กระดานสนทนาธรรม

กระดานกิจกรรมเด็กวัด (สำหรับบุคคลทั่วไป) => คุยได้ฟังดีกับบรรดาสมาชิกวัด => ข้อความที่เริ่มโดย: สมบัติ สูตรไชย ที่ พฤษภาคม 29, 2017, 10:54:01 PM

หัวข้อ: ปราถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า ต้องสละดวงตาให้แก่ผู้ที่ขอ ดั่งในเรื่อง สีวิราชชาดก เล่ม61หน้า56
เริ่มหัวข้อโดย: สมบัติ สูตรไชย ที่ พฤษภาคม 29, 2017, 10:54:01 PM
เนื้อเรื่องบางตอนหน้า68 ว่าด้วยการให้ดวงตาเป็นทาน

ลำดับนั้น
เมื่ออำมาตย์ทั้งหลาย จะทูลถามท้าวเธอว่า พระองค์จะ
พระราชทานพระจักษุ เพราะทรงปรารถนาอะไร จึงกล่าวคาถา ความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชา พระองค์ทรง
ปรารถนา พระชนมายุ วรรณะ สุขะ และพละอะไร
หรือ จึงทรงพระราชทานพระเนตร พระองค์ทรงเป็น
ราชาแห่งชาวสีพี ไม่มีใครประเสริฐยิ่งไปกว่า ทรง
พระราชทานพระเนตร เพราะเหตุปรโลกหรืออย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรโลกเหตุ ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเช่นพระองค์ จำต้องละอิสริยยศส่วนปัจจุบันแล้ว พระราช-
ทานดวงพระเนตร เพราะเหตุแห่งปรโลกหรืออย่างไร ?
ลำดับนั้น
พระราชาเมื่อจะตรัสตอบอำมาตย์เหล่านั้น จึงตรัสพระคาถาความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 70
เราให้ดวงตาเป็นทานนั้น เพราะยศก็หาไม่
เราจะได้ปรารถนาบุตร ทรัพย์หรือแว่นแคว้น เพราะผลแห่งการให้ดวงตานี้ก็หาไม่
อีกประการหนึ่ง ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ท่านได้ประพฤติกันมาแล้วแต่
โบราณ เพราะเหตุนี้แหละ ใจของเราจึงยินดีในทาน.
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า นวาหํ ตัดบทเป็น น เว อหํ.

บทว่า ยสสา ความว่า เพราะเหตุแห่งยศอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ก็หามิได้.
บทว่า น ปุตฺตมิจฺเฉ ความว่า ใช่ว่าเราอยากจะได้บุตร ทรัพย์สมบัติแว่นแคว้น
เพราะผลแห่งการให้จักษุเป็นทานนี้ก็หามิได้ ก็แต่ว่าข้อนี้ ชื่อว่าเป็นโบราณมรรค คือ
เป็นการบำเพ็ญบารมี อันสัตบุรุษคือบัณฑิตได้แก่ พระโพธิสัตว์ผู้สัพพัญญูสั่งสมมาดีแล้ว
ด้วยว่าพระโพธิสัตว์ไม่บำเพ็ญบารมีให้เต็มแล้ว ชื่อว่าจะมีความสามารถที่จะบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
 ณ โพธิบัลลังก์ก็หามิได้

อนึ่ง
เราบำเพ็ญบารมีไว้ ก็ใคร่จะเป็นพระพุทธเจ้า.

บทว่า อิจฺเจว ทาเน นิรโต มโน
ความว่า เพราะเหตุนี้ใจของเราจึงได้ยินดีเฉพาะในทานบริจาค.
แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงแสดงจริยาปิฎก
แก่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ เพื่อจะทรงแสดงว่า พระสัพพัญญุตญาณเท่านั้น
เป็นที่รักกว่าดวงตาแม้ทั้งสองของเรา จึงตรัสว่า
ดวงตาทั้งสองข้างจะได้เป็นที่เกลียดชังของเราก็
หาไม่ ตนของตนเองก็หาได้เป็นที่เกลียดชังของเราไม่
พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้นเราจึงได้ให้ดวงตา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 71
ก็เมื่ออำมาตย์ทั้งหลาย ได้ฟังพระดำรัสของพระมหาสัตว์แล้ว ไม่อาจ
จะทูลทัดทาน จำต้องนิ่งเฉยอยู่ พระมหาสัตว์เจ้าได้ตรัสกำชับสีวิกแพทย์
ด้วยพระคาถาว่า
ดูก่อนสีวิกะ ท่านเป็นมิตรสหายของเรา
ท่านเป็นคนศึกษามาดีแล้ว จงกระทำตามคำของเราให้ดี

จงควักดวงตาทั้งสองของเราผู้ปรารถนาอยู่ แล้ววาง

ลงในมือของพราหมณ์วณิพกเถิด.
พระคาถานั้นมีอรรถกถาอธิบายว่า ดูก่อนสีวกแพทย์ผู้สหาย เธอเป็น
ทั้งสหายและมิตรของเรา ได้ศึกษามาในศิลปะของแพทย์เป็นอย่างดีโดยแท้
จงทำตามคำของเราให้สำเร็จประโยชน์ เมื่อเราปรารถนาพิจารณาแลดูนั่นแล
เธอจงควักดวงตาทั้งคู่ของเราออกดังถอนหน่อตาล แล้ววางไว้ในมือของยาจก
ผู้นี้เถิด ดังนี้.


ลำดับนั้น
สีวกแพทย์ ทูลเตือนท้าวเธอว่า ขึ้นชื่อว่าการให้จักษุเป็นทาน เป็นกรรมหนัก
ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์จงใคร่ครวญให้ดี.
พระราชาตรัสว่า ดูก่อนสีวิกแพทย์ เราใคร่ครวญดีแล้ว ท่านอย่ามัวชักช้าร่ำไรอยู่เลย อย่าพูดกับเราให้มากเรื่องไปเลย.

สีวิกแพทย์คิดว่า
การที่นายแพทย์ผู้ศึกษามาดีเช่นเรา จะเอาศาสตราคว้านพระเนตรของพระราชาไม่สมควร.
เขาจึงบดโอสถหลายขนาน แล้วเอาผลตัวยาอบดอกอุบลเขียวแล้วถวายให้ทรงถูพระเนตรเบื้องขวา.
พระเนตรพร่า เกิดทุกขเวทนาเป็นกำลัง

เขากราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าแต่มหาราชเจ้า
ขอพระองค์จงทรงกำหนดพระทัยดูเถิด
การทำพระเนตรให้เป็นปกติ เป็นภาระของข้าพระพุทธเจ้า.
พระราชาตรัสว่า พ่อหมอ เธอจงหลีกไป อย่ามัวทำช้าอยู่เลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 72
เขาจึงปรุงโอสถน้อมเข้าไปให้ทรงถูพระเนตรซ้ำอีก
พระเนตรก็หลุดออกจากหลุมพระเนตร
บังเกิดทุกขเวทนาเหลือประมาณ.

เขากราบทูลว่า ขอเดชะมหาราชเจ้า
ขอพระองค์จงทรงกำหนดพระทัยดูเถิด
การทำพระเนตรให้เป็นปกติ เป็นภาระของข้าพระพุทธเจ้า.
พระราชาตรัสว่า หลีกไปเถอะพ่อหมอ อย่าทำชักช้าอยู่เลย.


ในวาระที่ ๓ เขาปรุงโอสถให้แรงขึ้นกว่าเดิม น้อมเข้าไปถวาย.
ด้วยกำลังพระโอสถ พระเนตรก็หมุนหลุดออกจากเบ้าพระเนตร ลงมาห้อยอยู่ด้วยเส้นเอ็น.

เขาจึงกราบทูลซ้ำอีกว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมนรชน ขอพระองค์จงทรงกำหนดพระทัยดูเถิด
การทำพระเนตรให้เป็นปกติ เป็นภาระของข้าพระพุทธเจ้า.
พระราชาตรัสว่า เธออย่าทำการชักช้าอยู่เลย.
ทุกขเวทนาบังเกิดขึ้น เหลือที่จะประมาณ พระโลหิตก็ไหลออก.
พระภูษาทรงเปียกชุ่มไปด้วยพระโลหิต


นางสนมและหมู่อำมาตย์ทั้งหลาย
หมอบเฝ้าอยู่แทบบาทมูลของพระราชา ต่างพากันปริเทวนาการพิไรรำพันอึงคะนึงว่า
ขอเดชะ พระองค์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ
ขอพระองค์อย่าทรงพระราชทานดวงพระเนตรเลย.


พระราชาทรงอดกลั้นทุกขเวทนา ตรัสว่า
พ่อหมอ เธออย่าทำการชักช้าอยู่เลย.
เขารับพระบรมราชโองการแล้ว ประคองพระเนตรด้วยมือซ้าย จับศาสตราตัดเอ็นที่ติดพระเนตรด้วยมือขวา
แล้วรับพระเนตรไปวางไว้ในพระหัตถ์ของพระมหาสัตว์.


พระองค์ทอดพระเนตรเบื้องขวา ด้วยพระเนตรเบื้องซ้าย
ทรงอดกลั้นทุกขเวทนา ตรัสเรียกพราหมณ์ว่า มาเถิดพราหมณ์ แล้วตรัสว่า
สัพพัญญุตญาณเท่านั้น เป็นที่รักกว่านัยน์ตาของเรานี้ ตั้งร้อยเท่า พันเท่าแสนเท่า
ผลที่เราบริจาคดวงตานี้ จงเป็นปัจจัยแก่พระสัพพัญญุคญาณนั้นเถิด
แล้วได้พระราชทานดวงพระเนตรนั้นแก่พราหมณ์ไป.


พราหมณ์รับพระเนตรนั้น ประดิษฐานไว้ในดวงตาของตน.
ด้วยอานุภาพของพระเจ้าสีวิราชนั้นดวงพระเนตรก็ประดิษฐานอยู่ เป็นเหมือนดอกอุบลเขียวที่แย้มบาน.


พระมหาสัตว์เจ้า ทอดพระเนตรดูนัยน์ตาของพราหมณ์นั้น ด้วยพระเนตรเบื้องซ้าย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 73
แล้วทรงดำริว่า โอ อักขิทาน เราได้ให้ดีแล้ว
ทรงเสวยปีติอันซ่านไปภายในพระหฤทัยหาระหว่างมิได้ จึงได้พระราชทานพระเนตรเบื้องซ้ายนอกนี้อีก.

ท้าวสักกเทวราช ทรงประดิษฐาน แม้พระเนตรเบื้องซ้ายนั้นไว้ในดวงพระเนตร
ของพระองค์ แล้วเสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ เมื่อมหาชนกำลังแลดูอยู่นั่นแล ได้ออกจากพระนครไปสู่เทวโลกทันที