กระดานสนทนาธรรม

กระดานกิจกรรมเด็กวัด (สำหรับบุคคลทั่วไป) => คุยได้ฟังดีกับบรรดาสมาชิกวัด => ข้อความที่เริ่มโดย: สมบัติ สูตรไชย ที่ สิงหาคม 24, 2016, 07:54:55 PM

หัวข้อ: บวชแล้วสึก ถึง7ครั้ง ครั้งที่7เดินไปจะขอบวชอีก บ่นไปด้วยว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แล้วบรรลุเป็นพระโสดาบัน
เริ่มหัวข้อโดย: สมบัติ สูตรไชย ที่ สิงหาคม 24, 2016, 07:54:55 PM
เรื่องพระจิตตหัตถเถระ40-418
หัวเรื่อง  พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 418

๕. เรื่องพระจิตตหัตถเถระ [๒๘]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระ
ชื่อจิตตหัตถ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส"
เขาเที่ยวตามโคจนอ่อนเพลีย
ได้ยินว่า กุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง แสวงหาโคผู้ที่หายไปอยู่
จึงเข้าป่า พบโคผู้ในเวลาเที่ยง ปล่อยเข้าฝูงแล้วคิดว่า " เราจักได้วัตถุ
สักว่าอาหาร ในสำนักของพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายแน่แท้" ถูกความหิวกระ-
หายรบกวนแล้ว จึงเข้าไปสู่วิหาร ถึงสำนักของภิกษุทั้งหลาย ไหว้แล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ก็ในสมัยนั้นแล ภัตอันเหลือจากภิกษุทั้งหลาย
ฉัน ยังมีอยู่ในถาดสำหรับใส่ภัตอันเป็นเดน. ภิกษุเหล่านั้นเห็นเขาถูก
ความหิวรบกวนแล้ว จึงกล่าวว่า " เชิญท่านถือเอาภัตกินเถิด," ก็ชื่อว่า
ในครั้งพุทธกาล แกงและกับมากมายย่อมเกิดขึ้น, เขารับภัตพอเยียวยา
อัตภาพจากถาดนั้นบริโภคแล้ว ดื่มน้ำ ล้างมือ ไหว้ภิกษุทั้งหลายแล้ว
ถามว่า " ท่านขอรับ วันนี้ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายได้ไปสู่ที่นิมนต์แล้ว
หรือ ?" ภิกษุทั้งหลายตอบว่า " อุบาสก วันนี้ ไม่มี, ภิกษุทั้งหลาย
ย่อมได้ (ภัตตาหาร) เนือง ๆ โดยทำนองนี้เทียว."
เขาบวชเป็นภิกษุ
เขาคิดว่า " พวกเรา ลุกขึ้นแล้ว ครั้นลุกขึ้นแล้ว แม้ทำการงาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 419
เนือง ๆ ตลอดคืนและวัน ก็ยังไม่ได้ภัตมีกับอันอร่อยอย่างนี้, ได้ยินว่า
ภิกษุเหล่านี้ย่อมฉันเนือง ๆ, เราจะต้องการอะไรด้วยความเป็นคฤหัสถ์,
เราจักเป็นภิกษุ" ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชาแล้ว.
ลำดับนั้น พวกภิกษุพูดกะเขาว่า " เป็นการดี อุบาสก" ให้เขาบรรพชา
แล้ว. เขาได้อุปสมบทแล้ว ทำวัตรและปฏิวัตร ซึ่งเป็นอุปการะแก่ภิกษุ
ทั้งปวง. เธอได้มีสรีระอ้วนท้วนโดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน เพราะลาภ
และสักการะที่เกิดขึ้นแก่พระพุทธะ๑ทั้งหลาย.
เขาบวช ๆ สึก ๆ ถึง ๖ ครั้ง
แต่นั้น เธอคิดว่า " เราจักต้องการอะไรด้วยการเที่ยวไปเพื่อภิกษา
เลี้ยงชีพ, เราจักเป็นคฤหัสถ์." เธอสึกเข้าเรือนแล้ว. เมื่อกุลบุตร [ทิด
สึกใหม่] นั้น ทำการงานอยู่ในเรือน โดย ๒ - ๓ วัน เท่านั้น สรีระ
ก็ซูบผอม. แต่นั้นเธอคิดว่า " ประโยชน์อะไรของเราด้วยทุกข์นี้, เรา
จักเป็นสมณะ" ดังนี้แล้ว ก็กลับมาบวชใหม่. เธอยับยั้งอยู่ไม่ได้กี่วัน
กระสันขึ้นแล้วสึกอีก แต่เธอได้มีอุปการะแก่พวกภิกษุในเวลาบวช. โดย
๒ - ๓ วัน เท่านั้น เธอก็ระอาใจแม้อีก คิดว่า " ประโยชน์อะไรของ
เราด้วยความเป็นคฤหัสถ์, เราจักบวช" จึงไปไหว้ภิกษุทั้งหลาย ขอ
บรรพชาแล้ว. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย ให้เขาบรรพชาอีกแล้ว ด้วยอำนาจ
แห่งอุปการะ, เขาบวชแล้วก็สึกอยู่อย่างนี้ถึง ๖ ครั้ง. ภิกษุทั้งหลายคิดว่า
" ภิกษุนี่ เป็นไปในอำนาจแห่งจิตเที่ยวไปอยู่" จึงขนานนามแก่เธอว่า
"จิตตหัตถเถระ."
๑. ใช้ศัพท์ว่า พุทฺธานํ ในที่นี้ น่าจะหมายถึงพระสัมพุทธะ และอนพุทธะหรือพระสาวกพุทธะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 420
ครั้งที่ ๗ เขาเกิดธรรมสังเวชเลยบวชไม่สึก
เมื่อนายจิตตหัตถ์นั้นเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่อย่างนี้เทียว ภริยาได้มีครรภ์แล้ว.
ในวาระที่ ๗ เขาแบกเครื่องไถจากป่าไปเรือน
วางเครื่องใช้ไว้แล้ว เข้าห้องด้วยประสงค์ว่า " จักหยิบผ้ากาสาวะของตน.

" ในขณะนั้น ภริยาของเขากำลังนอนหลับ. ผ้าที่หล่อนนุ่งหลุดลุ่ย น้ำลายไหลออกปาก, จมูกก็กรนดังครืด ๆ, ปากอ้า, กัดฟัน. หล่อนปรากฏแก่เขาประดุจสรีระที่พองขึ้น.

เขาคิดว่า " สรีระนี้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์.
เราบวชตลอดกาลประมาณเท่านี้แล้ว อาศัยสรีระนี้ จึงไม่สามารถดำรงอยู่ในภิกษุภาวะได้
" ดังนี้แล้ว ก็ฉวยผ้ากาสาวะพันท้อง พลางออกจากเรือน.

ขณะนั้น
 แม่ยายของเขายืนอยู่ที่เรือนติดต่อกัน เห็นเขากำลังเดินไปด้วยอาการอย่างนั้น สงสัยว่า " เจ้านี่กลับไปอีกแล้ว เขามาจากป่าเดี๋ยวนี้เองพันผ้ากาสาวะที่ท้อง ออกเดินบ่ายหน้าตรงไปวิหาร; เกิดเหตุอะไรกันหนอ ?
" จึงเข้าเรือนเห็นลูกสาวหลับอยู่ รู้ว่า "เขาเห็นลูกสาวของเรานี้มีความรำคาญไปเสียแล้ว
" จึงตีลูกสาว กล่าวว่า " นางชั่วชาติ จงลุกขึ้น.
ผัวของเอง เห็นเองกำลังหลับ มีความรำคาญไปเสียแล้ว, ตั้งแต่นี้เองจะไม่มีเขาละ
" ลูกสาวกล่าวว่า " หลีกไป หลีกไปเถิดแม่ เขาจะไปข้างไหน, อีก ๒-๓ วันเท่านั้น ก็มาอีก."

แม้นายจิตตหัตถ์นั้น บ่นไปว่า
 " ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ " กำลังเดินไป ๆ บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว.

เขาไปไหว้ภิกษุทั้งหลายแล้ว ก็ขอบรรพชา.
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า "พวกเราจักไม่อาจให้ท่านบรรพชาได้,
ความเป็นสมณะของท่านจักมีมาแต่ที่ไหน ? ศีรษะของท่านเช่นกับหินลับมีด.
" เขากล่าวว่า " ท่านขอรับ พวกท่านโปรดอนุเคราะห์ให้กระผมบวชในคราว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 421
นี้อีกคราวหนึ่งเถิด." ภิกษุเหล่านั้นจึงให้เขาบวชแล้ว ด้วยอำนาจแห่งอุปการะ

บรรลุพระอรหัตแล้วถูกหาว่าพูดไม่จริง
ได้ ๒-๓ วันเท่านั้น เธอก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
ภิกษุแม้เหล่านั้น พูดกับเธอว่า " คุณจิตตหัตถ์ คุณควรรู้สมัยที่คุณจะ
ไปโดยแท้. ทำไม ในครั้งนี้ คุณจึงชักช้าอยู่เล่า ?" เธอกล่าวว่า " พวก
ผมไปแล้วในเวลาที่มีความเกี่ยวข้องดอก๑ ขอรับ ความเกี่ยวข้องนั้น ผม
ตัดได้แล้ว, ต่อไปนี้ พวกผมมีความไม่ไปเป็นธรรมดา." พวกภิกษุ
พากันไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุนี้ ถูกพวกข้าพระองค์พูดอย่างนี้ กล่าวชื่ออย่างนี้ เธอพยากรณ์
พระอรหัต เธอพูดคำไม่จริง." พระศาสดา ตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุ
ทั้งหลาย บุตรของเรา ได้ทำการไปและการมา ในเวลาไม่รู้พระสัทธรรม
ในเวลาที่ตนยังมีจิตไม่มั่นคง, บัดนี้ บุตรของเรานั่นละบุญและบาปได้
แล้ว" ได้ตรัสสองพระคาถาเหล่านี้ว่า
๕. อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส สทฺธมฺมํ อวิชานโต
ปริปฺลวปสาทสฺส ปญฺญา น ปริปูรติ
อนวสฺสุตจิตฺตสฺส อนนฺวาหตเจตโส
ปุญฺญปาปปหีนสฺส นตฺถิ ชาครโต ภยํ.
"ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์ แก่ผู้มีจิตไม่มั่นคง
ไม่รู้แจ้งซึ่งพระสัทธรรม มีความเลื่อมใสอันเลื่อน
๑. หมายถึง กิเลสเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 422
ลอย, ภัย (ความกลัว) ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตอัน
ราคะไม่ซึมซาบ มีใจไม่ถูกโทสะตามกระทบ ละบุญและบาปได้ ตื่นอยู่."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส พระศาสดา
ทรงแสดงเนื้อความว่า " ชื่อว่าจิตนี้ ของใคร ๆ ไม่มีแน่นอนหรือมั่นคง;
ก็บุคคลใด ไม่ดำรงอยู่ในภาวะไหน ๆ เหมือนกับฟักเขียวที่ตั้งไว้บน
หลังม้า เหมือนกับหลักที่ปักไว้ในกองแกลบ เหมือนกับดอกกระทุ่มบน
ศีรษะล้าน, บางคราวเป็นเสวก บางครั้งเป็นอาชีวก บางคาบเป็นนิครนถ์
บางเวลาเป็นดาบส, บุคคลเห็นปานนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่มั่นคง, ปัญญาอัน
เป็นกามาพจรก็ดี อันต่างด้วยปัญญามีรูปาพจรเป็นอาทิก็ดี ย่อมไม่บริบูรณ์
แก่บุคคลนั้น ผู้มีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรมนี้ อันต่างโดยโพธิปัก-
ขิยธรรม๑ ๓๗ ชื่อว่ามีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย เพราะความเป็นผู้มี
ศรัทธาน้อย หรือเพราะความเป็นผู้มีศรัทธาคลอนแคลน, เมื่อปัญญาแม้
เป็นกามาพจรไม่บริบูรณ์ ปัญญาที่เป็นรูปาพจร อรูปาพจรและโลกุตระ
จักบริบูรณ์ได้แต่ที่ไหนเล่า ?
บทว่า อนวสฺสุตจิตฺตสฺส ได้แก่ ผู้มีจิตอันราคะไม่ชุ่มแล้ว.
ในบทว่า อนนฺวาหตเจตโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความที่จิตถูก
โทสะกระทบแล้วไว้ในอาคตสถานว่า๒ " มีจิตถูกโทสะกระทบเกิดเป็นดังเสาเขื่อน."
๑. มีธรรมเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ๓๗ เป็นประเภท.
๒. ที่แห่งบาลีประเทศอันมาแล้ว. อภิ. วิ. ๓๕/๕๑๐. ม. มู. ๑๒/๒๐๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 423
แต่ในบทว่า อนนฺวาหตเจตโส นี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความว่า
" ผู้มีจิตอันโทสะไม่กระทบ."
บทว่า ปุญฺญปาปปหีนสฺส ความว่า ผู้ละบุญและบาปได้ด้วย
มรรคที่ ๔ คือผู้สิ้นอาสวะแล้ว.
บาทพระคาถาว่า นตฺถิ ชาครโต ภยํ ความว่า ความไม่มีภัย
ดูเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้สำหรับท่านผู้สิ้นอาสวะ ตื่นอยู่แล, ก็
ท่านผู้สิ้นอาสวะนั้น ชื่อว่า ตื่นแล้ว เพราะประกอบด้ายธรรมเป็นเหตุตื่น
ทั้งหลาย มีศรัทธาเป็นอาทิ, เพราะฉะนั้น ท่านตื่นอยู่ (ตื่นนอน)
ก็ตาม ยังไม่ตื่น (ยังนอนหลับ) ก็ตาม ภัยคือกิเลสชื่อว่าย่อมไม่มี
เพราะกิเลสทั้งหลายไม่มีการหวนกลับมา, จริงอยู่ กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่า
ย่อมไม่ติดตามท่าน เพราะกิเลสทั้งหลายที่ท่านละได้แล้วด้วยมรรคนั้น ๆ
ไม่มีการเข้าไปหา (ท่าน) อีก, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า " กิเลสเหล่าใด อันอริยบุคคลละได้แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค,
เธอย่อมไม่มาหา คือไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก; กิเลสเหล่าใด อันอริย-
บุคคลละได้แล้วด้วยสกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค,
เธอย่อมไม่มาหา คือไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก " ดังนี้.
เทศนาได้มีประโยชน์ มีผล แก่มหาชนแล้ว.
กิเลสทำผู้มีอุปนิสัยแห่งพระอรหัตให้เศร้าหมองได้
ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย
ขึ้นชื่อว่ากิเลสเหล่านี้ หยาบนัก, กุลบุตรผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระ-
อรหัตเห็นปานนี้ ยังถูกกิเลสให้มัวหมองได้ (ต้อง) เป็นคฤหัสถ์ ๗ ครั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 424
บวช ๗ ครั้ง." พระศาสดาทรงสดับประวัติกถาของภิกษุเหล่านั้น จึง
เสด็จไปสู่ธรรมสภา ด้วยการไปอันสมควรแก่ขณะนั้น ประทับบนพุทธ-
อาสน์แล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งประชุมกัน ด้วยถ้อย
คำอะไรหนอ ? " เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า " ด้วยเรื่องชื่อนี้ " แล้ว
จึงตรัสว่า " อย่างนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่ากิเลสทั้งหลาย
ย่อมเป็นสภาพหยาบ, ถ้ากิเลสเหล่านี้ มีรูปร่าง อันใคร ๆ พึงสามารถ
จะเก็บไว้ได้ในที่บางแห่ง, จักรวาลก็แคบเกินไป, พรหมโลกก็ต่ำ
เกินไป, โอกาสของกิเลสเหล่านั้นไม่พึงมี (บรรจุ) เลย, อันกิเลส
เหล่านี้ ย่อมทำบุรุษอาชาไนยที่ถึงพร้อมด้วยปัญญา แม้เช่นกับเราให้มัว
หมองได้ จะกล่าวอะไรในเหล่าชนที่เหลือ; จริงอยู่ เราเคยอาศัยข้าวฟ่าง
และลูกเดือยเพียงครึ่งทะนาน และจอบเหี้ยน บวชสึกแล้ว ๖ ครั้ง."
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลถามว่า " ในกาลไร ? พระเจ้าข้า."
พระศาสดาตรัสว่า " จักฟังหรือ ? ภิกษุทั้งหลาย."
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " อย่างนั้น พระเจ้าข้า."
พระศาสดาตรัสว่า " ถ้ากระนั้น พวกเธอจงฟัง" ดังนี้แล้วทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสว่า) :-
เรื่องบัณฑิตจอบเหี้ยน
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี
บุรุษผู้หนึ่ง ชื่อกุททาลบัณฑิต บวชเป็นนักบวชภายนอกอยู่ในป่าหิมวันต์
๘ เดือน เมื่อภูมิภาคชุ่มชื้น ในสมัยที่ฝนตกชุก๑คิดว่า " ในเรือนของเรา
๑. วสฺสารตฺตสมเย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 425
ยังมีข้าวฟ่างและลูกเดือยประมาณครึ่งทะนาน และจอบเหี้ยน (อีกอัน
หนึ่ง), พืชคือข้าวฟ่างและลูกเดือยอย่าเสียไป" จึงสึกเอาจอบเหี้ยนฟื้น
ที่แห่งหนึ่ง หว่านพืชนั้น ทำรั้วไว้ ในเวลาที่เมล็ดพืชแก่ก็เหี่ยว เก็บพืช
ไว้ประมาณทะนานหนึ่ง เคี้ยวกินพืชที่เหลือ. ท่านคิดว่า " บัดนี้ ประ-
โยชน์อะไรด้วยเรือนของเรา, เราจักบวชอีก ๘ เดือน" จึงออกบวชแล้ว.
ท่านอาศัยข้าวฟ่างและลูกเดือยเพียงหนึ่งทะนานและจอบเหี้ยน เป็นคฤหัสถ์
๗ ครั้ง บวช ๗ ครั้ง โดยทำนองนี้แล แต่ในครั้งที่ ๗ คิดว่า " เรา
อาศัยจอบเหี้ยนอันนี้ เป็นคฤหัสถ์แล้วบวชถึง ๗ ครั้ง, เราจักทิ้งมันในที่
ไหน ๆ สักแห่งหนึ่ง." ท่านไปยังฝั่งแม่น้ำคงคา คิดว่า " เราเมื่อเห็น
ที่ตก คงต้องลงงมเอา; เราจักทิ้งมัน โดยอาการที่เราจะไม่เห็นที่ซึ่ง
มันตก" จึงเอาผ้าเก่าห่อพืชประมาณทะนานหนึ่ง แล้วผูกผ้าเก่าที่แผ่นจอบ
จับจอบที่ปลายด้าม ยืนที่ฝั่งแห่งแม่น้ำ หลับตาแกว่งเวียนเหนือศีรษะ
๓ ครั้ง ขว้างไปในแม่น้ำคงคา หันไปดู ไม่เห็นที่ตกได้เปล่งเสียงว่า
" เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว" ดังนี้ ๒ ครั้ง. ในขณะนั้น พระเจ้า
กรุงพาราณสี ทรงปราบปัจจันตชนบทให้สงบราบคาบแล้วเสด็จมา โปรด
ให้ตั้งค่ายพัก๑ ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เสด็จลงสู่แม่น้ำ เพื่อทรงประสงค์จะสรง-
สนาน ได้ทรงสดับเสียงนั้น. ก็ธรรมดาว่า เสียงที่ว่า " เราชนะแล้ว
เราชนะแล้ว" ย่อมไม่พอพระหฤทัยของพระราชาทั้งหลาย. พระองค์จึง
เสด็จไปยังสำนักของกุททาลบัณฑิตนั้น ตรัสถามว่า " เราทำการย่ำยี
อมิตรมาเดี๋ยวนี้ ก็ด้วยคิดว่า ' เราชนะ' ส่วนเธอร้องว่า ' เราชนะแล้ว
เราชนะแล้ว,' นี้ชื่อเป็นอย่างไร ?" กุททาลบัณฑิต จึงทูลว่า "พระ-
๑. ขนฺธาวารํ ประเทศเป็นที่กั้นด้วยท่อนไม้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 426
องค์ทรงชนะพวกโจรภายนอก, ความชนะที่พระองค์ทรงชนะแล้ว ย่อม
กลับเป็นไม่ชนะอีกได้แท้; ส่วนโจรคือความโลภ ซึ่งมีในภายใน อัน
ข้าพระองค์ชนะแล้ว, โจรคือความโลภนั้น จักไม่กลับชนะข้าพระองค์อีก
ชนะโจรคือความโลภนั้นอย่างเดียวเป็นดี" ดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า
"ความชนะใด กลับแพ้ได้ ความชนะนั้นมิใช่
ความชนะที่ดี, (ส่วน) ความชนะใด ไม่กลับแม้
ความชนะนั้นแลเป็นความชนะที่ดี.๑"
ในขณะนั้นเอง ท่านแลดูแม่น้ำคงคา ยังกสิณมีน้ำเป็นอารมณ์
ให้บังเกิด บรรลุคุณพิเศษแล้ว นั่งในอากาศโดยบัลลังก์. พระราชา
ทรงสดับธรรมกถาของพระมหาบุรุษ ไหว้แล้ว ทรงขอบวช ทรงผนวช
พร้อมกับหมู่พล. ได้มีบริษัทประมาณโยชน์หนึ่งแล้ว. แม้กษัตริย์สามันต-
ราชอื่น๒ ทรงสดับความที่พระเจ้ากรุงพาราณสีนั้นผนวชแล้วเสด็จมาด้วย
ประสงค์ว่า "เราจักยึดเอาพระราชสมบัติของพระเจ้ากรุงพาราณสีนั้น"
ทรงเห็นพระนครที่มั่งคั่งอย่างนั้นว่างเปล่า จึงทรงดำริว่า " พระราชา
เมื่อทรงทิ้งพระนครเห็นปานนี้ผนวช จักไม่ทรงผนวชในฐานะอันต่ำช้า,
ถึงเราผนวชก็ควร" ดังนี้แล้ว เสด็จไปในที่นั้น เข้าไปหาพระมหาบุรุษ
ทรงขอบวช ทรงผนวชพร้อมกับบริษัทแล้ว. พระราชา ๗ พระองค์
ทรงผนวชโดยทำนองเดียวกันนี้. ได้มีอาศรมตั้งแผ่ไปถึง ๗ โยชน์.
พระราชา ๗ พระองค์ก็ทรงทิ้งโภคะทั้งหลาย พาชนมีประมาณเท่านี้บวช
๑. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๒. อรรถกถา. ๒/๑๑๓.
๒. สามนฺตราชา พระราชาผู้อยู่ในเมืองใกล้เคียงกัน พระราชาโดยรอบ พระราชาใกล้เคียง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 427
แล้ว. พระมหาบุรุษอยู่ประพฤติพรหมจรรย์๑ เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว.
พระศาสดา ครั้นทรงนำธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ
ทั้งหลาย กุททาลบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็น๒เรา, ขึ้นชื่อว่ากิเลสเหล่านี้
เป็นสภาพหยาบอย่างนั้น."
เรื่องพระจิตตหัตถเถระ จบ.