แสดงกระทู้ - สมบัติ สูตรไชย
กระดานสนทนาธรรม

ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก บ้านห้วยยางทอง ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ 67260


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - สมบัติ สูตรไชย

หน้า: 1 [2] 3 4 5
16

บทว่า ชฏิลสฺส คหปติสฺส ปุญฺญวโต อิทฺธิ ฤทธิ์ของชฎิลคหบดีผู้มีบุญ คือ
เศรษฐีในเมืองตักกศิลาสะสมบุญ สร้างธาตุเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ชื่อชฎิล.
นัยว่า
มารดาของชฎิลนั้นเป็นธิดาของเศรษฐี ในกรุงพาราณสีมีรูปสวยยิ่งนัก.
เมื่อธิดามีอายุได้ ๑๕-๑๖ ปี มารดาบิดาให้นางอยู่บนพื้นบนของปราสาท ๗ ชั้นเพื่อดูแล.
วันหนึ่ง
วิชาธรเหาะไปทางอากาศเห็นนางเปิดหน้าต่างมองดูภายนอกเกิดสิเนหา
จึงเข้าไปทางหน้าต่าง ทำสันถวะกับนาง. นางจึงตั้งครรภ์ด้วยเหตุนั้น.
ลำดับนั้น
ทาสีเห็นนางจึงถามว่า นี่อะไรกันแม่.
นางกล่าวว่า อย่าเอ็ดไป เจ้าอย่าบอกใคร ๆ เป็นอันขาด.
ทาสีก็นิ่งเพราะความกลัว. ครบ๑๐ เดือน นางก็คลอดบุตร
ให้ทาสีนำภาชนะใหม่มาให้ทารกนอนบนภาชนะนั้นแล้วปิดภาชนะนั้นเสีย
วางพวงดอกไม้ไว้ข้างบนสั่งทาสีว่า เจ้าจงยกภาชนะนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 758
เทินศีรษะไปทิ้งที่แม่น้ำคงคา เมื่อผู้คนถามว่า นี้อะไร เจ้าพึงบอกว่าเป็นพลีกรรมของแม่เจ้าของฉัน.
ทาสีได้ทำตามนั้น.
ที่แม่น้ำคงคาทางใต้น้ำหญิงสองคนอาบน้ำอยู่เห็นภาชนะนั้น ลอยน้ำมา
คนหนึ่งพูดว่า นั่นภาชนะของฉัน
คนหนึ่งกล่าวว่า สิ่งที่อยู่ภายในภาชนะนั้นเป็นของฉัน
เมื่อภาชนะลอยมาถึง หญิงคนหนึ่งแบกภาชนะนั้นมาวางไว้บนบก
ครั้นเปิดออกเห็นทารกจึงกล่าวว่า
ทารกต้องเป็นของฉัน เพราะเธอพูดว่า ภาชนะเป็นของฉัน.
หญิงคนหนึ่งพูดว่า ทารกเป็นของฉันเพราะเธอพูดว่า สิ่งที่อยู่ภายในภาชนะนั้นเป็นของฉัน .
หญิงทั้งสองนั้นเถียงกัน พากันไปศาลเมื่อผู้พิพากษาไม่อาจตัดสินได้ ได้พากันไปเฝ้าพระราชา.
พระราชาทรงสดับคำของหญิงทั้งสองนั้นแล้วตรัสสั่งว่า เจ้าจงรับทารกไป เจ้าจงรับภาชนะไป
หญิงที่ได้ทารกไปเป็นอุปัฏฐากของพระมหากัจจายนเถระ.

นางเลี้ยงดูทารกนั้นด้วยหวังว่าจะให้บวชในสำนักของพระเถระ.
ในวันที่ทารกนั้นคลอด เพราะไม่ล้างมลทินของครรภ์แล้วนำออกไป ผมจึงยุ่ง ด้วยเหตุนั้น จึงมีชื่อว่า ชฎิล.

เมื่อทารกนั้นเดินได้ พระเถระเข้าไปบิณฑบาตยังเรือนนั้น.
อุบาสิกานิมนต์พระเถระให้นั่งแล้วถวายอาหาร.
พระเถระเห็นทารก จึงถามว่า อุบาสิกา ท่านได้ทารกมาหรือ.
นางตอบว่า เจ้าค่ะ ดิฉันเลี้ยงดูมาด้วยหวังว่าจะให้บวชในสำนักของพระคุณท่านเจ้าค่ะ.
พระเถระรับว่าดีละ แล้วพาทารกนั้นไปตรวจดูว่าทารกนี้จะมีบุญกรรมเพื่อเสวยสมบัติของคฤหัสถ์ไหมหนอ
คิดว่า สัตว์ผู้มีบุญจักได้เสวยมหาสมบัติตอนเป็นหนุ่มก่อน
แม้ญาณของเขาก็ยังไม่แก่กล้าพอ จึงพาทารกนั้นไปเรือนของอุปัฏฐาก คนหนึ่งในเมืองตักกศิลา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 759
อุปัฏฐากนั้นยืนไหว้พระเถระเห็นทารกจึงถามว่าได้ทารกมาหรือ
พระเถระตอบว่า ถูกแล้วอุบาสก ทารกนี้จักบวช แต่ยังหนุ่มนักขอให้อยู่กับท่านไปก่อน
อุบาสกรับว่าดีแล้วพระคุณท่าน จึงตั้งทารกนั้นไว้ในฐานะบุตรประคับประคองอย่างดี

อนึ่ง
ในเรือนของอุปัฏฐากนั้น มีสินค้าสะสมมาตลอด ๑๒ ปี
อุปัฏฐากนั้นไปในระหว่างบ้านนำสินค้านั้นทั้งหมดไปตลาดบอกราคาของสินค้านั้นแก่ชฎิลกุมารแล้วกล่าวว่า เจ้าพึงรับทรัพย์เท่านี้ ๆ
แล้วให้ไปในวันนั้น เทวดาผู้รักษานครบันดาลให้ผู้มีความต้องการโดยที่สุด แม้ยี่หร่าและพริกให้มุ่งหน้าไปตลาดของชฎิลกุมารนั้น
ชฎิลกุมารนั้นขายสินค้าที่สะสมมาตลอด๑๒ ปี หมดในวันเดียวเท่านั้น

กุฎุมพีมาไม่เห็นอะไร ๆ ในตลาด จึงพูดว่า พ่อคุณ เจ้าทำสินค้าหายไปหมดแล้วหรือ
ชฎิลกุมารบอกไม่หายดอกพ่อ ฉันขายหมดตามที่พ่อสั่งไว้ว่าของอย่างโน้นราคาเท่านี้ ของอย่างนี้ราคาเท่านั้น
เพราะเหตุนั้น สินค้าทั้งหมดจึงได้ตามราคา

กุฎุมพีเลื่อมใสคิดว่าชายที่หาค่ามิได้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ไม่ว่าในกาลไหน ๆ
จึงยกลูกสาวของตนซึ่งเจริญวัยแล้วให้แก่เขาแล้ว สั่งคนงานว่าจงสร้างเรือนให้ชฎิลกุมาร
เมื่อสร้างเรือนเสร็จจึงกล่าวว่า เจ้าทั้งสองจงไปอยู่ที่เรือนของตนเถิด

ในขณะที่เขาเข้าเรือนพอเท้าข้างหนึ่งเหยียบธรณีประตู
สุวรรณบรรพตประมาณ ๘๐ ศอก ผุดขึ้นในพื้นที่ส่วนหลังสุดของเรือ

นี้ว่าพระราชาทรงสดับว่า สุวรรณบรรพตผุดขึ้นทำลายพื้นที่ในเรือนของชฎิล
จึงทรงส่งเศวตฉัตรไปให้ชฎิลนั้น ชฎิลนั้นจึงได้ชื่อว่า ชฎิลเศรษฐี
นี่เป็นฤทธิ์ของผู้มีบุญนั้น.





17

ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ โชติกเศรษฐี 69-756
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 756
บทว่า โชติยสฺส คหปติสฺส ปุญฺญวโต อิทฺธิ ฤทธิ์ของโชติยคหบดีผู้มีบุญ คือ
เศรษฐีในกรุงราชคฤห์ ผู้สะสมบุญญาธิการไว้ในพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายในก่อน ชื่อว่า โชติกะ.

ได้ยินว่า
ในเวลาที่โชติกะนั้นเกิดสรรพาวุธในนครทั้งสิ้นลุกโพลง
แม้เครื่องอาภรณ์ที่แต่งไว้ในกายของชนทั้งปวงก็เปล่งแสงสว่างดุจลุกโพลง
นครได้มีแสงสว่างรุ่งโรจน์เป็นอันเดียวกัน

ลำดับนั้น
ในวันที่ตั้งชื่อกุมารนั้นจึงชื่อว่า โชติกะ เพราะนครทั้งสิ้นรุ่งโรจน์เป็นอันเดียวกัน
ครั้นโชติกะเจริญวัย เมื่อชำระพื้นที่เพื่อสร้างเรือน
ท้าวสักกเทวราช เสด็จมาปรับพื้นดิน ในที่ประมาณ ๑๖ กรีส
สร้างปราสาท ๗ ชั้น สำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ
สร้างกำแพง ๗ ชั้น ประกอบด้วยซุ้มประตู ๗ ซุ้ม สำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ
ในท้ายกำแพงปลูกต้นกัลปพฤกษ์ไว้ ๖๔ ต้นใน ๔ มุมของปราสาท
ฝังหม้อขุมทรัพย์ประมาณโยชน์หนึ่ง ๓ คาวุต ๒ คาวุต๑ คาวุต ใน ๔ มุมของปราสาท
ต้นอ้อย สำเร็จด้วยทองคำ ๔ ต้นประมาณเท่าลำตาลอ่อนเกิดขึ้น
ใบของต้นอ้อยเหล่านั้นสำเร็จด้วยแก้วมณี ข้อสำเร็จด้วยทองคำ
ที่ซุ้มประตูทั้ง ๗  ซุ้มหนึ่ง ๆ มียักษ์ ๗ ตนมีบริวารตนละ ๑,๐๐๐
๒,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๗,๐๐๐ คอยอารักขา.


พระเจ้าพิมพิสารมหาราช ทรงสดับถึงการสร้างปราสาทเป็นต้นแล้ว
จึงทรงส่งเศวตฉัตรของเศรษฐีไปให้ เศรษฐีนั้นจึงชื่อว่า โชติกเศรษฐี
เป็นผู้ปรากฏไปทั่วชมพูทวีป เสวยมหาสมบัติอยู่ ณ ปราสาทนั้นกับภริยาซึ่ง เทวดาทั้งหลายนำมาจาก อุตตรกุรุทวีป
แล้วให้นั่งเหนือห้องอันเป็นสิริซึ่งถือเอาข้าวสารทะนานหนึ่งและแผ่นหินให้เกิดไฟ ๓ แผ่นมาด้วย
ภัตรย่อมเพียงพอแก่เขาด้วยข้าวสารทะนานหนึ่งตลอดชีวิต

ได้ยินว่า
หากชนทั้งหลายประสงค์จะบรรทุกข้าวสารลงในเกวียน ๑๐๐ เล่ม
ทะนานข้าวสารนั้นแหละก็ยังตั้งอยู่ ในเวลาหุงข้าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 757
ใส่ข้าวสารลงในหม้อข้าวแล้ววางไว้ข้างบนแผ่นหินเหล่านั้น แผ่นหินก็จะลุกเป็นไฟขึ้นทันที
เมื่อข้าวสุกก็ดับ ด้วยสัญญาณนั้น ชนทั้งหลายก็รู้ว่าข้าวสุกแล้ว.
แม้ในเวลาแกงเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
อาหารของชนเหล่านั้นย่อมหุงต้มด้วยหินให้เกิดไฟอย่างนี้

ชนทั้งหลายย่อมอยู่ด้วยแสงสว่างแห่งแก้วมณี ย่อมไม่รู้จักแสงสว่างของไฟหรือของประทีป.
โชติกเศรษฐีได้ปรากฏไปทั่วชมพูทวีปว่า มีสมบัติถึงปานนี้ มหาชนขึ้นยานเป็นต้น มาเพื่อจะเห็น.
โชติกเศรษฐีให้ภัตตาหารแห่งข้าวสารจากอุตตกุรุทวีปแก่คนที่มาแล้ว ๆ
สั่งว่า ชนทั้งหลายจงถือเอาผ้าและอาภรณ์จากต้นกัลปพฤกษ์เถิด
สั่งว่า ชนทั้งหลายจงเปิดปากหม้อขุมทรัพย์ คาวุตหนึ่งแล้วถือเอาให้เพียงพอ.
เมื่อชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นถือเอาทรัพย์ไป หม้อขุมทรัพย์ก็มิได้พร่องแม้เพียงองคุลี
นี้เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญนั้น.

[/size]

18

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 497
อรรถกถากณเวรชาดก ที่ ๘๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
ทรงปรารภการประเล้าประโลมของภรรยาเก่าของภิกษุ
จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า ยนฺตํ วสนฺตสมเย ดังนี้.
เรื่องราวปัจจุบันจักมีแจ้งในอินฺทฺริยชาดก
ส่วนในที่นี้ พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า
ดูก่อนภิกษุ เมื่อชาติก่อนเธออาศัยหญิงนี้จึงได้รับการตัดศีรษะด้วยดาบ
แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี
พระโพธิสัตว์เกิดฤกษ์โจรในเรือนของคฤหบดีคนหนึ่งในกาสิกคาม
พอเจริญวัยแล้ว กระทำโจรกรรมเลี้ยงชีวิต จนปรากฏในโลก เป็นผู้กล้าหาญ มีกำลังดุจช้างสาร
ใคร ๆ ไม่สามารถจับพระโพธิสัตว์นั้นได้

วันหนึ่ง
พระโพธิสัตว์นั้นตัดที่ต่อเรือนในเรือนของเศรษฐีแห่งหนึ่ง ลักทรัพย์มาเป็นอันมาก.
ชาวพระนครพากันเข้าไปเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ มหาโจรคนหนึ่งปล้นพระนคร ขอพระองค์โปรดให้จับโจรนั้น.
พระราชาทรงสั่งเจ้าหน้าที่รักษาพระนครให้จับมหาโจรนั้นในตอนกลางคืน
เจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนครนั้น ได้วางผู้คนไว้เป็นพวก ๆ ในที่นั้น ๆ ให้จับมหาโจรนั้น
๑. ในพระสูตรเป็น กณเวรชาดก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 498
ได้พร้อมทั้งของกลาง แล้วกราบทูลแก่พระราชา. พระราชาทรงสั่งเจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนครนั้นนั่นแหละว่า จงตัดศีรษะมัน.
เจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนครมัดมือไพล่หลังมหาโจรนั้นอย่างแน่นหนา แล้วคล้องพวงมาลัยดอกยี่โถแดงที่คอของมหาโจรนั้น
แล้วโรยผงอิฐบนศีรษะเฆี่ยนมหาโจรนั้นด้วยหวายครั้งละ ๔ รอย จึงนำไปยังตะแลงแกงด้วยปัณเฑาะว์อันมีเสียงแข็งกร้าว
พระนครทั้งสิ้นก็ลือกระฉ่อนไปว่า ได้ยินว่า โจรผู้ทำการปล้นในนครนี้ ถูกจับแล้ว
ครั้งนั้น ในนครพาราณสี มีหญิงคณิกาชื่อว่าสามา
มีค่าตัวหนึ่งพัน เป็นผู้โปรดปรานของพระราชา
มีวรรณทาสี ๕๐๐ คนเป็นบริวาร ยืนเปิดหน้าต่างอยู่ที่พื้นปราสาท เห็นโจรนั้นกำลังถูกนำไปอยู่
ก็โจรนั้นเป็นผู้มีรูปงามน่าเสน่หา ถึงความงามเลิศยิ่ง มีผิวพรรณดุจเทวดา ปรากฏเด่นกว่าคนทั้งปวง.
นางสามาเห็นเข้าก็มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่คิดอยู่ว่าเราจะกระทำบุรุษนี้ให้เป็นสามีของเราได้ด้วยอุบายอะไรหนอ
รู้ว่ามีอุบายอยู่อย่างหนึ่ง จึงมอบทรัพย์พันหนึ่งในมือหญิงคนใช้คนหนึ่ง
ผู้กระทำตามความต้องการของตนได้ เพื่อส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนคร โดยให้พูดว่า
โจรนี้เป็นพี่ชายของนางสามา เว้นนางสามาเสีย ผู้อื่นที่จะเป็นที่อาศัยของโจรนี้ย่อมไม่มี
นัยว่า ท่านรับเอาทรัพย์หนึ่งพันนี้แล้วปล่อยโจรนี้ หญิงคนใช้นั้นได้กระทำเหมือนอย่างนั้น.

เจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนครกล่าวว่า โจรนี้เป็นโจรโด่งดัง เราไม่อาจปล่อยโจรนี้ได้ แต่เราได้คนอื่นแล้วอาจให้โจรนี้นั่งในยานอันมิดชิดแล้วจึงส่งไปได้.
หญิงคนใช้นั้นจึงไปบอกแก่นางสามานั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 499
ก็ในกาลนั้น มีบุตรของเศรษฐีคนหนึ่ง มีจิตปฏิพัทธ์ผูกพันนางสามา ให้ทรัพย์พันหนึ่งทุกวัน.
แม้วันนั้น เศรษฐีบุตรนั้นก็ได้เอาทรัพย์หนึ่งพันไปยังเรือนนั้น
ในเวลาพระอาทิตย์อัศดงคต ฝ่ายนางสามารับทรัพย์พันหนึ่งแล้ววางที่ขาอ่อนแล้วนั่งร้องไห้

เมื่อเศรษฐีบุตรนั้นกล่าวว่า นางผู้เจริญ นี่เรื่องอะไรกัน จึงกล่าวว่า
ข้าแต่นาย โจรนี้เป็นพี่ชายของดิฉัน เขาไม่มายังสำนักของดิฉัน ด้วยคิดว่า เราทำกรรมต่ำช้า
เมื่อดิฉันส่งข่าวแก่เจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนคร ๆ ส่งข่าวมาว่า เราได้ทรัพย์พันหนึ่งจึงจักปล่อยตัวไป
บัดนี้ ฉันได้ทรัพย์หนึ่งพันนี้แล้ว แต่ไม่ได้โอกาสที่จะไปยังสำนักของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนคร.
เพราะมีจิตปฏิพัทธ์ในนาง เศรษฐีบุตรนั้นจึงกล่าวว่า ฉันจักไปเอง.
นางสามากล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงถือเอาทรัพย์ที่นำมานั่นแหละไปเถิด.
เศรษฐีบุตรนั้นถือทรัพย์พันหนึ่งนั้นไปยังเรือนของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนคร.
เจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนครนั้นพักเศรษฐีบุตรนั้นไว้ในที่อันมิดชิด แล้วให้โจรนั่งในยานอันปกปิดมิดชิดแล้วไปให้นางสามา แล้วทำการอ้างว่า โจรนี้เป็นโจรโด่งดังในแว่นแคว้น ต้องรอให้มืดค่ำเสียก่อน ทีนั้นพวกเราจึงจักฆ่าโจรนั้น ในเวลาปลอดคน แล้วยับยั้งอยู่ครู่หนึ่ง
เมื่อปลอดคนแล้ว จึงนำเศรษฐีบุตรไปยังตะแลงแกงด้วยการอารักขาอย่างแข็งแรง แล้วเอาดาบตัดศีรษะเสียบร่างไว้ที่หลาวแล้ว เข้าไปยังพระนคร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 500
ตั้งแต่นั้นมา นางสามามิได้รับอะไร ๆ จากมือของคนอื่น ๆเที่ยวอภิรมย์ชมชื่นอยู่กับโจรนั้นนั่นแหละ โจรนั้นคิดว่า ถ้าหญิงนี้จักมีจิตปฏิพัทธ์ในชายอื่นไซร้ แม้เรา นางก็จักให้ฆ่าแล้วอภิรมย์กับชายนั้นเท่านั้น หญิงนี้เป็นผู้มักประทุษร้ายมิตรโดยส่วนเดียว เราอยู่ในที่นี้ ควรรีบหนีไปที่อื่น
แต่เมื่อจะไปจะไม่ไปมือเปล่า จักถือเอาห่อเครื่องอาภรณ์ของหญิงนี้ไปด้วย

วันหนึ่ง จึงกล่าวกะนางสามานั้นว่า นางผู้เจริญ เราทั้งหลายอยู่เฉพาะในเรือนเป็นประจำ เหมือน
ไก่อยู่ในกรง พวกเราจักเล่นในสวนสักวันหนึ่ง.
นางสามานั้นรับคำแล้วจัดแจงสิ่งของทั้งปวงมีของควรเคี้ยว และของควรบริโภคเป็นต้น
ประดับประดาด้วยอาภรณ์ทั้งปวง นั่งในยานอันมิดชิดกับโจรนั้นแล้วไปยังสวนอุทยาน.
โจรนั้นเล่นอยู่กับนางสามานั้นในสวนอุทยานนั้นจึงคิดว่า เราควรหนีไปเดี๋ยวนี้
จึงทำทีเหมือนต้องการจะร่วมอภิรมย์ด้วยกิเลสฤดีกับนางสามานั้น จึงพาเข้าไประหว่างพุ่มต้นยี่โถแห่งหนึ่ง
ทำทีเหมือนสวมกอดนางสามานั้น แล้วจึงกดลงทำให้สลบล้มลงแล้วปลดเครื่องอาภรณ์ทั้งปวง
เอาผ้าห่มของนางนั่นแหละผูกแล้ววางห่อมีภัณฑะไว้ที่คอ โดดข้ามรั้วอุทยานหลบหลีกไป.

ฝ่ายนางสามานั้นกลับได้สัญญาความทรงจำ จึงลุกขึ้นมายังสำนักของพวกหญิงรับใช้แล้วถามว่า
ลูกเจ้าไปไหน พวกหญิงรับใช้กล่าวว่า พวกดิฉันไม่ทราบเลย แม่เจ้า.
นางสามาคิดว่า สามีของเราสำคัญเราว่าตายแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 501
จึงกลัวแล้วหลบหนีไป เสียใจ จึงจากสวนอุทยานนั้นนั่นแลไปบ้านคิดว่า
ตั้งแต่เวลาที่เรายังไม่พบเห็นสามีที่รัก เราจักไม่นอนบนที่นอนที่ประดับตกแต่ง จึงนอนอยู่ที่พื้น.
ตั้งแต่นั้นมา นางไม่นุ่งผ้าสาฎกที่ชอบใจ ไม่บริโภคภัตตาหาร ๒ หน ไม่แตะต้องของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น คิดว่า เราจักแสวงหาพ่อลูกเจ้าด้วยอุบายอย่างใดอย่าง
หนึ่งบ้างแล้วให้เรียกกลับมา จึงให้เชิญพวกคนนักฟ้อนมาแล้วได้ให้ทรัพย์พันหนึ่ง.
เมื่อพวกนักฟ้อนรำกล่าวว่า แม่เจ้า พวกเราจะทำอะไรให้บ้าง.
นางจึงกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าสถานที่ที่พวกท่านยังไม่ได้ไป ย่อมไม่มี
ท่านทั้งหลายเมื่อเที่ยวไปยังคามนิคม และราชาธานี แสดงการเล่นพึงขับเพลงขับบทนี้ขึ้นก่อนทีเดียว ในมณฑลสำหรับแสดง
การเล่น เมื่อจะให้พวกฟ้อนรำศึกษาเอา จึงกล่าวคาถาที่หนึ่ง แล้วสั่งว่า เมื่อพวกท่านขับเพลงขับบทนี้ ถ้าหากพ่อลูกเจ้าจักอยู่ในภายในบริษัทนั้น เขาจักกล่าวกับพวกท่าน เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกท่านพึง
บอกถึงความที่เราสบายดีแก่เขา แล้วพาเขามา ถ้าเขาไม่มา พวกท่านพึงให้เขาส่งข่าวมา ดังนี้แล้วมอบสะเบียงเดินทางให้แล้วส่งพวกนักฟ้อนรำไป.
พวกนักฟ้อนเหล่านั้นออกจากนครพาราณสีกระทำการเล่นอยู่ในที่นั้น ๆ ได้ไปถึงบ้านปัตจันตคามแห่งหนึ่ง.
โจรแม้คนนั้นก็หนีไปอยู่ในบ้านปัตจันตคามนั้น. พวกนักฟ้อนเหล่านั้น เมื่อจะแสดงการเล่นในที่นั้น จึงพากันขับร้องเพลงขับบทนี้ก่อนทีเดียวว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 502
ท่านกอดรัดนางสามาด้วยแขน ในสมัยที่อยู่ในกอชบามีสีแดง เธอได้สั่งความไม่มีโรคมายังท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า กณเวเรสุ คือกณวีเรสุ แปลว่า ดอกชบา.
บทว่า ภาณุสุ ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยสีแสงแห่งดอกแดง ๆ.
บทว่า สามํ ได้แก่ ผู้มีชื่ออย่างนั้น.
บทว่า ปิเฬสิ ความว่า ท่านบีบรัด เหมือนคนผู้ประสงค์ร่วมภิรมย์ด้วยกิเลสฤดีสวมกอดอยู่ฉะนั้น.
บทว่า สา ตํ ความว่า นางสามานั้นหาโรคมิได้ แต่ท่านสำคัญว่านางตาย จึงกลัวหลบหนีไป
นางนั้นได้บอกกล่าว คือแจ้งถึงความที่ตนไม่มีโรค.
โจรได้ฟังเพลงขับนั้นจึงเข้าไปหานักฟ้อนแล้วกล่าวว่า ท่านพูดว่า สามายังมีชีวิต แต่เราหาเธอไม่

เมื่อจะเจรจากับนักฟ้อนนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ดูก่อนท่านผู้เจริญ ข่าวที่ว่า ลมพึงพัดภูเขาไปได้ ใคร ๆ คงไม่เชื่อถือ
ถ้าลมจะพึงพัดเอาภูเขาไปได้ แม้แผ่นดินทั้งหมดก็พัดไปได้ เพราะเหตุไร นางสามาตายแล้ว จะสั่งความไม่มีโรคถึงเราได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 503
คำที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า ท่านนักฟ้อนผู้เจริญ ข่าวที่ว่าลมพัดเอาภูเขาไปเหมือนหญ้าและใบไม้นี้ ใคร ๆ คงไม่เชื่อ
ถ้าแม้ลมจะพึงพัดเอาภูเขาไปได้ แผ่นดินแม้ทั้งหมดก็คงพัดเอาไปได้
ก็ข้อนี้ใคร ๆ ไม่พึงเชื่อถือเหมือนเราไม่เชื่อข่าวนางสามานั่น.
บทว่า ยตฺถสามา กาลกตา ความว่า นางสามาทำกาละไปแล้ว จะถามความไม่มีโรคถึงเราได้เอง.
ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่เชื่อ ?
ตอบว่า เพราะธรรมดาคนที่ตายแล้ว จะส่งข่าวสาส์นแก่ใคร ๆ ไม่ได้.
นักฟ้อนได้ฟังคำของโจรนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
นางสามานั้นยังไม่ตาย และไม่ปรารถนาชายอื่น ได้ยินว่า นางจะมีผัวคนเดียว
ยังหวังเฉพาะท่านเท่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตเมว อภิกงฺขติ ความว่า นางไม่ปรารถนาชายอื่น ยังหวัง คือต้องการ ปรารถนาเฉพาะท่านเท่านั้น.

โจรได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า นางจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม
เราไม่ต้องการนาง แล้วกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
นางสามาได้เปลี่ยนเราผู้ยังไม่เคยเชยชิดสนิทสนม กับบุรุษที่นางเคยเชยชิดสนิทสนมมานาน
เปลี่ยนเราผู้ไม่เป็นขาประจำกับบุรุษผู้เป็นขาประจำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 504
นางสามาคงจะเปลี่ยนบุรุษอื่นแม้กับเราอีก เราจักไปเสียจากที่นี้ให้ไกลแสนไกล.
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อสนฺถุตํ ได้แก่ ผู้ยังไม่ได้ทำการสังสรรค์.
บทว่า จิรสนฺถุเตน แปลว่า ผู้ได้ทำการสังสรรค์กันมานาน.
บทว่า นิมินิ แปลว่า แลกเปลี่ยน.
บทว่า อธุวํ ธุเวน ความว่า นางสามาได้ให้ทรัพย์หนึ่งพันแก่เจ้าหน้าที่ ผู้รักษาพระนคร
แล้วรับเอาเรามา เพื่อแลกเปลี่ยนเราผู้ไม่เป็นขาประจำกับสามีประจำนั้น.
บทว่า มยาปิ สามา นิมิเนยฺย อญฺญํ ความว่า นางสามาพึงแลกเปลี่ยนเอาสามีคนอื่นแม้กับเรา.
ด้วยบทว่า อิโต อหํ ทูรตรํนี้ โจรกล่าวว่า เราจักไปยังที่ไกลแสนไกลเช่นที่ทำเราไม่อาจได้ฟังข่าว
หรือความเป็นไปของนางสามานั้น เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจง
บอกความที่เราจากที่นี้ไปที่อื่นแก่นางสามานั้น เมื่อนักฟ้อนเหล่านั้น
เห็นอยู่นั่นแหละ ได้นุ่งผ้าให้กระชับมั่นแล้วรีบหนีไป.
นักฟ้อนทั้งหลายได้ไปบอกอาการกิริยา ที่โจรนั้นกระทำแก่นางสามานั้น.
นางเป็นผู้มีความวิปฏิสารเดือดร้อนใจ จึงยังกาลเวลาให้ล่วงไปโดยปกติของตนนั่นแล.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก.
ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันถึงภรรยาเก่า ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 505
เศรษฐีบุตร ในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุรูปนี้
นางสามาในครั้งนั้นได้เป็นปุราณทุติยิกาภรรยาเก่า
ส่วนโจรในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากณเวรชรดก ที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 506
[/size]

19
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 488
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า มมํ ภุตฺวา ความว่า ท่านจงบริโภคเรา
ผู้สุกด้วยไฟที่เราบอกให้ท่านก่อขึ้นนี้แล้วจงอยู่ในป่านี้
ธรรมดาว่าร่างกายของกระต่ายตัวหนึ่ง ย่อมจะพอยังชีพของบุรุษคนหนึ่งให้เป็นไปได้.

ท้าวสักกะได้ทรงสดับถ้อยคำของสสบัณฑิตนั้นแล้ว
จึงเนรมิตกองถ่านเพลิงกองหนึ่งด้วยอานุภาพของตน แล้วบอกแก่พระโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์นั้นลุกขึ้นจากที่นอนหญ้าแพรกของตนแล้วไปที่กองถ่านเพลิงนั้น
คิดว่า ถ้าสัตว์เล็ก ๆ ในระหว่างขนของเรามีอยู่สัตว์เหล่านั้นอย่าตายด้วยเลย
แล้วสะบัดตัว ๓ ครั้ง บริจาคร่างกายทั้งสิ้นในทานมุข ปากทางของทาน
กระโดดโลดเต้นมีใจเบิกบาน กระโดดลงในกองถ่านเพลิง เหมือนพระยาหงส์
กระโดดลงในกอปทุมฉะนั้น.

แต่ไฟนั้นไม่อาจทำความร้อนแม้สักเท่าขุมขนในร่างกายของพระโพธิสัตว์ ได้เป็นเสมือนเข้าไปในห้องหิมะฉะนั้น.

ลำดับนั้น
พระโพธิสัตว์เรียกท้าวสักกะมากล่าวว่า พราหมณ์ ไฟที่ท่านก่อไว้เย็นยิ่งนัก
ไม่อาจทำความร้อนแม้สักเท่าขุมขนในร่างกายของข้าพเจ้า นี่อะไรกัน.
ท้าวสักกะตรัสว่า
ท่านบัณฑิต เรามิใช่พราหมณ์ เราเป็นท้าวสักกะมาเพื่อจะทดลองท่าน.
พระโพธิสัตว์จึงบรรลือสีหนาทว่า ข้าแต่ท้าวสักกะ พระองค์จงหยุดพักไว้ก่อนเถิด
หากโลกสันนิวาสทั้งสิ้นจะพึงทดลองข้าพระองค์ด้วยทานไซร้
จะไม่พึงเห็นความที่ข้าพระองค์ไม่เป็นผู้ประสงค์จะให้ทานเลย.

ลำดับนั้น
ท้าวสุกกะจึงตรัสกะพระโพธิสัตว์นั้นว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 489
ดูก่อนสสบัณฑิต คุณของท่านจงปรากฏอยู่ตลอดกัป ทั้งสิ้นเถิด
แล้วทรงบีบบรรพตถือเอาอาการเหลวของบรรพต เขียนลักษณะของกระต่ายไว้ในดวงจันทร์

แล้วนำพระโพธิสัตว์มาให้นอนบนหลังหญ้าแพรกอ่อนในพุ่มไม้ป่านั้นนั่นแหละในไพรสณฑ์นั้น
แล้วเสด็จไปยังเทวโลกของพระองค์ทีเดียว.
บัณฑิตทั้ง ๔ แม้นั้นพร้อมเพรียงบันเทิงอยู่
พากันบำเพ็ญศีล รักษาอุโบสถกรรมแล้วไปตามยถากรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะประชุมชาดก
ในเวลาจบสัจจะคฤหบดีผู้ถวายบริขารทุกอย่างดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.
นากในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์
สุนัขจิ้งจอกได้เป็นพระโมคคัลลานะ
ลิงได้เป็นพระสารีบุตร
ท้าวสักกะได้เป็นพระอนุรุทธะ
ส่วนสสบัณฑิต ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสสบัณฑิตชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 490



20

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 70
ที่ธาตุต่างกัน ต่อนั้นก็ทรงเห็นอธิมุตติอัธยาศัยของสัตว์เหล่านั้น ด้วยนานาธิมุตติกตญาณเพื่อที่แม้ไม่ทรงยึดประโยค
ก็ทรงแสดงธรรมด้วยอำนาจอธิมุตติ


ทรงเห็นความที่สัตว์มีอินทรีย์ยิ่งและหย่อน ด้วยอินทริยปโรปริยัติญาณ
เพื่อทรงแสดงธรรมดาความสามารถและตามกำลัง
ด้วยอำนาจเหล่าสัตว์ที่ทรงเห็นอธิมุตติแล้วอย่างนั้น
เพราะทรงเห็นอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น แก่และอ่อน
แต่สัตว์เหล่านั้นที่ทรงกำหนดรู้ว่ามีอินทรีย์ยิ่งและหย่อนอย่างนั้น
ถ้าอยู่ไกลแค่นั้น ก็จะเสด็จเข้าไปใกล้สัตว์เหล่านั้นอย่างฉับพลัน
ด้วยความวิเศษแห่งฤทธิ์ เพราะทรงชำนาญในฌานเป็นต้นด้วยฌานาทิญาณ

ครั้นเสด็จเข้าไปใกล้แล้ว เมื่อทรงเห็นภาระของสัตว์เหล่านั้นในชาติก่อนๆ ด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

เมื่อทรงเห็นความวิเศษแห่งสมบัติที่สัตว์บรรลุแล้ว ด้วยเจโตปริยญาณที่พึงบรรลุ
เพราะอานุภาพแห่งทิพยจักขุญาณจึงทรงแสดงธรรมเพื่อปฏิปทาอันจะให้ถึงธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ
เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะเพราะเป็นผู้ปราศจากความลุ่มหลงแล้ว ด้วยอานุภาพแห่งอาสวักขยญาณฉะนั้น
พึงทราบตามลำดับนี้ว่า ตรัสพละทั้งหลาย ด้วยลำดับนี้.
จบอรรถกถาสีหสูตรที่ ๑

21
ก็พระเจ้าทัณฑกี
ได้เรี่ยรายโทษลงในท่านกีสวัจฉดาบสแล้ว
เป็นผู้ขาดสูญมูลราก พร้อมทั้งอาณาประชาราษฎร์ พร้อมทั้งรัฐมณฑล หมกไหม้อยู่ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 617
นรกชื่อกุกกุละ ถ่านเพลิงอันปราศจากเปลว ย่อมตกต้องกายของพระราชานั้น.
พระเจ้านาลิกีระพระองค์ใด ได้เบียดเบียนบรรพชิตทั้งหลาย ผู้สำรวมแล้ว ผู้กล่าวธรรม สงบระงับไม่ประทุษร้ายใคร
สุนัขทั้งหลายในโลกหน้า ย่อมรุมกันกัดกินพระเจ้านาลิกีระนั้น ผู้ดิ้นรนอยู่.


ได้ยินว่า
เมื่อพระเจ้าทัณฑกีราชนั้นจมลง ในกุกกุลนรก อันร้อนนั้น
เถ้ารึงย่อมเข้าไปทางทวารทั้งเก้า
ถ่านเพลิงก้อนโต ๆ ตกลงบนศีรษะ

ในกาลเมื่อถ่านเพลิงตกลงบนศีรษะของพระราชานั้น สรีระทั้งสิ้นลุกโพลงเหมือนต้นไม้ติดเพลิงฉะนั้น
ทุกขเวทนามีกำลัง ย่อมเป็นไป พระราชานั้น เมื่อไม่สามารถจะอดกลั้นได้ ก็ร้องเอ็ดอึงไป.

ท่านสรภังคศาสดาแยกแผ่นดินออก แสดงให้เห็นพระราชา ซึ่งหมกไหม้อยู่ในกุกกุลนรกนั้นอย่างนั้น
มหาชนก็ถึงความสะดุ้งกลัว พระมหาสัตว์รู้ว่ามหาชนกลัวยิ่งนัก จึงบันดาลให้นรกนั้นอันตรธานไป.


22
เทียบอายุของเทวดากับมนุษย์ 78-1000
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1000
ประมาณแห่งอายุของเทวดาเทียบกับมนุษย์
อายุของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช มีประมาณเท่าไร ? คือ
๕๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน,
๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑ ปี.
๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณ ๙ ล้านปี.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ มีประมาณเท่าไร ? คือ
๑๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน
๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑ปี.
๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณ ๓ โกฏิ ๖ ล้านปี.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นยามา มีประมาณเท่าไร ?คือ
๒๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นยามา
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน
๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑ปี.
๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นยามา.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณ ๑๔ โกฏิ ๔ ล้านปี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1001
อายุของเหล่าเทวดาชั้นดุสิต มีประมาณเท่าไร ? คือ
๔๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นดุสิต
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน
๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี
๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นดุสิต.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณ ๕๗ โกฏิ ๖ ล้านปี.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี มีประมาณเท่าไร ? คือ
๘๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน
๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑ ปี,
๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณ ๒๓๐ โกฏิ ๔ ล้านปี.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มีประมาณเท่าไร ?คือ
๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน
๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี
๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณ ๙๒๑ โกฏิ ๖ ล้านปี.

พวกเทวดากามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น
เพียบพร้อมไปด้วยกามคุณทั้งปวงอายุของพวกเทวดากามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น
นับรวมกันทั้งหมดเป็นเท่าไร เป็น ๑,๒๒๘ โกฏิ ๕ ล้านปี โดยนับอย่างปีมนุษย์.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1002




23


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1002
ประมาณแห่งอายุของรูปพรหม
[๑๑๐๗] ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นพรหมปาริสัชชา
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณเท่าส่วนที่ ๓ ที่ ๔ แห่งกัป [คือ ๑ ใน ๓ หรือ ๑ ใน ๔แห่งกัป].

ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นพรหมปุโรหิตา
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?มีประมาณกึ่งกัป.
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นมหาพรหมา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?มีประมาณ ๑ กัป.

ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นปริตตาภา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?มีประมาณ ๒ กัป.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1003
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอัปปมาณาภา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?มีประมาณ ๔ กัป.
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอาภัสสรา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?มีประมาณ ๘ กัป.

ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างสามัญไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นปริตตสุภา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?มีประมาณ ๑๖ กัป.
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอัปปมาณสุกา.
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?มีประมาณ ๓๒ กัป.
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน ?
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นสุภกิณหา.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1004
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?มีประมาณ ๖๔ กัป.

ผู้เจริญจตุตถฌาน
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาเหล่าอสัญญสัตว์
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้น เวหัปผลา
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้น อวิหา
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้น อตัปปา
บางคนไปเกิดพวกเทวดาชั้น สุทัสสา
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้น สุทัสสี
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้น อกนิฏฐา
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึง อากาสานัญจายตนภพ
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึง วิญญาณัญจายตนภพ
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึง อากิญจัญญายตนภพ
บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เพราะอารมณ์ต่างกัน
เพราะมนสิการต่างกัน
เพราะฉันทะต่างกัน
เพราะปณิธิต่างกัน
เพราะอธิโมกข์ต่างกัน
เพราะอภินีหารต่างกัน
เพราะปัญญาต่างกัน.

อายุของเหล่าเทวดาอสัญญสัตว์ และเหล่าเทวดาชั้นเวหัปผลา
มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณ ๕๐๐ กัป.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นอวิหา
มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณ ๑,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาชั้นอตัปปา
มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณ ๒,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาชั้นสุทัสสา
มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณ ๔,๐๐๐ กัป.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1005
อายุของเหล่าเทวดาชั้นสุทัสสี
มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณ ๘,๐๐๐ กัป.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นอกนิฏฐา
มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณ ๑๖,๐๐๐ กัป.

ประมาณแห่งอายุของอรูปพรหม
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ
มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณ ๒๐,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงวิญญานัญจายตนภพ
มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณ ๔๐,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ
มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณ ๖๐,๐๐๐ กัป.
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
มีประมาณเท่าไร ?
มีประมาณ ๘๔,๐๐๐ กัป.

เหล่าสัตว์ที่มีอำนาจแห่งบุญส่งเสริม ไปแล้วสู่กามภพ และรูปภพ หรือ
แม้ไปสู่ภวัคคพรหม ย่อมกลับสู่ทุคติอีกได้
เหล่าสัตว์มีอายุยืนถึงเพียงนั้น ก็ยังจุติเพราะสิ้นอายุ ภพไหน ๆ ชื่อว่า เที่ยงไม่มี
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้ตรัสไว้อย่างนี้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1006
เพราะฉะนั้นแล เหล่านักปราชญ์ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดรอบคอบ
คำนึงถึงความจริงข้อนี้ จึงเจริญมรรคอันอุดมเพื่อพ้นจากชรามรณะ
ครั้นเจริญมรรคอันบริสุทธิ์สะอาด ซึ่งมีปกติยังสัตว์ให้หยั่งถึงพระนิพพานแล้ว
ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน เพราะกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงฉะนี้แล.

24
บทว่า โลกนฺตริกา ความว่าช่องว่างอันหนึ่งๆในระหว่างจักรวาลทั้ง ๓ ย่อมมีในที่สุดโลก
ดุจช่องว่างในท่ามกลางล้อเกวียน ๓ ล้อ หรือแผ่น ๓ แผ่นที่วาง ทับกันฉะนั้น.
          ก็โลกันตรนรกนั้นโดยส่วนกว้างถึง ๘,๐๐๐ โยชน์.

บทว่า อฆา คือ เปิดเป็นนิจ.
บทว่า อสํวุตา ความว่า แม้ข้างล่างก็ไม่มีตั้งไว้.
บทว่า อนฺธการา คือ มืดมิด.
บทว่า อนฺธการติมิสา ความว่า ประกอบด้วยหมอกอันทำความมืด
           พ้นจากจักขุวิญญาณ. นัยว่า จักขุวิญญาณย่อมไม่เกิด ณที่นั้น.
บทว่า  เอวํมหิทฺธิกา ความว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์ย่อมปรากฏใน ๓ ทวีป         
           โดยส่องแสงครั้งเดียวเท่านั้น อย่างนี้ชื่อว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์มีฤทธิ์มาก.
           พระจันทร์และพระอาทิตย์กำจัดความมืดตลอดหนึ่งล้านแปดแสนโยชน์ในทิศหนึ่ง ๆ แล้วส่องแสงสว่าง
อย่างนี้ชื่อว่าพระจันทร์และพระอาทิตย์มีอานุภาพมาก.

บทว่า อาภาย นานุโภนฺติ ความว่า แสงสว่างของตนไม่พอ.
นัยว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์เหล่านั้นแล่นไปท่ามกลางจักรวาลบรรพต.
           ก็โลกันตรนรกเลยจักรวาลบรรพตไป เพราะฉะนั้น พระจันทร์และพระอาทิตย์เหล่านั้นจึงมีแสงสว่างไม่พอในที่นั้น.
บทว่า เยปิ ตตฺถ สตฺตา ความว่า แม้สัตว์เหล่าใดเกิดแล้วในโลกันตรมหานรกนั้น.
           ถามว่า ก็สัตว์เหล่านั้นกระทำกรรมอะไรไว้จึงเกิดในโลกันตรมหานรกนั้น. 
           ตอบว่า ทำกรรมหนักคือหยาบช้า.
                        สัตว์เหล่านั้นกระทำความผิดต่อ
            มารดาบิดาและสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมและกรรมร้ายกาจมีฆ่าสัตว์
             เป็นต้นทุกวัน ๆ ย่อมเกิดในโลกันตรนรกนั้น ดุจอภยโจรและนาคโจร
             เป็นต้นในตามพปัณณิทวีป ร่างกายของสัตว์เหล่านั้นสูง ๓ คาวุต มีเล็บ
             ยาวเหมือนเล็บค้างคาว สัตว์เหล่านั้นเกาะอยู่บนจักรวาลบรรพตด้วยเล็บ 
             เหมือนค้างคาวเกาะอยู่บนต้นไม้ฉะนั้น
เมื่อใดสัตว์เหล่านั้นคลานไปถูกฝ่ามือของกันและกันเข้า
เมื่อนั้นก็สำคัญว่า เราพบอาหารแล้วจึงวิ่งหมุนไปรอบ ๆ แล้วก็ตกไปบนน้ำหนุนโลก
หน้าที่ 103
             เมื่อลมปะทะก็ขาดตกลงไปในน้ำเหมือนผลมะทราง พอตกลงไปแล้วก็       
             ละลายเหมือนก้อนแป้งตกลงไปในน้ำที่เค็มจัด.

บทว่า อญฺเญปิ กิร โภ สนฺติ สตฺตา
           ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเห็นกันในวันนั้นว่า โอ้โฮแม้สัตว์เหล่าอื่นก็เกิด
           ในที่นี้ เพื่อเสวยทุกข์เหมือนอย่างพวกเราเสวยทุกข์ยิ่งใหญ่ฉะนั้น.
           ก็แสงสว่างนี้ไม่ตั้งอยู่นาน ตั้งอยู่เพียงดื่มข้าวยาคูครั้งเดียว เปล่งออก
           เหมือนแสงสายฟ้าเพียงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายพูดว่านี้
           อะไรก็หายไป.

25
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เอาละ นายบ้าน เธอพยากรณ์อย่างนี้
ชื่อว่า กล่าวคล้อยตามเรา
ชื่อว่า ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ
ชื่อว่า พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกบางรูปผู้กล่าวตามวาทะ ย่อมไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียน

ดูก่อนนายบ้าน
ทองและเงินไม่ควรแก่สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรโดยแท้
สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน
สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่รับทองและเงิน
สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมีแก้วและทองอันวางเสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน

ทองและเงินควรแก่ผู้ใด แม้กามคุณทั้งห้าก็ควรแก่ผู้นั้น
กามคุณทั้งห้าควรแก่ผู้ใด เธอพึงจำผู้นั้นไว้โดยส่วนเดียวว่า
มีปกติมิใช่สมณะ
มีปกติมิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร




26
โรคของบรรพชิต(เล่ม35หน้า373)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โรคของบรรพชิต๔อย่าง๔ อย่างเป็นไฉน คือ
๑.ภิกษุเป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจอยู่เสมอ ไม่สันโดษด้วยจีวร, บิณฑบาต, เสนาสนะ, คิลานปัจจัยตามมีตามได้

๒.ภิกษุนั้นเมื่อเป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจอยู่เสมอ
ไม่สันโดษด้วยจีวร, บิณฑบาต, เสนาสนะ, คิลานปัจจัยตามมีตามได้แล้ว ย่อมตั้งความปรารถนาลามก
เพื่อจะได้ความยกย่อง
เพื่อจะได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ

๓.ภิกษุนั้น วิ่งเต้น ขวนขวาย พยายาม เพื่อจะได้ความยกย่อง เพื่อจะได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ

๔.ภิกษุนั้น เข้าสู่ตระกูลเพื่อให้เขานับถือ
นั่งอยู่(ในตระกูล)เพื่อให้เขานับถือ
กล่าวธรรม(ในตระกูล)เพื่อให้เขานับถือ
กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะอยู่(ในตระกูล)ก็เพื่อให้เขานับถือ
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล โรคของบรรพชิต ๔ อย่าง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 374

เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้มักมาก
มีความร้อนใจ ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะคิลานปัจจัยตามมีตามได้ จักไม่ตั้งความปรารถนาลามก
เพื่อจะได้ความยกย่องเพื่อจะได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ จักไม่วิ่งเต้นขวนขวายพยายาม
เพื่อให้ได้ความยกย่อง เพื่อให้ได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ จักเป็นผู้อดทน
ต่อ หนาว ร้อน หิว กระหาย
ต่อ สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานทั้งหลาย
ต่อ ถ้อยคำอันหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆ
เป็นผู้อดกลั้นต่อเวทนาที่เกิดในกาย
อันเป็นทุกข์กล้าแข็งเผ็ดร้อนขมขึ้น ไม่เจริญใจพอจะปล้นชีวิตเสียได้
ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบโรคสูตรที่ ๗

อรรถกถาโรคสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในโรคสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วิฆาตวา ได้แก่ ประกอบด้วยความร้อนใจคือทุกข์ มีความมักมากเป็นปัจจัย.
บทว่า อสนฺตุฏโฐ ได้แก่ เป็นผู้ไม่สันโดษ ด้วยสันโดษ๓ ในปัจจัย ๔.
บทว่า อนวญฺญปฏิลาภาย ได้แก่ เพื่อได้ความยกย่องจากผู้อื่น.
บทว่า ลาภสกฺการสิโลกปฏิลาภาย ได้แก่ เพื่อได้ลาภสักการะอันได้แก่ปัจจัย ๔
ที่เขาจัดไว้เป็นอย่างดี และความสรรเสริญ อันได้แก่การกล่าวยกย่อง.
บทว่า สงฺขาย กุลานิ อุปสงฺกมติ ได้แก่ เข้าไปสู่ตระกูลเพื่อรู้ว่า ชนเหล่านี้รู้จักเราไหม
แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาโรคสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 375
































27

เรื่องภิกษุเปรต เล่ม2หน้า599
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน
วิหารอันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์

ครั้งนั้น
ท่านพระลักขณะ กับท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต
เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นภิกษุเปรตลอยไปใน เวหาส์
สังฆาฏิ บาตร ประคดเอว และ ร่างกายของมัน ถูกไฟติดลุกโชน
เปรตนั้นร้องครวญคราง . . .

ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. . . ภิกษุเปรตนั้น
เคยเป็นภิกษุผู้ลามก ในศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า.


[เรื่องพระภิกษุเปรตเป็นต้น] เล่ม2หน้า657
ในเรื่องภิกษุ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า ปาปภิกฺขุ คือ เป็นภิกษุลามก.
ได้ยินว่า
ภิกษุนั้น บริโภคปัจจัย ๔ ที่เขาถวายด้วยศรัทธาของชาวโลก
เป็นผู้ไม่สำรวมทางกายทวารและวจีทวาร มีอาชีพอันทำลายแล้ว
เที่ยวเล่นสนุกสนานตามชอบใจ.
ภายหลังถูกไฟไหม้อยู่ในนรก ตลอดพุทธันดรหนึ่ง
เมื่อเกิดใน เปรตโลก ก็บังเกิดด้วยอัตภาพเช่นกับภิกษุนั่นแหละ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 658
แม้ในเรื่องภิกษุณี
เรื่องสิกขมานา เรื่องสามเณร เรื่องสามเณรีเปรต ก็วินิจฉัยนี้เหมือนกัน.




28
พระวีตโสกเถระ51-123
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 123
๕. วีตโสกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวีตโสกเถระ
[๒๘๒] ได้ยินว่า พระวีตโสกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ช่างกัลบกเข้ามาหาเรา ด้วยคิดว่า จักตัดผมของเรา
เราจึงรับเอากระจกจากช่างกัลบกนั้นมาส่องดูร่างกาย
ร่างกายของเรานี้ได้ปรากฏเป็นของว่างเปล่า
ความมืดคืออวิชชา ในกายอันเป็นต้นเหตุแห่งความมืดมน ได้หายหมดสิ้นไป
กิเลสดุจผ้าขี้ริ้วทั้งปวง เราตัดขาดแล้ว บัดนี้ ภพใหม่มิได้มี.
อรรถกถาวีตโสกเถรคาถ
คาถาของท่านพระวีตโสกเถระ เริ่มต้นว่า เกเส เม โอลิขิสฺสนฺติ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญมากมายไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในตระกูลพราหมณ์
ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ
ถึงความสำเร็จในวิชาและศิลปศาสตร์ของพราหมณ์ แล้วละกามทั้งหลาย
บวชเป็นฤๅษี อันหมู่ฤๅษีเป็นอันมากแวดล้อมแล้ว อยู่ในป่า
สดับข่าวความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าร่าเริงยินดีแล้ว
ดำริว่า พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาโอกาสเฝ้าได้ยาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 124
อุปมาเหมือนดอกมะเดื่อ เราควรเข้าเฝ้าในบัดนี้แหละ
ดังนี้แล้วแล้วเดินทางไปเฝ้าพระศาสดาพร้อมกับบริษัทหมู่ใหญ่
เมื่อเหลือทางอีกหนึ่งโยชน์ครึ่งจะถึง ก็ล้มป่วยถึงความตาย
โดยสัญญา อันส่งไปแล้วในพระพุทธเจ้า
บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เกิดเป็นน้องชายคนเล็กของพระเจ้าธรรมาโศกราช
ในที่สุดแห่งปีพุทธศักราช ๒๑๘ ในพุทธุปบาทกาลนี้.

ท่านได้มีพระนามว่า วีตโสกะ.
วีตโสกราชกุมาร เจริญวัยแล้ว ถึงความสำเร็จในวิชาและศิลปะศาสตร์
ที่พึงศึกษาร่วมกับขัตติยกุมารทั้งหลายแล้ว (ศึกษาจนแตกฉานเชี่ยวชาญ)
แกล้วกล้าในสุตตันตปิฎกและในพระอภิธรรมปิฎก ทั้ง ๆ ที่เป็นคฤหัสถ์
โดยอาศัยพระคิริทัตตเถระ

วันหนึ่งรับกระจกจากมือของช่างกัลบก ในเวลาปลงพระมัสสุ
มองดูพระวรกาย เห็นอวัยวะที่มีหนังเหี่ยวและผมหงอกเป็นต้น
บังเกิดความสลดพระทัย ยังจิตให้หยั่งลงในวิปัสสนา แล้วยกขึ้นสู่ภาวนา เป็นพระโสดาบัน บนอาสนะนั้นเอง
บวชในสำนักของพระคิริทัตตเถระ แล้วบรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก.

สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเป็นคนเล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพทชำนาญในคัมภีร์ทำนายมหาปุริสลักษณะ
คัมภีร์อิติหาสะพร้อมด้วยคัมภีร์นิคัณฑุศาสตร์และคัมภีร์เกตุภศาสตร์

ครั้งนั้นพวกศิษย์มาหาเราปานดังกระแสน้ำ
เราไม่เกียจคร้าน บอกมนต์แก่ศิษย์เหล่านั้นทั้งกลางวันและกลางคืน
ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 125
ทรงกำจัดความมืดมิดให้พินาศแล้ว ยังแสงสว่างคือพระญาณให้เป็นไป
ครั้งนั้น ศิษย์ของเราคนหนึ่ง ได้บอกแก่ศิษย์ทั้งหลายของเรา พวกเขาได้ฟังความนั้น
จึงได้บอกเรา เราคิดว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้เป็นนายกของโลก
เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ชนย่อมอนุวัตรตามพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เราไม่มีลาภ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้มีการอุบัติเลิศลอย มีจักษุ ทรงยศใหญ่ไฉนหนอ
เราพึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุดเป็นผู้นำของโลก
เราถือหนังเสือผ้าเปลือกไม้กรองและคนโทน้ำของเราแล้ว
ออกจากอาศรม เชิญชวนพวกศิษย์ว่า ความเป็นผู้นำโลกหาได้ยาก
เหมือนกับดอกมะเดื่อ กระต่ายในดวงจันทร์ หรือเหมือนกับน้ำนมกา ฉะนั้น
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลกแม้ความเป็นมนุษย์ก็หาได้ยาก และ
เมื่อความเป็นผู้นำโลก และความเป็นมนุษย์ทั้งสองอย่างมีอยู่ การได้ฟังธรรมก็หาได้ยาก
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พวกเราจักได้ดวงตาอันเป็นของพวกเรา

มาเถิดท่านทั้งหลาย
เราจักไปยังสำนักของพระพุทธเจ้า ด้วยกันทุกคน
ศิษย์ทุกคนแบกคนโทน้ำ นุ่งหนังเสือทั้งเล็บ
พวกเขาเต็มไปด้วยภาระ คือ ชฎา พากันออกไปจากป่าใหญ่ในครั้งนั้น
พวกเขามองดูประมาณชั่วแอก แสวงหาประโยชน์อันสูงสุด เดินมาเหมือนลูกช้าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 126
เป็นผู้ไม่สะดุ้ง ประหนึ่งไกรสรสีหราช ฉะนั้น เขาทั้งหลายไม่มีความสะดุ้ง
หมดความละโมบ มีปัญญา มีความประพฤติสงบ เที่ยวเสาะแสวงหาโมกขธรรม
ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด (ก่อนจะถึงที่หมาย) เหลือระยะทางอีกหนึ่งโยชน์ครึ่ง
เราเกิดเจ็บป่วยขึ้น เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุดแล้วตาย ณ ที่นั้น


ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วยการได้สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระพุทธเจ้า.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล

ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
ช่างกัลบกเข้ามาหาเรา ด้วยคิดว่า จักตัดผมของเรา
เราจึงเอากระจก จากช่างกลับนั้น มาส่องดูดูร่างกาย
ร่างกายของเรามิได้ปรากฏเป็นของเปล่า ความมืดคือ
อวิชชาในกาย อันเป็นต้นเหตุแห่งความมืดมน ได้
หายหมดสิ้นไป กิเลสดุจผ้าขี้ริ้วทั้งปวง เราตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า เกเส เม โอลิขิสฺลนฺติ กปฺปโกอุปสงฺกมิ ความว่า ในเวลาที่เราเป็นคฤหัสถ์
ในเวลาโกนหนวด ช่างกัลบก คือช่างทำผม คิดว่า จักตัด จะแต่งผมของเรา จึงเข้ามาหาเรา โดยเตรียมจะตัดผมเป็นต้น.
บทว่า ตโต ได้แก่ จากช่างกัลบกนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 127
บทว่า สรีรํ ปจฺจเวกฺขิสฺส ความว่า พิจารณาร่างกายที่ชราครอบงำแล้ว ด้วยตนเองว่า ร่างกายของเราถูกชราครอบงำแล้วหนอ ดังนี้ ด้วยมุข คือการดูนิมิตบนใบหน้า
ที่มีผมหงอกและหนังเหี่ยวย่นเป็นต้น ในกระจก ได้ทั่วทั้งร่าง.

ก็เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ ร่างกายของเราก็ปรากฏเป็นของว่างเปล่าคือร่างกายของเราได้ปรากฏ คือ
เห็นชัดว่าเป็นของว่างเปล่า จากสภาพต่าง ๆมีสภาพที่เที่ยง ยั่งยืนและเป็นสุข เป็นต้น.

เพราะเหตุไร ?
เพราะความมืดคือ อวิชชาในกาย อันเป็นต้นเหตุแห่งความมืดมน ได้หายหมดสิ้นไป
อธิบายว่า คนทั้งหลาย ที่อยู่ในอำนาจของความมืด ในกายของตน ด้วยความมืดกล่าวคือ อโยนิโสมนสิการใด
เมื่อไม่เห็นสภาพมีสภาพที่ไม่งามเป็นต้น แม้มีอยู่ย่อมถือเอาอาการว่าเป็นของงามเป็นอันไม่มีอยู่

ความมืดคืออวิชชา
ในกายอันเป็นต้นเหตุแห่งความมืดมน คือเป็นที่ตั้งแห่งการกระทำความมืดนั้น
ได้หายหมดสิ้นไป ด้วยแสงสว่างแห่งญาณ กล่าวคือ โยนิโสมนสิการ

ต่อจากนั้น
กิเลสดุจผ้าขี้ริ้วทั้งปวง เราก็ตัดได้ขาด คือกิเลสทั้งหลายอันได้นามว่า โจฬา
เพราะเป็นดุจพวกโจร โดยการเข้าไปตัดภัณฑะคือกุศล หรือเป็นดุจผ้าขี้ริ้ว
เพราะความเป็นท่อนผ้าเก่า ๆ ที่เขาทิ้งแล้วในกองขยะเป็นต้น โดยเป็นเศษผ้าที่ติดลูกไฟ (หรือ) โดยเป็นผ้าที่คนดีไม่ต้องการ
เพราะความเป็นของอันอิสรชน คือคนเจริญรังเกียจ อันเราตัดขาดแล้ว

ก็เพราะความที่กิเลสเพียงดังผ้าขี้ริ้วเหล่านั้น เป็นของอันเราเพิกถอนได้แล้ว ด้วยมรรคอันเลิศ นั่นแล
บัดนี้ภพใหม่จึงมิได้มี ได้แก่การจะไปเกิดในภพใหม่ ไม่มีอีกต่อไป.
จบอรรถกถาวีตโสกเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 128



29

พระราชาใช้หนี้ให้พระอรหันต์ 25-240
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อลตฺล แปลว่า ได้แล้ว.
ก็แหละพระผู้มีพระภาคเจ้าให้พราหมณ์นั้นบวชแล้ว พาไปยังพระเชตะวันมหาวิหาร
ในวันรุ่งขึ้นมีพระเถระนั้น เป็นปัจฉาสมณะได้เสด็จไปยังทวารพระราชมณเฑียรของพระเจ้าโกศล.
พระราชาทรงสดับว่า พระศาสดาเสด็จมาจึงเสด็จลงจากปราสาท ถวายบังคมแล้วทรงรับบาตรจากพระหัตถ์
อาราธนาพระตถาคตให้เสด็จขึ้นบนปราสาท
ให้ประทับนั่งเหนือพระแท่น
ทรงล้างพระยุคลบาทด้วยน้ำหอม
ทาด้วยน้ำมันที่หุงร้อยครั้ง
ให้นำข้าวยาคูมา
ทรงถือทัพพีทองด้ามเงิน ทรงน้อมเข้าไปถวายพระศาสดา.
พระศาสดาทรงเอาพระหัตถ์ปิด.

พระราชาทรงหมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระตถาคตกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าข้าพระองค์มีโทษ ขอพระองค์โปรดอดโทษ.
พระศาสดาตรัสว่า ไม่มีโทษดอกมหาบพิตร.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 241
พระราชาตรัสว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรพระองค์ไม่รับข้าวยาคู.
ปลิโพธความกังวล มีอยู่มหาบพิตร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เหตุไรเล่า ผู้ไม่รับข้าวยาคูพึงได้ปลิโพธ
ข้าพระองค์สามารถทำปลิโพธหรือ โปรดรับข้าวยาคูเถิดพระเจ้าข้า.
พระศาสดาทรงรับแล้ว

แม้พระเถระแก่หิวมานานจึงดื่มข้าวยาคูตามความต้องการ
พระราชาทรงถวายขาทนียโภชนียะ.

ในเวลาเสร็จภัตกิจ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์อุบัติในวงศ์โอกากราช ซึ่งมีมาตามประเพณีทรงละสิริราชสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ
ทรงผนวชบรรลุความเป็นผู้เลิศในโลกแล้ว พระองค์ยังจะมีปลิโพธอะไรอีกเล่า พระเจ้าข้า.
มหาบพิตร ความปลิโพธของพระเถระผู้แก่รูปนี้ เป็นเช่นปลิโพธของอาตมาเหมือนกัน

พระราชา ทรงไหว้พระเถระตรัสถามว่า ท่านขอรับ ท่านมีปลิโพธอะไร.
พระเถระถวายพระพรว่า มีความปลิโพธเรื่องหนี้ มหาบพิตร.
เท่าไรขอรับ. ทรงนับดูเถิด มหาบพิตร.
เมื่อพระราชาทรงนับว่า ๑, ๒, ๑๐๐, ๑,๐๐๐ดังนี้ นิ้วพระหัตถ์ไม่พอ.

ลำดับนั้น
พระราชาตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า พนายจงไปตีกลองร้องประกาศในพระนครว่า
เจ้าหนี้ของพหุธิติกพราหมณ์ทั้งหมด จงประชุมกันในพระลานหลวง.
พวกมนุษย์ได้ยินเสียงกลองประชุมกันแล้ว.
พระราชาให้นำบัญชีมาจากมือของเจ้าหนี้เหล่านั้น  ได้พระราชทานทรัพย์ไม่หย่อนกว่าหนี้ที่กู้มาทั้งหมด.

ในที่นั้นทองมีราคาหนึ่งแสน.
พระราชาตรัสถามอีกว่า ท่านขอรับ ปลิโพธอื่นยังมีอีกไหม.
พระเถระถวายพระพรว่า พระมหาราชสามารถทรงใช้หนี้ให้แล้วตรัสถามจึงกล่าวว่า เด็กหญิง ๗ คนเหล่านี้เป็นปลิโพธใหญ่ของอาตมา.
พระราชาทรงส่งยานไปรับธิดาทั้งหลายของพระเถระ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 242
นั้นมาทรงทำเป็นธิดาของพระองค์ แล้วทรงส่งไปยังเรือนตระกูลสามีนั้น ๆ
แล้วตรัสถามว่า ท่านขอรับ ยังมีปลิโพธอื่นอีกไหม.
พระเถระถวายพระพรว่านางพราหมณี มหาบพิตร.
พระราชาทรงส่งยานไปนำนางพราหมณีมาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งพระอัยยิกา

แล้วตรัสถามอีกว่า ท่านขอรับ ยังมีปลิโพธอื่นอีกไหม.
พระเถระถวายพระพรว่า ไม่มี มหาบพิตร.
พระราชามีรับสั่งให้พระราชทานผ้าจีวร ตรัสว่า ท่านขอรับ ขอท่านจงทราบความเป็นภิกษุของท่านว่าเป็นของข้าพเจ้า.

พระเถระถวายพระพรว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร.
ลำดับนั้น พระราชาตรัสว่า ท่านขอรับ ปัจจัยทุกอย่างมีจีวรเเละบิณฑบาตเป็นต้น
จักเป็นของของพวกเราจัดถวาย ขอท่านจงยึดถือพระทัยพระตถาคตบำเพ็ญสมณธรรมเถิด.
พระเถระไม่ประมาท บำเพ็ญสมณธรรมตามนั้นทีเดียว
ถึงความสิ้นอาสวะต่อกาลไม่นานนักแล.
จบอรรถกถาพหุฐิติสูตรที่ ๑๐
จบอรหันตวรรคที่ ๑





30

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 873
๑พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติที่ ๑๐ (๓๙๐)
ว่าด้วยบุพจริยาของพระพุทธองค์
[๓๙๒] พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายกของโลก
แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก ประทับนั่งอยู่ที่พื้นหินอันเป็นรัมณียสถาน
โชติช่วงด้วยแก้วต่าง ๆ ในละแวกป่า อันมีกลิ่นหอมต่าง ๆ ใกล้สระอโนดาต
ตรัสชี้แจงบุรพกรรมทั้งหลายของพระองค์ ณ ที่นั้นว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังกรรมที่เราทำแล้วของเรา

เราเห็นภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรรูปหนึ่งแล้วได้ถวายผ้าเก่า.
เราปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า

ในกาลนั้น ผลแห่งกรรม คือการถวายผ้าเก่าย่อมอำนวยผลให้เป็นพระพุทธเจ้า.

ในกาลก่อน เราเป็นนายโคบาล
ต้อนโคไปเลี้ยง เห็นแม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่นมัว จึงห้ามมัน
ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น
ในภพหลังสุดนี้ (แม้) เราจะกระหายน้ำ ก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามความปรารถนา.

ในชาติอื่นในกาลก่อน เราเป็นนักเลงชื่อว่า ปุนาลิ
ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่า สุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ.
ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น
เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลานาน ได้เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัสหลายพันปีเป็นอันมาก.
๑. อรรถกถาว่า ปุพพกัมมปิโลติกพุทธาปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 874
ด้วยผลกรรมอันเหลือนั้น ในภพหลังสุดนี้ เราจึงได้คำกล่าวตู่เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา.
เพราะการกล่าวตู่พระเถระนามว่า นันทะ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ครอบงำอันตรายทั้งปวง
เราจึงท่องเที่ยวอยู่ในนรกสิ้นกาลนาน.
เราท่องเที่ยว อยู่ในนรกเป็นเวลานานถึงหมื่นปี ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว ได้การกล่าวตู่เป็นอันมาก.
ด้วยผลกรรมที่เหลือนั้น นางจิญจมาณวิกามากันหมู่ชนได้กล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง.

เมื่อก่อน เราเป็นพราหมณ์ชื่อว่า สุตวา อันชนทั้งหลายสักการะบูชา
สอนมนต์ให้กันมาณพประมาณ ๕๐๐ คนในป่าใหญ่.
ก็เราได้เห็นฤๅษีผู้น่ากลัว ได้อภิญญา ๕ มีฤทธิ์มากมาในสำนักของเรา เราจึงกล่าวตู่ฤๅษีผู้ไม่ประทุษร้าย
โดยได้บอกกะพวกศิษย์ของเราว่า ฤๅษีพวกนี้มักบริโภคกาม แม้เมื่อเราบอก (เท่านั้น) พวกมาณพก็เชื่อฟัง
ครั้งนั้นมาณพทั้งปวง เที่ยวไปเพื่อภิกษาในสกุล ๆ พากันบอกแก่มหาชนว่า ฤาษีผู้นี้มักบริโภคกาม.
ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น
ภิกษุ ๕๐๐ เหล่านี้ ได้คำกล่าวตู่ทั้งหมด เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา.

ในกาลก่อนเราได้ฆ่าพี่น้องชายต่างมารดา เพราะเหตุแห่งทรัพย์
จับใส่ลงในซอกเขาและบด (ทับ) ด้วยหิน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 875
ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น
พระเทวทัตจึงทุ่มก้อนหิน ก้อนหินกลิ้งลงมากระทบนิ้วแม่เท้าของเราจนห้อเลือด.

ในกาลก่อน เราเป็นเด็กเล่นอยู่ที่หนทางใหญ่
เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ใส่ไฟเผา (ดัก) ไว้ทั่วหนทาง
ด้วยวิบากกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้
พระเทวทัตจึงชักชวนนายขมังธนูผู้ฆ่าคนตายมาก เพื่อให้ฆ่าเรา.

ในกาลก่อน เราเป็นนายควาญช้าง
ได้ไสช้างให้จับมัดพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้อุดมมุนี แม้กำลังเที่ยวบิณฑบาต
ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น
ช้างนาฬาคิรีอันดุร้าย วิ่งไล่ (เรา) เข้าไปในพระนครราชคฤห์.

ในกาลก่อนเราเป็นนายทหารราบ (เป็นแม่ทัพ) ฆ่าบุรุษเป็นอันมากด้วยหอก
ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราถูกไฟไหม้อย่างเผ็ดร้อนอยู่ในนรก.
ด้วยผลอันเหลือแห่งกรรมนั้น
บัดนี้ ไฟนั้นยังมาไหม้ผิวหนังที่เท้าของเราทั้งสิ้น (อีก) เพราะว่ากรรมยังไม่พินาศไป.

ในกาลก่อน เราเป็นเด็ก ลูกของชาวประมง อยู่ในบ้านเกวัฏฏคาม
เห็นคนทั้งหลายฆ่าปลาแล้ว เกิดความโสมนัส.
ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น
ความทุกข์ที่ศีรษะ (ปวดศีรษะ)ได้มีแล้วแก่เรา
ในเมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายถูกเบียดเบียนพระเจ้าวิฏฏุภะฆ่าแล้ว.

เราได้บริภาษพระสาวกทั้งหลาย ในศาสนาของพระพุทธเจ้า พระนามว่า ผุสสะ
ว่าท่านทั้งหลายจงเคี้ยว จงกินแต่ข้าวแดงแต่อย่ากินข้าวสาลีเลย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 876
ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น
เราอันพราหมณ์นิมนต์แล้ว อยู่ในเมืองเวรัญชา บริโภคข้าวแดงตลอด ๓ เดือน ในกาลนั้น.

เมื่อนักมวยกำลังชกกัน เราได้เบียดเบียนบุตรนักมวยปล้ำ
ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความทุกข์ที่หลัง (ปวดหลัง)ได้มีแล้วแก่เรา.

เมื่อก่อนเราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาให้เศรษฐีบุตร(ตาย)
ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น โรคปักขันทิกาพาธจึงมีแก่เรา.

เราชื่อว่า โชติปาละ
ได้กล่าวกะพระสุคตเจ้าพระนามว่ากัสสปะ
ในกาลนั้นว่า จักมีโพธิมณฑลแต่ที่ไหน โพธิญาณท่านได้ยากอย่างยิ่ง.
ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น
เราได้ประพฤติกรรมที่ทำได้ยากมาก (ทุกกรกิริยา)
ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมตลอด ๖ ปี แต่นั้น จึงได้บรรลุโพธิญาณ.

แต่เราก็มิได้บรรลุโพธิญาณอันสูงสุดด้วยหนทางนี้
เราอันบุรพกรรมตักเตือนแล้ว จึงแสวงหาโพธิญาณโดยทางที่ผิด.
(บัดนี้) เราเป็นผู้สิ้นบาปและบุญ เว้นจากความเร่าร้อนทั้งปวง
ไม่มีความเศร้าโศก ไม่คับแค้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะจักนิพพาน.

พระชินเจ้าทรงบรรลุกำลังแห่งอภิญญาทั้งปวงแล้ว
ทรงพยากรณ์โดยทรงหวังประโยชน์แก่ภิกษุสงฆ์ ที่สระใหญ่ชื่อว่า อโนดาต ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 877
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาษิตธรรมบรรยายพุทธาปทานชื่อ ปุพพกัมมปิโลติ
อันเป็นความประพฤติในกาลก่อนของพระองค์ด้วยประการฉะนี้แล.
จบพุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ

๓๙๐. อรรถกถาปุพพกัมมปิโลติกพุทธาปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อโนตตฺตสราสนฺน ความว่า ชื่อว่า อโนตตฺโต
เพราะน้ำที่ถูกความร้อนแห่งพระจันทร์และพระอาทิตย์แผ่ปกคลุมไปไม่ถึง
เพราะมียอดภูเขาหลายยอดช่วยปิดบังไว้.

ชื่อว่าสระ เพราะเป็นแดนไหลไปคือเป็นแดนเกิดก่อน หลงใหลไปแห่งแม่น้ำใหญ่,
อธิบายว่า แม่น้ำใหญ่ที่ไหลออกจากช่องมีช่องสีหะเป็นต้นแล้ว ไหลวนไปทางขวา ๓ รอบ
จึงไหลไปทางทิสาภาคที่ไหลออกแล้ว ๆ แต่เดิม.

อโนตัตตะศัพท์ กับสระศัพท์ รวมกันเป็น
อโนตัตตสระ อธิบายว่า ที่อยู่ใกล้กับสระนั้น คือใกล้กับสระอโนดาต ได้แก่ ตรงที่ใกล้สระอโนดาตนั้น.

บทว่า รมณีเย ความว่า ในสถานที่อันน่ารื่นรมย์ใจนั้น
ชื่อว่า รมณียํ เพราะเป็นสถานที่อันเทวดา ทานพ คนธรรพ์ กินนร งู
พระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น พึงรื่นรมย์ใจ คือ พึงติดใจ.

บทว่า สิลาตเล ความว่า พื้นแห่งศิลาเป็นภูเขาลูกเดียว.
บทว่า นานารตนปชฺโชเต ความว่า โชติช่วงเปล่งปลั่งด้วยแก้วมากมายหลายประการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 878
มีแก้วทับทิม และไพฑูรย์ เป็นต้น.
บทว่า นานาคนฺธวนนฺตเร เชื่อมความว่า ที่พื้นศิลา (หิน)
ในละแวกป่าอันเป็นชัฏดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมนานาชนิด เช่นไม้จันทน์ กฤษณา การบูร คูน หมากหอม อโศก
กากะทิง บุนนาค และ การะเกด เป็นต้น มีประการต่าง ๆ.

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำของชาวโลก
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวโลกทั้ง ๓ ทรงมีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อม
เพราะยิ่งใหญ่ด้วยพระคุณ และเพราะยิ่งใหญ่ด้วยการนับ
ประทับนั่งเหนืออาสนะศิลานั้นแล้ว ตรัสชี้แจงถึงกรรม คือการถวายดอกไม้ของพระองค์
คือได้ทรงกระทำให้ปรากฏชัดเป็นพิเศษ.

คำที่เหลือในข้อความนั้น มีเนื้อความพอจะรู้ได้ง่ายทั้งหมด
เพราะได้กล่าวไว้แล้วในพุทธาปทานในหนหลัง และเพราะมีเนื้อความง่าย.
พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย ได้รวบรวมกุศลกรรมและอกุศลกรรมไว้ในอปทานนี้
ทั้งที่มีปรากฏอยู่ในพุทธาปทานแล้ว ก็ด้วยมุ่งที่จะรวมไว้ในวรรค เพราะจะได้ชี้แจงแสดงเฉพาะกรรมแล.
จบอรรถกถาปุพพกัมมปิโลติกพุทธปทาน




หน้า: 1 [2] 3 4 5