กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้
กระดานสนทนาธรรม

ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก บ้านห้วยยางทอง ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ 67260


กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 10
41
เรื่อง ปลดผู้ถือบัญชีธนาคารกองทุนบำรุงวัดและกองทุนเพื่อการกุศล 11 เม.ย. 2566




42
วันที่ 7 เมษายน 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจจากสถานีตำรวจภูธรน้ำหนาวเรียนเชิญท่านอาจารย์เกษม ดวงแพงมาต
ไปตรวจงานก่อสร้างศูนย์ปฏิบัติการสายตรวจของสถานีตำรวจภูธรน้ำหนาว ในส่วนภายในอาคารหลัก และเพื่อขอคำปรึกษาเรื่องอุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงานต่าง ๆ ที่จะจัดซื้อเข้ามาใช้ภายในศูนย์ฯ





















43
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 อาจารย์จ้างเหมารถกระบะมีคอกสูง (น้าออด) ที่ลุงเล็กแนะนำโดยให้นายสิทธิสันต์ ขันภา (โอเล่) ไปด้วย และรถกระบะของนายสมาน ใจหาญ โดยมีนายเสมียน ใจหาญ และครอบครัวไปด้วย เดินทางไปรับต้นพันธุ์มะม่วงจากสวนลุงเล็ก เสน่ห์พันธุ์ไม้ จ.นนทบุรี มาส่งที่ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก

ค่าต้นพันธุ์มะม่วงที่ได้รับแล้ว
ขนาดใหญ่ ใส่เข่ง 20 ต้น จำนวนเงิน 39,000 บาท
ขนาดเล็ก 117 ต้น จำนวนเงิน 32,200 บาท
รวม 71,200 บาท
(อาจารย์สั่งจ่ายแล้ว 100,000 บาท ยอดคงเหลือ 28,800 บาท รอสวนลุงเล็กทาบกิ่งมะม่วงสายพันธุ์ที่จองไว้และฝรั่งหงเป่าสือให้ครบจำนวนเงิน)






























44
คุยได้ฟังดีกับบรรดาสมาชิกวัด / ธาตุ ๖ เล่ม16
« กระทู้ล่าสุด โดย สมบัติ สูตรไชย เมื่อ มีนาคม 19, 2023, 09:16:38 PM »
[๓๑๙] ธาตุ ๖
๑. ปฐวีธาตุ ธาตุดิน
๒. อาโปธาตุ ธาตุน้ำ
๓. เตโชธาตุ ธาตุไฟ
๔. วาโยธาตุ ธาตุลม
๕. อากาสธาตุ ธาตุที่สัมผัสไม่ได้
๖. วิญญาณธาตุ ธาตุรู้.
45
[๓๐๕] อายตนะภายนอก ๖
๑. รูปายตนะ อายตนะ คือ รูป
๒. สัททายตนะ อายตนะ คือ เสียง
๓. คันธายตนะ อายตนะ คือ กลิ่น
๔. รสายตนะ อายตนะ คือ รส
๕. โผฏฐัพพายตนะ อายตนะ คือ โผฏฐัพพะ
๖. ธัมมายตนะ อายตนะ คือ ธรรม.
46
คุยได้ฟังดีกับบรรดาสมาชิกวัด / อายตนะภายใน ๖ เล่ม16
« กระทู้ล่าสุด โดย สมบัติ สูตรไชย เมื่อ มีนาคม 19, 2023, 09:10:46 PM »
อายตนะภายใน ๖
๑. จักขายตนะ อายตนะ คือ ตา
๒. โสตายตนะ อายตนะ คือ หู
๓. ฆานายตนะ อายตนะ คือ จมูก
๔. ชิวหายตนะ อายตนะ คือ ลิ้น
๕. กายายตนะ อายตนะ คือ กาย
๖. มนายตนะ อายตนะ คือ ใจ.
47
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้น้ำหนาว
นำโดยหัวหน้าสมชาย ครุธเกษ และเจ้าหน้าที่ เข้าตรวจสอบพื้นที่ป่าที่พักสงฆ์ป่าสามแยก แปลงปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ FPT25/2 โดยได้ถ่ายวีดีโอแบบ 360 องศา และภาพนิ่งด้วยโดรน ซึ่งภาพเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าที่ปลูกและดูแลรักษาไว้ประมาณ 3,000 กว่าไร่

โดยอาจารย์เกษม ดวงแพงมาต และคณะ เริ่มปลูกป่านี้เมื่อพ.ศ. 2537 และสร้างฝายเก็บน้ำภายในโครงการ























48
พระปุณณาเถรี เล่ม54 หน้า 343
ทรมาน พราหมณ์ที่ถือว่าบริสุทธิ์ด้วยการ ลงอาบน้ำ
ข้าพเจ้าเป็นหญิงแบกหม้อน้ำได้พบ พราหมณ์ โสตถิยะ
กำลังหนาวสั่นอยู่กลางน้ำ
แม้แต่หน้าหนาว
ท่านพราหมณ์ ท่านเล่ากลัวอะไร จึงลงน้ำทุกเมื่อ
ตัวสั่นเทา ประสบความหนาวเย็นอย่างหนัก.
พราหมณ์กล่าวว่า
ดูก่อนแม่ปุณณาผู้จำเริญ
เจ้าเมื่อรู้ว่าเราผู้กระทำกุศลกรรม อันห้ามบาปที่ทำไว้แล้ว
ยังจะสอบถามหรือหนอ
ก็ผู้ใด ไม่ว่าเป็นคนแก่และคนหนุ่ม
ประกอบบาปกรรมได้
ผู้นั้น ย่อมจะหลุดพ้นจากบาปกรรมได้
เพราะการลงอาบน้ำ.

ข้าพเจ้ากล่าวว่า
ใครหนอช่างไม่รู้ มาบอกกับท่าน
ซึ่งก็ไม่รู้ว่า ตนจะหลุดพ้นจากบาปกรรมได้ 
เพราะการอาบน้ำ
พวก กบ เต่า งู จระเข้ และสัตว์อื่น ๆ ที่สัญจรอยู่ในน้ำทั้งหมด
ก็คงจักพากันไปสวรรค์แน่แท้

คนฆ่าแพะคนฆ่าสุกร คนฆ่าปลา คนล่าเนื้อ
พวกโจร พวกเพชฌฆาต และคนทำบาปกรรมอื่น ๆ
แม้คนทั้งนั้นจะหลุดพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการอาบน้ำ

ถ้าหากว่า แม่น้ำเหล่านี้
จะพึงนำบาปที่ท่านทำมาแต่ก่อนไปได้ไซร้
แม่น้ำเหล่านี้ ก็จะพึงนำ แม้บุญของท่านไปด้วย
ท่านก็จะพึงเห็นห่างจากบุญนั้นไป.

ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าทุกข์ไม่น่ารักสำหรับท่าน
ท่านก็อย่าทำบาปกรรม ทั้งในที่ลับ ทั้งในที่แจ้ง

ก็หากว่าท่านจักกระทำ หรือกำลังกระทำบาปกรรม
ท่านถึงจะเหาะหนีไป ก็ไม่พ้นไปจากทุกข์ได้เลย.

ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าทุกข์ไม่น่ารักสำหรับท่าน
ท่านก็จงถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เช่นนั้นเป็นสรณะ
จงสมาทานศีล ข้อนั้นก็จักเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นของท่าน.

พราหมณ์นั้นตั้งอยู่ในสรณะและศีลแล้ว
ต่อมา ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดาแล้วได้ศรัทธา
ก็บวชพากเพียรพยายามอยู่ ไม่นานนัก ก็เป็นผู้มีวิชชา ๓
พิจารณาทบทวนข้อปฏิบัติของตน
เมื่อจะอุทานจึงกล่าวคาถาว่า พฺรหฺมพนฺธุ เป็นต้น.

คาถานั้นมีความว่า
แต่ก่อน ข้าพเจ้ามีชื่อว่า พรหมพันธุ์ เผ่าพันธุ์พรหม
โดยเหตุเพียงเกิดในสกุลพราหมณ์
ข้าพเจ้า เป็นผู้มีไตรเพทถึงพร้อมด้วยเวท
ชื่อว่า เป็นพราหมณ์ผู้อาบน้ำเสร็จแล้ว โดยเหตุเพียงเรียนเป็นต้น
ซึ่งไตรเพทมีอิรุพเพทเป็นอาทิ ก็อย่างนั้น
บัดนี้ ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ จริง คือเป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์
เพราะลอยบาปได้โดยประการทั้งปวง ชื่อว่า เตวิชชา
เพราะบรรลุวิชชา ๓ ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยเวท
เพราะประกอบด้วยเวท กล่าวคือมรรคญาณ และ
ชื่อว่าอาบน้ำเสร็จแล้ว เพราะถอนบาปได้หมด
แม้คาถาที่พราหมณ์กล่าวไว้ในเรื่องนี้ ภายหลัง
พระเถรีก็กล่าวไว้เฉพาะดังนั้น จึงชื่อว่าคาถาของพระเถรีทั้งหมดแล.
จบ อรรถกถาปุณณาเถรีคาถา

49

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 323
อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม. . .
ย่อมแสดงสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
ย่อมแสดงวินัยว่ามิใช่วินัย
ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ ว่าเป็นคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้
ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้
ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตพระพฤติมาแล้ว
ย่อมแสดงกรรมอัน ตถาคตประพฤติมาแล้วว่าเป็นกรรมอันตถาคตมิได้พระพฤติมาแล้ว
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ว่าเป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้
ย่อมแสดงอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ย่อมแสดงอาบัติว่าเป็นอนาบัติ
ย่อมแสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก
ย่อมแสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติเบา
ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม
มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม
มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม
มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม
มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม
มีความสงสัยในความแตกกัน
มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม
มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม
มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความสงสัยในความแตกกัน
มีความสงสัยในธรรมนั้น
มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม
มีความสงสัยในธรรมนั้น
มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม
มีความสงสัยในธรรมนั้น
มีความสงสัยในความแตกกัน
อำพรางความเห็น
อำพรางความถูกใจ
อำพรางความชอบใจ
อำพรางความจริง
ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัยนี้สัตถุศาสน์
ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 324
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรกอยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้.

50
ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้
จักมีความพอใจอย่างไร
มีความประสงค์อย่างไร
กระผมถามแล้ว ขอจงบอกความข้อนั้นแก่กระผมเถิด.

ดูก่อนปัณฑรสฤาษี
ขอเชิญฟังคำของอาตมา
จงจำคำของอาตมาให้ดี
อาตมาจะบอกซึ่งข้อความที่ท่านถามถึงอนาคตกาล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 209
ลำดับนั้น
พระเถระมองเห็นตามความเป็นจริง
ซึ่งความเป็นไปของพวกภิกษุ และพวกนางภิกษุณีอย่างแจ่มแจ้ง
ด้วยอนาคตังสญาณแล้ว
เมื่อจะบอกแก่ดาบสนั้น จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

ในกาลข้างหน้า ภิกษุเป็นอันมาก
จักเป็นคนมักโกรธ
มักผูกโกรธไว้
ลบหลู่คุณท่าน
หัวดื้อ โอ้อวด ริษยา
มีวาทะต่าง ๆ กัน
จักเป็นผู้มีมานะ ในธรรมที่ยังไม่รู้ทั่วถึง
คิดว่าตื้นในธรรมที่ลึกซึ้ง
เป็นคนเบา
ไม่เคารพธรรม
ไม่มีความเคารพกันและกัน

ในกาลข้างหน้าโทษเป็นอันมากจักเกิดขึ้นในหมู่สัตวโลก

ก็เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ไร้ปัญญา
จักทำ ธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนี้ให้เศร้าหมอง
ทั้งพวกภิกษุ ที่มีคุณอันเลวโวหารจัด แกล้วกล้า มีกำลังมาก
ปากกล้า ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ก็จักมีขึ้นในสังฆมณฑล
ภิกษุทั้งหลาย
ในสังฆมณฑล แม้ที่มีคุณความดี
มีโวหารโดยสมควรแก่เนื้อความ
มีความละอายบาป ไม่ต้องการอะไร ๆก็จักมีกำลังน้อย

ภิกษุทั้งหลาย
ในอนาคตที่ทรามปัญญา ก็จะพากัน ยินดี
เงิน ทอง ไร่นา ที่ดิน แพะ แกะ และคนใช้หญิงชาย
จักเป็นคนโง่มุ่งแต่จะยกโทษผู้อื่น
ไม่ดำรงมั่นอยู่ในศีล ถือตัว โหดร้าย เที่ยวยินดีแต่การทะเลาะวิวาท
จักมีใจฟุ้งซ่าน นุ่งห่มแต่จีวรที่ย้อมสีเขียวแดง เป็นคนลวงโลก กระด้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 210
เป็นผู้แส่หาแต่ ลาภผล
เที่ยวชูเขา คือ มานะ
ทำตน ดังพระอริยเจ้า ท่องเที่ยวไปอยู่
เป็นผู้แต่งผมด้วยน้ำมัน ทำให้มีเส้นละเอียด
เหลาะแหละ ใช้ยาหยอดและทาตา
มีร่างกายคลุมด้วยจีวรที่ย้อมด้วยสีงา
สัญจรไปตามตรอกน้อยใหญ่
จักพากันเกลียดชังผ้าอันย้อมด้วยน้ำฝาด เป็นของไม่น่าเกลียด
พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้ว ยินดียิ่งนักเป็นธงชัยของพระอรหันต์

พอใจแต่ในผ้าขาว ๆ จักเป็นผู้มุ่งแต่ลาภผล
เป็นคนเกียจคร้าน
มีความเพียรเลวทราม
เห็นการอยู่ป่าอันสงัด เป็นความลำบาก
จักใคร่อยู่ในเสนาสนะที่ใกล้บ้าน


ภิกษุเหล่าใด
ยินดี มิจฉาชีพ จักได้ลาภเสมอ ๆ จักพากันประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น
(เที่ยวคบหาราชสกุลเป็นต้น เพื่อให้เกิดลาภแก่ตน) ไม่สำรวมอินทรีย์เที่ยวไป

อนึ่ง ในอนาคตกาล
ภิกษุทั้งหลายจะไม่บูชาพวกภิกษุที่มีลาภน้อย
จักไม่สมคบภิกษุที่เป็นนักปราชญ์ มีศีลเป็นที่รัก
จักทรงผ้าสีแดง ที่ชนชาวมิลักขะชอบย้อมใช้
พากันติเตียนผ้าอันเป็นธงชัยของตนเสีย
บางพวกก็นุ่งห่มผ้าสีขาวอันเป็นธงของพวกเดียรถีย์


อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุเหล่านั้น
จักไม่เคารพในผ้ากาสาวะ
จักไม่พิจารณาในอุบายอันแยบคาย
บริโภคผ้ากาสาวะ
เมื่อทุกข์ครอบงำถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว ก็ไม่พิจารณาโดยแยบคาย
แสดงอาการยุ่งยากในใจออกมา
มีแต่เสียงโอดครวญอย่างใหญ่หลวง


อนึ่ง
ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต
จักเป็นผู้มีจิตใจชั่วร้าย
ไม่เอื้อเฟื้อจักข่มขู่ภิกษุทั้งหลายผู้คงที่มีเมตตาจิต
 แม้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นคนโง่เขลา มีปัญญาทราม
ไม่สำรวมอินทรีย์
กระทำตามความใคร่
ถึงพระเถระ ให้ศึกษา การใช้สอยผ้าจีวร ก็ไม่เชื่อฟัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 212
พวกภิกษุที่โง่เขลาเหล่านั้น
อันพระเถระทั้งหลายให้การศึกษาแล้วเหมือนอย่างนั้น
จักไม่เคารพกันและกัน
ไม่เอื้อเฟื้อในพระอุปัชฌายาจารย์
จักเป็นเหมือนม้าพิการ
ไม่เอื้อเฟื้อนายสารถีฉะนั้น

 ในกาลภายหลังแต่ตติยสังคายนา
ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต จักปฏิบัติอย่างนี้.
ภัยอย่างใหญ่หลวงที่จะทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติ ย่อมมาในอนาคตอย่างนี้ก่อน
ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ว่าง่าย
จงพูดแต่ถ้อยคำที่สละสลวย
มีความเคารพกันและกัน
มีจิตเมตตากรุณาต่อกัน
จงสำรวมในศีล
ปรารภความเพียร
มีใจเด็ดเดี่ยวบากบั่นอย่างมั่นเป็นนิตย์
ขอท่านทั้งหลาย
จงเห็นความ ประมาท โดยความเป็นภัย และ
จงเห็นความ ไม่ประมาท โดยความเป็นของปลอดภัย
แล้วจงอบรมอัฏฐังรคิกมรรค
เมื่อทำได้ดังนี้แล้ว ย่อมจะบรรลุพระนิพพานอันเป็นทางไม่เกิดไม่ตาย.



หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 10