวก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 91
๑๗. ผ้าของภิกษุด้วยกัน
๑๘. ผ้าที่คลื่นทะเลซัดขึ้นฝั่ง
๑๙. ผ้าที่เขาทิ้ง ๆ ไว้ในที่ราชาภิเษก
๒๐. ผ้าที่ตกอยู่ในหนทาง
๒๑. ผ้าที่ถูกลมหอบไป
๒๒. ผ้าสำเร็จด้วยฤทธิ์
๒๓. ผ้าที่เทวดาถวาย.
ก็ในเรื่องผ้านี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า โสตฺถิยํ คือ ผ้าที่เขาห่อครรภ์มลทินไปทิ้ง.
บทว่า คตปจฺจาคตํ ความว่า ผ้าที่เขาห่อคนตายนำไปป่าช้าแล้วนำกลับมา.
บทว่า ธชาหฏํ คือผ้าที่เขาให้ยกเป็นธงขึ้นแล้ว นำกลับมาจากที่นั้น.
บทว่า ถูปํ คือ ผ้าที่เขาบูชาไว้ที่จอมปลวก
บทว่า สามุทฺทิยํ คือ ผ้าที่คลื่นทะเลซัดขึ้นฝั่ง.
บทว่า ปถิกํ คือ ผ้าพวกคนเดินทาง ทุบด้วยแผ่นหินห่มไปเพราะกลัวโจร.
บทว่า อิทฺธิมยํ คือ จีวรของเอหิภิกษุ.
บทที่เหลือ ชัดแจ้งแล้วแล.

[/size]

15
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 27
ยังมีเรื่องแม้อื่นอีก ได้ยินว่า
ท้าวอสุรินทรราหูสูงได้ ๔,๘๐๐โยชน์.(76,800 กม.)
ระหว่างแขนของเขาวัดได้ ๑,๒๐๐ โยชน์ (19,200 กม.)
ระหว่างนมวัดได้ ๖๐๐ โยชน์. (9,600 กม.)
พื้นมือและพื้นเท้าหนาได้ ๓๐๐ โยชน์. (4,800 กม.)
ข้อนิ้วยาวได้ ๕๐ โยชน์.(800 กม.)
ระหว่างคิ้วกว้าง ๕๐ โยชน์. (800 กม.)
หน้ายาว ๒๐๐ โยชน์. (3,200 กม.)
ลึกได้ ๓๐๐ โยชน์. (4,800 กม.)
มีปริมณฑลได้ ๓๐๐ โยชน์. (4,800 กม.)
คอยาวได้ ๓๐๐ โยชน์. (4,800 กม.)
หน้าผากยาวได้๓๐๐ โยชน์. (4,800 กม.)
ศีรษะยาวได้ ๙๐๐ โยชน์. (14,400 กม.)

เขาคิดว่า เราสูงมาก จักไม่สามารถที่จะน้อมตัวลงแลดูพระศาสดาได้ ดังนี้ จึงไม่มาเฝ้า.

วันหนึ่ง
เขาได้ฟังพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงมาด้วยคิดว่า เราจักมองดูโดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัชฌาสัยของเขาแล้ว
ทรงดำริว่า เราจักแสดงด้วยอิริยาบถไหน ในบรรดาอิริยาบถทั้งสี่
ทรงดำริว่า ธรรมดาคนยืน แม้จะต่ำก็ปรากฏเหมือนคนสูง แต่เราจักนอนแสดงตนแก่เขา
ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า อานนท์ เธอจงตั้งเตียงในบริเวณคันธกุฏี แล้วทรงสำเร็จสีหไสยาสน์บนเตียงนั้น.
ท่านอสุรินทรราหูมาแล้ว ชูคอขึ้นมองดูพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับนอนอยู่ราวกะว่าพระจันทร์เต็มดวงในท่ามกลางท้องฟ้า และ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อสุรินทะ นี้อะไร
จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์มิได้มาเฝ้าด้วยคิดว่า เราจักไม่สามารถที่จะโน้มตัวลงแลดูได้ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อสุรินทะ เรามิได้ก้มหน้าบำเพ็ญบารมีมา เราให้ทานทำให้เลิศทั้งนั้น ดังนี้.
วันนั้น อสุรินทรราหู ได้ถึงสรณะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงน่าดูน่าชมมิใช่น้อย ด้วยประการดังนี้.

หน้า: [1] 2 3 ... 5